BGRIM กำไรหลักไตรมาส 3/67 แกร่ง ปี68 ลงทุน 1-1.5 หมื่นล.

             BGRIM กำไรสุทธิจากการดำเนินงานไตรมาส 3/67 เติบโตแข็งแกร่ง ไตรมาส4/67 จะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบอีก 2 โครงการ ปี 2568 เตรียมลงทุน 10,000-15,000 ล้านบาท ขยายโครงการพลังงานหมุนเวียนทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มลูกค้า IUs เชื่อมระบบ 40-50 เมกะวัตต์ พร้อมก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และลมนอกชายฝั่ง ควบคู่กับแผนนำเข้า LNG สู่ระบบ Pool Gas คงเป้ามี 10,000 MW ตอกย้ำเป้าหมายระยะยาวผลิตพลังงานสะอาดและบรรลุ Net-Zero Carbon Emissions ในปี 2593

             ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี.กริม และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM เปิดเผยว่า ผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2567 เติบโตแข็งแกร่ง มี EBITDA อยู่ที่ 4,183 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.4% ด้วยปริมาณขายไฟฟ้าเติบโต 7.5% มาอยู่ที่ 3,908 กิกะวัตต์-ชั่วโมง เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักจาก 1. ปริมาณไฟฟ้าขายให้แก่ กฟผ. เพิ่มขึ้น 12.9% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โครงการโรงไฟฟ้าอุตสาหกรรม (SPP) 2 โครงการ ในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2566 รวมกำลังการผลิตติดตั้ง 280 เมกะวัตต์ และ 2. ปริมาณไฟฟ้าขายให้แก่ลูกค้าอุตสาหกรรม (IUs) ในประเทศเวียดนาม รวมทั้ง
ปริมาณขายไอน้ำในประเทศไทยที่เติบโตขึ้น 41.4% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน จากการขยายกำลังการผลิตของลูกค้าเดิม และความต้องการที่เพิ่มขึ้น

             สำหรับกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน (NNP) – ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ อยู่ที่ 808 ล้านบาท เติบโต 32.5% เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปัจจัยหลักที่กล่าวไปข้างต้น รายได้จากการให้บริการที่สูงขึ้น และส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้าที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ กำไรสุทธิ – ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ ซึ่งเป็นกำไรที่รวมผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน (FX) ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง และเป็นรายการที่ไม่ใช่เงินสด จะอยู่ที่ 163 ล้านบาท
ความสำเร็จตลอดช่วง 9 เดือนของปี 2567 บี.กริม เพาเวอร์ มีการเชื่อมเข้าระบบของลูกค้า IUs รายใหม่ในประเทศไทยจำนวน 11.2 เมกะวัตต์ และจะมีการเชื่อมเข้าระบบของลูกค้า IUs รายใหม่เพิ่มในไตรมาสที่ 4 ด้วยโครงการที่มีในปัจจุบันนับเป็นรากฐานที่ดีที่จะช่วยให้ บี.กริม เพาเวอร์ เติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต

             ในไตรมาส 3 นี้ บี.กริม เพาเวอร์ ประสบความสำเร็จในการนำเข้า LNG ลำแรก จำนวน 65,000 ตัน และลำที่สองในเดือนตุลาคม 2567 เพื่อนำเข้าสู่ระบบ Pool Gas โดยในช่วงเริ่มต้น ก๊าซที่นำเข้าจะส่งผ่านไปยังระบบ Pool Gas เพื่อเป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมของบริษัททั้งสิ้น 10 โครงการ นอกจากนี้ยังประสบความสำเร็จจากการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Lohas ECE Spain Gifu Co., Ltd. ในประเทศญี่ปุ่น กำลังการผลิตติดตั้ง 20 เมกะวัตต์ และมีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ระยะเวลา 25 ปี ของบริษัทย่อยและการร่วมค้าจำนวน 8 บริษัท เพื่อพัฒนาและดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาดโครงการรวม 323.3 เมกะวัตต์ มีกำหนดเปิด COD ตั้งแต่ปี 2569 ถึง 2573

             ขณะที่ไตรมาส 4 ปี 2567 เตรียมเปิด COD โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 2 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ อู่ตะเภา เฟสหนึ่ง และ 2) โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมแบบติดตั้งบนบก KOPOS ในสาธารณรัฐเกาหลี

แนวโน้มปี 2568
             เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งออกที่ปรับดีขึ้นตามความต้องการสินค้ามิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้เศรษฐกิจฟื้นตัวแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่ม รวมถึง SMEs ยังถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง (อ้างอิง: ธนาคารแห่งประเทศไทย, 16 ตุลาคม 2567)

             คาดการณ์ราคาก๊าซธรรมชาติต่อหน่วยสำหรับ SPP อยู่ที่ 310-340 บาทต่อล้าน BTU ในปี 2568 ต่ำกว่าปี 2567 เล็กน้อยที่อยู่ในช่วง 320-350 บาทต่อล้าน BTU วางแผนนำเข้า LNG ไม่เกิน 5 ล้านตัน เพื่อนำเข้าสู่ระบบ Pool Gasตั้งเป้าเพิ่มลูกค้า IUs รายใหม่ เชื่อมเข้าสู่ระบบรวม 40-50 เมกะวัตต์

โครงการต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างมีดังนี้:

1. อินทรี บี.กริม: โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 80 เมกะวัตต์
2. จงเช่อ รับเบอร์: โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคานิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง 35 เมกะวัตต์
3. 386: โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา 29.6 เมกะวัตต์
4. Nakwol: โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่ง 365 เมกะวัตต์
สำหรับปี 2568 บริษัทตั้งงบลงทุน ประมาณ 10,000-15,000 ล้านบาท

             ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าวว่า เป้าหมายระยะยาวของ บี.กริม เพาเวอร์ คือการเพิ่มกำลังผลิตสู่ 10,000 เมกะวัตต์ ในปี 2573 พร้อมตั้งเป้าหมายสู่การเป็นผู้ผลิตพลังงานชั้นนำระดับโลกและบรรลุเป้าหมายการก้าวสู่องค์กรที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero Carbon Emissions) ภายในปี 2593

แชร์:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

WHA ย้ำศักยภาพนิคมฯ ไทย ลุยกรีนโลจิสติกส์-อุตสาหกรรมใหม่ปี 68

WHA ย้ำศักยภาพนิคมฯ ไทย ลุยกรีนโลจิสติกส์-อุตสาหกรรมใหม่ปี 68

SC ขายหุ้น SC L1 ให้โตเกียวทาเทโมโนะ ร่วมพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์

SC ขายหุ้น SC L1 ให้โตเกียวทาเทโมโนะ ร่วมพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์

ปตท. คว้าอันดับ 1 โลกความยั่งยืนจาก S&P Global พร้อมมุ่งมั่นเติบโตยั่งยืนระดับโลก

ปตท. คว้าอันดับ 1 โลกความยั่งยืนจาก S&P Global พร้อมมุ่งมั่นเติบโตยั่งยืนระดับโลก

ก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร TSF กับพวกรวม 6 ราย ต่อ บก.ปอศ. กรณีทุจริต

ก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร TSF กับพวกรวม 6 ราย ต่อ บก.ปอศ. กรณีทุจริต

ข่าวล่าสุด

ทั้งหมด