ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#SIAM AI


บีโอไอไฟเขียวลงทุน 1.7 แสนล. พบ TikTok เตรียมลงทุน 1.26แสนล้าน

บีโอไอไฟเขียวลงทุน 1.7 แสนล. พบ TikTok เตรียมลงทุน 1.26แสนล้าน

          บอร์ดบีโอไอ ประเดิมปี 68 อนุมัติโครงการลงทุนกว่า 1.7 แสนล้านบาท บิ๊กโปรเจกต์ TikTok และ Siam AI โดย TikTok จะลงทุนติดตั้ง Server และอุปกรณ์ต่าง ๆ ใน Data Center ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อใช้ในการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และฉะเชิงเทรา มูลค่าลงทุนรวม 126,790 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าส่งเสริมกิจการเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) และนิคมอุตสาหกรรมชีวภาพ เร่งขับเคลื่อน 5 ยุทธศาสตร์ ดึงลงทุนปี 2568 ผลักดันไทยขึ้นแท่นฐานอุตสาหกรรมชั้นนำระดับโลก           นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนนัดแรกของปี 2568 ที่มี นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุน 3 โครงการสำคัญ มูลค่าลงทุนรวมกว่า 1.7 แสนล้านบาท ประกอบด้วยกิจการโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลขนาดใหญ่ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการ Data Hosting ของบริษัทในเครือ TikTok Pte. Ltd. ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มวิดีโอคอนเทนต์ยอดนิยม โดยจะลงทุนติดตั้ง Server และอุปกรณ์ต่าง ๆ ใน Data Center ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อใช้ในการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และฉะเชิงเทรา มูลค่าลงทุนรวม 126,790 ล้านบาท และกิจการ AI Cloud Service ของบริษัท สยาม เอไอ คอร์เปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทไทยรายแรกที่ได้รับเลือกให้เป็น NVIDIA Cloud Partner (NCP) จะตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรีและปทุมธานี มูลค่าลงทุนรวม 3,250 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังได้อนุมัติโครงการลงทุนผลิตโพแทสเซียมคลอไรด์ ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตปุ๋ย ของบริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด จะตั้งอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี มูลค่าลงทุนรวม 40,400 ล้านบาท                     “ปี 2567 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับการลงทุนในอุตสาหกรรมดิจิทัลจำนวนมาก โดยเฉพาะในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานสำคัญอย่าง Data Center และ Cloud Service โดยบริษัทชั้นนำจากทั้งสหรัฐอเมริกา จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และไทย รวม 16 โครงการ เงินลงทุนรวมกว่า 240,000 ล้านบาท ถือเป็นอุตสาหกรรมที่ลงทุนสูงเป็นอันดับหนึ่ง สำหรับในปีนี้ คาดว่าจะมีบริษัทชั้นนำระดับโลกตัดสินใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับความต้องการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในไทยและภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะจากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของ AI รวมทั้งการจัดเก็บและประมวลผล Big Data การลงทุนของทั้งสองโครงการนี้จึงเป็นอีกก้าวสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยสู่การเป็น Digital Hub ของภูมิภาค” นายนฤตม์ กล่าว ดึงศักยภาพการเกษตร - หนุนลงทุนอุตสาหกรรมชีวภาพ           นอกจากนี้ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจชีวภาพ รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการลงทุนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบทางการเกษตรในประเทศมากขึ้น บอร์ดบีโอไอ ได้มีมติเห็นชอบ ดังนี้ 1. เปิดส่งเสริม “กิจการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel หรือ SAF)” ซึ่งใช้ผลผลิตทางการเกษตร เศษวัสดุหรือของเสียจากการเกษตร เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยาน จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ถึงร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และกำลังจะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ของเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยานระหว่างประเทศ โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี และ “กิจการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืนแบบผสม” ซึ่งจะนำ SAF มาผสมกับเชื้อเพลิงอากาศยานทั่วไป (JET Fuel) เพื่อให้สามารถนำมาใช้กับเครื่องบินพาณิชย์ได้ทันที โดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี 2. ปรับปรุงกิจการนิคมหรือเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ให้เป็น “กิจการนิคมหรือเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพ” เพื่อให้มีขอบข่ายธุรกิจที่กว้างขึ้น ครอบคลุมทั้งด้านเกษตร อาหาร พลังงานทดแทน และบริการสนับสนุน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรม BCG โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี เร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนปี 2568 มุ่งสู่ Hub 5 ด้าน           บอร์ดบีโอไอ ยังได้เห็นชอบแผนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนปี 2568 โดยมุ่งยกระดับประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาคใน 5 ด้านสำคัญที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูง ได้แก่ ศูนย์กลางอุตสาหกรรมด้าน BCG (Bio-Circular-Green Industries Hub) ศูนย์กลางเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Tech Hub) ซึ่งจะครอบคลุมหลายสาขา เช่น รถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และดิจิทัล ศูนย์รวมบุคลากรทักษะสูงจากทั่วโลก (Talent Hub) ศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์และธุรกิจระหว่างประเทศ (Logistics & International Business Hub) และศูนย์กลางอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Soft Power and Creative Hub)           นายนฤตม์ กล่าวว่า สถานการณ์ความผันผวนของโลก อันเนื่องมาจากปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ และวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของประเทศไทยในการ ช่วงชิงฐานการลงทุน บีโอไอจึงได้มีแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนในปี 2568 เพื่อเร่งเปลี่ยนผ่านประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นฐานผลิตของอุตสาหกรรมชั้นนำระดับโลก และพร้อมรับกระแสการโยกย้ายเงินลงทุนระหว่างประเทศที่จะเพิ่มสูงขึ้น โดยมีแผนดำเนินงาน 5 ด้านสำคัญ ดังนี้ 1) เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและดึงการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยมุ่งดึงดูดการลงทุนใน 5 อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย อุตสาหกรรม BCG, ยานยนต์ไฟฟ้า (xEV), เซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง, ดิจิทัล และกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ ด้วยการบูรณาการผ่านคณะกรรมการระดับชาติ ทั้งบอร์ดอีวี บอร์ดเซมิคอนดักเตอร์ และคณะกรรมการสิทธิประโยชน์ด้านซอฟต์พาวเวอร์ รวมถึงการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อดึงดูดการลงทุน และเตรียมขยายสำนักงานบีโอไอเพิ่มอีก 2 แห่งที่นครเฉิงตู ประเทศจีน และสิงคโปร์ 2) ยกระดับผู้ประกอบการไทย และสนับสนุนการเชื่อมโยงเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานระดับโลก โดยจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs และสร้างโอกาสในการเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าและแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การเพิ่มความเข้มข้นของมาตรการสนับสนุนการใช้ชิ้นส่วนจากผู้ผลิตในประเทศ และการจัดกิจกรรมการเชื่อมโยงอุตสาหกรรม 3) พัฒนาบุคลากรทักษะสูง โดยบีโอไอทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และภาคเอกชน เพื่อเตรียมพร้อมบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยเฉพาะด้าน Semiconductor, PCB, ดิจิทัล และ AI ทั้งการจัดทำ Roadmap ที่ชัดเจนและการกำหนดมาตรการสนับสนุน นอกจากนี้ จะดึงดูดบุคลากรทักษะสูงจากต่างประเทศ ผ่านมาตรการ LTR Visa และ Smart Visa รวมทั้งการขยายการให้บริการของศูนย์ One Stop Service ด้านวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน 4) ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศการลงทุน โดยส่งเสริมการลงทุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านกายภาพและดิจิทัลที่สำคัญเพื่อรองรับการลงทุน พร้อมร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดหาและเตรียมพื้นที่รองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการลงทุน และพัฒนาเครื่องมือเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเก็บภาษีส่วนเพิ่ม (Global Minimum Tax) ร่วมกับกระทรวงการคลัง 5) การพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวและอุตสาหกรรมยั่งยืน ด้วยการเดินหน้าสนับสนุนการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน การรีไซเคิล และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงส่งเสริมการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เพื่อการลดการใช้พลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ บีโอไอจะทำงานร่วมกับกระทรวงพลังงานและสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในการออกแบบกลไกการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งกลไก Utility Green Tariff (UGT) และการทำสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง (Direct PPA)

GULF ผนึก SiamAI พันธมิตร NVIDIA ผลักดัน AI Cloud ยกระดับดิจิทัลไทย

GULF ผนึก SiamAI พันธมิตร NVIDIA ผลักดัน AI Cloud ยกระดับดิจิทัลไทย

          GULF ร่วมลงทุนในศูนย์ข้อมูลกับ Siam AI พันธมิตรไทยรายแรกของ NVIDIA พร้อมพัฒนาโซลูชั่น AI ครอบคลุมพลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน และโทรคมนาคม มุ่งเสริมศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลไทยสู่อนาคต           นางสาวยุพาพิน วังวิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ขอแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทราบว่าเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2567 บริษัท จีเอสเอ ดาต้า เซนเตอร์ จำกัด (“GSA DC”) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนที่บริษัทฯ ถือหุ้นทางอ้อมในสัดส่วนร้อยละ 40 ผ่านบริษัท กัลฟ์ เอดจ์ จำกัด (“Gulf Edge”) ได้ลงนามในสัญญาการให้บริการศูนย์ข้อมูล (Data Center) กับบริษัท สยาม เอไอ คอร์เปอเรชั่น จำกัด (“Siam AI”) ซึ่งเป็นบริษัทไทยรายแรกที่เป็นพันธมิตรกับ NVIDIA Corporation โดย NVIDIA Corporation เป็นผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยี GPU และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ภายใต้โครงการ NVIDIA Cloud Partner โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ในประเทศไทยและขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลผ่านโซลูชั่น AI บนระบบคลาวด์ (AI Cloud Solutions)           นอกจากนี้ Gulf Edge ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 กำลังอยู่ระหว่างการหารือเพื่อจัดทำบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) กับ Siam AI เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโซลูชั่น AI ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ ได้แก่ ธุรกิจพลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน บริการดิจิทัล และโทรคมนาคม โดยมุ่งเน้นการนำ AI มาประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance) การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Operational Optimization) การนำเสนอบริการเฉพาะบุคคล (Hyper-personalization) และการยกระดับการให้บริการลูกค้า (Enhanced Customer Services)           ความร่วมมือนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศและเสริมสร้างศักยภาพในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

พอร์ตหุ้นรับ CEO NVDIA  บจ.ไหนปัง! เช็กเลย

พอร์ตหุ้นรับ CEO NVDIA บจ.ไหนปัง! เช็กเลย

          หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล.เอเซียพลัส ระบุว่า ภาคการลงทุนคึกคัก ต้อนรับ CEO NVIDIA “เจนเซ่น หวง” เตรียมเยือนประเทศไทย ในงาน “AI VISION FOR THAILAND” วันที่ 4 ธ.ค.67 ซึ่งการมาเยือนไทยในครั้งนี้ คาดมาเพื่อประกาศ แผนการลงทุนในไทย โดยร่วมมือกับบริษัทสัญชาติไทยอย่าง SIAM AI ในฐานะ NVIDIA CLOUD PARTNER (NCP) โดยประเด็นดังกล่าวน่าจะหนุนให้ยอด BOI และ FDI เร่งตัวขึ้นอย่างมีนัยฯ(ยอด BOI 9 เดือนแรกอยู่ที่ระดับ 5.5 แสนล้านบาท เติบโต 38%YOY) เสริมแรงกับ ผลของการหลีกหนีความเสี่ยง TRADE WAR 2.0 โดยเมื่อ ตอน TRADE WAR 1.0 ระหว่างสหรัฐฯ-จีนในปี 2018 หนุนให้ยอด BOI เร่งตัวขึ้นใน ปี 2019 กว่า 116%YOY           ขณะที่ในมุมของ SET INDEX มีโอกาสสูงที่จะเห็นการตอบรับในเชิงบวก กล่าวคือ เมื่อครั้งที่ MICROSOFT และ GOOGLE ประกาศแผนลงทุนในไทย SETINDEX มัก ดีดตัวรับกระแสดังกล่าวเสมอ ดังรูปด้านล่าง           หากเปรียบเทียบช่วง CEO NVIDIA เยือนอนโดฯ ในงานประชุม AI DAY 2024 ณ 14 พ.ย. 67 หลังจากนั้นหุ้น TECH อินโดฯ ขนาดใหญ่ อย่าง GOTO GOJEK บวก 20% ใน 1 สัปดาห์ถัดมา           ในเชิงกลยุทธ์การลงทุนหลังจากที่ NVDIA ที่จะเข้ามาลงทุนสร้าง DATA CENTER จะ สร้าง SENTIMENT เชิงบวกให้กับกลุ่มนิคมฯ เนื่องจากเป็นด่านแรกในการสร้าง โรงงาน โดยทั้ง AMATA และ WHA มีจุดเด่นทั้งเรื่องที่ดินและกลุ่มลูกค้า (CUSTOMER PROFILE) โดย AMATA มีที่ดินรอพัฒนารวมกันกว่า 13,700 ไร่, ใน 3Q67 เพิ่งเซ็นสัญญากับลูกค้า DATA CENTER สัญชาติสิงคโปร์ 1 ราย ขนาด 32 ไร่ และ 4Q67 มีโอกาสที่จะเซ็นสัญญากับกับลูกค้า DATA CENTER อีก 2 ราย ขนาด รวมกัน 120 ไร่ เช่นเดียวกับ WHA ที่มีแผนสร้างที่ดินเพิ่มในช่วงปี 2567 –2570 รวม ทั้งสิ้น 9160 ไร่ และ 3Q67 เพิ่งเซ็นสัญญากับ GOOGLE ขนาด 400 ไร่ เข้ามา ส่วนหุ้นกลุ่มอื่นที่รับกระแสบวกต้อนรับ CEO NVIDIA เยือนไทย ได้แก่ กลุ่มโรงไฟฟ้า : GULF, BGRIM, GPSC, WHAUP สื่อสาร : ADVANC,TRUE, INTUCH รับเหมาสื่อสาร : AIT, INSET, ICN, ITEL, INET, NETBAY

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011