#ธปท.


ธปท. เตรียมสำรองเงินสด 8 หมื่นล้าน รับความต้องการช่วงปีใหม่

ธปท. เตรียมสำรองเงินสด 8 หมื่นล้าน รับความต้องการช่วงปีใหม่

          หุ้นวิชั่น - นางบุษกร ธีระปัญญาชัย ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายโครงสร้างพื้นฐานและบริการระบบการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงสิ้นเดือนธันวาคม 2567 และเทศกาลปีใหม่ 2568 จะเป็นช่วงเวลาที่ประชาชนมีความต้องการใช้ธนบัตรเพิ่มขึ้นจากช่วงปกติ โดยการสำรวจความต้องการการเบิกจ่ายธนบัตรจากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งคำนึงถึงปัจจัยด้านเศรษฐกิจ มาตรการภาครัฐ และแนวโน้มการชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ธนาคารพาณิชย์จะมีความต้องการการเบิกจ่ายธนบัตรจาก ธปท. ในช่วงดังกล่าวประมาณ 80,000 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า โดย ธปท. ได้เตรียมสำรองธนบัตรชนิดราคาต่าง ๆ ไว้อย่างเพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นแล้ว เพื่อให้มั่นใจว่าประชาชนจะได้รับบริการที่สะดวกและทั่วถึง

รัฐลุย 'โครงการคุณสู้ เราช่วย' เคลียร์หนี้ครัวเรือน 2.1 ล้านบัญชี ยอดรวม 8.9 แสนล้าน!

รัฐลุย 'โครงการคุณสู้ เราช่วย' เคลียร์หนี้ครัวเรือน 2.1 ล้านบัญชี ยอดรวม 8.9 แสนล้าน!

          รัฐบาลจับมือ ธปท. และสถาบันการเงิน เปิดตัวโครงการ 'คุณสู้ เราช่วย' ช่วยลูกหนี้รายย่อย-ธุรกิจ SMEs ผ่าน 2 มาตรการ “จ่ายตรง คงทรัพย์” และ “จ่าย ปิด จบ” ครอบคลุมลูกหนี้ 2.1 ล้านบัญชี รวมยอดหนี้กว่า 8.9 แสนล้านบาท หวังลดภาระ-เพิ่มสภาพคล่อง พร้อมให้ลงทะเบียน 12 ธ.ค. 67 - 28 ก.พ. 68" โบรกมองว่า บวกต่อหุ้นในกลุ่มค้าปลีก การเงิน และ ธนาคาร ผ่านกำลังซื้อที่จะเพิ่มขึ้น และ สัดส่วน NPL ที่คาดจะลดลง เช่น CPALL OSP CPAXT CPN CRC KKP TTB KBANK SCB KTC และ AEONTS           หนี้ครัวเรือนเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญเชิงโครงสร้างที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนและการเติบโตอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจไทย ภาครัฐและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ความสำคัญและร่วมกันผลักดันแนวทางการแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง โดยหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ที่มีผลบังคับใช้เมื่อต้นปี 2567 เป็นการวางรากฐานแนวทางแก้ไขปัญหาให้ลูกหนี้อย่างยั่งยืน ผ่านความเข้มงวดในการกำกับสถาบันการเงินให้ช่วยเหลือลูกหนี้ที่ประสบปัญหาด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ทั้งก่อนและหลังการเป็นหนี้เสีย อย่างไรก็ดี การเติบโตของเศรษฐกิจยังมีความแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน รายได้ของครัวเรือนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) บางกลุ่มยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ ขณะที่ภาระหนี้และค่าครองชีพหรือต้นทุนการประกอบธุรกิจยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ลูกหนี้กลุ่มเปราะบางจำนวนมากยังเผชิญกับปัญหาในการชำระหนี้อยู่           กระทรวงการคลัง ธปท. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-Banks) บางแห่ง จึงได้ร่วมกันผลักดันมาตรการชั่วคราวเพิ่มเติม ภายใต้ชื่อโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและ SMEs เฉพาะกลุ่ม โดยมีกลไกการส่งเสริมวินัยทางการเงินควบคู่ ไปกับการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการเสียวินัยในการชำระหนี้ (moral hazard) ในภายหลัง           โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” นับเป็นการประสานบทบาทของทั้งภาครัฐ เอกชน และลูกหนี้ ในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนในกลุ่มเปราะบาง โดยลูกหนี้จะต้องลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมโครงการและชำระหนี้ตามเงื่อนไข ขณะที่ภาครัฐและสถาบันการเงินจะร่วมสนับสนุนเม็ดเงินในการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมฝ่ายละครึ่งหนึ่ง (50%) เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ร่วมโครงการ โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ประกอบด้วย 2 มาตรการ ได้แก่           มาตรการที่ 1 “จ่ายตรง คงทรัพย์” เป็นการช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อบ้าน รถ และ SMEs ขนาดเล็กที่มีวงเงินไม่สูงมาก ให้เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้แบบลดค่างวดและพักภาระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยค่างวดที่จ่ายจะนำไปตัดชำระเงินต้นทั้งหมด ขณะที่ดอกเบี้ยที่พักไว้ตลอดระยะเวลา 3 ปี จะได้รับการยกเว้น หากลูกหนี้สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ตลอดระยะเวลาของมาตรการ (ชำระเงินตรงเวลาและไม่ทำสัญญาสินเชื่อเพิ่มเติมในช่วง 12 เดือนแรกของการเข้าโครงการฯ) มาตรการ “จ่ายตรง คงทรัพย์” มีวัตถุประสงค์หลักในการช่วยเหลือลูกหนี้ที่วงเงินไม่สูงมาก ให้สามารถรักษาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันทั้งบ้าน รถ และสถานประกอบการไว้ได้ โดยจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตให้กับลูกหนี้ โดยค่างวดที่ลดลงจะทำให้ลูกหนี้มีสภาพคล่องเหลือสำหรับดำรงชีพเพิ่มเติมระหว่างอยู่ในมาตรการ ขณะที่ดอกเบี้ยที่ได้รับยกเว้นจะช่วยให้ภาระหนี้โดยรวมของลูกหนี้ลดลง           มาตรการที่ 2 “จ่าย ปิด จบ” เป็นการช่วยลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้บุคคลธรรมดาที่เป็นหนี้เสีย (สถานะ NPL) แต่มียอดคงค้างหนี้ไม่สูง (ไม่เกิน 5,000 บาท) โดยลูกหนี้จะต้องเข้ามาเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ เพื่อชำระหนี้บางส่วน ซึ่งมาตรการ “จ่าย ปิด จบ” นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกหนี้รายย่อยที่มีหนี้เสียและยอดหนี้ไม่สูง สามารถเปลี่ยนสถานะการเป็นหนี้ จาก “หนี้เสีย” เป็น “ปิดจบหนี้” และเริ่มต้นใหม่ได้เร็วขึ้น           ในช่วงเริ่มต้น โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” จะครอบคลุมลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และผู้ประกอบธุรกิจ Non-bank ที่เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ในระยะต่อไป ผู้ประกอบธุรกิจกลุ่ม Non-bank อื่น ๆ จะมีความช่วยเหลือออกมาเพิ่มเติม ซึ่งอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างไป เพื่อร่วมกันผลักดันให้การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนเดินหน้าได้อย่างเป็นรูปธรรมในวงกว้างและครอบคลุมลูกหนี้ได้มากขึ้น           นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า “รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชน โดยเชื่อว่ามาตรการนี้จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ภาครัฐและเอกชนจึงร่วมกันออกโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและ SMEs ขนาดเล็ก ครอบคลุมลูกหนี้รวมจำนวน 2.1 ล้านบัญชี เป็นลูกหนี้ 1.9 ล้านราย และมียอดหนี้รวมประมาณ 8.9 แสนล้านบาท ทั้งนี้ การแก้หนี้ที่ยั่งยืนต้องควบคู่ไปกับการเพิ่มทักษะ (upskill/reskill) และเสริมสร้างรายได้ให้กับลูกหนี้ ซึ่งเป็นอีกด้านที่รัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาและยกระดับรายได้ของครัวเรือนให้ดียิ่งขึ้น”           นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนเป็นงานที่ ธปท. ให้ความสำคัญและผลักดันมาต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและเศรษฐกิจเติบได้อย่างยั่งยืน โดยโครงการนี้มี 2 จุดสำคัญที่ต่างจากที่ผ่านมา คือ (1) การปรับโครงสร้างหนี้ที่เน้นตัดเงินต้น และลดภาระผ่อนในช่วง 3 ปี เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับลูกหนี้ (2) การร่วมสมทบเงิน (Co-payment) จากภาครัฐและสถาบันการเงินเพื่อช่วยลดภาระจ่ายของลูกหนี้ โดยชื่อของโครงการนี้สะท้อนความตั้งใจของทุกฝ่าย โดย “คุณสู้” สะท้อนถึงลูกหนี้ที่พร้อมจะสู้ต่อในการแก้ไขปัญหาหนี้ ส่วน “เราช่วย” คือ ภาครัฐและสถาบันการเงินที่พร้อมช่วยเหลือลูกหนี้ เพื่อลดภาระและปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น ความสำเร็จของโครงการนี้ จึงถือเป็นความร่วมมือจากทั้งลูกหนี้ ภาครัฐ และเจ้าหนี้ ในการแก้ไขปัญหาหนี้อย่างยั่งยืน”           นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า “สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิก พร้อมสนับสนุนภาครัฐในโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย และผู้ประกอบธุรกิจรายเล็ก ซึ่งคาดว่าจะสามารถให้การช่วยเหลือลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ รวมถึงบริษัทลูกในกลุ่มได้ราว 1.5 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้กว่า 4 แสนล้านบาท โดยการร่วมมือกับภาครัฐเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ภายใต้โครงการนี้ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของสมาคมธนาคารไทยในการจัดการปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ไม่ทำให้ใครต้องตกไปอยู่นอกระบบจากโครงสร้างหรือข้อจำกัดของระบบ และภายใต้โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” นั้น ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบอย่างเป็นธรรม กระตุกพลังในการปรับโครงสร้าง เพื่อร่วมกันผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน”           Mr. Giorgio Gamba ประธานสมาคมธนาคารนานาชาติ กล่าวว่า “สมาคมธนาคารนานาชาติพร้อมสนับสนุนโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและ SMEs และมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนของประเทศอย่างเต็มที่ โดยเห็นพ้องกับแนวทางการดำเนินการของโครงการ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของสถาบันการเงินในการช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการสมทบเงินร่วมกับภาครัฐ (Co-payment) ผ่านกลไกการจัดตั้งแหล่งเงินทุนกลางภายใต้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) โดยสมาคมธนาคารนานาชาติยินดีให้ความร่วมมือและดำเนินการตามโครงการ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางให้สามารถชำระหนี้และไปต่อได้”           นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ในฐานะประธานกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ กล่าวว่า “สถาบันการเงินของรัฐ พร้อมให้ความร่วมมือกับภาครัฐ และ ธปท. ในการสนับสนุนโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” อย่างเต็มที่ โดยโครงการนี้จะช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีโอกาสรอดให้สามารถฟื้นตัวกลับมาชำระหนี้ได้ และยังมีการออกแบบกลไกการส่งเสริมวินัยทางการเงินควบคู่กับการป้องกันไม่ให้ลูกหนี้เสียวินัยในการชำระหนี้ด้วย ทั้งนี้ สถาบันการเงินของรัฐอยู่ระหว่างการหารือกับ ธปท. และกระทรวงการคลัง ในการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ลูกหนี้ของกลุ่ม Non-bank รวมถึงการพิจารณามาตรการเพิ่มเติม เพื่อส่งผ่านความช่วยเหลือไปยังลูกหนี้กลุ่มเปราะบางในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งจะไม่ทับซ้อนกับกลุ่มลูกหนี้ของโครงการนี้ ทั้งนี้ คาดว่ามีลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติที่ได้รับความช่วยเหลือผ่านมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs ทั้ง 2 มาตรการของสถาบันการเงินของรัฐ จำนวนประมาณ 6 แสนบัญชี คิดเป็นยอดหนี้กว่า 4.5 แสนล้านบาท”           กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ และผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-Banks) มุ่งหวังว่าโครงการนี้จะช่วยให้ลูกหนี้รายย่อยและ SMEs ที่ประสบปัญหาในการชำระหนี้ได้รับความช่วยเหลืออย่างตรงจุด สามารถฟื้นตัวและกลับมาชำระหนี้ได้หลังสิ้นสุดโครงการ นอกจากนี้ ทุกหน่วยงานพร้อมที่จะร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างบูรณาการต่อไป           ลูกหนี้ที่สนใจเข้าร่วมมาตรการสามารถศึกษารายละเอียดของมาตรการและสมัครเข้าร่วมมาตรการได้ที่ https://www.bot.or.th/khunsoo ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2567 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568           ด้านบริษัท หลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุถึงว่า มองจะเป็นบวกต่อหุ้นในกลุ่มค้าปลีก การเงิน และ ธนาคาร ผ่านกำลังซื้อที่จะเพิ่มขึ้น และ สัดส่วน NPL ที่คาดจะลดลง เช่น CPALL OSP CPAXT CPN CRC KKP TTB KBANK SCB KTC และ AEONTS

ธปท. เร่งช่วยลูกหนี้ใต้ฝ่าวิกฤตอุทกภัย ปรับเกณฑ์ผ่อนชำระ-เพิ่มสภาพคล่อง

ธปท. เร่งช่วยลูกหนี้ใต้ฝ่าวิกฤตอุทกภัย ปรับเกณฑ์ผ่อนชำระ-เพิ่มสภาพคล่อง

          หุ้นวิชั่น - 3 ธันวาคม 2567 - นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นในเขตภาคใต้ ทำให้ประชาชนและลูกหนี้ที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวได้รับความเดือดร้อนนั้น ธปท. ได้กำชับให้สถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยที่มิใช่สถาบันการเงิน พิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยโดยเร่งด่วน โดย ธปท. ได้มีแนวทางให้เจ้าหนี้สามารถปรับลดอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำสำหรับบัตรเครดิต การเพิ่มวงเงินชั่วคราวกรณีฉุกเฉินสำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับและสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล รวมถึงการให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนและสภาพคล่องเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหรือเพื่อให้ประกอบอาชีพและดำเนินธุรกิจต่อได้ โดยในระหว่างการให้ความช่วยเหลือ ธปท. ได้ผ่อนปรนหลักเกณฑ์และกำหนดแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับสถานการณ์สาธารณภัยไว้แล้ว จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยจะได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที เพื่อให้สามารถผ่านพ้นปัญหาไปได้           ธปท. ขอส่งกำลังใจให้พี่น้องประชาชนที่กำลังประสบอุทกภัยให้ผ่านพ้นความยากลำบากนี้ไปได้ [PR News]

ธปท.เผย เศรษฐกิจไทยตุลาคม 2567 ฟื้นตัวดี การท่องเที่ยว-บริโภคเอกชนหนุนภาพรวม

ธปท.เผย เศรษฐกิจไทยตุลาคม 2567 ฟื้นตัวดี การท่องเที่ยว-บริโภคเอกชนหนุนภาพรวม

หุ้นวิชั่น -  ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานเศรษฐกิจไทยในเดือนตุลาคม 2567 ปรับตัวดีขึ้น จากรายรับภาคการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและการบริโภคภาคเอกชนที่ได้รับแรงหนุนจากมาตรการเงินโอน 10,000 บาท อย่างไรก็ตาม ตลาดแรงงานยังเปราะบางในบางภาคส่วน และปัญหาเชิงโครงสร้างยังคงกดดันเศรษฐกิจในระยะยาว เศรษฐกิจไทยในเดือนตุลาคมปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน จากรายรับภาคการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับการบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้น ส่วนหนึ่งได้รับผลดีจากมาตรการเงินโอน 10,000 บาท สอดคล้องกับกิจกรรมในภาคการค้าที่เพิ่มขึ้น ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นตามการส่งออกที่ไม่รวมรถยนต์และอุปสงค์ในประเทศที่ปรับดีขึ้น สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวจากทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจในบางภาคส่วนยังชะลอตัวจากปัญหาเชิงโครงสร้างและความสามารถในการแข่งขันที่ด้อยลง เสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตามหมวดพลังงานจากผลของฐานต่ำในปีก่อนที่มีมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ อย่างไรก็ดี หมวดอาหารสดลดลงจากราคาผักตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้นหลังปัญหาน้ำท่วมคลี่คลาย สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัว โดยหมวดอาหารปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่หมวดที่ไม่ใช่อาหารปรับลดลง ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลใกล้เคียงเดือนก่อน โดยดุลการค้าเกินดุลลดลงจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุลลดลง จากการส่งกลับกำไรที่ลดลงหลังเร่งไปในเดือนก่อนหน้า ด้านตลาดแรงงานปรับแย่ลงจากการจ้างงานในภาคบริการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว อาทิ ภาคการค้า และก่อสร้าง สอดคล้องกับสัดส่วนผู้ขอรับสิทธิว่างงานรายใหม่ต่อจำนวนผู้ประกันตนรวมที่ปรับเพิ่มขึ้น           รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือนตุลาคม 2567 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน มีดังนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วทรงตัวจากเดือนก่อน โดยนักท่องเที่ยวมาเลเซียและจีนชะลอลงส่วนหนึ่งจากปัจจัยในประเทศ ขณะที่นักท่องเที่ยวหลายสัญชาติ อาทิ เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และนักท่องเที่ยวระยะยาว (long-haul) โดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และเยอรมนี ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้รายรับภาคการท่องเที่ยวที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นตามจำนวน นักท่องเที่ยวพำนักในไทยสะสม ที่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มยุโรป รวมถึงค่าใช้จ่ายต่อวันที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนในทุกหมวด ส่วนหนึ่งเป็นผลจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ (เงินโอน 10,000 บาท) โดยการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นใน 1) หมวดสินค้าไม่คงทน จากปริมาณการใช้น้ำมันและยอดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะเครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยว และยาสูบ 2) หมวดสินค้าคงทน ตามยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์และยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคล 3) หมวดสินค้ากึ่งคงทน จากปริมาณการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยเฉพาะเสื้อผ้า และ 4) หมวดบริการ จากหมวดโรงแรมและภัตตาคาร สอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวไทยและการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมที่ลดลง ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นจากหมวด 1) เคมีภัณฑ์ ตามการผลิตยา 2) เครื่องใช้ไฟฟ้า สอดคล้องกับการส่งออกเครื่องปรับอากาศที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับอุปสงค์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจและการซื้อทดแทนหลังน้ำท่วมคลี่คลาย และ 3) หมวดอาหารและเครื่องดื่ม จากอาหารสัตว์สำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์นม อย่างไรก็ตาม การผลิตลดลงในบางหมวด อาทิ ปิโตรเลียม จากปริมาณสินค้าคงคลังที่อยู่ในระดับสูง และแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน ตามการส่งออกที่ชะลอลง มูลค่าการส่งออกสินค้าไม่รวมทองคำที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วทรงตัวจากเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ ตามการส่งออกหม้อแปลงไฟฟ้าไปยังทวีปอเมริกาเหนือ และหมวดอิเล็กทรอนิกส์ ตามการส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ไปยังตลาดอาเซียน ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูปลดลง หลังปัญหาการขาดแคลนอุปทานของประเทศคู่ค้าคลี่คลายต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกน้ำมันปาล์มและยางไปอินเดีย และน้ำตาลไปกัมพูชา รวมถึงหมวดยานยนต์ลดลงตามการส่งออกรถยนต์นั่งและรถกระบะไปยังตลาดอาเซียนและออสเตรเลีย มูลค่าการนำเข้าสินค้าไม่รวมทองคำที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ในทุกหมวดจาก 1) วัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง ตามปริมาณการนำน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมนำเข้า รวมทั้งการนำเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าจากไต้หวัน 2) สินค้าอุปโภคและบริโภค ตามการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าและโทรศัพท์มือถือจากจีน รวมถึงผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม และ 3) สินค้าทุนไม่รวมเครื่องบิน ตามการนำเข้าเครื่องจักรและเครื่องอุปกรณ์จากญี่ปุ่นและจีน เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนในทุกหมวดหลัก โดยการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ปรับเพิ่มขึ้นตาม 1) การนำเข้าสินค้าทุน โดยเฉพาะหมวดเครื่องจักร เครื่องมือที่ใช้ในงานทั่วไป มอเตอร์ไฟฟ้า และเรือ 2) ยอดจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ในประเทศ จากเครื่องจักรและเครื่องมือทั่วไป และ 3) ยอดจดทะเบียนรถยนต์เชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นตามรถแทรกเตอร์ สำหรับการลงทุนด้านการก่อสร้างปรับเพิ่มขึ้นจากยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ได้แก่ อิฐบล็อก ซีเมนต์ และพื้นสำเร็จรูปคอนกรีต รวมถึงพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างปรับดีขึ้นจากพื้นที่ฯ เพื่อที่อยู่อาศัยและเพื่ออุตสาหกรรมและโรงงาน   การใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอนขยายตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน จากทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลกลาง โดยรายจ่ายประจำขยายตัวตามการเบิกจ่ายค่าจัดการเรียนการสอนของหน่วยงานด้านการศึกษา และการเบิกจ่ายเงินบำเหน็จ บำนาญ และค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ ด้านรายจ่ายลงทุนขยายตัวสูงจากการเบิกจ่ายโครงการลงทุนของหน่วยงานด้านคมนาคมและด้านการศึกษา สำหรับรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจขยายตัวจากการเบิกจ่ายในโครงการด้านการสื่อสารและสาธารณูปโภค ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตามหมวดพลังงานจากผลของฐานต่ำในปีก่อนที่มีมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ ขณะที่หมวดอาหารสดลดลงจากราคาผักตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้นหลังปัญหาน้ำท่วมคลี่คลาย สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัว โดยราคาอาหารปรับสูงขึ้น  แต่ราคาของใช้ส่วนตัวปรับลดลง ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยดุลการค้าเกินดุลลดลงจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุลลดลง จากการส่งกลับกำไรที่ลดลงหลังเร่งไปในเดือนก่อนหน้า ตลาดแรงงานปรับแย่ลงจากการจ้างงานในภาคบริการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว อาทิ ภาคการค้า ยานยนต์ และก่อสร้าง สอดคล้องกับสัดส่วนผู้ขอรับสิทธิว่างงานรายใหม่ต่อจำนวนผู้ประกันตนรวมที่ปรับเพิ่มขึ้น           ด้านการระดมทุนของภาคธุรกิจโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน ตามการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ พลังงาน และการค้า ขณะที่การระดมทุนผ่านตลาดทุนเพิ่มขึ้นจากธุรกิจขนส่ง รวมถึงการระดมทุนผ่านสินเชื่อภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม และร้านอาหาร สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนตุลาคม 2567 เฉลี่ยอ่อนค่าลงตามความไม่แน่นอนของขนาดการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ รวมทั้งความไม่แน่นอนของการเลือกตั้งในสหรัฐฯ ที่กำลังจะเกิดขึ้น

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

ก.ล.ต. ร่วมเปิดตัว “โครงการ Your Data ข้อมูลของคุณ สู่บริการทางการเงินที่ตอบโจทย์”

ก.ล.ต. ร่วมเปิดตัว “โครงการ Your Data ข้อมูลของคุณ สู่บริการทางการเงินที่ตอบโจทย์”

           นางพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการ และนางวรัชญา ศรีมาจันทร์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ร่วมงานเปิดตัว “โครงการ Your Data ข้อมูลของคุณ สู่บริการทางการเงินที่ตอบโจทย์” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง ธปท. ก.ล.ต. และ คปภ. ในการพัฒนากลไกให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้สิทธิส่งข้อมูลของตนที่อยู่กับผู้ให้บริการและหน่วยงานต่าง ๆ ไปยังผู้ให้บริการที่ต้องการใช้บริการ ได้อย่างสะดวกและปลอดภัยผ่านช่องทางดิจิทัล เพื่อได้รับบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์มากขึ้น โดยได้รับเกียรติจากนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐและสมาคมผู้ให้บริการทางการเงินร่วมแสดงความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนโครงการนี้ร่วมกัน เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 ณ ห้องภัทรรวมใจ ธนาคารแห่งประเทศไทย            นางวรัชญา กล่าวว่า โครงการนี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาตลาดทุนให้ตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุนในการสร้างสุขภาวะทางการเงินที่ดี หรือ financial well-being โดยเป็นการสร้างกลไกให้ผู้ใช้บริการทางการเงินสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเดิมของตนเองเพื่อเข้าถึงบริการทางการเงินได้สะดวกขึ้น หรือรวมข้อมูลสถานะการเงินการลงทุนเพื่อนำไปบริหารจัดการทางการเงินของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก.ล.ต. จะร่วมกับภาคธุรกิจเพื่อกำหนดรูปแบบ มาตรฐานของข้อมูล รวมถึงระบบเชื่อมโยงข้อมูล และส่งเสริมให้เกิด aggregator ที่ช่วยรวบรวม จัดประเภท วิเคราะห์ วางแผนการลงทุนและให้คำแนะนำ เพื่อนำไปสู่การลงทุนหรือการจัดการลงทุนที่ตรงกับความต้องการและเป้าหมายของผู้ลงทุน อันจะช่วยเสริมสร้างความสามารถจัดการลงทุนและการบริหารจัดการด้านการเงินของผู้ลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยเพิ่มความมั่งคั่งได้อย่างเหมาะสมและตอบโจทย์ความต้องการ

[PR News] ธปท. เปิดตัวโครงการ Your Data 

[PR News] ธปท. เปิดตัวโครงการ Your Data 

          ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดงานเปิดตัวโครงการ Your Data ข้อมูลของคุณ สู่บริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง ธปท. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนากลไกให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้สิทธิส่งข้อมูลของตนที่อยู่กับผู้ให้บริการและหน่วยงานต่าง ๆ ไปยังผู้ให้บริการที่ตนต้องการใช้บริการ ผ่านช่องทางดิจิทัลได้สะดวกและปลอดภัย เพื่อให้ได้รับบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์มากขึ้น โดยเฉพาะการเข้าถึงสินเชื่อและการบริหารจัดการทางการเงินที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล (personalized financial planning) โดยมีนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและสมาคมผู้ให้บริการทางการเงินต่าง ๆ ร่วมแสดงความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนโครงการนี้ร่วมกัน           นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันประเทศไทยให้ก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัล โดยภาครัฐอยู่ระหว่างขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ ที่ล้วนต้องอาศัยข้อมูลในการขับเคลื่อน เช่น การบูรณาการข้อมูลจากภาครัฐเพื่อออกแบบนโยบายที่ตรงจุด ในภาคการเงิน ข้อมูลที่ไหลเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยยกระดับการให้บริการและปิดช่องว่างการเข้าถึงบริการทางการเงินที่สำคัญในระบบการเงินไทย ซึ่งความร่วมมือระหว่าง ธปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนากลไกให้ประชาชนและ SMEs ใช้สิทธิส่งข้อมูลของตนทางดิจิทัลเพื่อให้ได้รับบริการทางการเงินที่ดีขึ้น จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชนและการต่อยอดเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ           นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า เรามีสิทธินำข้อมูลของเรามาใช้ประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดย ธปท. และทุกหน่วยงานที่ร่วมกันในโครงการ “Your Data” มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างกลไกให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิส่งข้อมูลของตนที่อยู่ทั้งในและนอกภาคการเงินผ่านช่องทางดิจิทัล เพื่อให้ได้รับบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์มากขึ้น ทั้งนี้ กลไกการส่งข้อมูลดังกล่าวต้องสะดวก ปลอดภัย ไม่ถูกปิดกั้นทางเลือก และใช้งานได้จริง โดยกลไกนี้จะสำเร็จได้ ต้องอาศัยการวางกฎกติกาให้ผู้ให้บริการจัดทำช่องทางการใช้สิทธิส่งข้อมูลที่ปลอดภัย เป็นไปตามธรรมาภิบาลข้อมูล และมีการคุ้มครองผู้ใช้บริการอย่างเหมาะสม และการมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนามาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกัน           นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการ คปภ. ได้ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนากลไกรองรับสิทธิไม่อาจเกิดขึ้นหรือสำเร็จได้หากปราศจากความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ที่ผ่านมา สำนักงาน คปภ. ได้ขับเคลื่อนแนวทางการเปิดกว้างการเข้าถึงข้อมูลในธุรกิจประกันภัย (Open Insurance) มาอย่างต่อเนื่อง การพัฒนากลไกรองรับสิทธิของลูกค้าจะเป็นอีกก้าวสำคัญของภาคการเงินที่จะทำให้การนำข้อมูลใช้ประโยชน์ได้เต็มประสิทธิภาพซึ่งจะช่วยพัฒนาธุรกิจประกันภัยให้ทันสมัยและเกิดนวัตกรรม ทำให้ผู้บริโภคเลือกบริการที่เหมาะสมกับตนเองและวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น           นางวรัชญา ศรีมาจันทร์ รองเลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า โครงการนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาตลาดทุนให้ตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุนในการสร้างสุขภาวะทางการเงินที่ดีหรือ financial well being โดยเป็นการสร้างกลไกให้ผู้ใช้บริการทางการเงินสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเดิมของตนเองเพื่อเข้าถึงบริการทางการเงินได้สะดวกขึ้น หรือรวมข้อมูลสถานะการเงินการลงทุนเพื่อนำไปบริหารจัดการทางการเงินของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก.ล.ต. จะร่วมกับภาคธุรกิจเพื่อกำหนดรูปแบบ มาตรฐานของข้อมูล รวมถึงระบบเชื่อมโยงข้อมูล และส่งเสริมให้เกิด aggregator ที่ช่วยรวบรวม จัดประเภท วิเคราะห์ วางแผนการลงทุนและให้คำแนะนำ เพื่อนำไปสู่การลงทุนหรือการจัดการลงทุนที่ตรงกับความต้องการและเป้าหมายของผู้ลงทุน อันจะช่วยเสริมสร้างความสามารถจัดการลงทุนและการบริหารจัดการด้านการเงินของผู้ลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยเพิ่มความมั่งคั่งได้อย่างเหมาะสมและตอบโจทย์ความต้องการ           ในช่วงสุดท้าย ผู้ให้บริการในภาคการเงิน ได้แก่ บริษัท อบาคัส ดิจิทัล จำกัด ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย สมาคมบริษัทจัดการลงทุน บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้นำเสนอแนวคิดและตัวอย่างบริการทางการเงินที่จะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น หากมีกลไกให้ผู้ใช้บริการใช้สิทธิส่งข้อมูลตนเองได้ ได้แก่ การขอสินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัล ซึ่งสามารถส่งข้อมูลที่หลากหลายจากต้นทางมาประกอบการขอสินเชื่อ และทราบผลอนุมัติภายในไม่กี่นาที โดยเจาะกลุ่มเป้าหมายประชาชนที่เคยถูกปฏิเสธการขอสินเชื่อจากธนาคารหรือเคยขอสินเชื่อนอกระบบ การรวมศูนย์การบริหารจัดการและวางแผนทางการเงิน ซึ่งลูกค้าสามารถบริหารจัดการสินทรัพย์และหนี้สินได้ในที่เดียว ทั้งการออมการลงทุน การบริหารค่าใช้จ่าย และการบริหารหนี้สิน การนำเสนอประกันภัยที่เหมาะสมกับลักษณะของลูกค้า ซึ่งให้ความคุ้มครองตามมูลค่าเงินฝากหรือทรัพย์สินของลูกค้า และการพัฒนาบริการสำหรับลูกค้านิติบุคคล เพื่อรองรับการให้สินเชื่อและการบริหารจัดการทางการเงิน           ธปท. เชื่อมั่นว่า เมื่อผู้ใช้บริการสามารถใช้สิทธิส่งข้อมูลของตนไปใช้ประโยชน์ได้ตามโครงการ Your Data จะนำมาสู่การยกระดับการเข้าถึงบริการทางการเงินครั้งสำคัญและจะช่วยลดช่องว่างทางการเงินได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่ง ธปท. คาดว่าจะออกหลักเกณฑ์กำหนดกติกา สำหรับกลไกรับส่งข้อมูลในภาคสถาบันการเงินในช่วงครึ่งแรกของปี 2568 และทยอยประกาศใช้มาตรฐานในปี 2568 โดยผู้ใช้บริการจะสามารถเริ่มใช้สิทธิส่งข้อมูลได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2569 สอดคล้องกับกรอบเวลาการดำเนินการในภาคตลาดทุนและภาคประกันภัย ส่วนการใช้สิทธิส่งข้อมูลที่อยู่นอกภาคการเงิน คาดว่าผู้ใช้บริการจะเริ่มนำข้อมูลแบบภาษีและการใช้และชำระค่าไฟฟ้าและประปามาใช้ประโยชน์ได้ในปี 2568

ธปท. เผยค่าเงินบาทแข็งค่า 3.8% ตั้งแต่ต้นปี  พร้อมเข้าดูแลหากเงินบาทผันผวนเกินปกติ

ธปท. เผยค่าเงินบาทแข็งค่า 3.8% ตั้งแต่ต้นปี  พร้อมเข้าดูแลหากเงินบาทผันผวนเกินปกติ

          หุ้นวิชั่น - 25 กันยายน 2567 – นางสาวพิมพ์พันธ์ เจริญขวัญ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ช่วงที่ผ่านมาเงินบาทผันผวนมากขึ้น โดยปรับแข็งค่าขึ้นร้อยละ 3.8 ตั้งแต่ต้นปี และปรับแข็งค่าเร็วอยู่ในกลุ่มนำสกุลภูมิภาคในไตรมาส 3 จากปัจจัยภายนอกโดยเฉพาะการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากกว่าการคาดการณ์ของตลาด ประกอบกับการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของทางการจีนที่ส่งผลเชิงบวกต่อทิศทางเงินสกุลภูมิภาค           นอกจากนี้ค่าเงินบาทยังมีแรงกดดันด้านแข็งค่าเพิ่มเติมจากปัจจัยในประเทศ ทั้งเงินลงทุนต่างชาติที่เริ่มไหลกลับเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ไทยตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิงหาคม รวมถึงราคาทองคำที่ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดใหม่ที่ 2,670 ดอลลาร์ สรอ. ต่อออนซ์           ทั้งนี้ ธปท. ติดตามสถานการณ์การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด และพร้อมเข้าดูแลเมื่อเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนมากผิดปกติเพื่อลดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเศรษฐกิจจริง

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

ธปท.ยืนยัน 5 รายยื่น Virtual Bank ประกาศผู้รับคัดเลือก กลางปี 68

ธปท.ยืนยัน 5 รายยื่น Virtual Bank ประกาศผู้รับคัดเลือก กลางปี 68

          หุ้นวิชั่น - นายสมชาย เลิศลาภวศิน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงการคลังและ ธปท. ได้ เปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถยื่นคำขออนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) มายัง ธปท. จนถึงวันที่ 19 กันยายน 2567 นั้น           บัดนี้ ธปท. ได้ปิดรับคำขอแล้ว โดยมีผู้ยื่นคำขอจำนวนทั้งสิ้น 5 ราย ซึ่ง ธปท. จะพิจารณาคุณสมบัติ ศักยภาพ และความสามารถที่จะประกอบธุรกิจ Virtual Bank ของผู้ขออนุญาต ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) ที่เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2567 โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจการเงินไทยโดยรวมและความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบการเงิน ก่อนเสนอรายชื่อผู้ที่สมควรได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาต่อไป           ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้จัดตั้ง Virtual Bank ได้ภายในช่วงกลางปี 2568 โดยผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถเปิดดำเนินธุรกิจได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ