เปิดภารกิจ ธอส. ยุคดิจิทัล [EP.2/2] | จัดเต็มการลงทุน
https://www.youtube.com/watch?v=npAniOs1nxY เปิดภารกิจ ธอส. ยุคดิจิทัล [EP.2/2] | จัดเต็มการลงทุน ติดตามรายการ จัดเต็มการลงทุน ทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 9.00-9.30 น. ทาง ททบ.5
https://www.youtube.com/watch?v=npAniOs1nxY เปิดภารกิจ ธอส. ยุคดิจิทัล [EP.2/2] | จัดเต็มการลงทุน ติดตามรายการ จัดเต็มการลงทุน ทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 9.00-9.30 น. ทาง ททบ.5
https://www.youtube.com/watch?v=RQ6n5jiRUjc เปิดภารกิจ ธอส. ยุคดิจิทัล [EP.1/2] | จัดเต็มการลงทุน ติดตามรายการ จัดเต็มการลงทุน ทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 9.00-9.30 น. ทาง ททบ.5
หุ้นวิชั่น- ฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) หรือ CGSI ระบุในบทวิเคราะห์ ว่า เมื่อวันที่ 29 พ.ย.67 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะสินเชื่อไตรมาส 3/67 พบว่า สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค รวมถึงสินเชื่อธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกมีคุณภาพลดลงอีก ทั้งนี้สินเชื่อรายย่อยทุกกลุ่มมีอัตราส่วน NPL เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมี NPL เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ทรงตัว qoq ที่ 89.6% ในไตรมาส 2/67 นอกจากนี้ ยอดตัดหนี้สูญโดยรวมเพิ่มขึ้น 27% yoy แต่ลดลง 10% qoq ส่วนหนี้ปรับโครงสร้างเพิ่มขึ้น 15% yoy และ 18% qoq สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการเคลียร์งบดุลของธนาคาร กลุ่มสินเชื่อรายย่อยมีสัดส่วนสินเชื่อ stage 2 หรือสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (underperforming) เพิ่มสูงขึ้นจึงทำให้มาตรฐานการให้สินเชื่อของธนาคารเข้มงวดขึ้นตามรายงานในแบบสำรวจภาวะและแนวโน้มสินเชื่อของธปท. ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI เชื่อว่า ความต้องการสินเชื่อรายย่อยในไตรมาส 4/67 จะมาจากกลุ่มสินเชื่อรถ เนื่องจากมีการจัดงาน Motor Show ในเดือนธ.ค.67 และสินเชื่อบัตรเครดิตเพราะเป็นไฮ-ซีซั่นของการใช้จ่ายในประเทศ ขณะเดียวกัน ผลสำรวจชี้ว่าความต้องการสินเชื่อธุรกิจจะยังมาจากสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน จึงเชื่อว่ายอดสินเชื่อรวมในไตรมาส 4/67 จะเติบโตเล็กน้อย qoq แต่สินเชื่อทั้งปี 67 น่าจะยังติดลบ หลังยอดสินเชื่อรวมงวด 9 เดือนของปีนี้ลดลง ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI คาดว่า ยอดสินเชื่อรวมของกลุ่มธนาคารพาณิชย์จะเติบโต 2.6-3.0% ในปี 68-69 เพราะธนาคารมีเกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวดและ GDP ไทยยังขยายตัวต่ำ (ฝ่ายวิเคราะห์ฯคาดโต 3% ในปี 68) นอกจากนี้ ประมาณการว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) จะลดลงจาก 3.51% ในปี 67 เป็น 3.45% และ 3.41% ในปี 68-69 ตามลำดับ ภายใต้สมมติฐานที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในช่วงครึ่งปีแรก 68 อีกทั้งเชื่อว่ารายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยน่าจะยังเติบโตอ่อนตัวในอัตรา 3.9% ในปี 68-69 จะส่งผลให้กำไรก่อนตั้งสำรอง (PPOP) ในช่วงเดียวกันเติบโตเพียง 1.15-1.83% อย่างไรก็ตาม คาดว่าอัตราการสำรองหนี้สูญจะลดลงเหลือ 144bp ในปี 68 และ 134bp ในปี 69 เทียบจาก 152bp ในปี 67 ดังนั้นจึงทำประมาณการ ROE ของกลุ่มธนาคารในปี 68-69 อยู่ที่ 8.9-9.0% เทียบจาก 10.1-12.3% ในปี 58-61 ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI มองว่า ธนาคารพาณิชย์ไทยยังขาดปัจจัยหนุนที่แข็งแกร่ง จึงยังแนะนำให้คงน้ำหนักการลงทุน (Neutral) กลุ่มนี้ เนื่องจากอัตราการเติบโตของ PPOP และ ROE ในปี 68-69 มีแนวโน้มชะลอตัว ฝ่ายวิเคราะห์ฯถอด KBANK ออกจากหุ้น Top pick หลังราคาหุ้น outperform ดัชนี SET และ SETBANK ถึง 10.3% YTD และ 8.5% YTD (1 ม.ค.-22 พ.ย.67) ตามลำดับ ขณะที่เพิ่ม SCB เข้ามาเป็นหุ้น Top pick เพราะคาดว่าธนาคารจะมี EPS เติบโต 7% และมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงที่ 9.6-10.3% ในปี 68-69 โดยกลุ่มธนาคารจะมี downside risk หาก NPL เพิ่มขึ้นและมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่วน upside risk จะมาจากการที่นักท่องเที่ยวเดินทางมาไทยมากขึ้น, ความตึงเครียดทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ลดลงและรัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
หุ้นวิชั่น - ระบบธนาคารพาณิชย์ยังมั่นคง ไตรมาส 3/67 NPL อยู่ที่ 2.97% เพิ่มขึ้นจากฐานสินเชื่อที่ลดลง แม้สินเชื่อโดยรวมชะลอ ขณะที่กำไรสุทธิเพิ่มจากปีที่แล้ว แต่ลดลง QoQ ตามฤดูกาล พร้อมจับตาความเสี่ยง SME และครัวเรือนภาระหนี้สูง สรุปภาพรวมธนาคารพาณิชย์ ไตรมาส 3 ปี 2567 ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงาน ระบบธนาคารพาณิชย์มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยมีเงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง โดยสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ (รวมเครือ) ไตรมาส 3 ปี 2567 หดตัวที่ร้อยละ 2.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยหลักจากการชำระคืนหนี้ที่อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะการจ่ายคืนหนี้ของภาครัฐและธุรกิจขนาดใหญ่ แม้การให้สินเชื่อใหม่ยังมีต่อเนื่องในธุรกิจขนาดใหญ่ในภาคบริการ อสังหาริมทรัพย์ พาณิชย์ และสินเชื่ออุปโภคบริโภคประเภทสินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อที่อยู่อาศัย แต่มีแนวโน้มชะลอลง ขณะที่สินเชื่อในภาคธุรกิจที่เผชิญปัญหาความสามารถในการแข่งขันยังคงหดตัว โดยเฉพาะในกลุ่มปิโตรเคมี อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ ทั้งนี้ ยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (non-performing loan: NPL หรือ stage 3) ไตรมาส 3 ปี 2567 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 553.4 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ร้อยละ 2.97 (ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานสินเชื่อที่ปรับลดลง) จากทั้งสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่ออุปโภคบริโภค โดยธนาคารพาณิชย์ยังบริหารจัดการคุณภาพหนี้และให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง สำหรับสัดส่วนสินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม (significant increase in credit risk: SICR หรือ stage 2) อยู่ที่ร้อยละ 6.86 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน จากสินเชื่อธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากการจัดชั้นเชิงคุณภาพของ ธพ. โดยธุรกิจยังสามารถชำระคืนหนี้ได้ตามเงื่อนไขสัญญา และสินเชื่อที่อยู่อาศัย สำหรับผลการดำเนินงาน ไตรมาส 3 ปี 2567 ปรับดีขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของกำไรจากการวัดมูลค่าตราสารทางการเงิน ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง ทั้งนี้ หากเทียบไตรมาสก่อน กำไรสุทธิปรับลดลง โดยหลักจาก การลดลงของรายได้เงินปันผลตามปัจจัยฤดูกาล แม้ค่าใช้จ่ายสำรองปรับลดลง อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามความสามารถในการชำระหนี้ของธุรกิจ SMEs และครัวเรือนบางกลุ่ม ที่รายได้ฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง รวมถึงธุรกิจในกลุ่มที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างและความสามารถในการแข่งขันที่ปรับลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ NPL ยังมีแนวโน้มทยอยปรับเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้และไม่เกิดการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด (NPL cliff) โดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ไตรมาส 2 ปี 2567 ปรับลดลงจากไตรมาสก่อน จากสินเชื่อภาคครัวเรือนที่ขยายตัวชะลอลงสอดคล้องกับกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ (debt deleveraging) ขณะที่ภาคธุรกิจมีสัดส่วนหนี้สินต่อ GDP ปรับลดลงตามการหดตัวของสินเชื่อและตราสารหนี้ ด้านความสามารถในการทำกำไรโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะในภาคการผลิต
หุ้นวิชั่น -บล.ดาโอ ระบุ กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ทำให้ธนาคารใหญ่มี downside กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% มาอยู่ที่ 2.25% กนง. มีมติ 5:2 ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% มาอยู่ที่ 2.25% ต่อปี ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ (ที่มา: ธปท.) บล. ดาโอ มองเป็นลบต่อกลุ่มธนาคาร เรามองเป็นลบต่อกลุ่มธนาคาร เพราะรายได้ดอกเบี้ยจะมีโอกาสลดลงทันที โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ ขณะที่เราประเมินว่า กนง. จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 1 ครั้ง ในปี 2025E (Fig 6) ทั้งนี้ ธปท. ยังคงคาดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ 0.5% และ 1.2% ในปี 2024E-2025E แต่มีการปรับเป้า GDP ปี 2024E เป็น 2.7% จากเดิมที่ 2.6% และปี 2025E เป็น 2.9% จากเดิมที่ 3.0% โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ ธปท. มุ่งเป้าไปที่การลดหนี้ครัวเรือน ซึ่ง ธปท. คาดหวังว่าจะช่วยลดภาระหนี้ให้กับประชาชนได้บ้าง ผลกระทบต่อกำไรสุทธิปี 2024E ของแต่ละธนาคารอยู่ที่ราว -0.47-0.65% โดยกลุ่มธนาคารจะมี downside ต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2024E ราว -0.5% (Fig 7) ขณะที่หุ้นที่ได้รับผลกระทบต่อกำไรสุทธิเรียงจากมากไปน้อยคือ BBL (-0.65%), KTB (-0.64%), KBANK (-0.52%) และ SCB (-0.50%) ขณะที่หุ้นที่ได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงคือ KKP (+0.58%) และ TISCO (+0.38%) จากการคำนวณที่คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลง -0.25% เป็นระยะเวลา 2.5 เดือน ยังคงน้ำหนักเป็น “มากกว่าตลาด” เลือก KBANK, KTB เป็น Top pick เพราะนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ รวมถึงแนวโน้มการเติบโตของกำไรปี 2024E-2025E จะยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่องอีก 5-6% YoY ขณะที่ valuation ยังถูก เทรดที่ระดับเพียง 0.70x PBV (-1.00SD below 10-yr average PBV) ทั้งนี้ เราได้รวมผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ในปี 2025E แล้ว โดยเรายังเลือก KBANK และ KTB เป็น Top pick KBANK (ซื้อ/เป้า 176.00 บาท) อิง 2025E PBV ที่ 0.70x (-1.00SD below 10-yr average PBV) เพราะคุณภาพของสินทรัพย์ที่ดีขึ้น และจะดีขึ้นไปอีกหลังจากทำ JV AMC กับ BAM ได้สำเร็จ และคาดกำไร 3Q24E จะเพิ่ม YoY จากสำรองฯที่ลดลง รวมถึงมี valuation ถูก โดยซื้อขายเพียง 0.65x PBV ถูกกว่ากลุ่มที่ 0.70x PBV และถูกกว่า SCB ที่ 0.80x PBV KTB (ซื้อ/เป้า 23.00 บาท) อิง PBV 2025E ที่ 0.85x (-0.75SD below 10-yr average PBV) เพราะกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มสูงสุดในกลุ่มที่ +15% YoY จากสำรองฯที่ลดลง และจะเน้นการปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้น ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ ขณะที่ราคาหุ้นยังไม่สะท้อนกำไรรายไตรมาสที่ทำจุดสูงสุดใหม่
หุ้นวิชั่น - บล.ดาโอ ระบุว่า ยังคงน้ำหนักการลงทุน “มากกว่าตลาด” โดยคาดกำไรสุทธิรวม 3Q24E ของกลุ่มธนาคารจะอยู่ที่ 5.2 หมื่นล้านบาท (+3% YoY, -3% QoQ) โดยเพิ่มขึ้น YoY เกิดจาก TTB ที่ได้ผลประโยชน์ทางภาษีราว 1.1 พันล้านบาท จากปีก่อนที่ไม่มี ประกอบกับ KTB มีรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิเพิ่มขึ้นได้จากการ Cross-selling ในกลุ่ม และ KBANK มีสำรองฯที่ลดลงจากปีก่อนที่ตั้งเผื่อมาเยอะ ส่วนกำไรที่ลดลง QoQ เพราะกำไรจากเงินลงทุนในส่วนของเงินปันผลรับลดลงตามฤดูกาล โดยธนาคารที่มีกำไรสุทธิ 3Q24E เติบโตได้ดีทั้ง YoY/QoQ คือ SCB +5% YoY, +1% QoQ เพราะมีสำรองฯที่ลดลง YoY และมีการขาย Robinhood ได้เงินทันที 400 ล้านบาท ส่วนธนาคารที่เติบโตได้ดี YoY คือ TTB +13% YoY, KBANK +7% และ KTB +6% ขณะที่กำไรสุทธิ 3Q24E ที่ลดลง YoY, QoQ คือ TISCO -10% YoY, -3% QoQ เพราะสำรองฯเพิ่มขึ้นตามการปล่อยสินเชื่อผลตอบแทนสูงที่เพิ่มขึ้น รองลงมาเป็น BBL -3% YoY และ -7% QoQ เพราะมีกำไรจากเงินลงทุนลดลง ด้านสินเชื่อรวม 3Q24E ลดลง -2% YoY และ -1% QoQ เพราะสินเชื่อรายใหญ่และภาครัฐมีการชำระคืน ส่วน NPL รวมทยอยเร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ 3.19% จาก 2Q24 ที่ 3.13% แต่ยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ยังคงประมาณการกำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารปี 2024E/2025E อยู่ที่ 2.05 แสนล้านบาท/2.17 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น +5% YoY/+6% YoY จากสำรองฯที่ลดลงเป็นหลัก โดยคาดว่าจะมีการปรับตัวลดลง -10% YoY จากปี 2023 ที่เพิ่มขึ้น +17% YoY เพราะมีการตั้งเผื่อมาเยอะแล้ว ขณะที่คาด กนง. จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 50bps ในช่วงปลายปี 2024E-1H25E กลุ่มธนาคารปรับตัวเพิ่มขึ้น +6%/+13% ใน 3 และ 6 เดือนที่ผ่านมา เพราะ Fund flow ที่ไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม valuation ยังน่าสนใจ เทรดที่ระดับเพียง 0.70x 2024E PBV (-1.00SD below 10-yr average PBV) Top picks เลือก KBANK และ KTB KBANK (ซื้อ/เป้า 176.00 บาท) จากคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น และ valuation ถูก โดยซื้อขายเพียง 0.65x PBV ถูกกว่ากลุ่มที่ 0.70x PBV และถูกกว่า SCB ที่ 0.80x PBV KTB (ซื้อ/เป้า 23.00 บาท) เพราะกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มสูงสุดในกลุ่มที่ +15% YoY จากสำรองฯที่ลดลง และจะเน้นการปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้น ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ