ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย เดือนพฤศจิกายน 2567
ส่งออก พ.ย. แรงต่อเนื่อง โต 8.2% สนค.เผย 11 เดือนแรกปี 67 ส่งออกโต 5.1% คาดทำสถิติใหม่ทะลุ 10 ล้านล้านบาทสินค้าดาวเด่นเครื่องคอมฯ พุ่ง 40.8% ผลไม้สด-อาหารสัตว์เลี้ยงโตแรง รับดีมานด์ตลาดโลกลุ้นปี 68 โตต่อเนื่อง 2-3% ฝ่าวิกฤตการค้าโลก-ความผันผวนเศรษฐกิจ หุ้นวิชั่น - นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) แถลงข่าวภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนพฤศจิกายน และ 11 เดือนแรกของปี 2567 พร้อมด้วย ผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ ณ ห้องพิพิธสมบัติ สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์การส่งออกของไทยในเดือนพฤศจิกายน 2567 มีมูลค่า 25,608.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (849,069 ล้านบาท) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ที่ร้อยละ 8.2 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวที่ร้อยละ 7.0 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญจากการส่งออกสินค้ากลุ่มเทคโนโลยี โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ที่เติบโตในระดับสูง สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของโลก ขณะที่การส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตยังคงขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวเชิงรุกของประเทศต่าง ๆ เพื่อรับมือกับพลวัตทางการค้ารูปแบบใหม่และความท้าทายด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจเกิดขึ้น อีกทั้งความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารในตลาดโลก ยังเป็นแรงหนุนสำคัญที่ผลักดันให้การส่งออกของไทยเติบโตได้อย่างมีศักยภาพ ทั้งนี้ การส่งออกไทย 11 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 5.1 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 4.9 มูลค่าการค้ารวม มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนพฤศจิกายน 2567 การส่งออก มีมูลค่า 25,608.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 8.2 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 25,832.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 0.9 ดุลการค้า ขาดดุล 224.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวม 11 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออก มีมูลค่า 275,763.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 5.1 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 282,033.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 5.7 ดุลการค้า 11 เดือนแรกของปี 2567 ขาดดุล 6,269.8 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนพฤศจิกายน 2567 การส่งออก มีมูลค่า 849,069.3 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 0.6 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 867,456.4 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 7.2 ดุลการค้า ขาดดุล 18,387.1 ล้านบาท ภาพรวม 11 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออก มีมูลค่า 9,695,455 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.3 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 10,032,550 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.8 ดุลการค้า 11 เดือนแรกของปี 2567 ขาดดุล 337,096 ล้านบาท การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 5.7 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน โดยสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 4.1 และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 7.7 โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 14.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น มาเลเซีย สหรัฐฯ เกาหลีใต้ และตุรกี) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 12.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่นสหราชอาณาจักร จีน เนเธอร์แลนด์ และเกาหลีใต้) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 44.8 กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฮ่องกง) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 3.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ แคนาดา อียิปต์ ซาอุดีอาระเบีย และอิสราเอล) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 18.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 14 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย มาเลเซีย อิตาลี และไต้หวัน) และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 24.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 14 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ข้าว หดตัวร้อยละ 20.6 กลับมาหดตัวในรอบ 6 เดือน (หดตัวในตลาดอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น แคนาดา และฝรั่งเศส แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน แอฟริกาใต้ แคเมอรูน และแองโกลา) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 6.3 หดตัวต่อเนื่อง 13 เดือน (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย แต่ขยายตัวในตลาดมาเลเซีย สหรัฐฯ อินเดีย เวียดนาม และเนเธอร์แลนด์) น้ำตาลทราย หดตัวร้อยละ 23.3 หดตัวต่อเนื่อง 11 เดือน (หดตัวในตลาดกัมพูชา ลาว อินโดนีเซีย จีน และไต้หวัน แต่ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ปาปัวนิวกินี แคนาดา และศรีลังกา) และไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ หดตัวร้อยละ 8.3 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดเมียนมา จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ แต่ขยายตัวในตลาดมาเลเซีย เวียดนาม อินเดีย กัมพูชา และอินโดนีเซีย) ทั้งนี้ 11 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 5.7 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 9.5 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 40.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เยอรมนี ญี่ปุ่น และมาเลเซีย) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 4.8 กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เวียดนาม เม็กซิโก และอินโดนีเซีย) ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวร้อยละ 24.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 16.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ อินเดีย จีน อินโดนีเซีย และสิงคโปร์) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 24.3 กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ อินเดีย สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) เคมีภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 10.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน อินเดีย อินโดนีเซีย กัมพูชา และเมียนมา) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 35.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย อิตาลี อินเดีย และเวียดนาม) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 13.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดเม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ ไต้หวัน มาเลเซีย และสาธาณรัฐเช็ก) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 34.3 หดตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (หดตัวในตลาดอินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และอาร์เจนตินา แต่ขยายตัวในตลาดอินเดีย สหรัฐฯ กัมพูชา ไต้หวัน และบราซิล) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด หดตัวร้อยละ 71.5 หดตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย และสาธารณเช็ก แต่ขยายตัวในตลาดฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และสิงคโปร์) ทั้งนี้ 11 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 5.5 ตลาดส่งออกสำคัญ การส่งออกไปตลาดสำคัญส่วนใหญ่ยังขยายตัวได้ดีตามอุปสงค์การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นของประเทศคู่ค้า ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับประเด็นทางภูมิรัฐศาสตร์โลกและความไม่แน่นอนของนโยบายทางการค้าในอนาคต ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 8.3 โดยขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 9.5 จีน ร้อยละ 16.9 สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 11.2 และ CLMV ร้อยละ 21.0 ขณะที่ญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 3.7 และอาเซียน (5) หดตัวร้อยละ 1.5 (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 7.1 โดยขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 18.3 ทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 1.0 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 1.7 แอฟริกา ร้อยละ 13.8 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 31.8 และสหราชอาณาจักร ร้อยละ 12.0 ขณะที่ตลาดรัสเซียและกลุ่ม CIS หดตัวร้อยละ 5.3 (3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 29.0 ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.5 (ขยายตัวต่อเนื่อง 14 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ทั้งนี้ 11 เดือนแรก ของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 13.3 ตลาดจีน ขยายตัวร้อยละ 16.9 (ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และยางพารา เป็นต้น ทั้งนี้ 11 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 2.2 ตลาดญี่ปุ่น กลับมาหดตัวร้อยละ 3.7 สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ไก่แปรรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และยางพารา เป็นต้น ทั้งนี้ 11 เดือนแรกของปี 2567 หดตัวร้อยละ 5.8 ตลาดสหภาพยุโรป (27) ขยายตัวร้อยละ 11.2 (ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ 11 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 9.5 ตลาดอาเซียน (5) กลับมาหดตัวร้อยละ 1.5 สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป และข้าว เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ 11 เดือนแรกของปี 2567 หดตัวร้อยละ 0.8 ตลาด CLMV ขยายตัวร้อยละ 21.0 (ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องดื่ม เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น น้ำมันสำเร็จรูป น้ำตาลทราย และผ้าผืน เป็นต้น ทั้งนี้ 11 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 12.0 ตลาดเอเชียใต้ ขยายตัวร้อยละ 18.3 (ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น น้ำมันสำเร็จรูป รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ 11 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 10.3 ตลาดทวีปออสเตรเลีย กลับมาขยายตัวร้อยละ 1.0 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น ทั้งนี้ 11 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 3.9 ตลาดตะวันออกกลาง ขยายตัวร้อยละ 1.7 (ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ และข้าว เป็นต้น ทั้งนี้ 11 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 3.1 ตลาดแอฟริกา กลับมาขยายตัวร้อยละ 13.8 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ข้าว รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เครื่องยนต์สันดาปภายใน เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น ทั้งนี้ 11 เดือนแรกของปี 2567 หดตัวร้อยละ 0.1 ตลาดลาตินอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 31.8 (ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประ