#กระทรวงพลังงาน


“พลังงาน” จับมือ “อุตสาหกรรม” เร่งปลดล็อกอนุมัติไฟฟ้า หนุนเชื้อเพลิงชีวภาพ

“พลังงาน” จับมือ “อุตสาหกรรม” เร่งปลดล็อกอนุมัติไฟฟ้า หนุนเชื้อเพลิงชีวภาพ

          หุ้นวิชั่น - “พลังงาน” เดินเกมรุกจับมือ “อุตสาหกรรม” เร่งปลดล็อกการอนุมัติด้านไฟฟ้าให้เร็วขึ้น หนุนใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในอุตสาหกรรม S-Curve พร้อมผลักดันการใช้พลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน มุ่งลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และเพิ่มศักยภาพธุรกิจไทยอย่างเป็นรูปธรรม           เปิดมิติใหม่ของการบูรณาการงานร่วมกันระหว่างกระทรวงพลังงานและกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งปลดล็อกลดขั้นตอนขออนุญาตด้านไฟฟ้ายกระดับสู่ One Stop Service ชูแนวทางผลักดันเชื้อเพลิงชีวภาพไปสู่อุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่ารองรับการยกเลิกอุดหนุน และร่วมผลักดันกฎหมายส่งเสริมปาล์มน้ำมัน คิดไกลดูแลเทคโนโลยีพลังงานตั้งแต่ผลิตถึงการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งแผงโซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่ที่หมดอายุ นำระบบ Big Data ยกระดับการอนุรักษ์พลังงาน พร้อมประสานพลังพลิกโฉมภาคอุตสาหกรรมรองรับพลังงานไฮโดรเจนและการลงทุนจากต่างประเทศ           วันนี้ (16 ธันวาคม 2567) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ได้มีการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งนำโดย นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมผู้บริหารระดับสูงทั้ง 2 กระทรวง เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายสำคัญระหว่างกระทรวงพลังงานและกระทรวงอุตสาหกรรม หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน ได้แก่ ประเด็นการดำเนินการ One Stop Service การอนุมัติ/อนุญาตด้านไฟฟ้า เพื่อลดขั้นตอนกระบวนการและระยะเวลาการอนุมัติ/อนุญาตด้านไฟฟ้าให้ผู้ประกอบการมีความคล่องตัวในการดำเนินงานมากขึ้น ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการยกเลิกขั้นตอนขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4 ลำดับที่ 88) จาก พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 แล้ว โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างยกร่างกฎหมายว่าด้วยการยกเลิกใบอนุญาต รง.4 ดังกล่าว รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์สำหรับภาคประชาชนที่กระทรวงพลังงานเตรียมส่งเสริมในปีหน้า เพื่อลดขั้นตอนและอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น           ประชุมยังมีการหารือประเด็นการส่งเสริมการใช้ประโยชน์เชื้อเพลิงชีวภาพในอุตสาหกรรม S-Curve เพื่อเพิ่มมูลค่า เนื่องจากมาตรการชดเชยราคาเชื้อเพลิงชีวภาพจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2569 ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยและมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นต้นทางของเอทานอลจะได้รับผลกระทบ กระทรวงพลังงานจึงเตรียมมาตรการเพื่อส่งเสริมการใช้ทดแทนเอทานอลในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยา เครื่องสำอาง การสกัดสมุนไพร สุราสามทับ พลาสติกชีวภาพ หรือการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง คาดว่าจะสามารถผลักดันให้สามารถจำหน่ายเอทานอลไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นเพื่อชดเชยบางส่วนได้ในทันที ส่วนปริมาณที่เหลือจะหารือเพื่อลดผลกระทบต่อเกษตรกรและเป็นการเพิ่มมูลค่าให้เอทานอลมากขึ้นต่อไป           ในส่วนของไบโอดีเซล จะร่วมกันผลักดันกฎหมายส่งเสริมปาล์มน้ำมัน เพื่อสร้างกรอบในการกำหนดทิศทางการใช้ประโยชน์ของปาล์มน้ำมัน พร้อมไปกับการเพิ่มโอกาสนำเชื้อเพลิงชีวภาพให้สามารถผ่านเกณฑ์ความยั่งยืนของสากลเพื่อนำไปผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) รองรับ ความต้องการที่สูงขึ้นในอนาคต           นอกจากนี้ ที่ประชุมยังหารือแนวทางการรับซื้อใบอ้อย/ยอดอ้อยเพื่อผลิตไฟฟ้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยลดฝุ่น PM 2.5 ซึ่งเป็นหนึ่งในการแก้ปัญหาที่ประชาชนต้องเผชิญอย่างต่อเนื่องในฤดูเก็บเกี่ยวอ้อย โดยข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) พบว่า โรงไฟฟ้าชีวมวลสามารถรองรับการใช้ใบอ้อย/ยอดอ้อยในสัดส่วน 10 - 30% พร้อมร่วมพิจารณาการกำหนดอัตรารับซื้อไฟฟ้าที่เหมาะสมโดยไม่กระทบค่าไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศ ซึ่งกระทรวงพลังงานประเมินอัตรารับซื้อโรงไฟฟ้าชีวมวลจากใบอ้อย/ยอดอ้อยอยู่ในระดับ 2.67 บาท/หน่วย ด้านกระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมรับข้อเสนอและคาดว่าในปีหน้าจะสามารถเพิ่มปริมาณการใช้ใบอ้อยในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นหลังจากดำเนินนโยบายการรับซื้อในราคาที่จูงใจ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ลดการเผาแล้วก็เป็นส่วนหนึ่งในการลดฝุ่น PM2.5 ได้อีกด้วย           รวมทั้งประเด็นหารือความร่วมมือแนวทางการจัดการแผงโซลาร์เซลล์ และแบตเตอรี่ที่หมดอายุใช้งาน ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วจากการใช้เทคโนโลยีเปลี่ยนผ่านพลังงาน ซึ่งทั้งสองกระทรวงเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงขอความร่วมมือจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กำกับคุณภาพและความปลอดภัยของแผงโซลาร์เซลล์ และให้ทบทวนมาตรฐานแผงโซลาร์เซลล์ โดยเพิ่มเติมแนวทางการบริหารจัดการแผงโซลาร์เซลล์ให้ครอบคลุมตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการจัดการแผงที่หมดอายุใช้งานทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน รวมทั้งกระทรวงอุตสาหกรรมจะมีการร่างกฎหมายและจัดตั้งกองทุนเพื่อบริหารจัดการสำหรับแก้ไขปัญหาและชดเชยให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากแผงโซลาร์เซลล์ ทั้งนี้กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงาน กกพ. มีฐานข้อมูล ปริมาณการติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่ผลิตไฟฟ้าทั้งในระบบและนอกระบบที่สามารถนำไปประเมินปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์จากแผงโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุในอนาคตได้ รวมทั้งจะร่วมมือพัฒนาส่งเสริมการนำแบตเตอรี่จากยานยนต์ไฟฟ้า (BEV) มาใช้งานเป็น 2nd Life Battery คือนำไปใช้งานร่วมกับแหล่งผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน หรือเป็นระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) สำหรับบ้าน อาคาร โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ในด้านประเด็นการส่งเสริมการใช้ไฮโดรเจนในภาคอุตสาหกรรมนั้น ตามแผนการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฮโดรเจนในภาคพลังงาน ซึ่งเชื่อมโยงกับร่างแผน PDP2024 มีการกำหนดสัดส่วนผสมไฮโดรเจนกับก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนร้อยละ 5 ภายในปี 2573 เพื่อลดการปล่อย           ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในภาคพลังงาน โดยขอความร่วมมือจากกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกันเตรียมการให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงพิจารณาแนวทางการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์และเครื่องจักร รองรับการใช้เชื้อเพลิงผสมดังกล่าว โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมตามแนวท่อก๊าซธรรมชาติ โดยทางสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้นี้ เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางการเงินและเศรษฐศาสตร์สำหรับการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์           นอกจากนี้ ที่ประชุมยังหารือถึงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรม โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) อยู่ระหว่างผลักดันการใช้ Factory Energy Code ในภาคอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก ผ่านการดำเนินนโยบาย BCG พร้อมเชื่อมโยงข้อมูลโรงงาน เครื่องจักรของอุตสาหกรรม และข้อมูลการใช้พลังงานในโรงงานควบคุมและนอกข่ายควบคุม           “ผมถือว่าเป็นโอกาสดีที่ได้กำกับดูแลทั้งกระทรวงพลังงานและกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งโดยเนื้อหาของงานทั้งในภาคนโยบายและภาคปฏิบัติมีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงกันอย่างมาก การได้หารือร่วมกับหน่วยงานกระทรวงอุตสาหกรรมภายใต้การนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมท่าน เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ครั้งนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นมิติใหม่ที่จะสร้างความร่วมมือให้ประชาชนเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งเป้าหมายที่สำคัญคือการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานทั้งภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรมที่ส่งผลโดยตรงต่อความเป็นอยู่ของประชาชน กระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน รวมทั้งสร้างความชัดเจนในการพลิกโฉมการบริหารจัดการพลังงานสะอาดและการอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรมด้วยมาตรการที่เป็นรูปธรรม ช่วยนำประเทศเข้าใกล้เป้าหมายที่ประกาศจะสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี 2065” นายพีระพันธุ์ กล่าว           ด้านนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ กล่าวว่า “รู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่กระทรวงพลังงานและกระทรวงอุตสาหกรรมได้ทำงานกันอย่างใกล้ชิด โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้ตั้งเป้าที่จะให้ภาคอุตสาหกรรมดัน GDP ของไทยให้เพิ่มขึ้น 1% โดยที่ไม่ต้องใช้งบประมาณ เน้นการเพิ่มมูลค่าในด้านการผลิต ด้านการเกษตร และผลักดันมาตรการต่างๆ เพื่อในการเกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ที่สำคัญจะต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ถือเป็นการดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมแบบมีความรับผิดชอบ และพร้อมที่จะส่งเสริมธุรกิจใหม่อย่างการนำขยะมาสร้างมูลค่า ซึ่งก็ต้องใช้กฎหมายเข้ามาเป็นตัวช่วยผู้ประกอบการไทย ซึ่งจะพยายามดำเนินการให้เสร็จให้เร็วที่สุด”

‘พลังงาน’ จับมือ ‘ซัสโก้’ ลดราคาน้ำมันดีเซลลิตรละ 1 บาท 1 เดือน ฉลองวันพ่อแห่งชาติ ลดค่าใช้จ่ายประชาชน

‘พลังงาน’ จับมือ ‘ซัสโก้’ ลดราคาน้ำมันดีเซลลิตรละ 1 บาท 1 เดือน ฉลองวันพ่อแห่งชาติ ลดค่าใช้จ่ายประชาชน

          หุ้นวิชั่น - วันนี้ (3 ธ.ค. 67) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้แถลงถึงความร่วมมือระหว่างกระทรวงพลังงาน และ กลุ่มบริษัท ซัสโก้ จำกัด (มหาชน) ในการลดราคาน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 1.00 บาท เป็นเวลา 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2567 ถึงวันที่ 5 มกราคม 2568 ณ สถานีบริการจำหน่ายน้ำมันของ ซัสโก้ และ ไซโนเปค ทั้ง 158แห่ง เนื่องในโอกาสวันมหามงคล วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และวันพ่อแห่งชาติ ทั้งนี้เพื่อสนองพระราชปณิธานในการสร้างประโยชน์และความสุขแก่พสกนิกรชาวไทย และเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับพี่น้องประชาชน           นายพีระพันธุ์ ระบุว่า กระทรวงพลังงานมีความมุ่งมั่นและดำเนินนโยบายทุกด้านในการลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะด้านพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันและก๊าซ หรือพลังงานอื่นๆ เพื่อสร้างความอยู่ดีมีสุขให้ประชาชนถ้วนหน้า อย่างไรก็ตาม แม้ราคาก๊าซและราคาน้ำมันเชื้อเพลิงจะขึ้นอยู่กับตลาดโลกซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของกระทรวงพลังงาน แต่ที่ผ่านมา ทางกระทรวงก็ไม่นิ่งนอนใจ และพยายามหาหนทางเพื่อลดภาระด้านพลังงานให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อให้ประชาชนได้รับการดูแลด้านพลังงานอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง           “กระทรวงพลังงานขอขอบคุณกลุ่มบริษัท ซัสโก้ จำกัด (มหาชน) และ คุณมงคล สิมะโรจน์ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัทฯ เป็นอย่างยิ่ง ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของพี่น้องประชาชนชาวไทยในอีกทางหนึ่ง”           ด้าน นายมงคล สิมะโรจน์ ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท ซัสโก้ฯ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิ 5 ธันวามหาราช และเป็นผู้ริเริ่มจัดงาน 5 ธันวามหาราช เพื่อเฉลิมพระเกียรติและเผยแพร่พระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้เป็นที่ประจักษ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการร่วมมือกับกระทรวงพลังงานครั้งนี้ว่า กลุ่มบริษัท ซัสโก้ ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจค้าน้ำมันมีความตั้งใจที่จะปรับลดราคาน้ำมันดีเซล เพื่อสนองพระราชปณิธานในการสร้างประโยชน์และความสุขแก่พสกนิกรชาวไทย และช่วยเหลือประชาชนตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน ภายใต้การบริหารของนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่มีนโยบายของทางกระทรวงพลังงานที่ต้องการช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกร อุตสาหกรรม และการขนส่ง รวมถึงประชาชนทั่วไปให้ได้เติมน้ำมันราคาถูก [PR News]

“พีระพันธุ์” ลดค่าไฟงวดม.ค.-เม.ย.68 เหลือ 4.15 บาท มอบของขวัญปีใหม่ให้คนไทย

“พีระพันธุ์” ลดค่าไฟงวดม.ค.-เม.ย.68 เหลือ 4.15 บาท มอบของขวัญปีใหม่ให้คนไทย

          หุ้นวิชั่น - นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานจะประกาศลดค่าไฟฟ้างวดม.ค.-เม.ย. 2568 จากค่าไฟฟ้าเฉลี่ยในงวดปัจจุบัน (ก.ย.-ธ.ค. 2567) ซึ่งอยู่ที่ 4.18 บาท/หน่วย ลงอีก 3 สตางค์/หน่วย หรือค่าไฟฟ้าจะลดลงเหลือ 4.15 บาท/หน่วย โดยจะมีผลตั้งแต่เดือน ม.ค-เม.ย. 2568 ทั้งนี้เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพและเป็นของขวัญปีใหม่ 2568 ให้กับพี่น้องชาวไทยทุกคน “ผมเพิ่งได้รับแจ้งเบื้องต้นเป็นข่าวดีจากทางสำนักงาน กกพ. ซึ่งจะปรับลดค่าไฟในงวดหน้า (ม.ค.-เม.ย.2568) ลงได้อีก และเหลือเฉลี่ยหน่วยละ 4.15 บาท หลังจากที่ผมได้ขอให้ทุกหน่วยงานได้ไปลองดูว่าจะสามารถลดค่าไฟลงได้อีกหรือไม่ เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพให้พี่ น้องประชาชน ในนามรัฐบาลและกระทรวงพลังงานขอถือโอกาสนี้มอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับทุกท่าน และขอขอบคุณ กกพ.ในฐานะหน่วยงานหลักขอบคุณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และปตท.ในการร่วมกันกับรัฐบาลช่วยเหลือพี่ น้องประชาชน” นายพีระพันธุ์กล่าว ภายหลังจากสิ้นสุดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการประชุมคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในวันนี้ (27 พ.ย.) ได้มีมติเห็นชอบทบทวนค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) และค่าไฟฟ้าเรียกเก็บงวดเดือนม.ค.-เม.ย. 2568 โดยให้เรียกเก็บลดลงเหลือ 4.15 บาทต่อหน่วย เป็นผลจากการที่ได้มีการทบทวนตัวเลข และประมาณการที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง กกพ.จะได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป

"พีระพันธุ์ เปิดตัวโซลาร์ถูก ตั้งขายปีหน้า ลดค่าไฟประชาชน!"

         หุ้นวิชั่น - เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เดินทางไปตรวจราชการ ณ ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อเยี่ยมชมการทดสอบเครื่อง Inverter ซึ่งเป็นอุปกรณ์หลักของระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่เป็นผลงานการออกแบบของ นายทวีชัย ไกรดวง หรือ ครูน้อย พร้อมเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทดสอบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EMC) และห้องปฏิบัติการทดสอบแบตเตอรี่ โดยมีคณะผู้บริหาร สวทช.ให้การต้อนรับ นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า การมาตรวจราชการครั้งนี้เกี่ยวเนื่องกับการลดภาระค่าไฟฟ้าให้กับประชาชนตามที่ตนได้เคยกล่าวไว้ 2 เรื่อง นั่นคือ การปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ หรือ โซลาร์ รูฟ ให้ทำได้สะดวกรวดเร็วขึ้น และการจัดหาอุปกรณ์สำหรับผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่ประชาชนในราคาถูก เพราะถึงแม้กระทรวงพลังงานจะพยายามตรึงค่าไฟไว้ที่ระดับ 4.18 บาท โดยไม่ได้ขยับขึ้นมาตลอด แต่ตนเข้าใจว่าปัญหาค่าไฟก็ยังเป็นภาระของพี่น้องประชาชนอยู่ ดังนั้น สิ่งที่จะลดปัญหาตรงนี้ได้อย่างยั่งยืน ก็คือ การปรับปรุงกฎหมาย และการจัดหาอุปกรณ์ระบบโซลาร์ราคาถูก ซึ่งเป็นการลงทุนเพียงครั้งเดียวแต่สามารถประหยัดค่าไฟไปได้มาก “ปัจจุบัน อุปกรณ์เกี่ยวกับระบบโซลาร์ในท้องตลาดมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น สิ่งที่ผมจะทำต่อเนื่องจากการปรับปรุงกฎหมาย ก็คือ การผลิตอุปกรณ์ระบบโซลาร์เซลล์ ที่เรียกกันว่า โซล่า รูฟ ออกจำหน่ายให้กับประชาชนในราคาถูก และถือเป็นครั้งแรกของกระทรวงพลังงานที่มีนโยบายในแนวทางนี้ โดยล่าสุด คณะทำงานของกระทรวงพลังงานได้ผลิตต้นแบบของเครื่องอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ซึ่งเป็นอุปกรณ์หลักของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้สำเร็จแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณภาพ ความเสถียร และความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล โดยเราตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถผลิตอุปกรณ์ดังกล่าวอย่างครบชุดเพื่อจำหน่ายให้กับพี่น้องประชาชนได้ในปี 2568 ที่จะถึงนี้” นายพีระพันธุ์กล่าว สำหรับอุปกรณ์ต้นแบบที่นำมาทดสอบครั้งนี้ เป็นผลงานการออกแบบของ นายทวีชัย ไกรดวง หรือ ครูน้อย ซึ่งเป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์หลายอย่างเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของประชาชน และเป็นหนึ่งในคณะทำงานของกระทรวงพลังงาน โดยเครื่อง Inverter ต้นแบบนี้สามารถผลิตเพื่อจำหน่ายได้ในราคาต่ำกว่าท้องตลาด ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานมีนโยบายที่จะส่งเสริมการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ และมีแผนที่จะจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับพี่น้องประชาชนในราคาถูกในปี 2568 เพื่อช่วยลดภาระจากปัญหาค่าไฟแพงอีกทางหนึ่ง "สิ่งที่ผมได้พูดไป ผมทำจริงทุกเรื่อง กระทรวงพลังงานภายใต้การดำเนินนโยบายตามแนวทาง รื้อ-ลด-ปลด-สร้าง ของผม พูดจริง ทำจริงทุกเรื่อง และพร้อมทำให้เห็น ผมมั่นใจว่า เมื่อกฎหมายมี อุปกรณ์มี พี่น้องประชาชนจะสามารถหลุดพ้นจากปัญหาภาระค่าไฟที่เป็นอยู่ได้อย่างแน่นอน “ นายพีระพันธุ์ กล่าว

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

พีระพันธุ์ ประมูลซื้อไฟฟ้าต้องโปร่งใส

พีระพันธุ์ ประมูลซื้อไฟฟ้าต้องโปร่งใส

           “พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค” เคลียร์ชัด ประมูลซื้อไฟฟ้าต้องโปร่งใสเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน เตรียมนำพลังงานไทยเข้าสู่ยุคพลังงานเขียว รักษาความสามารถในการส่งออกของประเทศ ยืนยันไม่มีนายทุนเบื้องหลัง            วันที่ 24 ตุลาคม 2567 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ตอบกระทู้ถามสดในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เกี่ยวกับกรณีที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) จะมีการเปิดประมูลเกี่ยวกับการรับซื้อพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน รูปแบบ Feed-in Tariff จำนวนประมาณ 3,600 เมกะวัตต์ โดยยืนยันว่า ตนและข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานไม่เห็นด้วยกับการกำหนดหลักเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงต่อการถูกมองว่าเป็นการเอื้อประโยชน์            ทั้งนี้ โครงการรับซื้อพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน รูปแบบ Feed-in Tariff จำนวนประมาณ 3,600 เมกะวัตต์นั้น เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการรับซื้อพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน จำนวนประมาณ 5,200 เมกะวัตต์ โดยในโครงการหลัง 3,600 เมกะวัตต์นี้ กกพ. จะแบ่งการรับซื้อหรือการประมูลออกเป็น 2 โครงการย่อย คือ โครงการรับซื้อไฟฟ้าขนาดประมาณ 2,100 เมกะวัตต์ และโครงการรับซื้อไฟฟ้าขนาดประมาณ 1,500 เมกะวัตต์            โดยโครงการแรกที่รับซื้อไฟฟ้าประมาณ 2,100 เมกกะวัตต์นั้น ปัจจุบัน กกพ. กำหนดให้สิทธิ์ผู้ที่เคยเข้าประมูลในโครงการ 5,200 เมกะวัตต์ แต่ไม่ชนะการประมูลเป็นผู้มีสิทธิ์ยื่นประมูล แต่อยู่ในขั้นตอนเตรียมการยังไม่มีการประมูลเกิดขึ้น ซึ่งตนและกระทรวงพลังงานไม่เห็นด้วยและเคยนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานหรือ กบง. แล้ว แต่น่าจะเกิดความผิดพลาดจึงทำให้เกิดการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ต่างไปจากนโยบาย ซึ่งตนได้สั่งการให้แก้ไขไปแล้วและกำลังจะมีการประชุม กบง. เพื่อแก้ไขในเรื่องนี้            แต่อย่างไรก็ดี กกพ. ที่เป็นผู้ดำเนินการนั้นเป็นองค์กรอิสระ มีสถานะคล้ายกับ กสทช. กระทรวงพลังงานไม่มีอำนาจบังคับบัญชา กล่าวโดยง่ายคือไม่สามารถไปสั่งได้ แต่ก็ได้ใช้อำนาจตามที่มีอยู่โดยทำหนังสือทักท้วงพร้อมกับขอให้ทบทวนโครงการไปยัง กกพ. แล้วเป็นที่เรียบร้อย โดยเบื้องต้นได้รับการแจ้งว่าที่มาที่ไปทำให้เกิดข้อผิดพลาดดังกล่าว เกิดจากความผิดพลาดในการทำมติที่ประชุมซึ่งจะได้ดำเนินการแก้ไขต่อไป และเมื่อมีการทบทวนในเรื่องนี้ให้รอบคอบและถูกต้องแล้ว ก็จะรายงานไปยังคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. ต่อไป            นายพีระพันธุ์ยังกล่าวอีกว่า กระบวนการทั้งหมดคาดว่าจะดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จในระยะเวลา 1 เดือน และขอยืนยันว่าตนไม่ได้นิ่งนอนใจในเรื่องนี้ โดยได้มีการกำกับ ติดตาม อย่างใกล้ชิดตลอดมา สำหรับกรณีมีการกล่าวว่าการรับซื้อไฟฟ้านั้น นายพีระพันธุ์ชี้แจงว่า ในการรับซื้อพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามการผลิต ประเภทแรกคือส่วนที่ผลิตจากแสงแดดมีการรับซื้อที่ 2.16 บาทต่อหน่วย และประเภทที่ผลิตจากพลังงานลมมีการรับซื้อที่ 3.10 บาทต่อหน่วย ซึ่งทั้ง 2 ส่วนไม่ได้มีราคาสูงกว่าการรับซื้อเดิม ดังนั้น ตนจึงขอยืนยันว่าการรับซื้อไฟฟ้าในครั้งนี้ไม่ได้แพงเกินจริงแต่อย่างใด            สำหรับคำถามที่ว่าในเมื่อจะมีการดำเนินการในส่วนของการซื้อขายไฟฟ้าโดยตรง หรือ Direct PPA แล้ว ทำไมจะต้องมีโครงการรับซื้อพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน หรือ RE รวมถึงการผลิตไฟฟ้าให้มีที่มาจากพลังงานสะอาด ซึ่งจะเป็นการซ้ำซ้อนกันหรือไม่ นายพีระพันธุ์ได้ชี้แจงในประเด็นนี้ว่า Direct PPA หรือการรับซื้อไฟฟ้าตรง กับการรับซื้อพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน (RE) นั้นเป็นคนละเรื่องกันอย่างชัดเจน            Direct PPA เป็นการซื้อขายไฟฟ้าโดยตรงระหว่างผู้ประกอบการกิจการโรงไฟฟ้ากับผู้ประกอบการที่ต้องการใช้ไฟฟ้าโดยตรง แต่สำหรับ RE หรือการรับซื้อพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนซึ่งในโครงการที่กล่าวไปตอนต้นนั้น จะเป็นส่วนที่ส่งไฟฟ้าเข้าสู่ระบบของ กฟผ. ซึ่งเมื่อมีสัดส่วนพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน หรือ RE ถึงเกณฑ์ที่กำหนดแล้วก็จะมีการจัดเก็บ UGT ที่ย่อมาจาก Utility Green Tariff หรืออัตราการเก็บค่าบริการสำหรับไฟฟ้าสีเขียว ซึ่งไฟฟ้าสีเขียวจะได้มาจากพลังงานหมุนเวียน อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ เป็นต้น โดยจะมีใบรับรองการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate หรือ REC) ควบคู่มาด้วย โดย REC นี้ผู้ประกอบการจะใช้เป็นเอกสารประกอบเมื่อมีการส่งออกสินค้าไปยังประเทศที่มีการกำหนดกำแพงภาษี การดำเนินการของ กกพ. จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการรักษาความสามารถในการแข่งขันของการส่งออกของประเทศ            เนื่องจากพลังงานไฟฟ้าที่ได้มานั้น จะไม่สามารถแยกออกได้ว่าพลังงานไฟฟ้าหน่วยใดมีที่มาจากแหล่งใด ซึ่งมิใช่แค่ UGT แม้กระทั่ง Direct PPA ก็ไม่สามารถแยกได้ เว้นแต่เอกชนจะดำเนินการเดินสายส่งไฟฟ้าด้วยตนเอง ซึ่งมีต้นทุนเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ทำให้เอกชนหลายรายพิจารณาใช้สายส่งไฟฟ้าของ กฟภ. และ กฟน. ทดแทน            สำหรับประเด็นคำถามเกี่ยวกับแนวทางในการจัดการกับการประมูลพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนขนาด 5,200 เมกะวัตต์นั้น นายพีระพันธุ์ชี้แจงว่า ได้มีการสอบถามและหารือไปยัง คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) อย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ดี การดำเนินการใด ๆ อาจจะส่งผลให้เกิดข้อพิพาททางกฎหมายเกิดขึ้น ซึ่งตนก็ได้ให้ข้อสังเกตและข้อแนะนำรวมถึงหารือในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง และขอยืนยันว่าท่านใดมีข้อเสนอแนะที่ชัดเจนในเรื่องนี้ตนยินดีที่จะรับฟังพร้อมเดินหน้าปฏิบัติ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชน            นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานกำลังปรับปรุง กฎ ระเบียบ เพื่อให้ประชาชนสามารถผลิตไฟฟ้าได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ เป็นการลดความยุ่งยากในการผลิตไฟฟ้าในครัวเรือนซึ่งจะสามารถช่วยลดผลกระทบของพี่น้องประชาชนจากค่าครองชีพหรือค่าไฟฟ้า            “ผมขอยืนยันว่า เบื้องหลังของผมมีแค่ผลประโยชน์ของประชาชน ไม่มีกลุ่มทุน อะไรที่สามารถแข้ามาแทรกแซง ผมจะดำเนินการแก้ไข โดยไม่บ่ายเบี่ยงว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในยุคใดในสมัยใด ขอให้ท่านมั่นใจว่า ผมจะทำให้เต็มที่เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างถูกต้อง” นายพีระพันธุ์ กล่าวในตอนท้าย

“พีระพันธุ์” แนะภาคอุตฯ ปรับตัวรับแผนพลังงานใหม่ มุ่งสู่ลดคาร์บอน

“พีระพันธุ์” แนะภาคอุตฯ ปรับตัวรับแผนพลังงานใหม่ มุ่งสู่ลดคาร์บอน

          "พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค" รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ชี้การปรับตัวภาคอุตสาหกรรมให้สอดคล้องแผนพลังงานใหม่และเทรนด์โลกเป็นเรื่องจำเป็น เตรียมพร้อมสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าสะอาด เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนและต้นทุนการผลิต           นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวในการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมให้สอคคล้องกับแผนพลังงานใหม่เพื่อมุ่งสู่ Carbon Neutrality” ในการจัดสัมมนาวิชาการประจำปี Energy Symposium 2024 โดยสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม   ซึ่งสาระสำคัญในการกล่าวปาฐกถาเป็นเรื่องการปรับตัว และไม่ใช่แค่ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องปรับตัว ภาครัฐเองก็ต้องทำเช่นกัน โดยการปรับตัวไม่ได้แค่ให้สอดคล้องกับแผนพลังงานใหม่เท่านั้น แต่ต้องปรับให้เข้ากับเทรนด์โลกด้วย เพราะทุกภาคมีส่วนในการปล่อยมลภาวะส่งผลต่อภาวะโลกร้อน เห็นได้จากภัยน้ำท่วมในไทย พายุเฮอริเคน ที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ           สิ่งที่ต้องทำให้เราปรับตัวเข้ากับเทรนด์โลกคือ การลดคาร์บอนที่เกิดจากภาคพลังงาน เพื่อนำไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนปี 2050 และ Net Zero 2065 ซึ่งภาคอุตสหากรรมยังต้องใช้พลังงานฟอสซิล เพราะฉะนั้นในแผนพลังงานใหม่จึงวางไว้ให้การผลิตไฟฟ้าที่มาจากเชื้อเพลิงพลังงานทดแทนมากขึ้น ซึ่งไทยเน้นที่พลังงานจากแสงแดด แผน PDP ใหม่จึงต้องเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนมากขึ้น           อย่างไรก็ดี การปรับตัวดังกล่าวทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีต้นทุนที่ต้องจ่าย นับว่าเป็นสิ่งท้าทายสำหรับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในความเป็นจริงต้นทุนการผลิตเชื้อเพลิงนั้นถูก แต่ระบบการผลิตแพง และมีกฎระเบียบเกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดความยุ่งยากเป็นอุปสรรค ผมในฐานะเข้ามารับผิดชอบกระทรวงพลังงานจึงกำลังศึกษาและร่างกฎหมาย เพื่อทำอย่างไรให้เอกชนหรือภาคอุตสาหกรรมสามารถติดตั้งระบบไฟฟ้าได้เอง ง่าย เน้นให้สามารถผลิตในประเทศทำให้ต้นทุนต่ำ เพื่อลดต้นทุนให้กับทั้งภาคครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรมด้วย โดยภาคอุตสาหกรรมอาจจะค่อนข้างเหนื่อย เพราะต้องเผชิญอุปสรรคทางการค้า หากสินค้าไม่ได้ผลิตจากพลังงานสะอาดก็จะถูกข้อกีดกันจากประเทศผู้นำเข้า อาจไม่รับซื้อ ดังนั้น ภาคอุตสาหกรรมไม่ใช่แค่ต้องปรับตัวให้เข้ากับแผนพลังงานใหม่ แต่ต้องปรับตัวเข้ากับโลกด้วย ซึ่งในภาคปฏิบัติ ภาคอุตสาหกรรมต้องช่วยคิดวิธีแก้ไขและนำเสนอมากับทางภาครัฐ           ภารกิจของแผนพลังงานฉบับใหม่จะต้องไม่ใช่เป็นภาระ แต่เพื่อประเทศเดินหน้าสอดคล้องโลก อย่างไรก็ดี ทั้งหมดของแผนต่างๆ ไม่ได้สำคัญไปกว่าความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงของชีวิตมนุษย์ ซึ่งภาครัฐพยายามดำเนินการให้มั่นใจได้ว่ากระทรวงพลังงานดำเนินการแผนพลังงานเพื่อประโยชน์ของประเทศ เพื่ออุตสาหกรรม เพื่อประชาชน ซึ่งขณะนี้แผน PDP อยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็น หวังว่าท่านที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมจะได้ช่วยระดมความคิดช่วยมองให้สอดคล้องกัน           หรือพูดง่ายๆว่า ทำอย่างไรให้คาร์บอนลดลงจากภาคการผลิตและการใช้พลังงานก่อนจะเดินทางไปสู่ Net Zero ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่รู้ว่าเราจะทำได้หรือเปล่า แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำ และการจะเกิดขึ้นได้ก็อยู่ที่ความร่วมมือร่วมใจทุกฝ่าย เช่น ภาคอุตสาหกรรมทำอย่างไรให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้เอง เพราะค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสำคัญต่อทุกภาคส่วน ภาระหน้าที่ของผมคือต้องสร้างความคล่องตัว ช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ควบคุมไม่ได้จากการพึ่งพาเชื้อเพลิงในการผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย รวมทั้งที่นำเข้าจากเมียนมา ผมมั่นใจว่าวันนี้วิทยากรที่มาร่วมสัมมนามีองค์ความรู้เพื่อจะเตรียมความพร้อมของภาคอุตสาหกรรมรับมือกับเทรนด์โลกได้อย่างทันท่วงที           “สิ่งที่กระทรวงพลังงานให้ความสำคัญและดำเนินการอยู่ คือ การนำแผนไปสู่การปฏิบัติด้วยการ “รื้อ ลด ปลด สร้าง” เพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมให้สามารถปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนก็สามารถประยุกต์แนวคิดดังกล่าวได้เช่นกัน เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการปล่อยคาร์บอนจากดำเนินธุรกิจไปพร้อมกับการดูดกลับด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียวหรือการชดเชยคาร์บอน จัดการสภาวะปัจจุบันที่เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนผ่าน โดย “รื้อ” ระบบการผลิตการใช้พลังงานเก่าที่ล่าสมัยไร้ประสิทธิภาพออกไป ซึ่งจะเป็นการ “ลด” การใช้พลังงานของตนเองไปโดยอัตโนมัติ นั่นคือ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้มีการผลิตที่ใช้พลังงานน้อยลง แต่ได้ผลผลิตที่มากขึ้นด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพพลังงานสูง “ปลด” พันธนาการจากการพึ่งพาพลังงานจากภายนอกด้วยการผลิตพลังงานสะอาดใช้เอง ที่จะทำให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถกำหนดและควบคุมต้นทุนด้านพลังงานได้ด้วยตัวเอง โดยเฉพาะต้นทุนด้านไฟฟ้าที่การผลิตไฟฟ้าของส่วนกลางต้องนำเข้าเชื้อเพลิง LNG จากต่างประเทศ ทำให้มีต้นทุนสูงและมีราคาผันผวนตามราคาตลาดโลก ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและกระทบต่อความอยู่รอดของภาคอุตสาหกรรม           ดังนั้น การที่ธุรกิจจะอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนต้องมีแหล่งพลังงานสะอาดที่สามารถบริหารจัดการได้เองที่จะช่วยลดปริมาณความต้องการไฟฟ้าได้ โดยปัจจุบันกระทรวงพลังงานอยู่ในระหว่างดำเนินการปรับปรุงกฎระเบียบร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงอุตสาหกรรม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง เป็นต้น เพื่อให้มีความทันสมัย ปลดล็อคกฎระเบียบที่ไม่จำเป็น ลดขั้นตอนให้ผู้ประกอบการ และช่วยอำนวยความสะดวกให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถปรับตัวสู่การเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าสะอาดใช้เอง เพื่อลดค่าใช้จ่ายทางธุรกิจและสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของตนเอง นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมยังสามารถ “สร้าง” มูลค่าเพิ่มให้กับของเสียน้ำเสียจากกระบวนการผลิตของตนเองต่อยอดสู่การผลิตเป็นพลังงานทดแทนสำหรับนำกลับมาใช้เอง “สร้าง” ระบบบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของตนเองด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การปรับปรุงระบบขนส่งเป็นรถไฟฟ้าเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันและลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น” นายพีระพันธุ์ กล่าว

“พลังงาน” เตรียมพร้อมรับมือภาวะสงครามตะวันออกลาง

“พลังงาน” เตรียมพร้อมรับมือภาวะสงครามตะวันออกลาง

          หุ้นวิชั่น - “พลังงาน” เตรียมพร้อมรับมือภาวะสงครามตะวันออกลาง ย้ำประชาชนมั่นใจสต็อกน้ำมันไทยมีเพียงพอ คุมเข้มราคาไม่ให้ผันผวน           กระทรวงพลังงาน เผยปริมาณสำรองน้ำมันมันในสต็อกยังมีเพียงพอใช้นานกว่า 60 วัน ขอคนไทยไม่ต้องกังวล กระทรวงพลังงานจะเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เตรียมพร้อมหากจำเป็นต้องใช้แผนบริหารจัดการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงาน เพื่อช่วยลดผลกระทบในทุกมิติหากสถานการณ์รุนแรงมากขึ้น           นายวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู รองปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า สถานการณ์สงครามในตะวันออกกลางที่ขยายวงกว้าง โดยเฉพาะสถานการณ์สู้รบระหว่างประเทศอิสราเอลและอิหร่าน ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตและส่งออกน้ำมันจากพื้นที่ตะวันออกกลาง ทางกระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินและเตรียมความพร้อมหากสถานการณ์ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยขณะนี้ในด้านปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงยังมีเพียงพอใช้ในประเทศอย่างแน่นอน ปัจจุบัน มีน้ำมันดิบคงเหลือประมาณ 3,365 ล้านลิตร เพียงพอต่อความต้องการใช้ได้ 26 วัน น้ำมันดิบที่อยู่ระหว่างขนส่ง 2,055 ล้านลิตร เพียงพอต่อความต้องการใช้ 16 วัน และน้ำมันสำเร็จรูป 2,414 ล้านลิตร เพียงพอต่อความต้องการใช้ 20 วัน รวมจำนวนมีปริมาณน้ำมันคงเหลือและปริมาณสำรองที่สามารถใช้ได้ 62 วัน           นอกจากนี้ ในด้านราคา กระทรวงพลังงานจะบริหารดูแลราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศไม่ให้เกิดความผันผวนมากนัก โดยใช้กลไกของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นหลัก ซึ่งสถานภาพกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเริ่มมีสภาพคล่องมากขึ้น มีการติดลบลดลง จึงขอให้ประชาชนอย่าวิตกต่อสถานการณ์ และสามารถมั่นใจได้ว่าประเทศไทยจะไม่ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงและราคาก็จะรักษาเสถียรภาพไม่ให้ผันผวนมากนัก           “จากข่าวสงครามในตะวันออกกลางที่เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น และสร้างความกังวลให้นานาประเทศ จนส่งผลให้ราคาพลังงานโดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบผันผวนและปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่นราคาน้ำมันดิบ WTI ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 อยู่ที่ 68 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่วันนี้ (7 ตุลาคม 2567) หลังสถานการณ์เริ่มรุนแรงขึ้น ราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ 74 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล หรือเพิ่มขึ้นกว่า 8% ใน 1 สัปดาห์ กระทรวงพลังงานได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งในด้านความมั่นคง กระทรวงพลังงานมีปริมาณน้ำมันสำรองสำหรับใช้ภายในประเทศมากกว่า 60 วัน ส่วนในด้านราคา กระทรวงพลังงานก็จะติดตามและใช้กลไกที่มีเพื่อให้เกิดผลกระทบด้านราคากับประชาชนให้น้อยที่สุด อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้กระทรวงพลังงานได้มีการซ้อมแผนการบริหารจัดการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงาน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ได้แก่ กรมธุรกิจพลังงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อวางมาตรการต่างๆ และบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์วิกฤตพลังงาน อาทิ การปรับเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า การบริหารจัดหาก๊าซในประเทศให้ได้มากที่สุด การลดความต้องการใช้ เป็นต้น ขอให้ประชาชนอย่าวิตกกังวล และขอให้ติดตามข่าวสารที่เป็นทางการของทางราชการ กระทรวงพลังงานจะบริหารจัดการอย่างเต็มความสามารถให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สงครามที่เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด” นายวีรพัฒน์ กล่าว

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

[PR News] ไทยร่วมประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานครั้งที่ 42 ผลักดันแนวทางพลังงานยั่งยืน

[PR News] ไทยร่วมประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานครั้งที่ 42 ผลักดันแนวทางพลังงานยั่งยืน

          วันนี้ (๒๖ ก.ย. ๖๗) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน คณะผู้บริหารกระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ ๔๒ และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง (The 42nd ASEAN Ministers on Energy Meeting and Associated Meetings: The 42ndAMEM) ณ เวียงจันทน์ สปป.ลาว โดยรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้ร่วมรับรองถ้อยแถลงร่วมทั้งหมด ๓ ฉบับซึ่งระบุผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และแนวทางการดำเนินงานในอนาคตของอาเซียนได้แก่ ถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ ๔๒ ถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนบวกสามด้านพลังงาน (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ครั้งที่ ๒๑ และถ้อยแถลงร่วมสำหรับโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่าง สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ฉบับที่ ๕           ในโอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้กล่าวแสดงวิสัยทัศน์เพื่อแสดงถึงแนวทางการพัฒนาพลังงานของไทยซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์พลังงานในอาเซียน โดยเน้นย้ำแนวทาง รื้อ ลด ปลด สร้าง เพื่อปฏิรูประบบพลังงาน การผลักดันการสำรองน้ำมันและก๊าซเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน และการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน ควบคู่กับการลดการใช้ถ่านหิน รวมทั้งกล่าวสนับสนุนให้อาเซียนร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง เพื่อการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืนในภูมิภาค           ที่ประชุมได้รายงานถึงทิศทางอนาคตพลังงานของอาเซียน ที่คาดว่าจะมีความต้องการใช้พลังงานมากขึ้นประมาณสามเท่าเมื่อเทียบกับปี พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยภาคอุตสาหกรรมและคมนาคมมีแนวโน้มใช้พลังงานมากที่สุด ในขณะที่ ภาคครัวเรือนจะเปลี่ยนผ่านจากการใช้พลังงานแบบดั้งเดิม สู่การใช้ LPG และไฟฟ้าในการประกอบอาหารมากขึ้นในปี พ.ศ. ๒๐๕๐ ทั้งนี้ ที่ประชุมได้หารือถึงความก้าวหน้าใน ๗ สาขาพลังงานของอาเซียน ได้แก่ ไฟฟ้า น้ำมันและ ก๊าซธรรมชาติ การจัดการถ่านหินและคาร์บอนประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน พลังงานหมุนเวียน นโยบายและแผนพลังงาน และพลังงานนิวเคลียร์เพื่อประชาชน และเครือข่ายความร่วมมือด้านการกำกับกิจการพลังงานโดยที่ประเทศไทยมีบทบาทนำในภูมิภาคในการดำเนินงานทางด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานซึ่งได้มี    การพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และได้ทำหน้าที่เป็นประธานสาขาประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงานซึ่งมีการดำเนินการสำคัญที่รายงานในปี ๒๕๖๗ คือการผลักดันการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานของอาเซียน ได้ร้อยละ ๒๔.๕           นอกจากนี้ ไทยได้มีการหารือทวิภาคีกับ สปป.ลาว และมาเลเซีย ถึงแนวทางการกระชับความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ และได้ร่วมแสดงความยินดีกับคณะผู้ประกอบการจากประเทศไทยที่เข้ารับรางวัล ASEAN Energy Awards ประจำปี ๒๕๖๗ ซึ่งในปีนี้ไทยเป็นผู้ได้รับรางวัลมากที่สุด ด้านการอนุรักษ์พลังงาน ๙ รางวัล ด้านพลังงานหมุนเวียน ๑๐รางวัล และได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นด้านการบริหารจัดการพลังงานอีก ๕ รางวัลอีกด้วย