ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#กลต


ก.ล.ต. ผ่อนผัน SAM ส่งรายงานผลตรวจสอบฯ ภายใน 26 เม.ย.68

ก.ล.ต. ผ่อนผัน SAM ส่งรายงานผลตรวจสอบฯ ภายใน 26 เม.ย.68

           หุ้นวิชั่น - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สั่งการให้บริษัท สามชัย สตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) (SAM) ส่งรายงานผลการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (special audit) ภายในวันที่ 26 เมษายน 2568 ตามที่ SAM ขอขยายระยะเวลาเพิ่มเติม พร้อมทั้งให้เปิดเผยข้อมูลผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลบริษัทจดทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ระบบ SETLink)            ตามที่ ก.ล.ต. สั่งการให้ SAM จัดให้มีการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (special audit) โดยให้นำส่งรายงาน            ผลการตรวจสอบภายในวันที่ 26 มีนาคม 2568* ต่อมา SAM มีหนังสือขอขยายระยะเวลาเพิ่มเติมเป็นภายในวันที่ 26 เมษายน 2568 เนื่องจาก SAM อยู่ระหว่างสรรหาผู้สอบบัญชีที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่ ก.ล.ต. ให้ความเห็นชอบ อย่างไรก็ดี การจัดให้มี special audit นับเป็นเรื่องสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์หรือต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน คณะกรรมการบริษัทซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารกิจการ จำเป็นต้องรีบดำเนินการโดยเร็วเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทและผู้ถือหุ้นโดยรวม            ก.ล.ต. จึงสั่งการให้นำส่งรายงานดังกล่าวภายในวันที่ 26 เมษายน 2568 ตามที่ SAM ขอขยายระยะเวลาเพิ่มเติม พร้อมทั้งขอให้เปิดเผยผลการตรวจสอบผ่านระบบ SETLink ด้วย หมายเหตุ : * ข่าว ก.ล.ต. ฉบับที่ 39/2568 เรื่อง “ก.ล.ต. สั่งการ SAM จัดให้มีการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษเกี่ยวกับประเด็นข้อสังเกตของผู้สอบบัญชี”

ตลท.เชื่อ พรก. เพิ่มอำนาจ ก.ล.ต. ส่งผลดีต่อตลาดทุนไทย

ตลท.เชื่อ พรก. เพิ่มอำนาจ ก.ล.ต. ส่งผลดีต่อตลาดทุนไทย

          สืบเนื่องจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันนี้ (27 มีนาคม 2568) มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ชุดยกระดับการกำกับดูแลกิจการและมาตรการบังคับใช้กฎหมาย) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอนั้น           นายอัสสเดช คงสิริ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ เชื่อมั่นว่า ร่างกฎหมายดังกล่าว จะส่งผลดีต่อตลาดทุนโดยรวม เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องของการกำกับดูแลการซื้อขายและการตรวจสอบการทำธุรกรรมของบริษัทจดทะเบียนแล้ว ยังจะช่วยให้การดำเนินการทางคดีและการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดในตลาดทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลงโทษผู้กระทำความผิดได้รวดเร็วมากขึ้น อันจะช่วยป้องปรามให้ผู้ที่คิดจะกระทำความผิดเกิดความเกรงกลัว โดยมาตรการต่าง ๆ ที่กำหนดเพิ่มเติมในร่างกฎหมายดังกล่าว สามารถจะเสริมสร้างความเชื่อมั่น (Trust & Confidence) ให้แก่ผู้ลงทุน ซึ่งถือเป็นวาระสำคัญเร่งด่วนของตลาดทุนไทยในขณะนี้

ก.ล.ต. ขานรับครม.ผ่านร่าง พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ

ก.ล.ต. ขานรับครม.ผ่านร่าง พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ

          ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 ได้มีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ชุดยกระดับการกำกับดูแลกิจการและมาตรการบังคับใช้กฎหมาย) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ           นางพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า การปรับปรุงกฎหมายในครั้งนี้ เป็นการปรับปรุงในหลาย ๆ มิติ ทั้งด้านการเพิ่มประสิทธิภาพเกี่ยวกับการกำกับดูแลการขายชอร์ตเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมโปร่งใส ด้านการกำกับผู้ประกอบวิชาชีพในตลาดทุนเพื่อยกระดับการทำหน้าที่ตรวจสอบและป้องกันการทุจริตของบริษัทจดทะเบียน การรายงานข้อมูลการก่อภาระผูกพันในหลักทรัพย์เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่สำคัญ ครบถ้วนและเพียงพอเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน ด้านมาตรการทางกฎหมายเพื่อยับยั้งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมของบริษัทจดทะเบียน ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับในการบังคับใช้กฎหมาย โดยเพิ่มอำนาจในการทำคดีของ ก.ล.ต.           “ที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้มีการดำเนินการในหลายด้านเพื่อยกระดับในการกำกับดูแล ให้มีความโปร่งใสและเป็นธรรมต่อทุกภาคส่วน รวมทั้งเตรียมความพร้อมบุคลากรด้านการบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการปรับปรุงกฎหมายภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. เป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับการกำกับดูแล โดยการออกเป็น พ.ร.ก. ตามที่ ครม. เห็นชอบจะช่วยให้การดำเนินการได้รวดเร็วมากขึ้น และเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตลาดทุนให้แข็งแกร่งขึ้น ซึ่งเป็นรากฐานในการช่วยบรรเทาผลกระทบต่อตลาดทุนได้กรณีมีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ อีกทั้งการเสริมสร้างตลาดทุนไทยให้แข็งแกร่งยังเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย           สำหรับกรณีการเป็นพนักงานสอบสวนในคดีที่มี high impact  ก.ล.ต. มีอำนาจในการทำคดีและเมื่อสรุปสำนวน เสร็จสิ้น จะนำส่งสำนวนและความเห็นไปยังพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาสั่งฟ้องซึ่งเป็นไปตามหลักการ check and balance ตามกระบวนการยุติธรรม การดำเนินการดังกล่าว ก.ล.ต. สามารถบูรณาการพนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือพนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการร่วมสอบสวนคดีโดยใช้ความเชี่ยวชาญมาช่วยให้กระบวนการบังคับใช้กฎหมายในกรณี high impact รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น” เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าว

ก.ล.ต.เตือนผถห.กู้ PLE 2 รุ่น ใช้สิทธิประชุมฯ วันที่ 28 มี.ค.68

ก.ล.ต.เตือนผถห.กู้ PLE 2 รุ่น ใช้สิทธิประชุมฯ วันที่ 28 มี.ค.68

          สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ขอให้ผู้ถือหุ้นกู้ PLE จำนวน 2 รุ่น ใช้สิทธิในการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ ศึกษาข้อมูล ซักถามผู้ออกหุ้นกู้หรือผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนและเพียงพอต่อการตัดสินใจลงมติ ในวันที่ 28 มีนาคม 2568           ตามที่บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (PLE) ในฐานะผู้ออกหุ้นกู้ PLE256A และ PLE272A  จะจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ ครั้งที่ 1/2568 ในวันที่ 28 มีนาคม 2568 เวลา 10.00 น. ด้วยวิธีการประชุม ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-meeting) โดยมีเรื่องเพื่อพิจารณาอนุมัติ ดังนี้ (1) ผ่อนผันให้การที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่สามารถดำรงอัตราส่วนของ “หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของ ผู้ถือหุ้น” ในอัตราส่วนไม่เกิน 4 : 1 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 ไม่ให้ถือเป็นเหตุผิดนัด (2) แก้ไขอัตราส่วนทางการเงินที่ผู้ออกหุ้นกู้มีหน้าที่ต้องดำรงไว้ตามข้อกำหนดสิทธิ จาก อัตราส่วนไม่เกิน 4 : 1 เป็น อัตราส่วนไม่เกิน 5 : 1           ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้กำหนดให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ประโยชน์ และผลกระทบที่ผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับ จากการมีมติอนุมัติ หรือไม่อนุมัติ ให้ชัดเจนในแต่ละทางเลือก พร้อมเหตุผลประกอบโดยมีความเห็นของผู้แทน ผู้ถือหุ้นกู้ประกอบด้วย ก.ล.ต. จึงขอให้ผู้ถือหุ้นกู้ศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบ และใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ในการรักษาประโยชน์ของตนเอง พร้อมทั้งสอบถามข้อมูลต่าง ๆ จากผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อให้มีข้อมูลครบถ้วนประกอบการตัดสินใจออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ด้วย หมายเหตุ : บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์ จำกัด เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ PLE256A และ PLE272A

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

ก.ล.ต. ไฟเขียวปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อให้สามารถซื้อขาย Tokenized Carbon Credit

ก.ล.ต. ไฟเขียวปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อให้สามารถซื้อขาย Tokenized Carbon Credit

          คณะกรรมการ ก.ล.ต. เห็นชอบหลักการ ปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อให้สามารถซื้อขาย Tokenized Carbon Credit ผ่านศูนย์ซื้อขาย นายหน้า และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล           หุ้นวิชั่น - วันอังคารที่ 25 มีนาคม 2568 | ฉบับที่ 67 / 2568 คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (คณะกรรมการ ก.ล.ต.) มีมติเห็นชอบหลักการปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อเปิดให้ผู้ประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล (ผู้ประกอบธุรกิจ) สามารถให้บริการ Tokenized Carbon Credit และ Tokenized Renewable Energy Certificate (REC) และ Tokenized Carbon Allowance* เพื่อเพิ่มช่องทางในการเลือกรับบริการของผู้ลงทุน รวมทั้งส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการซื้อขาย Carbon Credit โดย ก.ล.ต. จะดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป           ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ออกประกาศปรับปรุงแนวทางกำกับดูแล Utility Token เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2567 โดยยกเว้นการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ Utility Token เพื่อการอุปโภคบริโภคหรือใช้แทนใบรับรองสิทธิต่าง ๆ (Consumption- based utility token) หรือ “utility token กลุ่มที่ 1” รวมถึงห้ามผู้ประกอบธุรกิจนำ utility token ประเภทดังกล่าวมาให้บริการ เว้นแต่เป็นประเภทที่เป็นกลไกสนับสนุนการพัฒนาประเทศตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจยังไม่สามารถให้บริการโทเคนดิจิทัลของผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนการลดการปล่อยคาร์บอน เช่น Carbon Credit, Renewable Energy Certificate (REC) และ Carbon Allowance** ซึ่งมีลักษณะเป็นโทเคนดิจิทัลประเภท utility token กลุ่มที่ 1 ได้           ก.ล.ต. เล็งเห็นถึงประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในการสนับสนุนตลาด Carbon Credit และสนับสนุนการซื้อขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยคาร์บอนผ่านผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. เพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว (Green economy) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ของประเทศไทย รวมถึงสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการซื้อขายคาร์บอนเครดิต           คณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบหลักการต่อการปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจ ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล นายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และผู้ค้าสินทรัพย์ดิจิทัล สามารถนำโทเคนดิจิทัลของผลิตภัณฑ์ Carbon Credit, REC และ Carbon Allowance ในรูปแบบพร้อมใช้มาให้บริการได้ ภายใต้หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจอื่นและเป็นไปตามเงื่อนไขที่ ก.ล.ต. กำหนด ดังนี้ (1) มีระบบหรือมาตรฐานการคัดเลือกและเพิกถอนโทเคนดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ (2) มีระบบหรือมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโทเคนดิจิทัลอย่างชัดเจน ครบถ้วน และเพียงพอ           ทั้งนี้ ก.ล.ต. จะดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อไป หมายเหตุ: * Tokenized Carbon Credit / REC / Carbon Allowance คือ การแปลง Carbon Credit / REC / Carbon Allowance ให้อยู่ในรูปแบบโทเคนดิจิทัล ** Carbon Credit หรือคาร์บอนเครดิต คือ หน่วยที่แสดงถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกลด ดูดซับ หรือกักเก็บโดยโครงการหรือกิจกรรม ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่ออกมาตรฐานที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ REC คือ ใบรับรองการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน Carbon Allowance คือ สิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ก.ล.ต.เปิดเฮียริ่งหลักการและร่างประกาศฯ ให้บริการลูกค้าบล. รองรับขาย NC Bond

ก.ล.ต.เปิดเฮียริ่งหลักการและร่างประกาศฯ ให้บริการลูกค้าบล. รองรับขาย NC Bond

             หุ้นวิชั่น - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็นหลักการและ ร่างประกาศเกี่ยวกับกระบวนการติดต่อและให้บริการลูกค้า (sale process) สำหรับการขายตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่ออกโดยบริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อการดำรงเงินกองทุน (Net Capital Bond: NC Bond) ให้สะท้อนความเสี่ยงของตราสารและสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว              ด้วย NC Bond เป็นตราสารหนี้ที่บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หรือผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือรวมเรียกว่า “ผู้ประกอบธุรกิจ” สามารถใช้เพื่อประโยชน์ในการดำรงเงินกองทุน (Net Capital: NC) โดยตราสารดังกล่าวต้องเป็นตราสารด้อยสิทธิที่มีเงื่อนไขในการเลื่อนหรือการยกเลิกการชำระดอกเบี้ยและการเลื่อนการชำระเงินต้นได้ในระหว่างที่ ผู้ประกอบธุรกิจเกิดเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพคล่อง* จึงทำให้ NC Bond มีความเสี่ยงสูงกว่าตราสารหนี้ทั่วไป และที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้มีการออกหลักเกณฑ์อนุญาตให้เสนอขายตราสารดังกล่าว โดยพิจารณาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน (risky/complex product) อย่างไรก็ดี หลักเกณฑ์ในการขายผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนที่ใช้กับ บล. ในปัจจุบัน ยังไม่ครอบคลุมถึง NC Bond              ก.ล.ต. จึงเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้ บล. จะต้องปฏิบัติในการขาย NC Bond เพิ่มเติมจากการเสนอขายตราสารทั่วไป (plain product) เพื่อให้สอดคล้องกับการขายผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนที่มีความเสี่ยงทำนองเดียวกัน ดังนี้ (1) คัดเลือกบุคลากรที่ติดต่อและให้บริการลูกค้าให้เป็นผู้ที่สามารถขายผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงหรือ มีความซับซ้อนได้ (2) ประเมินความรู้ความสามารถของลูกค้า (knowledge assessment) ก่อนการติดต่อและให้บริการ และหากเป็นตราสารที่ไม่กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนหรือไถ่ถอนเมื่อเลิกบริษัท ต้องจัดให้มีการทดสอบความรู้ของลูกค้า (knowledge test) ก่อนการลงทุนในครั้งแรก ในลักษณะเดียวกับการขายตราสารด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน (subordinated perpetual bond) ด้วย (3) ให้ข้อมูลเพื่อให้ลูกค้าเข้าใจลักษณะและความเสี่ยงของตราสาร รวมทั้งมีการเตือนถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง              ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นซึ่งมีรายละเอียดการปรับปรุงหลักการและร่างประกาศในเรื่องดังกล่าวบนเว็บไซต์ ก.ล.ต. https://www.sec.or.th/TH/Pages/PB_Detail.aspx?SECID=1064 และระบบกลางทางกฎหมาย https://law.go.th/listeningDetail?survey_id=NTEyNURHQV9MQVdfRlJPTlRFTkQ=              ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถศึกษาและแสดงความคิดเห็นได้ผ่านช่องทางเว็บไซต์ หรือทาง e-mail : chawannuch@sec.or.th หรือ kunpatu@sec.or.th จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568

ก.ล.ต. กล่าวโทษ OKX-ผู้สนับสนุนการกระทำความผิด 9 ราย ประกอบธุรกิจศูนย์ฯ ไม่ได้รับอนุญาต

ก.ล.ต. กล่าวโทษ OKX-ผู้สนับสนุนการกระทำความผิด 9 ราย ประกอบธุรกิจศูนย์ฯ ไม่ได้รับอนุญาต

          ก.ล.ต. กล่าวโทษ Aux Cayes FinTech Co. Ltd. ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มบนเว็บไซต์ www.okx.com/th (OKX) และผู้สนับสนุนการกระทำความผิด 9 ราย ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) กรณีกระทำการเข้าข่ายการประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ โดยมีบุคคลทั้ง 9 รายเป็นผู้สนับสนุนการกระทำของ OKX           สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับแจ้งเบาะแสและตรวจสอบ พบว่าตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2564 OKX ได้ให้บริการจัดระบบการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่ออำนวยความสะดวกให้เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล โดยเก็บค่าธรรมเนียมร้อยละ 0.1 ของมูลค่าธุรกรรมที่ลูกค้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และมีการชักชวนและประชาสัมพันธ์ให้มาใช้บริการผ่านเว็บไซต์ OKX รวมถึงยังมีกิจกรรมส่งเสริมการขายอันเป็นการชักชวน ผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ เช่น Telegram ชื่อ “OKX TH” Twitter (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น X) ชื่อ “OKX Thai Community” Line OpenChat ชื่อ “Thai Community” เป็นต้น           การกระทำของ OKX เข้าข่ายประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลตามมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ) ซึ่ง OKX ดำเนินการโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26 อันมีความผิดและระวางโทษตามมาตรา 66 แห่ง พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ           นอกจากนี้ ยังปรากฏว่า OKX ได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนการประชาสัมพันธ์การให้บริการและกิจกรรมส่งเสริมการขายจากบุคคลทั้ง 9 ราย ได้แก่ (1) นายศรัณย์ บุญมีศรีสง่า ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “ลองลงทุน” Youtube ชื่อ “ลองลงทุน” และ Discord Server ชื่อ “LONGLONGTHUN Community” (2) นายณัฐ จูงวงศ์ ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “พ่อบ้านคริปโต” Youtube ชื่อ “พ่อบ้านคริปโต” Discord Server ชื่อ “Moonstation” และ Line OpenChat ชื่อ “Exclusive MoonStation” (3) นายกฤษณะ กฤษณานุวัตร์ ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “Srisiam” และ Youtube ชื่อ “Srisiam” (4) นายสมิทธิ เจริญมิน ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “น้ายามพาเทรด” และ Youtube ชื่อ “น้ายามพาเทรด” (5) นายกิตติทัศน์ เบญจเจริญพัฒน์ ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “I Learn A Lot : แชร์มุมมองด้านการลงทุน” Youtube ชื่อ “I Learn A Lot” และ Line OpenChat ชื่อ “Exclusive Wave125i” (6) นายสรวิศ สงวนโภคัย ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “Art of Crypto” Youtube ชื่อ “Art of Crypto” และ Telegram ชื่อ “Art of Crypto” (7) นายอัครวัฒน์ รุจิเรืองชัย ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “Crypto Teller : บอกกล่าวเล่าคริปโต” Youtube ชื่อ “cryptoteller007” และ Discord Server ชื่อ “Mookata Trader Community” (8) นายรชต เชื้อสายบัว ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “กราฟฟิ้ววว” Line OpenChat ชื่อ “กราฟฟิ้ววว เดอะ คอมมูนิตี้” และ Discord Server ชื่อ “ห้องลับจับคลื่น” (9) นายวรุตม์ วนิชยาโกศล ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “Insight On-Chain : ส่องข้อมูลออนเชน” และ Line OpenChat ชื่อ “Insight On-Chain มาคุยกัน”           การกระทำของบุคคลทั้ง 9 ราย ทำให้ OKX เป็นที่รู้จักและมีบุคคลสนใจไปใช้บริการ OKX มากขึ้น จึงเข้าข่ายเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ OKX ในการประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนมาตรา 26 อันมีความผิดและระวางโทษตามมาตรา 66 แห่งพ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ประกอบมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา           ก.ล.ต. จึงกล่าวโทษ OKX และผู้สนับสนุนการกระทำความผิดทั้ง 9 ราย ต่อ บก.ปอศ. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป           ทั้งนี้ ภายหลังการกล่าวโทษของ ก.ล.ต. กระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาต่อไปเป็นการสอบสวนของพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการ และการพิจารณาของศาลยุติธรรม ตามลำดับ โดย ก.ล.ต. จะติดตามความคืบหน้าในการดำเนินคดี และจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ในกระบวนการภายหลัง ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษแล้ว           พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. ขอเตือนประชาชนและผู้ลงทุนให้ระมัดระวังการใช้บริการกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และยังมีความเสี่ยงที่จะถูกหลอกลวง (scam) รวมถึงความเสี่ยงในการเป็นเส้นทางผ่านเงินของผู้กระทำความผิดที่ต้องการฟอกเงิน โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตได้ที่ www.sec.or.th หรือแอปพลิเคชัน “SEC Check First” และสามารถตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ได้ที่ investor alert ลิงก์ https://market.sec.or.th/public/idisc/th/InvestorAlert           ทั้งนี้ หากมีเบาะแสเกี่ยวกับการดำเนินการที่น่าสงสัย โปรดแจ้งที่ “ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและแจ้งเบาะแส” โทร. 1207 หรือผ่านช่องทาง Facebook page “สำนักงาน กลต.” หรือ Sec Live Chat ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. เพื่อการตรวจสอบในเชิงลึกต่อไป

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

ก.ล.ต. กล่าวโทษ XT.COM ประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต

ก.ล.ต. กล่าวโทษ XT.COM ประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต

             ก.ล.ต. กล่าวโทษผู้ให้บริการแพลตฟอร์มศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลบนเว็บไซต์ www.xt.com (XT.COM) ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ในความผิดกรณี XT.COM กรณีกระทำการเข้าข่ายประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ)              สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตรวจสอบพบว่า XT.COM ได้ให้บริการระบบการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่ออำนวยความสะดวกให้เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล โดยเก็บค่าธรรมเนียม และมีการชักชวนและประชาสัมพันธ์ให้มาใช้บริการของ XT.COM ในประเทศไทย ผ่านทางโซเชียลมีเดียเป็นภาษาไทย ได้แก่ Facebook Telegram และ YouTube รวมทั้งการออกบูธ XT.COM ในงานที่จัดขึ้นในประเทศไทยด้วย              การกระทำของ XT.COM เข้าข่ายประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ซึ่ง XT.COM ดำเนินการโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนมาตรา 26 อันมีความผิดและระวางโทษตามมาตรา 66 แห่ง พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ก.ล.ต. จึงกล่าวโทษ XT.COM ต่อ บก.ปอศ. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป              ทั้งนี้ ภายหลังการกล่าวโทษของ ก.ล.ต. กระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาต่อไปเป็นการสอบสวนของพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการ และการพิจารณาของศาลยุติธรรม ตามลำดับ โดย ก.ล.ต. จะติดตามความคืบหน้าในการดำเนินคดี และจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ในกระบวนการภายหลัง ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษแล้ว              พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. ขอเตือนประชาชนและผู้ลงทุนให้ระมัดระวังการใช้บริการกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และยังมีความเสี่ยงที่จะถูกหลอกลวง (scam) รวมถึงความเสี่ยงในการเป็นเส้นทางผ่านเงินของผู้กระทำความผิดที่ต้องการฟอกเงิน โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาตได้ที่ www.sec.or.th และแอปพลิเคชัน SEC Check First และสามารถตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ได้ที่ investor alert ลิงก์ https://market.sec.or.th/public/idisc/th/InvestorAlert              ทั้งนี้ หากมีเบาะแสเกี่ยวกับการดำเนินการที่น่าสงสัย โปรดแจ้งที่ “ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและแจ้งเบาะแส” โทร. 1207 หรือผ่านช่องทาง Facebook page “สำนักงาน กลต.” หรือ Sec Live Chat ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. เพื่อการตรวจสอบในเชิงลึกต่อไป

ก.ล.ต. เตือนผถห.กู้ NRF254A ใช้สิทธิประชุมวันที่ 25 มี.ค.68

ก.ล.ต. เตือนผถห.กู้ NRF254A ใช้สิทธิประชุมวันที่ 25 มี.ค.68

          สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ขอให้ผู้ถือหุ้นกู้ NRF254A ใช้สิทธิในการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ ศึกษาข้อมูล ซักถามผู้ออกหุ้นกู้หรือผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนและเพียงพอต่อการตัดสินใจลงมติ ในวันที่ 25 มีนาคม 2568           ตามที่บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) (NRF) ในฐานะผู้ออกหุ้นกู้ NRF254A จะจัดให้มี  การประชุมผู้ถือหุ้นกู้ ครั้งที่ 3/2568 ในวันที่ 25 มีนาคม 2568 เวลา 14.00 น. ด้วยวิธีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-meeting) โดยมีเรื่องเพื่อพิจารณาขอผ่อนผันหรือขออนุมัติ เพื่อไม่ให้ถือเป็นเหตุผิดนัดตามข้อกำหนดสิทธิ ดังนี้ (1) ผ่อนผันให้การที่บริษัทไม่สามารถดำเนินการปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้ 14 วัน ล่วงหน้าก่อนวันประชุม (2) ผ่อนผันให้บริษัทและนายทะเบียนนำส่งหนังสือเชิญประชุม โดยใช้รายชื่อผู้ถือหุ้นกู้ที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมและออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2568 เป็นรายชื่อผู้ถือหุ้นกู้ที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมและออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ครั้งที่ 3/2568 (3) อนุมัติให้การที่ผู้ออกหุ้นกู้นำที่ดิน อาคาร และเครื่องจักรของโรงงานผลิตเครื่องปรุงรสของบริษัทไปจำนองกับธนาคารแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นหลักประกันการขอวงเงินสินเชื่อ การ Refinance หรือการเจรจาผ่อนผัน หรือการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร           ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้กำหนดให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ประโยชน์ และผลกระทบที่ผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับจากการมีมติอนุมัติ หรือไม่อนุมัติ ให้ชัดเจนในแต่ละทางเลือก พร้อมเหตุผลประกอบโดยมีความเห็นของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ประกอบด้วย ก.ล.ต. จึงขอให้ผู้ถือหุ้นกู้ศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบ และใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ในการรักษาประโยชน์ของตนเอง พร้อมทั้งสอบถามข้อมูลต่าง ๆ จากผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อให้มีข้อมูลครบถ้วนประกอบการตัดสินใจออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ด้วย หมายเหตุ : ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ NRF254A ครบกำหนดชำระวันที่ 20 เมษายน 2570

ก.ล.ต.เห็นชอบปรับปรุงเกณฑ์ NC ของ DA Custodian

ก.ล.ต.เห็นชอบปรับปรุงเกณฑ์ NC ของ DA Custodian

          สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (คณะกรรมการ ก.ล.ต.) มีมติเห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์เงินกองทุน (Net Capital) สำหรับ DA Custodian เพื่อส่งเสริมให้เกิดผู้ให้บริการภายในประเทศมากขึ้น รวมทั้งเห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์อัตราค่าความเสี่ยงสำหรับ investment token และโทเคนดิจิทัลที่ไม่มี custody risk ยกระดับระบบนิเวศของโทเคนดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพ           ตามที่ ก.ล.ต. มีแนวทางในการส่งเสริมผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Custodial Wallet Provider : DA Custodian) ให้มีจำนวนมากขึ้น โดยสนับสนุนผู้ให้บริการดังกล่าวให้มีต้นทุนที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ต้องการฝากทรัพย์สินลูกค้ากับ DA Custodian ในประเทศ รวมถึงมีแนวทางในการส่งเสริมและยกระดับระบบนิเวศของโทเคนดิจิทัล ทั้งการออกเสนอขายในตลาดแรกและ การซื้อขายเปลี่ยนมือในตลาดรอง โดยลดภาระของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในการดำรงเงินกองทุนสำหรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเก็บรักษาทรัพย์สินลูกค้า (custody risk) กรณีที่ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (investment token) และโทเคนดิจิทัลที่ไม่มี custody risk           คณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2568 ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดำรงเงินกองทุน หรือ “หลักเกณฑ์ NC” ของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีสาระสำคัญดังนี้           (1) การปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ NC ของ DA Custodian โดยปรับลดอัตรา NC cold wallet สำหรับให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล (DA Custodian) ให้อยู่ที่ 1% (ลดลงจาก 2%) เพื่อส่งเสริมให้เกิดผู้ให้บริการภายในประเทศมากขึ้นและลดภาระต้นทุนให้ผู้ประกอบธุรกิจ ปรับเพิ่มสัดส่วนการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าใน cold wallet ให้ไม่น้อยกว่า 95% (จากเดิม 90%) และกำหนดห้ามผู้ประกอบธุรกิจประเภท DA Custodian มอบหมายระบบงานในการเก็บรักษาทรัพย์สินลูกค้าต่อไปยังผู้ให้บริการรายอื่น (ห้าม sub-custody) รวมทั้งปรับปรุงข้อกำหนดอื่น ๆ ของหลักเกณฑ์ ให้สอดคล้องกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นที่เก็บรักษาทรัพย์สินลูกค้า*           (2) การปรับปรุงหลักเกณฑ์อัตราค่าความเสี่ยงสำหรับโทเคนดิจิทัลที่ไม่มี custody risk โดยกำหนดยกเว้นอัตรา NC custody risk สำหรับโทเคนดิจิทัล** ที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเก็บรักษาไว้ใน hot และ cold wallet หากเหรียญดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด*** รวมถึงไม่ต้องนำไปฝากไว้กับผู้ประกอบธุรกิจประเภท DA Custodian           ทั้งนี้ ก.ล.ต. จะดำเนินการยกร่างประกาศ เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และออกประกาศบังคับใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อไป หมายเหตุ : * ได้แก่ การใช้ same coin ในการดำรงเงินกองทุน การปรับปรุงนิยามของกรมธรรม์ และการดำเนินการกรณีที่ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้ ** โทเคนดิจิทัล ให้หมายความตามนิยาม "โทเคนดิจิทัล" ใน พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ https://www.sec.or.th/TH/Documents/ActandRoyalEnactment/RoyalEnactment/enactment-digitalasset2561.pdf *** เช่น ผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องจะต้องมีบริการที่สามารถติดต่อประสานงานได้ในประเทศไทย หรือระบุเงื่อนไขการออกเหรียญใหม่ (re-issue) อย่างชัดเจนในแบบ filing เป็นต้น

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

ก.ล.ต.ปรับปรุงหลักเกณฑ์ยกเว้นใบอนุญาตผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลฯ

ก.ล.ต.ปรับปรุงหลักเกณฑ์ยกเว้นใบอนุญาตผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลฯ

          สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อยกเว้นใบอนุญาตผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล ให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม (MF) และกองทุนส่วนบุคคล (PF) ที่บริหารจัดการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อให้ช่องทางของผู้ประกอบธุรกิจฝั่ง traditional เป็นหนึ่งในกลไกสนับสนุน การเติบโตของโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment token) รวมถึงเพิ่มความยืดหยุ่นและความหลากหลายในการลงทุนของ MF และ PF โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2568           ตามที่ ก.ล.ต. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อหลักการและร่างประกาศเพื่อยกเว้นใบอนุญาตผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลให้แก่ บล. และ บลจ. ที่บริหารจัดการ MF และ PF ที่ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงตลาด Investment token ได้มากขึ้นทั้งในตลาดแรกและตลาดรอง ผ่านช่องทางของผู้ประกอบธุรกิจฝั่ง traditional ซึ่งจะทำให้ระบบนิเวศของตลาด Investment token มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ตลอดจนช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความหลากหลายในการลงทุนของกองทุน MF และ PF โดยมีการกำกับดูแล บล. และ บลจ. ซึ่งลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลภายใต้หลักเกณฑ์ด้านหลักทรัพย์ ทั้งนี้ จากการเปิดรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวแล้วเสร็จเมื่อช่วงไตรมาส 4 ของปี 2567 ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้แสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์ตามที่ ก.ล.ต. เสนอ           ก.ล.ต. จึงได้ออกประกาศการปรับปรุงหลักเกณฑ์สำหรับ บล. และ บลจ. ดังกล่าวข้างต้น* โดยเผยแพร่ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาและมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป หมายเหตุ : * ประกาศที่เกี่ยวข้องจำนวน 1 ฉบับ ดังนี้ ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กธ. 1/2568 เรื่อง การกำหนดลักษณะการจัดการเงินทุนที่ไม่ถือเป็นการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทการเป็นผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2) https://publish.sec.or.th/nrs/10662s.pdf

ก.ล.ต. กล่าวโทษ

ก.ล.ต. กล่าวโทษ"จักรชัย สกุลเอกไพศาล" ต่อบก.ปอศ. กรณีปั่นหุ้น PK-TKT-PROS

              หุ้นวิชั่น - ก.ล.ต. กล่าวโทษนายจักรชัย สกุลเอกไพศาล ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) กรณีสร้างราคาและ/หรือปริมาณการซื้อขายหุ้นของบริษัท พัฒน์กล จำกัด (มหาชน) (PK) หุ้นของบริษัท ที.กรุงไทยอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) (TKT) และหุ้นของบริษัทพรอสเพอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (PROS) และแจ้งการดำเนินการต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)               สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ในเดือนกันยายน 2567 และดำเนินการตรวจสอบเพิ่มเติม พบพยานหลักฐานที่ทำให้เชื่อได้ว่า นายจักรชัย ได้สร้างราคาและ/หรือปริมาณการซื้อขายหุ้น PK ในระหว่างวันที่ 10 – 11 เมษายน 2567 หุ้น TKT ในระหว่างวันที่ 24 – 25 เมษายน 2567 และหุ้น PROS ในระหว่างวันที่ 10 – 13 พฤษภาคม 2567 โดยมีพฤติกรรม เช่น ส่งคำสั่งซื้อขายในลักษณะผลักดันราคาให้ปรับตัวสูงขึ้น ส่งคำสั่งเสนอซื้อครองไว้หลายระดับราคาในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการส่งคำสั่งเสนอซื้อของบุคคลอื่น รวมถึงส่งคำสั่งเสนอซื้อในช่วงก่อนเปิดหรือปิดตลาด โดยมุ่งหมายให้ราคาเปิดหรือราคาปิดของหลักทรัพย์ดังกล่าวปรับตัวสูงขึ้น เป็นต้น ทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับราคาและ/หรือปริมาณการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และมุ่งหมายให้ราคาและ/หรือปริมาณการซื้อหรือขายหุ้น PK TKT และ PROS ผิดไปจากสภาพปกติของตลาด               การกระทำของนายจักรชัย เข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 244/3 (1) และ (2) ประกอบบทสันนิษฐาน 244/5 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ) ซึ่งมีระวางโทษตามมาตรา 296 มาตรา 296/1 และมาตรา 296/2 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ก.ล.ต. จึงได้กล่าวโทษนายจักรชัย ต่อ บก.ปอศ. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป               พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. ได้แจ้งการดำเนินการตามข้างต้นต่อ ปปง. เนื่องจากความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำอัน ไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งเข้าข่ายเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน               ทั้งนี้ ภายหลังการกล่าวโทษของ ก.ล.ต. กระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาต่อไปเป็นการสอบสวนของพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการ และการพิจารณาของศาลยุติธรรม ตามลำดับ โดย ก.ล.ต. จะติดตามความคืบหน้าในการดำเนินคดี และจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ในกระบวนการภายหลัง ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษแล้ว

ก.ล.ต.เปิดเฮียริ่งร่างประกาศข้อกำหนดผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์-สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฯ

ก.ล.ต.เปิดเฮียริ่งร่างประกาศข้อกำหนดผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์-สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฯ

             หุ้นวิชั่น - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างประกาศเกี่ยวกับข้อกำหนดสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ผู้ประกอบธุรกิจ) ที่ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้* ซึ่งรวมถึงการดูแลรักษาทรัพย์สิน และการรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้า (KYC) เพื่อให้ทรัพย์สินของลูกค้ามีความปลอดภัยและสามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง              ตามที่ ก.ล.ต. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักการปรับปรุงหลักเกณฑ์ข้อกำหนดสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ ที่ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้ การดูแลรักษาทรัพย์สิน และการรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้า เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม – 14 สิงหาคม 2567 โดยได้รับความเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ก.ล.ต. จึงได้ทบทวนหลักการตามข้อเสนอแนะและนำหลักการดังกล่าวยกร่างประกาศพร้อมทั้งร่างเอกสารแนบท้ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทรัพย์สินของลูกค้ามีความปลอดภัยและสามารถใช้บริการธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยที่หลักเกณฑ์ไม่สร้างภาระเกินจำเป็นแก่ผู้ประกอบธุรกิจ ก.ล.ต. จึงเปิดรับฟังความคิดเห็นร่างประกาศพร้อมทั้งร่างเอกสารแนบท้ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ (1) ปรับปรุงข้อกำหนดสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้ โดยมีลำดับการดำเนินการ เริ่มจากการระงับการให้บริการเฉพาะธุรกิจที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงเชิงระบบ การโอนทรัพย์สินและฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของลูกค้าไปยังผู้ประกอบธุรกิจรายใหม่ และการล้างฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (2) กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้โดยมีสาเหตุจากมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลที่ผู้ประกอบธุรกิจเก็บรักษาหรือปริมาณการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่ารวดเร็ว สามารถขอผ่อนผันการจำกัดการประกอบธุรกิจเฉพาะส่วนของธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ โดยต้องแสดงได้ว่ายังมีสภาพคล่องเพียงพอให้สามารถประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามปกติ (3) เพิ่มข้อยกเว้นกรณีการโอนทรัพย์สินของลูกค้า โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้อง ขอความยินยอมจากลูกค้า สำหรับกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถดำรงเงินกองทุนได้ การโอนตามคำสั่งที่อาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่น และการโอนที่เกิดจากผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะเลิกหรือโอนกิจการตามประเภทใบอนุญาต (4) เพิ่มข้อยกเว้นให้ผู้ประกอบธุรกิจที่รับโอนทรัพย์สินของลูกค้าสามารถให้บริการขายหลักทรัพย์และลดฐานะสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแก่ลูกค้าที่รับโอนมาดังกล่าวได้ ระหว่างที่ยังรวบรวมและประเมินข้อมูลของลูกค้า (KYC) ไม่แล้วเสร็จ ตามเงื่อนไขที่กำหนด              ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวบนเว็บไซต์ ก.ล.ต. https://www.sec.or.th/TH/Pages/PB_Detail.aspx?SECID=1063 และระบบกลางทางกฎหมาย http://law.go.th/listeningDetail?survey_id=NTA3OURHQV9MQVdfRlJPTlRFTkQ=  ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือทาง e-mail: sawarin@sec.or.th และ arthipha@sec.or.th จนถึงวันที่ 16 เมษายน 2568

abs

ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร

ก.ล.ต. พร้อมออกเกณฑ์รองรับจัดตั้ง-จัดการ Thai ESGX

ก.ล.ต. พร้อมออกเกณฑ์รองรับจัดตั้ง-จัดการ Thai ESGX

          หุ้นวิชั่น - ก.ล.ต. พร้อมดำเนินการออกเกณฑ์รองรับการจัดตั้งและจัดการกองทุน Thai ESGX ที่สอดรับกับแนวนโยบายของภาครัฐ โดยเปิดให้ บลจ. ยื่นขอจัดตั้งกองทุนรวมได้ภายในเมษายน 2568 รองรับการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF และเงินลงทุนใหม่ ในช่วงพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2568 พร้อมเน้นย้ำ บลจ. และตัวแทนขายหน่วยลงทุน ให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลผู้ลงทุนเกี่ยวกับเงื่อนไขในการรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามมาตรการที่ภาครัฐกำหนด           ตามที่คณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2568 มีมติเห็นชอบหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ร่างกฎกระทรวงฯ) ตามมาตรการ การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนการลงทุนในหุ้นกลุ่มความยั่งยืน (ESG) และเพิ่มเสถียรภาพตลาดทุนไทย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ได้แก่ การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับเงินลงทุนใหม่ในกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนแบบพิเศษ (Thai ESGX) และการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)ไป Thai ESGX ในช่วงเวลาที่กำหนด 2 เดือน ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด           นางพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า “คณะกรรมการกำกับตลาดทุน (ก.ต.ท.) ในการประชุมครั้งที่ 3/2568 เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2568 มีมติเห็นชอบหลักการปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อรองรับการจัดตั้งและจัดการ Thai ESGX ที่สอดรับกับแนวนโยบายของภาครัฐ โดย ก.ล.ต. จะเร่งเดินหน้าออกประกาศรองรับการจัดตั้งและจัดการ Thai ESGX ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) สามารถยื่นขอจัดตั้งกองทุนรวมดังกล่าวได้ภายในเดือนเมษายน 2568 เพื่อรองรับการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF และเงินลงทุนใหม่สำหรับการลงทุนในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2568           นอกจากนี้ ก.ล.ต. ได้มีการหารือร่วมกับ บลจ. และตัวแทนขายหน่วยลงทุนทุกแห่ง เพื่อซักซ้อมความเข้าใจและเน้นย้ำให้ผู้ประกอบธุรกิจให้ความสำคัญในการสื่อสารกับผู้ถือหน่วยลงทุน LTF เกี่ยวกับเงื่อนไขสิทธิประโยชน์ทางภาษีใหม่ภายใต้ Thai ESGX และหากผู้ถือหน่วยลงทุน LTF รายใดแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี บลจ. และตัวแทนขายหน่วยลงทุนจะต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขของการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF ไป Thai ESGX ที่ต้องดำเนินการให้ครบทุกกองทุน ทุก บลจ. เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขในการรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามมาตรการที่ภาครัฐกำหนดด้วย”           ทั้งนี้ เพื่อให้สอดรับกับแนวนโยบายของภาครัฐ ก.ต.ท. มีมติเห็นชอบหลักการให้ Thai ESGX ลงทุนในทรัพย์สินที่ผู้ออกเป็นภาครัฐไทยหรือกิจการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่มีคุณสมบัติด้านความยั่งยืนตามหลักเกณฑ์เดียวกับกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) ที่ต้องลงทุนในผลิตภัณฑ์กลุ่มความยั่งยืน โดยเฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV โดย Thai ESGX ต้องลงทุนในหุ้นกลุ่มความยั่งยืนโดยเฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของ NAV รวมทั้ง ต้องเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนของกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์กองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน (SRI Fund) เพื่อที่ผู้ลงทุนจะได้รับข้อมูลที่เพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน นอกจากนี้ Thai ESGX จะได้รับสิทธิยกเว้นค่าธรรมเนียมคำขอจัดตั้งและแก้ไขโครงการจาก ก.ล.ต. เช่นเดียวกับ SRI Fund ด้วย* สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามร่างกฎกระทรวงฯ เพื่อสนับสนุนการลงทุนในหุ้นกลุ่มความยั่งยืนและเพิ่มเสถียรภาพตลาดทุนไทย สำหรับผู้ลงทุนใน Thai ESGX โดยแบ่งวงเงินสิทธิประโยชน์ทางภาษีออกเป็น 2 วงเงิน** ประกอบด้วย วงเงินที่ 1 สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่สนใจลงทุนใน Thai ESGX ในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2568 วงเงินลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมิน เฉพาะในส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท โดยต้องถือครองหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี (วันชนวัน นับแต่วันที่ลงทุน) วงเงินที่ 2 สำหรับผู้ถือหน่วยลงทุนที่สับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF เดิม ที่ถือทั้งหมดใน LTF ทุกกองทุนในทุก บลจ. (ไม่รวม class หน่วยภาษีอื่นภายใต้กองทุนเดียวกัน เช่น class SSF) มาเป็นหน่วยลงทุนของ Thai ESGX ในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2568 วงเงินลดหย่อนภาษีสูงสุด 500,000 บาท โดยทยอยลดหย่อน 5 ปี ตั้งแต่ปีภาษี 2568 – 2572 ในปีแรก (2568) วงเงินลดหย่อนภาษีสูงสุด 300,000 บาท และปีที่ 2 – 5 (2569 - 2572) วงเงินลดหย่อนภาษีสูงสุดปีละ 50,000 บาท           ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของ Thai ESGX ได้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. www.sec.or.th หรือ https://www.sec.or.th/Documents/News/Attach/11616/QA%20Thai%20ESGX%20110368.pdf หมายเหตุ : * หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน (SRI Fund) กำหนดให้ บลจ. ที่บริหารจัดการ SRI Fund ต้องเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนภายใต้มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถเปรียบเทียบข้อมูลระหว่าง SRI Fund ได้อย่างสะดวก และมีข้อมูลที่เพียงพอประกอบการตัดสินใจลงทุน อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงด้านการฟอกเขียว (greenwashing) โดย ก.ล.ต. ได้ประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมประกอบด้วยค่าธรรมเนียมคำขออนุมัติจัดตั้ง 100,000 บาท ต่อกองทุนรวม และค่าธรรมเนียมคำขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการจัดการกองทุนรวม ไม่เกิน 5,000 บาท ต่อกองทุนรวม ** เงินหรือผลประโยชน์ที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุน จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี ถ้าการลงทุนเป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรประกาศกำหนด

ก.ล.ต.จัดทำมาตรการ-ออกมาตรฐานกวาดล้างบัญชีม้าฯ บังคับใช้ปลายมี.ค.นี้

ก.ล.ต.จัดทำมาตรการ-ออกมาตรฐานกวาดล้างบัญชีม้าฯ บังคับใช้ปลายมี.ค.นี้

          สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ร่วมกับสมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไทย (TDO) และผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล จัดทำมาตรการและออกมาตรฐานการกวาดล้างบัญชีม้าสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อยกระดับการป้องกันการหลอกลวงลงทุน และปราบปรามการฟอกเงินและอาชญากรรมทางเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมทั้งนำมาตรการบังคับใช้อย่างเข้มข้นในเดือนมีนาคมนี้           ตามที่ ก.ล.ต. มีการประสานงานและประชุมหารือสมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไทย (TDO) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และสมาคมธนาคารไทย เกี่ยวกับป้องกันการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นช่องทางในการฟอกเงินของกลุ่มมิจฉาชีพอย่างต่อเนื่อง           ก.ล.ต. เปิดเผยถึงความคืบหน้าถึงการร่วมกับ TDO ในการจัดทำมาตรการและมาตรฐานการดำเนินการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (Industry Standard) เพื่อกำจัดและสกัดกั้นบัญชีม้าสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งครอบคลุมถึงการสกัดกั้นบัญชีม้าที่เปิดใหม่ การตรวจจับพฤติกรรมผิดปกติของลูกค้า รวมทั้งการตรวจสอบและดำเนินการกับบัญชีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่เข้าข่ายเป็นบัญชีม้า รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีม้าจากภาคธนาคารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง           นายเอนก อยู่ยืน รองเลขาธิการ และโฆษก ก.ล.ต. กล่าวว่า “ก.ล.ต. ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการกระทำผิดที่เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนจำนวนมาก โดยได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการและแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่ผ่านมาในหลายมิติอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการจัดทำมาตรการและออกมาตรฐาน Industry Standard ซึ่งจะช่วยป้องกันการถ่ายเทเงินของผู้เสียหายแปลงเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านบัญชีม้าสินทรัพย์ โดยผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหลายรายได้นำมาตรการดังกล่าวไปใช้สกัดกั้นบัญชีม้าบ้างแล้ว ทั้งนี้ ในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2568 จะนำมาตรการไปบังคับใช้อย่างเข้มข้นเพื่อให้เป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลของไทย อย่างไรก็ดี ก.ล.ต. จะร่วมกับ TDO ในการติดตามและประเมินผลการดำเนินมาตรการอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง เพื่อให้มาตรการต่าง ๆ มีประสิทธิภาพสูงสุด”

ก.ล.ต.เผยแพร่ Q&A กองทุน Thai ESGX

ก.ล.ต.เผยแพร่ Q&A กองทุน Thai ESGX

Q : Thai ESGX คืออะไร ? A : กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนแบบพิเศษ (Thailand ESG Extra Fund : Thai ESGX) เป็นกองทุนรวมที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี รองรับการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF และเงินลงทุนใหม่ สำหรับการลงทุนในช่วงเวลาที่กำหนด 2 เดือน      ทั้งนี้ Thai ESGX ต้องลงทุนในทรัพย์สินที่ออกโดยผู้ออกหรือกิจการในประเทศไทยที่มีคุณสมบัติด้านความยั่งยืนตามหลักเกณฑ์เดียวกันกับกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) โดยเฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV โดยจะต้องลงทุนในหุ้นกลุ่มความยั่งยืน โดยเฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของ NAV   ประเภทสินทรัพย์ที่ Thai ESGX ต้องลงทุนในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV ประกอบด้วย (1) หุ้นกลุ่มความยั่งยืนใน SET หรือ mai ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของ NAV (2) ตราสารหนี้ในกลุ่มความยั่งยืน (3) โทเคนดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน Q : มีเงื่อนไขสิทธิประโยชน์ทางภาษี อย่างไร ? A : สิทธิประโยชน์ทางภาษีแบ่งออกเป็น 2 วงเงินใหม่ โดยไม่รวมกับกองทุนและประกันเพื่อรองรับการเกษียณการทำงานอื่น ๆ ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้ Thai ESGX (วงเงินลดหย่อนที่ 1) สำหรับเงินใหม่ที่บุคคลธรรมดาลงทุนในกองทุน Thai ESGX เฉพาะปี 2568 สูงสุด 300,000 บาท วงเงินลดหย่อน : ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท (เฉพาะปี 2568) ระยะเวลาลงทุน : เปิดระยะให้ลงทุนภายใน 2 เดือน (คาดว่าเริ่มเปิดขายหน่วยได้ทุกวันทำการของเดือน พ.ค. - มิ.ย. 68) การถือครอง : ไม่น้อยกว่า 5 ปี (วันชนวัน นับแต่วันที่ลงทุน) Thai ESGX (วงเงินลดหย่อนที่ 2) สำหรับผู้ลงทุนที่สับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF เดิม ที่ถือทั้งหมด ใน LTF ทุกกองทุนในทุก บลจ. มาเป็นหน่วยลงทุนของ Thai ESGX เพื่อรับเงินสิทธิลดหย่อนสำหรับ LTF เดิม สูงสุด 500,000 บาท วงเงินลดหย่อน : สูงสุด 500,000 บาท รวม ทยอยลดหย่อน 5 ปี ตั้งแต่ปีภาษี 2568 – 2572 ปีแรก (2568) : สูงสุด 300,000 บาท ปีที่ 2 - 5 (2569 - 2572) : สูงสุด ปีละ 50,000 บาท หน่วยลงทุนที่มีสิทธิ : หน่วยลงทุนที่ผู้ถือหน่วย LTF ถือครอง ณ วันที่ ครม. มีมติอนุมัติมาตรการข้างต้น (ไม่รวม class หน่วยภาษีอื่นภายใต้กองทุนเดียวกัน เช่น class SSF)       หมายเหตุ : ผู้ถือหน่วย LTF ที่ประสงค์ใช้สิทธิลดหย่อน ต้องสับเปลี่ยนจาก LTF ทุกกองทุน ในทุก บลจ. มา Thai ESGX ในช่วงระยะเวลาการสับเปลี่ยนที่กำหนด หากสับเปลี่ยนมาไม่ครบ จะไม่มีสิทธิใช้วงเงินลดหย่อนที่ 2 ได้  การถือครอง : Thai ESGX ที่สับเปลี่ยนจาก LTF รวมทั้งหมด ต้องถือครองไม่น้อยกว่า 5 ปี (วันชนวัน นับจากวันที่ส่งคำสั่งสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF เดิม มายังกองทุน Thai ESGX)       หมายเหตุ : การขายหน่วยลงทุนก่อนครบระยะเวลา 5 ปี จะต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับการยกเว้นและมีเบี้ยปรับตามที่กฎหมายหรือกฎเกณฑ์กำหนด นอกจากนี้ หากมีกำไรจากการขายหน่วยจะต้องนำกำไรนั้นมาคำนวณภาษีเงินได้ตามหลักเกณฑ์ทางภาษีด้วย ระยะเวลาในการสับเปลี่ยน : ภายใน 2 เดือน (คาดว่าเป็นช่วงเดียวกันกับการเปิดขายหน่วย Thai ESGX (วงเงินลดหย่อนที่ 1) คือ เริ่มเปิดให้สับเปลี่ยนหน่วย LTF มาเป็น Thai ESGX ได้ทุกวันทำการของเดือน พ.ค. - มิ.ย. 68) ทั้งนี้ การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด   Q : ใครได้ประโยชน์ทางภาษีจากการลงทุนใน Thai ESGX ? A : วงเงินลดหย่อนที่ 1 สำหรับเงินใหม่ที่บุคคลธรรมดาลงทุนในกองทุน Thai ESGX ในช่วงเวลาที่เปิดขายหน่วยไม่เกิน 2 เดือน (คาดว่า พ.ค. - มิ.ย. ปี 2568) ลดหย่อนสูงสุด 300,000 บาท ผู้ลงทุนทุกคนที่เป็นผู้เสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดาซึ่งรวมถึงผู้ถือหน่วย LTF ที่อยากลงทุนเพิ่มเติมนอกเหนือจากการได้รับสิทธิจากวงเงินลดหย่อนที่ 2 ด้วย วงเงินลดหย่อนที่ 2 สำหรับการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF เดิม มากองทุน Thai ESGX เพื่อรับเงินลดหย่อนสำหรับ LTF เดิม ลดหย่อนสูงสุด 500,000 บาท - ผู้ถือหน่วยกองทุนรวม LTF ที่มีชื่อเป็นผู้ถือหน่วยลงทุน ณ วันที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติ ที่ได้สับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF ทั้งหมดในทุกกองทุน ทุก บลจ. ของผู้ถือหน่วยลงทุนรายนั้น ๆ มาเป็นหน่วยลงทุน Thai ESGX Q: กรณีผู้ถือหน่วยกองทุนรวม LTF ประสงค์จะย้ายไปกองทุนรวม Thai ESGX หากมีเงินลงทุนมากกว่า 500,000 บาท จะมีผลอย่างไร ? A: หากต้องการใช้สิทธิลดหย่อนวงเงินที่ 2 จะต้องสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF ทั้งหมดในทุกกองทุน ทุก บลจ. ของผู้ถือหน่วยลงทุนรายนั้น ๆ มาเป็นหน่วยลงทุน Thai ESGX โดยหน่วยลงทุนที่สับเปลี่ยนมาแล้วรวมทั้งหมด ต้องถือครองตามเงื่อนไข ไม่น้อยกว่า 5 ปีด้วย (วันชนวัน นับจากวันที่ส่งคำสั่งสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF เดิม มากองทุน Thai ESGX)   Q : Thai ESGX วงเงินลดหย่อนที่ 1 (300,000 บาท) ให้สิทธิเฉพาะปี 2568 ? A : ใช่ Thai ESGX วงเงินลดหย่อนที่ 1 ให้สิทธิลดหย่อนเฉพาะในปี 2568 วงเงินลดหย่อนจากการลงทุนในช่วงระยะเวลา 2 เดือน ที่กำหนดในปี 2568 จะเป็นวงเงินสิทธิประโยชน์ทางภาษีแยกจากการลงทุนในกองทุน Thai ESG ปกติ ทั้งนี้ Thai ESGX จะสามารถเปิดขายได้้อีกครั้งตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไป โดย Thai ESG และ Thai ESGX จะใช้วงเงินลดหย่อนเดียวกัน Q : สรุปแล้วในปีภาษี 2568 ผู้ลงทุนมีวงเงินที่สามารถลดหย่อนสำหรับการลงทุนในกอง ESG อย่างไรบ้าง      A : ทั้งนี้ ในปี 2568 มีกองทุนรวมกลุ่ม Thai ESG ที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี 3 วงเงิน รวมสูงสุดไม่เกิน 900,000 บาท ดังนี้ เงินลงทุนใหม่สำหรับผู้ลงทุนทุกรายที่ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Thai ESG ในปัจจุบัน โดยลดหย่อนไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท เงินลงทุนใหม่สำหรับผู้ลงทุนทุกรายที่ลงทุนใน Thai ESGX ในช่วงระยะเวลา 2 เดือนที่เปิดขายในปี 2568 โดยลดหย่อนไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับผู้ถือหน่วย LTF ที่สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนจาก LTF ทุกกองทุนไป Thai ESGX โดยมีวงเงินลดหย่อน ดังนี้ ปีแรก (2568) : สูงสุด 300,000 บาท ปีที่ 2 - 5 (2569 - 2572) : สูงสุดปีละ 50,000 บาท ***************

abs

Hoonvision

ก.ล.ต.ขอให้พนักงานอัยการฟ้องผู้กระทำความผิด 10 ราย ต่อศาลแพ่ง กรณีปั่นหุ้น STAR

ก.ล.ต.ขอให้พนักงานอัยการฟ้องผู้กระทำความผิด 10 ราย ต่อศาลแพ่ง กรณีปั่นหุ้น STAR

            หุ้นวิชั่น - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ขอให้พนักงานอัยการฟ้องผู้กระทำความผิด 10 ราย ได้แก่ (1) นางอนัญญา เรืองศักดิ์วิชิต (2) นางกิ่งกาญจน์ สมิตานนท์ (3) นางสาวนฤมล แมงทับ (4) นายโดม พรหมายน (5) นางสาวณัฐชานันท์ สิริรุจิโยทัย (6) นายสุสิชณ์ทักษ์ อัจฉริยะสมบัติ (7) นายธนกฤต อัจฉริยะสมบัติ (8) นางสาวภัสธารีย์ วงษ์ทองหลิน (9) นายประพล มิลินทจินดา และ (10) นายกานต์ พรหมายน กรณีสร้างราคาหุ้นบริษัท สตาร์ ยูนิเวอร์แซล เน็ตเวิร์ค จำกัด (มหาชน) (STAR)* เพื่อขอให้กำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งในอัตราสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนด             ตามที่คณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง (ค.ม.พ.) ได้มีมติให้นำมาตรการลงโทษทางแพ่งมาใช้บังคับกับผู้กระทำความผิดรวม 15 ราย** ในกรณีสร้างราคาหุ้น STAR โดยกำหนดให้ชำระเงินรวม 65,170,068 บาท (ค่าปรับทางแพ่ง ชดใช้เงินในจำนวนเท่ากับผลประโยชน์ที่ได้รับหรือพึงได้รับ และชดใช้ค่าใช้จ่ายของ ก.ล.ต. เนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิด) และกำหนดระยะเวลาห้ามซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นระยะเวลารายละ 14 เดือน หรือ 24 เดือน หรือ 25 เดือน หรือ 39.5 เดือน (แล้วแต่กรณี) และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารเป็นระยะเวลารายละ 28 เดือน หรือ 48 เดือน หรือ 50 เดือน หรือ 79 เดือน (แล้วแต่กรณี)             ทั้งนี้ มีผู้กระทำความผิด 5 ราย ได้ยินยอมปฏิบัติตามมาตรการลงโทษทางแพ่งที่ ค.ม.พ. กำหนด ส่วนผู้กระทำความผิดอีก 10 ราย ได้แก่ นางอนัญญา นางกิ่งกาญจน์ นางสาวนฤมล นายโดม นางสาวณัฐชานันท์ นายสุสิชณ์ทักษ์ นายธนกฤต นางสาวภัสธารีย์ นายประพล และนายกานต์ ไม่ยินยอมปฏิบัติตามมาตรการลงโทษทางแพ่งที่ ค.ม.พ. กำหนด ซึ่งพิจารณาได้ว่าผู้กระทำความผิดทั้ง 10 ราย ไม่ยินยอมที่จะระงับคดีในชั้น ก.ล.ต.             ดังนั้น ก.ล.ต. จึงมีหนังสือขอให้พนักงานอัยการดำเนินการฟ้องคดีผู้กระทำความผิดทั้ง 10 รายดังกล่าวต่อศาลแพ่ง เพื่อขอให้กำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่ง โดยให้ชำระเงินรวมทั้งสิ้น 47,918,019.93 บาท พร้อมดอกเบี้ย รวมทั้งกำหนดระยะเวลาห้ามผู้กระทำความผิดทั้ง 10 ราย ซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร ตามแต่ละกรณีที่สร้างราคา ในอัตราสูงสุดที่กฎหมายบัญญัติ             อนึ่ง ก.ล.ต. ได้นำส่งการดำเนินการดังกล่าวต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ เนื่องจากความผิดเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542

ก.ล.ต. ปรับปรุงหลักเกณฑ์บัญชีรายชื่อคริปโทเคอร์เรนซีฯ

ก.ล.ต. ปรับปรุงหลักเกณฑ์บัญชีรายชื่อคริปโทเคอร์เรนซีฯ

           หุ้นวิชั่น - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ปรับปรุงหลักเกณฑ์บัญชีรายชื่อคริปโทเคอร์เรนซีที่ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด เพื่อให้ผู้ออกเสนอขายโทเคนดิจิทัล (Issuer) รับคริปโทเคอร์เรนซีเป็นการตอบแทน และผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) รับคริปโทเคอร์เรนซีจากผู้ลงทุนหรือ Issuer ในการทำธุรกรรม และเพื่อให้ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลกับคริปโทเคอร์เรนซีได้เพิ่มเติมอีก 2 สกุล ได้แก่ USD Coin (USDC) และ Tether (USDT) โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่16 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป            ตามที่ ก.ล.ต. ได้กำหนดบัญชีรายชื่อคริปโทเคอร์เรนซีที่ Issuer, ICO Portal, และศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถรับเป็นการตอบแทนหรือทำธุรกรรม หรือใช้ซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล โดยปัจจุบันมีจำนวน 5 รายชื่อ ได้แก่ Bitcoin (BTC), Ethereum (ETH), Ripple (XRP), Stellar (XLM) และคริปโทเคอร์เรนซี ที่ใช้ในการทดสอบการชำระราคาที่มีการกำหนดเงื่อนไขอัตโนมัติ (Programmable Payment) ภายใต้ Enhanced Regulatory Sandbox ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)            ดังนั้น เพื่อให้หลักเกณฑ์มีความยืดหยุ่นในการประกอบธุรกิจมากขึ้น ก.ล.ต. จึงเปิดรับฟังความคิดเห็นหลักการเกี่ยวกับการปรับปรุงรายชื่อคริปโทเคอร์เรนซีที่ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 โดยมีผู้แสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่เห็นด้วยกับหลักการและร่างประกาศดังกล่าว            ก.ล.ต. จึงออกประกาศเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์บัญชีรายชื่อคริปโทเคอร์เรนซีที่ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด* เพื่อรองรับให้ Issuer สามารถรับคริปโทเคอร์เรนซีเป็นการตอบแทน ICO Portal รับคริปโทเคอร์เรนซีจากผู้ลงทุนหรือ Issuer ในการทำธุรกรรม และผู้ประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลกับคริปโทเคอร์เรนซีได้เพิ่มเติมอีก 2 สกุล ได้แก่ เหรียญ USDT และ USDC ทั้งนี้ การออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว* มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2568  เป็นต้นไป

ก.ล.ต. แจ้งผถห.กู้ STARK ยื่นคำขอรับชำระหนี้คดีล้มละลายฯ

ก.ล.ต. แจ้งผถห.กู้ STARK ยื่นคำขอรับชำระหนี้คดีล้มละลายฯ

          หุ้นวิชั่น - ก.ล.ต. แจ้งให้ผู้ถือหุ้นกู้ STARK ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ระหว่าง ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ ลูกหนี้ ภายในวันที่ 11 เมษายน 2568           สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ขอแจ้งให้ทราบว่าผู้ถือหุ้นกู้ของบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (STARK) สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของศาลล้มละลายกลาง ระหว่าง ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ ลูกหนี้ ทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือยื่นด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจด้วยแบบพิมพ์ของกรมบังคับคดีต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดี หรือ สำนักงานบังคับคดีทั่วประเทศ*  ตามที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของ นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 ซึ่งขั้นตอนต่อไปตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 กำหนดให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อ          เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดี ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันที่ลงโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 11 เมษายน 2568** ก.ล.ต. จึงขอแจ้งให้ผู้ถือหุ้นกู้ STARK ดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้เพื่อเป็นการรักษาสิทธิ ตามวิธีการดังนี้ 1) การยื่นผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยยื่นคำขอรับชำระหนี้และแนบพยานหลักฐานประกอบคำขอ ตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดทางเว็บไซต์ของกรมบังคับคดี https://reqonline.led.go.th/online/pages/login.jsp 2) การยื่นเอกสารที่กรมบังคับคดี โดยยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ณ  ฝ่ายคำคู่ความ (ชั้น 2) อาคารกรมบังคับคดี 189/1 ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700 หรือสำนักงานบังคับคดีทั่วประเทศ โดยดาวน์โหลดแบบพิมพ์ได้ทางเว็บไซต์ของกรมบังคับคดี  https://www.led.go.th/th/views/2567/02/79-7.pdf           ผู้ถือหุ้นกู้ STARK สามารถศึกษาข้อมูลเรื่องเอกสารประกอบและแนวทางการยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ที่เว็บไซต์ของกรมบังคับคดี https://www.led.go.th/efiling/pdf/efiling-lom.pdf หรือโทรสอบถามได้ที่ กองบังคับคดีล้มละลาย 1 กรมบังคับคดี 0-2881-4999 ต่อ 4145 หรือ 0-2881-4949           สำหรับกระบวนการในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ และผู้ที่สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ ในคดีล้มละลาย เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483  ซึ่งการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีระหว่าง ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ ลูกหนี้ เป็นการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ STARK ในการขอรับชำระหนี้ การที่ผู้ถือหุ้นกู้ STARK จะได้รับชำระหนี้หรือไม่อย่างไร ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานในการพิสูจน์มูลหนี้ของผู้ถือหุ้นกู้ STARK และดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลล้มละลายกลางที่จะมีคำสั่งต่อไป  ทั้งนี้ ขอให้ผู้ถือหุ้นกู้ STARK ติดตามข่าวสารได้จากผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้

ก.ล.ต.ผนึกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชุมฯ ยกระดับมาตรการสกัดกั้นบัญชีม้า

ก.ล.ต.ผนึกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชุมฯ ยกระดับมาตรการสกัดกั้นบัญชีม้า

          หุ้นวิชั่น - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไทย (TDO) ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) กำหนดมาตรการเพิ่มเติมในการจัดการปัญหาบัญชีม้า เพื่อยกระดับการป้องกันการหลอกลวงลงทุน รวมทั้งปราบปรามการฟอกเงินและอาชญากรรมทางเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568           การประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ในครั้งนี้ ก.ล.ต. และสมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไทย (TDO) พร้อมทั้งผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ผนึกกำลังกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และสมาคมธนาคารไทย ร่วมกำหนดมาตรการและมาตรฐานการประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล (industry standard) เพิ่มเติม เพื่อจัดการปัญหากรณีเงินของผู้เสียหายถูกโอนย้ายออกผ่านช่องทางบัญชีม้าสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นบัญชีม้าจะถูกจำกัดการทำธุรกรรม บางลักษณะที่เสี่ยงต่อการฟอกเงิน           นางสาวจอมขวัญ คงสกุล รองเลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้ประสานการทำงานร่วมกับ TDO และ ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นช่องทางในการฟอกเงินของกลุ่มมิจฉาชีพ เช่น การจัดทำแนวทางเฝ้าระวังและตรวจสอบบัญชีต้องสงสัย โดยการร่วมประชุมในวันนี้ นอกจากจะยกระดับ industry standard เพื่อจัดการบัญชีม้าสินทรัพย์ดิจิทัลแล้ว ยังกำหนดมาตรการสำหรับจัดการบัญชีม้าแต่ละประเภทกรอบเวลาเร่งรัดดำเนินการ รวมทั้งวางแนวทางแลกเปลี่ยนข้อมูลและวางแนวทางประสานงานระหว่างผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ภาคธนาคาร ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสกัดกั้นไม่ให้เงินของผู้เสียหายถูกโอนย้ายออกผ่านช่องทางบัญชีม้าสินทรัพย์ดิจิทัล นอกจากนี้ ก.ล.ต. ยังมีมาตรการป้องกันการหลอกลงทุนตั้งแต่ต้นทาง เช่น การแจ้งเตือนและให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับกลโกงหลอกลงทุน และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปิดกั้นบัญชีโซเชียลมีเดียที่มีพฤติกรรมหลอกลงทุน           “อย่างไรก็ดี ก.ล.ต. มีการตรวจสอบระบบงานทำความรู้จักลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านการติดตามทั้งในรูปของ on-site inspection และ off-site monitoring อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลดำเนินการตามหลักเกณฑ์ มาตรการ และ มาตรฐานการประกอบธุรกิจดังกล่าวด้วย” รองเลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าว

ก.ล.ต.เตือนผถห.กู้ PRIME 4 รุ่น ใช้สิทธิประชุมฯ วันที่ 25 ก.พ.68

ก.ล.ต.เตือนผถห.กู้ PRIME 4 รุ่น ใช้สิทธิประชุมฯ วันที่ 25 ก.พ.68

            สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ขอให้ผู้ถือหุ้นกู้ PRIME จำนวน 4 รุ่น ใช้สิทธิในการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ ศึกษาข้อมูล ซักถามผู้ออกหุ้นกู้หรือผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนและเพียงพอต่อการตัดสินใจลงมติ ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568              ตามที่บริษัท ไพร์ม โรด เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (PRIME) ในฐานะผู้ออกหุ้นกู้ PRIME253B PRIME253A PRIME25DA และ PRIME25DB จะจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ ครั้งที่ 1/2568 ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 14.00 น. ด้วยวิธีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-meeting) โดยมีเรื่องเพื่อพิจารณา ดังนี้ (1) ขอผ่อนผันให้การที่ผู้ออกหุ้นกู้เสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อขอปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ การเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาชำระหนี้ การปรับเปลี่ยนอย่างใด ๆ เกี่ยวกับหนี้ ไม่ให้ถือเป็นเหตุผิดนัด หุ้นกู้ทั้ง 4 รุ่น (2) ขยายระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ทั้ง 4 รุ่น ออกไปอีก 1 ปีจากวันครบกำหนดเดิม (3) แบ่งชำระเงินต้นคืนเงินต้นหุ้นกู้ทั้ง 4 รุ่น แต่ละรุ่นจำนวน 2 งวด โดยงวดแรกไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าหุ้นกู้ และส่วนที่เหลือจะชำระคืนในวันครบกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ที่ขยายออกไป (งวดแรกหุ้นกู้ PRIME253B และ PRIME253A ชำระภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2568 และหุ้นกู้ PRIME25DA ชำระภายในวันที่ 2 ธันวาคม 2568 และ PRIME25DB ชำระภายในวันที่ 8 ธันวาคม 2568) (4) เพิ่มอัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ทั้ง 4 รุ่น ร้อยละ 0.50 ต่อปี จากอัตราดอกเบี้ยเดิมของแต่ละรุ่น ในช่วงระยะเวลาที่ได้ขยายอายุหุ้นกู้ออกไป (5) ขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดสิทธิ หุ้นกู้ 2 รุ่น (PRIME253A และ PRIME25DA) โดยให้ผู้ออกหุ้นกู้ มีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอน             ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้กำหนดให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ประโยชน์ และผลกระทบที่ผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับจากการมีมติอนุมัติ หรือไม่อนุมัติ ให้ชัดเจนในแต่ละทางเลือก พร้อมเหตุผลประกอบโดยมีความเห็นของผู้แทน ผู้ถือหุ้นกู้ประกอบด้วย ก.ล.ต. จึงขอให้ผู้ถือหุ้นกู้ศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบ และใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ ในการรักษาประโยชน์ของตนเอง พร้อมทั้งสอบถามข้อมูลต่าง ๆ จากผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อให้มีข้อมูลครบถ้วนประกอบการตัดสินใจออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ด้วย หมายเหตุ : บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์ จำกัด เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ PRIME253B ครบกำหนดไถ่ถอน วันที่ 8 มีนาคม 2568 และ PRIME25DB ครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 8 ธันวาคม 2568 บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ PRIME253A ครบกำหนดไถ่ถอน วันที่ 10 มีนาคม 2568 บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ PRIME25DA ครบกำหนดไถ่ถอน วันที่ 2 ธันวาคม 2568

ก.ล.ต. จัดงานสัมมนา ขับเคลื่อนธุรกิจยั่งยืน

ก.ล.ต. จัดงานสัมมนา ขับเคลื่อนธุรกิจยั่งยืน

          สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จัดงานสัมมนา “Governance for Sustainability - Instilling Governance for Sustainable Value Creation” เพื่อให้ภาคธุรกิจเล็งเห็นถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี อันเป็นรากฐานสำคัญของการดำเนินธุรกิจ สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงตลอดจนความท้าทาย และสร้างคุณค่าแก่ธุรกิจตลอดห่วงโซ่คุณค่าได้อย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568           ศ. ดร.พรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า การจัดงานสัมมนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของกลไกการกำกับดูแลในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีธรรมาภิบาลที่ดี ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่จะยกระดับความเชื่อมั่น (Trust and Confidence) ในบริษัทจดทะเบียนและตลาดทุนในองค์รวม รวมทั้งความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยการกำกับดูแลกิจการในปัจจุบันจะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียควบคู่ไปกับการสร้างการโตเติบของผลประกอบการ ซึ่ง ก.ล.ต. มุ่งสร้างความตระหนักให้แก่บริษัทจดทะเบียนและผู้ที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง           “หนึ่งในมาตรการสำคัญคือ หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 หรือ CG Code เพื่อเป็นหลักปฏิบัติสำหรับคณะกรรมการในฐานะผู้นำที่มีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลกิจการ ให้สามารถนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมกับบริบทของธุรกิจ โดยพิจารณาถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียหรือปัจจัยด้านความยั่งยืนในการกำหนดทิศทาง เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ ตลอดจนดูแลให้มั่นใจว่าการดำเนินการ เป็นไปตามทิศทางที่วางไว้ ซึ่งสอดรับกับหลักการ G20/OECD Principles of Corporate Governance ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ฉบับปรับปรุงที่เผยแพร่เมื่อปลายปี 2566 โดยเน้นพิจารณาความเสี่ยงและปัจจัยด้านความยั่งยืนต่อการดำเนินธุรกิจ เพื่อนำไปสู่ผลประกอบการที่ดีและยั่งยืนในระยะยาว”           สำหรับการสัมมนาในหัวข้อ Building a Sustainability – Competent Board ได้รับเกียรติจาก ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และนายกุลเวช เจนวัฒนวิทย์ กรรมการผู้อำนวยการ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ร่วมสนทนาและแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับบทบาทการกำกับดูแลของคณะกรรมการในยุคปัจจุบันที่จำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับทิศทางการดำเนินธุรกิจท่ามกลางความท้าทายในปัจจุบัน โดยสิ่งสำคัญ คือ การมีทัศนคติ (attitude) และแรงจูงใจ (motivation) ประกอบกับทักษะและความรู้ของผู้นำองค์กรที่จะส่งเสริมเรื่องความยั่งยืน การสร้างสมดุลที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมในการดำเนินธุรกิจด้วย           นอกจากนี้ ยังมีการเสวนาในหัวข้อ Reflecting ESG Values in the Business โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวปิยพร พรรณเชษฐ์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ทีซีเอ็ม คอร์ปอเรชั่น นายสมพล ธนาดำรงศักดิ์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บมจ. ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ นางสาวนภารัตน์ ศรีวรรณวิทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา และนายไพรัช ศรีวิไลฤทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สำนักกำกับดูแลกิจการ บมจ. ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของกรรมการและผู้บริหารระดับสูงในการนำทิศทางที่คำนึงปัจจัยด้านความยั่งยืนมาสู่กระบวนการธุรกิจ การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีธรรมาภิบาล ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีสรุปใจความสำคัญว่าความยั่งยืนไม่ใช่ภาระหรือประเด็นที่แยกออกจากการดำเนินการปกติของธุรกิจ แต่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถรับมือกับปัญหาและจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถบริหารจัดการธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำได้อย่างยั่งยืน           การจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ ประกอบด้วยกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง ผู้แทนจากบริษัทจดทะเบียน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาคตลาดทุน เข้าร่วมงานประมาณ 120 คน           ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรับชมงานสัมมนาย้อนหลังได้ที่ YouTube “ThaiSEC” หรือเว็บไซต์ https://www.sec.or.th/onereport [PR News]

ก.ล.ต.ร่วมประชุม หน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนอาเซียนฯ ครั้งที่ 42 ประเทศมาเลเซีย

ก.ล.ต.ร่วมประชุม หน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนอาเซียนฯ ครั้งที่ 42 ประเทศมาเลเซีย

        หุ้นวิชั่น - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เข้าร่วมประชุมหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนอาเซียน (ASEAN Capital Market Forum: ACMF) ระดับเลขาธิการ ครั้งที่ 42 เพื่อหารือทิศทางเชิงนโยบายการดำเนินการในอนาคตภายใต้ ACMF Action Plan 2026 - 2030 นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนของตลาดทุนอาเซียน ณ เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568         นางพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการ ก.ล.ต. เข้าร่วมการประชุมหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนอาเซียน ระดับเลขาธิการ ครั้งที่ 42 เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งมีหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนของมาเลเซีย (Securities Commission Malaysia: SC) เป็นเจ้าภาพ โดยที่ประชุมได้ให้การรับรองวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และประเด็นสำคัญของตลาดทุนอาเซียน ซึ่งผ่านการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหารือวิสัยทัศน์ร่วมกันกับ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในตลาดทุนของประเทศสมาชิก เพื่อนำมาใช้สำหรับแผนปฏิบัติการ 5 ปี ฉบับใหม่ หรือ ACMF Action Plan 2026 - 2030         การประชุมในครั้งนี้ได้ร่วมรับทราบความคืบหน้าของประเด็นสำคัญต่าง ๆ ดังนี้ (1) การพัฒนาการจัดทำมาตรฐานและเกณฑ์การจัดหมวดหมู่ ด้านการเงินเพื่อความยั่งยืนอาเซียน (ASEAN Taxonomy) (2) การดำเนินการภายใต้ Asia Green Transformation Consortium (3) การพัฒนาโครงการศึกษาตลาดคาร์บอนสมัครใจ (Voluntary Carbon Markets) (4) การพัฒนา Mitigation, Adaptation, Resilience and Sustainable Finance (MARS) Framework เพื่อสนับสนุนการเงินด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายในภูมิภาค (5) การประเมิน ASEAN Corporate Governance Scorecard และ (6) การนำมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับความยั่งยืน (International Sustainability Standards Board: ISSB Standards) มาปรับใช้ให้เหมาะสมตามบริบทของแต่ละประเทศ         นอกจากนี้ ก.ล.ต. ในฐานะประธานคณะทำงานด้านกองทุนรวมและการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล ได้เสนอความคืบหน้าของโครงการเพื่ออำนวยความสะดวกและเสริมสร้างความน่าสนใจของการขายกองทุนรวมข้ามกันภายใต้ ASEAN Collective Investment Schemes (CIS) พร้อมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนพัฒนาการและนโยบายในการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลของประเทศสมาชิก         การประชุมครั้งนี้ยังได้หารือทิศทางเชิงนโยบายของการดำเนินการในอนาคตภายใต้ ACMF Action Plan 2026 - 2030 นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนของตลาดทุนในภูมิภาค และส่งเสริมให้ตลาดทุนอาเซียนเป็นที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุนทั่วโลก ซึ่ง ก.ล.ต. มุ่งมั่นจะสนับสนุนการทำงานของ ACMF อย่างต่อเนื่อง เพื่อขับเคลื่อนและผลักดันการยกระดับศักยภาพตลาดทุนอาเซียนให้เป็นที่ยอมรับและแข่งขันได้ในระดับสากล

ก.ล.ต. ลงโทษทางแพ่งผู้กระทำผิดสร้างราคาหุ้น  ABM, F&D, TVDH-W3, AMR

ก.ล.ต. ลงโทษทางแพ่งผู้กระทำผิดสร้างราคาหุ้น ABM, F&D, TVDH-W3, AMR

          หุ้นวิชั่น - ก.ล.ต. เปิดเผยการดำเนินคดีด้วยมาตรการลงโทษทางแพ่งกับนายพชรดนัย ชาญหัตถกิจ ผู้กระทำความผิดกรณีสร้างราคาหลักทรัพย์ 4 หลักทรัพย์ ได้แก่ (1) หุ้นของบริษัท เอเชีย ไบโอแมส จำกัด (มหาชน) (ABM) (2) หุ้นบริษัท ฟู้ดแอนด์ดริ๊งส์ จำกัด (มหาชน) (F&D) (3) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ทีวีดี โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 3 (TVDH-W3) และ (4) หุ้นบริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด (มหาชน) (AMR) โดยเรียกให้ชำระเงินตามมาตราการลงโทษทางแพ่งรวม 4,614,013 บาท รวมทั้งกำหนดระยะเวลาห้ามซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร           สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อเดือนตุลาคม 2566 และตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า นายพชรดนัย ได้ส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ในลักษณะสร้างราคา เช่น ส่งคำสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ หรือซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในลักษณะผลักดันราคาให้ปรับตัวสูงขึ้น ส่งคำเสนอซื้อในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการส่งคำสั่งเสนอซื้อของบุคคลอื่น ส่งคำสั่งเสนอซื้อด้วยปริมาณน้อยในลักษณะมุ่งหมายให้ราคาหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงส่งคำสั่งเสนอซื้อในช่วงก่อนเปิดหรือปิดตลาด โดยมุ่งหมายให้ราคาเปิดหรือราคาปิดของหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น เป็นผลให้ราคาและปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ทั้ง 4 หลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นผิดไปจากสภาพปกติของตลาด เป็นต้น           ทั้งนี้ พฤติการณ์ของนายพชรดนัยตามที่กล่าวข้างต้น แยกออกเป็นรายกรณีดังนี้ กรณี ABM อยู่ระหว่างวันที่ 7 – 8 มิถุนายน 2566 กรณี F&D วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 กรณี TVDH-W3 ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม 2566 และกรณี AMR ระหว่างวันที่ 28 – 29 สิงหาคม 2566 อันเป็นการทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับราคาหรือปริมาณการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และเป็นการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ในลักษณะต่อเนื่องกัน โดยมุ่งหมายให้ราคาหลักทรัพย์หรือปริมาณการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ผิดไปจากสภาพปกติของตลาด           การกระทำของนายพชรดนัย เป็นความผิดมาตรา 244/3 (1)(2) ประกอบมาตรา 244/5 (4) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 296 มาตรา 296/1 มาตรา 296/2 และมาตรการลงโทษทางแพ่งตามมาตรา 317/5 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน           คณะกรรมการพิจารณามาตราการลงโทษทางแพ่ง (ค.ม.พ.) จึงมีมติให้นำมาตรการลงโทษทางแพ่งมาใช้บังคับกับนายพชรดนัย โดยกำหนดให้ชำระค่าปรับทางแพ่ง ชดใช้เงินในจำนวนเท่ากับผลประโยชน์ที่ได้รับหรือพึงได้รับ และชดใช้ค่าใช้จ่ายของ ก.ล.ต. เนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิด รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,614,013 บาท และ ห้ามซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า รวมเป็นเวลา 24 เดือน และ ห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทหลักทรัพย์ รวมเป็นเวลา 48 เดือน           มาตรการลงโทษทางแพ่งที่ ค.ม.พ. กำหนดจะมีผลเมื่อผู้กระทำความผิดลงนามในบันทึกการยินยอมปฏิบัติตามมาตรการลงโทษทางแพ่งที่ ค.ม.พ. กำหนด หากผู้กระทำความผิดไม่ยินยอม ก.ล.ต. จะมีหนังสือขอให้พนักงานอัยการดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง เพื่อกำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งในอัตราสูงสุดที่กฎหมายบัญญัติ โดยไม่ต่ำกว่าอัตราที่ ค.ม.พ. กำหนด           ทั้งนี้ เงินค่าปรับทางแพ่งและเงินค่าชดใช้คืนผลประโยชน์ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการกระทำความผิดเป็นรายได้แผ่นดินที่นำส่งกระทรวงการคลัง

ก.ล.ต. ออกหลักเกณฑ์ Net Capital Bond - วัตถุประสงค์การใช้เงิน

ก.ล.ต. ออกหลักเกณฑ์ Net Capital Bond - วัตถุประสงค์การใช้เงิน

          หุ้นวิชั่น - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ออกหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ออกและเสนอขาย Net Capital Bond ของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและปรับปรุงหลักเกณฑ์ในเรื่องการแก้ไขวัตถุประสงค์การใช้เงิน โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นต้นไป           ก.ล.ต. ออกหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ออกและเสนอขายตราสารด้อยสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ผู้ประกอบธุรกิจ) ที่มีเงื่อนไขในการเลื่อนหรือการยกเลิกการชำระดอกเบี้ย และการเลื่อนการชำระเงินต้น (Net Capital Bond) เพื่อรองรับการปรับปรุงนิยามหนี้สินด้อยสิทธิที่ไม่นับเป็นหนี้สินรวมในการคำนวณเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุปดังนี้ (1) กำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ออกและเสนอขาย Net Capital Bond ที่สอดคล้องกับนิยามหนี้สินด้อยสิทธิที่ไม่นับเป็นหนี้สินรวมในการคำนวณเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งกำหนดเพิ่มเติมจากตราสารหนี้ทั่วไป เช่น กำหนดให้การเสนอขายทุกลักษณะต้องมีการยื่นคำขออนุญาต มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมจากตราสารหนี้ทั่วไป และเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเงินกองทุนอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น  (2) กำหนดให้ตราสารหนี้ทั่วไป (plain vanilla) ต้องไม่มีข้อกำหนดในลักษณะที่มีความซับซ้อน เช่น ผู้ออก สามารถเลื่อนหรือยกเลิกการจ่ายดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทนอื่นได้ หรือมีเงื่อนไขในการปลดหนี้ (write off) เป็นต้น ซึ่ง Net Capital Bond ไม่นับเป็นตราสารหนี้ทั่วไป           พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับวิธีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้เงินให้เป็นไปตามข้อกำหนดสิทธิมาตรฐาน ปรับปรุงวิธีการพิจารณาคุณสมบัติอนุญาตในกรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้มีประวัติการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ และปรับปรุงถ้อยคำในประกาศที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน           ทั้งนี้ ประกาศที่มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าว ได้เผยแพร่ลงในราชกิจจานุเบกษาและมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นต้นไป

ก.ล.ต.ประกาศวันหยุดเพิ่ม

ก.ล.ต.ประกาศวันหยุดเพิ่ม

          ตามที่ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 ให้เพิ่มวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ เพื่อกระตุ้น การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ รวมถึงเป็นการสนับสนุนนโยบายที่จะกำหนดให้ปี 2568 เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวและกีฬาของประเทศไทยนั้น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พิจารณาแล้ว จึงกำหนดให้วันที่ 2 มิถุนายน 2568 และวันที่ 11 สิงหาคม 2568 รวมทั้งวันที่ 2 มกราคม 2569 เป็นวันหยุดทำการของบริษัทหลักทรัพย์และ ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลข้างต้น ซึ่งสอดคล้องกับวันหยุดทำการของสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

ก.ล.ต. ขอให้พนักงานอัยการฟ้องผู้กระทำความผิด 1 ราย ต่อศาลแพ่ง ราคาหุ้น THE

ก.ล.ต. ขอให้พนักงานอัยการฟ้องผู้กระทำความผิด 1 ราย ต่อศาลแพ่ง ราคาหุ้น THE

หุ้นวิชั่น -  สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ขอให้พนักงานอัยการฟ้องนายธีรวัฒน์ แซ่ก๊วย ผู้กระทำความผิด กรณีสร้างราคาหุ้นของบริษัท เดอะ สตีล จำกัด (มหาชน) (THE) เพื่อขอให้กำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่ง รวมทั้งกำหนดระยะเวลาห้ามซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร (แล้วแต่กรณี) ในอัตราสูงสุดตามกฎหมาย           ตามที่คณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง (ค.ม.พ.) ได้มีมติให้นำมาตรการลงโทษทางแพ่งมาใช้บังคับกับผู้กระทำความผิดในกรณีสร้างราคาหุ้นของ THE โดยกำหนดให้นายธีรวัฒน์ ชำระเงินรวม 18,919,992.95 บาท (ค่าปรับทางแพ่ง และชดใช้ค่าใช้จ่ายของ ก.ล.ต. เนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิด) และกำหนดระยะเวลาห้ามซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 14 เดือน และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารเป็นระยะเวลา 28 เดือน           ทั้งนี้ เนื่องจากนายธีรวัฒน์ ไม่ยินยอมปฏิบัติตามมาตรการลงโทษทางแพ่งที่ ค.ม.พ. กำหนด ซึ่งพิจารณาได้ว่า นายธีรวัฒน์ ไม่ยินยอมที่จะระงับคดีในชั้น ก.ล.ต.ดังนั้น ก.ล.ต. จึงมีหนังสือขอให้พนักงานอัยการดำเนินการฟ้องคดีนายธีรวัฒน์ ต่อศาลแพ่ง เพื่อขอให้กำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งทุกมาตรการในอัตราสูงสุดที่กฎหมายบัญญัติ พร้อมดอกเบี้ย รวมทั้งกำหนดระยะเวลาห้ามซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร           พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. ได้นำส่งกรณีดังกล่าวต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ เนื่องจากความผิดเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542           นายเอนก อยู่ยืน รองเลขาธิการ และโฆษก ก.ล.ต. กล่าวว่า “กรณีนี้ ก.ล.ต. ได้ ดำเนินคดีด้วยมาตรการลงโทษทางแพ่งกับผู้กระทำความผิดรวม 14 ราย โดยเรียกให้ชำระเงินตามมาตรการลงโทษทางแพ่ง กำหนดระยะเวลาห้ามซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร ซึ่งมีผู้กระทำผิด 13 รายได้ยินยอมปฏิบัติตามมาตรการลงโทษทางแพ่งแล้วเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ ก.ล.ต. ให้ความสำคัญกับกระบวนการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดทุกกรณี มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้”

ก.ล.ต. เตรียมปรับเกณฑ์ตรวจข้อมูลลูกค้า-ทบทวนวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์

ก.ล.ต. เตรียมปรับเกณฑ์ตรวจข้อมูลลูกค้า-ทบทวนวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์

          หุ้นวิชั่น - วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 | ฉบับที่ 257 / 2567 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็นหลักการและร่างประกาศเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจมีการตรวจสอบข้อมูลลูกค้าระหว่างกันเพื่อให้มีข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่จำเป็นและครบถ้วนมากยิ่งขึ้น สำหรับใช้ประกอบการพิจารณากำหนดและทบทวนวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้าได้อย่างเหมาะสมต่อความสามารถในการชำระหนี้ สถานการณ์ความผิดปกติจากการซื้อขายหลักทรัพย์และการผิดนัดชำระราคาการซื้อหลักทรัพย์ของผู้ลงทุนในช่วงที่ผ่านมา มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่บริษัทหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายสัญญาล่วงหน้า (รวมเรียก ผู้ประกอบธุรกิจ) ขาดข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่จำเป็นและครบถ้วนในการนำมาใช้ประกอบการพิจารณากำหนดวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์ ส่งผลให้วงเงินรวมที่ลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจได้รับทั้งหมด (กรณีขอวงเงินจากหลายแห่ง) อาจสูงเกินกว่าความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าได้ ก.ล.ต. จึงเห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับตลาดทุนเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจมีข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่จำเป็นและเพียงพอต่อการนำไปใช้ประกอบการพิจารณากำหนดและทบทวนวงเงินให้แก่ลูกค้าได้อย่างเหมาะสมต่อความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดพฤติกรรมการซื้อขายที่ไม่เหมาะสม และลดโอกาสการผิดนัดชำระราคาค่าซื้อขายหลักทรัพย์ที่อาจส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของผู้ประกอบธุรกิจ โดยมีสาระสำคัญในการกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องดำเนินการ ดังนี้ (1) ตรวจสอบและแลกเปลี่ยนข้อมูลลูกค้าระหว่างกัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมและประเมินข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้และการวางหลักประกันของลูกค้า เพื่อนำมาใช้ประกอบการพิจารณากำหนดและทบทวนวงเงินให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย (2) รวบรวม ประเมิน และวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าที่ขอ หรือมีวงเงินสูง หรือลูกค้าที่มีระดับความเสี่ยงสูง จากผู้ประกอบธุรกิจแห่งอื่นที่มีการให้บริการแก่ลูกค้ารายเดียวกัน สำหรับกรณีที่ลูกค้าขอเปิดบัญชีใหม่หรือลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญ โดยต้องดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการชำระหนี้ รวมทั้งมีกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ (3) นำส่งข้อมูลลูกค้าตามที่ได้รับการร้องขอจากผู้ประกอบธุรกิจแห่งอื่น ทั้งนี้ รายละเอียดการดำเนินการในการตรวจสอบข้อมูลลูกค้าดังกล่าว เช่น ช่องทางและวิธีการตรวจสอบข้อมูลของลูกค้าระหว่างกัน เงื่อนไขของลูกค้าที่ต้องตรวจสอบข้อมูลจากผู้ประกอบธุรกิจแห่งอื่น ชุดข้อมูลของลูกค้าที่ต้องตรวจสอบระหว่างกัน เป็นต้น ให้เป็นไปตามที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของก.ล.ต. ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นซึ่งมีรายละเอียดการปรับปรุงหลักการและร่างประกาศในเรื่องดังกล่าวบนเว็บไซต์ ก.ล.ต. (https://www.sec.or.th/TH/Pages/PB_Detail.aspx?SECID=1035) และระบบกลางทางกฎหมาย (http://law.go.th/listeningDetail?survey_id=NDY5MERHQV9MQVdfRlJPTlRFTkQ=) ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถศึกษาและแสดงความคิดเห็นได้ผ่านช่องทางเว็บไซต์ หรือทาง e-mail : chawannuch@sec.or.th หรือ pisut@sec.or.th จนถึงวันที่ 28 ธันวาคม 2567 _______________________

ก.ล.ต.  เปิดรับฟังความเห็น เพื่อส่งเสริมตลาดทุนดิจิทัลและเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลตลาดทุน

ก.ล.ต. เปิดรับฟังความเห็น เพื่อส่งเสริมตลาดทุนดิจิทัลและเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลตลาดทุน

          หุ้นวิชั่น - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … ร่างพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ร่างพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 พ.ศ. ... โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว สำหรับการเสนอแก้ไขกฎหมายดังกล่าวสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 เรื่องสำคัญ ได้แก่   (1) การส่งเสริมตลาดทุนดิจิทัล เช่น การแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดทุนให้ครบถ้วน และการเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ให้บริการที่มีนัยสำคัญต่อตลาดทุน    (2) การกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เช่น การปรับปรุงการกำกับดูแลผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจ และการเพิ่มบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลบุคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า    (3) การกำกับดูแลตลาดรองและองค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เช่น การปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อลดข้อจำกัดในการจัดตั้งและการประกอบการ การเพิ่มมาตรการกำกับดูแลให้การกำกับตลาดหลักทรัพย์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และการเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ของสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์    (4) การระดมทุน การกำกับดูแลสำนักงานสอบบัญชีและผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับตลาดทุน เช่น การปรับปรุงเกี่ยวกับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ การเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ และการกำกับดูแลสำนักงานสอบบัญชีและผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับตลาดทุน   (5) การเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายและการกำหนดมาตรการลงโทษ เช่น การกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของ ก.ล.ต. มีอำนาจสอบสวนในความผิดบางประเภทที่มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความเชื่อมั่นต่อระบบตลาดทุนหรือระบบเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งปรับปรุงบทกำหนดโทษ โดยเพิ่มมาตรการปรับเป็นพินัยให้สอดคล้องกับหลักการตามมาตรา 77 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565   (6) เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารองค์กรของ ก.ล.ต.   ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. https://www.sec.or.th/TH/Pages/PB_Detail.aspx?SECID=1032 ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือทาง e-mail: woraboon@sec.or.th pratchay@sec.or.th หรือ sirinpat@sec.or.th หรือสามารถเข้าไปให้ความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย https://www.law.go.th/listeningDetail?survey_id=NDY2NERHQV9MQVdfRlJPTlRFTkQ= จนถึงวันที่ 27 ธันวาคม 2567

ก.ล.ต. กล่าวโทษ 29 ราย ต่อ DSI กรณีปั่นหุ้น DPAINT

ก.ล.ต. กล่าวโทษ 29 ราย ต่อ DSI กรณีปั่นหุ้น DPAINT

          หุ้นวิชั่น - ก.ล.ต. กล่าวโทษผู้กระทำความผิดรวม 29 ราย ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กรณีสร้างราคาและ/หรือปริมาณการซื้อขายหุ้นบริษัท สีเดลต้า จำกัด (มหาชน) (DPAINT) พร้อมทั้งรายงานการดำเนินการต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)  สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี 2565 และดำเนินการตรวจสอบเพิ่มเติม พบพยานหลักฐานที่ทำเชื่อได้ว่ากลุ่มบุคคลรวม 29 ราย ได้แก่ (1) นางละออ ตั้งคารวคุณ (2) นางวิไล ตั้งคารวคุณ (3) น.ส.พัทธ์ธีรา หอมวิไล (4) น.ส.นิชานันท์ จีรไชยวรโชติ (เดิมชื่อ น.ส.จิระวรรณ ไชยพงศ์ผาติ) (5) นายนำพล ไชยพงศ์ผาติ (6) นายธนกฤต เลิศผาติ (7) นายวิวัฒน์ เลิศผาติ (8) นายณัฐภณ นิธิธนัตกุล (9) นายพัฒนะ นิธิธนัตกุล (10) น.ส.กนกพัฒน์ โชคธนมณี (11) นางรุ่งทิพย์ มณีวรรณ์ (12) นายปวิช ชัยธรรมกร (13) น.ส.พิมพ์ณดา วิทยาอมรโรจน์ (14) นายวินิจ มณีนวล (15) น.ส.ฐิติพร วังไพฑูรย์ (16) นายนพดล ศรีสุวรรณ (17) นายปทาน (เดิมชื่อ ประสิทธิ์) ศรีสุวรรณ (18) นายอนุวัฒน์ แซ่ตั้ง (19) นายกฤษกรณ์ รัมย์ไธสง (20) นายพงษ์พันธ์ ปานะพิมพ์ (21) น.ส.สุนันท์ สาลีพันธ์ (22) นายภาณุภณ วรพาณี (23) น.ส.สิริพิชชา มณีวรรณ์ (24) นายวงศภัค นิธิธนัตกุล (25) น.ส.สโรชา นาคบำรุง (26) นายตฤณ ถิรธนโภคิน (27) นายประสิทธิ์ ศิริเยาว์วรรณ (28) นายสมเกียรติ อินทสระ และ (29) นายสุรัตน์ อาศิรวาท ได้ร่วมกันสร้างราคาและ/หรือปริมาณการซื้อขายหุ้น DPAINT ในวันที่ 28 ตุลาคม 2564 ซึ่งเป็นวันแรกของการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) โดยมีพฤติกรรมการซื้อขายอย่างต่อเนื่อง ทั้งในช่วงก่อนเปิดตลาดภาคเช้าและในระหว่างวัน เช่น ส่งคำสั่งเสนอซื้อและ/หรือเสนอขายในปริมาณมากหลายระดับราคา รวมถึงผลักดันราคาหุ้น DPAINT ให้ปรับตัวสูงขึ้น เป็นต้น ส่งผลให้หุ้น DPAINT เปิดทำการซื้อขายที่ราคา 22.50 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาสูงสุดของวัน หรือคิดเป็นร้อยละ 200 ของราคาที่เสนอขายต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับราคาหรือปริมาณการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และมุ่งหมายให้ราคาหรือปริมาณการซื้อหรือขายหุ้น DPAINT ผิดไปจากสภาพปกติของตลาด อันเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 244/3 (1) และ (2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ) ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีระวางโทษตามมาตรา 296 มาตรา 296/1 และมาตรา 296/2 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ก.ล.ต. จึงได้กล่าวโทษผู้กระทำผิดทั้ง 29 รายต่อ DSI เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. ได้รายงานการดำเนินการตามข้างต้นต่อ ปปง. เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป เนื่องจากความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งเข้าข่ายเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน  ทั้งนี้ ภายหลังการกล่าวโทษของ ก.ล.ต. กระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาต่อไปเป็นการสอบสวนของพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการ และการพิจารณาของศาลยุติธรรม ตามลำดับ โดย ก.ล.ต. จะติดตามความคืบหน้าในการดำเนินคดี และจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ในกระบวนการภายหลัง ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษแล้ว

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456