ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

เจาะ GEN X-Y-Z และ Baby Boomer ลงทุนยุค Social Media Finfluencer

           หุ้นวิชั่น – การใช้งาน Social media เติบโตอย่างมากในทศวรรษที่ผ่านมา จากผู้ใช้งาน 26% ของประชากรโลกในปี 2557 เพิ่มเป็น 60% ในปี 2567 นำมาสู่การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ด้านการเงินการลงทุนในรูปแบบใหม่ผ่าน Finfluencer หรือผู้มีอิทธิพลด้านการเงินการลงทุนบน Social media ที่สามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เข้าถึงง่ายและน่าสนใจ โดยการศึกษาของ CFA Institute ในปี 2567 พบว่า 45% ของเนื้อหาเป็นการแนะนำแนวทางการลงทุน และ 25% มีการเปิดเผยสถานภาพทางวิชาชีพหรือผลประโยชน์ที่ได้รับ ทั้งนี้ IOSCO ได้เสนอแนะแนวทางพัฒนาการให้ข้อมูลบนช่องทาง Social media เพื่อให้การนำเสนอข้อมูลมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

           จากการสำรวจของฝ่ายวิจัยตลาดหลักทรัพย์ฯ ในต้นปี 2568 พบว่าผู้ลงทุนแต่ละ Generation มีช่องทางการรับข้อมูลที่แตกต่างกัน โดย 8% ของผู้ลงทุน Gen Z รับข้อมูลผ่านสื่อสาธารณะและ Social media เป็นหลัก โดยมีเพียง 21.95% รับข้อมูลผ่านนักวิเคราะห์และที่ปรึกษาการลงทุน ส่วน Baby Boomer และ Gen X นิยมรับข้อมูลจากบทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์มากกว่าและได้รับอิทธิพลจาก Finfluencer น้อยกว่า Gen Y และ Gen Z

           ทั้งนี้ เนื้อหาด้านการเงินที่ผู้ลงทุนได้รับผ่าน Social media ส่วนใหญ่เป็นข่าวสารการลงทุน (5%) และการแนะนำการลงทุน (44.4%) อย่างไรก็ตาม ช่องทางออนไลน์อาจถูกใช้ในการหลอกลวงการลงทุน โดย 73% ของผู้ที่เคยเกี่ยวข้องกับการถูกหลอกลวงระบุว่าถูกชักชวนผ่านช่องทางนี้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายในวงกว้างได้

           ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดโครงการให้ความรู้หลากหลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง อาทิ ห้องเรียนนักลงทุน Happy Money และ INVESTORY รวมถึงการให้ความรู้ผ่าน Social media และการส่งเสริม Influencer ที่มีความรู้ความเข้าใจด้านการเงิน การลงทุน เพื่อยกระดับคุณภาพการนำเสนอข้อมูลและสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้ลงทุน

           การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านการเงินการลงทุนที่เหมาะสมแก่ประชาชนมีความสำคัญ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันจากข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บิดเบือน หรือหลอกลวงบนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะในเรื่องการเงินการลงทุน ทั้งนี้ หลักสำคัญที่ควรคำนึงคือ ‘อะไรที่ฟังดูดีเกินจริง ให้ระวังไว้ก่อนว่าอาจไม่เป็นความจริง’

ประเด็นที่น่าสนใจจากงานศึกษา “Gen Z and Investing: Social Media, Crypto, FOMO, and Family”

  • Social media เป็นช่องทางที่ Gen Z กว่า 48% ใช้รับข้อมูลการเงินการลงทุน
  • ในขณะที่ 26% ของผู้ลงทุน Generation X รับข้อมูลการเงินการลงทุนจาก Social media
  • Finfluencer เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้ Gen Z ตัดสินใจเริ่มลงทุน
  • ผู้ลงทุน Gen Z ให้ความสำคัญกับความสามารถในการนำเสนอข้อมูล ประวัติการลงทุน (track record) และความโปร่งใสของผู้ให้ข้อมูล
  • ผู้ลงทุน Gen Z 65% ลงทุนผ่านแอพพลิเคชัน มีเพียง 15% ที่ใช้ช่องทางลงทุนรูปแบบเดิม
  • ผลิตภัณฑ์ที่ Gen Z เริ่มลงทุนเป็นอย่างแรก ได้แก่ คริปโทเคอร์เรนซี (44%) หุ้นรายตัว (32%) และกองทุน (21%)

Finfluencer = Financial + Influencer

           ปัจจุบัน การใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social media) เป็นที่แพร่หลายอย่างมากจนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของหลายๆ คน จากข้อมูลช่วงต้นปี 2557 มีจำนวนผู้ใช้งาน Social media คิดเป็น 26% ของจำนวนประชากรโลก ต่อมาในปี 2567 หรือราว 10 ปีให้หลัง ผู้ใช้งาน Social media เพิ่มขึ้นเป็น 60% ของจำนวนประชากรโลก และในประเทศไทยมีผู้ใช้งาน Social media อยู่ที่ราว 49.1 ล้านคน คิดเป็น 68% ของประชากร สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของ Social media ในการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน จากเดิมที่ต้องพึ่งพาสื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ หรือการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญโดยตรง

           ในยุค Social media นี้ มีผู้ที่สร้างคอนเทนต์ที่ถูกใจผู้คนจนมีชื่อเสียงและมีผู้ติดตามจำนวนมาก หรือที่เรียกว่า “Influencer” เกิดขึ้นในหลายสาขา ทั้งด้านการทำธุรกิจ วิจารณ์อาหาร การท่องเที่ยว บันเทิงทั่วไป ไลฟ์สไตล์ ซึ่งมักทำคอนเทนต์ที่เป็นประโยชน์และตอบสนองความต้องการของผู้ติดตามได้อย่างดี รวมทั้งสาขาการเงินการลงทุน หรือเรียกว่า “Finfluencer” หรือผู้สร้างคอนเทนต์เกี่ยวกับการเงินการลงทุน ครอบคลุมตั้งแต่การบริหารการเงินส่วนบุคคล ไปจนถึงการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภท เช่น หุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร อนุพันธ์ กองทุนรวม ทองคำ สินทรัพย์ดิจิทัล และสินทรัพย์ทางการเงินอื่นๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและความสนใจด้านการเงินการลงทุนให้กับผู้ติดตามและสาธารณชน

           จุดแข็งของ Finfluencer คือการนำเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อนในรูปแบบและภาษาที่เข้าใจง่าย มีความน่าสนใจ ทำให้ความรู้ทางการเงินสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น และเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้ดีกว่าแหล่งข้อมูลแบบดั้งเดิมที่ซับซ้อนและเข้าถึงได้ยาก

Social Media และพฤติกรรมการรับรู้ข้อมูลของนักลงทุน

           งานศึกษาของ FINRA Investor Education Foundation และ CFA Institute ในปี 2566 พบว่า ผู้ลงทุน Gen Z มีพฤติกรรมการรับข้อมูลและการลงทุนที่แตกต่างจาก Generation อื่น โดยมีแนวโน้มรับข้อมูลจาก Social media และ Finfluencer มากที่สุด มากกว่าข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญหรือบุคคลใกล้ตัว และพิจารณาความน่าเชื่อถือจากความสามารถในการนำเสนอข้อมูลและให้ความสำคัญกับประวัติการลงทุนที่ประสบความสำเร็จ (track record) รวมทั้งมีแนวโน้มที่จะเริ่มลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงอย่างคริปโทเคอร์เรนซีมากกว่าสินทรัพย์ทางการเงินดั้งเดิม และมักลงทุนผ่านแอพพลิเคชั่น

           งานศึกษาอีกชิ้นในปี 2567 ศึกษามุมมองของผู้ลงทุนที่มีต่อ Finfluencer พบว่า 45% ของเนื้อหาที่ Finfluencer นำเสนอมีการแนะนำแนวทางการลงทุน (Guidance) 36% โฆษณาเกี่ยวกับการลงทุน (Investment promotion) และ 32% ให้คำแนะนำการลงทุน (Recommendation) โดยผลิตภัณฑ์การลงทุนที่ Finfluencer กล่าวถึงมากที่สุดตามลำดับ ได้แก่ หุ้น, Index fund, ETFs, อสังหาริมทรัพย์ และคริปโทเคอร์เรนซี ในขณะที่มี Finfluencer 25% เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพทางวิชาชีพหรือผลประโยชน์ที่ได้รับ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ เช่น ค่าตอบแทนในการนำเสนอข้อมูล หรือส่วนได้เสียกับผลิตภัณฑ์ที่มีการกล่าวถึง จะช่วยให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่ครบถ้วนมากขึ้น สะท้อนโอกาสในการพัฒนาความโปร่งใสของข้อมูล

           องค์กรกำกับดูแลตลาดทุนในระดับสากล หรือ  International Organization of Securities Commission (IOSCO) ได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการให้ข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ เช่น เสนอแนะให้หน่วยงานกำกับดูแลระบุขอบเขตกิจกรรมที่ถือเป็นการแนะนำการลงทุนที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลให้ชัดเจน การกำหนดให้เปิดเผยค่าตอบแทนที่ผู้ให้บริการทางการเงินว่าจ้างให้มีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ การให้ความรู้แก่ผู้ลงทุนเกี่ยวกับความเสี่ยง ตลอดจนจัดให้มีความร่วมมือกับแพลตฟอร์ม Social media เพื่อติดตามการใช้ Social media ให้เป็นไปตามเงื่อนไขการใช้บริการ

           สำหรับผู้ลงทุนในประเทศไทย ฝ่ายวิจัย ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้จัดทำแบบสำรวจเกี่ยวกับการรับข้อมูลของผู้ลงทุน โดยสำรวจจากผู้ลงทุน 707 รายในช่วงวันที่ 15-26 มกราคม 2568 พบว่า ผู้ลงทุนรุ่นก่อนอย่าง Baby Boomer และ Gen X นิยมรับข้อมูลจากบทวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์หรือคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเป็นหลัก ในขณะที่ Gen Y และ Gen Z นิยมรับข้อมูลสาธารณะทั้งจากสื่อมวลชนและ Finfluencer ใน Social media โดยทั้ง Gen Y และ Gen Z มีแนวโน้มได้รับอิทธิพลจากFinfluencer ในการตัดสินใจลงทุนสูงกว่าผู้ลงทุน Gen X และ Baby boomer อีกด้วย

           นอกจากนี้ ผู้ลงทุนยังให้ข้อมูลอีกว่า เนื้อหาทางการเงินที่ได้รับชมผ่าน Social media มีข้อมูลครอบคลุมตั้งแต่เรื่องพื้นฐานความรู้ทางการเงิน ข่าวสารการเงินการลงทุน การวางแผนการเงิน แนวทางการวิเคราะห์การลงทุนด้วยตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมในความพยายามที่จะถ่ายทอดความรู้เหล่านี้ให้แก่ประชาชนในวงกว้าง

           ในอีกด้านหนึ่ง การรับข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ก็อาจเป็นความเสี่ยงต่อผู้ลงทุนได้เช่นกัน จากการสำรวจพบว่าช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางที่ถูกใช้กระทำผิดเกี่ยวกับการหลอกลวงลงทุนมากที่สุด โดยสำหรับผู้ที่ตอบว่าเคยถูกหลอกลวงหรือมีคนใกล้ชิดถูกหลอกลวงลงทุน มี 73% ระบุว่าถูกชักชวนผ่านช่องทางออนไลน์ เน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลการให้ข้อมูลผ่านช่องทางดังกล่าว ตลอดจนความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้ลงทุน

ตลาดหลักทรัพย์ฯ กับโครงการส่งเสริมความรู้การลงทุน

           ตลาดหลักทรัพย์ฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างทักษะการเงินการลงทุน สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ผู้ลงทุน รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้ให้ผู้ลงทุนมีภูมิคุ้มกันที่จะสามารถดูแลตนเองจากข้อมูลที่ถูกบิดเบือน ไม่ถูกต้อง หรือหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุน จึงจัดให้มีโครงการเผยแพร่ความรู้ในหลากหลายช่องทาง อาทิ โครงการ “ห้องเรียนนักลงทุน” ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านการลงทุนผ่านช่องทางออนไลน์ เนื้อหาครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ความรู้พื้นฐาน การวิเคราะห์หลักทรัพย์ การจัดพอร์ตรวมถึงกลยุทธ์การลงทุน ผ่านรูปแบบการ

  • เรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งบทความ คลิปความรู้ อินโฟกราฟิกผ่านเว็บไซต์ https://www.setinvestnow.com/th/home และ SET Social Media โดยในปี 2567 มีผู้เข้าชมกว่า 27 ล้านวิว รวมถึงการเรียนรู้ผ่าน SET e-learning ที่มีผู้เข้าเรียนหลักสูตรการเงินและการลงทุนกว่า 5 ล้าน enrollments
  • โครงการ “Happy Money” เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินสำหรับทุกกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่ผู้เริ่มทำงานครอบคลุมทั้งแรงงานในระบบ และนอกระบบ รวมถึงผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการต่างๆ ได้แก่ โครงการ Happy Money, Happy Jobbers ชีวิตอิสระ งานโปรเงินปัง , โครงการ Happy Money, Happy Young Old ปูนนี้ (ก็) มีใช้ , โครงการ Happy Money พี่เลี้ยงการเงิน เป็นต้น โดยปัจจุบันได้ร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรสะสมกว่า 600 แห่ง เผยแพร่ความรู้ด้านการวางแผนการเงิน ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายวัยทำงานกว่า 3 ล้านคน พร้อมทั้งสร้างการรับรู้และเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งบทความ คลิปความรู้ อินโฟกราฟิก แก่ประชาชนไทยในวงกว้างด้วยการเข้าถึงองค์ความรู้ Financial Literacy ผ่านเว็บไซต์ or.th และ SET Social Media โดยในปี 2567 มีผู้เข้าชมแล้วกว่า 20 ล้านวิว อีกทั้งยังส่งเสริมการใช้งาน Happy Money Application ผ่านมือถือ เพื่อมุ่งให้ผู้ใช้งานเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเงิน และนำไปสู่การอยู่ดีมีสุขทางการเงิน

  • โครงการ “INVESTORY Investment Learning Design Bootcamp” สนับสนุนให้ครูระดับมัธยมศึกษาออกแบบโมเดลการเรียนรู้การเงินการลงทุน เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียนในรูปแบบ active learning และเผยแพร่โมเดลการเรียนรู้ดังกล่าวสู่สาธารณะ เพื่อให้เกิดหลักสูตรการลงทุนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาให้แก่ระบบการศึกษาของประเทศ
  • การให้ความรู้ผ่านช่องทาง Facebook และ TikTok “SET Thailand” มีผู้ติดตามรวมกว่า 1.5 ล้านคน รวมทั้งร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรในการรณรงค์ให้ประชาชนรู้เท่าทันรูปแบบการหลอกลวงการลงทุน ร่วมกันตรวจสอบข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและต่อต้านการเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือน

           ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีแผนงานพัฒนาระบบนิเวศเพื่อการเรียนรู้ทางการเงิน สร้างคนรุ่นใหม่ ประกอบด้วย ผู้ลงทุน ผู้ประกอบวิชาชีพ ภาคการศึกษา และ Influencer ที่มีความรู้ความเข้าใจด้านการเงินการลงทุน ควบคู่ไปกับการรณรงค์ตามโครงการ “ร่วมมือ-จับปลอมหลอกลงทุน” ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ ดำเนินการร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในตลาดทุนมาอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยกันทำให้ประชาชนวงกว้างสามารถเข้าถึงความรู้เกี่ยวกับการเงินการลงทุนที่ถูกต้อง และตระหนักรู้เกี่ยวกับการหลอกลวงลงทุน ทั้งนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. มีแผนงานปี 2568 – 2570 ที่จะสร้างพันธมิตรกับ Finfluencer ในการให้ความรู้และการดูแลให้เหมาะสมกับความเสี่ยงอีกด้วย

           อนึ่ง เพื่อป้องกันจากภัยหลอกลวงลงทุน หลักสำคัญคือการตั้งสติพิจารณาข้อมูลและตรวจสอบที่มา โดยเฉพาะข้อเสนอที่ให้ผลตอบแทนสูงเกินจริง ระมัดระวังการให้ข้อมูลส่วนตัว พร้อมทั้ง

           สอบทานข้อมูลผู้แนะนำผ่านระบบ SEC Check First ของสำนักงาน ก.ล.ต. ทั้งนี้ หากพบการหลอกลวงควรบันทึกหลักฐานและแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที โดยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ “ร่วมมือจับปลอมหลอกลงทุน” ของตลาดหลักทรัพย์ฯ

บทสรุป

           การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับข้อมูลของผู้ลงทุนนี้แสดงให้เห็นว่า Social media เข้ามามีบทบาทในโลกการลงทุนมากขึ้น ทำให้ข้อมูลต่างๆ สามารถเข้าถึงประชาชนในวงกว้างได้โดยง่าย จึงควรสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้ลงทุนมีวิจารณญาณในการรับข้อมูลผ่านสื่อดังกล่าว ที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและพันธมิตรได้ร่วมกันจัดโครงการและกิจกรรมให้ความรู้ผ่านช่องทางต่างๆ โดยมุ่งหวังที่จะเสริมสร้างความรู้และทักษะที่จำเป็นให้ประชาชนสามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน ป้องกันการตกเป็นเหยื่อของข้อมูลที่ถูกบิดเบือนที่อาจสร้างความเสียหายและความเข้าใจคลาดเคลื่อนให้แก่ผู้ลงทุน ตลอดจนกลโกงการลงทุน ทั้งนี้ หากมีผู้ใดมาทำการชักชวนให้ลงทุน ขอให้ผู้ลงทุนตระหนักไว้เสมอว่า “อะไรที่ฟังดูดีเกินจริง
ให้ระวังไว้ก่อนว่าอาจไม่เป็นความจริง” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการเงินการลงทุน

ที่มา ฝ่ายวิจัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ส่องพฤติกรรมนักลงทุนต่างชาติปี 2567 ในตลาดหุ้นไทย

ส่องพฤติกรรมนักลงทุนต่างชาติปี 2567 ในตลาดหุ้นไทย

ส่อง 24 หุ้นส่งออกสหรัฐฯ โดนเต็มๆ ทรัมป์ขึ้นภาษีนำเข้ารอบใหม่

ส่อง 24 หุ้นส่งออกสหรัฐฯ โดนเต็มๆ ทรัมป์ขึ้นภาษีนำเข้ารอบใหม่

หวยเกษียณผ่านวาระแรก คาดเงินลงทุนไหลเข้า 1.3 หมื่นล.

หวยเกษียณผ่านวาระแรก คาดเงินลงทุนไหลเข้า 1.3 หมื่นล.

รถมือสองราคาขึ้นหนุนเช่าซื้อ KKP–TISCO–TTB ได้อานิสงส์

รถมือสองราคาขึ้นหนุนเช่าซื้อ KKP–TISCO–TTB ได้อานิสงส์

ข่าวล่าสุด

ทั้งหมด