ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

ธุรกิจอาหาร 6.57แสนล. AU ฮอต! ขนมหวานติดตลาด

          หุ้นวิชั่น – KResearch คาดมูลค่าคลาดธุรกิจร้านอาหาร เครื่องดื่มปี 68 ที่ 6.57 แสนล้าน โต 4.6% ชี้ท่องเที่ยวในประเทศหนุน “อาฟเตอร์ ยู” ติดโผ หุ้นเด่น ฮอตขนมหวานติดตลาด ใส่เกียร์ขยายสาขา ขายแฟรนไชส์ทำเงิน แนะ “ซื้อ” เป้า 12.50 บาท

          ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด (KResearch) ระบุว่า แนวโน้มธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจร้านอาหารและร้านเครื่องดื่มในปี 2568 คาดมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 657,000 ล้านบาท เติบโต 4.6% จากปี 2567 จากภาคการท่องเที่ยวในประเทศที่ยังเติบโต การขยายสาขาของผู้ประกอบการไปยังภูมิภาค รวมถึงไลฟ์ สไตล์ของผู้บริโภคและความต้องการอาหารและเครื่องดื่มใหม่ที่เพิ่มขึ้นช่วยหนุนการเติบโตของตลาด แต่ธุรกิจมีการแข่งขันสูงทำให้การลงทุนยังต้องระวัง

          ธุรกิจร้านอาหารในปี 2568 คาดมูลค่าตลาดอยู่ที่ 572,000 ล้านบาท เติบโต 4.8% จากปี 2567 กลุ่มร้านอาหารข้างทาง (Street Food) มีอัตราการเติบโตดีกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากได้รับความนิยมจากคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ขณะที่ธุรกิจร้านเครื่องดื่ม (รวมร้านเบเกอรี่และไอศกรีม) ในปี 2568 คาดมูลค่าตลาดอยู่ที่ 85,320 ล้านบาท เติบโต 3.2% จากปี 2567

          แนวโน้มธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มในประเทศ ในปี 2568 คาดว่า ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 657,000 ล้านบาท เติบโต 4.6% แต่เป็นอัตราการเติบโตที่ชะลอตัวจากปี 2567

          การเติบโตของธุรกิจได้รับปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากภาคการท่องเที่ยวทั้งการเดินทางท่องเที่ยวคนไทยและชาวต่างชาติที่คาดว่ายังเติบโตต่อเนื่องจากปี 2567 โดยการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) เป็นที่นิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติกอปรกับไทยมีร้านอาหารที่ติดอยู่ในมิชลินไกด์ กว่า 482 ร้านอาหาร จากข้อมูลของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพบว่า การใช้จ่ายด้านอาหารและเครื่องดื่มของนักท่องเที่ยวมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 2 ของการใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวทั้งหมด

          นอกจากนี้การเติบโตของมูลค่าตลาดยังเป็นผลมาจากราคาที่ปรับสูงขึ้นตามภาวะแนวโน้มต้นทุนทางธุรกิจที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมไปถึงการขยายสาขาของผู้ประกอบการและกลยุทธ์การตลาดกระตุ้นให้รายได้ต่อครั้งการสั่งอาหารเพิ่มขึ้น

การแข่งขันของธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม

          ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มในประเทศมีการแข่งขันรุนแรงในทุกระดับราคาและประเภทของอาหาร ประเทศไทยมีความหนาแน่นของร้านอาหารต่อประชากรอยู่ที่ 9.6 ร้านต่อประชากร 1,000 คน ซึ่งนับว่าเป็นอัตราส่วนที่สูง โดยในปี 2568 คาดว่าร้านอาหารและเครื่องดื่มจะมีจำนวนประมาณ 6.9 แสนร้าน ในปี 2568 ผู้ประกอบการรายใหม่ทั้งผู้ประกอบการรายใหญ่และผู้ประกอบรายเล็ก (บุคคล) ยังให้ความสนใจเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ประกอบการในตลาดมีแผนที่จะขยายสาขาในกลุ่มแบรนด์ร้านอาหารและเครื่องดื่มเดิม รวมถึงการเปิดแบรนด์ร้านอาหารและเครื่องดื่มใหม่ครอบคลุมทุกเช็กเม้นท์ของตลาด และส่วนใหญ่ยังคงเป็นกลุ่มร้านอาหารเอเชีย

          นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของจำนวนร้านอาหารและเครื่องดื่มยังมาจากแนวโน้มการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ อาทิ ห้างสรรพสินค้า และอาคารสำนักงานเปิดใหม่เป็นปัจจัยสนับสนุนจำนวนร้านอาหารเพิ่มขึ้นเช่นกัน ทิศทางลงทุนของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีกิจกรรมการท่องเที่ยวสูง อาทิ ชลบุรี เชียงใหม่และสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ศักยภาพ โดยจำนวนร้านอาหารและเครื่องดื่มในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 24% ของจำนวนร้านอาหารและเครื่องดื่มทั่วประเทศ

          นอกจากนี้ การแข่งขันในธุรกิจยังมาจากการเข้ามาลงทุนของชาวต่างชาติ โดยในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มยังได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในธุรกิจมากขึ้นสะท้อนได้จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า มูลค่าทุนจดทะเบียนร้านอาหารและเครื่องดื่มจำแนกตามสัญชาติเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ต้นปี 2567 กลุ่มร้านอาหารและเครื่องดื่มจากจีนมีมูลค่าการลงทุนที่เร่งตัวขึ้น และแนวโน้มการเข้ามาลงทุนน่าจะเพิ่มสูงขึ้น

          ทั้งนี้การแข่งขันในธุรกิจที่รุนแรงก็ทำให้เกิดการหมุนเวียนเปิด-ปิดกิจการของผู้ประกอบการใหม่และเก่าเป็นจำนวนไม่น้อยเช่นกัน สะท้อนจากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า ร้านอาหารปิดตัวเร่งขึ้นโดยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2567 ร้านอาหารมีการจดทะเบียนยกเลิกธุรกิจสูงถึง 89% (YoY) ขณะที่การเปิดตัวใหม่ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มธุรกิจร้านอาหาร

          ในปี 2568 คาดว่า มูลค่าตลาดร้านอาหาร (รวมร้านอาหารประเภทร้านอาหารที่ให้บริการเต็มรูปแบบ ร้านอาหารที่ให้บริการจำกัด และร้านอาหารข้างทางหรือ Street Food ที่มีหน้าร้าน) จะมีมูลค่ารวมประมาณ 572,000 ล้านบาท เติบโต 4.8% จากปี 2567

          การเติบโตของร้านอาหารแต่ละรูปแบบมีปัจจัยเฉพาะที่ต่างกัน อาทิ ทำเลที่ตั้งของร้าน ความหนาแน่นของร้านอาหารทั้งที่เป็นประเภทเดียวกันและต่างกันในแต่ละพื้นที่ รวมถึงราคา คุณภาพ/รสชาติของอาหาร และการให้บริการ รวมไปถึงเทรนด์การบริโภคของผู้บริโภค การนำเสนอเมนูใหม่ๆ และมีเอกลักษณ์ก็มีผลต่อการเติบโตของร้านอาหาร

– ร้านอาหารที่ให้บริการเต็มรูปแบบ (Full Service Restaurants) คาดว่าจะเติบโต 2.9%จากปี 2567 หรือมีมูลค่า 213,000 ล้านบาท โดยร้านอาหารประเภทบุฟเฟต์ยังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคที่มองเรื่องความคุ้มค่าและไลฟ์ สไตล์ที่เปลี่ยนไป สำหรับกลุ่มร้านอาหารประเภทอะลาคาร์ท (A La Carte)อย่างกลุ่ม Casual Dining อาทิ ร้านอาหารญี่ปุ่น เกาหลี ไทย และตะวันตก ในกลุ่มราคาระดับกลางจะเจอกับความท้าทายจากกำลังซื้อและการแข่งขันจากร้านที่เปิดให้บริการจ านวนมาก

– ร้านอาหารที่ให้บริการ จำกัด (Limited Service Restaurants) คาดว่าจะเติบโต 3.8% จากปี 2567 หรือมีมูลค่า 93,000 ล้านบาท การขยายตัวจะมาจากการขยายสาขาของผู้ประกอบการอย่างกลุ่มพิซซ่า และไก่ทอด และจากผู้ประกอบการที่ให้บริการในรูปแบบ Full Service ได้ปรับรูปแบบร้านอาหารมาเป็นแบบ Quick service มากขึ้น เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่ายขึ้นและเป็นการลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ

– ร้านอาหารข้างทาง (Street Food) ที่มีหน้าร้าน คาดว่าจะเติบโต 6.8% จากปี 2567 หรือมีมูลค่า 266,000 ล้านบาท เนื่องจากเป็นเมนูพื้นฐานที่เข้าถึงได้ง่ายและราคาไม่สูง ทำให้ร้านอาหารกลุ่มนี้ยังขยายตัวดีกอปรกับร้านอาหารแนว Street Food ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวไทยและชาวต่างชาติ

แนวโน้มธุรกิจร้านเครื่องดื่ม

          ในปี 2568 คาดว่า มูลค่าตลาดร้านเครื่องดื่ม (รวมร้านเบเกอรี่และไอศกรีม) จะมีมูลค่ารวมประมาณ 85,320 ล้านบาท เติบโต 3.2% จากปี 2567 การเติบโตส่วนหนึ่งมาจากการขยายสาขาของผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่ และผู้ประกอบการรายเล็ก (บุคคล) ยังมีการเปิดร้านใหม่ รวมถึงการขยายแฟรนไชส์ร้านเครื่องดื่มของชาวต่างชาติที่น่าจะเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยมากขึ้น นอกจากนี้เครื่องดื่มและเบเกอรี่ใหม่ๆจากต่างประเทศที่เข้ามาทำตลาด มีส่วนกระตุ้นความต้องการบริโภคเครื่องดื่มและเบเกอรี่มากขึ้น

ความเสี่ยงของธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม

• กำลังซื้อของผู้บริโภคยังฟื้นไม่เต็มที่ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตของธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม โดยแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2568 ยังมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งสร้างความเสี่ยงต่อภาวะการมีงานทำและกำลังซื้อของผู้บริโภค

• ต้นทุนการดำเนินธุรกิจมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในปี 2568 ต้นทุนรอบด้านของธุรกิจร้านอาหารมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งค่าสาธารณูปโภคและค่าเช่า รวมถึงต้นทุนสำคัญ ได้แก่

– ต้นทุนค่าแรง โดยผู้ประกอบการยังต้องติดตามนโยบายของภาครัฐในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2568ซึ่งคงจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก

– ต้นทุนวัตถุดิบอาหารซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญของธุรกิจร้านอาหารคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของต้นทุนธุรกิจ ด้วยสภาวะอากาศที่ไม่ปกติเกิดขึ้นในหลายประเทศทำให้ราคาวัตถุดิบอาจปรับขึ้นได้โดยเฉพาะกลุ่มวัตถุดิบนำเข้าอย่างนมผง เนย ชีส โกโก้ และแป้งสาลี โดยราคาซื้อขายล่วงหน้าในปี 2568 ยังทรงตัวสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนในกลุ่มร้านเบเกอรี่และอาหารตะวันตกค่อนข้างมาก

• พฤติกรรมของผู้บริโภคที่หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของธุรกิจบริการโดย “ความแปลกใหม่+ประสบการณ์+สุขภาพ+ราคาสมเหตุสมผล” ได้กลายมาเป็นมาตรฐานใหม่ของผู้บริโภคในปัจจุบัน และเทรนด์ความต้องการของผู้บริโภคที่ไม่ได้มีรูปแบบตายตัว ความจงรักภักดีต่อแบรนด์ต่ำและเปลี่ยนแปลงตามกระแสอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับรูปแบบธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว

          ขณะที่ นางสาววิลาสินี บุญมาสูงทรง ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด หรือ GBS ได้เปิดเผยกับทีมข่าวหุ้นวิชั่นว่า ธุรกิจร้านอาหารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) ที่น่าสนใจ ได้แก่ บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) หรือ AU จากแผนการขยายสาขา ขายแฟรนไชส์ การวางขายสินค้าใน Modern Trade ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่ได้รับกระแสนิยมทุกปี
อีกทั้ง 9 เดือนแรกปี 2567 AU สามารถทำยอดขายได้ถึง 210.22 ล้านบาท

          ด้านบริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) คาด AU ในไตรมาส 4/2567 บริษัทจะยังคงเติบโต YoY, QoQ จากการขยายรายได้ในทุกช่องทาง ได้แก่ รักษา SSSG ที่เป็นบวก (เทียบกับ 4.5% ใน ไตรมาส 3/2567) และขยายสาขาเพิ่ม 1-2 แห่ง เป็น 63 สาขาในปี 2567

          โดยมีเป้าหมายเพิ่มอีก 10 สาขาในปี 2568 รายได้จากการขายสินค้า AU ขยายการขายใน 7-Eleven เพื่อให้ครอบคลุม 14,000 สาขาภายในต้นปี 2568 (จากปัจจุบันที่ 8,000 สาขา) รวมถึงการจับมือกับการบินไทยในการจำหน่ายขนมปังของ After You ในเที่ยวบินตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2024 ถึง 31 พฤษภาคม 2025 และวางแผนขยายฐานลูกค้า OEM เพื่อเพิ่มสัดส่วนช่องทางนี้จากปัจจุบัน 13% ในไตรมาส 3/2567
ฝ่ายวิเคราะห์ได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2567-2569 ขึ้น 9-14% การปรับเพิ่มนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการขาย 4-7% ซึ่งขับเคลื่อนโดยยอดขายสำหรับร้านขนมหวานที่เติบโตกว่าคาด และการขยายช่องทางการขายสินค้าผ่านช่องทางต่างๆ เช่น 7-Eleven และสายการบินไทย

          อัตรากำไรขั้นต้นที่สูงขึ้น (65.5% ในปี 2567, 64.7% ในปี 2568-2569) เนื่องจากประสิทธิภาพการผลิตที่ดีขึ้นและผลประโยชน์จากการประหยัดต่อขนาด ดังนั้นคาดว่าอัตรากำไรสุทธิจะปรับตัวดีขึ้นเป็น 18.4% ในปี 2567-2569 เพิ่มขึ้นจาก 14.6% ในปี 2566

          คงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายใหม่ 12.50 บาท (DCF) ด้วยราคาเป้าหมายที่ปรับขึ้นเป็น 12.50 บาท (จากเดิม 11.50 บาท) อิงจาก DCF โดยสมมติฐาน Rf 2.5%, RPM 8% และ Beta 0.9 ซึ่งเทียบเท่ากับ 29 เท่า PER ปี 2024F และ PEG ที่ 1.5 เท่า โดยพิจารณาจากการเติบโตกำไร 19% YoY

ที่มา https://www.settrade.com/th/research/businessanalysis

แชร์:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

SCL ปล่อยของในงาน TAPA 2025  ตอกย้ำผู้นำอะไหล่รถยนต์

SCL ปล่อยของในงาน TAPA 2025 ตอกย้ำผู้นำอะไหล่รถยนต์

SMD100 เปิดตัว ZenSync เขย่านวัตกรรมพลังสมอง

SMD100 เปิดตัว ZenSync เขย่านวัตกรรมพลังสมอง

BKA เคาะ IPO 1.80 บ. สยายปีก mai 22 เม.ย.นี้

BKA เคาะ IPO 1.80 บ. สยายปีก mai 22 เม.ย.นี้

WARRIX กำไรปี 68 โต 26% โกลเบล็กอัพเป้าใหม่ 4.75 บ.

WARRIX กำไรปี 68 โต 26% โกลเบล็กอัพเป้าใหม่ 4.75 บ.

ข่าวล่าสุด

ทั้งหมด