ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#SUPER


SUPER ปี 67 พลิกกำไรพุ่ง 1,212% ปี 68 จ่อ COD วินด์ฟาร์มเวียดนาม-ดีลพันธมิตร

SUPER ปี 67 พลิกกำไรพุ่ง 1,212% ปี 68 จ่อ COD วินด์ฟาร์มเวียดนาม-ดีลพันธมิตร

          บมจ.ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น (SUPER) โชว์ผลงานปี 67 สุดปัง!กำไรสุทธิแตะ 1,311.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,212%  ขณะที่มี EBITDA จำนวน 9,631.14  ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23% จากปีก่อน ฟากบิ๊กบอส “จอมทรัพย์ โลจายะ”พร้อมลุยพลังงานหมุนเวียนทุกรูปแบบ ปี 68 จ่อ COD วินด์ฟาร์มเวียดนาม พร้อมหาพันธมิตรรวมทุน ผลักดันผลงานเติบโตต่อเนื่อง           นายจอมทรัพย์ โลจายะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SUPER)  เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของบริษัทฯในปี 2567 (สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2567) มีกำไรสุทธิ 1,311.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,212.66% เทียบปีก่อนขาดทุนสุทธิ 117.83 ล้านบาท  ขณะที่กำไรก่อนหักภาษี ค่าเสื่อม และดอกเบี้ย ( EBIDTA) อยู่ที่ 9,631.14  ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23% เทียบปีก่อน สะท้อนความสามารถในการทำกำไรจากการดำเนินงาน และกำไรพิเศษจากการจำหน่ายเงินลงทุน           ปัจจัยสนับสนุนกำไรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มาจากการรับรู้กำไรพิเศษจากการจำหน่ายเงินลงทุนในกลุ่ม “ทานตะวัน โซล่าร์”  (SUNFLOWER) ให้กับ “เลวันตา รีนิวเอเบิลส์ (ประเทศไทย)” (LEVANTA) บริษัทในเครือ Actis Energy Fund 5 กองทุนพลังงานในประเทศอังกฤษ ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย และบริษัท ซุปเปอร์เอิร์ธ เอนเนอร์ยี 1 จำกัด (SEE1) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ให้กับ บริษัท SUS Thailand Holding Limited (SUS) ภายใต้กลุ่ม Shanghai SUS Environment Co., Ltd  สาธารณรัฐประชาชนจีน ดำเนินกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากขยะ ช่วยเสริมแกร่งทางการเงิน และใช้เป็นทุนหมุนเวียน รองรับการขยายการลงทุนโรงไฟฟ้า           “ที่ผ่านมาเรามีการปรับโครงสร้างธุรกิจ บริหารต้นทุนอย่างระมัดระวัง ลดภาระดอกเบี้ย รวมทั้งดึงพันธมิตรเข้ามาลงทุน เสริมความแข็งแกร่งด้านการเงิน และมั่นใจว่าแนวโน้มผลการดำเนินงานในปี 2568 จะเติบโตต่อเนื่อง มีความพร้อมพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนทุกรูปแบบทั้งในประเทศและต่างประเทศ”นายจอมทรัพย์กล่าว           ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SUPER กล่าวอีกว่า รัฐบาลเวียดนามได้ส่งสัญญาณเชิงบวก เพื่อสนับสนุนแผนพัฒนาไฟฟ้าแห่งชาติเวียดนามฉบับที่ 8 (PDP8) ให้บรรลุเป้าหมายการลงทุนได้อย่างรวดเร็ว และเร่งรัดการลงทุนที่ค้างจาก PDP7 ให้สามารถจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ได้เร็วที่สุด โดยบริษัทฯมีโครงการวินด์ฟาร์มจำนวน 2 โปรเจค กำลังการผลิตรวม 171 เมกะวัตต์ ในประเทศเวียดนาม ได้แก่ โครงการ Soc Trang 30 เมกะวัตต์ คาดว่าจะทยอย COD ในไตรมาส 2 นี้ และโครงการ Bec Lieu 141 เมกะวัตต์ ทยอย COD รวมทั้งยังมีโครงการจำหน่ายไฟ้ฟ้าให้แก่ภาคเอกชน สนับสนุนการเติบโตในอนาคต           ขณะเดียวกันยังมีแผนขยายการลงทุนร่วมมือกับพันธมิตรอย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและมีเสถียรภาพ ตอกย้ำความเป็นผู้เชี่ยวชาญบริหารงานโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน [PR News]

SUPER สร้างอาณาจักรพลังงานทดแทน [HoonVision x FynnCorp]

SUPER สร้างอาณาจักรพลังงานทดแทน [HoonVision x FynnCorp]

บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) [SUPER] Key Highlights: ดำเนินธุรกิจพลังงานทดแทน ด้วยแสงอาทิตย์เป็นแหล่งรายได้หลัก บริษัทมีสัดส่วนรายได้จากโครงการพลังงานแสงอาทิตย์เป็นหลัก หรือคิดเป็น 78.4% ของรายได้รวมในปี 2566 รองลงมา คือ รายได้จากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม ตามลำดับ กระแสเงินสดจากธุรกิจสัมปทาน โครงสร้างพื้นฐานกับหน่วยงานรัฐ บริษัทมีรายได้และกระแสเงินสดจากการจำหน่ายไฟฟ้าให้กับหน่วยงานรัฐบาลทั้งในไทยและเวียดนาม และมุ่งขยายกำลังการผลิตผ่านการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ๆ เพื่อสร้างกระเเสเงินสดได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต อีกทั้งมีการสร้างโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่าน Strategic partner ซึ่งช่วยลดต้นทุนทางการเงินจน D/E ratio ลดลง อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าในไทยเติบโต กระทรวงพลังงานตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน จากการผลิตและความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวโดยเฉพาะในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ท่ามกลางแผนการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนใน PDP 2024 เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน SUPER เสนอขายหุ้นกู้ 2 ชุด เป็นหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน เสนอขายแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป และ/หรือ ผู้ลงทุนสถาบัน จองซื้อตั้งแต่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2568 แบ่งเป็น ชุดที่ 1 อายุ 1 ปี อัตราดอกเบี้ย 5.25-5.50% ต่อปี และชุดที่ 2 อายุ 2 ปี อัตราดอกเบี้ย 5.75-6.00% ต่อปี ภาพรวมธุรกิจ SUPER ก่อนจะมาเป็น SUPER ในปัจจุบัน บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SUPER) เดิมใช้ชื่อ บริษัท ซุปเปอร์บล๊อก จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2537 ดำเนินธุรกิจการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์คอนกรีตอิฐมวลเบา และได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ปี 2548 ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเริ่มดำเนินธุรกิจด้านพลังงานทดแทนในปี 2556 บริษัทเริ่มจากการเข้าลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นโครงการแรก หลังจากนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างบริษัทให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง อย่างการจดทะเบียนเป็น Holding Company โดย SUPER มีรายได้หลักจากการเข้าไปถือหุ้นในบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมที่ผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนหลากหลายแห่ง อีกทั้งประกอบธุรกิจด้านการดูแลบำรุงรักษาโรงงานไฟฟ้าพลังงานทดแทน และถือหุ้นในธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายน้ำ ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ ดำเนินธุรกิจพลังงานทดแทน ด้วยแสงอาทิตย์เป็นพลังงานหลัก SUPER ประกอบธุรกิจใน 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) กลุ่มผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน อย่างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าพลังงานลม และโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากขยะ 2) กลุ่มผลิตและจำหน่ายน้ำดิบและน้ำประปา และ 3) กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และอื่นๆ โดยธุรกิจหลัก คือ พลังงานทดแทน คิดเป็น 92.6% ของรายได้รวมทั้งหมดในปี 2566 (พลังงานแสงอาทิตย์ 78.4%, พลังงานขยะ 9.7% และ พลังงานลม 4.5%) ตามมาด้วย ธุรกิจจำหน่ายน้ำฯ คิดเป็น 2.2% และกลุ่มเทคโนโลยี 0.8% กำลังการผลิตมากกว่า 2,300 MW พร้อมสัญญาซื้อขายกับหน่วยงานภาครัฐ บริษัทมีกำลังการผลิตทั้งหมด 2,353.8 เมกะวัตต์ (MW) โดยเป็นกำลังการผลิตที่เสนอขายตาม PPA (Power Purchase Agreement) ที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว (COD) 1,626.1 MW จำนวน 184 โครงการ ทั้งในไทยและเวียดนาม แบ่งเป็นโครงการโรงไฟฟ้าที่มีสัญญาซื้อขายกับหน่วยงานภาครัฐ (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย: EGAT, การไฟฟ้านครหลวง: MEA, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค: PEA และการไฟฟ้าเวียดนาม: EVN) และโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบเอกชน (Private PPA) ขณะที่โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างอีกปริมาณ 727.7 MW กลยุทธ์การเติบโต เน้นธุรกิจสัมปทาน โครงสร้างพื้นฐานกับหน่วยงานรัฐ บริษัทเน้นการขยายกำลังการผลิตจากสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น เพื่อเร่งการโตของรายได้และสร้างกระแสเงินสดได้ต่อเนื่อง โดยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว 20-25 ปี กับหน่วยงานรัฐ (ปัจจุบันอายุสัญญาคงเหลือเฉลี่ยอยู่ที่ 18-19 ปี) และสร้างโครงการเพื่อให้มีรายได้จากสัมปทานที่มั่นคงต่อเนื่องไปในอนาคต ซึ่งใช้เงินลงทุนอีกประมาณ 44,500 ล้านบาท พร้อมกับสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนใหม่ด้วยการมีพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (Strategic partner) ที่จะเข้ามาร่วมลงทุนด้วย ทำให้บริษัทมีกำไรพิเศษ เพื่อนำไปปรับดอกเบี้ยตามแผน ช่วยลดต้นทุนทางการเงินและนำไปลงทุนเพิ่มเติม ส่งผลให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E ratio) ณ ไตรมาส 3 ปี 2567 ลดลงไปอยู่ที่ 2.21 เท่า จากไตรมาสก่อนอยู่ที่ 2.80 เท่า นอกจากนี้ บริษัทจะมุ่งเน้นโครงการในไทยเป็นหลัก โดยมองสัดส่วนรายได้ในอนาคตเป็นไทย 70% และเวียดนาม 30% Industry Analysis: ธุรกิจผลิตไฟฟ้าในไทย การใช้ไฟฟ้าในไทยเพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัว ในปี 2566 กระทรวงพลังงานรายงาน การใช้ไฟฟ้ารวมทั้งหมด 203,923 กิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh) เพิ่มขึ้น 3.4% YoY และใน 9 เดือนแรกของปี 2567 การใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 6.1% YoY อยู่ที่ 163,311 GWh จากภาคอุตสาหกรรม (41%) ครัวเรือน (29%) และธุรกิจ (25%) โดยการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในทุกภาคส่วนโดยเฉพาะในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ เพิ่มขึ้น 9.1% YoY และ 7.5% YoY ตามลำดับ การผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องรวมถึงไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ในปี 2566 การผลิตพลังงานไฟฟ้าอยู่ที่ 223,295 GWh เพิ่มขึ้น 3.5% YoY โดยการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติและพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น ซึ่งสัดส่วนการผลิตคิดเป็น 58% และ 10% ตามลำดับ ในขณะที่การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน น้ำมัน พลังน้ำ และไฟฟ้านำเข้า มีปริมาณลดลง ส่วนใน 9M2567 ปริมาณการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 6.6% YoY มาอยู่ที่ 180,438 GWh กระทรวงพลังงานตั้งเป้าใน PDP 2024 เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน ลดการปล่อยคาร์บอน ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2567-2580 (Power Development Plan: PDP 2024) ซึ่งอยู่ในระหว่างการนำเสนอร่าง โดยวางแผนเร่งโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ใหม่จากเดิมที่จะเข้าระบบทั้งหมด 24,000 MW หลังปี 2573 เป็นให้มีโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ใหม่ 10,000 MW แรกภายในปี 2573 และส่วนที่เหลือเข้าระบบหลังปี 2573 เพื่อให้ไทยบรรลุเป้าหมายของ COP26 ที่เป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2593 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2608 รวมทั้งพิจารณาถึงเป้าหมาย 40% ของแผนในการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศปี 2564-2573 (NDC) (อ้างอิงข่าวสารจากกระทรวงพลังงาน ณ วันที่ 17 มิ.ย. 67) พลังงานหมุนเวียนมีแนวโน้มเติบโตโดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์และลม ด้วยแรงสนับสนุนจาก Private และ Public PPA โดยเฉพาะในกลุ่มนอกระบบที่มีการขยายตัวมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา รวมถึงการเพิ่มกำลังการผลิตตามแผน PDP 2024 และการเข้าสู่ Net Zero ของไทย นอกจากนี้ ประเทศในกลุ่ม ASEAN โดยเฉพาะเวียดนาม มีศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมมากด้วยสภาพภูมิประเทศและการสนับสนุนจากภาครัฐ รวมถึงไทยที่มีสภาพที่เหมาะในการติดตั้ง Wind Turbine Power ที่จะผลิตไฟฟ้าได้อีกจำนวนมาก ดังนั้น เรามองว่ากลุ่มธุรกิจของ SUPER ที่เน้นพลังงานแสงอาทิตย์และยังมีโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่เวียดนาม รวมถึงโครงการที่กำลังก่อสร้าง จะมีโอกาสเติบโตไปได้อีกในอนาคต Financial Performance: ผลการดำเนินงาน รายได้จากการขายและให้บริการในภาพรวม 9M2567 ลดลงเล็กน้อย ขณะที่รายได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานขยะเติบโตขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มพลังงานการผลิตของโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนแบบครบวงจรที่จังหวัดหนองคาย และมีการปรับขึ้นของค่าไฟพื้นฐาน (FT) ตั้งแต่ต้นปี ขณะที่ รายได้จากโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในไทย ได้รับผลกระทบจากการจำหน่ายหุ้นกลุ่มบริษัทย่อยภายใต้ Sunflower สัดส่วน 90% ทำให้สถานะเปลี่ยนจากบริษัทย่อย เป็นบริษัทร่วม อีกทั้ง รายได้จากโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศเวียดนาม ประสบกับค่าความเข้มแสงลดลงซึ่งเป็นไปตามสภาพอากาศและฤดูกาลของประเทศเวียดนาม ส่วนโครงการพลังงานลมที่เวียดนาม ได้รับผลจากสภาพอากาศและความเร็วลมเฉลี่ยลดลงกว่าปีก่อน กำไรสุทธิใน 9M2567 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มาอยู่ที่ 2,060.72 ล้านบาท ปัจจัยหลักมาจากกำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อยเป็นจำนวน 2,256.02 ล้านบาท (Sunflower และ SEE1) รายได้จากการขายและให้บริการ หุ้นกู้ SUPER ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กรของ SUPER ที่ระดับ BBB ด้วยแนวโน้มอันดับเครดิต Stable และ SUPER ได้รับอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน อยู่ที่ BBB- จากสินทรัพย์ในการผลิตไฟฟ้าของบริษัทที่มีขนาดใหญ่และกระจายตัวดี ด้วยโรงไฟฟ้าที่ดำเนินการแล้วมากกว่า 100 แห่งในสถานที่ตั้งหลากหลาย รวมถึงกระแสเงินสดที่มั่นคงจากสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวกับผู้ผลิตและหน่วยงานภาครัฐของไทยและเวียดนาม อย่างไรก็ตาม บริษัทยังมีการลงทุนขนาดใหญ่ในประเทศเวียดนามพร้อมกับภาระดอกเบี้ยในระดับสูงทำให้เป็นปัจจัยกดอันดับเครดิตของทริส ประวัติอันดับเครดิต การดำรงอัตราส่วนทางการเงิน บริษัทในฐานะผู้ออกหุ้นกู้มีหน้าที่ดำรงอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (IBD/E) ตามข้อกำหนดสิทธิ ไม่เกิน 3:1 ณ วันที่ 31 ธันวาคมในแต่ละปี โดย ณ 30 กันยายน 2567 บริษัทดำรงอัตราส่วนนี้ เท่ากับ 1.99 เท่า ซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากปี 2566 ที่อยู่ที่ 2.48 เท่า จากการจ่ายชำระคืนเงินกู้และภาระหนี้ของกลุ่ม Sunflower ที่ไม่ได้ถูกนำมารวมแล้ว หุ้นกู้คงค้างของบริษัท (Outstanding bonds) ปัจจุบันเหลืออยู่ทั้งหมด 5 รุ่น รวมมูลค่าประมาณ 6,160 ล้านบาทในปัจจุบัน ซึ่ง SUPER ออกหุ้นกู้มาแล้วทั้งหมด 15 รุ่น ตั้งแต่ปี 2560 และไม่เคยมีประวัติการเลื่อนหรือผิดนัดชำระหุ้นกู้ ซึ่งจากรูปด้านล่างแสดงมูลค่าหุ้นกู้เทียบกับเงินสด ณ สิ้นไตรมาส หุ้นกู้เสนอขายใหม่ 2 ชุดแก่ประชาชนและผู้ลงทุนสถาบัน เป็นหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน จ่ายดอกเบี้ยทุกๆ 3 เดือน แบ่งเป็น ชุดที่ 1 อายุ 1 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2569 อัตราดอกเบี้ย 5.25% - 5.50% ต่อปี และชุดที่ 2 อายุ 2 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี 2570 อัตราดอกเบี้ย 5.75 - 6.00% ต่อปี โดยวัตถุประสงค์ในการเสนอขายหุ้นกู้ครั้งนี้ เพื่อ 1) ชำระคืนหุ้นกู้ SUPER252A ที่จะครบกำหนดเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งมีมูลค่า 800 ล้านบาท 2) เพื่อชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้นที่มีกับสถาบันการเงินที่จะครบกำหนดเดือนเมษายน 2568 และ 3) เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น ปัจจัยเสี่ยง การลงทุนโครงการใหม่ในอนาคต บริษัทมีแผนการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าใหม่อย่างต่อเนื่องในอนาคต ดังนั้น หากโรงไฟฟ้าไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ หรือ ผลประกอบการไม่เป็นตามที่คาด อาจทำให้เกิดความเสี่ยงได้ การเป็น Holding Company เนื่องจากรายได้หลักของบริษัท มาจากการเข้าไปถือหุ้นในบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วม ทำให้เงินที่จะนำมาใช้ชำระคืนหนี้จะขึ้นอยู่กับความสามารถในการประกอบธุรกิจของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมเป็นหลัก ไม่ได้มาจากธุรกิจของตนเอง Roller Risk จากการที่บริษัทมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในอนาคตหลายโครงการ ทำให้บริษัทต้องจัดเตรียมกระแสเงินสดไว้เพื่อเสริมสภาพคล่องช่วง 1-3 ปีข้างหน้า จากภายในกิจการและการกู้ยืมสถาบันการเงิน บริษัทจึงจำเป็นต้องออกและเสนอขายหุ้นกู้ใหม่เพื่อชำระคืนหุ้นกู้เดิมที่จะครบกำหนด (Roll over) รายละเอียดเพิมเติม https://app.visible.vc/shared-update/e0a84481-50c4-4c94-9273-4068f726e482

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011