สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เผยดัชนีเศรษฐกิจการค้า ประจำเดือนตุลาคม 2567 พร้อมเปิดค่าใช้จ่ายครัวเรือนของไทยที่ 18,262 บาท
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ของไทยเดือนตุลาคม 2567 เท่ากับ 108.61 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2566 ซึ่งเท่ากับ 107.72 ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 0.83 (YoY) โดยปัจจัยสำคัญมาจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มอาหาร โดยเฉพาะผักสดและผลไม้สด ประกอบกับราคาน้ำมันดีเซลและค่ากระแสไฟฟ้าได้มีการปรับสูงขึ้นเนื่องจากฐานราคาที่ต่ำในปีก่อน ซึ่งมีมาตรการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายด้านพลังงานจากภาครัฐมากกว่าปีนี้ ขณะที่ราคาแก๊สโซฮอล์ปรับตัวลดลงตามทิศทางราคาพลังงานในตลาดโลก สำหรับราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ ส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อไม่มากนัก
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ข้อมูลล่าสุดเดือนกันยายน 2567 พบว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยสูงขึ้นร้อยละ 0.61 (YoY) ซึ่งยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ โดยอยู่ระดับต่ำอันดับ 20 จาก 140 เขตเศรษฐกิจที่ประกาศตัวเลข และต่ำเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศอาเซียนจาก 9 ประเทศที่ประกาศตัวเลข (บรูไน กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม สปป.ลาว)
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่สูงขึ้นร้อยละ 0.83 (YoY) ในเดือนนี้ มีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้
หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.95 (YoY) จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ
กลุ่มอาหารสด อาทิ ผักสด (ต้นหอม กะหล่ำปลี ผักชี ผักกาดขาว มะเขือ พริกสด กะหล่ำดอก) ผลไม้สด (เงาะ กล้วยน้ำว้า มะม่วง แตงโม กล้วยหอม) ไก่สด ไข่ไก่ กุ้งขาว เนื้อสุกร และข้าวสารเจ้า กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (กาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟ (ร้อน/เย็น) น้ำหวาน) และกลุ่มเครื่องประกอบอาหาร (น้ำตาลทราย มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) กะทิสำเร็จรูป) อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าอีกหลายรายการที่ราคาลดลง อาทิ ไก่ย่าง มะนาว น้ำมันพืช หัวหอมแดง กระเทียม ปลาทู
และอาหารโทรสั่ง (Delivery) เป็นต้น
หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.04 (YoY) จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ โดยเฉพาะน้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน และค่ากระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ ค่าเช่าบ้าน ค่าโดยสารเครื่องบิน ค่าบริการส่วนบุคคล (ค่าแต่งผมบุรุษและสตรี) และค่าถ่ายเอกสาร ปรับสูงขึ้นเช่นกัน ขณะที่ยังมีสินค้าสำคัญหลายรายการที่ราคาลดลง อาทิ แก๊สโซฮอล์ ของใช้ส่วนบุคคล (แชมพู สบู่ถูตัว ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว) สิ่งที่เกี่ยวกับการทำความสะอาด (ผงซักฟอก น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาปรับผ้านุ่ม) และเสื้อผ้า (เสื้อยืดบุรุษและสตรี เสื้อเชิ้ตบุรุษและสตรี) เป็นต้น
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก) สูงขึ้นร้อยละ 0.77 (YoY) ทรงตัวเท่ากับเดือนกันยายน 2567 ที่สูงขึ้นร้อยละ 0.77 (YoY)
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนตุลาคม 2567 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2567 ลดลงร้อยละ 0.06 (MoM)
ตามการลดลงของหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 0.11 ปรับลดลงตามราคาผักสดบางชนิด อาทิ แตงกวา ผักคะน้า พริกสด มะนาว และต้นหอม ผลไม้บางชนิด อาทิ ฝรั่ง ส้มเขียวหวาน ลองกอง และกล้วยน้ำว้า รวมทั้ง ไก่สด เนื้อสุกร ไข่ไก่ และอาหารโทรสั่ง (Delivery) อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าอีกหลายรายการที่ราคาปรับสูงขึ้น อาทิ ผักบุ้ง กะหล่ำปลี มะเขือ ข้าวสารเหนียว แก้วมังกร และมะม่วง และหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.03 ตามการลดลงของราคาแก๊สโซฮอล์ และของใช้ส่วนบุคคล (แชมพู ครีมนวดผม สบู่ถูตัว ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว โฟมล้างหน้า) สำหรับสินค้าที่ราคาปรับสูงขึ้น อาทิ สิ่งที่เกี่ยวกับการทำความสะอาด (ผงซักฟอก น้ำยารีดผ้า น้ำยาถูพื้น)
ค่าเช่าบ้าน น้ำมันดีเซล และค่าโดยสารเครื่องบิน เป็นต้น
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เฉลี่ย 10 เดือน (มกราคม – ตุลาคม) ของปี 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 สูงขึ้นร้อยละ 0.26 (AoA)
แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤศจิกายน 2567 มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนตุลาคม 2567
โดยปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้น ได้แก่ (1) ราคาน้ำมันดีเซลภายในประเทศที่กำหนดเพดานไม่เกิน 33 บาทต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน (2) ค่ากระแสไฟฟ้าภาคครัวเรือนปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่ากระแสไฟฟ้าของภาครัฐในปีนี้น้อยกว่าปีที่ผ่านมา (3) สินค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะค่าโดยสารเครื่องบิน ซึ่งเป็นการปรับตัวที่สอดคล้องกับฤดูกาลท่องเที่ยว ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลง ได้แก่ (1) ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำกว่าปีก่อนหน้า (เดือนพฤศจิกายน 2566 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า 80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ในระดับใกล้เคียงกับ 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) ซึ่งส่งผลให้ราคาแก๊สโซฮอล์ปรับตัวลดลง (2) ราคาผักสดกลับเข้าสู่ระดับปกติ เนื่องจากผลกระทบจากปัจจัยชั่วคราวของอุทกภัยและน้ำท่วมหนักในบางพื้นที่สิ้นสุดลง และ (3) คาดว่าผู้ประกอบการค้าส่ง – ค้าปลีกรายใหญ่ จะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2567 อยู่ระหว่างร้อยละ 0.2 – 0.8 (ค่ากลาง ร้อยละ 0.5) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนตุลาคม 2567 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.9 จากระดับ 51.6 ในเดือนก่อนหน้า เป็นการปรับเพิ่มมาอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 44.8 จากระดับ 43.1 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 58.3 จากระดับ 57.2 สาเหตุของการปรับเพิ่มคาดว่ามาจาก (1) การดำเนินนโยบายที่เร่งแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ (เงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท) ช่วยส่งเสริมการบริโภคในประเทศ (2) การส่งออกขยายตัวดีตามความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารที่เพิ่มขึ้น และ (3) การทยอยลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ช่วยผ่อนคลายความกังวลด้านการเงินให้กับประชาชน อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สะท้อนจากสงครามการค้าและปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงยืดเยื้อ ประกอบกับหนี้ครัวเรือนของไทยยังอยู่ในระดับสูง เป็นปัจจัยกดดันที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป
ตาราง สรุปดัชนีเศรษฐกิจการค้า ปี 2566 – 2567
ดัชนีราคาผู้บริโภค เดือนตุลาคม 2567
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของไทยเดือนตุลาคม 2567 เท่ากับ 108.61 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2566 ซึ่งเท่ากับ 107.72 ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 0.83 (YoY) โดยปัจจัยสำคัญมาจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มอาหาร โดยเฉพาะผลไม้สดและผักสด ประกอบกับราคาน้ำมันดีเซลและค่ากระแสไฟฟ้าได้มีการปรับสูงขึ้นเนื่องจากฐานราคา
ที่ต่ำในปีก่อน ซึ่งมีมาตรการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายด้านพลังงานจากภาครัฐมากกว่าปีนี้ ขณะที่ราคาแก๊สโซฮอล์ปรับตัว
ลดลงตามทิศทางราคาพลังงานในตลาดโลก สำหรับราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ ส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อไม่มากนัก
โดยมีรายละเอียด ดังนี้
หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.95 เป็นการสูงขึ้นทุกกลุ่มสินค้า ได้แก่
- กลุ่มผักสด สูงขึ้นร้อยละ 5.09 (ต้นหอม กะหล่ำปลี ผักชี ผักกาดขาว มะเขือ พริกสด กะหล่ำดอก)
- กลุ่มผลไม้สด สูงขึ้นร้อยละ 6.49 (เงาะ กล้วยน้ำว้า มะม่วง แตงโม กล้วยหอม)
- กลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 2.98 (ข้าวราดแกง อาหารเช้า อาหารตามสั่ง)
- กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 1.84 (กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่อง ก๋วยเตี๋ยว)
- กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 2.85 (กาแฟผงสำเร็จรูป กาแฟ (ร้อน/เย็น) น้ำหวาน)
- กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม สูงขึ้นร้อยละ 1.44 (นมสด ไข่ไก่ นมผง นมถั่วเหลือง ไข่เป็ด)
- กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ สูงขึ้นร้อยละ 0.33 (ไก่สด ปลานิล ปลาทูนึ่ง กุ้งขาว เนื้อสุกร ปลาทับทิม)
- กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 1.21 (น้ำตาลทราย มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) กะทิสำเร็จรูป)
- กลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้นร้อยละ 0.28 (ข้าวสารเจ้า ขนมอบ อาหารธัญพืช เต้าหู้)
หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.04 ได้แก่
- หมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ 0.41 (ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าเช่าบ้าน น้ำยารีดผ้า ไม้กวาด ผ้าปูที่นอน น้ำยาถูพื้น)
- หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ สูงขึ้นร้อยละ 0.57 (ค่าถ่ายเอกสาร ค่าทัศนาจรต่างประเทศ
เครื่องถวายพระ) - หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.86 (สุรา เบียร์ บุหรี่)
สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่
- หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร ลดลงร้อยละ 0.27 (แก๊สโซฮอล์ ค่าโดยสารรถไฟลอยฟ้า ค่าส่งพัสดุไปรษณีย์ เครื่องรับโทรศัพท์มือถือ)
- หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคล ลดลงร้อยละ 0.60 (แชมพู สบู่ถูตัว ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว ครีมนวดผม น้ำยาระงับกลิ่นกาย ลิปสติก น้ำยาบ้วนปาก)
- หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ลดลงร้อยละ 0.49 (เสื้อยืดบุรุษและสตรี เสื้อเชิ้ตบุรุษและสตรี กางเกงขายาวบุรุษและสตรี)
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก) สูงขึ้นร้อยละ 0.77 (YoY)
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เฉลี่ย 10 เดือน (มกราคม – ตุลาคม) ของปี 2567 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 สูงขึ้นร้อยละ 0.26 (AoA)
ตารางแสดง ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและอัตราการเปลี่ยนแปลง เดือนตุลาคม 2567 (2562 = 100)
หมายเหตุ : ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน หมายถึง ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและสินค้ากลุ่มพลังงาน
Concept ดัชนีราคาผู้บริโภคประเทศไทย ปีฐาน 2562 มีจำนวนรายการสินค้าและบริการ ทั้งสิ้น 430 รายการ (ปีฐาน 2558 มีจำนวน 422 รายการ) ครอบคลุมสินค้าและบริการ 7 หมวดที่จำเป็นต่อการครองชีพ ได้แก่ 1) หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 2) หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 3) หมวดเคหสถาน 4) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล 5) หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร 6) หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ
7) หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ โดยการคํานวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปนั้น จะเปรียบเทียบราคาสินค้าในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ กับราคาสินค้าในช่วงเวลาเริ่มต้น เรียกว่า “ปีฐาน” ที่กําหนดตัวเลขดัชนีเท่ากับ 100 ทั้งนี้ ครัวเรือนผู้บริโภคที่ครอบคลุมในการคำนวณดัชนีปีฐาน 2562 ได้แก่ ครัวเรือนรวมเขตเทศบาล กรอบรายได้ 6,987 – 50,586 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน รวมค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นตัวเงินไม่เกิน ร้อยละ 42.19 สมาชิกครัวเรือนตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภูมิภาค 4 ภาค รวมทั้งสิ้น 48 จังหวัด อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ดัชนีราคาผู้บริโภคสามารถสะท้อนพฤติกรรมการบริโภคได้ดียิ่งขึ้น ในปี 2566 ได้มีการเพิ่มจังหวัดตัวแทนอีก 4 จังหวัด รวมเป็น 52 จังหวัด 1/
1/52 จังหวัด ที่ใช้ในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 1. กรุงเทพมหานคร 2.นนทบุรี 3.ปทุมธานี 4.สมุทรปราการ
ภาคกลาง 5.พระนครศรีอยุธยา 6.ลพบุรี 7.สิงห์บุรี 8.ชลบุรี 9.ระยอง 10.จันทบุรี 11.ปราจีนบุรี 12.ราชบุรี 13.สุพรรณบุรี 14.เพชรบุรี 15.ประจวบคีรีขันธ์ 16.ฉะเชิงเทรา
17.นครปฐม 18.สระแก้ว 19.กาญจนบุรี ภาคเหนือ 20.นครสวรรค์ 21.ตาก 22.แพร่ 23.เชียงใหม่ 24.เชียงราย 25.อุตรดิตถ์ 26.พิษณุโลก27.เพชรบูรณ์ 28.น่าน 29. พะเยา
30. ลำปาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 31.นครราชสีมา 32.ขอนแก่น 33.สุรินทร์ 34.อุบลราชธานี 35.หนองคาย 36.ศรีสะเกษ 37.มุกดาหาร 38.อุดรธานี 39.ร้อยเอ็ด 40.นครพนม 41.เลย 42.กาฬสินธุ์ 43.บึงกาฬ ภาคใต้ 44.สุราษฎร์ธานี 45.นครศรีธรรมราช 46.ตรัง 47.สงขลา 48.ยะลา 49.ภูเก็ต 50.กระบี่ 51. นราธิวาส 52.ระนอง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนตุลาคม 2567
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนตุลาคม 2567 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.9 จากระดับ 51.6 ในเดือนก่อนหน้า เป็นการปรับเพิ่มมาอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
ในปัจจุบันปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 44.8 จากระดับ 43.1 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 58.3 จากระดับ 57.2 สาเหตุของการปรับเพิ่มคาดว่ามาจาก 1) การดำเนินนโยบายที่เร่งแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ (เงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท) ช่วยส่งเสริมการบริโภค
ในประเทศ 2) การส่งออกขยายตัวดีตามความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารที่เพิ่มขึ้น และ 3) การทยอยลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ช่วยผ่อนคลายความกังวลด้านการเงินให้กับประชาชน อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สะท้อนจากสงครามการค้าและปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงยืดเยื้อ ประกอบกับหนี้ครัวเรือนของไทยยังอยู่ในระดับสูง เป็นปัจจัยกดดันที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป
- ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค พบว่า
- ด้านเศรษฐกิจไทย คิดเป็นร้อยละ 86
- ด้านมาตรการของภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 86
- ด้านเศรษฐกิจโลก คิดเป็นร้อยละ 31
- ด้านสังคม/ความมั่นคง คิดเป็นร้อยละ 86
- ด้านราคาสินค้าเกษตร คิดเป็นร้อยละ 50
- ด้านการเมือง คิดเป็นร้อยละ 67
- ด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 13
- ด้านภัยพิบัติ/โรคระบาด คิดเป็นร้อยละ 14
- ด้านอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 1.67
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกรายภาค พบว่า
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 53.2 มาอยู่ที่ระดับ 56.0
- ภาคกลาง ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 50.9 มาอยู่ที่ระดับ 52.7
- ภาคเหนือ ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 48.9 มาอยู่ที่ระดับ 4
- ภาคใต้ ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 48.1 มาอยู่ที่ระดับ 48.9
- กรุงเทพฯ และปริมณฑล ปรับตัวลดลง จากระดับ 57.5 มาอยู่ที่ระดับ 58
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำแนกรายอาชีพ พบว่า
- ผู้ประกอบการ ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 53.2 มาอยู่ที่ระดับ 54.2
- เกษตรกร ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 50.9 มาอยู่ที่ระดับ 53.2
- นักศึกษา ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 52.9 มาอยู่ที่ระดับ 53
- พนักงานเอกชน ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 51.1 มาอยู่ที่ระดับ 52.1
- รับจ้างอิสระ ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 48.4 มาอยู่ที่ระดับ 50.9
- ไม่ได้ทำงาน/บำนาญ ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 46.0 มาอยู่ที่ระดับ 47.3
- พนักงานของรัฐ ปรับตัวลดลง จากระดับ 56.1 มาอยู่ที่ระดับ 50
- เมื่อพิจารณากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากระดับ 43.5 มาอยู่ที่ระดับ 48.4
ตาราง แสดงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนตุลาคม 2567