ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#SABUY


SABUY ร่วงเฉียดฟลอร์ ผู้สอบบัญชีพบพิรุธเพียบ

SABUY ร่วงเฉียดฟลอร์ ผู้สอบบัญชีพบพิรุธเพียบ

            หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) (SABUY) ราคาหุ้นเช้านี้ร่วงแรงเกือบติดฟลอร์ (Floor) โดยทำจุดต่ำสุดที่ 0.29 บาท และจุดสูงสุด 0.40 บาท ขณะที่มีราคา ณ ปิดตลาดภาคเช้า อยู่ที่ 0.33 บาท หรือ ลดลง 0.07 บาท (-17.50%) ด้วยมูลค่าซื้อขายราว 5,175.63 ล้านบาท ทั้งนี้ช่วงเช้าที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ขอให้ SABUY ชี้แจงข้อมูลในงบการเงินประจำปี 2567 หลังผู้สอบบัญชีมีข้อสงสัย ดังนี้ 1. ผู้สอบบัญชีพบว่ามีทรัพย์สินและสินค้าคงเหลือสูญหายรวม 215 ล้านบาท ซึ่งบริษัทบันทึกค่าความเสียหายดังกล่าวในงวดไตรมาสที่ 4 ปี 2567 โดยส่วนใหญ่เป็นทรัพย์สินของบริษัท 114 ล้านบาท (53%) ของ PTECH 89 ล้านบาท (41%) และที่เหลือเป็นของบริษัทอื่นๆ ปัจจุบันคณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเชิงลึก 2. เดือนตุลาคม 2567 บริษัทซื้อบจก. ลอคบอกซ์ กรุ๊ป (LOCKBOX) และบจก.ลอคบอกซ์ เวนเจอร์ส (LOCKVENT) ประกอบธุรกิจให้เช่าตู้ล็อคเกอร์ในราคา 360 ล้านบาท โดยมีค่าความนิยม 257 ล้านบาท(71% ของมูลค่าซื้อ) ซึ่งการประเมินมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ธุรกิจให้เช่าตู้ล็อคเกอร์ยังไม่เสร็จสิ้น อาจมีการปรับปรุงมูลค่าในอนาคต 3. ความไม่แน่นอนอย่างมีสาระสำคัญต่อการดำเนินงานต่อเนื่อง กรณีปี 2567 ขาดทุน 6,238 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 3,283%) และขาดทุนสะสม 8,152 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 1,103%) รวมทั้งบริษัทถูกสถาบันการเงินฟ้องคดีแพ่งจากการผิดนัดชําระหนี้ สรุปสาเหตุสำคัญที่ทำให้บริษัทขาดทุนสูงมาก ดังนี้ (1) ผลกระทบจากการลงทุนใน TSR, AS, PTECH และบริษัทอื่น ๆ จำนวน 5,731 ล้านบาท (2) ขาดทุนจากการวัดค่าทรัพย์สินทางการเงิน จำนวน 111 ล้านบาท (3) ขาดทุนจากการด้อยค่าธุรกิจและยกเลิกสัญญาธุรกิจ จำนวน 416 ล้านบาท โดยขอให้บริษัทชี้แจงข้อมูลผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันที่ 3 เมษายน 2568 ในส่วนความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบ ขอให้ชี้แจงภายในวันที่ 10 เมษายน 2568 นอกจากนี้ ขอให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลงบการเงินและติดตามคำชี้แจงของบริษัท ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ SABUY ชี้แจงข้อมูลดังนี้ กรณีทรัพย์สินสูญหาย อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กรอบเวลาในการตรวจสอบเชิงลึกและผลการตรวจสอบ การดำเนินการแก้ไขระบบควบคุมภายในเพื่อดูแลทรัพย์สินและมาตรการตรวจนับทรัพย์สินของกลุ่มบริษัทเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวอีก กรณีซื้อกิจการให้เช่าตู้ล็อคเกอร์ อธิบายกรอบเวลาของการประเมินราคาทรัพย์สินและการเสร็จสิ้นการประเมินความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการด้อยค่าของเงินลงทุนและค่าความนิยมของธุรกิจ แนวทางจัดการกรณีถูกสถาบันการเงินฟ้องคดีแพ่งจากการผิดนัดชำระหนี้ ความคืบหน้าการเจรจาและแนวทางการติดตามหนี้กับ TSR รวมทั้งมาตรการกำกับดูแลความเสี่ยงกรณีอาจจะไม่ได้รับชำระหนี้ แนวทางดำเนินธุรกิจของบริษัทในอนาคต เนื่องจากมีกิจการที่ด้อยค่าธุรกิจและยกเลิกสัญญาธุรกิจหลายรายการ รวมทั้งมีประเด็นเรื่องความไม่แน่นอนอย่างมีสาระสำคัญต่อการดำเนินงานต่อเนื่อง พร้อมอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขาดทุนจากการวัดค่าทรัพย์สินทางการเงิน ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับ (1) ความเพียงพอและเหมาะสมของระบบควบคุมภายในของกลุ่มบริษัทจากกรณีในข้อ 1 รวมทั้งกลไกการติดตามดูแลของคณะกรรมการตรวจสอบและมาตรการกำกับดูแลเรื่องดังกล่าว (2) มาตรการกำกับดูแลความเสี่ยงจากการให้เงินกู้ยืมและการลงทุนในธุรกิจต่างๆ การลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งส่งผลให้ผลการดำเนินงานปี 2567 เป็นขาดทุนสุทธิอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงหากมีการลงทุนหรือทำธุรกรรมใดๆ ในอนาคตด้วย ทั้งนี้ หากผลการตรวจสอบเชิงลึกทรัพย์สินสูญหายและต้องมีการปรับปรุงระบบการควบคุมภายในเรื่องดังกล่าว ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จหรืออยู่ระหว่างดำเนินการ ขอให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลพร้อมกับการนำส่งงบการเงินทุกไตรมาสหรือเมื่อมีความคืบหน้าในการดำเนินการใดๆ ที่สำคัญ โครงสร้างการถือหุ้นของกลุ่มบริษัท SABUY ถือหุ้นในบริษัทอื่น รวม 4 บริษัท ได้แก่ บริษัท ทีเอสอาร์ ลิฟวิ่ง โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) (TSR) ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องกรองนำแบบขายตรง (เข้าลงทุนในปี 2565) โดยมีผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากเงินให้กู้ยืมระยะสั้น และลูกหนี้อื่น 947 ล้านบาท, ขาดทุนด้อยค่าค่าความนิยมและสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่น 576 ล้านบาท, ขาดทุนจากการสูญเสียอำนาจควบคุม 324 ล้านบาท บริษัท แอสเฟียร์ อินโนเวชั่นส์ จำกัด (มหาชน) (AS) ให้บริการเกมออนไลน์และเกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ (เข้าลงทุนในปี 65) โดยมีผลขาดทุนจากการสูญเสียอำนาจควบคุม 1,054 ล้านบาท, ขาดทุนจากการจำหน่ายเงินลงทุน 652 ล้านบาท บริษัท พลัส เทค อินโนเวชั่น จำกัด (มหาชน) (PTECH) ผลิตบัตรครบวงจร (เข้าลงทุนในปี 64 SABUY ถือหุ้นในสัดส่วน 73%) โดยมีผลขาดทุนด้อยค่าค่าความนิยมและสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่น 352 ล้านบาท, ทรัพย์สินสูญหาย 89 ล้านบาท (41% ของมูลค่าสูญหายของ SABUY ทั้งหมด) บจก. ลอคบอกซ์ กรุ๊ป (LOCKBOX) และบจก.ลอคบอกซ์ เวนเจอร์ส (LOCKVENT) ให้เช่าตู้ล็อคเกอร์ (SABUY เข้าลงทุนในปี 67 ถือหุ้นในสัดส่วน 80%) ค่าความนิยม 257 ล้านบาท ยังประเมินไม่แล้วเสร็จ หากย้อนในดูผลการดำเนินงานของ SABUY ในปี 2567 พบว่า SABUY มีผลขาดทุนสุทธิรวม 6,238.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ที่มีผลขาดทุนสุทธิราว 189.83 ล้านบาท ซึ่งเป็นการพลิกขาดทุนจากปี 2565 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1,482.11 ล้านบาท โดยสาเหตุหลักจากการรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินลงทุน รวมไป ถึงผลขาดทุนจากการจำหน่ายเงินลงทุน จำนวน 4.90 พันล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างแผนธุรกิจใหม่ของกลุ่มบริษัท ในไตรมาสที่ 4 กลุ่มบริษัทรับรู้ค่าใช้จ่ายจากความเสียหายจากทรัพย์สิน จำนวน 202.7 ล้านบาท ในงบกำไร ขาดทุน เนื่องจากผลต่างจากการตรวจนับสินทรัพย์พบว่าจำนวนทรัพย์สินในทะเบียนทรัพย์สินสูงกว่าปริมาณที่มีอยู่จริง ในสถานที่จัดเก็บทรัพย์สินของกลุ่มบริษัท คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติการดำเนินการในการตรวจสอบข้อเท็จจริงเชิงลึกโดยเร่งด่วนในเรื่องดังกล่าว เพื่อปกป้องรักษาสิทธิประโยชน์ของบริษัท ทั้งนี้หลังจากการตรวจสอบข้อเท็จจริง ดังกล่าว บริษัทฯจะได้ทำการรายงานความคืบหน้า รวมถึงตั้งสำรองความเสียหายให้สะท้อนภาพความเป็นจริงมากที่สุด สำหรับกลยุทธ์และเป้าหมายในปี 2568 SABUY ได้มีการเปิดเผยว่า จากสภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศไทยมีแนวโน้มการเติบโตที่ชะลอตัว และบริษัทฯ ประสบปัญหาขาดความเชื่อมั่นตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 2567 เนื่องจากการไม่มีผู้ถือหุ้นใหญ่ ทำให้สถาบันการเงิน และคู่ค้าระงับวงเงิน ทำให้ บริษัทฯ เผชิญกับปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ประกอบกับกระแสเงินสดจากการดำเนินงานบางส่วน ถูกนำมาใช้ชำระหนี้ และดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้หลายธุรกิจในกลุ่มบริษัทหดตัว และสูญเสียความสามารถในการสร้างรายได้ฝ่ายบริหารของบริษัทฯ ได้เร่งแก้ปัญหาในการหานักลงทุนรายใหม่เพื่อเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทฯ อย่างไรก็ตามด้วยสภาวะตลาดทุนที่ไม่เอื้ออำนวยทำให้การเพิ่มทุนถูกยกเลิกไปถึงสองครั้ง และสำเร็จในครั้งที่สามเมื่อ เดือนตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยบริษัทฯ มีแผนใช้เงินทุนดังกล่าวเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินของกลุ่มบริษัทฯ อย่างมีประสิทธิภาพ รองรับการดำเนินธุรกิจและการให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ มุ่งเน้นการใช้เงินทุนดังกล่าว เป็นเงินทุนหมุนเวียน เพื่อให้ธุรกิจในกลุ่มบริษัทฯ สามารถกลับมาดำเนินงานได้ตามปกติอย่างรวดเร็วที่สุด และสร้างกระแสเงินสดที่เพียงพอ ทั้งนี้กลยุทธ์และเป้าหมายในปี 2568 จะแบ่งได้เป็น 4 เรื่องหลักๆ ดังนี้ พลิกฟื้นผลประกอบการของธรุกิจหลัก (Business Turnaround) ให้กลับมามีกำไรให้เร็วที่สุด บริษัทฯ ได้วางแผนการปรับโครงสร้างองค์กรอย่างรอบคอบ โดยมีการเปลี่ยนแปลงทีมบริหารชุดใหม่เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการด าเนินงานและปรับขนาดองค์กรให้เหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจปัจจุบัน โดยมีเป้าหมายเพื่อ จะเร่งสร้างการเติบโตของรายได้ เพิ่มเงินทุนหมุนเวียนจากธุรกิจด้านต่างๆ ประกอบด้วย B2B Solutions มุ่งเน้นให้บริการแก่องค์กรเป็นหลัก ได้แก่ Plus Tech และ SABUY Solutions B2C Solutions ให้บริการแก่ผู้บริโภคโดยตรง ได้แก่ SABUY SPEED, เติมสบายพลัส และล็อค บอกซ์ Financial Solutions ระบบธุรกรรมทางการเงิน ได้แก่ Love Leasing นอกจากนี้บริษัทฯจะดำเนินแผนการลดต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) ในภาพรวมของกลุ่มบริษัทควบคู่ไปด้วย ซึ่งจะนำไปสู่การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ดำเนินการขายสินทรัพย์สินทรัพย์ที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก (Non-Core Asset) เพื่อสร้างความชัดเจนในโครงสร้างองค์กร หยุดการขาดทุนจากสินทรัพย์ที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก และนำกระแสเงินสดจากการขายสินทรัพย์มาสนับสนุนการดำเนินธุรกิจหลักเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคตต่อไป เดินหน้าเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ (Debt Restructuring) หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับผู้ถือหุ้นกู้ทั้ง 4 ชุด ในไตรมาสที่ 4 ในปี 2567 บริษัทฯ ได้มีแผนการเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้อื่นๆ เช่น เจ้าหนี้สถาบันการเงิน โดยการพิจารณาเงื่อนไข การชำระหนี้ที่ปรับเปลี่ยน เช่น การขยายระยะเวลาการชำระหนี้และลดภาระดอกเบี้ย เพื่อรักษากระแสเงินสดสำหรับการดำเนินธุรกิจให้มีเสถียรภาพสูงสุด ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลที่ดี (Good Governance) บริษัทฯ มีแผนอย่างเร่งด่วนที่จะปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ (Stakeholders) ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ คู่ค้า ฯลฯ ดังนี้ - โดยมีแผนที่จะมีการเสริมทีมทั้งคณะกรรมการ และผู้บริหารชุดใหม่เพิ่มเติม เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ ตามกลยุทธ์ที่วางเอาไว้ - ทบทวนและปรับปรุงนโยบายระดับบริหารและระบบควบคุมภายใน ให้มีความเหมาะสมและรัดกุมมากขึ้น - ดำเนินการตรวจสอบรายการที่มีความไม่ชอบมาพากลในอดีต และหากตรวจสอบพบการกระทำความผิดจริง ก็จะดำเนินการตามกฎหมายทันที

ตลท.สั่ง PTECH-SABUY-TSR ชี้แจงงบ ภายใน 3 เม.ย.นี้

ตลท.สั่ง PTECH-SABUY-TSR ชี้แจงงบ ภายใน 3 เม.ย.นี้

             หุ้นวิชั่น - ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ บมจ. พลัส เทค อินโนเวชั่น (PTEC) ชี้แจงข้อมูลในงบการเงินประจำปี 2567 โดยผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในประเด็นมูลค่าการสำรองทรัพย์สินสูญหาย และมีข้อสังเกตเกี่ยวกับความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่องของกลุ่มบริษัท ทั้งนี้ ขอให้บริษัทชี้แจงข้อมูลผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันที่ 3 เมษายน 2568 สำหรับความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบขอให้ชี้แจงภายในวันที่ 10 เมษายน 2568 นอกจากนี้ขอให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลงบการเงินและติดตามคำชี้แจงของบริษัท ข้อมูลสำคัญในงบการเงินประจำปี 2567 ตู้ขายสินค้าอัตโนมัติสูญหาย และไม่ตรงกับทะเบียนทรัพย์สิน รวม 89 ล้านบาท (32% ของตู้ทั้งหมด) บันทึกขาดทุนจากการตัดจำหน่าย 12 ล้านบาท เนื่องจากตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ 184 ตู้ สูญหาย โดยบริษัทอยู่ระหว่างดำเนินการทางกฎหมาย รับรู้สำรองค่าใช้จ่ายทรัพย์สินสูญหาย 77 ล้านบาท จากการพบตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ 1,171 ตู้ ที่ไม่ตรงกับรายละเอียดทรัพย์สิน ซึ่งยังไม่สามารถอธิบายถึงสาเหตุได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการมีมติรับทราบให้บริษัทตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และจะสรุปผลภายในวันที่ 31 มีนาคม 2568 ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นรวม 101 ล้านบาท ขณะที่ปีก่อนอยู่ที่ 2 ล้านบาท โดยตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนของลูกหนี้ค่าบริหารจัดการซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มของผู้ถือหุ้นใหญ่ (บมจ. สบาย เทคโนโลยี) จำนวน 60 ล้านบาท รวมถึงตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนของลูกหนี้การค้าสูงกว่ายอดลูกหนี้การค้าที่เกินกำหนดชำระ ประเด็นที่ขอให้บริษัทชี้แจง : กรณีทรัพย์สินสูญหาย อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และสรุปผลการตรวจสอบตามที่บริษัทแจ้งว่าจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคม 2568 รวมทั้งการดำเนินการแก้ไขระบบควบคุมภายในเพื่อดูแลทรัพย์สิน และมาตรการตรวจนับทรัพย์สินของกลุ่มบริษัทเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุดังกล่าวอีก ผลกระทบที่มีต่อการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากธุรกิจหลักของบริษัทคือธุรกิจตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ สาเหตุที่ตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของลูกหนี้หมุนเวียนอื่นและลูกหนี้การค้า เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากปีก่อน และบริษัทมีการพิจารณาคุณภาพของลูกหนี้อย่างไร จึงตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตฯ สำหรับลูกหนี้การค้าที่ยังไม่เกินกำหนดชำระด้วย ทั้งนี้ การตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตฯ ดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้อย่างไร รวมทั้งแนวทางการติดตามหนี้ ความเห็นของคณะกรรมการและคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับ (1) ความเพียงพอและเหมาะสมของระบบการควบคุมภายในของกลุ่มบริษัทจากกรณีในข้อ 1. รวมทั้งกลไกการติดตามดูแลของคณะกรรมการตรวจสอบ และมาตรการกำกับดูแลเรื่องดังกล่าว (2) มาตรการกำกับดูแลเพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทเป็นไปตามกฎหมายและนโยบายที่ได้กำหนดไว้ โดยเฉพาะการทำรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เนื่องจากปรากฏข้อเท็จจริงว่าบริษัทปฏิบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์การทำรายการที่เกี่ยวโยงกันกับ SABUY ทั้งกรณีการจำนองสินทรัพย์ของบริษัทเพื่อเป็นประกันหนี้ และกู้ยืมเงิน ทั้งนี้ หากผลการตรวจสอบทรัพย์สินสูญหายและต้องมีการปรับปรุงระบบการควบคุมภายในเรื่องดังกล่าวซึ่งยังไม่แล้วเสร็จหรืออยู่ระหว่างดำเนินการ ขอให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลพร้อมกับการนำส่ง งบการเงินทุกไตรมาสหรือเมื่อมีความคืบหน้าในการดำเนินการใดๆ ที่สำคัญ *SABUY ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้บมจ.สบาย เทคโนโลยี (SABUY) ชี้แจงข้อมูลในงบการเงินประจำปี 2567  โดยผู้สอบบัญชีมีข้อสังเกตดังนี้ (1) ทรัพย์สินและสินค้าคงเหลือสูญหาย 215 ล้านบาท (2) การประเมินมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ธุรกิจให้เช่าตู้ล็อคเกอร์ยังไม่แล้วเสร็จ (มีค่าความนิยม 71% ของมูลค่าซื้อ) อาจมีการปรับปรุงมูลค่า   ในอนาคต (3) ความไม่แน่นอนอย่างมีสาระสำคัญต่อการดำเนินงานต่อเนื่อง กรณีปี 2567 ขาดทุน 6,238 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 3,283%) มีขาดทุนสะสม 8,152 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 1,103%) โดยขอให้บริษัทชี้แจงข้อมูลผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันที่ 3 เมษายน 2568                 ในส่วนความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบขอให้ชี้แจงภายในวันที่ 10 เมษายน 2568 นอกจากนี้ขอให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลงบการเงินและติดตามคำชี้แจงของบริษัท ข้อมูลสำคัญในงบการเงินประจำปี 2567 ผู้สอบบัญชีพบว่ามีทรัพย์สินและสินค้าคงเหลือสูญหายรวม 215 ล้านบาท ซึ่งบริษัทบันทึกค่าความเสียหายดังกล่าวในงวดไตรมาสที่ 4 ปี 2567 โดยส่วนใหญ่เป็นทรัพย์สินของบริษัท 114 ล้านบาท (53%) ของ PTECH 89 ล้านบาท (41%) และที่เหลือเป็นของบริษัทย่อยอื่น ปัจจุบันคณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเชิงลึก เดือนตุลาคม 2567 บริษัทซื้อบจก. ลอคบอกซ์ กรุ๊ป (LOCKBOX) และบจก. ลอคบอกซ์ เวนเจอร์ส (LOCKVENT) ซึ่งประกอบธุรกิจให้เช่าตู้ล็อคเกอร์ ในราคา 360 ล้านบาท โดยมีค่าความนิยม 257 ล้านบาท (71% ของมูลค่าซื้อ) ซึ่งการประเมินมูลค่ายุติธรรมยังไม่แล้วเสร็จ อาจมีการปรับปรุงมูลค่าในอนาคต บริษัทมีประเด็นเรื่องความไม่แน่นอนอย่างมีสาระสำคัญต่อการดำเนินงานต่อเนื่อง กรณีปี 2567 ขาดทุน 6,238 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3,283%) มีขาดทุนสะสม 8,152 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,103%) รวมทั้งบริษัทถูกสถาบันการเงินฟ้องคดีแพ่งจากการผิดนัดชำระหนี้ สรุปสาเหตุสำคัญที่บริษัทขาดทุนสูงมาก ดังนี้ 1.ผลกระทบจากการลงทุนใน TSR AS PTECH และบริษัทอื่น 5,731 ลบ. 2.ขาดทุนจากการวัดค่าสินทรัพย์ทางการเงิน 111 ลบ. 3.ขาดทุนจากการด้อยค่าธุรกิจและยกเลิกสัญญาทางธุรกิจ (ธุรกิจที่ตั้งด้อยค่า ได้แก่ ธุรกิจช่องทางการจัดจำหน่ายและเชื่อมต่อเข้าถึงลูกค้า ธุรกิจบริการด้านชำระเงินและระบบการเงินอิเลคทรอนิกส์ ธุรกิจให้บริการสินเชื่อและประกันภัย และธุรกิจให้บริการสำหรับองค์กรและไลฟ์สไตล์ / ธุรกิจที่ยกเลิกสัญญา ได้แก่ ธุรกิจบริการด้านชำระเงินและระบบการเงินอิเลคทรอนิกส์ และธุรกิจให้บริการสินเชื่อและประกันภัย) ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ SABUY ชี้แจงข้อมูลดังนี้ 1.       กรณีทรัพย์สินสูญหาย อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กรอบเวลาในการตรวจสอบเชิงลึกและผลการตรวจสอบ  การดำเนินการแก้ไขระบบควบคุมภายในเพื่อดูแลทรัพย์สินและมาตรการตรวจนับทรัพย์สินของกลุ่มบริษัทเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุดังกล่าวอีก 2.     กรณีซื้อกิจการให้เช่าตู้ล็อคเกอร์ อธิบายกรอบเวลาของการประเมินราคาทรัพย์สินแล้วเสร็จและการประเมินความเสี่ยงที่อาจด้อยค่าเงินลงทุนและค่าความนิยมของธุรกิจ 3.     แนวทางจัดการกรณีถูกสถาบันการเงินฟ้องคดีแพ่งจากการผิดนัดชำระหนี้ ความคืบหน้าการเจรจาและแนวทางการติดตามหนี้กับ TSR รวมทั้งมาตรการกำกับดูแลความเสี่ยงกรณีอาจจะไม่ได้รับชำระหนี้ 4.     แนวทางดำเนินธุรกิจของบริษัทในอนาคต เนื่องจากมีการด้อยค่าธุรกิจและยกเลิกสัญญาธุรกิจหลายรายการ รวมทั้งมีประเด็นเรื่องความไม่แน่นอนอย่างมีสาระสำคัญต่อการดำเนินงานต่อเนื่อง พร้อมอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขาดทุนจากการวัดค่าสินทรัพย์ทางการเงิน 5.     ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับ (1)  ความเพียงพอและเหมาะสมของระบบควบคุมภายในของกลุ่มบริษัทจากกรณีในข้อ 1. รวมทั้งกลไกการติดตามดูแลของคณะกรรมการตรวจสอบและมาตรการกำกับดูแลเรื่องดังกล่าว (2)    มาตรการกำกับดูแลความเสี่ยงจากการให้เงินกู้ยืม การลงทุนในธุรกิจต่างๆ การลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งส่งผลให้ ผลการดำเนินงานปี 2567 เป็นขาดทุนสุทธิอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงหากมีการลงทุนหรือทำธุรกรรมใดๆ ในอนาคตด้วย ทั้งนี้ หากผลการตรวจสอบเชิงลึกทรัพย์สินสูญหายและต้องมีการปรับปรุงระบบการควบคุมภายในเรื่องดังกล่าว ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จหรืออยู่ระหว่างดำเนินการ ขอให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลพร้อมกับการนำส่งงบการเงินทุกไตรมาสหรือเมื่อมีความคืบหน้าในการดำเนินการใดๆ ที่สำคัญ *TSR ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้บมจ.ทีเอสอาร์ ลิฟวิ่ง โซลูชั่น (TSR) ชี้แจงข้อมูลในงบการเงินประจำปี 2567                 โดยผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน เนื่องจากมีความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญของการดำเนินงานต่อเนื่อง กรณีปี 2567 ขาดทุน 715 ล้านบาท มีขาดทุนสะสม 945 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนใหญ่เกิดจากการบันทึกด้อยค่าลูกหนี้และค่าความนิยมทั้งจำนวนในธุรกิจตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติที่ลงทุนเมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 รวมทั้งผู้ถือหุ้นใหญ่เดิม (SABUY) ยกเลิกการให้ความช่วยเหลือทางการเงินและขอให้ชำระหนี้คืนซึ่งมีเงินต้น 873 ล้านบาท กรณีข้างต้นอาจกระทบต่อฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และการประกอบธุรกิจของบริษัทในอนาคต โดยขอให้บริษัทชี้แจงข้อมูลผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันที่ 3 เมษายน 2568  ในส่วนความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบขอให้ชี้แจงภายในวันที่ 10 เมษายน 2568 นอกจากนี้ขอให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลงบการเงินและติดตามคำชี้แจงของบริษัท ข้อมูลสำคัญในงบการเงินและคำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการประจำปี 2567 ปี 2567 TSR ขาดทุน 715 ล้านบาท เกือบทั้งหมดเกิดจากการบันทึกด้อยค่าลูกหนี้ 4 กลุ่มธุรกิจ และผลขาดทุนจากด้อยค่าความนิยมทั้งจำนวนในธุรกิจตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ รวม 641 ล้านบาท สรุปดังนี้ ผลขาดทุนจากการด้อยค่าลูกหนี้ 4 กลุ่มธุรกิจ โดยส่วนหนึ่งคือลูกหนี้ Factoring ที่เป็นอดีตบริษัทในเครือของกลุ่ม SABUY (ขายตรงและตัวแทนจำหน่าย 324 ลบ. / ดิจิทัลออนไลน์และขายทางโทรศัพท์ 132 ลบ. / ค้าปลีกและตัวแทนร้านค้า 20 ลบ. / ธุรกิจองค์กร 16 ลบ.) 492 ลบ. ผลขาดทุนจากด้อยค่าค่าความนิยมทั้งจำนวนในธุรกิจตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ เนื่องจากบริษัทย่อย (บจก. เวนดิ้ง คอนเน็กซ์ เทค) มีการชะลอการประกอบธุรกิจดังกล่าว 149 ลบ. เดือนมกราคม 2568 ผู้ถือหุ้นใหญ่เดิม (SABUY) ยกเลิกการให้ความช่วยเหลือทางการเงินและขอให้ชำระหนี้คืนภายใน 30 วัน (เงินต้น 873 ล้านบาท) ต่อมาเดือนกุมภาพันธ์ 2568 บริษัทมีหนังสือตอบกลับว่าอยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางดำเนินการ ทั้งนี้ ระหว่างปี 2567 มีการเจรจาโอนทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้โดยส่งมอบตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติให้กับ SABUY ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุป ปัจจุบัน TSR ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขทางการเงินได้ ซึ่งสถาบันการเงินมีสิทธิเรียกชำระหนี้คืนได้ มูลหนี้ 418 ล้านบาท โดยอยู่ระหว่างเจรจาผ่อนผันเงื่อนไขสัญญา และมีผิดนัดชำระหนี้บุคคลและกิจการอื่นอีก 18 ล้านบาท โดยสินทรัพย์ของกลุ่มบริษัท (934 ล้านบาท) ส่วนหนึ่งถูกใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินกับผู้ถือหุ้นใหญ่เดิม (SABUY) ทำให้บริษัทมีสินทรัพย์ปลอดภาระผูกพันลดลงซึ่งอาจมีผลต่อความสามารถในการหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ TSR ชี้แจงข้อมูลดังนี้ 1.ปัจจัยที่ใช้พิจารณาเพื่อบ่งชี้การด้อยค่าค่าความนิยมทั้งจำนวนของธุรกิจตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติในระยะเวลาอันสั้น และปัจจัยที่ใช้ประกอบการพิจารณาลงทุนและความแตกต่างของผลประกอบการภายหลังเข้าลงทุนพร้อมเหตุผล 2.ที่มาและสาเหตุของการพิจารณาตั้งด้อยค่าลูกหนี้ 4 ธุรกิจ ผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจดังกล่าว สรุปรายละเอียดของลูกหนี้ที่ด้อยค่าโดยสังเขป รวมถึงความสัมพันธ์กับบริษัททั้งในอดีตและปัจจุบัน ความครบถ้วนการตั้งด้อยค่าลูกหนี้ แนวทางดำเนินการเพื่อให้ได้รับชำระหนี้ 3. สรุปการประกอบธุรกิจของกลุ่มบริษัท ณ ปัจจุบัน และธุรกรรมที่ยังคงมีกับผู้ถือหุ้นใหญ่เดิม (SABUY) โดยขอให้อธิบายประเด็นที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ถ้ามี) รวมถึงผลกระทบเกี่ยวกับการพิจารณาตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนหรือด้อยค่าเพิ่มเติม 4.     ความคืบหน้าของการเจรจา แนวทางแก้ไขปัญหา และมาตรการเพื่อลดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้กับผู้ถือหุ้นใหญ่เดิม (SABUY) สถาบันการเงิน และเจ้าหนี้ต่างๆ รวมทั้งการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อชำระหนี้ดังกล่าว ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับ 5.1  ความเหมาะสมและเพียงพอของการตั้งด้อยค่า รวมทั้งความเหมาะสมของแนวทางการติดตามลูกหนี้ 5.2  นโยบายการประกอบธุรกิจในอนาคตของบริษัทภายหลังจากการเปลี่ยนกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ รวมทั้งการทำธุรกิจร่วมกับผู้ถือหุ้นใหญ่เดิม (SABUY) 416 ลบ.

ก.ล.ต. เตือนผู้ถือหุ้นกู้ SABUY 4 รุ่น ใช้สิทธิประชุม 12 ธ.ค. นี้

ก.ล.ต. เตือนผู้ถือหุ้นกู้ SABUY 4 รุ่น ใช้สิทธิประชุม 12 ธ.ค. นี้

          หุ้นวิชั่น - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ขอให้ผู้ถือหุ้นกู้ SABUY จำนวน 4 รุ่น ใช้สิทธิในการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ ศึกษาข้อมูล ซักถามผู้ออกหรือผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนและเพียงพอต่อการตัดสินใจลงมติในวันที่ 12 ธันวาคม 2567           ตามที่บริษัท สบาย เทคโนโลยี จํากัด (มหาชน) (SABUY) ในฐานะผู้ออกหุ้นกู้ SABUY24DA SABAY254A และ SABUY258A จะจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ ครั้งที่ 2/2567 ในวันที่ 12 ธันวาคม 2567 เวลา 10.00 น. และ SABUY263A จะจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ ครั้งที่ 1/2567 ในวันที่ 12 ธันวาคม 2567 เวลา 13.00 น. ด้วยวิธีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-meeting) โดยมีเรื่องเพื่อพิจารณา ดังนี้ สำหรับหุ้นกู้ SABUY24DA และ SABUY254A (1) ขอผ่อนผันการไม่ชำระดอกเบี้ยหุ้นกู้ SABUY258A ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 และการไม่ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยหุ้นกู้ไม่ถือเป็นเหตุผิดนัดตามข้อกำหนดสิทธิ (2) ขยายระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ออกไปอีก 3 ปี (3) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 2-7 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 จนถึงวันครบกำหนดไถ่ถอนใหม่ สำหรับหุ้นกู้ SABUY258A และ SABUY263A (1) ขอผ่อนผันให้การเข้าเจรจาปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ยืมกับสถาบันการเงิน และการขอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้พิจารณาขยายระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ออกไปอีก 3 ปี ซึ่งมีลักษณะเป็นการผ่อนผันการชำระหนี้ รวมทั้งการเลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาชำระหนี้ ไม่ให้ถือเป็นเหตุผิดนัดตามข้อกำหนดสิทธิ (2) ขอยกเลิกหน้าที่ในการดำรงอัตราส่วน “หนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น” (net debt-to-equity ratio) ตลอดอายุของหุ้นกู้ (3) ขอผ่อนผันข้อกำหนดสิทธิให้ผู้ออกหุ้นกู้สามารถดำเนินการเจรจาหรือเข้าทำสัญญาใด ๆ กับเจ้าหนี้ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้โดยไม่ถือเป็นเหตุผิดนัดตามข้อกำหนดสิทธิ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2568 (4) ขอผ่อนผันการไม่ชำระดอกเบี้ยหุ้นกู้ SABUY258A ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 และการไม่ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยหุ้นกู้ไม่ถือเป็นเหตุผิดนัดตามข้อกำหนดสิทธิ รวมถึงยกเลิกการเรียกให้หนี้หุ้นกู้ SABUY258A ถึงกำหนดชำระโดยพลัน (5) ขอผ่อนผันการดำรงมูลค่าหลักประกันต่อมูลค่าหุ้นกู้ที่ในอัตราส่วนอย่างน้อย 1.5:1 และในการนำทรัพย์สินทดแทนมาวางเป็นหลักประกันเพิ่มเติมในกรณีอัตราส่วนน้อยกว่า 1.5:1 ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2568 (SABUY263A) (6) ขยายระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ออกไปอีก 3 ปี (SABUY258A) (7) เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในแต่ละช่วงเวลา เป็นร้อยละ 2-7 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 จนถึงวันครบกำหนดไถ่ถอนใหม่ (SABUY258A) (8) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 2 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2567 จนถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน (SABUY263A)           ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้กำหนดให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ประโยชน์ และผลกระทบที่ผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับจากการมีมติอนุมัติ หรือไม่อนุมัติ ให้ชัดเจนในแต่ละทางเลือก พร้อมเหตุผลประกอบ โดยมีความเห็นของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ประกอบด้วย ก.ล.ต. จึงขอให้ผู้ถือหุ้นกู้ศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบ และใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ในการรักษาประโยชน์ของตนเอง พร้อมทั้งสอบถามข้อมูลต่าง ๆ จากผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อให้มีข้อมูลครบถ้วนประกอบการตัดสินใจออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ด้วย

ก.ล.ต. เตือน ผู้ถือหุ้นกู้ SABUY ใช้สิทธิ์ประชุม วันที่ 20 พ.ย. 67

ก.ล.ต. เตือน ผู้ถือหุ้นกู้ SABUY ใช้สิทธิ์ประชุม วันที่ 20 พ.ย. 67

          หุ้นวิชั่น - สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ขอให้ผู้ถือหุ้นกู้ บริษัท สบาย  เทคโนโลยี จํากัด (มหาชน) จำนวน 3 รุ่น ได้แก่ SABUY24DA, SABUY254A, SABUY258A ใช้สิทธิในการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ ศึกษาข้อมูล ซักถามผู้ออกหรือผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนและเพียงพอต่อการตัดสินใจลงมติ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567           บริษัท สบาย เทคโนโลยี จํากัด (มหาชน) (SABUY) ในฐานะผู้ออกหุ้นกู้ SABUY24DA SABAY254A และ SABUY258A จะจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2567 ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.00 น.  ด้วยวิธีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Meeting) โดยมีวาระเพื่อพิจารณาอนุมัติ ดังนี้ (1) ขอผ่อนผันให้การเข้าเจรจาปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ยืมกับสถาบันการเงิน และการขอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้พิจารณาขยายระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ทั้ง 3 รุ่น ออกไปอีก 3 ปี มีลักษณะเป็นการผ่อนผันการชำระหนี้ รวมทั้งการเลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาชำระหนี้ ไม่ให้ถือเป็นเหตุผิดนัดตามข้อกำหนดสิทธิ (2) ขอยกเลิกหน้าที่ในการดำรงไว้ซึ่งอัตราส่วนของ “หนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น” (net debt-to-equity ratio) ตลอดอายุของหุ้นกู้ (3) ขอผ่อนผันข้อกำหนดสิทธิให้ผู้ออกหุ้นกู้สามารถดำเนินการเจรจาหรือเข้าทำสัญญาใด ๆ กับเจ้าหนี้ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้โดยไม่ถือเป็นเหตุผิดนัดตามข้อกำหนดสิทธิ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2568 (4) ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันครบกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ โดยขยายระยะเวลาออกไปอีก 3 ปี (5) ขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 2-5 ต่อปี ในแต่ละช่วงเวลา นับตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 จนถึงวันครบกำหนดไถ่ถอนใหม่ และขอเปลี่ยนแปลงการชำระดอกเบี้ยหุ้นกู้ จากเดิมทุก 3 เดือนเป็นทุก 6 เดือน (6) ขอผ่อนผันให้การชำระดอกเบี้ยของหุ้นกู้เฉพาะรุ่น SABUY258A ในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี ประจำงวดวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 ไม่ให้ถือเป็นเหตุผิดนัดตามข้อกำหนดสิทธิ           ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้กำหนดให้ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ประโยชน์ และผลกระทบที่ผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับจากการมีมติอนุมัติ หรือไม่อนุมัติ ให้ชัดเจนในแต่ละทางเลือก พร้อมเหตุผลประกอบ โดยมีความเห็นของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ประกอบด้วย ก.ล.ต. จึงขอให้ผู้ถือหุ้นกู้ศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบ และใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ในการรักษาประโยชน์ของตนเอง พร้อมทั้งสอบถามข้อมูลต่าง ๆ จากผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อให้มีข้อมูลครบถ้วนประกอบการตัดสินใจออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ด้วย           ตามที่บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) แจ้งเรื่องการจัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2567 จำนวน 3 รุ่น ได้แก่ หุ้นกู้ SABUY258A, หุ้นกู้ SABUY254A และหุ้นกู้ SABUY24DA ในวันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เวลา 10.00 น. โดยวิธีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-meeting) โดยบริษัทฯ จะถ่ายทอดสดจากสำนักงานใหญ่ของบริษัทฯ เลขที่ 230 ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร           ทั้งนี้ การประชุมผู้ถือหุ้นกู้ของบริษัทฯ ทั้ง 3 รุ่น ได้แก่ หุ้นกู้ SABUY258A, หุ้นกู้ SABUY254A และหุ้นกู้ SABUY24DA จะจัดขึ้นในวันและเวลาเดียวกันเพื่อพิจารณาวาระต่างๆ นั้น           บริษัทฯ ขอแจ้งเปลี่ยนสถานที่ถ่ายทอดสดการจัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้จากเดิมเป็นสำนักงานของบริษัทฯ ชั้น 14 อาคารเซ็นทรัลทาวเวอร์ @เซ็นทรัลเวิลด์ (Central Tower @ Central World) โดยวัน เวลา และวาระการประชุมยังคงเดิม           หมายเหตุ : บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ทั้ง 3 รุ่น

abs

ปตท. แข็งแกร่งร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

ตลท.ขึ้น CB หลักทรัพย์ SABUY และ JCKH

ตลท.ขึ้น CB หลักทรัพย์ SABUY และ JCKH

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขึ้นเครื่องหมาย CB บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SABUY และ บริษัท เจซีเค ฮอสพิทอลลิตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ JCKH เป็นเหตุจากบริษัทผิดนัดชำระหนี้สถาบันการเงิน

ก.ล.ต. เตือนผู้ถือหุ้น SABUY

ก.ล.ต. เตือนผู้ถือหุ้น SABUY

          ก.ล.ต. เตือนผู้ถือหุ้น SABUY ไปใช้สิทธิออกเสียงการเข้าลงทุนซื้อหุ้นสามัญในบริษัท LOCKBOX และ LOCKVENT ซึ่ง IFA เห็นว่าผู้ถือหุ้นไม่ควรอนุมัติการเข้าทำรายการ วันอังคารที่ 1 ตุลาคม 2567 | ฉบับที่ 203 / 2567           สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ขอให้ผู้ถือหุ้นบริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) (SABUY) ศึกษาข้อมูลและไปเข้าร่วมประชุมและใช้สิทธิออกเสียงในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 8 ตุลาคม 2567 เกี่ยวกับการเข้าลงทุนในหุ้นสามัญในบริษัท ลอคบอกซ์ กรุ๊ป จำกัด (LOCKBOX) และบริษัท ลอคบอกซ์ เวนเจอร์ส จำกัด (LOCKVENT) ซึ่งจะชำระค่าตอบแทนด้วยการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ SABUY โดยที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ (IFA) ให้ความเห็นว่าผู้ถือหุ้นไม่ควรอนุมัติการเข้าทำรายการลงทุนดังกล่าว           ตามที่ SABUY จะจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 8 ตุลาคม 2567 เพื่อพิจารณาวาระการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ รวมทั้งวาระการลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทอื่นโดยหุ้นสามัญเพิ่มทุนส่วนหนึ่งจำนวน 360 ล้านหุ้น จะเสนอขายให้แก่บริษัท โฮลดิ้ง แอล โค จำกัด เพื่อจ่ายชำระค่าหุ้นสามัญของ LOCKBOX และ LOCKVENT รวมมูลค่า 360 ล้านบาท ทั้งนี้ IFA เห็นว่า ผู้ถือหุ้นไม่ควรอนุมัติการเข้าทำรายการลงทุนใน LOCKBOX และ LOCKVENT เนื่องจากปัญหาสภาพคล่องในปัจจุบันของ SABUY ที่จำเป็นต้องได้รับเงินทุนมาเพื่อชำระหนี้สินที่มีนัยสำคัญในระยะสั้น ดังนั้น การออกและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนของ SABUY ในการทำธุรกรรมดังกล่าวโดยไม่ได้รับเงินทุนในทันที จึงไม่ได้แก้ปัญหาสภาพคล่อง และไม่ได้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหุ้นของ SABUY ในสถานการณ์ปัจจุบัน           นอกจากนี้ ในการประชุมผู้ถือหุ้นตามที่กล่าวข้างต้น SABUY จะขออนุมัติออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ (1) บริษัท Insignia Holding Limited (Insignia) (ซึ่งนางสาวเกษรา โล่ห์ทองคำ ถือหุ้นร้อยละ 100) จำนวน 350 ล้านหุ้น พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญโดยไม่คิดมูลค่า จำนวน 350 ล้านหน่วย และ (2) นายวริศ ยงสกุล จำนวน 50 ล้านหุ้น พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญโดยไม่คิดมูลค่า จำนวน 50 ล้านหน่วย โดยมีอัตราใช้สิทธิ 1 หน่วยต่อ 1 หุ้นสามัญ อายุ 2 ปี ราคาใช้สิทธิ 1.20 บาทต่อหุ้น ซึ่งถือเป็นการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อบุคคลในวงจำกัด ที่มีนัยสำคัญ เนื่องจากมีผลกระทบต่อส่วนแบ่งกำไรหรือสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้น (EPS/Control Dilution) เกินร้อยละ 25 และมีผลให้ Insignia กลายเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงสูงสุดใน SABUY ทั้งนี้ IFA เห็นว่าราคาเสนอขายหุ้นและใบสำคัญแสดงสิทธิ ตลอดจนราคาใช้สิทธิข้างต้นไม่เหมาะสม เนื่องจากเป็นการเสนอขายในราคา           ต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรมของหุ้น SABUY ซึ่ง IFA ประเมินด้วยวิธีปรับปรุงมูลค่าตามบัญชีที่หุ้นละ 1.38 บาท อย่างไรก็ดี เนื่องจาก SABUY มีข้อจำกัดในการดำเนินกิจการจากการมีมูลค่าหนี้สูงและอาจผิดนัดชำระหนี้ และด้วยข้อจำกัดด้านสภาพคล่อง อันส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาว (going concern) SABUY จึงมีความจำเป็นในการได้รับเงินทุนจากการเสนอขายหุ้นให้บุคคลดังกล่าว IFA จึงเห็นว่าผู้ถือหุ้นควรอนุมัติรายการดังกล่าว เนื่องจากมีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อ SABUY           ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบของ SABUY เห็นว่า การเข้าทำรายการดังกล่าว มีความเหมาะสม สมเหตุสมผล และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของ SABUY และผู้ถือหุ้น โดยรายการเข้าลงทุนใน LOCKBOX และ LOCKVENT เป็นการสรรหาธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะสร้างกระแสเงินสด นอกจากนี้ นายอิทธิชัย พูลวรลักษณ์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน LOCKBOX และ LOCKVENT จะเข้ามาเป็นหนึ่งในผู้บริหารของ SABUY           ก.ล.ต. จึงขอให้ผู้ถือหุ้นศึกษาข้อมูลโดยละเอียด วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ประโยชน์ ความเสี่ยงและผลกระทบที่จะได้รับจากการมีมติอนุมัติหรือไม่อนุมัติ และใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นในการรักษาประโยชน์ของตนเอง พร้อมกับสอบถามผู้บริหาร SABUY เพื่อให้ได้รับข้อมูลครบถ้วนในการประกอบการตัดสินใจ           อนึ่ง รายการข้างต้นต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง โดยไม่นับรวมส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสีย

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011