ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#STA


เทียบชัดหุ้นยางพาราเด่น STA - NER [HoonVision x FynnCorp]

เทียบชัดหุ้นยางพาราเด่น STA - NER [HoonVision x FynnCorp]

          หุ้นวิชั่น - มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทยปี 67 เกิน 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นครั้งแรก ยางพาราเป็นสินค้าส่งออกที่ขยายตัวโดดเด่นในกลุ่ม ไทยครองส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 ยางพาราโลก ผู้ประกอบการยางพาราได้รับผลบวกจากราคายางที่สูงขึ้น จากอุปสงค์ที่ฟื้นตัว ทำให้ผลการดำเนินงานปี 67 เติบโตจากปีก่อนหน้า โดยเฉพาะ 2 ผู้เล่นจดทะเบียนในตลาด อย่าง STA และ NER มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรเติบโตต่อเนื่อง มูลค่าการส่งออกไทยภาพรวมขยายตัว 5.4% YoY ในปี 2567 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (TPSO) รายงานมูลค่าการส่งออกของไทยขยายตัว 5.4% จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 300,529.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 10,548,759 ล้านบาท ซึ่งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร คิดเป็น 17.36% ของมูลค่าการส่งออกรวม ด้วยมูลค่า 52,185 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,835,800 ล้านบาท) ขยายตัว 6.0% จากปีก่อนหน้า ถือว่าเป็นครั้งแรกของไทยที่มูลค่าส่งออกสินค้าเหล่านี้เกินกว่า 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น 7.5% YoY ขยายตัวต่อเนื่อง 4 ปี ไทยส่งออกสินค้าเกษตรเป็นมูลค่า 28,827.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,014,588 ล้านบาท) ขยายตัวที่ 7.5% เทียบกับปีก่อน โดยสัดส่วนกว่า 88% ของมูลค่าการส่งออกมาจาก 5 สินค้าอันดับแรก ได้แก่ 1) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง (22.58%) 2) ข้าว (22.32%) 3) ยางพารา (17.32%) 4) ไก่ (14.96%) 5) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (10.87%) และตลาดส่งออกหลักของสินค้าเกษตร คือ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย (2567) ถึงขาดดุลแต่สินค้าส่งออกหลายกลุ่มยังเติบโต แม้ว่าภาพรวมในปี 2567 ไทยยังขาดดุลการค้าอยู่ที่ 6,280.4 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการส่งออกสินค้าในหลายกลุ่มก็ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร อย่างเช่นยางพารา ข้าว อาหารสัตว์เลี้ยง ผลไม้กระป๋องแปรรูป เป็นต้น ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเติบโตแบบ Double digits ตามลำดับ ซึ่งสินค้ากลุ่มยางพารา ขยายตัวกว่า 48.5% YoY ในเดือนธันวาคม และ 36.8% YoY ในปี 2567 การขยายตัวของกลุ่มสินค้าส่งออกไทย (2567) ไทยเป็นผู้ส่งออกยางพาราแปรรูปหลักของโลก ครองส่วนแบ่งอันดับ 1 ในปี 2567 สินค้ายางพารามีมูลค่าส่งออก 4,992.4 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงสุดเป็นอันดับ 3 ในกลุ่มสินค้าเกษตร ซึ่งไทยนับว่าเป็น 1 ใน 4 ผู้ผลิตยางพาราหลักของโลกจากการมีผลผลิตยางพาราจำนวนมาก โดยไทยส่งออกยางแปรรูปขั้นกลางเป็นหลักประมาณ 65% ได้แก่ ยางแท่ง ยางผสม น้ำยางข้น ยางแผ่นรมควัน ตามลำดับ ที่เหลือเป็นยางแปรรูปขั้นปลาย อย่าง ยางล้อและถุงมือยางธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม คู่แข่งประเทศอื่นอย่าง สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ (Cote d’Ivoire) และเวียดนามมีข้อได้เปรียบกว่าไทยในแง่ปริมาณผลผลิตต่อไร่สูงกว่า ราคาขายต่ำกว่า รวมถึงมีตลาดส่งออกหลักในจีนและยุโรป ซึ่งมีสินค้าคู่แข่งอย่าง ยางแท่ง ยางผสม และน้ำยางข้น ขณะที่ไทยมีต้นทุนการผลิตสูง และการส่งออกสินค้ายางพารายังอยู่ขั้นกลางเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมี Value added ไม่เทียบเท่ายางแปรรูปขั้นปลาย เช่น ยางล้อ ถุงมือยางธรรมชาติ ปริมาณการส่งออกสินค้ายางของไทย (2566) ยางพาราส่งออก อย่างยางแท่งและยางแผ่นรมควัน จะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์เป็นหลัก ส่วนน้ำยางข้น ถูกนำไปใช้ในการผลิตถุงมือยาง ยางยืด กาว ถุงยางอนามัย และอื่นๆ ดังนั้น หากไทยสามารถเพิ่มสินค้าส่วนยางแปรรูปขั้นปลาย ประกอบกับรักษาและสามารถเพิ่มฐานลูกค้าในกลุ่มยางแผ่นรมควันได้ ซึ่งไทยยังคงเป็นผู้ผลิตหลักอยู่ จะเป็นการเพิ่ม Value ให้กับอุตสาหกรรมยางพาราและสร้างมูลค่าให้กับสินค้าส่งออกได้มากยิ่งขึ้น หุ้นยางพารา: STA และ NER ในปี 2567 ที่ผ่านมา ราคายางพาราปรับตัวขึ้นมาก ด้วยราคาเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 174.3 เซนต์ต่อกิโลกรัม จากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัวอย่างเช่น จีน ซึ่งเป็นตลาดผู้บริโภคหลัก ประกอบกับอุปทานที่ค่อนข้างขาดแคลน โดยราคายางเฉลี่ย ณ ตลาด SICOM (Singapore Commodity Exchange) ถึงช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ยังคงสูงกว่า 190 เซนต์ต่อกิโลกรัม สะท้อนความต้องการใช้ยางจากอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ยังเติบโตต่อเนื่อง จากราคายางที่ปรับตัวขึ้นดังกล่าว ส่งผลดีต่อผู้ประกอบธุรกิจยางพารา ซึ่งบริษัทที่จดทะเบียนในตลาด ได้แก่ ศรีตรัง (STA) นอร์ทอีส (NER) ไทยอีสเทิร์น (TEGH) และ ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์ (TRUBB) โดย STA และ NER ถือเป็นผู้เล่นใหญ่ในกลุ่มหุ้นยางพารา ด้วยมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap) อยู่ที่ 24,268.8 ล้านบาท และ 9,128.2 ล้านบาท ตามลำดับ (อ้างอิงข้อมูล ณ วันที่ 27 ก.พ. 2568) โดย STA มีผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดและฐานรายได้สูง สะท้อนการเป็นผู้มีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ในอุตสาหกรรม ขณะที่ NER เน้นการเติบโตอย่างต่อเนื่องแบบมีเสถียรภาพ ซึ่งมีความผันผวนน้อยกว่า STA ทั้งในแง่รายได้และกำไร Net Profit ในที่นี้ คือ กำไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัท ในด้านผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) และ ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ (ROA) พบว่า NER โดดเด่นทั้งในเรื่อง การสร้างผลตอบแทนและการใช้สินทรัพย์น้อยกว่า ซึ่งหากวิเคราะห์ในโครงสร้างเงินทุนของบริษัทพบว่า NER มีสัดส่วนหนี้สินมากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น สะท้อนด้วยค่า D/E (Debt to Equity) ที่ 1.29 เท่าในปี 2567 ขณะที่ STA มีค่านี้ต่ำกว่าเล็กน้อยอยู่ที่ 1.2 เท่า ในปีเดียวกัน ด้านอัตราส่วนเงินปันผลตอบเเทน (Dividend yield) ของ NER โดดเด่นกว่า อยู่ที่ 7.36% ในปี 2567 ขณะที่ STA อยู่ที่ 5.52% ส่วนหนึ่งมาจากราคาหุ้นเทียบกับกำไรต่อหุ้น (P/E ratio) ของ STA ที่สูงถึง 70.56 เท่า สะท้อนการเป็นหุ้นที่เติบโตเร็ว จากผลการดำเนินงานและแผนขยายกำลังการผลิตเพื่อรองรับความต้องการยางพาราที่เติบโตต่อเนื่อง ดังนั้น เมื่อพิจารณาแล้ว หุ้น STA อาจเหมาะกับนักลงทุนมองหาหุ้นที่มีการเติบโตที่สะท้อนผ่านค่า P/E ที่สูง ส่วนหุ้น NER จะเป็นหุ้นที่เน้นความมีเสถียรภาพทั้งในด้านผลการดำเนินงาน ราคา และผลตอบแทน เหมาะกับนักลงทุนที่มองหาผลตอบแทนที่มั่นคง กลยุทธ์การเติบโตในปี 2568 ผู้เล่นในกลุ่มเน้นการเติบโตจากการขยายกำลังการผลิต เพื่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด ส่งผลต่อต้นทุนที่ลดลง รวมถึงการขยายฐานลูกค้าใหม่ในตลาดต่างประเทศ การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ อย่างเช่น กลุ่ม STA ตั้งเป้าขยายกำลังการผลิตติดตั้งสู่ 3.74 ล้านตันต่อปีภายใน 2568 จากกำลังการผลิต 2.62 ล้านตันต่อปีในปี 2560 ส่วน NER ขยายฐานลูกค้าไปในเกาหลีและอินเดีย เพื่อตอบสนองกับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงเน้นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น แผ่นปูกันกระแทกสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วย ปัจจัยเสี่ยง อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมยางพาราก็มีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเผชิญ จากภาวะเศษฐกิจ สภาพภูมิอากาศ ความท้าทายจากเทรนด์ความยั่งยืน โดยเฉพาะจากกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการต้ดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EU Deforestation Regulation : EUDR) ซึ่งกำหนดให้สินค้ายางพาราหรือผลิตภัณฑ์จากยางพาราที่ส่งไปสหภาพยุโรป ต้องผ่านการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของวัตถุดิบ ว่าไม่ได้มาจากพื้นที่ที่มีการตัดไม้ทำลายป่า ส่งผลต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ แต่ไทยเองก็มีความพร้อมมากกว่าประเทศคู่แข่ง ซึ่งข้อกำหนด EUDR เลื่อนการบังคับใช้จากสิ้นปี 2567 มาเป็นสิ้นปี 2568 ดังนั้น จากที่ไทยมีความพร้อมอยู่แล้ว ก็จะมีความพร้อมมากขึ้นสำหรับข้อกำหนดนี้ หมายเหตุ: การวิเคราะห์ข้างต้นเป็นการดูอัตราส่วนทางการเงินเบื้องต้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน รายละเอียดเพิ่มเติม ที่ https://app.visible.vc/shared-update/8901e23d-5940-4055-a7a5-e0cc315074dc

ส่งออกไทยโต 6 เดือนติด STA - TEGH – COCOCO รับโชค

ส่งออกไทยโต 6 เดือนติด STA - TEGH – COCOCO รับโชค

          หุ้นวิชั่น - บล.หยวนต้า ระบุว่า กระทรวงพาณิชย์รายงานยอดส่งออกเดือน ธ.ค. 24 เพิ่มขึ้น 8.7% YoY สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 7.4% YoY ได้แรงหนุนจากทุกหมวดหมู่สินค้า สินค้าเกษตร เติบโต 6 เดือนติดต่อกันที่ 10.7% YoY สินค้าที่ขยายตัวดีคือ ยางพาราเติบโต 14 เดือนติดต่อกันที่ 48.5% YoY, มันสำปะหลังโต 7.8% YoY, ไก่สดและแปรรูปที่เติบโต 3 เดือนติดต่อกัน 7.1% YoY สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร เติบโต 6 เดือนติดต่อกันที่ 6.7% YoY สินค้าที่ขยายตัวดีคือ ผลไม้กระป๋องโต 24.3% YoY, อาหารทะเลกระป๋องโต 14.2% YoY, และอาหารสัตว์เลี้ยงโต 15 เดือนติดต่อกันที่ 9.7% YoY โดยสินค้าที่เติบโตเด่นได้แก่ น้ำมะพร้าวที่เร่งตัว 73.8% YoY ขณะที่ยอดส่งออกน้ำมะพร้าวไปสหรัฐฯ เร่งตัวถึง 109.6% YoY ปี 2024 New High แต่... ปี 2025 เสี่ยงฐานสูงและ Trade War           ยอดส่งออกไทยทั้งปี 2024 ขยายตัว 5.4% YoY ทำสถิติสูงสุดใหม่ นับเป็นปัจจัยหนุนต่อ GDP 4Q24 และทั้งปี 2024 ที่มีกำหนดรายงานในวันที่ 19 ก.พ. 2025 อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกเริ่มชะลอตัวในบางหมวดสินค้า ซึ่งอาจสะท้อนถึงความเสี่ยงจากฐานที่สูงขึ้นในระยะถัดไป รวมถึงความเสี่ยงจากสงครามทางการค้า หลังประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ โดยได้เริ่มพิจารณาขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากเม็กซิโกกับแคนาดาในอัตรา 25% และเตรียมขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในอัตรา 10% แม้ว่านโยบายภาษีดูผ่อนคลายกว่าที่ตลาดคาดไว้ แต่ยังมีความไม่แน่นอนสูง และอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในระยะถัดไป ในเชิงกลยุทธ์ แนะนำเก็งกำไรระยะสั้นแบบ สินค้าอุตสาหกรรม เติบโต 9 เดือนติดต่อกันที่ 11.1% YoY สินค้าที่เติบโตดีคืออัญมณี, เครื่องคอมพิวเตอร์, เครื่องจักร, เครื่องปรับอากาศ, ผลิตภัณฑ์ยาง และเคมีภัณฑ์ Disclaimer: Selective ในหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการส่งออกที่ขยายตัว ได้แก่ กลุ่มยางพารา (STA, TEGH) และน้ำมะพร้าว (COCOCO)           นอกจากนี้เรามองว่ายอดส่งออกที่เติบโตดี คาดจะหนุนให้ GDP 4Q24 และทั้งปี 2024 เติบโตดีเช่นกัน ซึ่งจะเป็นบวกต่อ SET Index ในภาพรวม

หยวนต้า คาดSTAพลิกกำไร ทำระดับสูงสุดรอบ 11 ไตรมาส

หยวนต้า คาดSTAพลิกกำไร ทำระดับสูงสุดรอบ 11 ไตรมาส

หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง STA ว่า Cycle ขาขึ้นของธุรกิจพุ่งเริ่มต้น... ให้เป็น Top pick ปี 2025 คาดกำไรปกติ 4Q24 เร่งตัวขึ้นต่อที่ระดับสูงสุดรอบ 11 ไตรมาส ฝ่ายวิเคราะห์คาดกำไรปกติ 4Q24 ที่ 1.03 พันล้านบาท (+3.6% QoQ, พลิกจากขาดทุนปกติ 301 ล้านบาทใน 4Q23) ทำระดับสูงสุดรอบ 11 ไตรมาส ดีทั้งธุรกิจยางพาราและธุรกิจถุงมือยาง โดยธุรกิจยางจะเติบโตจากทั้งราคาขายเฉลี่ยที่คาดปรับขึ้นเป็น 67 บาท/กิโลกรัม (+1.5% QoQ) ตามทิศทางราคายางในตลาด SICOM ที่สูงขึ้น ขณะที่ปริมาณขายคาดที่ 4.0 แสนตัน (+6% QoQ, +29% YoY) โดยปริมาณขายยาง EUDR มีแนวโน้มดีกว่าที่เราประเมินไว้ก่อนหน้าว่าจะชะลอลง QoQ คาดที่ 6.0 หมื่นตันทรงตัว QoQ ได้ ขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบมีแนวโน้มทรงตัว QoQ ขณะที่ธุรกิจถุงมือยางคาดจะฟื้นตัวจากปริมาณขายที่สูงขึ้น และ U-rate ที่กลับมาที่ระดับ 85% จาก 77% ใน 2Q24 ส่วนราคาขายเฉลี่ยคาดปรับขึ้นสะท้อนราคาต้นทุน และค่าเงินบาทที่แข็งค่าเทียบกับ USD มากขึ้น ขณะที่ขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ที่เกิดขึ้นใน 3Q24 (Hedging ราคายาง) มีโอกาสขาดทุนลดลงหรือพลิกกลับเป็นกำไรจากแนวโน้มราคายาง SICOM ปัจจุบันที่ปรับลดลงจากระดับสูงในช่วงต้นไตรมาสที่ราว 215 Cent/กิโลกรัม กำไรปี 2025 จะเติบโตต่อจากทั้งธุรกิจยางพาราและถุงมือยาง ด้วยแนวโน้มปริมาณขายและราคาขายเฉลี่ยยางที่ดีกว่าที่เราประเมินไว้ก่อนหน้า เราจึงปรับประมาณการกำไรปกติปี 2024 ขึ้น 48% เป็น 2,551 ล้านบาท และเราคงกำไรปกติปี 2025 ที่ 3,842 ล้านบาท (+50.6% YoY) มีมุมมองบวกต่ออุตสาหกรรมยางที่อยู่ในรอบการเติบโต ตามทิศทางราคายางในตลาด SICOM ที่มีแนวโน้มปรับขึ้นต่อ YoY จากความต้องการที่ดีขึ้น ขณะที่อุปทานอยู่ในช่วงหดตัว ทั้งในไทยและอินโดนีเซีย ขณะที่ธุรกิจถุงมือยางเราคาดว่าจะได้ประโยชน์หาก Trade War เกิดขึ้น จากคำสั่งซื้อที่จะย้ายจากจีนและมาเลเซีย (บริษัทบางส่วนเจ้าของเป็นคนจีน) มาไทยแทน หนุนทั้งปริมาณขายและราคาขายเฉลี่ยให้มีโอกาสปรับขึ้น ยาง EUDR ปริมาณขายยังมีแนวโน้มทรงตัวได้และคาดเร่งตัวขึ้นใน 2H68 ขณะที่การบังคับใช้กฎ EUDR ในปี 2026 จะหนุนปริมาณขายยาง EUDR ทยอยสูงขึ้นตั้งแต่ 2H25 เป็นต้นไป หนุน Product Mix และ GPM ส่วนใน 1H25 คาดปริมาณขายยาง EUDR จะทรงตัวใกล้เคียงกับ 2H24 ที่ราว 5.0 – 6.0 หมื่นตัน/ไตรมาส แม้กฎดังกล่าวจะเลื่อนไปก็ตาม คาดเงินปันผลจ่ายที่ 1.50 บาท Div. Yield 8% ฝ่ายวิเคราะห์คงคำแนะนำ "ซื้อ" ด้วยราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2025 ที่ 33.70 บาท (อิง PBV 1.04 เท่า) เลือกให้เป็นตัวเลือกเด่นสำหรับกลุ่มเกษตรปี 2025 โดยราคาปัจจุบันซื้อขายที่ P/BV 68 เพียง 0.54 เท่า น้อยกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีในอดีตที่ 0.80 เท่า และยัง Laggard มากเมื่อเทียบกับสถานการณ์ราคายาง SICOM เท่ากันในอดีต คาดเงินปันผลจ่ายงวดปี 2024 ที่ 1.50 บาท หรือคิดเป็น Div. Yield 8.4%

Sri Trang Group  คว้ารางวัล “สถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข”

Sri Trang Group คว้ารางวัล “สถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข”

          หุ้นวิชั่น - กลุ่มบริษัทศรีตรัง ประกอบด้วย บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA และ บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ STGT ชูความสำเร็จเป็นบริษัทชั้นนำที่ห่วงใยพนักงาน รับรางวัล “สถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข” ระดับประเทศ ประจำปี 2567 โดยได้รับเกียรติจาก นายแพทย์ดิเรก  ขำแป้น (ลำดับที่หกจากซ้าย) รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดย STA&STGT สามารถคว้ารางวัลระดับโล่ทอง 8 รางวัล และระดับโล่เงินอีก 2 รางวัล จากการดำเนินนโยบายผ่านกิจกรรมปลอดโรค กิจกรรมปลอดภัย และกิจกรรมสุขภาพจิต รวมถึงนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงาน           นายวีรสิทธิ์ สินเจริญกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่และกรรมการบริหาร บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA เปิดเผยว่า กลุ่มบริษัทศรีตรัง ในฐานะผู้นำธุรกิจยางธรรมชาติครบวงจรรายใหญ่ที่สุดของโลกและผู้ผลิตถุงมือยางอันดับหนึ่งของประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ภายในสถานที่ทำงาน เพื่อสร้างมาตรฐานที่ดีในด้านสุขภาพและความปลอดภัย รวมถึงสร้างความสุขในการทำงาน           ทั้งนี้  บริษัทฯ มีการดำเนินนโยบายเพื่อให้เป็นสถานประกอบการปลอดโรคและมีความปลอดภัย ผ่านการจัดกิจกรรมหลัก 3 ด้าน และดำเนินการสื่อสารอย่างทั่วถึงทั้งองค์กรผ่านการจัด Moring Talk และ Safety Talk เพื่อสื่อสารอย่างทั่วถึง ได้แก่ 1) “กิจกรรมปลอดโรค” โดยมีการจัดโครงการเผ้าระวังและคัดกรองโรคระบาดในแต่ละช่วงเวลา มุ่งเน้นการเฝ้าระวังและประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงการดำเนินโครงการต่างๆ เช่น ลดพุง ลดอ้วน, ลด ละ เลิก บุหรี่, กีฬายามเย็น, การรณรงค์โภชนาการในมื้ออาหาร และยืด เหยียด กล้ามเนื้อ 2) “กิจกรรมปลอดภัย” โดยการเตรียมความพร้อมในสถานการณ์ต่างๆ เช่น การซ้อมแผนอพยพหนีไฟ สารเคมีรั่วไหล, แผนรับมือการโจรกรรม เพื่อให้สามารถเอาตัวรอดจากเหตุการณ์ต่างๆ, การจัดอบรมให้ความรู้, สร้างความตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงาน, สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการทำงาน และ 3) “กิจกรรมสุขภาพจิต” โดยการจัดตั้งศูนย์สุขภาพดีในที่ทำงาน, จัดแข่งกีฬาฟุตบอลยามเย็น, สร้างความตระหนักว่าสุขภาพจิตเป็นสิ่งที่ดูแลได้, จัดกิจกรรมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, จัดหาอุปกรณ์ออกกำลังกาย และจัดกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ เพื่อให้พนักงานได้มีกิจกรรมร่วมกัน สร้างความสามัคคีและสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน           จากความมุ่งมั่นดังกล่าว ล่าสุด บริษัทฯ ได้รับรางวัล “สถานประกอบการ ปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข” ระดับประเทศ ประจำปี 2567 จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข  ประเภทโล่ทองจำนวน 8 รางวัล ได้แก่ 1) บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ 2) สาขาตรัง 3) บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) สาขากาฬสินธุ์ 4) สาขานราธิวาส 5)สาขาสิเกา พร้อมด้วยบริษัทในเครือ ได้แก่ 6) บริษัท รับเบอร์แลนด์โปรดักส์ จำกัด สำนักงานใหญ่ 7) บริษัท หน่ำฮั่วรับเบอร์ จำกัด โรงงานยางแท่ง 8) บริษัท หน่ำฮั่วรับเบอร์ จำกัด สาขาน้ำยางข้น นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้รับรางวัลประเภทโล่เงินจำนวน 2 รางวัล ประกอบด้วย 1) บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) สาขากาญจนดิษฐ์ และ 2) บริษัท รับเบอร์แลนด์โปรดักส์ จำกัด สาขาบุรีรัมย์ แสดงถึงการเป็นสถานประกอบการที่มีมาตรฐานการปลอดโรคและความปลอดภัยที่ดี ช่วยส่งเสริมความสุขในการทำงานแก่พนักงาน           นอกจากนี้ ภายในงานมอบรางวัล ผู้แทนบริษัทฯ ได้เข้าร่วมการเสวนา TED Talks ภายใต้หัวข้อ “ถอดรหัสความสำเร็จสถานประกอบการ ปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข” พร้อมร่วมออกบูธภายในงาน เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการสถานประกอบการให้ปลอดโรคและมีความปลอดภัย รวมถึงส่งเสริมสร้างความสุขในสถานที่ทำงาน ซึ่งจะทำให้พนักงานทำงานด้วยสุขภาพจิตที่ดี มีความสุขและเกิดประสิทธิภาพ [PR News]

abs

ปตท. แข็งแกร่งร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

[ภาพข่าว] STA กวาดรางวัล CSR-DIW รวม 28 โรงงาน สะท้อนการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน

[ภาพข่าว] STA กวาดรางวัล CSR-DIW รวม 28 โรงงาน สะท้อนการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน

          กลุ่มบริษัทศรีตรัง หรือ Sri Trang Group ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคม โดยผู้แทนจากโรงงาน 28 แห่ง ประกอบด้วย 1) ประเภทรางวัล CSR-DIW Continuous Awards ต่อเนื่อง 10 ปี ได้แก่ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA สาขาสิเกาและสาขาทุ่งสง 2) ประเภทรางวัล CSR-DIW Continuous Awards ได้แก่ บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี สาขาชุมพร, สาขาสุราษฎร์ธานี, สาขากาญจนดิษฐ์, สาขาห้วยนาง, สาขาตรัง, สาขาพิษณุโลก, สาขาเลย, สาขาสกลนคร, สาขาอุบลราชธานี, สาขาสระแก้ว, สาขากาฬสินธุ์ พร้อมด้วยบริษัทในเครือ ได้แก่ บริษัท หน่ำฮั่วรับเบอร์ จำกัด และบริษัทรับเบอร์แลนด์โปรดักส์ จำกัด สำนักงานใหญ่ และสาขาบึงกาฬ โรงงานยางแท่ง, สาขาบุรีรัมย์, สาขามุกดาหาร 3) ประเภทรางวัล CSR-DIW Awards ได้แก่ บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี สาขาเชียงราย, สาขานราธิวาส, สาขาปัตตานี พร้อมด้วยบริษัทในเครือ ได้แก่ บริษัท รับเบอร์แลนด์โปรดักส์ จำกัด  สาขาบึงกาฬ โรงงานน้ำยางข้น และ บริษัท หน่ำฮั่วรับเบอร์ จำกัด โรงงานน้ำยางข้น อีกทั้ง บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ STGT เข้ารับโล่รางวัล ประกอบด้วย 1) ประเภทรางวัล CSR-DIW Continuous Awards ได้แก่ สาขาหาดใหญ่, สาขาพีเอสสะเดา, สาขาตรัง และสาขาสุราษฎร์ธานี 2) ประเภทรางวัล CSR-DIW Awards ได้แก่ สาขาชุมพร ภายใต้ “โครงการส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน เพื่อเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและจัดการสิ่งแวดล้อมของเมืองอย่างยั่งยืน” หรือ “CSR-DIW to BCG model for Three Pillars of Sustainability” จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่มอบให้แก่สถานประกอบการและโรงงานอุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างครบถ้วนและต่อเนื่อง เพื่อสร้างสมดุลแก่เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และร่วมสร้างสังคมที่น่าอยู่เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยางพาราของไทยสู่อุตสาหกรรมสีเขียวอย่างยั่งยืน โดยกลุ่มบริษัทศรีตรังได้ดำเนินโครงการที่มีความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืนต่อเนื่อง อาทิเช่น การผลิตยางคุณภาพดี สร้างสุข ภายใต้โครงการศรีตรังเพื่อนชาวสวน, กิจกรรมสะเต็มศึกษา (STA STEM STUDENT), S-Brick “อิฐยั่งยืน อิฐรักษ์โลก” สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการศรีตรัง ศรีบ้าน ศรีเมือง เป็นต้น อีกทั้งบริษัทฯ มีแนวทางในการดำเนินงานที่ครอบคลุมการพัฒนา 6 ด้านสำคัญ ได้แก่ 1) ด้านเด็กและเยาวชน 2) ด้านศิลปวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น 3) ด้านการพัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ 4) ด้านสิ่งแวดล้อม 5) ด้านสุขภาพและอาชีวอนามัยที่ดี และ 6) ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติและกลุ่มผู้เปราะบาง โดยพิธีมอบรางวัลดังกล่าวจัดขึ้น ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี เมื่อเร็วๆ นี้

STA กำไรปี68โตต่อ แนะ

STA กำไรปี68โตต่อ แนะ "ซื้อ" เคาะพื้นฐาน 22.25 บ.

หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี –STA มองกําไรปี 2568 โตต่อเนื่อง EUDR หรือ เกณฑ์ EU Deforestation-free Products Regulation การตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของวัตถุดิบของหลายสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงยางซึ่งเดิมจะเริ่มบังคับใช้ปลายปี 2567 และในต้นเดือน ต.ค. 2567 มีการประกาศเลื่อนการใช้เกณฑ์ EUDR ออกไป 1 ปี เป็นปลายปี 2568 ทางฝ่ายมองการ เลื่อน EUDR เป็น Sentiment เชิงลบต่อ Supply ในระยะสั้น เนื่องจากกลุ่มลูกค้า โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยางล้อแบรนด์ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย ชะลอการสั่งซื้อ อย่างไรก็ตามผู้บริหาร STA แจ้งการ เลื่อน EUDR ไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยส าคัญ นอกจากนี้ทางฝ่ ายคาดปริมาณขายยาง EUDR เร่งตัวขึ้นในช่วง 2H68 เพื่อเตรียมส่งมอบวัตถุดิบในปี 2569 ส าหรับ Demand (ยาง EUDR และ Non- EUDR) ในปี 2568 คาดขยายตัวจาก 1) การเร่งซื้อวัตถุดิบเพื่อไปสต๊อกก่อนการบังคับใช้ของกฎEUDR จากลูกค้าผู้ผลิตยางล้อ2) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก 3) การขยายตัวของอุตสาหกรรมขั้นปลาย เช่นอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลก โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าในจีนและยุโรป , ถุงมือยาง , อุปกรณ์การแพทย์ และ 4)แนวโน้มราคานheมันต้นปี 2568 คาดทรงตัวอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตยางสังเคราะห์สูง ผู้ผลิตหันมาใช้ยางธรรมชาติมากขึ้น สeหรับสถานการณ์ราคายางพาราในตลาด SICOM ที่ผ่านมา พบว่าราคายางแท่ง (STR20) ปรับตัวสูงขึ้น ทางฝ่ายมีมุมมองเชิงบวกต่อ อุตสาหกรรมยางพาราในปี 2568 เหตุจากราคายางพาราในตลาด SICOM มีแนวโน้มสูงขึ้น ได้รับปัจจัยบวกจากความต้องการยางธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น ทางฝ่ ายคาดในปี 2568 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ1,356 ล้านบาท โต 29.1% y-y มีแรงหนุนจาก 1) แนวโน้มการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคายางพาราคาในตลาด SICOM จากการเร่งตัวของความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ยางแท่ง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์2) การขยายตัวของ Demand ผลิตภัณฑ์น้ำยางข้นในอุตสาหกรรมถุงมือยาง ตามทิศทางความต้องการใช้ถุงมือยางและผลิตภัณฑ์ยางทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากก ลังการผลิตส่วนเกินตามการเร่งขยายกำลังการผลิตในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดโรค COVID-19 เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา 3) คาดแนวโน้มค่าเงินบาทอ่อนในช่วง 1H68 คาด Demand เพิ่ม แม้เลื่อน EUDR เกณฑ์ EU Deforestation-free Products Regulation (EUDR) คือ การตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของวัตถุดิบของหลายสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงยางที่จะต้องมาจากพื้นที่ปลอดจากตัดไม้ทำลายป่าและ ไม่รุกล้าพื้นที่ป่าสงวน ซึ่งเดิมจะเริ่มบังคับใช้ปลายปี 2567 และในต้นเดือน ต.ค. 2567 มีการประกาศเลื่อนการใช้เกณฑ์ EUDR ออกไป 1 ปี เป็ นปลายปี 2568 ทางฝ่ายมองการเลื่อน EUDR เป็นSentiment เชิงลบต่อ Supply ในระยะสั้น เนื่องจากกลุ่มลูกค้า โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยางล้อแบรนด์ญี่ปุ่ น จีน และอินเดีย ชะลอการสั่งซื้อยาง EUDR อย่างไรก็ตามผู้บริหาร STA แจ้งการเลื่อน EUDR ไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจาก STA ยังคงมีคำสั่งซื้อยาง EUDR จากผู้ผลิตยางล้อรถยนต์รายใหญ่ นอกจากนี้ทางฝ่ายคาดปริมาณขายยาง EUDR เร่งตัวขึ้นในช่วง 2H68 เพื่อเตรียมส่งมอบวัตถุดิบในปี 2569 คาดกำลังการผลิตยาง EUDR ในครึ่งหลังของปี 2568 อยู่ที่ประมาณ 84,400 ตันต่อไตรมาส หรือ 20% ของกำลังการผลิต ส าหรับ Demand (ยาง EUDR และ Non-EUDR) ในปี 2568 คาดขยายตัวจาก 1) การเร่งซื้อวัตถุดิบเพื่อไปสต๊อกก่อนการบังคับใช้ของกฎ EUDR จากลูกค้าผู้ผลิตยางล้อ 2) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก 3) การขยายตัวของอุตสาหกรรมขั้นปลาย เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลก โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าในจีนและยุโรป , ถุงมือยาง , อุปกรณ์การแพทย์ และ 4) แนวโน้มราคาน้ำมันต้นปี 2568 คาดทรงตัวอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตยางสังเคราะห์สูง ผู้ผลิตหันมาใช้ยางธรรมชาติมากขึ้น มองกำไรปี 2568 โตต่อเนื่อง จากสถานการณ์ราคายางพาราในตลาด SICOM ที่ผ่านมา พบว่าราคายางแท่ง (STR20) ปรับตัวสูงขึ้น โดย 11 เดือนแรกของปี 2567 ค่าเฉลี่ยราว 165-170 Cent/kg ทางฝ่ายมีมุมมองเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมยางพาราในปี 2568 เหตุจากราคายางพาราในตลาด SICOM มีแนวโน้มสูงขึ้น ทางฝ่ายประมาณการราคายางพาราในตลาด SICOM ปี 2568 มีค่าเฉลี่ยราว 175-180 Cent/kg โดยปรับตัวสูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยของปี 2567 ได้รับปัจจัยหนุนจากความต้องการยางธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น ตามการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ต้องใช้ยางส าหรับผลิตยางล้อ (Tires) ซึ่งเติบโตตามการฟื้ นตัวของเศรษฐกิจโลกหลังสถานการณ์ COVID-19 และการขยายตัวของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ราคาพื้นฐานปี 68 ที่ 22.25 บาท/หุ้น อิงวิธี DCF ทางฝ่ายประเมินราคาหุ้น โดยใช้ DCFอยู่ที่ 22.25 บาท เนื่องจากเป็นบริษัทฯ ที่มั่นคงและเป็นบริษัทฯที่ใหญ่ ทางฝ่ายคาดปี 2567 มีกำไรสุทธิ 1,050 ล้านบาท เติบโต 341.7% y-y และคาดในปี 2568บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 1,356 ล้านบาท โต 29.1% y-y หนุนจากความต้องการยางพาราที่เพิ่มสูงขึ้น ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์และตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (EV)ทางฝ่ายคาดราคาพื้นฐานปี 68 อยู่ที่ 22.25 บาท/หุ้น ราคาหุ้นปัจจุบันยังต่ำกว่าราคาพื้นฐาน คงคำแนะนำ “ซื้อ”

STA คว้าหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ระดับ AAA ต่อเนื่อง 2 ปีซ้อน

STA คว้าหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ระดับ AAA ต่อเนื่อง 2 ปีซ้อน

           หุ้นวิชั่น - “บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี” (“STA” หรือ “บริษัทฯ”) ได้รับคัดเลือกเป็นหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ที่ระดับ “AAA” ซึ่งเป็นระดับสูงสุดปีที่ 2 ติดต่อกัน ตอกย้ำมาตรฐานและการมุ่งเน้นดำเนินธุรกิจยางพาราครบวงจรสอดคล้องตามหลัก ESG พร้อมเดินหน้ายกระดับแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานสากล พัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง            นายวีรสิทธิ์ สินเจริญกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่และกรรมการบริหาร บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA ผู้นำธุรกิจยางธรรมชาติครบวงจรรายใหญ่ที่สุดของโลกและผู้ผลิตถุงมือยางอันดับหนึ่งของประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯ ประสบความสำเร็จได้รับการประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ในหมวดเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (Agro & Food Industry) ที่ระดับ “AAA” จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นการผ่านเกณฑ์การประเมินที่ระดับสูงสุดเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน และนับเป็นปีที่ 10 ที่ได้รับประเมินเป็นหุ้นยั่งยืน            การได้รับประเมินหุ้นยั่งยืนที่ระดับ AAA ครั้งนี้ ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการรักษามาตรฐานและขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนได้ครบทุกมิติ ทั้งนี้ ในรอบปี 2567 บริษัทฯ ได้ขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนภายใต้นโยบายด้านความยั่งยืนขององค์กรซึ่งสอดคล้องกับหลัก ESG อาทิ มิติสิ่งแวดล้อม (Environmental) บริษัทฯ มีการบริหารจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและพลังงานโดยมุ่งเน้นการใช้ระบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุด ใช้ประโยชน์จากของเสียและวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดคาร์บอนต่ำ (Low-Carbon Technologies)  เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero Emissions) ของบริษัทฯ มิติสังคม(Social) บริษัทฯ เคารพ ปกป้อง และปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนและการไม่เลือกปฏิบัติ ตลอดจนยึดถือเจตนารมณ์ของอนุสัญญา 8 ฉบับ ขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization: ILO)  มีการดูแลและพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาชุมชนอย่างมีส่วนร่วมสร้างคุณค่าผ่านโครงการต่างๆ ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านเด็กและเยาวชน ด้านการพัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ ด้านสุขภาพอนามัย ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติและผู้ด้อยโอกาส ด้านศิลปะวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น และด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่ดี และมิติการกำกับดูแลกิจการและเศรษฐกิจ (Governance) บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและโปร่งใส ส่งเสริมการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันทุกรูปแบบ ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ไปจนถึงการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน บริษัทฯ สนับสนุนและส่งเสริมเกษตรกรชาวสวนยาง ให้มีความรู้ในการทำยางพาราที่มีคุณภาพ มาตรฐานที่ดี อีกทั้ง บริษัทฯ ยังสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับ (Traceability) ของผลิตภัณฑ์ได้ตั้งแต่แหล่งที่มาจนถึงปลายทาง เป็นต้น            “ถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวศรีตรังที่ได้รับการประเมินหุ้นยั่งยืนที่ระดับสูงสุดอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ มุ่งมั่นรักษามาตรฐานและพัฒนาแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เพื่อนำพาบริษัทฯ เติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาวไปพร้อมกับการดูแลสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้นำองค์กรแห่งยางสีเขียวแบบครบวงจรอย่างยั่งยืนตลอดไป” นายวีรสิทธิ์ กล่าว [PR News]

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

STA โตแรง Q3 กำไรสุทธิ 517.3 ลบ. ยอด EUDR สูงขึ้นหนุน Q4 พุ่งต่อ

STA โตแรง Q3 กำไรสุทธิ 517.3 ลบ. ยอด EUDR สูงขึ้นหนุน Q4 พุ่งต่อ

          “บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี” (“STA” หรือ “บริษัทฯ”) โชว์ผลงานโดดเด่นในไตรมาส 3/2567 ทำกำไรสุทธิ 517.3 ล้านบาท พุ่งแรง 226.1% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีรายได้จากการขายและบริการ 31,618.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 87.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รับปริมาณขายยางธรรมชาติรวมทะลุ 3.8 แสนตัน เพิ่มขึ้นถึง 53.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และราคาขายยางธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 6 ไตรมาส ส่งผลให้ 9 เดือนแรกของปีนี้ มีรายได้จากการขายและบริการ 81,116.9 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 816.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29.7% และพลิกกลับมาทำกำไรจากช่วงเดียวกันของปีก่อน มองไตรมาสสุดท้ายโตต่อเนื่อง คาดการณ์ปริมาณการขายเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงประเมินราคาขายยางมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก หลังขยับขึ้นในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา           นายวีรสิทธิ์ สินเจริญกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่และกรรมการบริหาร บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA ผู้นำธุรกิจยางธรรมชาติครบวงจรรายใหญ่ที่สุดของโลกและผู้ผลิตถุงมือยางอันดับหนึ่งของประเทศไทย เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567 เติบโตอย่างแข็งแกร่งจากปริมาณการขายยางธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และราคาขายยางเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูง โดยบริษัทฯ มีรายได้จากการขายและบริการ 31,618.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 517.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 226.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมาจากปริมาณการขายยางธรรมชาติรวมทุกประเภทที่เพิ่มขึ้นเป็น 380,565 ตัน เพิ่มขึ้นถึง 53.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 15.5% จากไตรมาสก่อนหน้า และเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 4 ไตรมาสติดต่อกัน ประกอบกับราคายางเฉลี่ยอยู่ที่ 186.2 เซนต์ต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 30% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 6 ไตรมาส รวมถึงปริมาณซัพพลายยางเข้าสู่ตลาดอยู่ในระดับที่ดีจากการเปิดฤดูกาลกรีดยางได้ตามปกติ นอกจากนี้ กำไรขั้นต้นรวมอยู่ที่ 10.4% ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 8.8% ในปีก่อน เนื่องจากการผสมผสานยอดขายยาง EUDR เข้ากับยางธรรมชาติทั่วไปที่หนุนกำไรเติบโตโดดเด่น อย่างไรก็ดี ธุรกิจถุงมือยางชะลอตัวลงในไตรมาส 3/2567 จากผลกระทบของค่าเงินบาทแข็งอย่างรวดเร็ว แต่มีสัญญาณที่ดีจากปริมาณการขายที่เติบโตถึง 26.3% จากปีก่อน           ขณะที่ภาพรวมผลการดำเนินงานช่วง 9 เดือนแรกปี 2567 เติบโตได้ดีเช่นเดียวกัน โดยมีรายได้จากการขายและบริการ 81,116.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29.7% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 816.0 ล้านบาท พลิกจากผลขาดทุนในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปริมาณการขายยางธรรมชาติทุกประเภทรวม 1.0 ล้านตัน นายวีรสิทธิ์ กล่าวต่อว่า แนวโน้มผลการดำเนินงานไตรมาส 4/2567 คาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งคาดการณ์ปริมาณการขายยางธรรมชาติและราคาขายยางเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยภายหลังจากที่รัฐบาลจีนออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคายางแท่ง ณ ตลาด SICOM พุ่งสูงสุดแตะ 218.7 เซนต์ต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาสูงสุดในรอบ 7 ปี           นอกจากนี้ มาตรการดังกล่าวยังคาดว่าจะส่งผลดีต่อดีมานด์ในอุตสาหกรรมยางธรรมชาติ ส่วนสถานการณ์ความต้องการยาง EUDR บริษัทฯ ยังคงมีคำสั่งซื้อล่วงหน้าในไตรมาส 4/2567 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอความชัดเจนจากสหภาพยุโรปว่าจะเลื่อนการบังคับใช้กฎหมาย EUDR หรือไม่ จากกำหนดเดิมที่จะเริ่มบังคับใช้ในสิ้นปี 2567 ซึ่งมีผลให้การส่งออกยางธรรมชาติและผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากยางธรรมชาติไปยังทวีปยุโรปต้องผ่านการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) แหล่งที่มาของผลผลิต เพื่อแสดงว่าไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่าและไม่ได้อยู่ในพื้นที่บุกรุกป่า           ในด้านทิศทางอุตสาหกรรมยางในอนาคต คาดว่าแนวโน้มของอุปทานยางพาราจะอยู่ในระดับทรงตัวหรือลดลง ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ควรจับตามอง คือความต้องการใช้ยางในอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งบริโภคยางธรรมชาติถึงร้อยละ 90 ของการบริโภคทั้งหมด จึงมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางราคายางธรรมชาติในอนาคต [PR News]

[ภาพข่าว] STA ผนึก ม.อ. MOU ยกระดับการศึกษาไทย

[ภาพข่าว] STA ผนึก ม.อ. MOU ยกระดับการศึกษาไทย

          บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA ร่วมยกระดับการศึกษาของไทยเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้แก่ประเทศ รองรับแผนยุทธศาสตร์ชาติ Thailand 4.0 ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ นำโดย นางสาวนุชนาถ ไชยรัตน์ (ที่สามจากซ้าย) ผู้จัดการสายงานทรัพยากรมนุษย์ พร้อมด้วยนางจิราพร หน่อสกุล (ที่สองจากซ้าย) Corporate – HRBP Manager บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี ลงนามในบันทึกความเข้าใจทางวิชาการ (MOU) “โครงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหลักสูตรกับสถานประกอบการ” ร่วมกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ (ที่สามจากขวา) อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) พร้อมทีมงานผู้บริหาร ร่วมเป็นเกียรติและสักขีพยาน ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อเร็วๆนี้ เพื่อร่วมผลิตและออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education : CWIE)  โดยผสมผสานการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเข้ากับประสบการณ์ที่จะได้รับจากการฝึกงานกับบริษัทฯ เพื่อร่วมกันพัฒนาศักยภาพนักศึกษาจบใหม่ที่เปรียบเสมือนฟันเฟืองหลักสำคัญในอนาคตของประเทศให้มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานภาคใต้และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) โดย STA พร้อมให้การสนับสนุนนักศึกษาจากคณะวิทยาการจัดการ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ. ให้ได้เรียนรู้การปฎิบัติงานกับสถานการณ์จริง รู้จักประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริง และออกแบบการวัดประเมินผลการเรียนรู้ร่วมกันกับบริษัทฯ เพื่อร่วมกันผลิตนักศึกษาที่มีคุณภาพซึ่งจะเพิ่มศักยภาพและสร้างมาตรฐานของบัณฑิตจบใหม่ให้ดียิ่งขึ้น พร้อมเริ่มทำงานได้ทันทีและเพิ่มโอกาสได้รับงานที่รวดเร็วยิ่งขึ้น สอดคล้องกับแนวทางด้าน ESG ของ STA ที่พร้อมดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสังคม สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ (ESG) ที่กลุ่มบริษัทศรีตรังให้ความตระหนักและให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเพื่อสานต่อวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลประกอบกับเจตนารมณ์แห่งการเติบโตอย่างยั่งยืน

บล.กรุงศรี เล็ง STA กำไร Q3 ดีสุดรอบ 7 ไตรมาส

บล.กรุงศรี เล็ง STA กำไร Q3 ดีสุดรอบ 7 ไตรมาส

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.กรุงศรี มอง STA "Slightly positive" ต่อแนวโน้ม 3Q24F คาดที่ 850 ลบ. (พลิกจากขาดทุน y-y, +35% q-q) ดีที่สุดในรอบ 7 ไตรมาส ปัจจัยหนุนจาก i) ราคายาง SICOM 3Q24 เฉลี่ยเพิ่มขึ้น +33% y-y, +5% q-q ii) คาดรายได้จากธุรกิจถุงมือยางเติบโตจากความต้องการเพิ่มขึ้น iii) คาด GPM ที่ 12.5% เพิ่มขึ้น y-y, q-q (vs. 8.8%/12.2% ใน 3Q23/2Q24) จากสัดส่วนการขายยาง EUDR ที่มี GPM สูงกว่ายาง Non-EUDR เพิ่มขึ้น สำหรับโมเมนตัม 4Q24F คาดกำไรสุทธิลดลง q-q เพราะคาดว่าลูกค้าจะชะลอการเร่งสั่งซื้อยาง จากแนวโน้มการเลื่อนการบังคับใช้ยาง EUDR ออกไป 12 เดือน จึงยังคงคำแนะนำ Trading Buy TP25F 22.20 บ.

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011