ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#TFG


TFG ปักหมุดปี 68 รายได้โต 10-15% รับอานิสงค์ราคาหมู-ไก่พุ่ง

TFG ปักหมุดปี 68 รายได้โต 10-15% รับอานิสงค์ราคาหมู-ไก่พุ่ง

          หุ้นวิชั่น - บมจ.ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป (TFG) มั่นใจแนวโน้มผลงานปี 68 โตแกร่ง ปักหมุดรายได้เติบโต 10-15% สร้างนิวไฮต่อเนื่อง รับอานิสงส์ราคาสุกรเวียดนามพุ่ง-ราคาไก่เพิ่ม ขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ลดลง พร้อมเดินหน้าขยายสาขาร้านค้าปลีก "ไทยฟู้ดส์ เฟรซ มาร์เก็ต" เพิ่มเป็น 600 แห่ง บอร์ดอนุมัติจ่ายปันผลเป็นเงินสดอีก 0.225 บาท/หุ้น เตรียมรับทรัพย์วันที่ 24 เม.ย.นี้ นายเพชร นันทวิสัย ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (TFG) เปิดเผยว่า แนวโน้มผลการดำเนินงานในปี 2568 คาดว่าจะทำสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง โดยตั้งเป้ารายได้เติบโต 10-15% จากปีที่ผ่านมา และเตรียมขยายสาขาร้านค้าปลีก "ไทยฟู้ดส์ เฟรซ มาร์เก็ต" (Retail Shop) ให้มีจำนวนสาขา 600 แห่งในปี 2568 จากปีที่ผ่านมามีสาขาอยู่ที่ 401 แห่ง โดยรองรับความต้องการของผู้บริโภค และเพิ่มมาร์จิ้นให้ธุรกิจ สนับสนุนผลการดำเนินงานเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนในอนาคต “ปัจจัยหนุนสำคัญที่ทำให้แนวโน้มผลงานในปี 2568 นิวไฮต่อเนื่อง มาจากราคาสุกรที่เพิ่มขึ้น จาก Supply ทั่วโลกที่ลดลง จากโรค ASF ยังคงระบาด รวมไปถึงต้นทุนที่ลดลงของกากถั่วเหลือง และข้าวโพดอาหารสัตว์ยังทรงตัว รวมถึงการบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ส่วนผลการดำเนินงานของบริษัทในปี 2567 (1 มกราคม-31 ธันวาคม 2567) มีรายได้รวม 66,081.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,539.95 ล้านบาท หรือ 16.87% จากปีที่ผ่านมามีรายได้รวม 56,541.75 ล้านบาท สร้างสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง และมีกำไรสุทธิ 3,143.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,956.31 ล้านบาท หรือ 486.93% จากปีที่ผ่านมาขาดทุนสุทธิ 812.50 ล้านบาท นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติจ่ายเงินปันผลจากงวดผลการดำเนินงานปี 2567 (1 มกราคม-31 ธันวาคม 2567) ในอัตรา 0.225 บาท/หุ้น ขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 7 มีนาคม 2568 กำหนดจ่ายวันที่ 24 เมษายน 2568 โดยจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลไปแล้ว 0.075 บาท/หุ้น รวมจ่ายปันผลทั้งปีอยู่ที่ 0.30 บาท/หุ้น ทั้งนี้ TFG ได้รับการคัดเลือกให้รับรางวัล Sustainability Disclosure Recognition 2024 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 (สำหรับการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ประจำปี 2567)

TFG จับตากำไร 1H25 พุ่ง! รับราคาหมู-ต้นทุนลด เป้า 4.80 บ.

TFG จับตากำไร 1H25 พุ่ง! รับราคาหมู-ต้นทุนลด เป้า 4.80 บ.

              หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง TFG ว่า แนวโน้มผลประกอบการ 1H25 เร่งตัวขึ้นต่อราคาหมูทั้งในไทยและเวียดนามเร่งตัวขึ้นต่อ แต่ต้นทุนลดลง หนุนกำไรปกติ 1H25               เรามีมุมมองเป็นบวกจากการประชุมนักวิเคราะห์วานนี้ โดยแนวโน้มราคาหมูทั้งในไทยและเวียดนามยังไม่ผ่านจุดพีค และมีโอกาสปรับขึ้นต่อในช่วงที่เหลือของปีนี้ ปัจจุบัน ราคาหมูในไทย อยู่ที่ระดับ 78-80 บาท/กก. ขณะที่ ราคาประกาศของสมาคมผู้เลี้ยงฯ ล่าสุดปรับขึ้นเป็น 82 บาท/กก. จากปริมาณ Supply หมูที่ออกสู่ตลาดลดลง และเกษตรกรรายย่อยบางส่วนเผชิญปัญหา โรค ASF ระบาด               ราคาหมูเวียดนาม อยู่ที่ 70,000 ดอง/กก. (+15% QoQ) จากผลกระทบของ โรค ASF เช่นกัน (ปัจจุบัน สัดส่วนรายได้หมูในเวียดนามคิดเป็นราว 12% ของรายได้รวม) ทั้งนี้ ฟาร์มของ TFG ไม่ได้รับผลกระทบ ดังกล่าว และยังมีแผนการขยายปริมาณการผลิตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ การส่งออกไก่ยังเห็น Demand ที่ดีในตลาด EU และจีน ประกอบกับแนวโน้ม ต้นทุนวัตถุดิบการเลี้ยงที่ปรับลดลง               เบื้องต้นเราประเมินแนวโน้ม กำไรปกติ 1Q25 ในกรอบ 1,300 –1,400 ลบ. คาดว่าเติบโตได้ต่อทั้ง QoQ และ YoY ตั้งเป้าการเติบโตรายได้ปี 2025 ที่ 10 - 15% สูงกว่าประมาณการของเรา บริษัทตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ปี 2025 ที่ 10 –15% สูงกว่าประมาณการปัจจุบันของเราที่ 4% โดยตั้งเป้าเติบโตในทุกธุรกิจ และมี ธุรกิจหมูในเวียดนาม และธุรกิจ Fresh Shop เป็นธุรกิจหลักขับเคลื่อนการเติบโต

TFG ปี 67 กำไรโตแรง 486.93% บอร์ดเคาะจ่ายปันผล 0.225 บ./หุ้น

TFG ปี 67 กำไรโตแรง 486.93% บอร์ดเคาะจ่ายปันผล 0.225 บ./หุ้น

           หุ้นวิชั่น - บมจ.ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป (TFG) โชว์ผลงานปี 67 กวาดรายได้กว่า 66,081.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.87% ทุบสถิติใหม่ กำไรแตะ 3,143.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 486.93% รับอานิสงส์ราคาสุกรเวียดนามอยู่ในระดับสูง และปริมาณสุกรที่เวียดนามเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว ราคาไก่เพิ่มขึ้น ร้านค้าปลีกขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ลดลง บอร์ดไฟเขียวจ่ายปันผลเป็นเงินสดในอัตรา 0.225 บาท/หุ้น ขึ้น XD วันที่ 7 มีนาคม 2568 กำหนดจ่าย 24 เมษายน 2568 โดยจ่ายปันผลระหว่างกาลไปแล้ว  0.075 บาท/หุ้นรวมจ่ายปันผลทั้งปี 0.30 บาทต่อหุ้น คิดเป็น Yield สูง 8.57% ฟากผู้บริหาร “เพชร นันทวิสัย”ตั้งเป้ารายได้ปี 68 เติบโต 10 - 15% นิวไฮต่อเนื่อง พร้อมเดินหน้าขยายสาขา"ไทยฟู้ดส์ เฟรซ มาร์เก็ต" ในปีนี้เป็น 600 สาขา หนุนมาร์จิ้น ดันผลงานเติบโตอย่างแข็งแกร่งและมีเสถียรภาพ            นายเพชร นันทวิสัย ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (TFG) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของบริษัทฯในปี 2567 (1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2567) มีรายได้รวม 66,081.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,539.95 ล้านบาท หรือ 16.87% จากปีที่ผ่านมามีรายได้รวม 56,541.75 ล้านบาท สร้างสถิติสูงสุดใหม่ และมีกำไรสุทธิ 3,143.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,956.31 ล้านบาท หรือ 486.93% จากปีที่ผ่านมาขาดทุนสุทธิ 812.50 ล้านบาท            "รายได้รวมในปี 2567 ทำสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง ได้รับปัจจัยหนุนจากธุรกิจสุกรในประเทศเวียดนามที่ราคาอยู่ในระดับสูง และปริมาณสุกรขยายตัวต่อเนื่องจากการลงทุนขยายฟาร์มในช่วงก่อนหน้า ราคาและปริมาณขายของไก่ที่เพิ่มขึ้น  อีกทั้งยังได้รับปัจจัยบวกจากยอดขายร้านค้าปลีก "ไทยฟู้ดส์ เฟรซ มาร์เก็ต" (Retail Shop) ที่เพิ่มขึ้น โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 มีจำนวนสาขา 401 สาขา จากปี 2566 อยู่ที่ 350 สาขา  ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวลดลง รวมไปถึงการบริหารต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยง และบริหารจัดการระบบคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ"            นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯมีมติจ่ายเงินปันผลจากงวดผลการดำเนินงานปี 2567 (1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2567) ในอัตรา 0.225 บาท/หุ้น ขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 7 มีนาคม 2568 กำหนดจ่ายวันที่ 24 เมษายน 2568 โดยจ่ายปันผลระหว่างกาลไปแล้ว  0.075 บาท/หุ้น รวมจ่ายปันผลทั้งปี 0.30 บาทต่อหุ้น คิดเป็น Yield เงินปันผลเท่ากับ 8.57%            ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ TFG กล่าวอีกว่า แผนการดำเนินงานในปี 2568 ตั้งเป้ารายได้เติบโต 10 - 15% นิวไฮต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา และเตรียมขยายสาขา ร้านค้าปลีก "ไทยฟู้ดส์ เฟรซ มาร์เก็ต" (Retail Shop) ให้มีจำนวนสาขา 600 สาขาในปี 2568  รองรับความต้องการของผู้บริโภค และเพิ่มมาร์จิ้นให้กับธุรกิจ สนับสนุนผลการดำเนินงานเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนในอนาคต สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น

TFG กำไรกระฉูด 486% ไก่-หมู ราคาขึ้น-ปันผล 0.225บ.ต่อหุ้น

TFG กำไรกระฉูด 486% ไก่-หมู ราคาขึ้น-ปันผล 0.225บ.ต่อหุ้น

          นายวินัย เตียวสมบูรณ์กิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TFG แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่า 2567 มีกำไรเพิ่มขึ้น 486% พร้อมปันผลอีก 0.225 บาทต่อหุ้น ผลประกอบการ TFG โดยสรุป ดังนี้ กำไรสุทธิ: ปี 2567: กำไรสุทธิ 3,143.81 ล้านบาท ปี 2566: ขาดทุนสุทธิ 812.50 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 486.93 รายได้รวม: ปี 2567: 66,081.70 ล้านบาท ปี 2566: 56,541.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.87 กำไรขั้นต้น: ปี 2567: 8,775.30 ล้านบาท (อัตรากำไรขั้นต้นร้อยละ 13.40) ปี 2566: 3,785.15 ล้านบาท (อัตรากำไรขั้นต้นร้อยละ 6.77) เพิ่มขึ้นร้อยละ 131.83 สาเหตุของการเติบโต: 1. ธุรกิจไก่ ราคาไก่ปรับตัวสูงขึ้น ปริมาณการขายเพิ่มขึ้น 2. ธุรกิจสุกรในเวียดนาม ราคาสุกรปรับตัวสูงขึ้น ปริมาณการขายเพิ่มขึ้นจากการขยายฟาร์ม 3. ธุรกิจค้าปลีก รายได้เพิ่มขึ้นจากการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารจัดการช่องทางการจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ 4. การบริหารจัดการ บริหารจัดการด้านวัตถุดิบมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวดีขึ้น การจ่ายเงินปันผลประจำปี 2567 1. เงินปันผลระหว่างกาล (จ่ายแล้ว) อัตรา: 0.075 บาทต่อหุ้น จำนวนเงิน: 435,811,398 บาท จ่ายจาก: ผลการดำเนินงาน 1 ม.ค. - 30 มิ.ย. 2567 และกำไรสะสม วันที่จ่าย: 9 สิงหาคม 2567 2. เงินปันผลงวดสุดท้าย (กำลังจะจ่าย) อัตรา: 0.225 บาทต่อหุ้น จำนวนเงิน: 1,307,434,193 บาท Record Date: 10 มีนาคม 2568 วันที่จ่าย: 24 เมษายน 2568 สรุปการจ่ายปันผลทั้งปี 2567 อัตรารวม: 0.30 บาทต่อหุ้น จำนวนเงินรวม: 1,743,245,591 บาท คิดเป็น: ร้อยละ 130.57 ของกำไรสุทธิ (หลังหักภาษีและเงินสำรองจากงบเฉพาะกิจการ)

abs

ปตท. แข็งแกร่งร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

TFG กำไรปกติ 4Q24 จะเด่นกว่ากลุ่ม เคาะเป้าใหม่ 4.80 บ.

TFG กำไรปกติ 4Q24 จะเด่นกว่ากลุ่ม เคาะเป้าใหม่ 4.80 บ.

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง TFG ว่า คาดกำไรปกติ 4Q24 ทรงตัว QoQ และเติบโต YoY ดีกว่ากลุ่มที่ชะลอลง QoQ           คาดกำไรปกติ 4Q24 ของ TFG ที่ 1,236 ล้านบาท ทรงตัว QoQ และพลิกจากขาดทุนปกติ 938 ล้านบาท ในปี ก่อน ดีกว่าที่เราประเมินไว้ก่อนหน้าว่าจะชะลอลง QoQ โดยแม้ราคาขายเฉลี่ยของบริษัทคาดปรับลดลง จากธุรกิจไก่ตามราคาตลาดในประเทศ และราคาส่งออกที่ชะลอตัว แต่ชดเชยได้ด้วยปริมาณขายที่สูงขึ้น ทั้งจากธุรกิจไก่และหมู ประกอบกับรายได้ธุรกิจร้าน Fresh Shop ที่สูงขึ้น           โดยปัจจุบันจำนวนสาขาเพิ่ม เป็น 401 สาขาตามเป้าหมายของบริษัท (จาก 3Q24 ที่ 368 สาขา) โดยรวมเราคาดรายได้ที่ 17,974 ล้านบาท (+6.4% QoQ, +23.5% YoY) หนุนจากปริมาณขาย และคาด GPM ที่ 15.3% (+10 bps QoQ, +1,450 bps YoY) หนุนจาก Economies of scale และราคาต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับลง โดยหากเป็นไป ใกล้เคียงกับที่เราคาดจะทำให้กำไรปกติปี 2024 จะมี Upside จากประมาณการของเราราว 14% แนวโน้มกำไร 1Q25 เติบโตต่อทั้ง QoQ และ YoY แม้มีฐานที่สูง           ประเมินแนวโน้มกำไร 1Q25 ของ TFG จะปรับตัวสูงขึ้นต่อทั้ง QoQ และ YoY เนื่องจากเห็นสัญญาณ บวกของราคาหมูในประเทศที่สูงขึ้น ปัจจุบันอยู่ที่ราว 74-75 บาท/กก. จากเฉลี่ยใน 4Q24 ที่ราว 73 บาท/กก. และหมูเวียดนามที่ปรับขึ้นเป็น 66,000 ดอง/กก. (+10% QoQ) นอกจากนี้ การขยายธุรกิจ Fresh Shop เพิ่มอีกราว 50 สาขา ใน 1Q25 เป็นปัจจัยหนุนรายได้           ขณะที่แนวโน้มราคาต้นทุนวัตถุดิบ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก ทำให้เราประเมินทั้งรายได้ และ GPM ของ TFG จะปรับขึ้นต่อ QoQ นอกจากนี้เราคงประมาณการกำไรปกติปี 2025 ที่ 3,930 ล้านบาท (+22.9% YoY) หนุนจากการขยายการ เติบโตในเวียดนามหนุนปริมาณขาย และราคาขายเฉลี่ยหมูในเวียดนามยังมีแนวโน้มปรับขึ้นต่อใน 1H25 เป็นอย่างน้อยจากผลกระทบของการระบาดโรค ASF ขณะที่ในประเทศเราราคาเฉลี่ยดีขึ้น YoY และ บริษัทตั้งเป้าเปิดสาขา Fresh Shop เพิ่มอีก 200 สาขา ในปี 2025 (เป็น 600 สาขา) ปรับราคาเหมาะสมลงเพื่อเพิ่มความระมัดระวัง ราคาหุ้นถูกสุดในกลุ่ม... คง แนะนำ “ซื้อ”           ราคาหุ้นปรับลงต่อเนื่องตามปัจจัยตลาดและความกังวลประเด็นสัดส่วนการวาง Margin ที่สูง อย่างไรก็ตาม เชิงพื้นฐานเราคงมุมมองบวกต่อภาพการเติบโตของธุรกิจ หนุนจากธุรกิจหมูในเวียดนาม และธุรกิจร้าน Fresh Shop เป็นปัจจัยหลักหนุนการเติบโต และภาพอุตสาหกรรมฟาร์มสัตว์ในประเทศยังอยู่ในรอบขาขึ้นของราคาขายเฉลี่ย           เราปรับ PER ในการประเมินมูลค่าจากเดิมที่ 13.5 เท่า เป็น 7.0 เท่า เพื่อเพิ่มความระมัดระวัง สะท้อนความเสี่ยงดังกล่าว และสอดคล้องกับมูลค่าตลาดหุ้นไทยในปัจจุบัน ได้ราคาเหมาะสมใหม่ที่ 4.80 บาท มี Upside gain 55.8% ราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายบน PER 25 เพียง 4.6 เท่า ซึ่งต่ำสุดในกลุ่มฟาร์มสัตว์บก และเทียบเท่ากับ -1.5 SD ของค่าเฉลี่ยย้อนหลังในอดีต คงคำแนะนำ "ซื้อ"

TFG ผลิตอาหาจากไก่และสุกร อันดับ 3 ของประเทศ [HoonVision x FynnCorp]

TFG ผลิตอาหาจากไก่และสุกร อันดับ 3 ของประเทศ [HoonVision x FynnCorp]

บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) [TFG] ผู้ผลิตชิ้นส่วนจากไก่และสุกร รายใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ ดำเนินธุรกิจใน 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ ธุรกิจไก่ สุกร อาหารสัตว์ ร้านค้าปลีก และอื่นๆ ประกอบธุรกิจครบวงจร ตั้งแต่ฟาร์มเพาะพันธุ์จนถึงจำหน่ายผ่านร้านค้าปลีก ไทยฟู้ดส์ เฟรซ มาร์เก็ต Key Highlights กว่า 37 ปีในธุรกิจผู้ผลิตอาหาร ขายสินค้าทั้งในและต่างประเทศ โดยเน้นการส่งออก ควบคู่กับการขยายช่องทางจัดจำหน่ายในประเทศผ่านร้านค้าปลีกของกลุ่มบริษัทเอง ขยายการเติบโตผ่านธุรกิจค้าปลีก ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจแบบครบวงจร ด้วยสาขาที่ขยายไปแล้วกว่า 368 สาขาทั่วประเทศ และยอดขายต่อวันต่อสาขาเติบโตต่อเนื่องอยู่ที่ 156,117 บาท ในปัจจุบัน เสนอขายหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ย (4.5% - 4.6%) ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน แก่ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่ โดยบริษัทผู้ออกมีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนครบกำหนด และเปิดให้จองซื้อระหว่างวันที่ 4-6 มีนาคม 2568 จากธุรกิจฟาร์มเลี้ยงไก่ สู่ผู้ผลิตครบวงจรที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง จุดเริ่มต้นของ บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (TFG) มาจากในปี 2530 คุณวินัย เตียวสมบูรณ์กิจ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกรรมการบริหาร ได้เริ่มประกอบธุรกิจฟาร์มเลี้ยงไก่ฟาร์มแรกในจังหวัดลพบุรี ด้วยกำลังการผลิต 20,000 ตัว และในปี 2544 ได้จดทะเบียนจัดตั้งภายใต้ชื่อ บริษัท ไทยฟู้ด (2001) จำกัด ต่อมาในปี 2545 มีการเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น ไทย ฟู้ดส์ โพลทรีย์ อินเตอร์เนชั่นเเนล จำกัด ในระหว่างนี้ บริษัทได้ขยายขอบเขตธุรกิจไปสู่โรงผลิตชิ้นส่วนไก่ ฟาร์มไก่พ่อแม่พันธุ์ ฟาร์มสุกร โรงผลิตอาหารสัตว์ ตามลำดับ รวมถึงเริ่มธุรกิจเลี้ยงสุกรในประเทศเวียดนามครั้งแรกในปี 2556 จนกระทั่งแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดในปี 2557 ภายใต้ชื่อ บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เช่นในปัจจุบัน และดำเนินธุรกิจในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ่านบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ปัจจุบัน บริษัทเป็นผู้ผลิตอาหารแบบครบวงจรที่เชี่ยวชาญในการผลิตไก่และสุกร ดำเนินธุรกิจในไทยและเวียดนาม ลักษณะผลิตภัณฑ์ แบ่งได้ตามกลุ่ม ดังนี้ ธุรกิจไก่ (Poultry Business) ดำเนินการเพาะพันธุ์ไก่ ผลิตและจำหน่ายลูกไก่ ชิ้นส่วนไก่ และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อไก่ (ไส้กรอกไก่และสินค้าปรุงสุก) ธุรกิจสุกร (Swine Business) ดำเนินการเพาะพันธุ์สุกร การจำหน่ายสุกรมีชีวิต และชิ้นส่วนสุกร ธุรกิจอาหารสัตว์ (Feed mill Business) ดำเนินการผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ เน้นสำหรับไก่และสุกร ธุรกิจจำหน่ายสินค้าปลีก ผ่านร้านค้าปลีก ซึ่งสินค้าประเภทวัตถุดิบประกอบอาหาร จะเป็นสินค้าจากโรงงานของกลุ่มบริษัท ได้แก่ ชิ้นส่วนไก่-สุกร สินค้าแปรรูป รวมถึง ผักสด เครื่องปรุง น้ำมัน ของแห้ง ธุรกิจอื่นๆ ได้แก่ ให้บริการศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีนและเวชภัณฑ์ การผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารสัตว์และอุปกรณ์การเกษตร ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มและซอสปรุงรส เป็นต้น รวมถึง การให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล ภายใต้บริษัทย่อย บริษัท มันนี่ ฮับ เซอร์วิส จำกัด กำลังการผลิต 500,000 ตัวต่อวัน ในธุรกิจฟาร์มไก่ และ 160,000 ตัวต่อเดือน ในธุรกิจสุกร บริษัทมีฟาร์มไก่ 19 ฟาร์ม โรงฟักไข่ 7 โรง ฟาร์มเกษตรกรภายใต้พันธะสัญญา จำนวน 255 ราย โรงชำแหละชิ้นส่วนไก่ 3 โรง และโรงงานผลิตไส้กรอกไก่ 2 โรง ส่วนธุรกิจสุกรในไทยและเวียดนาม ประกอบด้วย ฟาร์มสุกร 28 ฟาร์ม ฟาร์มเกษตรกรภายใต้พันธะสัญญา 492 รายในไทย 111 รายในเวียดนาม โรงชำแหละรวม 3 โรง ธุรกิจอาหารสัตว์ มีโรงงานในไทย จำนวน 6 โรง กำลังการผลิตประมาณ 250,000 ตันต่อเดือน บริษัทมีช่องทางการจัดจำหน่าย ได้แก่ ส่งออก อุตสาหกรรมอาหารทั้งในประเทศและเพื่อการส่งออก ร้านอาหาร บริษัทค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) และนายหน้าซื้อขาย เป็นต้น รวมถึงจำหน่ายผ่านร้านค้าปลีกภายใต้บริษัทย่อย โดยธุรกิจไก่จะเน้นการส่งออกเป็นหลัก หรือคิดเป็น 42% ไปในญี่ปุ่น ฮ่องกง จีน ยุโรป เป็นหลัก ขณะเดียวกันก็มีการปรับช่องทางการขายภายในประเทศมากขึ้น และบริษัทมีการเน้นช่องทาง Retail shop มากขึ้นแทนช่องทาง Modern trade บางส่วน ส่วนธุรกิจสุกร เน้นการจำหน่ายในร้านค้าปลีกมากขึ้น โครงสร้างรายได้ ธุรกิจค้าปลีกกลายมาเป็นธุรกิจหลัก ธุรกิจค้าปลีกกลายมาเป็นธุรกิจที่มีสัดส่วนรายได้มากสุดของบริษัทในงวด 9 เดือน ปี 2567 หรือคิดเป็น 36% ของรายได้จากการขาย จากเดิมที่ธุรกิจไก่จะเป็นธุรกิจหลัก ซึ่งปัจจุบัน คิดเป็น 28% ของรายได้จากการขาย ตามมาด้วยธุรกิจสุกร และธุรกิจอาหารสัตว์ ตามลำดับ ผลการดำเนินงานเติบโตขึ้นต่อเนื่องในปี 2567 รายได้จากการขายมีการขยายตัวต่อเนื่อง QoQ มาอยู่ที่ 47,530 ล้านบาทในงวด 9 เดือน 2567 เพิ่มขึ้น 15% YoY ส่วนกำไรสุทธิในช่วงเดียวกัน อยู่ที่ 2,266 ล้านบาท เติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 49 ล้านบาท โดยปัจจัยสนับสนุนหลัก มาจาก ราคาไก่ที่เพิ่มขึ้น ราคาสุกรทั้งในไทยและเวียดนามปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยสุกรที่เวียดนามมีการเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและราคา จากการขยายฟาร์มของบริษัท รวมถึงการขยายสาขาของร้านค้าปลีกในไทย อีกทั้ง บริษัทมีการบริหารการจัดซื้อวัตถุดิบ ส่งผลต่อต้นทุนที่ลดลง ขยายการเติบโตผ่านธุรกิจค้าปลีกด้วยหน้าร้านกว่า 360 สาขาทั่วประเทศ บริษัทได้เริ่มดำเนินธุรกิจค้าปลีกในปี 2563 ภายใต้ บริษัท ไทย ฟู้ดส์ เฟรช มาร์เก็ต จำกัด โดยสินค้าที่จำหน่ายเป็น ชิ้นส่วนไก่และสุกร ผักสด เครื่องปรุง ของแห้ง โดยปัจจุบัน มีสาขาที่เปิดให้บริการแล้ว 368 สาขา (ณ ไตรมาส 3/ 2567) แบ่งเป็นแหล่งชุมชนในกรุงเทพและปริมณฑล 65 สาขา และ ต่างจังหวัดอีก 303 สาขา โดยรายได้ต่อวันต่อสาขามีการเติบโตต่อเนื่องจาก 88,964 บาท ในปี 2563 สู่ 156,117 บาทในปี 2567 หุ้นกู้ TFG อันดับเครดิต BBB ไม่มีประวัติเลื่อนหรือผิดนัดชำระ ทริสคงอันดับเครดิตองค์กรของ TFG ที่ระดับ BBB แนวโน้มอันดับเครดิตคงที่ รวมถึงจัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันที่ระดับ BBB ณ วันที่ 10 มกราคม 2568 โดยอันดับเครดิตแสดงถึงสถานะทางธุรกิจที่ดีขึ้นจากการขยายไปสู่กิจการค้าปลีก พร้อมทั้งควบคุมต้นทุน แต่ขณะเดียวกัน บริษัทก็ยังเผชิญกับความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์และอาหารสัตว์ และการก่อหนี้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายลงทุนจำนวนมากของบริษัท ประวัติอันดับเครดิตองค์กร (Issuer rating) ข้อกำหนดการดำรงอัตราส่วนทางการเงิน บริษัทในฐานะผู้ออกหุ้นกู้ มีหน้าที่ดำรงอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Net debt to equity) ตามข้อกำหนดสิทธิ ตลอดอายุของหุ้นกู้ตามงบการเงินรวม ณ วันสิ้นงวดบัญชีแต่ละปี ไม่เกิน 2:1 เท่า โดย ณ ไตรมาส 3 ปี 2567 บริษัทดำรงอัตราส่วนนี้ 1.13 เท่า ซึ่งมีแนวโน้มดีขึ้นจากปี 2566 ที่มีค่า 1.59 เท่า หุ้นกู้คงค้าง ปัจจุบัน TFG มีหนี้หุ้นกู้ระยะยาวในตลาด จำนวน 6 รุ่น รวมมูลค่า 6,610.6 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้ มีหุ้นกู้ Social bond (SB) อยู่ 4 รุ่น ซึ่งเป็นตราสารหนี้ที่ระดมทุนไปเพื่อพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น อย่างที่ TFG มีการออก Social bond ไปเพื่อนำเงินส่วนนี้ไปซื้อวัตถุดิบจากเกษตรกร เป็นการช่วยสนับสนุนความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของชุมชนในท้องถิ่น นอกจากนี้ บริษัทยังไม่มีหุ้นกู้ระยะยาวที่ครบกำหนดชำระในเร็วๆนี้ เสนอขายหุ้นกู้ แก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่ เป็นหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนครบกำหนด (เริ่มนับจากวันครบกำหนด 6 เดือน นับจากวันออกหุ้นกู้) อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ย (4.5% - 4.6%) ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน และเปิดให้จองซื้อระหว่างวันที่ 4-6 มีนาคม 2568 วัตถุประสงค์การออกหุ้นกู้ครั้งนี้ เพื่อที่จะนำเงินที่ได้ไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนในวงเงินไม่เกิน 1.5 พันล้านบาท และให้บริษัทย่อยกู้ยืมเงิน เพื่อลงทุนขยายร้านค้าปลีก ขยายโรงงานและฟาร์ม เป็นต้น โดยมี บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และผู้จัดจำหน่ายหุ้นกู้ ได้แก่ - บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด - บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์ จำกัด - บริษัท หลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด - บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด - บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จำกัด - บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) - บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) - บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) - บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ปัจจัยเสี่ยงของธุรกิจ TFG ความไม่แน่นอนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ มาจากที่รายได้จากการขายของบริษัทส่วนใหญ่มาจากการจำหน่ายลูกไก่ ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ สุกรขุน และสุกรชำแหละ โดยราคาสินค้าขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของสินค้าในแต่ละช่วงนั้นๆ หากอุปสงค์มีมากกว่าอุปทานอาจทำให้บริษัทไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทัน ขณะที่หากอุปทานมากกว่าอุปสงค์จะทำให้ราคาลดลง ส่งผลต่อรายได้ของบริษัทลดลงตาม บริษัทจึงบริหารความเสี่ยงนี้ โดยการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้น เช่น การส่งออก การจำหน่ายเข้าสู่ร้านอาหารขนาดใหญ่โดยตรง และการสร้างช่องทางจำหน่ายเองผ่านร้านค้าปลีก รวมถึงการดำเนินธุรกิจที่เวียดนาม ซึ่งการขยายช่องทางการขายไปต่างประเทศจะช่วยลดความผันผวนของราคาในประเทศไทย ความไม่แน่นอนของราคาวัตถุดิบ อย่าง ข้าวโพด กากถั่ว ข้าวสาลี ซึ่งเป็นต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ โดยราคาตลาดมีความไม่แน่นอน เนื่องจากขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานเช่นเดียวกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น ข้อกีดกันทางการค้า สภาพภูมิอากาศ เป็นต้น โดยราคาที่เปลี่ยนแปลงจะส่งผลต่อต้นทุนวัตถุดิบของบริษัทโดยตรง โดยบริษัทมีการบริหารวัตถุดิบให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ รวมทั้ง จัดหาวัตถุดิบทดแทนหากราคาวัตถุดิบหลักมีความไม่แน่นอนสูง ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จากการที่บริษัทมีสัดส่วนการส่งออกสูงและนำเข้าวัตถุดิบ เครื่องจักรจากต่างประเทศ จึงเสี่ยงต่อการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม บริษัทมีทีมงานที่คอยดูแลและวิเคราะห์เป็นรายวันเพื่อพิจารณาการป้องกันความเสี่ยงตามช่วงเวลาที่เหมาะสม ด้วยเครื่องมือทางการเงินกับสถาบันการเงินหลายแห่ง รวมถึง การจ่ายชำระและรับชำระเงินสำหรับสินค้าส่งออกเป็นสกุลเงินเดียวกัน เพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้บางส่วน ความเสี่ยงจากการมีหนี้หุ้นกู้อยู่ในระดับสูง ด้วยสัดส่วนของตราสารหนี้คิดเป็น 41.05% ของหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 รวมถึง มีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยที่จะครบกำหนดภายใน 1 ปีค่อนข้างมาก มูลค่า 14,627.11 ล้านบาท หรือ 63.93% ของหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยทั้งหมด ดังนั้น หากผลการดำเนินงาน หรือ แผนการหาเงินทุนไม่เป็นไปตามคาด อาจส่งผลต่อความเสี่ยงในการชำระหนี้ของบริษัทได้

[ภาพข่าว] “BWG” ได้รับรางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ประจำปี 2567

[ภาพข่าว] “BWG” ได้รับรางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ประจำปี 2567

         หุ้นวิชั่น - บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) หรือ “BWG” ได้รับรางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ประจำปี 2567 Sustainability Disclosure Award 2024 จากสถาบันไทยพัฒน์ เป็นปีที่ 5 จากการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ด้วยความโปร่งใส ครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยมีนางสาวศุชัชชล สวนเมือง ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร “BWG” เป็นผู้แทนบริษัท เข้ารับรางวัลจากนางสาววีรญา ปรียาพันธ์ ผู้อำนวยการ ประชาคมการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน สถาบันไทยพัฒน์  ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลป์กรุงเทพฯ เมื่อวานก่อน          จากที่ “BWG” ได้รับรางวัลดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลการดำเนินงาน ซึ่งครอบคลุมทั้งการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม หรือด้าน ESG (Environmental Social and Governance) แสดงถึงความยั่งยืนของธุรกิจ          “BWG” มีการเผยแพร่ข้อมูลความยั่งยืนต่อสาธารณะในรูปแบบของรายงานความยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับความสมบูรณ์ของเนื้อหา (Completeness) ความน่าเชื่อถือ (Credibility) รวมทั้งการสื่อสารและการนำเสนอ (Communication) ส่งผลให้ในปีนี้ “BWG” ได้รับคัดเลือกจากสถาบันไทยพัฒน์ ให้ได้รับรางวัลเกียรติคุณ Sustainability Disclosure Award 2024 อย่างต่อเนื่อง

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

[ภาพข่าว] TFG มั่นใจรายได้ปี 67 โตเข้าเป้า 10-15%

[ภาพข่าว] TFG มั่นใจรายได้ปี 67 โตเข้าเป้า 10-15%

          นายเพชร นันทวิสัย ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ, นางสาวศิริลักษณ์ ตั้งวิบูลย์พาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีและการเงิน, นายสุกันย์ ทำผล ผู้ช่วยประธานอาวุโสสายธุรกิจโรงงานอาหารครบวงจร (ไก่), นายภุชงค์ พรหมชาติ ผู้ช่วยประธานกลุ่มธุรกิจสุกรครบวงจร (ประเทศไทย) และ นางสาวช่อมาศ เหลืองคำชาติ ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสบริหารการลงทุน บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (TFG) ถ่ายภาพร่วมกับนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ภายหลังจัดงาน Analyst Meeting เผยผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567 มีกำไรสุทธิ 1,260.30 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 382.95% และนับเป็นระดับกำไรรายไตรมาสสูงสุดของปีนี้ อีกทั้งมั่นใจว่ารายได้ปี 2567 จะเติบโตตามเป้าหมาย 10 - 15% รับอานิสงส์ราคาไก่-สุกรปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ล่าสุดยังคงเดินหน้าขยายสาขาร้านค้าปลีก "ไทยฟู้ดส์ เฟรซ มาร์เก็ต" ให้ครบ 400 สาขาในปีนี้ เพื่อเพิ่มมาร์จิ้นและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งงานดังกล่าวจัดขึ้น ณ ห้องประชุม ชั้น 9 อาคารชินวัตร 3 เมื่อเร็ว ๆ นี้

[ภาพข่าว] TFG ต้อนรับสมาคมนักลงทุนประเทศไทยเข้าเยี่ยมชมกิจการ

[ภาพข่าว] TFG ต้อนรับสมาคมนักลงทุนประเทศไทยเข้าเยี่ยมชมกิจการ

          นายเพชร นันทวิสัย ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ, นางสาวศิริลักษณ์ ตั้งวิบูลย์พาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีและการเงิน, นายสุกันย์ ทำผล ผู้ช่วยประธานอาวุโสสายธุรกิจโรงงานอาหารครบวงจร (ไก่),  นายภุชงค์ พรหมชาติ ผู้ช่วยประธานกลุ่มธุรกิจสุกรครบวงจร (ประเทศไทย) และนางสาวช่อมาศ  เหลืองคำชาติ ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสบริหารการลงทุน บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (TFG) ถ่ายภาพร่วมกับกลุ่มนักลงทุน เนื่องในโอกาสเปิดบ้านต้อนรับสมาคมนักลงทุนประเทศไทยเข้าเยี่ยมชมกิจการ โดยเปิดแผนครึ่งปีหลังประเมินธุรกิจสดใส รับอานิสงส์ราคาไก่-สุกรแนวโน้มดีต่อเนื่อง เดินหน้าลุยขยายร้านค้าปลีก “ไทยฟู้ดส์ เฟรช มาร์เก็ต” เพื่อสร้าง New S-Curve ดันรายได้ และกำไรขั้นต้นเติบโตยั่งยืน เร่งขยายสาขาให้ครบ 400 - 420 สาขาในปีนี้ หนุนผลงานรวมเติบโต 10-15% ทำสถิติ New High ซึ่งงานดังกล่าวจัดขึ้นที่บริษัทฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้

[ภาพข่าว] TFG เปิดตัว “Buddy Club Pet Shop

[ภาพข่าว] TFG เปิดตัว “Buddy Club Pet Shop" ศูนย์รวมสินค้าบริการสัตว์เลี้ยงครบวงจร

          คุณกฤติกร ศรีสโมสร ผู้ช่วยประธานฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล เครือบมจ. ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป (TFG) ถ่ายภาพรวมกับ Pet Influencer ชื่อดัง อาทิเช่น Gluta Story, Malithesamoyed  เนื่องในโอกาสเข้าร่วมงานเปิดตัวอย่างเป็นทางการ Grand Opening “Buddy Club Pet Shop" แห่งแรกที่สาขาถนนเพิ่มสิน ซึ่งเป็นศูนย์รวมสินค้าและบริการสำหรับสัตว์เลี้ยงทุกประเภท ตั้งแต่สุนัข แมว นก ปลาและสัตว์เลี้ยง Exotic โดยมีบริการอาบน้ำตัดขนสำหรับสุนัขและแมว และจำหน่ายอาหารสัตว์ ของเล่น อุปกรณ์เสริมที่ได้รับการคัดสรรจากแบรนด์ชั้นนำ มีความหลากหลายให้ลูกค้า เพื่อตอบสนองทุกความต้องการของสัตว์เลี้ยงและเจ้าของ ซึ่งงานดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

เทศกาลกินเจ โอกาสสะสมหุ้น CPF-TFG

เทศกาลกินเจ โอกาสสะสมหุ้น CPF-TFG

          หุ้นวิชั่น- ในเทศกาลถือศีลกินเจ วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม 2567 – วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2567 ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงานว่า บล.หยวนต้า ได้จัดทำ สถิติเทศกาลกินเจ: หุ้นกลุ่มเกษตรและอาหารชะลอลงเล็กน้อย แต่ยังแข็งแกร่งกว่า SET  จากสถิติย้อนหลังช่วงเทศกาลกินเจ พบว่าหุ้นในกลุ่มเกษตรและอาหาร แม้จะให้ผลตอบแทนเป็นลบเล็กน้อยในระหว่างเทศกาล โดยเฉลี่ยในรอบ 10 ปี ให้ผลตอบแทนที่ -0.7% และ -0.4% ตามลำดับ แต่ยังดีกว่า SET Index ที่ปรับตัวลงเฉลี่ย -0.8%           อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับช่วง 1 สัปดาห์ก่อนหน้าเทศกาล หุ้นกลุ่มอาหารจะมีผลตอบแทนเฉลี่ย -0.8% ซึ่งเป็นการ Underperform เมื่อเทียบกับ SET Index ที่ -0.2% โดยแสดงให้เห็นว่ามีการเก็งกำไรในฝั่งขายก่อนหน้า และเมื่อเทศกาลกินเจเริ่มขึ้น มักจะเป็นปัจจัยปลดล็อก Overhang ของกลุ่มเกษตรและอาหาร           นอกจากนี้ หากราคาหมูและไก่ไม่ปรับลดลงหลังเทศกาลกินเจ จะสะท้อนถึงความต้องการที่ยังแข็งแกร่ง และมีโอกาสที่ราคาหุ้นในกลุ่มฟาร์มสัตว์จะปรับตัวขึ้นได้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ แนวโน้มกำไร 3Q67: เติบโตอย่างโดดเด่นทั้ง QoQ และ YoY           สำหรับผลประกอบการ 3Q67 ของกลุ่มฟาร์มสัตว์บก คาดว่าจะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งทั้ง QoQ และ YoY โดยได้รับปัจจัยหนุนจากราคาขายเฉลี่ยของหมูที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศ (ปัจจุบันอยู่ที่ราว 73 บาท/กก. +1% MoM, +7% YoY) รวมถึงราคาหมูในเวียดนามและจีนที่ปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่น           ในขณะเดียวกัน ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง จากสต็อกวัตถุดิบที่มีอยู่มากพอ ประกอบกับราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปรับลดลงชัดเจนหลังเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยว ช่วยลดต้นทุนของกลุ่มได้อย่างต่อเนื่องจนถึง 1Q67 เป็นอย่างน้อย ค่าเงินบาทอ่อนค่าและดอกเบี้ยขาลง: ปัจจัยบวกต่อกลุ่มเกษตรและอาหาร           ในช่วงที่ผ่านมาค่าเงินบาทเทียบกับ USD แข็งค่ารวดเร็ว ทำให้เป็นปัจจัยกดดันต่อกลุ่มเกษตรและอาหาร อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีสัญญาณการชะลอการแข็งค่าและเริ่มกลับทิศทางมาเป็นอ่อนค่า ช่วยคลายแรงกดดันและเพิ่มความน่าสนใจให้กับหุ้นในกลุ่มนี้อีกครั้ง นอกจากนี้ การลดอัตราดอกเบี้ยยังเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญ เนื่องจากกลุ่มเกษตรและอาหารมีหนี้สินต่อทุน (IBD/E) ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะ CPF และ TFG ที่มี IBD/E สูงกว่ากลุ่ม กลยุทธ์การลงทุน: ช่วงเทศกาลกินเจเป็นโอกาสเข้าลงทุน           เรายังคงน้ำหนักลงทุนกลุ่มเกษตรและอาหาร “เท่ากับตลาด” แต่เชิงกลยุทธ์ มองว่าหากหุ้นกลุ่มฟาร์มสัตว์บกปรับตัวลงในช่วงเทศกาลกินเจ จะเป็นโอกาสที่ดีในการสะสมเพื่อคาดหวังผลประกอบการ 3Q67 ที่โดดเด่น รวมถึงแนวโน้มค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง หุ้นเด่นที่น่าสนใจในกลุ่มฟาร์มสัตว์บก ได้แก่ CPF (ราคาเป้าหมาย 28.00 บาท) และ TFG (ราคาเป้าหมาย 7.40 บาท) ในขณะที่กลุ่มส่งออกอาหาร ได้แก่ TU (ราคาเป้าหมาย 17.20 บาท) และ ITC (ราคาเป้าหมาย 30.00 บาท)

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011