ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

พาณิชย์ เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโตต่อเนื่อง 6 เดือน สะท้อนมุมมองบวกประชาชน

             หุ้นวิชั่น – นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน จำนวน 6,275 ราย ซึ่งครอบคลุมประชาชนทั่วประเทศ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนกุมภาพันธ์ 2568 อยู่ที่ระดับ 52.0 ยังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกัน เป็นเดือนที่ 6 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงมุมมองเชิงบวกของประชาชนต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะความเชื่อมั่นจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ราคาสินค้าเกษตรสำคัญที่ปรับตัวดีขึ้น และการส่งออกที่เติบโตได้ดีในตลาดสำคัญ นอกจากนี้ มาตรการของภาครัฐที่เข้มงวดกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ช่วยเพิ่ม ความมั่นใจในการทำธุรกรรมของประชาชนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หนี้ครัวเรือนยังคงเป็นปัญหาภายในประเทศที่มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงความเชื่อมั่นของประชาชน รวมถึงยังมีปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ อาทิ ความผันผวนของสถานการณ์โลกจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของสหรัฐอเมริกาที่จะส่งผลกระทบทั้งในภาคการค้าระหว่างประเทศและสถานการณ์ความขัดแย้งโลก

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนกุมภาพันธ์ 2568 ยังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่นหรือมีค่ามากกว่าระดับ 50

             โดยอยู่ที่ระดับ 52.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 51.5 ในเดือนก่อน โดยปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนียังคงอยู่ในช่วงเชื่อมั่น เนื่องจาก (1) การดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการกระตุ้นการใช้จ่ายภาคประชาชน อาทิ มาตรการภาษี Easy E-Receipt 2.0 และโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้สูงอายุ (เงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท) เป็นต้น

             ซึ่งช่วยลดภาระค่าครองชีพและส่งเสริมภาคธุรกิจ (2) ราคาสินค้าเกษตรสำคัญปรับสูงขึ้น โดยเฉพาะปาล์มน้ำมันและยางพารา รวมถึงพืชผลการเกษตรหลายชนิดทยอยเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร (3) การเร่งแก้ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์อย่างเข้มงวด ช่วยลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจและสร้างความมั่นใจในการทำธุรกรรมทางการเงินของประชาชน และ (4) การส่งออกไทยยังขยายตัวได้ดีในตลาดส่งออกสำคัญ

             ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค พบว่า ด้านเศรษฐกิจไทยส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50.15 รองลงมาคือ มาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 14.82 ราคาสินค้าเกษตร คิดเป็นร้อยละ 7.76 เศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ 7.33 สังคม/ความมั่นคง คิดเป็นร้อยละ 7.22 การเมือง คิดเป็นร้อยละ 3.90 ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 3.86 ภัยพิบัติ/โรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 2.79 และอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 2.17 ตามลำดับ

             ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจำแนกรายภูมิภาค จำนวน 5 ภูมิภาค พบว่า ดัชนีอยู่ในช่วงเชื่อมั่น 4 ภาค ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ที่ระดับ 54.9 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อยู่ที่ระดับ 52.2 ภาคกลาง อยู่ที่ระดับ 51.0 และภาคใต้ อยู่ที่ระดับ 50.6 โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลให้มีความเชื่อมั่นคือ เศรษฐกิจไทย สังคม/ความมั่นคง มาตรการ ของภาครัฐ และเศรษฐกิจโลก ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของภาคเหนือปรับขึ้นจากเดือนก่อนหน้า แต่อยู่ต่ำกว่า ช่วงเชื่อมั่นเล็กน้อย ที่ระดับ 49.8

             ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจำแนกรายอาชีพ จำนวน 7 อาชีพ พบว่า ทั้ง 7 กลุ่มอาชีพมีดัชนีอยู่ในช่วงเชื่อมั่นทั้งหมด โดยพนักงานของรัฐ อยู่ที่ระดับ 55.8 ผู้ประกอบการ อยู่ที่ระดับ 53.1 นักศึกษา อยู่ที่ระดับ 52.0 เกษตรกร อยู่ที่ระดับ 51.8 พนักงานเอกชน อยู่ที่ระดับ 50.9 ไม่ได้ทำงาน/บำนาญ อยู่ที่ระดับ 50.7 และอาชีพรับจ้างอิสระ อยู่ที่ระดับ 50.4 สำหรับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังอยู่ต่ำกว่าช่วงเชื่อมั่น โดยอยู่ที่ระดับ 43.9

             ทั้งนี้ นายพูนพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ประชาชนยังคงมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยว่าจะสามารถขยายตัว และมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ อาทิ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การช่วยเหลือลดภาระค่าครองชีพ การส่งเสริมการส่งออก การสนับสนุนสินค้าเกษตร และการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและเพิ่มความเชื่อมั่นต่อการใช้จ่ายของประชาชน ตลอดจนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยล่าสุดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 คาดว่าจะช่วยลดความกังวลต่อปัญหาหนี้ครัวเรือน หนี้สินภาคธุรกิจ และกระตุ้นการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจได้มากขึ้น

             นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังได้จัดโครงการ “ชูใจ วัยเก๋า 60+” ซึ่งเป็นการสานต่อโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลผ่านผู้สูงอายุที่ได้รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท โดยร่วมมือกับผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และแพลตฟอร์มออนไลน์ กว่า 200 ราย ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มบริการ และกลุ่มแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถซื้อสินค้าและบริการได้ในราคาถูกลง ระหว่างวันที่ 30 มกราคม – 30 เมษายน 2568 ซึ่งการดำเนินโครงการนี้ จะช่วยเหลือลดภาระค่าครองชีพ เพิ่มความเชื่อมั่นในการใช้จ่าย และคาดว่าจะช่วยสร้างเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่นและทั่วประเทศ

แชร์:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โครงสร้างการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ

โครงสร้างการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ

จับตา AI agent พลิกโฉมธุรกิจ-จ้างงาน PwC คาดอีกไม่เกิน 12-24 เดือน   

จับตา AI agent พลิกโฉมธุรกิจ-จ้างงาน PwC คาดอีกไม่เกิน 12-24 เดือน  

[Vision Exclusive] Virtual Bank คืบ! เขย่าธนาคารดั้งเดิม

[Vision Exclusive] Virtual Bank คืบ! เขย่าธนาคารดั้งเดิม

KH Academy จัดพิธีปิด Prep for Fund Manager รุ่น3

KH Academy จัดพิธีปิด Prep for Fund Manager รุ่น3

ข่าวล่าสุด

ทั้งหมด