หุ้นวิชั่น – บล.หยวนต้า จับตา Trade War 2.0 เหมือนจะเบาลง แต่ความเสี่ยงยังสูงในปีนี้ โดยตั้งแต่คุณโดนัลด์ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยที่ 2 เมื่อ วันที่ 20 ม.ค. สหรัฐฯ ได้ประกาศมาตรการภาษีหลายรายการ โดยเริ่มจากการขึ้นภาษีกันประเทศคู่ค้าหลักอย่างแคนาดาและเม็กซิโกทีระดับ 25% และ ขึ้นภาษีสินค้าน้ำเข้าจากจีนทีระดับ 20% โดยอ้างเหตุผลในการปกป้องผลประโยชน์ของชาวอเมริกัน
ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เสนอแนวคิดเรื่องภาษีนำเข้าแบบ Universal Tariff ที่ระดับ 2.5% กับทุกสินค้าและทุกประเทศ แต่ประธานาธิบดีทรัมป์เห็นว่าระดับภาษีดังกล่าวต่ำเกินไป และแสดงทำทีว่าควรจัดเก็บในอัตราที่สูงกว่านี้
สถานการณ์สงครามการค้าผ่อนคลายลงเล็กน้อยหลังจากแคนาดาและเม็กซิโกเพิ่มมาตรการป้องกันการนำเข้าเฟนทานิลจากชายแดน แลกกับ การเลือนขึ้นภาษีออกไป 1 เดือน
แต่ฝ่ายวิจัยเห็นว่าความไม่แน่นอนยังคงสูง โดยเฉพาะกับจีน ซึ่ง Bloomberg ประเมินว่าการขึ้นภาษี 10% อาจทำให้การ ส่งออกของจีนไปยังสหรัฐฯ ลดลงราว 40% และส่งผลต่อ GDP จีนประมาณ 0.9% ซึ่งเห็นว่าอาจมีผลกระทบทางอ้อมต่อเศรษฐกิจไทย*
- Reciprocal tariffs – เกมแลกหมัดการค้าโลก
การเปิดฉากสงครามการค้าของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ ใช้มาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ซึ่งเป็นการกำหนดอัตราภาษีขาเข้าสินค้าจากประเทศคู่ค้าให้เท่าเทียมกัน กับอัตราภาษีที่สินค้าสหรัฐฯ ต้องเผชิญเมื่อส่งออกไปยังประเทศเหล่านั้น มีเป้าหมายหลักเพื่อลร้างความได้เปรียนในการเจรจาต่อรอง และลดการขาดดุลการค้า โดยเฉพาะกับประเทศที่สหรัฐฯ มองว่ามีการเก็บภาษีน้ำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ สูงเกินสมควร ทั้งนี้กลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียนเป็นเป้าหมายสำคัญ ซึ่งเรามองว่าหลายประเทศอาจเลือกประนีประนอมในบางประเด็น เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกขึ้นภาษีศุลกากรจากสหรัฐฯ
สำหรับประเทศไทย ปัจจัยที่บ่งชี้ถึงความเสี่ยงต่อการถูกตอบได้ทางการค้า คือดุลการค้าที่เกินดุลกับสหรัฐฯ สูงถึง 48,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2024 ติดอันดับ 11 ของประเทศที่เกินดุลมากที่สุด ฝ่ายวิจัยประเมินว่าตัวเลข ดังกล่าวอาจทำให้ไทยถูกจับตามองในฐานะประเทศที่อาจต้องเผชิญมาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้
ปัจจุบันมาตรการกำแพงภาษีของสหรัฐฯ เกิดขึ้นกับกลุ่มสินค้าเกษตรเป็นหลัก ส่วนกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมนอกภาคเกษตรที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบสำคัญ ได้แก่ สินค้ากลุ่มสิ่งทอ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่
ทั้งนี้ ประเด็นภูมิรัฐศาสตร์อาจช่วยลดแรงกดต้นต่อไทยในบางส่วน เนื่องจากแม้สหรัฐฯจะเพิ่มความเข้มงวดกับจีนในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา (IP) แต่ไทยมีพัฒนาการด้านกฎหมาย IP อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจช่วยลดความตึงเครียดระหว่างสองประเทศได้
อีกประเด็นหนึ่งที่คาดว่าจะเป็นหัวใจสำคัญในการเจรจาการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ คือ ความไม่สมดุลของโครงสร้างภาษี โดยไทยเก็บภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ เฉลี่ย 9.5% ขณะที่สหรัฐฯ เก็บจากไทยเพียง 0.3% (ข้อมูล ITC, World Bank, Feb 2025) ประกอบกับการใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร (Non-Tariff Measures – NTMs) เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ ซึ่งอาจถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาตามหลัก “Reciprocity” ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงอาจไม่ใช่อยู่ที่ NTMs โดยรวม แต่เป็นประเด็นเฉพาะในบางอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเกษตรกรรม โดยเฉพาะมาตรฐานความปลอดภัยอาหารที่สหรัฐฯ อาจเข้มงวดขึ้น ตลอดจนกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการลงทุน
ดังนั้น แนะนำให้นักลงทุนเตรียมความพร้อม และติดตามนโยบายจากทั้งฝั่งสหรัฐฯ และไทยอย่างใกล้ชิด เพื่อรับมือกับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น