ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

PTTศึกษาลงทุนไฮโดรเจน เจรจาพันธมิตรเสริมแกร่ง


             หุ้นวิชั่น – PTT เร่งศึกษาโอกาสลงทุนไฮโดรเจนในต่างประเทศ หวังต่อยอดขยายธุรกิจในไทย  พร้อมพัฒนา CCS ดักจับคาร์บอน ขณะเดียวกันเจรจาพันธมิตรหลายราย เสริมแกร่งธุรกิจปิโตรเคมี ความเห็นความก้าวหน้าในปีนี้ 

             ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า ปตท.ให้ความสำคัญเรื่องของการสร้างบริษัทมีความแข็งแกร่งแบบยั่งยืน โดยจะเน้นผลักดันธุรกิจเรื่องไฮโครเจน และเรื่อง CCS (Carbon Capture and Storage)

             ปตท.อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนด้านไฮโดรเจนในต่างประเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการใช้พลังงานสะอาดของภาคอุตสาหกรรมไทยในอนาคต คาดว่าปริมาณการใช้จะอยู่ในระดับแสนตันต่อปี โดยเน้นแหล่งผลิตที่มีต้นทุนแข่งขันได้ เช่น ตะวันออกกลางและอินเดีย ซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตไฮโดรเจนที่สำคัญ

             ทั้งนี้ นโยบายภาครัฐกำหนดให้มีการผสมไฮโดรเจนในเชื้อเพลิงอุตสาหกรรมในสัดส่วน 5% ภายในปี 2030 ทำให้ต้องมีการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการนำเข้าและจัดเก็บไฮโดรเจนกลายเป็นปัจจัยสำคัญ  ซึ่งในระยะแรกจะอยู่ในรูปแบบของแอมโมเนีย เนื่องจากเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการขนส่งและจัดเก็บ

             ปตท.มองว่า ไฮโดรเจนเป็นพลังงานแห่งอนาคตที่มีบทบาทสำคัญต่อการลดการปล่อยคาร์บอน และจะช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality อย่างไรก็ตาม ด้วยต้นทุนการผลิตไฮโดรเจนที่ยังอยู่ในระดับสูง กลุ่มปตท.จึงวางกลยุทธ์เริ่มต้นจากการซื้อขายในตลาดต่างประเทศก่อน หากสามารถจัดหาแหล่งผลิตที่มีต้นทุนแข่งขันได้ ก็จะพิจารณานำเข้าไฮโดรเจนสู่ประเทศไทยผ่านรูปแบบแอมโมเนีย

             ในส่วนของการลงทุนโดยตรง กลุ่มปตท.มอบหมายให้ PTTEP เป็นตัวแทนหลักในการขยายการลงทุนด้านไฮโดรเจนในต่างประเทศ พร้อมตั้งเป้าว่าในอนาคต ไฮโดรเจนจะสามารถเข้ามาทดแทนการใช้ก๊าซธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

             ส่วนโอกาสธุรกิจการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์CCS (Carbon Capture and Storage) เป็นโอกาสที่ปตท.ต้องดำเนิน เพราะ เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน โดยเป็นหนึ่งในวิธีการสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งปตท.ดำเนินการควบคู่ไปกับการลดคาร์บอนรูปแบบอื่น อาทิการปลูกป่าเป็นต้น ปัจจุบันประเทศที่ทำCCS และมีความคุ่มค่าที่สุด คือ สหรัฐอเมริกา โดยมีการให้ราคาที่ 85 เหรียญต่อตันคาร์บอน

             พร้อมกันนี้ยังวางแนวทางดำเนินธุรกิจเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงาน โดย PTTEP ยังคงมุ่งเน้นการดำเนินงานเพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน ขณะที่ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ (Gas) ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนต่อหน่วยเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ ส่วนธุรกิจ LNG ยังคงแสวงหาโอกาสการเติบโตใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง

             ในด้านธุรกิจไฟฟ้า บริษัท GPSC และ Mandote มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงาน (Reliability) และขับเคลื่อนกระบวนการลดการปล่อยคาร์บอน (Decarbonization) ให้กับกลุ่ม ปตท. ควบคู่ไปกับการพัฒนา Energy Mix ที่เหมาะสม

             สำหรับกลุ่มธุรกิจ Non-Hydrocarbon ปตท.ให้ความสำคัญกับการขยายธุรกิจ EV โดยเน้นเฉพาะธุรกิจสถานีชาร์จ (Charging) โดยจะไม่มีการหาพาร์ทเนอร์เพิ่มเติมในด้านอื่น ๆ ขณะที่ธุรกิจ Logistics & Infrastructure จะดำเนินการเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Hydrocarbon โดยใช้แนวทาง Asset-Light และร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อเสริมศักยภาพการแข่งขัน พร้อมทั้งมีแผนบริหารความเสี่ยง (Derisk) และกำหนด Timeline ที่ชัดเจน ด้านธุรกิจ Life Science ปตท. วางบทบาทเป็น Financial Investor ใช้แนวทาง Self-Funding เพื่อสร้าง Goodwill ให้กับสังคม

             ทั้งนี้หากจัดแผนธุรกิจระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว โดย ปตท.อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างธุรกิจ Non-Hydrocarbon เพื่อเพิ่ม Synergy โดยคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากโครงการ DI – Domestic Products Management ได้ประมาณ 3,300 ล้านบาทต่อปี ภายใน 3 ปี (ต่อยอดจากโครงการ P1) รวมถึงการผลักดันโครงการ MissionX – Operational Excellence ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่ม EBITDA ของกลุ่ม ปตท. ได้ราว 30,000 ล้านบาท ภายในปี 2027 และเร่งขับเคลื่อน Digital Transformation & Productivity Improvement ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อปี ภายในปี 2026 โดยเป็นโครงการที่สามารถดำเนินการได้ทันที

             อีกทั้ง ปตท.มุ่งพัฒนาโครงการ LNG Hub และแสวงหาพันธมิตรในธุรกิจปิโตรเคมีและโรงกลั่นที่มีศักยภาพสูง(TOP ,IRPC PTTGC) โดยปัจจุบันมีผู้สนใจร่วมลงทุนหลายราย ซึ่ง ปตท.ให้ความสำคัญกับการคัดเลือกพันธมิตรที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม และช่วยเสริมศักยภาพในการขยายธุรกิจ ยืนยันว่าปตท.ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ คาดว่าจะเห็นความก้าวหน้าปี 2568

             ขณะที่ราคาหุ้นปตท. ที่ปรับตัวลดลง แต่ในด้านอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) นั้นถือว่าอยู่ในระดับสูง ซึ่งปัจจัยกดดันหลายส่วน อาทิ ราคาน้ำมันดิบที่ลดลงต่ำกว่าระดับ 70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งกระทบต่อภาพรวมอุตสาหกรรมพลังงาน อย่างไรก็ตาม ปตท. ยังคงให้ความสำคัญกับ การบริหารความเสี่ยงอย่างรอบคอบ และย้ำความมุ่งมั่นในการจ่ายเงินปันผลให้สอดคล้องกับแนวโน้มตลาด พร้อมปรับกลยุทธ์เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

12 หุ้นหลบภัยภาษีสหรัฐฯ ชูธุรกิจในไทย-ปันผลเด่น

12 หุ้นหลบภัยภาษีสหรัฐฯ ชูธุรกิจในไทย-ปันผลเด่น

ADVANC ยืนแกร่งท่ามกลางวิกฤต โบรกฯ มองรับผลกระทบศก.น้อย

ADVANC ยืนแกร่งท่ามกลางวิกฤต โบรกฯ มองรับผลกระทบศก.น้อย

ASW โชว์ยอดขาย Q1 ที่ 8,320 ลบ. แผ่นดินไหวไม่กระทบ โครงการภูเก็ตหนุน

ASW โชว์ยอดขาย Q1 ที่ 8,320 ลบ. แผ่นดินไหวไม่กระทบ โครงการภูเก็ตหนุน

DELTA-CCET อิเล็กฯ อ่วม โบรกฯ แนะเลี่ยงลงทุน

DELTA-CCET อิเล็กฯ อ่วม โบรกฯ แนะเลี่ยงลงทุน

ข่าวล่าสุด

ทั้งหมด