ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#Net-Zero


GPSC เดินหน้าแผนศึกษา SMR เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero

GPSC เดินหน้าแผนศึกษา SMR เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero

              GPSC เจาะลึกเทคโนโลยี SMR ตอบโจทย์พลังงานสะอาด หนุนลดคาร์บอนฯ ในภาคการผลิต มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero พร้อมเดินหน้าจับมือ Seaborg Technologies จากเดนมาร์ก ศึกษาความเป็นไปได้พัฒนาในไทย วางเป้าหมายเป็นเทคโนโลยีที่สร้างเสถียรภาพด้านพลังงาน มีความปลอดภัยสูง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม             นายศิริเมธ ลี้ภากรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่าสถานการณ์ความต้องการด้านพลังงานสะอาดที่มีเสถียรภาพในการส่งมอบทั้งไฟฟ้าและไอน้ำในประเทศไทย มีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยข้อจำกัดของพลังงานหมุนเวียน อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ฯลฯ ที่ไม่สามารถผลิตไอน้ำได้ ในขณะที่การผลิตไฟฟ้ายังคงไม่มีความต่อเนื่องขึ้นกับสภาพอากาศ  ดังนั้น  GPSC จึงเร่งศึกษาพัฒนานวัตกรรมพลังงานสะอาดประเภทอื่นๆ ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนภาคการผลิตของประเทศไทย ให้สามารถรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนพลังงาน ควบคู่กับการลดการปล่อยคาร์บอนฯ สู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทยภายในปี 2608 โดยขณะนี้ GPSC ได้ให้ความสนใจในเทคโนโลยี Small Modular Reactor หรือ SMR ในเจเนอเรชันที่ 4 ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าผลิตพลังงานแบบโมดูล่าร์ขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นโมดูลที่ผลิตและประกอบเบ็ดเสร็จจากโรงงานผู้ผลิต สามารถขนย้ายได้ โดยร่วมกับบริษัท Seaborg Technologies จากประเทศเดนมาร์ก เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการพัฒนาโครงการฯ ซึ่งกำหนดแผนระยะเวลาในการศึกษา 4 ปี (ระหว่างปี 2567-2570)             นอกจากนี้ จากรายงานตัวเลขของไทยที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สูงถึง 250 ล้านตันต่อปีนั้น แบ่งเป็นแหล่งที่มาจากกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า 37% การขนส่งคมนาคม 34% ภาคอุตสาหกรรม 24% และภาคเศรษฐกิจอื่นๆ 5% โดยที่ไทยมีแผนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนถึงปี 2593 โดยเน้นไปที่กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า ให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง จาก 2562 ที่ 100 ล้านตัน จนไปถึงปี 2593 จะอยู่ที่ 41 ล้านตัน แต่ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม ปี 2562 อยู่ที่ 42 ล้านตัน แต่ช่วงปี 2593 กลับขึ้นมาเป็นประมาณ 50 ล้านตัน แสดงว่าแผนการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ประสบความสำเร็จในกลุ่มอุตสาหกรรม เพราะว่าภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องใช้พลังงานความร้อน (Thermal Energy) ซึ่งไม่สามารถผลิตจากพลังงานหมุนเวียนประเภทแสงอาทิตย์หรือลมได้             ในขณะที่ทุกภาคส่วนกำลังติดตามเรื่องนโยบาย CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ของสหภาพยุโรป ที่ได้กำหนดราคาคาร์บอนฯ สำหรับสินค้าบางรายการที่นำเข้าไปในกลุ่มประเทศยุโรป มีผลบังคับใช้ในปี 2569 หากเอกชนยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งพลังงานสะอาดได้ หรือมีพลังงานหมุนเวียนไม่เพียงพอ จะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันลดลง หรือโดนกำแพงภาษีเพิ่มขึ้น ในขณะที่เทคโนโลยี SMR สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายรูปแบบ อาทิ การผลิตไฮโดรเจน การผลิตไอน้ำ การใช้เป็นแหล่งพลังงานสีเขียวในกระบวนการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS)             “สำหรับกระบวนการศึกษาความเป็นไปได้กับผู้เชี่ยวชาญจาก Seaborg จะสามารถทำให้ GPSC เข้าถึงมาตรฐานความปลอดภัยของเทคโนโลยี SMR ตามข้อกำหนดของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) อย่างไรก็ตาม การศึกษาความเป็นไปได้ SMR จะต้องดำเนินการตามกฎระเบียบที่ภาครัฐกำหนด และรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วนภายในประเทศที่เกี่ยวข้องด้วย ทั้งด้านกฎหมาย ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย ฯลฯ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ โดยคาดว่าภายในปี 2578 จะเห็นเทคโนโลยี SMR ในเชิงพาณิชย์ได้ในต่างประเทศ” นายศิริเมธ กล่าว

ตลท.ได้รับการรับรองการตั้งเป้าหมาย Net Zero 2050 จาก SBTi

ตลท.ได้รับการรับรองการตั้งเป้าหมาย Net Zero 2050 จาก SBTi

          นายอัสสเดช คงสิริ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับการรับรองการตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 จาก Science Based Targets initiative (SBTi) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลในการกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นแห่งที่ 4 ของตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกที่ได้รับการรับรองการตั้งเป้าหมายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว (Net Zero) ต่อจาก Bursa Malaysia  Nasdaq และ Deutsche BÖrse Group โดยเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ได้รับการรับรอง ประกอบด้วยเป้าหมายระยะสั้นที่ 42% ภายในปี 2030 และเป้าหมายระยะยาวที่ 90% ภายในปี 2050           “การได้รับการรับรองจาก SBTi นี้ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานตามเป้าหมายที่จะร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม ตอกย้ำการเดินหน้าตามแผนกลยุทธ์ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปี 2025 - 2027 ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นว่า แผนงานการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตลาดหลักทรัพย์ฯ จะนำไปสู่เป้าหมายตามที่กำหนดไว้ เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักการสากลและสอดคล้องกับเป้าหมายการควบคุมอุณหภูมิไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาตามความตกลงปารีส (Paris Agreement)” นายอัสสเดชกล่าว           ทั้งนี้ การรับรองจาก SBTi ครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้ง 3 ขอบเขต ได้แก่ 1) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงจากกิจกรรมขององค์กร 2) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน และ 3) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้วางแผนการดำเนินงานครอบคลุมหลายด้าน อาทิ การเพิ่มสัดส่วนการใช้รถไฟฟ้าในการเดินทาง การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร การพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว รวมถึงการร่วมพัฒนาแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกับคู่ค้า และการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่สนับสนุนการลงทุนในธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง           SBTi เป็นองค์กรระดับสากลที่สนับสนุนให้บริษัทต่างๆ ทั่วโลกตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ (climate science) โดยมุ่งผลักดันให้มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึ่งหนึ่งก่อนปี 2030 และบรรลุ           การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ก่อนปี 2050 โดย SBTi ก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง Carbon Disclosure Project (CDP), The United Nations Global Compact (UNGC), World Resources Institute (WRI), The World Wide Fund for Nature (WWF)  SBTi มีบทบาทกำหนดและส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ดีรวมถึงประเมินและอนุมัติการตั้งเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของบริษัทต่างๆ ตามแนวทางของ SBTi ซึ่งปัจจุบันกว่า 7,000 องค์กรทั่วโลกในทุกอุตสาหกรรมเสนอเป้าหมายการพิจารณาของ SBTi เข้าร่วม ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม www.sciencebasedtargets.org

SCC สรุปผลการดำเนินการด้าน ESG ปี 2567

SCC สรุปผลการดำเนินการด้าน ESG ปี 2567

          หุ้นวิชั่น - บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) หรือ SCC สรุปผลการดำเนินการด้าน ESG Net Zero: ในปี 2567 เอสซีจีมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Scope 1+2) อยู่ที่ 26.25 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ลดลง 23.4% เมื่อเทียบกับ 34.24 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ในปี 2563 (ปีฐาน) Go Green: ในปี 2567 รายได้จากสินค้า Green Choice อยู่ที่ 275.6 ล้านบาท หรือคิดเป็น 54% ของรายได้รวม อีกทั้งยังสามารถ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 950,000 ตัน CO2 ลดเหลื่อมล้ำ: ในปี 2567 เอสซีจีมีส่วนในการ ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมรวม 24,543 คน ผ่านการพัฒนาอาชีพ ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา และยกระดับสุขภาวะ เป็นต้น ย้ำความร่วมมือ: เอสซีจีร่วมกับผู้แทนจาก กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ GCCA และ UNIDO นำเสนอความคืบหน้าและความสำเร็จของโครงการ Saraburi Sandbox ในหัวข้อ "Saraburi Sandbox: Leading Thailand’s Pathway to a Low Carbon City" ในการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ COP29 ที่กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน ระหว่างวันที่ 11-13 พฤศจิกายน 2567 สะท้อนถึงบทบาทสำคัญของ โครงการ Saraburi Sandbox ในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น เมืองคาร์บอนต่ำ และเป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลการดำเนินการด้าน ESG Net Zero           ผลการดำเนินงานในปี 2567 เอสซีจีมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Scope 1+2) อยู่ที่ 26.25 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ลดลง 23.4% หากเทียบกับ 34.24 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ในปี 2563 (ปีฐาน) ซึ่งยังสอดคล้องกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเอสซีจีในปี 2573 ตามคำแนะนำของ The Science Based Target Initiatives (SBTi) ที่แนะนำให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ 2.5% ต่อปี           แต่หากรวมปริมาณก๊าซเรือนกระจกภายใต้กำลังการผลิตในระดับปกติ เอสซีจีจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ประมาณ 29 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์           เอสซีจีเดินหน้าปรับแผนธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างการเติบโตและคว้าโอกาสใหม่ ๆ จากการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน มุ่งเน้นการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทางเลือก (Alternative Fuel) เช่น พลังงานชีวมวล วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และเชื้อเพลิงจากขยะ (Refuse Derived Fuel หรือ RDF) รวมถึงการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) อย่างยั่งยืน           ในปี 2567 เอสซีจีใช้เชื้อเพลิงทางเลือกคิดเป็น 29% ของพลังงานความร้อนทั้งหมดในทุกธุรกิจ และ 45% สำหรับธุรกิจซีเมนต์ในประเทศไทย Go Green           เอสซีจีเดินหน้าพัฒนาสินค้าคาร์บอนต่ำภายใต้ฉลาก Green Choice เน้นความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้สินค้าที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม สร้างความมั่นใจว่าสินค้าเหล่านี้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และดีต่อคุณภาพชีวิต           เอสซีจีตั้งเป้ารายได้จากสินค้า Green Choice เป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของรายได้จากการขายทั้งหมดภายในปี 2573           ในปี 2567 เอสซีจีสามารถสร้างรายได้จากสินค้า Green Choice จำนวน 275.6 ล้านบาท หรือคิดเป็น 54% ของรายได้รวม และสามารถ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 950,000 ตัน CO2 ลดเหลื่อมล้ำ           เอสซีจีมุ่งพัฒนาอาชีพ ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา และยกระดับสุขภาวะ ตั้งแต่ปี 2565 โดยมีเป้าหมาย 50,000 คนในปี 2573 และมีเป้าหมายอยู่ที่ 5,600 คนในปี 2567           สำหรับปี 2567 เอสซีจีมีส่วนในการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมรวม 24,543 คน โดย สนับสนุนการพัฒนาสร้างอาชีพ 5,025 คน ผ่านความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ในการพัฒนาทักษะและความสามารถในการประกอบอาชีพ เช่น โครงการพลังชุมชน ที่อบรมวิสาหกิจชุมชน ส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพิ่มมูลค่าสินค้าท้องถิ่น ขยายโอกาสทางเศรษฐกิจ และสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในระยะยาว สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการและ SMEs โดยผ่านแพลตฟอร์มการเงิน Siam Validus Capital ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน 15,093 คน ผ่านโครงการ แพทย์ดิจิทัลทางไกล โดยใช้ นวัตกรรม DoCare เชื่อมโยงผู้ป่วยและแพทย์ เพิ่มการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ในพื้นที่ห่างไกล มอบโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนรวม 4,425 คน ย้ำความร่วมมือ โครงการสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ (Saraburi Sandbox) เอสซีจีร่วมกับ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ GCCA และ UNIDO นำเสนอความคืบหน้าและความสำเร็จของโครงการ Saraburi Sandbox ในหัวข้อ "Saraburi Sandbox: Leading Thailand’s Pathway to a Low Carbon City" ในการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ COP29 ที่กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน ระหว่างวันที่ 11-13 พฤศจิกายน 2567 สะท้อนถึงบทบาทสำคัญของโครงการ Saraburi Sandbox ในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น เมืองคาร์บอนต่ำ ภาคพลังงาน ปลัดกระทรวงพลังงาน เข้าเยี่ยมชมโครงการฯ และเร่งผลักดัน Solar Floating คลองเพรียว โดยเสนอแนวทางให้ทั้ง กฟผ. และภาคเอกชนดำเนินการ เพื่อเรียนรู้ข้อจำกัดและโอกาสของโครงการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สำรวจพื้นที่ คลองเพรียวและบึงบ้านหมอ เพื่อประเมินศักยภาพในการติดตั้ง Solar Floating โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น ระดับน้ำ ข้อมูลสายส่งโดยรอบ และความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคต ภาคกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ เสนอให้ยกระดับมาตรฐานปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก (มอก. 2594-2567) เป็น มอก. บังคับ แทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (มอก. 15) ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี การบริหารจัดการขยะ ร่วมมือกับ กระทรวงศึกษาธิการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสระบุรี จัดทำโครงการโรงเรียนไร้ขยะ เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกด้าน การจัดการของเสียและการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยนำร่อง 54 โรงเรียนในจังหวัดสระบุรี ภาคเกษตร ขยายผลการทำนาเปียกสลับแห้ง จากแปลงนำร่องที่อำเภอหนองโดนและเสาไห้ จาก 50 ไร่ในปี 2566 เป็น 1,180 ไร่ในปี 2567 ครอบคลุม 7 อำเภอ ได้แก่ เสาไห้ หนองโดน หนองแซง เมืองสระบุรี บ้านหมอ ดอนพุด และหนองแค การใช้ประโยชน์ของที่ดินและป่าไม้ สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายป่าชุมชน 45 แห่ง สำหรับการเขียนแผนจัดการป่าชุมชนและการตั้งคณะกรรมการป่าชุมชน ค้นหา Food Bank เพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ของป่าชุมชนและใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนอย่างยั่งยืน ฝึกอบรม "อาสาป่าชุมชน" สู้ไฟป่า จังหวัดสระบุรี จำนวน 4 รุ่น

ก.ล.ต. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริม บลจ. สู่ Net Zero

ก.ล.ต. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริม บลจ. สู่ Net Zero

          ก.ล.ต ร่วมกับ Principles for Responsible Investment (PRI) และ Asia Investor Group on Climate Change (AIGCC) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเชิงลึกภายใต้หัวข้อ “Deep-dive Masterclass on ICAPs Expectations Ladder: Governance” ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero           การอบรมเชิงปฏิบัติการเชิงลึกครั้งนี้มุ่งเน้นเสาหลักด้าน ‘ธรรมาภิบาล’ ของ Investor Climate Action Plans (ICAPs) ซึ่งให้แนวทางแก่ผู้ลงทุนสถาบันทั่วโลกในการบูรณาการเรื่องสภาพภูมิอากาศในโครงสร้างการกำกับดูแลการพัฒนานโยบาย การมอบหมายความรับผิดชอบ และการรายงานต่อคณะกรรมการ โดยผู้เข้าร่วมการอบรมได้รับความรู้และคำแนะนำเชิงปฏิบัติในการเริ่มต้นจัดทำแผนปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศ รวมถึงกระบวนการทำงาน การติดตามและประเมินผลในแต่ละระยะ           นางพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า “ในขณะที่การลงทุนอย่างยั่งยืนกำลังเติบโตทั่วโลก อุตสาหกรรมกองทุนไทยต้องคำนึงถึงปัจจัยความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ โดยต้องมุ่งเน้นไปที่การปฏิบัติจริงและการมองไปข้างหน้า การอบรมเชิงปฏิบัติการเชิงลึกครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อยกระดับการบริหารจัดการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ (responsible investment) โดยมุ่งพัฒนาศักยภาพของ บลจ. ในการวางแผนงานองค์กรด้านสภาพภูมิอากาศที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เพื่อสนับสนุนการลงทุนอย่างยั่งยืน และผลักดันการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ สะท้อนถึงบทบาทสำคัญของผู้ลงทุนสถาบันไทย ในฐานะฟันเฟืองหลักในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับประเทศ”           การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นร่วมกันของ ก.ล.ต. PRI และ AIGCC ในการสนับสนุน บลจ. ไทยอย่างต่อเนื่อง ให้มีเครื่องมือและความรู้ที่จำเป็นสำหรับการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมให้ บลจ. ทุกแห่ง ไม่ว่าจะอยู่ในระยะใดของ climate change journey ร่วมกันมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาตลาดทุนที่ยั่งยืนและผลักดันการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ [PR News]

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

[ภาพข่าว] ‘กลุ่มเพชรศรีวิชัย’ จับมือ ‘เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี’ ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม

[ภาพข่าว] ‘กลุ่มเพชรศรีวิชัย’ จับมือ ‘เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี’ ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม

         ‘บริษัท นิว ไบโอดีเซล จำกัด’ หรือ NBD ในเครือ บริษัท เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PCE เดินหน้าลดผลกระทบด้านมลภาวะสิ่งแวดล้อมจากน้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้ว ร่วมมือกับเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ทำโครงการ “ทิ้งไปเสียดายแย่” ให้ประชาชนนำน้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้วจากชุมชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีแลกเป็นน้ำมันพืชขวดใหม่ตรา “รินทิพย์” เพื่อนำน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงไบโอดีเซล           นายพรพิพัฒน์ ประสิทธิ์ศุภผล รองกรรมการผู้จัดการสายงานปฏิบัติการ บริษัท เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PCE ผู้นำอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มแบบครบวงจรที่มีความพร้อมการจัดการระบบซัพพลายเชน เปิดเผยว่า บริษัท นิว ไบโอดีเซล จำกัด หรือ NBD ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล น้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ น้ำมันปาล์มโอเลอีนเพื่อการบริโภค และผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้อื่นๆ รวมถึงการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้า ในกลุ่มบริษัท เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PCE โดย “NBD” ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ในการดำเนินโครงการ “ทิ้งไปเสียดายแย่” นำน้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้วจากชุมชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมาแลกเป็นน้ำมันพืชตรารินทิพย์ เพื่อนำน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงไบโอดีเซล ช่วยลดผลกระทบต่อการอุดตันของท่อระบายน้ำจากการทิ้งน้ำมันปรุงอาหารของประชาชนที่เป็นปัญหาซึ่งยากต่อการจัดการในอนาคต สอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืน (Sustainability) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) และเพื่อการบรรลุเป้าหมาย Net Zero ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสร้างผลเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน           โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความตั้งใจในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนหลักการ ESG (Environmental, Social, and Governance) ของบริษัทฯ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านการใช้เชื้อเพลิงหมุนเวียนและการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดเงื่อนไขรับแลกน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว 2 กิโลกรัม เปลี่ยนเป็นน้ำมันพืชตรารินทิพย์ได้ 1 ขวด ตั้งแต่วันที่ 30 ต.ค.67 ถึงวันที่ 31 ต.ค.68 ทุกวันศุกร์ของแต่ละสัปดาห์ ณ สำนักงานเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี           “เรามีความมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก (GHG Reduction) ด้วยการใช้วัตถุดิบที่หมุนเวียนได้และส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วจากชุมชนและผู้ประกอบการ เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร และโรงแรม จะถูกนำมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงไบโอดีเซล ซึ่งมีการปล่อยคาร์บอนต่ำกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล นอกจากนี้ยังช่วยขจัดปัญหาการจัดการของเสียที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชนอีกด้วย” นายพรพิพัฒน์กล่าว

“พีระพันธุ์” แนะภาคอุตฯ ปรับตัวรับแผนพลังงานใหม่ มุ่งสู่ลดคาร์บอน

“พีระพันธุ์” แนะภาคอุตฯ ปรับตัวรับแผนพลังงานใหม่ มุ่งสู่ลดคาร์บอน

          "พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค" รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ชี้การปรับตัวภาคอุตสาหกรรมให้สอดคล้องแผนพลังงานใหม่และเทรนด์โลกเป็นเรื่องจำเป็น เตรียมพร้อมสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าสะอาด เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนและต้นทุนการผลิต           นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวในการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมให้สอคคล้องกับแผนพลังงานใหม่เพื่อมุ่งสู่ Carbon Neutrality” ในการจัดสัมมนาวิชาการประจำปี Energy Symposium 2024 โดยสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม   ซึ่งสาระสำคัญในการกล่าวปาฐกถาเป็นเรื่องการปรับตัว และไม่ใช่แค่ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องปรับตัว ภาครัฐเองก็ต้องทำเช่นกัน โดยการปรับตัวไม่ได้แค่ให้สอดคล้องกับแผนพลังงานใหม่เท่านั้น แต่ต้องปรับให้เข้ากับเทรนด์โลกด้วย เพราะทุกภาคมีส่วนในการปล่อยมลภาวะส่งผลต่อภาวะโลกร้อน เห็นได้จากภัยน้ำท่วมในไทย พายุเฮอริเคน ที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ           สิ่งที่ต้องทำให้เราปรับตัวเข้ากับเทรนด์โลกคือ การลดคาร์บอนที่เกิดจากภาคพลังงาน เพื่อนำไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนปี 2050 และ Net Zero 2065 ซึ่งภาคอุตสหากรรมยังต้องใช้พลังงานฟอสซิล เพราะฉะนั้นในแผนพลังงานใหม่จึงวางไว้ให้การผลิตไฟฟ้าที่มาจากเชื้อเพลิงพลังงานทดแทนมากขึ้น ซึ่งไทยเน้นที่พลังงานจากแสงแดด แผน PDP ใหม่จึงต้องเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนมากขึ้น           อย่างไรก็ดี การปรับตัวดังกล่าวทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีต้นทุนที่ต้องจ่าย นับว่าเป็นสิ่งท้าทายสำหรับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในความเป็นจริงต้นทุนการผลิตเชื้อเพลิงนั้นถูก แต่ระบบการผลิตแพง และมีกฎระเบียบเกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดความยุ่งยากเป็นอุปสรรค ผมในฐานะเข้ามารับผิดชอบกระทรวงพลังงานจึงกำลังศึกษาและร่างกฎหมาย เพื่อทำอย่างไรให้เอกชนหรือภาคอุตสาหกรรมสามารถติดตั้งระบบไฟฟ้าได้เอง ง่าย เน้นให้สามารถผลิตในประเทศทำให้ต้นทุนต่ำ เพื่อลดต้นทุนให้กับทั้งภาคครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรมด้วย โดยภาคอุตสาหกรรมอาจจะค่อนข้างเหนื่อย เพราะต้องเผชิญอุปสรรคทางการค้า หากสินค้าไม่ได้ผลิตจากพลังงานสะอาดก็จะถูกข้อกีดกันจากประเทศผู้นำเข้า อาจไม่รับซื้อ ดังนั้น ภาคอุตสาหกรรมไม่ใช่แค่ต้องปรับตัวให้เข้ากับแผนพลังงานใหม่ แต่ต้องปรับตัวเข้ากับโลกด้วย ซึ่งในภาคปฏิบัติ ภาคอุตสาหกรรมต้องช่วยคิดวิธีแก้ไขและนำเสนอมากับทางภาครัฐ           ภารกิจของแผนพลังงานฉบับใหม่จะต้องไม่ใช่เป็นภาระ แต่เพื่อประเทศเดินหน้าสอดคล้องโลก อย่างไรก็ดี ทั้งหมดของแผนต่างๆ ไม่ได้สำคัญไปกว่าความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงของชีวิตมนุษย์ ซึ่งภาครัฐพยายามดำเนินการให้มั่นใจได้ว่ากระทรวงพลังงานดำเนินการแผนพลังงานเพื่อประโยชน์ของประเทศ เพื่ออุตสาหกรรม เพื่อประชาชน ซึ่งขณะนี้แผน PDP อยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็น หวังว่าท่านที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมจะได้ช่วยระดมความคิดช่วยมองให้สอดคล้องกัน           หรือพูดง่ายๆว่า ทำอย่างไรให้คาร์บอนลดลงจากภาคการผลิตและการใช้พลังงานก่อนจะเดินทางไปสู่ Net Zero ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่รู้ว่าเราจะทำได้หรือเปล่า แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำ และการจะเกิดขึ้นได้ก็อยู่ที่ความร่วมมือร่วมใจทุกฝ่าย เช่น ภาคอุตสาหกรรมทำอย่างไรให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้เอง เพราะค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสำคัญต่อทุกภาคส่วน ภาระหน้าที่ของผมคือต้องสร้างความคล่องตัว ช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ควบคุมไม่ได้จากการพึ่งพาเชื้อเพลิงในการผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย รวมทั้งที่นำเข้าจากเมียนมา ผมมั่นใจว่าวันนี้วิทยากรที่มาร่วมสัมมนามีองค์ความรู้เพื่อจะเตรียมความพร้อมของภาคอุตสาหกรรมรับมือกับเทรนด์โลกได้อย่างทันท่วงที           “สิ่งที่กระทรวงพลังงานให้ความสำคัญและดำเนินการอยู่ คือ การนำแผนไปสู่การปฏิบัติด้วยการ “รื้อ ลด ปลด สร้าง” เพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมให้สามารถปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนก็สามารถประยุกต์แนวคิดดังกล่าวได้เช่นกัน เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการปล่อยคาร์บอนจากดำเนินธุรกิจไปพร้อมกับการดูดกลับด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียวหรือการชดเชยคาร์บอน จัดการสภาวะปัจจุบันที่เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนผ่าน โดย “รื้อ” ระบบการผลิตการใช้พลังงานเก่าที่ล่าสมัยไร้ประสิทธิภาพออกไป ซึ่งจะเป็นการ “ลด” การใช้พลังงานของตนเองไปโดยอัตโนมัติ นั่นคือ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้มีการผลิตที่ใช้พลังงานน้อยลง แต่ได้ผลผลิตที่มากขึ้นด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพพลังงานสูง “ปลด” พันธนาการจากการพึ่งพาพลังงานจากภายนอกด้วยการผลิตพลังงานสะอาดใช้เอง ที่จะทำให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถกำหนดและควบคุมต้นทุนด้านพลังงานได้ด้วยตัวเอง โดยเฉพาะต้นทุนด้านไฟฟ้าที่การผลิตไฟฟ้าของส่วนกลางต้องนำเข้าเชื้อเพลิง LNG จากต่างประเทศ ทำให้มีต้นทุนสูงและมีราคาผันผวนตามราคาตลาดโลก ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและกระทบต่อความอยู่รอดของภาคอุตสาหกรรม           ดังนั้น การที่ธุรกิจจะอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนต้องมีแหล่งพลังงานสะอาดที่สามารถบริหารจัดการได้เองที่จะช่วยลดปริมาณความต้องการไฟฟ้าได้ โดยปัจจุบันกระทรวงพลังงานอยู่ในระหว่างดำเนินการปรับปรุงกฎระเบียบร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงอุตสาหกรรม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง เป็นต้น เพื่อให้มีความทันสมัย ปลดล็อคกฎระเบียบที่ไม่จำเป็น ลดขั้นตอนให้ผู้ประกอบการ และช่วยอำนวยความสะดวกให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถปรับตัวสู่การเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าสะอาดใช้เอง เพื่อลดค่าใช้จ่ายทางธุรกิจและสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของตนเอง นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมยังสามารถ “สร้าง” มูลค่าเพิ่มให้กับของเสียน้ำเสียจากกระบวนการผลิตของตนเองต่อยอดสู่การผลิตเป็นพลังงานทดแทนสำหรับนำกลับมาใช้เอง “สร้าง” ระบบบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของตนเองด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การปรับปรุงระบบขนส่งเป็นรถไฟฟ้าเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันและลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น” นายพีระพันธุ์ กล่าว

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456