หุ้นวิชั่น – บล.เอเชียพลัส ฝ่ายวิจัยมีความเห็นว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยดูมีความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่โอกาสในการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่ภาวะแผ่นดินไหวได้ส่งผลต่ออาคารสูง โดยเฉพาะคอนโด แม้ว่าอาคารส่วนใหญ่มีความปลอดภัยเชิงโครงสร้าง แต่การเรียกความเชื่อมั่นจากผู้อยู่อาศัยต้องใช้เวลา จึงจำเป็นต้องจับตามูลค่าหลักประกันกลุ่มคอนโด HIGH RISE ทั้งที่บันทึกเป็นสินเชื่อและ NPA ในระยะสั้น ซึ่งมีแนวโน้มนำไปสู่ระดับการตั้งสำรองสูงขึ้น เพื่อรองรับความเสี่ยงด้านมูลค่าหลักประกัน (ส่วนของ NPA อาจบันทึกใน OPEX)
ธนาคารพาณิชย์ ที่มีสัดส่วนสินเชื่อบ้าน 3 อันดับแรก ได้แก่:
-
SCB (32% ของสินเชื่อ)
-
TTB (26% ของสินเชื่อ)
-
KTB (19% ของสินเชื่อ)
ส่วนประเด็นมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของแต่ละธนาคาร อาทิ การลดค่างวด, พักชำระเงินต้น, และการลดดอกเบี้ย เป็นมาตรการช่วยเหลือตามปกติช่วงเกิดภัยพิบัติ เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นเมื่อน้ำท่วมปีก่อน โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้คงการจัดชั้นลูกหนี้ไว้เช่นเดิม และชะลอการไหลตกชั้น ซึ่งช่วยให้ภาระการตั้ง ECL ไม่เพิ่มขึ้น โดยสรุป มองว่าการช่วยเหลือลูกหนี้ในลักษณะนี้มีผลกระทบกับดอกเบี้ยรับ แต่ไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อการตั้งสำรอง
SENSITIVITY ANALYSIS:
-
ทุกๆ 0.1% ของ NIM ที่ลดลงจากสมมติฐาน (กรณีรับรู้ผลกระทบเต็มปี) จะกระทบกำไรกลุ่มฯ ประมาณ 7% หากลดดอกเบี้ยในวันที่ 30 เม.ย. จะรับรู้ผลกระทบ 8 เดือน ทำให้กำไรกลุ่มฯ ลดลงประมาณ 5%
-
ธนาคารพาณิชย์ใหญ่ จะมีความอ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายมากที่สุด ได้แก่ KTB และ KBANK ตามด้วย BBL (มีสัดส่วนสินเชื่อต่างประเทศ 25% และในประเทศ 75%)
-
การเปลี่ยนแปลง 0.1% ของ CREDIT COST จะส่งผลกระทบต่อกำไรราว 5% และการเปลี่ยนแปลงสินเชื่อ 1% จะทำให้กำไรเปลี่ยนแปลงประมาณ 0.8%
ภาพรวม SENSITIVITY ข้างต้น บ่งชี้ว่า NIM และ CREDIT COST มีน้ำหนักมากกว่าความต้องการใช้สินเชื่อเพื่อการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น
ความเห็นการลงทุน: กลุ่มฯ ปรับเน้นตั้งรับ รอช่วงเวลาสงบก่อนค่อยกลับเข้าหาจังหวะลงทุน เนื่องจากมองว่า DIV YIELD ยังคงน่าสนใจ โดยยังคงชอบธนาคารพาณิชย์ที่มี COVERAGE RATIO สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มฯ เช่น KTB และ BBL ซึ่งสามารถลดทอนผลกระทบจากการตั้งสำรองได้ดีกว่า รวมถึงธนาคารที่มี TAX SHIELD และการซื้อหุ้นคืน ซึ่งช่วยจำกัด DOWNSIDE เช่น TTB ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็กเลือก TISCO มากกว่า KKP
ด้าน บล.ดาโอ มีมุมมองเป็นลบต่อกลุ่มธนาคาร โดยเฉพาะสินเชื่อบ้าน เนื่องจากคาดว่าดอกเบี้ยรับจะลดลง และมีแนวโน้มที่จะมี NPL เพิ่มขึ้น จากการรวบรวมข้อมูลจากธนาคารจำนวน 5 แห่ง (Fig 1-2) พบว่า มาตรการที่ธนาคารดำเนินการเป็นการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ซึ่งคาดว่าจะมีผลกระทบต่อรายได้ดอกเบี้ยจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยลูกหนี้ลง
อย่างไรก็ตาม มาตรการช่วยเหลือทั้งหมดจะมีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี โดยประกอบด้วยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ซึ่งจะช่วยผ่อนคลายความกดดันในการตั้งสำรองฯ ของกลุ่มธนาคารในระยะสั้น
การคาดการณ์ผลกระทบ:
เราคาดว่า สินเชื่อบ้าน จะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวมากที่สุด โดยธนาคารส่วนใหญ่จะให้การพักการจ่ายเงินต้นและลดดอกเบี้ยลงเหลือ 0% ในช่วง 3 เดือนแรก แต่คาดว่าในระยะถัดไปจะมีความเสี่ยงที่ลูกหนี้อาจผิดนัดชำระหนี้ในสินเชื่อบ้านมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของ คอนโด ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิด NPL เพิ่มขึ้นในอนาคต
ธนาคารที่จะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวเรียงตามสัดส่วนสินเชื่อบ้านจากมากไปน้อย ได้แก่:
-
SCB (32%)
-
TTB (26%)
-
KTB (19%)
-
KBANK (17%)
ในส่วนของสินเชื่ออื่น ๆ เช่น สินเชื่อบุคคล, สินเชื่อ SME, และสินเชื่อเช่าซื้อ จะได้รับผลกระทบน้อยกว่า
Valuation / Catalyst / Risk:
ฝ่ายวิจัยคงให้น้ำหนักการลงทุนในกลุ่มธนาคารเป็น “มากกว่าตลาด” โดยเลือก KTB, TTB, และ BBL เป็น Top pick เนื่องจากแนวโน้มการเติบโตของกำไรในปี 2025E คาดว่าจะเติบโตได้ต่อเนื่องที่ +4% YoY ขณะเดียวกัน valuation ยังถูก โดยเทรดที่ระดับเพียง 0.68x PBV ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี (-1.25SD)
ดังนั้นเรายังคงเลือก KTB, TTB, และ BBL เป็น Top pick ในกลุ่มธนาคาร