วิเคราะห์ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ กันอย่างตรงไปตรงมาจะพบว่า สินค้าส่งออกที่อาจได้รับผลกระทบจากการออกมาตรการ Reciprocal Tariff (ภาษีตอบโต้) ของสหรัฐฯ ซึ่งไทยถูกกำหนดภาษีในอัตราร้อยละ 37 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 เมษายน 2568
ทั้งนี้ ก่อนอื่นต้องขอชี้แจ้งว่า ข้อมูลอัตราภาษี Reciprocal Tariff ของไทยตาม chart ที่ whitehouse เผยแพร่ใน X ระบุร้อยละ 36 ขณะที่ข้อมูลตาม Annex I ของ Executive Order ระบุอัตราภาษี Reciprocal Tariff ของไทย ร้อยละ 37 ซึ่งโดยหลักการ ควรพิจารณาใช้ข้อมูลจากตัวคำสั่ง EO (ที่มีการระบุอัตราภาษีใน annex 1) ที่เผยแพร่ลง Website ของ White House
สัดส่วนกลุ่มธุรกิจที่ส่งออกไปสหรัฐฯ มีดังนี้ เครื่องโทรศัพท์รวมถึงสมาร์ทโฟนและเครื่องโทรศัพท์อื่น ๆ (สัดส่วนร้อยละ 12.5 ต่อการส่งออกไปสหรัฐฯ รวม) ทั้งนี้ อัตราภาษีที่ไทยถูกจัดเก็บยังต่ำกว่าประเทศคู่แข่งอื่น เช่น เวียดนาม (ครองส่วนแบ่งอันดับ 2) (ร้อยละ 46)
- เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (สัดส่วนร้อยละ 11.1 ต่อการส่งออกไปสหรัฐฯ รวม) โดยอัตราภาษีที่ไทยถูกจัดเก็บยังต่ำกว่าประเทศคู่แข่งอื่น เช่น เวียดนาม (ครองส่วนแบ่งอันดับ 4) (ร้อยละ 46)
- ยางรถยนต์ (สัดส่วนร้อยละ 6.4 ต่อการส่งออกไปสหรัฐฯ รวม) ซึ่ง อัตราภาษีที่ไทยถูกจัดเก็บยังต่ำกว่าประเทศคู่แข่งอื่น เช่น เวียดนาม (ครองส่วนแบ่งอันดับ 5) (ร้อยละ 46)
- กลุ่มธุรกิจ เซมิคอนดักเตอร์ (สัดส่วนร้อยละ 4.5 ต่อการส่งออกไปสหรัฐฯ รวม) ทั้งนี้ อัตราภาษีที่ไทยถูกจัดเก็บยังต่ำกว่าประเทศคู่แข่งอื่น เช่น เวียดนาม (ครองส่วนแบ่งอันดับ 1) (ร้อยละ 46)
- หม้อแปลงไฟฟ้า (สัดส่วนร้อยละ 3.8 ต่อการส่งออกไปสหรัฐฯ รวม) ซึ่ง อัตราภาษีที่ไทยถูกจัดเก็บยังต่ำกว่าประเทศคู่แข่งอื่น เช่น เวียดนาม (ครองส่วนแบ่งอันดับ 5) (ร้อยละ 46)
กลุ่มธุรกิจที่อยู่ในเป้าหมายเหล่านี้ อยู่ในข่ายจะโดนภาษีตอบโต้ของทรัมป์ ซึ่งต่อไปนี้ ต้องจับการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลไทย ล่าสุดได้ออกมายอมรับแล้วว่า การประกาศปรับขึ้นภาษีนำเข้าของรัฐบาลสหรัฐฯ ย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศคู่ค้าทุกรายอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก โดยเฉพาะต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคสหรัฐฯ ที่อาจไม่สามารถรับกับราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและในระดับสูงได้
ดังนั้น ในระยะยาว ผู้ประกอบการส่งออกไทยควรมองหาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดเดียว ซึ่งรัฐบาลไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ และได้วางมาตรการรองรับในการเยียวยาและบรรเทาผลกระทบที่อาจมีต่อผู้ประกอบการส่งออกของไทยที่มีตลาดสหรัฐฯ เป็นตลาดหลัก นี่คือ การสื่อสารเบื้องต้นของรัฐบาลไทย
บล. CGSI ระบุว่า รัฐบาลไทยคาดว่า reciprocal tariff จะกระทบมูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยประมาณ 7-8 พันล้าน เหรียญสหรัฐ คิดเป็นประมาณ 13-15% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ หรือ 2.3% ของมูลค่าการส่งออกของไทยในปี 2567 ขณะที่รัฐบาลมีแผนนำเข้าสินค้าเกษตรและพลังงานจากสหรัฐฯมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้บริษัทไทยเข้าไปลงทุนในสหรัฐฯ ทั้งนี้มองว่า การปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรอาจทำได้ยาก เพราะรัฐบาลต้องปกป้องผลประโยชน์ของเกษตรกรในประเทศ
หากตั้งสมมติฐานว่าภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าและมูลค่าการนำเข้าสินค้าของไทยลดลง 10% จากปีก่อน ผลลบสุทธิต่อ GDP ไทยน่าจะมีประมาณ 0.5% อย่างไรก็ตามเมื่อมูลค่าการส่งออกสินค้าลดลงก็มักจะฉุดการบริโภคภาคเอกชนลดลงตาม โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยอย่างเช่นพนักงานโรงงานที่อาจไม่ต้องทำงานล่วงเวลา ซึ่งส่วนนี้น่าจะส่งผลกระทบต่อ GDP ประมาณ 0.4- 0.7% ดังนั้นเมื่อรวมผลกระทบจากทั้งสองส่วน เชื่อว่าผลกระทบโดยรวมต่อ GDP ไทยในปี 2568 น่าจะอยู่ที่ 0.9-1.2% หากปัจจัยอื่นไม่เปลี่ยนแปลง
ผลกระทบที่แท้จริงจาก reciprocal tariff ของสหรัฐฯอาจรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ จึงประมาณการว่า EPS ของตลาดหุ้นไทยน่าจะได้รับผลกระทบประมาณ 10% จึงปรับลดเป้าดัชนี SET สิ้นปีนี้ จากเดิม 1,380 จุด (P/E 14 เท่า ในปี 69) มาที่ 1,200 จุด ซึ่งยังเท่ากับ P/E 13.4 เท่า ในปี 68 หรือ -1SD ของค่าเฉลี่ย 10 ปี
สำหรับหุ้นปลอดภัยที่เน้นธุรกิจในประเทศ (domestic defensive) และหุ้นปันผลสูงหุ้น คัดมา 12 หุ้น ประกอบด้วย BH, CBG, CPALL, CPN, HANA, KTB, MINT, MTC, PTTEP, SCB, PR9 และ SIRI
การลงทุน มีความเสี่ยง ผู้ลงทุน ควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ ลงทุน
ข่าวหัวม่วง และทีมงานหุ้นวิชั่น