NER ราคายางขาขึ้นอีก 3ปี ดีมานด์ยางเพิ่มหนุนงบโต


            NER ลั่นปี 2568 ซัพพลายยางใหม่หด คาดราคารับขาขึ้น 3 ปีติด ประเมินราคายางพาราแตะ 70 บาท/กก. พร้อมเร่งผลิตแตะ 500,000 ตันต่อปี เดินหน้าสร้างโรงงานแห่งที่ 3 กลางปี 2568 ด้านกลยุทธ์เน้นจับคู่ซื้อขาย Matching Order ลดความเสี่ยง พร้อมรุกตลาด EUDR เจรจาลูกค้าแล้ว

            นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และยางผสม เพื่อจำหน่ายไปยังผู้ผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ และกลุ่มผู้ค้าคนกลาง ทั้งในและต่างประเทศ เปิดเผยว่า นปี 2566 บริษัทผู้ผลิตยางแผ่นรมควันและยางแผ่นดิบ ซึ่งดำเนินธุรกิจในฐานะบริษัทกลางน้ำที่ส่งต่อวัตถุดิบให้แก่โรงงานผลิตล้อยาง มียอดขายรวมทั้งสิ้น 25,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากการจำหน่ายยางแผ่นรมควัน 8,000 ล้านบาท และยางแท่ง 17,000 ล้านบาท โดยบริษัทมีอัตรากำไรขั้นต้น (มาร์จิ้น) อยู่ที่ประมาณ 5-6%

            สำหรับปี 2567 บริษัทตั้งเป้ายอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 28,000 ล้านบาท โดยคาดหวังว่าปัจจัยบวกจากสถานการณ์ราคายางพาราในตลาดโลกจะเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
ภาวะอุตสาหกรรมยางพาราโลก อุตสาหกรรมยางพารายังคงเผชิญกับความผันผวนของราคาจากปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทาน (ดีมานด์-ซัพพลาย) โดยในปีที่ผ่านมา ราคายางพาราได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักมาจาก 2-3 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่

            1. ภาวะภัยแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตยางพาราที่ใหญ่ที่สุดในโลก ส่งผลให้ซัพพลายยางพาราลดลง คาดว่าผลผลิตจะหายไปประมาณ 20% ในปี 2567 ซึ่งจะส่งผลดีต่อราคายางในตลาดโลกและเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้ผลิตยางพารา โดยปัจจุบันราคาขายยางของเกษตรกรเฉลี่ยอยู่ที่ 67 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่เกษตรกรสามารถดำรงชีพได้อย่างเหมาะสม

            2. สถานะประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตยางพาราอันดับหนึ่งของโลก โดยไทยมีส่วนแบ่งในตลาดยางพาราโลกอยู่ที่ 30% ของกำลังการผลิตทั้งหมด รองลงมาได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม รวมถึงประเทศเกิดใหม่อย่างไอวอรี่โคสต์และกัมพูชา ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในตลาดมากขึ้น

            ความต้องการของตลาดยางพารา ในส่วนของการผลิตยางพารา ประเภทผลิตภัณฑ์ยางแท่ง (RSS) จะถูกส่งไปยังกลุ่มลูกค้าในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะในภาคการผลิตล้อยางรถยนต์ ซึ่งมีความต้องการในสัดส่วนที่สูงที่สุด ขณะที่ยางน้ำยางข้น (Concentrated Latex) จะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ เช่น ถุงมือยาง เครื่องนุ่งห่ม และผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ

            โดยในส่วนของจุดเด่นของบริษัท จะใช้กลยุทธ์ในการจับคู่ซื้อขาย Matching Order ระหว่างปริมาณซื้อวัตถุดิบกับปริมาณขายสินค้าในแต่ละช่วงเวลาให้ สอดคล้องกัน เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคายางพารา โดยฝ่ายการตลาดจะกําหนดราคาขายสินค้า ตามต้นทุนของวัตถุดิบ ต้นทุนการ ผลิต และบวกด้วยอัตรากําไรขั้นต้นที่ต้องการ (Cost Plus Margin) ควบคู่ไปกับการพิจารณาราคาของตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าสิงคโปร์ (Singapore Commodity Exchange : SICOM), ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Future Exchange : SHFE) เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณากําหนด ราคาขายให้แก่ลูกค้า สําหรับการขายสินค้า แบ่งประเภทการขายออกเป็น 2 ส่วน คือ การขายแบบมีสัญญาระยะยาว (Long Term Contract) ที่ทําสัญญาเป็นรายปีและมีกําหนดการ ส่งมอบสินค้าเป็นรายเดือนตามที่ตกลงกัน และ การขายแบบรายครั้ง (Spot Contract)

            ทั้งนี้ โรงงานผลิตยางพาราในจังหวัดบุรีรัมย์ มีกำลังการผลิตปัจจุบันอยู่ที่ 515,000 ตันต่อปี โดยในปี 2567 มีปริมาณการผลิตที่ 440,000 ตัน เนื่องจากปัญหาวัตถุดิบลดลงในช่วงต้นปี อย่างไรก็ตาม ในปี 2568 บริษัทคาดว่าจะเพิ่มปริมาณการผลิตขึ้นเป็น 500,000 ตัน หรือเกือบ 100% ของกำลังการผลิตโรงงาน นอกจากนี้ ยังมีแผนขยายโรงงานแห่งใหม่ซึ่งเป็นแห่งที่ 3 คาดว่าจะเริ่มดำเนินการในช่วงกลางปี 2568 เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ

            “ปี 2568 คาดว่าซัพพลายยางพาราใหม่จะไม่มีเข้ามา เนื่องจากการปลูกยางพาราต้องใช้เวลา 7 ปีถึงจะให้ผลผลิตได้ ดังนั้น โอกาสที่ซัพพลายใหม่จะเข้ามาทดแทนยังต้องใช้เวลา โดยในรอบ 3 ปีจากนี้ คาดว่าราคายางพาราจะเป็นขาขึ้น พร้อมประเมินราคายางพาราแตะ 70 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี2567”

            ตลาดยาง EU Deforestation Regulation (EUDR) ก็จะเป็นโอกาสของบริษัท โดยมีการเจรจากับลูกค้าแล้ว โดยคาดว่าเดือน กรกฎาคม 2568 จะเห็นการเริ่มซื้อขายEUDR รอบใหม่ โดยปีหน้าคาดว่าทำยาง EUDR ราว 8 หมื่นตัน

            บริษัทให้ความสำคัญกับหลักการ ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล) อย่างจริงจัง โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการผลิตในโรงงานด้วยการใช้พลังงานทดแทน เช่น การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ บริษัทยังส่งเสริมชุมชนท้องถิ่นผ่านการสนับสนุนเกษตรกรให้ปลูกพืชปลอดสารพิษ ซึ่งผลผลิตดังกล่าวจะถูกนำมาจำหน่ายในโรงงานของบริษัท ถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยเสริมสร้างความยั่งยืนทั้งในมิติของสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบโรงงาน

แชร์:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

WHA ย้ำศักยภาพนิคมฯ ไทย ลุยกรีนโลจิสติกส์-อุตสาหกรรมใหม่ปี 68

WHA ย้ำศักยภาพนิคมฯ ไทย ลุยกรีนโลจิสติกส์-อุตสาหกรรมใหม่ปี 68

SC ขายหุ้น SC L1 ให้โตเกียวทาเทโมโนะ ร่วมพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์

SC ขายหุ้น SC L1 ให้โตเกียวทาเทโมโนะ ร่วมพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์

ปตท. คว้าอันดับ 1 โลกความยั่งยืนจาก S&P Global พร้อมมุ่งมั่นเติบโตยั่งยืนระดับโลก

ปตท. คว้าอันดับ 1 โลกความยั่งยืนจาก S&P Global พร้อมมุ่งมั่นเติบโตยั่งยืนระดับโลก

ก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร TSF กับพวกรวม 6 ราย ต่อ บก.ปอศ. กรณีทุจริต

ก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร TSF กับพวกรวม 6 ราย ต่อ บก.ปอศ. กรณีทุจริต

ข่าวล่าสุด

ทั้งหมด