CENTEL สร้างความประทับใจในไตรมาส 3/67 ด้วยกำไรสุทธิเติบโต 123% เมื่อเทียบกับปีก่อน มุ่งเน้นการพัฒนาแบรนด์และขยายธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ วางเป้าหมายอัตราการเข้าพักโรงแรมเฉลี่ย 70%-73% รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPAR) คาดว่าจะอยู่ในช่วง 4,000 – 4,300 บาท ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหลังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ผลักดันการเติบโตในธุรกิจอาหาร โดยคาดยอดขายรวมทุกสาขาเติบโต 4%-6% ในปี 2567
นายกันย์ ศรีสมพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน และ รองประธานฝ่ายการเงินและบริหาร บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)หรือ CENTEL ผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567 ปรับตัวดีขึ้นเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอย่างมีนัยสำคัญ แต่ปรับตัวลดลงเทียบกับไตรมาส 2/2567 ตามฤดูกาลท่องเที่ยว โดยบริษัท มีรายได้รวม: 5,602 ล้านบาท (ไตรมาส 3/2566: 5,416 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 186 ล้านบาท หรือ 3% โดยสัดส่วนรายได้: ธุรกิจโรงแรมต่อธุรกิจอาหารทรงตัวเมื่อเทียบกับปีก่อนอยู่ที่ 43% : 57% และกำไรสุทธิ: 163 ล้านบาท (ไตรมาส 3/2566: 73 ล้านบาท) เติบโต 123% เทียบกับปีก่อน
โดยธุรกิจโรงแรม วันที่ 30 กันยายน 2567 บริษัทฯ มีโรงแรมภายใต้การบริหารงานทั้งหมดจำนวน 92 โรงแรม (20,505 ห้อง) แบ่งเป็นโรงแรมที่เปิดดำเนินการแล้ว 52 โรงแรม (11,101 ห้อง) และโรงแรมที่กำลังพัฒนา 40 โรงแรม (9,404 ห้อง)ในส่วนของ 52 โรงแรมที่เปิดดำเนินการแล้วนั้น 20 โรงแรม (5,566 ห้อง) เป็นโรงแรมที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของ และ 32 โรงแรม (5,535 ห้อง) เป็นโรงแรมที่อยู่ภายใต้สัญญาบริหาร
ทั้งนี้ รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมทั้งหมด (RevPAR) อยู่ที่ 3,429 บาท ในไตรมาส 3/2567 ลดลง 7% เทียบกับไตรมาส 2/2567 สาเหตุหลักมาจากการลดลงของราคาห้องพักเฉลี่ย (ARR) 5% เทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งอยู่ที่ 4,934 บาทในไตรมาส 3/2567 และอัตราการเข้าพัก (OCC) ลดลงจาก 71% ในไตรมาส 2/2567 เป็น 69% ในไตรมาส 3/2567
ธุรกิจอาหาร: ผลการดำเนินงานธุรกิจอาหารสำหรับไตรมาส 3/2567 สำหรับผลประกอบการไตรมาส 3/2567
รายได้จากธุรกิจอาหารรวม: 3,180 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 97 ล้านบาท (หรือเพิ่มขึ้น 3%) เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อัตราการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (%SSS): ไม่รวมแบรนด์ร่วมทุนและแบรนด์ เดอะ เทอเรส ที่รับบริหาร เพิ่มขึ้น 2% (ไตรมาส 3/2566: 0%) อัตราการเติบโตของยอดขายรวม (%TSS): ไม่รวมแบรนด์ร่วมทุนและแบรนด์ เดอะ เทอเรส อยู่ที่ 4% ทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และแบรนด์ที่เติบโตสูงสุด: มิสเตอร์ โดนัท, อานตี้ แอนส์, โอโตยะ และ เปปเปอร์ลันช์ ณ สิ้นไตรมาส 3/2567 บริษัทฯ มีจำนวนสาขาทั้งหมด 1,396 สาขา (รวมแบรนด์ร่วมทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ) ลดลง 206 สาขา เมื่อเทียบกับสิ้นไตรมาส 3/2566 (ลดลง 213 สาขา เมื่อเทียบกับสิ้นไตรมาส 2/2567)
ผลการดำเนินงานของธุรกิจอาหารมีความผันผวนตามฤดูกาลบ้างแต่ไม่รุนแรงมากนัก โดยปกติแล้ว ไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 4 จะมียอดขายสูงกว่าไตรมาสที่ 1 และ 3 เนื่องจากเป็นช่วงปิดเทอมและมีวันหยุดเฉลิมฉลองตามเทศกาล ทั้งนี้ยอดขาย Delivery ในไตรมาสที่ 3 มักได้รับผลกระทบเนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน อย่างไรก็ตาม สำหรับไตรมาส 3/2567 แม้ว่ารายได้ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2/2567 แต่กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น โดยอัตราส่วน EBITDA ต่อรายได้รวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 18% ในไตรมาสที่ 2/2567 เป็น 22% ในไตรมาสที่ 3/2567 ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินงานของแบรนด์หลัก การรับรู้กำไรตามวิธีส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้าเพิ่มขึ้น และปัจจัยบวกจากการปิดสาขาที่ไม่ทำกำไร
ธุรกิจโรงแรม:
บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้วยความระมัดระวัง โดยการปรับกลยุทธ์ทางการขายและตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด รวมถึงการควบคุมค่าใช้จ่าย เน้นการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและวินัยทางการเงิน ขณะที่ยังคงเดินหน้าลงทุนเพื่อขยายธุรกิจในอนาคตด้วยการจัดสรรเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดหาแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนเหมาะสมจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน และการออกตราสารหนี้ตามภาวะตลาดการเงิน
-
- โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ โอซาก้า:
เป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว จำนวน 515 ห้อง
เปิดดำเนินการเต็มปีเป็นปีแรกในปี 2567
บริหารโดยบริษัท Centara Osaka Japan Kabushiki Kaisha ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้น 100% และเป็นผู้เช่ทรัพย์สิน
บริษัทฯ บันทึกผลการดำเนินงานทั้งรายได้และค่าใช้จ่ายในงบการเงินรวม
-
- การปรับปรุงใหญ่ (Major Renovation):
โรงแรมเซ็นทารา กะรน ภูเก็ต:
-
-
-
- ปิดปรับปรุงทั้งหมดตั้งแต่ไตรมาส 3/2566
- กำหนดเปิดดำเนินการในเดือนพฤศจิกายน 2567 (330 ห้อง)
-
-
โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ มิราจ บีช รีสอร์ท พัทยา:
-
-
-
- ทยอยปิดปรับปรุงตั้งแต่ไตรมาส 3/2566
- เปิดดำเนินการห้องที่ปรับปรุงใหม่ในแต่ละเฟสตั้งแต่ไตรมาส 2/2567
- การปรับปรุงห้องพักทั้งหมดจะแล้วเสร็จต้นเดือนธันวาคม 2567
-
- การเปิดโรงแรมใหม่ในมัลดีฟส์:
-
เซ็นทารา มิราจ ลากูน มัลดีฟส์ (145 ห้อง): เปิดในเดือนพฤศจิกายน 2567
เซ็นทารา แกรนด์ ลากูน มัลดีฟส์ (142 ห้อง): เปิดในไตรมาส 1/2568
คาดว่าจะมีผลขาดทุนจากค่าใช้จ่ายช่วงเตรียมเปิดดำเนินการ (Pre-opening Expenses) รวมประมาณ 150-200 ล้านบาทในปี 2567
-
- แผนปรับปรุงใหญ่ในปี 2568:
โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท แอนด์ วิลลา หัวหิน (251 ห้อง):ทยอยปิดบางส่วนเพื่อปรับปรุงตั้งแต่ไตรมาส 2/2568โรงแรมยังคงเปิดให้บริการระหว่างปรับปรุง
โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ทและวิลลา กระบี่ (192 ห้อง): ปิดปรับปรุงทั้งหมดในไตรมาส 2/2568
ธุรกิจอาหาร:
ธุรกิจอาหารเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากในแต่ละปีมีผู้ประกอบการใหม่ๆ เพิ่มเข้ามาเป็นจำนวนมาก บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญในการสร้างและพัฒนาแบรนด์เพื่อสร้างความคุ้มค่าและประสบการณ์ที่ดีในการรับประทานอาหารของลูกค้า หามองหาแบรนด์ใหม่ๆ ที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีมาเสริมทัพ หาช่องทางการขายใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงลูกค้า และเน้นการบริหารจัดการต้นทุนในด้านต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและสร้างความเติบโตของรายได้และกำไรอย่างยั่งยืน
ในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 บริษัทฯ ได้มีการวางแผนรับมือความผันผวนของราคาวัตถุดิบ โดยได้มีการดูแนวโน้มราคาเพื่อวางแผนในการเจรจาต่อรองกับผู้ขายวัตถุดิบอย่างต่อเนื่อง หาแหล่งวัตถุดิบทดแทน และมีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับวัตถุดิบหลักในบางส่วนเพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา
บริษัทฯ เน้นเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการเตรียมการจัดตารางการทำงานของพนักงานให้เป็นมาตรฐานตามยอดขาย และนำเทคโนโลยีมาใช้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคงมีแผนการปิดสาขาที่ไม่สามารถทำกำไรได้ตามเป้าหมาย มุ่งเน้นการขยายและการทำกำไรในแบรนด์หลักเพื่อเพิ่มอัตราการทำกำไรของบริษัทฯ และพิจารณาเปิดสาขาใหม่ด้วยความระมัดระวัง โดยมุ่งเน้นการขยายสาขาในแบรนด์หลักที่มีอัตราการทำกำไรสูง รวมถึงการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับยอดขายหรือกลุ่มลูกค้าที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน
อย่างไรก็ดีสำหรับแนวโน้ม ธุรกิจโรงแรม
บริษัทฯ คาดการณ์ว่าอัตราการเข้าพักเฉลี่ยในปี 2567 จะอยู่ที่ 70% – 73% (รวมโรงแรมร่วมทุน) โดยรายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPAR) คาดว่าจะอยู่ในช่วง 4,000 – 4,300 บาท ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหลังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
ธุรกิจอาหาร
สำหรับธุรกิจอาหาร บริษัทฯ คาดการณ์การเติบโตจากสาขาเดิม (Same-Store-Sales: SSS) อยู่ที่ 1% – 3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และการเติบโตของยอดขายรวมทุกสาขา (Total-System-Sales: TSS) อยู่ในช่วง 4% – 6%
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้วางแผนการขยายสาขาด้วยความระมัดระวังมากขึ้น โดยคาดการณ์ว่าจำนวนสาขา ณ สิ้นปี 2567 จะทรงตัวหรือลดลงประมาณ 2% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2566 เนื่องจากการปิดแบรนด์ที่ขาดทุนและสาขาที่เน้นการขายแบบเดลิเวอรี่เป็นหลัก พร้อมทั้งมุ่งเน้นการขยายสาขาในแบรนด์ที่มีอัตราการทำกำไรสูง
ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการต้นทุน และการปรับตัวให้สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างความมั่นคงในธุรกิจและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในระยะยาว