ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

Translation not found.


NOVA เปิดตัวโครงการ G1FSO ต่อยอด Offshore service

NOVA เปิดตัวโครงการ G1FSO ต่อยอด Offshore service

            หุ้นวิชั่น - NOVA ส่ง Nova X คู่สัญญากับบริษัท ปตท.สผ. เอนเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ลุยโครงการบริการเช่าเรือกักเก็บน้ำมันและระบบยึดโยงเรือแบบทุ่นลอยน้ำ สำหรับโครงการ G1/61 (G1FSO) ซึ่งเริ่มเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา กำหนดระยะเวลาสัญญา 5 ปี และสามารถขยายระยะเวลาได้สูงสุดอีก 5 ปี             บริษัท โนวา เอมไพร์ จำกัด (มหาชน) (NOVA) ตอกย้ำศักยภาพการเติบโต เดินหน้าธุรกิจการให้บริการนอกชายฝั่ง (Offshore service) ผ่านบริษัท โนว่า เอ็กซ์ จำกัด (Nova X)  ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ NOVA โดยเป็นผู้ให้บริการเรือกักเก็บน้ำมันดิบ (Floating Storage and Offloading Unit หรือ FSO) ในโครงการ G1FSO สำหรับแหล่งปิโตรเลียม G1/61 (แหล่งปลาทอง) ให้แก่บริษัท ปตท.สผ. เอนเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)             นางสาวปาลีรัฐ ปานบุญห้อม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการบริษัท กล่าวว่า “Nova X เป็นผู้ประกอบการไทยรายแรกที่ให้บริการ FSO แบบครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบทางวิศวกรรม การจัดหาอุปกรณ์ ก่อสร้าง การติดตั้ง และการทดสอบ (EPCIC) ไปจนถึงการดำเนินงานและบำรุงรักษาตลอดอายุการใช้งานของโครงการ โดยมุ่งเน้นคุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อสนับสนุนความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ การพัฒนาโครงการ G1FSO ดังกล่าว Nova X เช่าเรือภายใต้สัญญาแบบ Bareboat Charter จากกลุ่มบริษัทในเครือของบริษัท พริมา มารีน จำกัด (มหาชน) โดย Nova X ดำเนินการควบคุม กำกับดูแล ตั้งแต่การออกแบบ รวมถึงการดัดแปลงเรือ และออกแบบและก่อสร้างระบบยึดโยงและขนถ่ายน้ำมันแบบทุ่นจอดแบบจุดเดียว (Single Point Mooring, SPM) รวมถึง สมอเรือ (Anchor) โซ่สมอ (Chain) ท่อใต้น้ำและท่อผิวน้ำ (Riser and Floating Hose) และทุ่นลอยน้ำ (CALM Buoy) พร้อมจัดหาอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานสากล การก่อสร้างและติดตั้งครอบคลุมการก่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างขนาดใหญ่ การเดินท่อมากกว่า 7 กิโลเมตร การเดินสายเคเบิล 40 กิโลเมตร การติดตั้งอุปกรณ์บนเรือที่สำคัญ และการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์เรือ ระบบปั๊ม และเครื่องจักรหลักบนเรือ ซึ่งต้องใช้ความเชี่ยวชาญทางเทคนิค และความพร้อมด้านการลงทุน             สำหรับการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) Nova X และบริษัท วิสต้า โอเชิ่ยน จำกัด ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบริษัทในเครือของ NOVA ให้บริการดูแลระบบ FSO และ SPM รวมถึงการบำรุงรักษาอุปกรณ์ ระบบขนถ่ายน้ำมัน และโครงสร้างทั้งหมด ด้วยขอบเขตงานที่ครอบคลุม  เรือลำนี้สามารถจัดเก็บน้ำมันดิบได้มากกว่า 600,000 บาร์เรล และไม่จำเป็นต้องเข้าท่าเรือเพื่อซ่อมบำรุงตามระยะเวลาปกติ (Drydocking) ช่วยให้เรือสามารถดำเนินการที่แหล่งปลาทองได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด โครงการ G1FSO จะเป็นโครงการนำร่องที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับผลประกอบการของ NOVA ในปีนี้ ความสำเร็จของโครงการ G1FSO แสดงให้เห็นศักยภาพของผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาโครงการเรือกักเก็บน้ำมันดิบ โดย Nova X พร้อมเป็นผู้นำในธุรกิจนี้ และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลังงานไทยให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน             เชื่อมั่นว่า NOVA จะเติบโตต่อไปได้อย่างมั่นคง ด้วยการวางแผนธุรกิจที่รอบคอบชัดเจน ส่งผลให้ NOVA มีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง ปัจจุบันมีอัตราหนี้สินต่อทุนที่ต่ำ และมีรายได้จากการดำเนินงานที่แน่นอนจากทั้ง Nova X และธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ดำเนินการโดยกลุ่มบริษัท โซลาร์ อาเขต จำกัด และมั่นใจว่าในปี 2568 กลุ่มบริษัทจะสร้างรายได้ได้สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของการดำรงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างแน่นอน             ทั้งนี้ สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2567 ที่ผ่านมานั้น NOVA มีรายได้จากกลุ่มบริษัทผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 52.25 ล้านบาท และรายได้จากธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมจำนวน 185.18 ล้านบาท ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท วินชัย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ NOVA ในช่วงวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 11 มีนาคม 2567”             “เราจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจ Offshore Service ที่ให้ผลตอบแทนที่ดี และสม่ำเสมอ เรายังคงมองหาโอกาสทางธุรกิจที่สนับสนุนและต่อยอดธุรกิจที่มีอยู่ โดยใช้บุคคลากร ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่มีมากขึ้นให้เป็นประโยชน์ ควบคู่กับการรับผิดชอบต่อสังคม และสนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน” นางสาวปาลีรัฐ กล่าวทิ้งท้าย

ปตท. ร่วมส่งเสริมความรู้ด้านพลังงานแก่ผู้บริหาร สปป.ลาว

ปตท. ร่วมส่งเสริมความรู้ด้านพลังงานแก่ผู้บริหาร สปป.ลาว

          หุ้นวิชั่น - เมื่อเร็ว ๆ นี้ – ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานพิธีเปิดการอบรมหลักสูตร Energy Training Executive Program สำหรับผู้บริหารด้านพลังงานจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) นำโดย Mr. Malaithong Kommasith รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า พร้อมด้วยคณะผู้บริหารจากกระทรวงพลังงานและ ปตท. เข้าร่วมพิธีเปิด โดยมี ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้เกียรติบรรยายพิเศษในมุมมองด้านพลังงาน (Energy Perspective) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านพลังงาน และบทบาทสำคัญของกลุ่ม ปตท. ในการพัฒนาความมั่นคงด้านพลังงานระหว่างประเทศ

ตลท.เปิดเฮียริ่งทบทวน

ตลท.เปิดเฮียริ่งทบทวน "ขายชอร์ต-HFT" ถึง 31 มี.ค.นี้

           หุ้นวิชั่น - ตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ปรับปรุงมาตรการกำกับดูแลเพื่อยกระดับความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุนที่ใช้บังคับในปี 2567 เช่น มาตรการกำกับดูแลการขายชอร์ต มาตรการกำกับดูแล HFT และการกำหนด Minimum Resting Time (MRT) นั้น เพื่อให้มาตรการกำกับดูแลเหมาะสมกับสภาวะการซื้อขายในปัจจุบัน โดยยังคงให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงจัดให้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็น “การทบทวนการกำกับดูแลการขายชอร์ต และ HFT” ดังนี้ มาตรการกำกับดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์กรณีราคาหลักทรัพย์ลดลงอย่างมาก ทบทวนมาตรการ Uptick สำหรับการขายชอร์ต ให้ใช้เกณฑ์ราคาที่สูงกว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย (Uptick) เป็นรายหลักทรัพย์ในวันทำการถัดไป เมื่อราคาปิดของหลักทรัพย์ใดมีราคาลดลงตั้งแต่ 10% เมื่อเทียบกับราคาปิดของวันทำการก่อนหน้า แทนการใช้เกณฑ์ Uptick กับทุกหลักทรัพย์ (กรณีปกติให้ใช้เกณฑ์ Zero-Plus Tick) เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการกำกับดูแลการขายชอร์ต และสอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ มาตรการกำกับดูแลความผันผวนในหุ้นขนาดกลางและเล็ก ทบทวนหลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ขายชอร์ตได้ และผู้ลงทุน HFT สามารถซื้อขายได้ กำหนดหลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ขายชอร์ตและหลักทรัพย์ที่ผู้ลงทุน HFT สามารถซื้อขายได้เพียงเฉพาะหุ้นใน SET100 ซึ่งมีขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องสูง โดยยกเลิกหุ้นที่มี Market Cap. ³ 7,500 ล้านบาท ยกเลิกการกำหนด Minimum Resting Time (MRT) เนื่องจากเมื่อได้กำหนดให้ผู้ลงทุน HFT ซื้อขายหลักทรัพย์ได้เฉพาะหลักทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องสูงแล้ว มาตรการ MRT จึงไม่มีความจำเป็นอีก เนื่องจากโดยปกติการใส่-ถอนในเวลาอันสั้นมักจะไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพการซื้อขายในหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง การเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาปรับปรุงเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นพร้อมรายละเอียดบนเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ https://www.set.or.th/th/rules-regulations/market-consultation หัวข้อ “การทบทวนการกำกับดูแลการขายชอร์ต และ HFT” สามารถร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่ https://forms.gle/jmocr6Fz68zKcJVW9 จนถึง 31 มีนาคม 2568

WHA พุ่ง 5.11% คลายกังวล หลังจ่อยกเลิกนำ WHAID เข้าตลาด

WHA พุ่ง 5.11% คลายกังวล หลังจ่อยกเลิกนำ WHAID เข้าตลาด

           หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.กรุงศรี ระบุ ตามที่หนังสือพิมพ์ได้มีการรายงานว่า บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (WHA) มีแผนจะยกเลิกการนำ บริษัท ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ (WHAID) เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เนื่องจากสภาพแวดล้อมตลาดที่ไม่เอื้ออำนวย อย่างไรก็ตามจะมีการตัดสินใจจากคณะกรรมการบริษัทอีกครั้ง โดยการยกเลิกครั้งนี้น่าจะช่วยคลายความกังวลออกไปได้ คงคำแนะนำ "ซื้อ" สำหรับหุ้น WHA (ราคาเป้าหมาย 6.4 บาท)

abs

ปตท. แข็งแกร่งร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

บอร์ด MGI ไฟเขียว เข้าทำสัญญาจัดประกวด มิสยูนิเวิร์ส ครั้งที่ 74 ในไทย

บอร์ด MGI ไฟเขียว เข้าทำสัญญาจัดประกวด มิสยูนิเวิร์ส ครั้งที่ 74 ในไทย

           หุ้นวิชั่น - บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (MGI) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 3/2568 เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2568 มีมติอนุมัติให้บริษัทเข้าทำสัญญาจัดงานประกวด มิสยูนิเวิร์ส ครั้งที่ 74 (Hosting Agreement) กับบริษัทในกลุ่ม JKN ซึ่งเป็นผู้ถือสิทธิ์ในการจัดการประกวดมิสยูนิเวิร์ส ทั่วโลก เพื่อให้บริษัทได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพจัดการประกวดมิสยูนิเวิร์ส ครั้งที่ 74 ที่จะจัดขึ้นในประเทศไทย ในช่วงเดือน พฤศจิกายน 2568            สำหรับการจัดการประกวดมิสยูนิเวิร์ส ครั้งที่ 74 ในปีนี้ บริษัทจะดำเนินการลงทุน ออกแบบ และจัดงานเองทั้งหมด ในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “ The Grand Universe. The Power of Love. The Power of Thailand.” เพื่อมอบ ประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่อลังการพร้อมแสดงพลังแห่งประเทศไทยให้กับแฟนนางงามและผู้รับชมจากทั่วโลก โดยบริษัทจะยังคงรับผิดชอบการจัดงานประกวดมิสยูนิเวิร์ส ครั้งที่74 ในประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานของ องค์กรมิสยูนิเวิร์ส พร้อมทั้งดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วงตามเงื่อนไขสัญญาที่กำหนด โดยบริษัทจะมีรายได้จากการจำหน่าย บัตรเข้าชมและการสนับสนุนจากสปอนเซอร์ เป็นต้น นอกจากนี้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทยังมีมติอนุมัติให้บริษัทเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน เรื่อง การรับความ ช่วยเหลือทางการเงิน ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ วงเงินกู้ยืม : ไม่เกิน 35 ล้านบาท รายละเอียดของบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน : บริษัท (ผู้กู้) กู้ยืมเงินจากนายณวัฒน์ อิสรไกรศีล (ผู้ให้กู้) ซึ่งเป็น กรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท (ถือหุ้นร้อยละ 42.88 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ บริษัท) รายละเอียดการกู้ยืม : เงินกู้ยืมไม่มีหลักประกัน อัตราดอกเบี้ย : ร้อยละ 2.5 ต่อปี กำหนดเวลาการคืนเงินกู้ : ภายใน 30 วันนับจากวันที่เบิกใช้วงเงินกู้ยืม มูลค่าที่ใช้ในการคำนวณขนาดรายการ : มูลค่าดอกเบี้ยที่บริษัทต้องจ่ายให้ผู้ให้กู้ ตลอดระยะเวลารับความ ช่วยเหลือทางการเงินเป็นระยะเวลา 30 วัน ซึ่งคิดเป็นมูลค่าดอกเบี้ยที่ บริษัทจะต้องชำระตลอดช่วงเวลาที่กู้ยืมเงินตามสัญญา จำนวนไม่เกิน 71,917.81 บาท ตามวิธีคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 24 เดือน ตามประกาศของธนาคารไทยพาณิชย์ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งคิดเป็นอัตราร้อยละ 2.0 ต่อปี บวกส่วนเพิ่ม (premium) ร้อยละ 0.5 บริษัทมุ่งมั่นที่จะสร้างปรากฏการณ์ครั้งใหม่ให้กับการจัดการประกวดมิสยูนิเวิร์ส ครั้งที่ 74 และพร้อมผลักดัน ประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางของเวทีระดับโลกต่อไป

EAST ปักธงพอร์ต 2 หมื่นล.ใน 5 ปี ขยายสินเชื่อยานยนต์ฯ-Car 4 Cash

EAST ปักธงพอร์ต 2 หมื่นล.ใน 5 ปี ขยายสินเชื่อยานยนต์ฯ-Car 4 Cash

          หุ้นวิชั่น - บมจ. ตะวันออกพาณิชย์ลีสซิ่ง โชว์ผลการดำเนินงานปี 2567 ทำมีรายได้รวม 709.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.47% หลังพอร์ตลูกหนี้โดยรวมขยายตัวต่อเนื่อง และมีกำไรสุทธิ 62.03 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าเปลี่ยนตัวย่อซื้อขายหลักทรัพย์เป็น EAST สะท้อนแนวทางความร่วมมือกับหุ้นส่วนทางธุรกิจทั้ง GMT และ PREMIUM เร่งขยายพอร์ตสินเชื่อโดยรวม 5 ปี เพิ่มเป็น 20,000 ล้านบาท             นายดนุชา วีระพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ตะวันออกพาณิชย์ลิสซิ่ง หรือ EAST เปิดเผยว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานในปี 2567 เป็นปีที่มีความท้าทายการดำเนินธุรกิจให้บริการสินเชื่อยานยนต์มือสองในประเทศไทย แต่บริษัทฯ ยังสามารถผลักดันการเติบโตของผลการดำเนินงานได้เป็นที่น่าพอใจ โดยมีรายได้รวม 709.40 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 8.47% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งความสำเร็จมาจากพอร์ตสินเชื่อโดยรวมในปีนี้ขยายตัวต่อเนื่อง เป็นผลให้มีรายได้ดอกผลจากการขายตามสัญญาเช่าซื้อในปีนี้ทำได้ 530.82 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.36% แม้จะมีการช่วยเหลือลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้เพื่อบรรเทาการชำระหนี้ที่เป็นแรงกดดันทำให้รายได้เช่าซื้อไม่สูงมากนัก ขณะที่กำไรสุทธิทำได้ 62.03 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้เตรียมเปลี่ยนแปลงสัญลักษณ์การซื้อขายหลักทรัพย์ฯ จาก ECL เป็น “EAST” เพื่อสะท้อนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ในปีนี้ ทั้งนี้ได้ร่วมมือกับหุ้นส่วนทางธุรกิจกับบริษัท GMT ในเครือ ITOCHU Corporation จากประเทศญี่ปุ่น และกลุ่มพรีเมียม คอร์ปอเรชั่น (PREMIUM) โดยผนึกองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญการดำเนินธุรกิจและฐานทุนที่แข็งแกร่ง เพื่อบริหารจัดการพอร์ตสินเชื่อให้มีคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อที่รัดกุม รองรับแผนขยายพอร์ตสินเชื่อยานยนต์มือสองและธุรกิจ Car 4 Cash ในประเทศไทย ซึ่งตั้งเป้าภายใน 3 ปี พอร์ตสินเชื่อโดยรวมจะเพิ่มเป็น 10,000 ล้านบาท และเป็น 20,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปีข้างหน้า

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011