BBL-SCB กำไรแน่น TTB มียิวส์ปันผลงาม
คาดกำไรสุทธิของกลุ่มแบงก์ใน 1Q25 จะอยู่ที่ 53,205 ลบ. ลดลง 3.2% YoY แต่โต 3.7% QoQ แม้รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิจะลดลงจาก NIM ที่ต่ำลง และการคุมสินเชื่อใหม่ แต่ถูกชดเชยด้วยค่าใช้จ่ายดำเนินงานและ การตั้งสำรองที่ลดลง ธนาคารที่คาดกำไรสุทธิจะโตทั้ง YoY และ QoQ ได้แก่ BBL, SCB คงน้ำหนักลงทุนในหุ้นกลุ่มธนาคารที่ “เท่ากับตลาด” แม้แนวโน้มการเติบโตของกำไรจะค่อนข้างจำกัด เพราะมีผลกระทบเชิงลบจากการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ซึ่งคาดจะมีการปรับลงอีก 1 ครั้ง ในช่วงกลางปี แต่มองว่ากลุ่มธนาคารจะยังสามารถจ่ายปันผลในระดับสูงได้ใกล้เคียงเดิม หลังปรับเพิ่ม Div. Payout Ratio และคุณภาพสินทรัพย์ยังอยู่ในระดับที่แข็งแรง เลือก TTB(TB@2.12) เป็น Top Pick ของกลุ่ม TTB(TB@2.12) คาดได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยที่ปรับลงน้อยกว่าธนาคารใหญ่ เพราะสินเชื่อหลักเป็นดอกเบี้ยคงที่ อีกทั้ง TTB มีปัจจัยบวกเฉพาะตัวจาก Tax Shield 1.2 หมื่นลบ. ที่สามารถทยอยใช้สิทธิได้จนถึงปี 2028 รวมถึงนโยบายซื้อหุ้นคืนที่มีความต่อเนื่องถึง 3 ปี ปีละ 7,000 ลบ. ทำให้มองว่าเป็นหุ้นที่มี Downside จำกัด นอกจากนี้คาด TTB จะให้ Div. Yield สูง 6.6% บทวิเคราะห์ บล.หยวนต้า คาดว่า กำไรสุทธิกลุ่มธนาคารใน 1Q25 ลดลง 3.2% YoY แต่โต 3.7% QoQ สำหรับ 1Q25 คาดหุ้นกลุ่มธนาคารภายใต้ Coverage ของจะมีกำไรสุทธิรวม 53,205 ลบ. ลดลง 3.2% YoY แต่โต 3.7% QoQ โดยมีแรงกดดันหลักจาก 1) รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิคาดลดลง 2% QoQ หลังธนาคารคงความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อใหม่ โดยเฉพาะสินเชื่อรายย่อยและ SME ทำให้สินเชื่อ รวมคาดลดลง 1.1% QoQ นอกจากนี้ยังมีผลกระทบจากการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้สอดรับกับดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ที่ปรับลงอีกครั้ง ในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ขณะที่ยังไม่ได้ปรับลดดอกเบี้ยเงินฝาก ส่งผลให้คาด Net Interest Margin (NIM) ของแต่ละธนาคารจะปรับตัวลงทั้ง YoY และ QoQ และ 2) รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยคาดลดลง 2.8% YoY และ 6.2% QoQ กดดันจากค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับสินเชื่อที่ลดลงตามขนาดของพอร์ต รวมถึงรายได้ค่าธรรมเนียมนายหน้าประกันและธุรกิจ Wealth Management ที่ปรับลงตามปัจจัยฤดูกาล ทั้งนี้คาดปัจจัยลบดังกล่าวบางส่วนจะถูกชดเชยด้วยการปรับลดลงของค่าใช้จ่ายดำเนินงาน หลังมีค่าใช้จ่ายลงทุนในระบบการดำเนินงานและพนักงานลดลง QoQ รวมถึงการตั้งสำรองที่คาดจะลดลง 5.5% YoY และ 0.7% QoQ จากคุณภาพสินทรัพย์ที่มีเสถียรภาพมากขึ้น ในส่วนของธนาคารใหญ่กำไรฟื้นตัว QoQ เพราะค่าใช้จ่ายดำเนินงานและการตั้งสำรองลดลง ธนาคารใหญ่คาดกำไรสุทธิลดลง 2.4% YoY แต่ฟื้นตัว 5.1% QoQ นำโดย BBL (คาดกำไรสุทธิ 11,205 ลบ. +6.5% YoY, +7.7% QoQ) หนุนจากการเติบโตของสินเชื่อที่ปรับตัวดีขึ้น จากการขยายฐานลูกค้าบริษัทใหญ่ และการลดลงของค่าใช้จ่ายดำเนินงานตามปัจจัยฤดูกาล ขณะที่การตั้งสำรองคาดขยับขึ้นจากความเสี่ยงที่เศรษฐกิจในอินโดนีเซียชะลอตัว รองลงมาคือ KBANK (คาดกำไรสุทธิ 11,275 ลบ.-16.4% YoY, +7.4% QoQ) หนุนจากการตั้งสำรองที่คาดจะเริ่มผ่อนคลายลง หลังเสร็จสิ้นการทำ BalanceSheet Clean Up (เร่ง Write Off และขายหนี้กลุ่มเสี่ยงสูง) และค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่ลดลง ช่วยชดเชยรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิที่ปรับตัวลง ส่วน KTB (คาดกำไรสุทธิ 10,936 ลบ. -1.3% YoY, +4.4% QoQ) แม้สินเชื่อภาครัฐฯ จะปรับลง แต่ยังคุมคุณภาพสินทรัพย์ได้ดี และคาดค่าใช้จ่ายดำเนินงานจะลดลงเพราะค่าใช้จ่ายตามฤดูกาลต่ำลง และผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ลดลง สำหรับ SCB (คาดกำไรสุทธิ11,847 ลบ. +5.0% YoY, +1.2% QoQ) หลังค่าใช้จ่ายตั้งสำรองและค่าใช้จ่ายดำเนินงานของธุรกิจTechnology (Gen 3) ต่ำลง ธนาคารขนาดกลาง/เล็ก คาดกำไรสุทธิรวม 7,943 ลบ. ลดลง 7.4% YoY และ 3.4% QoQ มีแรงกดดันหลักๆ จากสินเชื่อรวมที่ชะลอตัวตามยอดขายรถยนต์ในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัว โดย TTB(คาดกำไรสุทธิ 5,240 ลบ. -1.8% YoY, +2.5% QoQ) แม้สินเชื่อจะลดลง แต่เป็นการปรับสัดส่วนสินเชื่อมา เน้นกลุ่มที่มี Risk Adjusted Return สูงขึ้น เช่น สินเชื่อ Top Up ของลูกค้าบ้านและรถยนต์ที่มีประวัติชำระเงินดี ส่วน TISCO (คาดกำไรสุทธิ 1,608 ลบ. -7.2% YoY, -5.5% QoQ) กดดันจากการเร่งตั้งสำรองเพื่อเพิ่ม Coverage Ratio รองรับการขยายสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ และ KKP (คาดกำไรสุทธิ 1,095 ลบ.-27.3% YoY, -22.1% QoQ) เนื่องจากคาดกำไรจากเครื่องมือทางการเงินจะลดลง และรายได้จากธุรกิจตลาดทุนชะลอตัว ปี 2025 คาดกำไรสุทธิรวมโต 3% YoY รับผลกระทบจากการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย เบื้องต้น คาดแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2025 ของกลุ่มจะอยู่ที่ 220,954 ลบ. โต 3% YoY แม้รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิจะปรับตัวลงจากทั้งการชะลอตัวของสินเชื่อ และ NIM ที่ต่ำลง แต่คาดจะถูกชดเชยด้วยการตั้งสำรองที่ผ่อนคลายลง เพราะธนาคารส่วนใหญ่มีการเร่งระบายลูกหนี้กลุ่มเสี่ยงสูงไปมากแล้ว บวกกับมีผลจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่จูงใจให้ลูกหนี้กลับมาชำระเงินมากขึ้น คงน้ำหนักการลงทุน “เท่ากับตลาด” แนะนำ TTB เป็น Top Pick ของกลุ่ม คงน้ำหนักลงทุนในหุ้นกลุ่มธนาคารที่ “เท่ากับตลาด” แม้แนวโน้มการเติบโตของกำไรจะค่อนข้างจำกัด เพราะมีผลกระทบเชิงลบจากการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ซึ่งคาดจะมีการปรับลงอีก 1 ครั้ง ในช่วงกลางปี แต่มองว่ากลุ่มธนาคารจะยังสามารถจ่ายปันผลในระดับสูงได้ใกล้เคียงเดิม หลังปรับเพิ่มDiv. Payout Ratio และคุณภาพสินทรัพย์ยังอยู่ในระดับที่แข็งแรง เราเลือก TTB (TB@2.12) เป็น Top Pickของกลุ่ม เนื่องจากคาดได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยที่ปรับลงน้อยกว่าธนาคารใหญ่ เพราะสินเชื่อหลักของพอร์ตเป็นสินเชื่อเช่าซื้อที่เป็นดอกเบี้ยคงที่ อีกทั้ง TTB มีปัจจัยบวกเฉพาะตัวจาก Tax Shield 1.2 หมื่นลบ.ที่สามารถทยอยใช้สิทธิได้จนถึงปี 2028 รวมถึงนโยบายซื้อหุ้นคืนที่มีความต่อเนื่องถึง 3 ปี ปีละ 7,000 ลบ. ทำให้เรามองว่าเป็นหุ้นที่มี Downside จำกัด นอกจากนี้คาด TTB จะให้ Div. Yield สูง 6.6%