BGRIM ปรับทัพผู้บริหาร รับปี 68

          ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM ครั้งที่ 12/2567 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 มีมติแต่งตั้งกรรมการใหม่และผู้บริหารระดับสูง และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร โดยแต่งตั้ง ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล เป็น กรรมการใหม่ (กรรมการอิสระ) แทน นางเกตุวลี นภาศัพท์ ซึ่งลาออก โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2567 พร้อมมีมติแต่งตั้ง ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ได้แก่

  • ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ เป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม

 

  • นายพีรเดช พัฒนจันทร์ เป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน

  • นายนพเดช กรรณสูต เป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจในประเทศไทยและโซลูชันธุรกิจอุตสาหกรรม

  • นางสาวศิริวงศ์ บวรบุญฤทัย เป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร งานการเงินและบัญชี ซึ่งปัจจุบันยังคงดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน (Chief Financial Officer)

          ทั้งนี้ การแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงดังกล่าวเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่

  • กลุ่มธุรกิจพัฒนาพลังงานหมุนเวียน
  • กลุ่มธุรกิจในประเทศไทยและโซลูชันธุรกิจอุตสาหกรรม
  • กลุ่มงานการเงินและบัญชี

          โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป

          สำหรับการโยกย้ายแต่งตั้งครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ของบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ที่มุ่งมั่นสร้างพลังให้กับสังคมโลกด้วยความโอบอ้อมอารี (Empowering the World Compassionately)

          ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าวว่า เป้าหมายระยะยาวของ บี.กริม เพาเวอร์ คือการเพิ่มกำลังการผลิตให้ถึง 10,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2573 และเดินหน้าสู่เป้าหมายสำคัญ คือ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero Carbon Emissions) ภายในปี 2593

          ทั้งนี้ บี.กริม เพาเวอร์ จะดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ GreenLeap ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างจุดแข็ง 5 ด้านสำคัญ ได้แก่

  1. ความสามารถในการสร้างโอกาสทางธุรกิจ
  2. การเป็นพันธมิตรที่ดีและได้รับความไว้วางใจ
  3. ความสามารถในการพัฒนาและบริหารโครงการ
  4. การจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อรองรับการเติบโตด้วยต้นทุนที่เหมาะสม
  5. ความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงทุนในธุรกิจใหม่ ๆ และการพัฒนาต่อยอดธุรกิจพลังงานให้ทันสมัยและครบวงจร

แชร์:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

WHA ย้ำศักยภาพนิคมฯ ไทย ลุยกรีนโลจิสติกส์-อุตสาหกรรมใหม่ปี 68

WHA ย้ำศักยภาพนิคมฯ ไทย ลุยกรีนโลจิสติกส์-อุตสาหกรรมใหม่ปี 68

SC ขายหุ้น SC L1 ให้โตเกียวทาเทโมโนะ ร่วมพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์

SC ขายหุ้น SC L1 ให้โตเกียวทาเทโมโนะ ร่วมพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์

ปตท. คว้าอันดับ 1 โลกความยั่งยืนจาก S&P Global พร้อมมุ่งมั่นเติบโตยั่งยืนระดับโลก

ปตท. คว้าอันดับ 1 โลกความยั่งยืนจาก S&P Global พร้อมมุ่งมั่นเติบโตยั่งยืนระดับโลก

ก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร TSF กับพวกรวม 6 ราย ต่อ บก.ปอศ. กรณีทุจริต

ก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร TSF กับพวกรวม 6 ราย ต่อ บก.ปอศ. กรณีทุจริต

ข่าวล่าสุด

ทั้งหมด