ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#SCGP


SCGP ร่วง 7.28% กังวลศก. อินโดฯ ชะลอ ฉุดธุรกิจ

SCGP ร่วง 7.28% กังวลศก. อินโดฯ ชะลอ ฉุดธุรกิจ

             หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.หยวนต้า กล่าวว่า ราคาหุ้นของบริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (SCGP) ที่ปรับตัวลงมาเช้านี้ คาดเป็นผลจากเศรษฐกิจอินโดนีเซียที่ชะลอตัวลง ซึ่งก่อนหน้านี้ SCGP ได้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนใน PT Fajar Surya Wisesa Tbk (Fajar) ผู้นำธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์ในอินโดนีเซีย เป็น 100% และคาดว่าจะสามารถ Break Even ได้ในไตรมาส 4/2568 ทำให้มองว่าอาจกระทบต่อเป้าหมาย หรือไม่เป็นไปตามแผนได้ สำหรับกลยุทธ์ลงทุน แนะ Wait and see ไปก่อน จนกว่าจะเห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอินโดนีเซีย และจีน บล.กรุงศรี ระบุ หุ้นกลุ่ม China Play ปรับลง นำโดยกลุ่มปิโตรเคมี อาทิ SCC, PTTGC, IVL กลุ่ม SCGP กลุ่มบริการ SPA , กลุ่มสายการบิน AAV โดยกลุ่ม China play มีจิตวิทยาลบจากประเด็น 1.ตลาดหุ้นฮ่องกง -2.13% ตลาดหุ้นจีน -0.2% นำโดยหุ้น Tech จีนปรับลงในทางเดียวกัน 2.กลุ่มปิโตรเคมี แรงกดดันมาจาก Spread ปิโตรเคมีส่วนใหญ่ ลด w-w ฉุดจากราคา feedstock อาทิ HDPE – Naphtha ปรับลดลง -2.2%w-w อยู่ที่ 355 $/Ton (ปรับลดลง w-w ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ติด) 3.หุ้นปิโตรเคมี SCC, PTTGC มีจิตวิทยาลบจาก Foreign Broker ล่าสุด ออกบทวิเคราะห์ปรับลดราคาเป้าหมายลง

SCGP วางงบ 1.3 หมื่นลบ. ทำดีล M&P-ขยายกำลังผลิต

SCGP วางงบ 1.3 หมื่นลบ. ทำดีล M&P-ขยายกำลังผลิต

          หุ้นวิชั่น - SCGP เตรียมงบลงทุน 13,000 ล้านบาท ขยายการลงทุนและปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร เพิ่มการเติบโตในบรรจุภัณฑ์ที่เชื่อมโยงกับผู้บริโภค โดยเน้นการขายที่ตลาดในประเทศกลุ่มอาเซียนซึ่งมีความต้องการบรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องการเติบโตของเศรษฐกิจ พร้อมเดินหน้าขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์อาหารและวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่มีศักยภาพสูงเพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง           นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยข้อมูลธุรกิจของบริษัทผ่าน SET Opportunity Day ซึ่งจัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2568 ว่า ในปีนี้บริษัทฯ เตรียมงบลงทุน 13,000 ล้านบาท แบ่งเป็นงบลงทุนการควบรวมกิจการและร่วมมือกับพันธมิตร (Merger & Partnership : M&P) และขยายกำลังผลิต 8,000-10,000 ล้านบาท โดยจะพิจารณาและมุ่งเน้นการลงทุนไปที่การขยายธุรกิจที่เชื่อมโยงกับผู้บริโภคและการเติบโตในภูมิภาคอาเซียน ควบคู่ไปกับเพิ่มการผสานความร่วมมือระหว่างธุรกิจ (Chain Integration) และการเข้าถึงตลาดที่มีการเติบโตใหม่ ๆ โดยคาดว่าจะมี M&P 1-2 ดีลในปีนี้ และได้ตั้งงบประมาณสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร พัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และ ESG อีก 3,000-5,000 ล้านบาท ทั้งนี้ SCGP มุ่งดำเนินกลยุทธ์การเพิ่มความสามารถทำกำไร ด้วยการสร้างการเติบโตบรรจุภัณฑ์ที่เชื่อมโยงกับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง และเน้นการขายภายในประเทศต่าง ๆ ของภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ที่ความต้องการบรรจุภัณฑ์มีการเติบโตที่ดีต่อเนื่อง (ASEAN Domestic Growth) ตามการเติบโตของเศรษฐกิจและการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศ โดยปีที่ผ่านมา GDP ของอาเซียนเติบโตมากกว่าร้อยละ 5 และปริมาณการขายสินค้าของ SCGP โดยเฉพาะกระดาษบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์กระดาษและพอลิเมอร์ภายในประเทศในอาเซียนเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 10 นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมุ่งลงทุนธุรกิจในตลาดที่มีศักยภาพเติบโตสูงอย่างบรรจุภัณฑ์อาหารและธุรกิจวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยหลังจาก SCGP เข้าลงทุนในบริษัทวีอีเอ็ม ไทยแลนด์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนสมรรถนะสูงจากการฉีดขึ้นรูปพอลิเมอร์ บริษัทฯ ได้นำเอาความเชี่ยวชาญด้านการผลิตบรรจุภัณฑ์พอลิเมอร์มาพัฒนาและต่อยอดในกระบวนการผลิต ทำให้สามารถผลิตวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์คุณภาพสูงได้หลากหลายกลุ่มสินค้า และสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น เช่น ถ้วยเก็บตัวอย่างของเหลว ปิเปตต์ทิป บริษัทฯ ได้เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน โดยนำเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Data Analytic มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารพลังงานในกระบวนการผลิต และวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างความแตกต่าง สร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า และเพิ่มศักยภาพทำกำไร โดยวางเป้าหมายรายได้จากกลุ่มสินค้านวัตกรรมและโซลูชันที่ร้อยละ 37 ของรายได้รวม อีกทั้งยังคงขับเคลื่อน ESG ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน การเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และเพิ่มสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงทางเลือกเป็นร้อยละ 39 ของการใช้เชื้อเพลิงทั้งหมดในปีนี้

SCGP เป้า EBITDA ที่ 1.8หมื่นล. แย้มงบไตรมาส 1/68 เติบโตดี

SCGP เป้า EBITDA ที่ 1.8หมื่นล. แย้มงบไตรมาส 1/68 เติบโตดี

          หุ้นวิชั่น - SCGP ตั้งเป้า EBITDA ปีนี้ที่ 1.8 หมื่นล้านบาท มุ่งพัฒนาทรัพยากรบุคคล ลดต้นทุน 600 ล้านบาท พร้อมวางงบลงทุนที่ 13,000 ล้านบาท ตลาดอินโดนีเซียโอกาสเติบโต ราคาเศษกระดาษซึ่งเป็นวัตถุดิบหลัก ยังอยู่ในระดับทรงตัว ช่วยเพิ่มมาร์จิ้นครึ่งปีแรก คาดแนวโน้มยอดขายไตรมาส 1/68 เติบโตต่อ ดีมานด์ใช้กระดาษบรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น           นายวิชาญ จิตร์ภักดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้ากำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ในปี 2568 ไว้ที่ 18,000 ล้านบาท โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อลดต้นทุน 600 ล้านบาท ควบคู่กับการเพิ่มการลงทุนด้านนวัตกรรม และเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการใช้พลังงานทางเลือกเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน           นายวิชาญ ระบุว่า ในปี 2568 บริษัทจะให้ความสำคัญกับการเติบโตของธุรกิจ FAJAR ในประเทศอินโดนีเซีย โดยคาดว่าในไตรมาส 1 แนวโน้มการเติบโตยังคงดีขึ้นต่อเนื่อง โดยผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์สามารถปรับราคาขายได้ และมีทิศทางขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้ SCGP ยังคงครองความเป็นผู้นำตลาดผลิตภัณฑ์กระดาษบรรจุภัณฑ์อันดับ 1 ของประเทศไทย แม้การแข่งขันในตลาดอาเซียนจะยังคงรุนแรง           สำหรับงบลงทุนในปี 2568 บริษัทได้วางงบประมาณไว้ที่ 13,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นงบลงทุนปกติและการขยายกำลังการผลิต (Organic Growth) ประมาณ 8,000-10,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะใช้ในงานซ่อมบำรุงและโครงการประหยัดต้นทุน           ในส่วนของแนวโน้มยอดขายไตรมาส 1/2568 คาดว่าจะเติบโตได้ทั้งจากไตรมาสก่อนหน้าและจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการใช้กระดาษบรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นตามการอุปโภคบริโภคในกลุ่มประเทศอาเซียน นอกจากนี้ ราคากระดาษบรรจุภัณฑ์ในอินโดนีเซียยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในไตรมาส 1/2568 หลังจากที่ปรับตัวลดลงในไตรมาส 4/2567           สำหรับวัตถุดิบหลักอย่างเศษกระดาษ ราคายังคงทรงตัว ซึ่งอาจช่วยให้ต้นทุนการผลิตลดลงในไตรมาส 1/2568 และสนับสนุนให้มาร์จิ้นของบริษัทปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงครึ่งปีแรก           ในส่วนของรายได้รวมในปี 2567 เมื่อเทียบกับปี 2566 ยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตาม รายได้จากการส่งออกปรับตัวลดลงจาก 19% เหลือ 17% เนื่องจากยอดส่งออกไปประเทศจีนลดลง ขณะที่บริษัทสามารถเพิ่มยอดขายในประเทศได้ถึง 42% รวมถึงขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนจาก 79% เป็น 84% โดยเฉพาะในประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ที่ยังคงมีความต้องการผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ในระดับสูง           SCGP ยังได้รับรางวัลด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม พร้อมเดินหน้าแผนการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ท่ามกลางความท้าทายในตลาดอาเซียนที่ยังคงมีการแข่งขันสูง

SCGP กำไรปี67 ทรุด 30% กัดฟันปันผลอีก 30 สตางค์ 

SCGP กำไรปี67 ทรุด 30% กัดฟันปันผลอีก 30 สตางค์ 

          หุ้นวิชั่น- SCGP ยอมรับตันทุนกระดาษรีไซเคิล ความผันวน ของค่าเงินกดกำไรปี 2567 ลดลง 30% จากปีก่อน พร้อมอนุมัติจ่ายปันผลปลอบใจนักลงทุน 0.30 บาทต่อหุ้น ในวันที่ 21 เมษายน 2568 ตามรายชื่อ ณ วันกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิรับเงินปันผลในวันที่ 2 เมษายน 2568 ขึ้นเครื่องหมาย XD ในวันที่ 1 เมษายน 2568           นาย ดนัยเดช เกตุสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงินบริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP แจ้งมายังตลาดหลักทรัพย์ฯว่า มีกำไรสำหรับปี 2567 เท่ากับ 3,699 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 30 จากปีก่อน และมีอัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ร้อยละ 3           EBITDA ลดลงร้อยละ 9 จากปีก่อน และมี EBITDA margin อยู่ที่ร้อยละ 12 ทั้งนี้ EBITDA และกำไรสำหรับปีลดลงจากปีก่อน มีสาเหตุหลักจากผลการดำเนินงานของธุรกิจกระดาษบรรจุภัณฑ์ ที่ลดลงซึ่งเป็นผลกระทบจากต้นทุนวัตถุดิบกระดาษรีไซเคิล (RCP) ที่สูงขึ้น รวมถึงมีความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีนัยสำคัญในภูมิภาคอาเซียนโดยเฉพาะในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567           นอกจากนี้ กำไรสำหรับปีรวมผลการดำเนินงานของธุรกิจในประเทศอินโดนีเซียในสัดส่วนการถือหุ้นที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนกันยายน 2567 แม้ว่าอัตรากำไรจะลดลง บริษัทยังคงมีความมุ่งมั่นในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้กำลังการผลิต การดำเนินงาน เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ และการบริหารจัดการต้นทุนตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า รายได้จากการขาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากปีก่อน             รายได้จากการขายเติบโตขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากการเติบโตของอุปสงค์ในประเทศซึ่งส่งผลให้ปริมาณการขายกระดาษบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษ บรรจุภัณฑ์พอลิเมอร์ และบรรจุภัณฑ์อาหารเพิ่มขึ้น ประกอบกับการฟื้นตัวของตลาดส่งออกโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงยังมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นความต้องการบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าคงทนให้สูงขึ้นด้วย จ่ายเงินปันผลอีก 0.30 บาท            จากผลการดำเนินงานของปี 2567 คณะกรรมการบริษัทมีมติให้เสนอที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติการจ่ายเงินปันผลประจำปี 2567 ในอัตราหุ้นละ 0.55 บาท โดยบริษัทได้จ่ายเป็นเงินปันผลงวดระหว่างกาลไปแล้ว ในอัตราหุ้นละ 0.25 บาท เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 และจะจ่ายเงินปันผลงวดสุดท้ายในอัตราหุ้นละ 0.30 บาท ในวันที่ 21 เมษายน 2568 ตามรายชื่อ ณ วันกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิรับเงินปันผลในวันที่ 2 เมษายน 2568 โดยจะขึ้นเครื่องหมาย XD หรือวันที่ไม่มีสิทธิรับเงินปันผลในวันที่ 1 เมษายน 2568

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

SCGP คาดปีนี้กำไรฟื้น  ยอดขายไทย-อาเซียนโต หนุน

SCGP คาดปีนี้กำไรฟื้น ยอดขายไทย-อาเซียนโต หนุน

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ คาด SCGP กำไร 1Q68F ฟื้นตัว QoQ ตามปริมาณขายเยื่อและกระดาษที่เพิ่มขึ้นหลังหยุดซ่อมบำรุง + กำไรของธุรกิจรีไซเคิลในยุโรปเพิ่มขึ้น + Fajar ขาดทุนลดลง           คาดกำไรปีนี้ (FY68F) ฟื้นตัวตามปริมาณขายในไทยและอาเซียนที่เพิ่มขึ้น + ต้นทุนกระดาษรีไซเคิลลดลง (4Q67 -16% QoQ) ซึ่งจะส่งผลดีในปีนี้           พัฒนาการเชิงบวกของ FAJAR ในปีนี้จากการลดต้นทุนผลิต การขยายธุรกิจ เพื่อให้ EBITDA เป็นบวกใน 2Q68F รวมถึงการปรับโครงสร้างทุนเพื่อลดดอกเบี้ยจ่าย จะเป็นปัจจัยหนุนราคาหุ้น           แนวรับ = 16.5/16.8 แนวต้าน = 18/18.4           SCGP | ซื้อ | TP = 20 บ.

SCGP ปีนี้มีกำไรที่ 3,699 ล้าน โบรกคาดปีนี้โตต่อ เคาะพื้นฐาน 22.00 บ.

SCGP ปีนี้มีกำไรที่ 3,699 ล้าน โบรกคาดปีนี้โตต่อ เคาะพื้นฐาน 22.00 บ.

หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.หยวนต้า ระบุ SCGP รายงานผลขาดทุนสุทธิ 4Q24 ที่ 57 ล้านบาท (พลิกเป็นขาดทุน QoQ และ YoY) หากหักรายการพิเศษออก กำไรปกติอยู่ที่ 34 ล้านบาท ลดลง 95% QoQ และ 97% YoY และต่ำกว่าที่เราคาดไว้ที่ระดับ 79 ล้านบาทมาก โดยมีสาเหตุหลักมาจากอัตรากำไรขั้นต้นรวมที่ต่ำกว่าที่เราประเมินไว้ราว 110bps ส่งผลให้กำไรสุทธิและกำไรปกติปี 2024 อยู่ที่ 3,699 ล้านบาท (-30% YoY) และ 3,876 ล้านบาท (-25% YoY) ตามลำดับ           ด้านกำไรปกติลดลงอย่างมีนัยสำคัญทั้ง QoQ และ YoY แม้อัตรากำไรขั้นต้นของกลุ่มธุรกิจ Integrated Packaging (IPC) ฟื้นตัว QoQ ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวลง เพราะถูกกดดันจาก 1. การรับรู้ผลขาดทุนและต้นทุนทางการเงินจากการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในธุรกิจบรรจุภัณฑ์ในอินโดนีเซีย (Fajar) เป็น 100% แบบเต็มไตรมาสเป็นครั้งแรก (3Q24 รับรู้เพียง 1 เดือน) 2. อัตรากำไรขั้นต้นของกลุ่มธุรกิจ Fibrous ที่ลดลงจากการปิดปรับปรุงโรงงานประจำปี 3. อัตรากำไรขั้นต้นของธุรกิจรีไซเคิลที่ลดลงหลังระดับการบริโภคในยุโรปที่อ่อนแอ ทำให้การจัดเก็บเศษกระดาษทำได้ยากมากขึ้น (ต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงขึ้น) ด้าน SCGP ประกาศจ่ายเงินปันผลงวด 2H25 จำนวน 0.30 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend Yield 1.8% โดยจะขึ้น XD วันที่ 1 เม.ย.           มุมมองฝ่ายวิจัย ด้านผู้บริหารได้มีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนในการลดผลขาดทุนของ Fajar โดยในระยะสั้น บริษัทฯ จะมีการปรับลดจำนวน SKUs ของโรงงานของ Fajar ลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและปรับโครงสร้างหนี้ของ Fajar ซึ่งจะส่งผลให้หนี้สินที่มีภาระทางการเงินของ Fajar ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (คาดมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วง 1H25) ขณะที่ในระยะกลาง-ยาว บริษัทฯ จะเพิ่ม Integration Rate ของธุรกิจในอินโดนีเซียผ่านการทำ M&P เพิ่มเติม (เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ) ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังคงเป้าหมายการ Breakeven ของ Fajar ในระดับ EBITDA ในช่วง 2Q25 และในระดับกำไรสุทธิในช่วง 4Q25           ทั้งนี้ SCGP ได้มีการตั้งงบลงทุนจำนวน 1.3 หมื่นล้านบาท ในปี 2025 โดยแบ่งออกเป็น 1. งบลงทุนสำหรับการซ่อมบำรุงและการเพิ่มประสิทธิภาพจำนวน 3.0-5.0 พันล้านบาท 2. งบลงทุนสำหรับการเติบโตของธุรกิจราว 8.0 พันล้านบาท – 1.0 หมื่นล้านบาท (คาดใช้เงินลงทุนราว 3.0-5.0 พันล้านบาท/ดีล)           เบื้องต้นคาดกำไรปกติ 4Q24 เป็นจุดต่ำสุดของรอบแล้ว และจะเริ่มเห็นการฟื้นตัวตั้งแต่ 1Q25 เป็นต้นไป โดยคาดกำไรปกติ 1Q25 ที่ระดับ 400-500 ล้านบาท ฟื้นตัว QoQ ตามปริมาณขายบรรจุภัณฑ์รวมที่เร่งตัวขึ้นตามระดับการบริโภคในไทย (ผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ) และผลประกอบการของ Fajar ที่มีแนวโน้มขาดทุนลดลงต่อเนื่อง           ฝ่ายวิจัยคงราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2025 ที่ 22.00 บาท/หุ้น และคงคำแนะนำ “ซื้อ” สำหรับการลงทุนระยะยาว อย่างไรก็ตาม ในช่วงสั้นการฟื้นตัวของราคาหุ้นอาจยังถูกจำกัดจากตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่ยังไม่ฟื้นตัว เชิงกลยุทธ์จึงแนะนำทยอยสะสมแบบตั้งรับ

SCGP ถึงรอบฟื้นตัว โบรกเคาะราคาใหม่ 22.00 บาท

SCGP ถึงรอบฟื้นตัว โบรกเคาะราคาใหม่ 22.00 บาท

               หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง SCGP เตรียมเข้าสู่รอบของการฟื้นตัวตั้งแต่ 1Q25 เป็นต้นไป คาดกำไรปกติ 4Q24 เป็นจุดต่ำสุดของรอบ คาดกำไรปกติ 4Q24 ที่ 79 ล้านบาท ลดลง 88% QoQ และ 94% YoY และเป็นจุดต่ำสุดของรอบ หลังถูกกดดันจาก 1) ปริมาณขายกระดาษบรรจุภัณฑ์ที่คาดทำได้เพียงทรงตัวที่ระดับ 9.8 แสนตัน (ทรงตัว QoQ, -4% YoY) หลังความต้องการใช้งานกระดาษบรรจุภัณฑ์ของจีนยังคงอ่อนแอ (เห็นได้จากยอดนำเข้า Containerboard เฉลี่ยเดือน ต.ค. - พ.ย. 24 ของจีนที่ระดับ 5.8 แสนตัน/เดือน ต่ำกว่าช่วง Pre-COVID ที่ราว 8.0 แสนตัน/เดือน มาก) 2) คาดบริษัทฯ มีการรับรู้ผลขาดทุนจาก Fajar เพิ่มขึ้น QoQและ YoY จากการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 100% แบบเต็มไตรมาสเป็นครั้งแรก 3) คาดต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นเป็น 680 ล้านบาท (+8% QoQ, +32% YoY) จากการรับรู้ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยของเงินกู้ที่ใช้ในการลงทุนใน Fajar แบบเต็มไตรมาส และ 4) ผลประกอบการของกลุ่มธุรกิจรีไซเคิลที่ยังถูกกดดันจาก ระดับการบริโภคในยุโรปที่อ่อนแอ หากกำไรปกติ 4Q24 ออกมาใกล้เคียงคาด กำไรปกติปี 2024 คิดเป็นสัดส่วนเพียง 91% ของประมาณการเดิมของเรา ปรับประมาณการปี 2024-26 ลงหลังแนวโน้มกำไร 4Q24 อ่อนแอกว่าที่ประเมินไว้                เราปรับประมาณการปี 2024-26 ลง 9-22% เป็น 3,923 ล้านบาท (-24% YoY), 3,650 ล้านบาท (-7%YoY) และ 4,111 ล้านบาท (+13% YoY) ตามลำดับ เพื่อสะท้อนแนวโน้มกำไร 4Q24 ที่อ่อนแอกว่าที่เราประเมินไว้ก่อนหน้า (ผลจากอุปสงค์บรรจุภัณฑ์จีนและระดับการบริโภคในยุโรปที่ยังอ่อนแอ) โดยการลดลงในปี 2025 มีสาเหตุหลักมาจากการรับรู้ผลขาดทุนและต้นทุนทางการเงินจากการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนใน Fajar แบบเต็มปี ทั้งนี้คาดกำไรปกติของ SCGP จะกลับมาเติบโต YoY ได้ในปี 2026 หลังผลประกอบการของ Fajar พลิกเป็นกำไรได้ในช่วง 4Q25 คาดเริ่มเห็นการฟื้นตัว QoQ ตั้งแต่ช่วง 1Q25 เป็นต้นไป                เบื้องต้นคาดกำไรปกติ 1Q25 ที่ระดับ 400-600 ล้านบาท เติบโต QoQ ตามปริมาณขายบรรจุภัณฑ์รวมที่มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นตามระดับการบริโภคในจีนและไทยหลังได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ รวมถึงการปรับโครงสร้างหนี้ของ Fajar (คาดส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินลดลงราว 150-250ล้านบาท/ปี) อย่างไรก็ตามคาดกำไรปกติจะยังคงลดลง YoY จากฐานที่สูง หากมองไปช่วง 2Q25 คาดกำไรปกติจะฟื้นตัวกลับมาที่ระดับ 600-800 ล้านบาท จากผลขาดทุนของ Fajar ที่คาดลดลงต่อเนื่อง (คาดพลิกเป็นกำไรในระดับ EBITDA ได้ในช่วงปลาย 2Q25) ตามปริมาณขายที่ฟื้นตัวและการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน รวมถึงการรับรู้ผลของต้นทุนทางการเงินที่ลดลงจากการปรับโครงสร้างหนี้แบบเต็มไตรมาส ขณะที่ 3Q-4Q25 คาดกำไรปกติจะสามารถฟื้นตัวกลับไปที่ระดับ 1,000-1,300ล้านบาท/ไตรมาส จากอุปสงค์จีนที่ฟื้นตัวและผลขาดทุนของ Fajar ที่มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง (คาดพลิกเป็นกำไรได้ภายใน 4Q25) ปรับราคาเหมาะสมเป็น 22.00 บาท คงคำแนะนำ “ซื้อ” สำหรับการลงทุนระยะยาว                ผลจากการปรับประมาณการลงและการปรับ EV/EBITDA ที่ใช้ประเมินมูลค่าลงเป็น 9.3 เท่า จากเดิม 9.6 เท่า ตามสภาวะตลาดที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น ส่งผลให้ได้ราคาเหมาะสมใหม่ที่ 22.00 บาท/หุ้น มี Upside 24.3% จึงคงคำแนะนำ “ซื้อ” สำหรับการลงทุนระยะยาว อย่างไรก็ตามในช่วงสั้นการฟื้นตัวของราคาหุ้นจะยังคงถูกจำกัดจากการปรับลดประมาณการของตลาด (IAA Consensus คาดกำไรปี 2025 ที่ 5,572 ล้านบาท) และกำไร 4Q24 ที่ลดลงทั้ง QoQ และ YoY ดังนั้นในเชิงกลยุทธ์ นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้น้อยจึงอาจพิจารณาเข้าลงทุนหลังการรายงานผลประกอบการ 4Q24 ในวันที่ 28 ม.ค.

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

SCGP คาดกำไรปี 68 ฟื้น โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 30 บาท

SCGP คาดกำไรปี 68 ฟื้น โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 30 บาท

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)  คาด SCGP กำไรปีนี้ (FY68F) ฟื้นตัวได้ดีจากฐานต่ำ ตามปริมาณขายในไทยและอาเซียนเพิ่มขึ้น + ยอดส่งออกไปจีน (จาก FAJAR) ฟื้นตัว และต้นทุนกระดาษรีไซเคิลลดลงต่อเนื่อง (4Q67F 16% QoQ) ซึ่งจะส่งผลดีในต้นปีนี้จาก lag time           คาดเห็นพัฒนาการเชิงบวกของ FAJAR ในปีนี้จากการลดต้นทุนผลิต ปรับปรุงกระบวนการผลิต เพิ่มปริมาณขาย และ Refinance เพื่อลดดอกเบี้ยจ่าย           ราคาหุ้นลดลงมาก ปัจจุบัน P/B เพียง 1x สะท้อนแนวโน้มกำไร 3Q67 อ่อนแอ ต่อเนื่องถึง 4Q67F ตามการรับรู้ผลขาดทุนจาก FAJAR ไปแล้ว           แนวรับ = 18.2/18.4 แนวต้าน = 20/20.5           SCGP | ซื้อ | TP=30 บ.

SCGPฟื้นตัวแรง โบรกปรับคำแนะนเป็น

SCGPฟื้นตัวแรง โบรกปรับคำแนะนเป็น "ซื้อ" พิกัด 25 บ.

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า SCG Packaging (SCGP) เตรียมผ่านจุดต่ำสุดใน 4Q67 และกลับมาฟื้นตัวในปี 2568 คาดกำไรจะผ่านจุดต่ำสุดของรอบใน 4Q67           เบื้องต้นคาดกำไรปกติ 4Q67 ที่ระดับ 500-600 ล้านบาท ลดลง/ทรงตัว QoQ และลดลง YoY แม้คาดอัตรากำไรขั้นต้นของธุรกิจ IPC เริ่มฟื้นตัว (ผลจากต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวลง) หลังถูกกดดันจากการรับรู้ผลขาดทุนจาก Fajar หลังเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 100% แบบเต็มไตรมาส (คาดผลขาดทุนของ Fajar ในช่วงดังกล่าวอยู่ที่ราว 500 ล้านบาท +/-) และต้นทุนทางการเงินที่คาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 700 ล้านบาท (เทียบกับ 628 ล้านบาทใน 3Q67) จากการรับรู้ดอกเบี้ยจากเงินกู้ที่ใช้ในการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนใน Fajar แบบเต็มไตรมาสเป็นครั้งแรก รวมถึงค่าใช้จ่าย SG&A ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้ง QoQ และ YoY ตามผลของฤดูกาล ปริมาณขายที่เร่งตัวขึ้น และค่าขนส่งระหว่างประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น           ทั้งนี้เรามองว่ากำไร 4Q67 จะเป็นจุดต่ำสุดของรอบ และเริ่มเห็นการฟื้นตัวของกำไรของบริษัทฯ ได้ตั้งแต่ช่วง 1Q68 เป็นต้นไปตามผลประกอบการของ Fajar ที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง (ผลจากเศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัว) ปรับประมาณการปี 2567-69 ลงหลังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนช้ากว่าคาด           ฝ่ายวิเคราะห์ปรับประมาณการกำไรปี 2567-69 ลง 7-13% เป็น 4,291 ล้านบาท (-17% YoY), 4,449 ล้านบาท (+4% YoY) และ 5,244 ล้านบาท (+18% YoY) ตามลำดับ เพื่อสะท้อนแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่ช้ากว่าที่เราประเมินไว้ก่อนหน้านี้ หลังทางการจีนรายงานตัวเลขยอดค้าปลีกเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นเพียง 3.0% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ระดับ 4.6% YoY (แสดงให้เห็นถึงอุปสงค์ในจีนที่ยังฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป)           ทั้งนี้คาดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนจะเริ่มเร่งตัวขึ้นในปี 2568 หลังคุณสี จิ้นผิง ได้มีการเปิดเผยว่าจีนเตรียมปรับเพิ่มเป้าหมายการขาดดุลการคลังให้สูงขึ้น (รายจ่ายของรัฐบาลมากกว่ารายรับ) รวมถึงเน้นย้ำว่าจะแก้ไขการบริโภคอย่างจริงจัง หลังการประชุม Central Economic Work Conference ของจีนในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คาดเห็นพัฒนาการของ Fajar มากขึ้นในปี 2568           ปัจจุบันบริษัทฯ อยู่ระหว่างการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ Fajar เพื่อให้สามารถพลิกเป็นกำไรในระดับ EBITDA ได้ภายในช่วง 2Q68 และพลิกกลับมาทำกำไรปกติได้ภายใน 4Q68 ผ่านการปรับปรุงประสิทธิภาพของสายการผลิต, การปรับ Product Mix, การลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น, การเพิ่ม Synergy ของระบบ Supply Chain, การปรับโครงสร้างหนี้สิน และการเพิ่มระดับ Integration Level ของธุรกิจในอินโดนีเซีย (ผ่านการทำ M&P เพิ่มเติม)           โดยคาดกระบวนการที่จะเห็นผลเร็วและชัดเจนที่สุดคือการปรับโครงสร้างหนี้ เนื่องจากในปัจจุบัน Fajar มีหนี้สินอยู่ที่ราว 1.6-1.7 หมื่นล้านบาท และมีอัตราดอกเบี้ยที่ราว 6-7% (หากอิงสมมติฐานการ Refinance หนี้ดังกล่าวจำนวน 50% และอัตราดอกเบี้ยใหม่ที่ระดับ 4-5% การปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวจะลดต้นทุนทางการเงินได้ราว 150-250 ล้านบาท/ปี) ทั้งนี้คาดการปรับโครงสร้างหนี้จะมีความชัดเจนมากขึ้นภายในช่วง 1Q68 หุ้นสะท้อนปัจจัยลบไปมากแล้ว...ปรับคำแนะนำขึ้นเป็น “ซื้อ”           ผลจากการปรับประมาณการลงและการปรับ EV/EBITDA ที่ใช้ประเมินมูลค่าลงเป็น 9.6 เท่า (ค่าเฉลี่ยกลุ่มบรรจุภัณฑ์ทั้งในและต่างประเทศ รวมพรีเมียมจาก Yuanta ESG Rating ระดับ AAA แล้ว) จากเดิม 10.2 เท่า เพื่อสะท้อนสภาวะตลาดที่มีความเสี่ยงมากขึ้น ส่งผลให้ได้ราคาเหมาะสมใหม่ที่ 25.00 บาท/หุ้น           ทั้งนี้มองว่าราคาหุ้นที่ปรับตัวลง 31% QTD ได้สะท้อนแนวโน้มกำไร 4Q67 ที่อ่อนแอและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่ช้ากว่าคาดไปมากแล้ว และเมื่อประกอบกับแนวโน้มกำไรในช่วง 12 เดือนข้างหน้าที่กลับเข้าสู่รอบของการฟื้นตัว ทำให้ที่ระดับราคาปัจจุบันหุ้นเริ่มมี Downside จำกัดแล้ว จึงปรับคำแนะนำจาก “TRADING” ขึ้นเป็น “ซื้อ” สำหรับการลงทุนระยะยาว

เปิดโผหุ้นเด่น น่าสะสม 1 ปี ขึ้นไป มองปีหน้ากำไรเติบโตต่อ

เปิดโผหุ้นเด่น น่าสะสม 1 ปี ขึ้นไป มองปีหน้ากำไรเติบโตต่อ

          หุ้นวิชั่น – ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.เอเชียพลัส สำรวจหุ้น พบว่า หลังโควิดถึงปัจจุบัน การลงทุนในตลาดหุ้นไทยยากขึ้น ถูกกดดันจากเศรษฐกิจและกำไรบริษัทจดทะเบียนเติบโตช้า และต่ำคาด, การเมืองไม่นิ่ง, FUND FLOW ชะลอไหลเข้า กดดันให้ ในปี 2022, 2023, 2024YTD มีสัดส่วนจำนวนหุ้นทั้งหมดในดัชนี SET และ MAI ที่ให้ผลตอบแทนรายปีเป็นบวกน้อยกว่าครึ่ง หรือเพียง 31%, 14%, 26% ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า ตลาดมีจำนวนหุ้นบวกรายปีต่ำ ทำให้การลงทุนต้อง พิถีพิถัน และเน้น SELECTIVE BUY มากขึ้น ดังนั้นฝ่ายวิจัยฯ ทำการศึกษา และค้นหาหุ้นที่คาดว่าจะเอาชนะตลาด และน่าสะสม สะสมระยะ 1 ปีขึ้นไป ด้วยเงื่อนไขต่างๆ ดังนี้ เลือกหุ้นที่มี SAFETY MARGIN สูง โดยปกติตลาดหุ้นและหุ้นมักจะไม่ลบ ติดต่อกัน 2 ปี ทำให้หุ้นที่ย่อตัวลงมาในปีนี้ ช่วยลด DOWNSIDE RISK ลงไป ระดับหนึ่งแล้ว เลือกหุ้นที่กำไรปีหน้ามีโอกาสเติบโตเด่น โดยสังเกตได้จากหุ้นที่ขึ้นแรง อันดับต้นๆใน SET100 ในแต่ละปี มักเป็นหุ้นที่กำไรปีนั้นเติบโตเด่นมาก ดังนั้น ฝ่ายวิจัยฯ จึงทำการค้นหา กลุ่มหุ้นที่ราคาย่อตัวลงมาเยอะ แต่กำไรมี โอกาสเติบโตเด่นในปี 2568 อาทิ PETRO, CONS, MEDIA, TOURISM, CONMAT, ENERG, PKG, FIN และเลือกหุ้นเด่นน่าลงทุนจากในกลุ่มนี้ ได้ผลลัพธ์ หุ้นเด่นน่าเข้าสะสมหวังผลในระยะ 1 ปีขึ้นไป คือ SCC, SCGP, MINT, GPSC, CK เป็นต้น นอกจากนี้  ฝ่ายวิจัยฯ ยังค้นหาจุดน่าเข้าสะสมที่เหมาะสมที่สุดรายบริษัท จากการหา OPTIMIZATION  ในกรอบการซื้อขาย ผ่านตัวชี้วัดทางเทคนิค อย่าง RSI โดยการ ทดสอบย้อนหลังในระยะเวลา 4 ปี ที่ผ่านมา ผลลัพธ์จะได้ช่วงซื้อ (RSI กรอบล่าง) และช่วงขาย (RSI กรอบบน) ที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีสุดสำหรับหุ้นตัวนั้นๆ

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

โบรกส่อง SCGP โค้งท้ายฟื้น เคาะเป้า 30 บ.

โบรกส่อง SCGP โค้งท้ายฟื้น เคาะเป้า 30 บ.

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) มอง Negative ต่อรายงานกำไรสุทธิ 3Q24 ของ SCGP ที่ 577 ลบ. (-56% y-y, -60% q-q) ต่ำกว่าวิเคราะห์และตลาดคาด จาก GPM ที่ต่ำกว่าคาด โดยการลดลง y-y q-q สภาวะการแข่งขันสูงจาก demand จีนชะลอ ทำให้ปรับราคาขายได้ช้ากว่าต้นทุนกระดาษที่เพิ่มขึ้น           ฝ่ายวิเคราะห์คาด 4Q24F กลับมาฟื้น q-q (ฐานต่ำ) ตามปริมาณขายของไทยที่ผลกระทบน้ำท่วมลดลง และต้นทุนกระดาษลดลง (lagged effect) ทั้งนี้แนะนำรอดูการฟื้นตัวของยอดนำเข้า container board จีนใน ต.ค.-พ.ย. 24 ก่อนได้ หากการฟื้นตัวเร่งขึ้นจะเป็นจุดซื้อเก็งกำไรการฟื้นตัวใน 2025F ที่ปริมาณขาย Packging paper ฟื้นตัวตามกำลังซื้อในภูมิภาคที่การท่องเที่ยวเติบโตและอัตราดอกเบี้ยลดลง คง Neutral ที่ TP25F = 30.0

SCGP ผ่านจุดต่ำสุด โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 33.00 บาท

SCGP ผ่านจุดต่ำสุด โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 33.00 บาท

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) คงคำแนะนำ “ซื้อ” SCGP ที่ราคาเป้าหมายใหม่ปี 2025E ที่ 33.00 บาท(เดิม 38.00 บาท) อิง 2025E PER ที่ 24.1x (-1.0SD ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย PER ระยะยาว)            ฝ่ายวิเคราะห์ประเมินว่าบริษัทจะรายงานกำไรที่อ่อนแอใน 3Q24E ที่ 804 ล้านบาท (-39% YoY, -45% QoQ)โดยลดลง YoY หลักๆจากความสามารถในการทำกำไรที่ลดลงจากต้นทุนที่สูงขึ้น ในขณะที่ ลดลง QoQ ตามแนวโน้มปริมาณขายที่อ่อนตัวและการรับรู้ผลขาดทุนจากบริษัท PT. Fajar Surya Wisesa Tbk. (Fajar) ที่สูงขึ้น (หลังบริษัทเพิ่มสัดส่วนถือครองเป็น99.7% ตั้งแต่ 30 ส.ค.2024)            อย่างไรก็ดีเชื่อว่าไตรมาสนี้จะเป็นจุดต่ำสุดของปีนี้แล้วและบริษัทจะเห็นปริมาณขายที่ฟื้นตัว QoQ จากอุปสงค์การสะสมคลังสินค้า (stocking) ตามปัจจัยฤดูกาล อีกทั้งบริษัทน่าจะเห็นต้นทุนที่ต่ำลงจากผลกระทบที่ล่าช้า (lagged effect)            นอกจากนี้คาดว่าบริษัทน่าจะได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนซึ่งน่าจะทำให้ยอดส่งออกของ SCGP โดยรวมสูงขึ้น ฝ่ายวิเคราะห์ปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2024E/2025E ลง 14%/10% เป็น 5.1-5.9 พันล้านบาท เทียบกับ 5.2พันล้านบาทในปี 2023 หลักๆเพื่อสะท้อน ปริมาณขายรวมที่ลดลงอยู่ในช่วง 5.7-5.9 ล้านตัน (mt) จากเดิม 5.8-6.0 mt ในปี 2024E-2025E อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ที่ลดลงอยู่ในช่วง 18.0%- 18.3% จากเดิม 18.7% ตามต้นทุนที่สูงขึ้นในขณะที่ เราปรับราคาขายเฉลี่ย (blended ASP) ขึ้นเล็กน้อย 1.0%-1.1% อยู่ในช่วง USD649/ton-USD665/ton อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อรายได้ (SG&A-to-revenue ratio) ที่สูงขึ้นในช่วง 12.1%-12.3% จากเดิม 11.9%-12.0% ราคาหุ้นลดลง 10% และ underperform SET 14% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจของจีนที่ยังไม่ฟื้นตัว            ทั้งนี้เชื่อว่าราคาหุ้นได้สะท้อนปัจจัยลบไปมากแล้ว ล่าสุดซื้อขายที่ 2025E PER ที่น่าดึงดูดที่ 20.6x (ประมาณ -1.6SD ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย PER ระยะยาว) หากกำไร 3Q24E เป็นไปตามที่เราคาด กำไร 9M24E จะคิดเป็น 79% ของประมาณการกำไรใหม่ของเรา โดยฝ่ายวิเคราะห์เชื่อว่าบริษัทจะเห็นปริมาณขายและ GPM ที่สูงขึ้น QoQ ใน 4Q24E ตามปัจจัยฤดูกาลและผลกระทบจาก lagged effect ของต้นทุน

SCGP เตรียมออกหุ้นกู้ 5,500 ล้านบาท

SCGP เตรียมออกหุ้นกู้ 5,500 ล้านบาท

           นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (หรือ “SCGP”) ขอเรียนว่า SCGP จะดำเนินการออกหุ้นกู้ครั้งที่ 2/2567 (SCGP28DA) ในวันที่ 2 ธันวาคม 2567 จำนวนไม่เกิน 5,500 ล้านบาท ภายใต้ “โครงการออกหุ้นกู้ปี พ.ศ. 2567 วงเงินรวม 40,000 ล้านบาท ของบริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน)” เพื่อชำระคืนหนี้จากการออกตราสารหนี้ (Rollover) ทั้งนี้ แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้และหนังสือชี้ชวนสำหรับการเสนอขายหุ้นกู้ในครั้งนี้มีผลใช้บังคับในวันที่ 9 ตุลาคม 2567 สรุปสาระสำคัญของหุ้นกู้ดังกล่าว

abs

ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร

โผหุ้นรับกระตุ้นศก.จีน

โผหุ้นรับกระตุ้นศก.จีน

          หุ้นวิชั่น รายงานว่า บล. DAOL เผยว่า จีนเปิดตัวมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ หลังเศรษฐกิจชะลอตัว เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2024 ธนาคารประชาชนจีน (PBOC) ได้ประกาศใช้มาตรการกระตุ้นทางการเงินและมาตรการสนับสนุนตลาดอสังหาริมทรัพย์ครงั้ ใหญ่ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กา ลังเผชิญกับแรงกดดันจากภาวะเงินฝืด และมีความเสี่ยงที่จะไม่บรรลุเป้าหมายการเติบโตในปีนี้ โดย PBOC ประกาศปรับลดปริมาณการตงั้ เงินสา รองไว้ที่อัตราที่ต่า ที่สุดตงั้ แต่ปี 2020 และปรับลดอัตราดอกเบ้ยี นโยบาย ซึ่งถือเป็นครงั้ แรกในรอบทศวรรษที่มาตรการทงั้ สองถูกปรับลดในวันเดียวกัน นอกจากนี้ผู้ว่าการธนาคารกลางยังประกาศมาตรการสนับสนุนตลาดอสังหาริมทรัพย์ของประเทศ โดยมีรายละเอียดมาตรการของ PBOC ไว้ดังนี้ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย Reverse Repo Rate ระยะ 7 วัน ลงจาก 1.7% เป็น 1.5% ปรับลดอัตราส่วนการตั้ง เงินสำรอง (Reserve Require Ratio) ลง 0.50% ปล่อยสภาพคล่องจำนวน 1 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 142 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ปรับลดอัตราดอกเบ้ยี ระยะกลาง (Medium-Term Lending Facility) ลง 0.3% ปรับลดอัตราเงินดาวน์ขนั้ ต่า สา หรับผ้ซู ื้อบ้านหลังที่ 2 ลงจาก 25% เป็น 15%           การผ่อนคลายนโยบายการเงินในครั้ง นี้มากกว่าทนีั่กเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาด และมีโอกาสในการผ่อนคลายเพิ่มเติมในไตรมาสต่อๆ ไป หลังจากที่ Fed ปรับลดอัตราดอกเบ้ยี ลงมามากกว่าคาด DAOL มองเป็น sentiment เชิงบวกระยะสั้นต่อหุ้นที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจจีน เช่น กลุ่มปิโตรเคมีและแพ็กเกจจิ้ง, พลังงานต้นน้ำ , โลจิสติกส์, ยางพารา และส่งออกอาหารไปจีน กลุ่มปิโตรเคมีและแพ็คเกจจิ้ง (PTTGC, IVL, IRPC, SCC, SCGP) เนื่องจากอา นาจในการซื้อของผู้บริโภคที่สูงขึ้นเสริมให้มีการอุปโภคบริโภคภายในประเทศสูงขึ้น ทงั้ นี้ เราเชื่อว่า SCGP จะได้ประโยชน์มากที่สุด เนื่องจากมีรายได้โดยตรงจากส่งออกไปจีน พลังงานต้นนา้ (PTTEP, BANPU) เนื่องจากอา นาจในการซื้อของผู้บริโภคที่สูงขึ้นจะส่งผลบวกต่อความต้องการใช้พลังงานต้นนา้ ทงั้ นี้ เราเชื่อว่า PTTEP จะได้ประโยชน์มากที่สุดจากการที่จีนเป็นผู้นา เข้าน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลก โลจิสติกส์ (RCL, PSL, WICE, LEO, SJWD) เนื่องจากจะส่งผลบวกต่อกิจกรรมการขนส่งดีขึ้น จากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว โดย RCL และ PSL จะได้ประโยชน์มากกว่าจากอัตราค่าระวางเรือที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ยางพารา (STA, TEGH, NER) เนื่องจากจีนเป็นตลาดส่งออกยางสา คัญของไทย โดยเฉพาะยางแท่ง ซึ่งตลาดจีนคิดเป็นสัดส่วนราว 40-50% ของส่งออกยางแท่งรวม ทงั้ น้เี ราคาด STA จะได้ประโยชน์มากสุด เนื่องจากมีสัดส่วนรายได้จากจีนสูงถึง 50% ส่งออกอาหารไปจีน (TKN, COCOCO, PLUS) เนื่องจากจีนเป็นตลาดส่งออกใหญ่ของผู้ประกอบการหลายราย โดย COCOCO มีสัดส่วนรายได้จากจีนประมาณ 28% ของรายได้รวม ส่วน PLUS มีสัดส่วนมากกว่า 20% ขณะที่ TKN มีสัดส่วนรายได้จากจีนที่ 22-24% ของรายได้รวม Top picks เราเลือก SCGP, PTTEP, NER, COCOCO

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456