ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

ช่วยลูกหนี้ “คุณสู้ เราช่วย” หุ้นแบงก์ใดได้โชค เช็กเลย!

          หุ้นวิชั่น – บทวิเคราะห์ บล. ดาโอ ระบุว่า ธปท. ออกมาตรการแก้หนี้ช่วยเหลือลูกหนี้ในโครงการคุณสู้ เราช่วย โดยมี 2 มาตรการคือ มาตรการจ่ายตรง คงทรัพย์ และมาตรการ จ่าย ปิด จบ โดยลูกหนี้ที่จะเข้าร่วมได้ต้องทำสัญญาสินเชื่อก่อน 1 ม.ค. 24 และมีสถานะเป็นลูกหนี้ค้างชำระ 31-365 วัน ขณะที่ลูกหนี้ที่จะเข้าร่วมต้องเข้าไปลงทะเบียนผ่าน ธปท. ตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค. 24-28 ก.พ. 25 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) มาตรการจ่ายตรง คงทรัพย์ มียอดหนี้ที่ 8.9 แสนล้านบาท (น้อยกว่าข่าวก่อนหน้านี้ที่ 1.3 ล้านล้านบาท) โดยธนาคารจะจ่าย FIDF ที่เท่าเดิมที่ 0.46% ขณะที่ภาครัฐจะตั้งกองกลางโดยนำเงินจาก FIDF fee ที่ 0.23% มาใส่ที่ราว 3.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งหากธนาคารไหนแก้หนี้ให้ลูกหนี้ได้เท่าไรก็สามารถมาเบิกดอกเบี้ยได้ 50% โดยมาตรการนี้จะครอบคลุมลูกหนี้ 5 กลุ่มคือ สินเชื่อบ้าน/Home for cash ไม่เกิน 5 ล้านบาท, สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์/Car for cash ไม่เกิน 8 แสนบาท, สินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์/Car for cash ไม่เกิน 5 หมื่นบาท, SME ไม่เกิน 5 ล้านบาท และบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลที่รวมหนี้บ้านและหนี้รถ โดยปีแรกชำระ 50% ของค่างวด, ปีที่สองชำระ 70% และปีที่สามชำระ 90% ขณะที่ลูกหนี้ไม่สามารถขอสินเชื่อใหม่ได้ในช่วง 12 เดือนแรก และต้องติด Flag ใน NCB
2) มาตรการ จ่าย ปิด จบ มียอดหนี้ที่ 1 พันล้านบาท โดยให้กับลูกหนี้ NPL บุคคลธรรมดาในทุกประเภทสินเชื่อ โดยมีภาระหนี้คงค้างไม่เกิน 5,000 บาท ซึ่งลูกหนี้ต้องชำระบางส่วนเพื่อเป็นการปิดบัญชี

         เป็นกลางต่อกลุ่มธนาคาร เพราะรายละเอียดคล้ายกับข่าวก่อนหน้า โดย 1) มาตรการจ่ายตรง คงทรัพย์ มีเพียงวงเงินที่ลดลงเหลือ 8.9 แสนล้านบาท และเพิ่มวงเงินสินเชื่อบ้านและ SME เป็น 5 ล้านบาท จากเดิมที่ 3 ล้านบาท ขณะที่ผลกระทบต่องบกำไรขาดทุนทั้งปี 2025E

คาดว่าจะไม่กระทบแบบมีนัยสำคัญ เพราะ 1H25E จะโดนผลกระทบต่อ Loan yield ที่จะลดลง จาก EIR ที่ลดลงเพราะไม่มีการรับรู้ดอกเบี้ย 3 ปี แต่ช่วง 2H25E จะเห็นการลดลงของสำรองฯหลังจากที่ลูกหนี้กลับมาจ่ายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

อย่างไรก็ดี รอความชัดเจนในการลงบัญชีเพราะตอนนี้ยังไม่ทราบว่าจะมีการบันทึกเป็นดอกเบี้ยค้างรับหรือไม่ ซึ่งต้องรอรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ธปท. อีกที ส่วน 2) มาตรการ จ่าย ปิด จบ เรามองเป็นบวกเพราะสินเชื่อส่วนบุคคล-บัตรเครดิต โดยปกติทุกธนาคารจะมีการ write-off ค่อนข้างเร็วประมาณ 6-12 เดือน โดยสินเชื่อที่เข้ามาตรการนี้จะเป็นหนี้เสียค้างเกิน 1 ปี ทำให้กลุ่มธนาคารมีโอกาสได้เงินคืนจากลูกหนี้กลุ่มนี้เข้ามาเพิ่มเติมได้บ้างเล็กน้อย ทั้งนี้ธนาคารขนาดใหญ่ที่มีสัดส่วนสินเชื่อรายย่อยเรียงจากมาก-น้อยคือ TTB (62%), KTB (46%), SCB (40%), KBANK (28%) ยังคงน้ำหนักเป็น “มากกว่าตลาด”

          เลือก KTB, KBANK เป็น Top pick เราให้น้ำหนักการลงทุนของกลุ่มธนาคารเป็น “มากกว่าตลาด” เพราะแนวโน้มการเติบโตของกำไรปี 2024E-2025E จะยังเติบโตได้ต่อเนื่องอีก 5-6% YoY ขณะที่ valuation ยังถูก โดยเทรดที่ระดับเพียง 0.67x PBV (-1.25SD below 10-yr average PBV) ขณะที่เรายังคงเลือก KBANK, KTB เป็น Top pick

– KTB ราคาเป้าหมายที่ 24.50 บาท อิง PBV 2025E ที่ 0.85x (-0.75SD below 10-yr average PBV) เพราะกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงที่สุดในกลุ่มธนาคารที่ +18% YoY ขณะที่เราคาดว่าแนวโน้มกำไรสุทธิ 4Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY แต่จะลดลง QoQ จาก OPEX ที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล และ KTB เน้นปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้น ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงต่ำและรองรับกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงได้

– KBANK ราคาเป้าหมายที่ 176.00 บาท บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.70x (-1.00SD below 10-yr average PBV) เพราะคุณภาพของสินทรัพย์ที่ดีขึ้น และเราคาดหวัง JV AMC กับ BAM จะช่วยลด NPL ได้ในระยะยาว และคาดกำไร 4Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY จากสำรองฯที่ลดลง โดยปัจจุบันซื้อขายเพียง 0.66x PBV (-1.25SD below 10-yr average PBV) ถูกกว่า SCB ที่ 0.81x PBV

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

OR ชู “วิชั่น” ยั่งยืนครบสูตร

OR ชู “วิชั่น” ยั่งยืนครบสูตร

JMT ชำระคืนหุ้นกู้ตามนัด 3,000 ลบ. ปีนี้ตั้งเป้าพอร์ตหนี้ 2,000 ลบ.

JMT ชำระคืนหุ้นกู้ตามนัด 3,000 ลบ. ปีนี้ตั้งเป้าพอร์ตหนี้ 2,000 ลบ.

THCOM คว้าโครงการใหญ่ NT  ควบคุมดาวเทียม ไทยคม 4 และ 6

THCOM คว้าโครงการใหญ่ NT ควบคุมดาวเทียม ไทยคม 4 และ 6

KTC ผู้ถือหุ้นไฟเขียวปันผล 1.32 บาท

KTC ผู้ถือหุ้นไฟเขียวปันผล 1.32 บาท

ข่าวล่าสุด

ทั้งหมด