GPSC ไตรมาส 3/2567 กำไร 770ล้านบาท

            หุ้นวิชั่น – GPSC เผยกำไรสุทธิในไตรมาส 3/2567 อยู่ที่ 770 ล้านบาท ลดลง 657 ล้านบาทจากไตรมาสก่อนหน้า สาเหตุหลักมาจากต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่สูงขึ้นและการหยุดซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้า IPP โกลว์ ไอพีพี ขณะเดียวกันผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งและการปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าในอนาคตอาจส่งผลต่อการดำเนินงานของบริษัท

            สำหรับผลประกอบการของบริษทฯ ในไตรมาสท 3 ปี 2567 กำไรสุทธิของบริษัทฯ จำนวน 770 ล้านบาท ลดลง 657 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2567 สาเหตุหลักมาจากกำไรขั้นต้นที่ลดลงเนื่องจากโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) มีต้นทุนของก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นและปริมาณการขายของ กฟผ. ลดลง แต่ปริมาณความต้องการไฟฟ้าของลูกค้าอุตสาหกรรมโดยรวมยังคงอยู่ในระดับที่สูงขึ้น ประกอบกับโรงไฟฟ้าผู้ผลิตอิสระ (IPP) ได้แก่ โรงไฟฟ้าโกลว์ ไอพีพี หยุดซ่อมบำรุงตามแผนจำนวน 13 วันในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 และในไตรมาสที่ 3 การเรียกรับไฟฟ้าจาก กฟผ. ลดลง โรงไฟฟ้าห้วยเหาะมีรายได้ค่าพลังงานไฟฟ้า (EP) ลดลงจากปริมาณการผลิตไฟฟ้าที่ลดลงตามการเรียกรับไฟฟ้าที่ลดลงของ กฟผ. สำหรับไตรมาสนี้ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อน แต่ปริมาณการผลิตไฟฟ้าทั้งปียังคงเป็นไปตามแผน

            ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้าเพิ่มขึ้นเนื่องจาก XPCL มีผลประกอบการดีขึ้นจากปริมาณการผลิตไฟฟ้าที่สูงขึ้นตามปริมาณน้ำที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นตามฤดูกาล แม้จะมีการหยุดการผลิต 17 วัน ในขณะที่นูออโว พลัส (NUOVOPLUS) มีการบันทึกผลขาดทุนจากการขายทรัพย์สินโรงงานแบตเตอรี่ในเดือนสิงหาคม แม้ว่ามีกำไรจากบริษัทร่วมทุน NV Gotion และ AEPL มีผลประกอบการลดลงตามปริมาณการผลิตไฟฟ้าที่ลดลงตามค่าความเข้มแสงที่ลดลงตามฤดูกาล ในไตรมาสที่ 3 บริษัทฯ มีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 258 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นผลขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเกิดจากการบันทึกปรับมูลค่าลูกหนี้ตามสัญญาเช่าทางการเงินสกุลเงินต่างประเทศของโรงไฟฟ้าศรีราชาและโรงไฟฟ้าโกลว์ ไอพีพี ภาษีเงินได้เพิ่มขึ้น 180 ล้านบาท เนื่องจากในไตรมาส 2 ปี 2567 มีการปรับปรุงค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ของปี 2566 (298 ล้านบาท) ในขณะที่ในไตรมาส 3 ปี 2567 มีการรับรู้ภาษีตามผลประกอบการของบริษัท ต้นทุนทางการเงินลดลง 104 ล้านบาทจากการชำระคืนเงินกู้ 16,100 ล้านบาทเมื่อเดือนกรกฎาคม 2567

            ทั้งนี้ ในส่วนของฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวม 280,342 ล้านบาท หนี้สินรวม 163,396 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนี้สินที่มีดอกเบี้ย 126,709 ล้านบาท และบริษัทฯ มีส่วนของผู้ถือหุ้น 116,946 ล้านบาท ทำให้อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้นยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ 0.88 เท่า ซึ่งเป็นไปตามนโยบายทางการเงิน

ปัจจัยที่อาจมีผลต่อการดำเนินงานหรือการเติบโตในอนาคต

ความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในประเทศ
            บนสมมุติฐานค่าเฉลี่ยความยืดหยุ่นของปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อการเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอยู่ที่ประมาณ 0.9 เท่า และการประมาณการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ที่ร้อยละ 2.9 ในปี 2568 โดยการคาดการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ประมาณการความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.6 ในปี 2568 โดยการใช้ไฟฟ้าในประเทศที่สูงขึ้นจะมีผลต่อการเรียกเดินเครื่องโรงไฟฟ้าโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และรวมถึงปริมาณการใช้ไฟฟ้าของลูกค้าอุตสาหกรรม หากการขยายตัวทางเศรษฐกิจภายในประเทศสูงขึ้นต่อเนื่อง

ต้นทุนเชื้อเพลิงนำเข้า
            โดยเฉพาะ LNG ที่มีการปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 2567 อาจส่งผลต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้า และทำให้ต้องมีการปรับค่า Ft เพิ่มสูงขึ้นในปี 2568 เนื่องจากปัจจุบัน กฟผ. มีหนี้ค่าจัดซื้อไฟฟ้าและค่าเชื้อเพลิงคงค้าง (AF) ประมาณ 1 แสนล้านบาท (ข้อมูล ณ เม.ย. 2567) และมีการคืนหนี้เพียงบางส่วนผ่านค่า Ft ในช่วงปีที่ผ่านมา ตามนโยบายของภาครัฐที่ต้องการลดผลกระทบต่อประชาชนและภาคธุรกิจ ประกอบกับ กฟผ. จะยังไม่สามารถรับภาระหนี้ได้เพิ่มเติม เนื่องจากต้องรักษาสถานะทางการเงินเพื่อรักษาอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) และมีภารกิจการลงทุนจำนวนมาก โดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียนตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) ซึ่งต้นทุนค่าเชื้อเพลิงจะมีผลโดยตรงต่อรายได้จากการขายไฟฟ้าให้แก่ลูกค้าอุตสาหกรรม

การปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าในอนาคต
            อาจส่งผลกระทบต่อราคาขายไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรมที่อ้างอิงตามราคาขายปลีกของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ทั้งนี้เนื่องจากการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าครั้งใหญ่ของประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อปี 2558 และปัจจุบันถึงกำหนดระยะเวลาในการทบทวนแล้ว (ทุก 3-5 ปี) เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 และวิกฤติพลังงาน ซึ่งการปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าเพื่อสะท้อนต้นทุนพลังงานหลายประเภทที่เปลี่ยนไป อาทิ ต้นทุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าตามแผน PDP ฉบับใหม่ ต้นทุนด้านระบบสายส่งไฟฟ้า ต้นทุนด้านการบริหารจัดการเสถียรภาพที่เพิ่มขึ้นเมื่อมีการบูรณาการพลังงานหมุนเวียนเข้ามาในระบบมากขึ้น ซึ่งโครงสร้างราคาไฟฟ้าจะมีผลโดยตรงต่อรายได้จากการขายไฟฟ้าให้แก่ลูกค้าอุตสาหกรรม

การเปิดใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม (Third Party Access: TPA)
            เป็นส่วนหนึ่งของการเปิดเสรีในธุรกิจไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการขยายธุรกิจไฟฟ้าพลังงานสะอาด โดยผู้ผลิตไฟฟ้าสามารถทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับลูกค้านอกพื้นที่ได้โดยตรง (Direct PPA) ส่งผลให้การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนถูกขับเคลื่อนโดยภาคเอกชนได้อย่างรวดเร็ว

 

แชร์:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

WHA ย้ำศักยภาพนิคมฯ ไทย ลุยกรีนโลจิสติกส์-อุตสาหกรรมใหม่ปี 68

WHA ย้ำศักยภาพนิคมฯ ไทย ลุยกรีนโลจิสติกส์-อุตสาหกรรมใหม่ปี 68

SC ขายหุ้น SC L1 ให้โตเกียวทาเทโมโนะ ร่วมพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์

SC ขายหุ้น SC L1 ให้โตเกียวทาเทโมโนะ ร่วมพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์

ปตท. คว้าอันดับ 1 โลกความยั่งยืนจาก S&P Global พร้อมมุ่งมั่นเติบโตยั่งยืนระดับโลก

ปตท. คว้าอันดับ 1 โลกความยั่งยืนจาก S&P Global พร้อมมุ่งมั่นเติบโตยั่งยืนระดับโลก

ก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร TSF กับพวกรวม 6 ราย ต่อ บก.ปอศ. กรณีทุจริต

ก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร TSF กับพวกรวม 6 ราย ต่อ บก.ปอศ. กรณีทุจริต

ข่าวล่าสุด

ทั้งหมด
live-sticky
LIVE