ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#NER


NER – AAI หุ้นส่งออกน่าสน ปันผลเด่น

NER – AAI หุ้นส่งออกน่าสน ปันผลเด่น

             หุ้นวิชั่น - บล.ทรีนีตี้ ประเมินหุ้นกลุ่มส่งออก มองในช่วงสั้นที่ทิศทาง Trade war เริ่มเป็นบวกเล็กๆนี้ บวกกับเงินบาทที่เริ่มเคลื่อนไหวอ่อนค่า อาจทำให้ยังคงเห็นกระแสการเก็งกำไรในกลุ่มหุ้นส่งออกต่อไปได้ ซึ่งหากคัดจากสินค้าที่เห็นยอดการส่งออกอยู่ในเกณฑ์ดีในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ มองตัวหุ้นที่น่าสนใจและมีปันผลดี ได้แก่ AAI และ NER โดย AAIมีปัจจัยบวกเฉพาะตัวจากการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการขยายกำลังการผลิตเพิ่มเติมตั้งแต่ช่วงกลางปีนี้เป็นต้นไป ส่วนทางด้าน NER นั้น คาดกำไรปี 2025 เติบโต 11% YoY              โดยจะมีลูกค้าใหม่ๆจากอินเดียที่จะทยอยเริ่มคำสั่งซื้อใน 2H25 ส่วนแผนระยะกลาง เตรียมเพิ่มกำลังการผลิตจาก 5.1 แสนตัน เป็น 8.3 แสนตัน ในปี 2027 โดย Phase 1 คาดว่าจะเริ่มการสร้างโรงงานแห่งใหม่ภายใน 2H25 และจะแล้วเสร็จใน 1H26 ซึ่งจะช่วยเพิ่มกำลังการผลิตในปี 2026 ประมาณ 30%

NER สนับสนุนวิถีเกษตรยั่งยืน ปี2  มอบเครื่องจักรกลการเกษตร ที่ จ.บุรีรัมย์

NER สนับสนุนวิถีเกษตรยั่งยืน ปี2 มอบเครื่องจักรกลการเกษตร ที่ จ.บุรีรัมย์

            หุ้นวิชั่น - บมจ.นอร์ทอีส รับเบอร์ (NER) ผู้นำอุตสาหกรรมยาง เห็นความสำคัญของการเกษตรซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของประเทศ เน้นทำธุรกิจควบคู่การรักษาสิ่งแวดล้อม ได้สานต่อโครงการ "NER สนับสนุนวิถีเกษตรยั่งยืน" ต่อเนื่องปีที่ 2 ร่วมกับเกษตรอำเภอประโคนชัยและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มอบเครื่องจักรกลการเกษตรรถแทรกเตอร์ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจะเสร็จสิ้นภายในปี 2568 นี้ โดยมอบรถแทรกเตอร์จำนวน 30 คัน ให้แก่ 30 วิสาหกิจชุมชนใน อ.ประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อให้เกษตรกรในชุมชน อ.ประโคนชัย ลดต้นทุนการผลิตและมีผลผลิตที่มีคุณภาพมากขึ้น ที่ผ่านมาบริษัท NER สนับสนุนโครงการเพื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมยึดหลักแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง เดินหน้าสานต่อและสร้างวิถีเกษตรยั่งยืน...             นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER เปิดเผยว่า บริษัท ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่าย ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง ยางผสม และสินค้าปลายน้ำแผ่นยางพาราปูพื้นคุณภาพสูง เพื่อจำหน่ายไปยัง ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์และกลุ่มผู้ค้าคนกลางทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้วิสัยทัศน์ของบริษัท “NER เป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติชั้นนำระดับโลก ที่มุ่งสร้างคุณค่าและอนาคตที่ยั่งยืนให้กับทุกชุมชนที่มีเรา”             "บริษัทฯ ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของภาคเกษตรในเศรษฐกิจไทยและความมั่นคงทางอาหาร จึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อให้การผลิตอาหารเพียงพอควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม ตลอดมา บริษัทฯ สนับสนุนโครงการเพื่อสังคมโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระราชทานไว้ การส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่ม ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย"             ปัจจุบัน บริษัทฯ สานต่อโครงการ "NER สนับสนุนวิถีเกษตรยั่งยืน" ปีที่ 2 เพื่อมอบเครื่องจักรกลการเกษตรให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ นับเป็นการส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร สร้างความเข้มแข็งและพัฒนาเครือข่าย ความร่วมมือระหว่างกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน เพื่อให้เกษตรกรในชุมชนลดต้นทุนการผลิตทำให้มีผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพดี ทั้งนี้บริษัทฯสนับสนุน “เครื่องจักรกลทางการเกษตร คือรถแทรกเตอร์” ปี 2568 จำนวน 10 คัน (เดือนมกราคมที่ผ่านมา) และ 27 มีนาคมนี้จะมอบจำนวน 10 คัน และมิถุนายนจะมอบ จำนวน 10 คัน             โดยเกษตรกรในพื้นที่ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ร่วมโครงการมีจำนวน 62 วิสาหกิจชุมชน ครอบคลุมพื้นที่การเกษตร 198,642.08 ไร่ และประชากรในพื้นที่ 9,748 ครัวเรือน โดยบริษัท NER ได้จัดสรรงบประมาณไว้ทั้งสิ้น 41 ล้านบาท ซึ่งได้มอบเครื่องจักรกลการเกษตรเมื่อปีที่ผ่านมา (2567)  จำนวน 6 คัน ให้ 6 วิสาหกิจชุมชน เป็นที่เรียบร้อย  และปี 2568 นี้มอบอีก 30 คันให้ 30 วิสาหกิจชุมชน ซึ่งเหลือจำนวน 26 คัน จะมอบในโอกาสต่อไป [caption id="attachment_46941" align="aligncenter" width="2079"] default[/caption]

NER ร่วมงาน VIV ASIA 2025 (วิฟ เอเชีย 2025)             

NER ร่วมงาน VIV ASIA 2025 (วิฟ เอเชีย 2025)             

          นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน)  หรือ NER  ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่าย ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และยางผสม รวมทั้งธุรกิจแผ่นปูพื้น (Rubberflex) ขอเชิญชวนผู้ประกอบการและผู้สนใจร่วมพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ ด้านแผ่นปูพื้นยางพารา สำหรับปศุสัตว์ แลกเปลี่ยนไอเดียและต่อยอดธุรกิจเพื่อตอบโจทย์ในธุรกิจคุณและอัปเดทเทรนด์ร่วมสัมผัสนวัตกรรมใหม่ๆของอุตสาหกรรม สำหรับปศุสัตว์ แบบยกระดับธุรกิจสู่มาตรฐานสากล ในงาน VIV ASIA 2025  เป็นงานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมปศุสัตว์ครบทุกมิติ อาทิ ปศุสัตว์ – อาหาร – การเกษตร โดยงานจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-14 มีนาคม 2568 เวลา 10.00 - 18.00 น. ณ ฮอลล์ 1 บูธ 1-2499  ณ ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี และติดตามข่าวสารและชมสินค้า RubberFlex ที่เว็บไซต์ www.rubberflexthailand.com หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : @ner_cattleflex [PR News]

NER ปี68 โตแรงไฮซีซั่น เงินปันผลเด่นกว่า 6%

NER ปี68 โตแรงไฮซีซั่น เงินปันผลเด่นกว่า 6%

          หุ้นวิชั่น - 6 โบรกมองบวก “NER” ปี 2568 กำไรโตต่อเนื่อง รับปัจจัยหนุน High Season และขยายกำลังผลิต NER ตั้งเป้ายอดขายปี 2568 ราว 3.45 หมื่นล้านบาท (+26% YoY) พร้อมเพิ่มกำลังการผลิตใหม่ในไทยและโกตดิวัวร์ รองรับดีมานด์ตลาดยางทั่วโลก นักวิเคราะห์ประสานเสียงโตต่อเนื่องเงินปันผลกว่า 6% DAOL SECURITIES (THAILAND) PUBLID COMPANY LIMITED 4Q24 ฟื้น QoQ ตามคาดจาก high season และปริมาณวัตถุดิบมากขึ้น           เราคงคำแนะนำ “ถือ” และราคาเป้าหมาย 5.50 บาท อิง 2025E PER 6x (5-yr average) NER รายงาน กำไรสุทธิ 4Q24 ที่ 359 ล้านบาท (-22% YoY, -0.4% QoQ) ขณะที่กำไรปกติ (ไม่รวมขาดทุน Fx) อยู่ที่ 484 ล้านบาท (+13% YoY, +119% QoQ) ใกล้เคียงตลาดและเราคาด กำไรปกติขยายตัว YoY หนุน โดยราคาขายสูงขึ้น +27% YoY ตามทิศทางราคายางในตลาด และ SG&A ปรับตัวลงตามสัดส่วนการ ส่งออก แต่ปัจจัยเหล่านี้ถูก offset บางส่วนจาก GPM ลดลง -250bps เป็นผลจากต้นทุนยางสูงขึ้น ซึ่ง บริษัทบันทึกโดยวิธีถัวเฉลี่ย ขณะที่กำไรปกติฟื้นตัวสูง QoQ หนุนโดยปริมาณขายขยายตัว +39% QoQ จาก high season และสถานการณ์วัตถุดิบและภัยแล้งทยอยคลี่คลาย เราคงกำไรปกติปี 2025E ที่ 1.7 พันล้านบาท (+4% YoY) สาหรับ 1Q25E เบื้องต้นคาดการณ์กำ ไร ปกติมีแนวโน้มชะลอ YoY, QoQ จาก GPM ลดลงจากฐานสูงใน 1Q24 และปริมาณขายปรับตัวลง หลังผ่าน high season ราคาหุ้น outperform SET +10%/+16% ใน 1/3 เดือน โดยระยะสั้นราคาหุ้นมีโอกาสได้ sentiment บวกหลังประกาศจ่ายปันผล 2H24 ที่ 0.31 บาท/หุ้น คิดเป็น dividend yield สูงที่ 6% กำหนดขึ้น XD 24 เม.ย. ทั้งนี้เราแนะนำ “ถือ” จาก 1) ผลการดาเนินงาน 1Q25E มีโอกาสกลับมาชะลอตัว, 2) การ ขยายกาลังการผลิตจากโรงงานใหม่ในโกตดิวัวร์และไทย คาดเริ่มดาเนินการผลิตได้เร็วสุดในปี 2026E, และ 3) มีปัจจัยท้าทายจากนโยบายของสหรัฐฯ เช่น การยกเลิกส่งเสริมผลิตยานยนต์ไฟฟ้า การขึ้น ภาษีนำเข้ายานยนต์ เป็นต้น Krungthai XSpring อัตรากำไร 4Q24 ฟื้นช้า แต่เป็นปัจจัยชั่วคราว           KTX ปรับคำแนะนำลงเป็น Neutral จากเดิม Outperform ตามการปรับขึ้นของราคาหุ้นเข้ามาใกล้มูลค่าเหมาะสมปี 2025E ของเราที่ 5.38 บาท อิงอัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง 20.7% สะท้อน PER เป้าหมาย ที่ 4.8 เท่า Valuation Metrics บ่งชี้ว่าราคาหุ้นปัจจุบันยังค่ากว่ามูลค่าพื้นฐาน ขณะที่การเติบโตของ กำไรมีความสม่ำเสมอและมุมมองเชิงเทคนิคอยู่ในระดับปานกลางอัตรากำไรขั้นต้นที่ฟื้นตัวช้าได้รับแรงกดดันจากการปรับขึ้นของราคาวัตถุดิบ ซึ่งน่าจะค่อย ๆ คลี่คลายตามการปรับราคาขาย บล.กรุงศรี กำไรปกติ4 Q24 โตสูง q-q รายได้ New High ตามคาด           เรายังคงแนะนำ “ซื้อ” TP 5.85 บาท อัตราปันผลสูง 6.1% โดยกำไรปกติ 4Q24 ใกล้เคียงคาดอยู่ที่ 484 ลบ. (+13%y-y, +119%q-q) ปัจจัยหนุนจากรายได้และราคาขายทำสูงสุดใหม่ ปริมาณการขายดีที่สุดในรอบ 8 ไตรมาส อีกทั้ง SG&A/sales ลดลงเพราะสัดส่วนการขายในประเทศเพิ่มขึ้น สำหรับโมเมนตั้ม 1Q25F คาดกำไรปกติลดลง y-y, q-q เพราะต้นทุนราคายางเพิ่ม ประกอบกับปัจจัยฤดกาลที่เขาช่วงปิดกรีดปลาย ก.พ. ถึง พ.ค. จึงมองว่า 2H25F จะดีกว่าครึ่งแรกและดีที่สุดใน 4Q25F คงประมาณการกำไรปกติ 2025F ที่ 2,024 ลบ. (+21%yy) โดยเราชอบ NER ที่สุดในหุ้นกลุ่มยางฯ จาก Operating margin สูง 7-10% ทนความผันผวนของ GPM จากต้นทุนยางเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่า STA รายได้และราคาขาย 4Q24 เป็น New high ปริมาณการขายดีที่สุดในรอบ 8 ไตรมาส NER รายงานกำไรปกติ 4Q24 ที่ 484 ลบ. (+13%y-y, +119%q-q) ใกล้เคียงคาด ปัจจัยหนุนจาก i) รายได้ทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 8,934 ลบ. (+35%y-y, +45%q-q) จากปริมาณการขายอยู่ที่ 1.36 แสนตัน สูงที่สุดในรอบ 8 ไตรมาส เพิ่มขึ้น +7%y-y, +39%q-q ราคาขายที่ 66 บ./กก. ทำจุดสูงสุดใหม่เพิ่มขึ้น +27%y-y, +4%q-q ii) SG&A/sales ลดลงเหลือ 1.8% (vs 4Q23: 2.8%, 3Q24: 2.9%) เพราะค่าใช้จ่ายการขายในประเทศต่ำกว่าการส่งออกที่มีค่าขนส่งและค่าเซสลดลง (ภาษีส่งออก) โดยรายได้จากการขายในประเทศเติบโตสูง +52%y-y, +50%q-q สัดส่วนรายได้จากการขายในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 73% (vs 4Q23: 65%, 3Q24: 71%) ประกอบกับการเติบโตของรายได้มีอัตราเร่งสูงกว่าค่าใช้จ่าย ทั้งนี้มี FX loss และ hedging loss รวม -125 ลบ. จึงมีกำไรสุทธิที่ 359 ลบ. (-22%y-y ทรงตัว q-q) โมเมนตั้มกำไรปกติ 1Q25F ลดลง y-y, q-q เบื้องต้นเราคาดแนวโน้มกำไรปกติ 1Q25F ลดลง y-y, q-q คาดลดลง y-y จากราคาต้นทุนวัตถุดิบ เพิ่มขึ้นในอัตราเร่งกดดัน GPM และดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มจากการออกหุ้นกู้ชุดใหม่ช่วงปลายเดือน ธ.ค. 24 คาดกำไรปกติลดลง q-q จากปริมาณการขายลดลงจากปัจจัยฤดูกาล คงประมาณการกำไรปกติปี 2025F ที่ 2,024 ลบ. (+21%y-y) จากแนวโน้มปริมารณการขายเพิ่มขึ้น บริษัทตั้งเป้าที่ 5 แสนตัน/ปี โดยเรามองว่า 2H25F จะดีกว่าครึ่งแรกเนื่องจาก Q2 เป็นช่วงปิดกรีดยาง           เราคงแนะนำ “ซื้อ” TP25F ที่ 5.85 บ. อิง PER 6.4 เท่า แนวโน้มปริมาณการขายและทิศทางราคายางเพิ่มขึ้น มองเป็นหุ้นปันผลสูง ณ ราคาปัจจุบัน คิดเป็น dividend yield 6.1% XD 24 เม.ย. 25 บล. หยวนต้า กำไรปกติดีกว่าคาดเล็กน้อย           NER รายงานกำไรปกติ 4Q24 ที่ 484 ลบ. (+118.8% QoQ, +12.7 YoY) ดีกว่าที่เราคาด 4% โดยกำไรสุทธิอยู่ที่ 359 ลบ. เนื่องจากมีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 12 ลบ. และขาดทุนจากอนุพันธ์ 113 ลบ. กำไรปกติที่ดีกว่าคาดเล็กน้อยมาจากรายได้ที่ดีกว่าคาดจากปริมาณขายอยู่ที่ 1.36 แสนตัน (คาด 1.30 แสนตัน) และ ASP อยู่ที่ 65.6 บาท/กก. (คาด 65.0 บาท/กก.) เพิ่มขึ้น 4.4% QoQ และ 26.8% YoY รายได้อยู่ที่ 8,934 ลบ. (+45.0% QoQ, +35.3% YoY) ดีกว่าคาด 6% แต่ GPM ต่ำกว่าคาดเล็กน้อยอยู่ที่ 8.8% (คาด 9.0%) SG&A/Sales อยู่เพียง 1.8% ลดลงจาก 2.9% ใน 3Q24 และ 2.8% ใน 4Q23 เพราะรายได้สูงขึ้นมาก และ ดีกว่าที่คาดไว้ที่ 2.2% แต่ดอกเบี้ยจ่ายสูงกว่าคาด 12% กำไรสุทธิทั้งปี 2024 อยู่ที่ 1,652 ลบ. และกำไรปกติอยู่ที่ 1,673 ลบ. (+5.7% YoY) ประกาศจ่ายเงินปันผลงวด 2H24 อีก 0.31 บาท ให้ผลตอบแทน 6.1% ขึ้น XD วันที่ 24 เม.ย. เราคาดกำไร 1Q25 ทรงตัวถึงลดลงเล็กน้อยทั้ง QoQ และ YoY จากปริมาณขายลดลง QoQ แต่ราคาขายทรงตัวถึงเพิ่มขึ้น QoQ แต่ด้วยราคายางที่เพิ่มขึ้นเร็วใน 1Q25 ทำให้ต้นทุน เฉลี่ยอาจสูงขึ้นตาม ทำให้ GPM อาจทำได้เพียงทรงตัวที่ 9%+/- ส่วน YoY คาดปริมาณขายทรงตัว แต่ ASP เพิ่มขึ้นราว 15% YoY แต่ GPM ลดลงจากฐานที่สูง 1Q24 ทำไว้ที่ 11.6% คงราคาเป้าหมายสิ้นปี 2568 ที่ 6.45 บาท ปัจจุบันซื้อขายที่ PER68 ต่ำเพียง 5.7 เท่า และให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลเฉพาะ 2H24 สูงถึง 6.1% และคาดปี 2025 ทั้งปีอีก 0.36 บาท/หุ้น ให้ผลตอบแทนอีก 7.2% คงคำแนะนำซื้อ บล. ทรีนิตี้ NER รายงานกำไร 4Q24 ที่ 359 ล้านบาท           แนวโน้ม 2025 ราคายังยืนแข็งแกร่ง ปรับกลยุทธ์การขายรับ ประโยชน์ราคาขาขี้น           เราให้คำแนะนำ Trading Buy และราคาเป้าหมาย 5.15 บาท อิง PER ที่ 5.1 เท่า NER ยังคงเป็นหุ้นที่ให้ปันผลดี 0.31 บาท Dividend Yield 6% นอกจากนี้ PBV ยังอยู่ระดับ 1.1 เท่า ROE 20% นอกจากนี้จะยังมี growth จากการขยายกำลังผลิตในอีก 2 ปีข้างหน้า           NER รายงานกำไรใน 4024 ที่ 359 ล้านบาท -22% YoY, -0.4% QoQ ต่ำกว่าที่ตลาด คาดส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก Fx Loss ราว 125 ล้านบาท ซึ่งถ้าไม่รวมรายการดังกล่าว กำไรปกติจะอยู่ที่ 484 ล้านบาท +13% YoY, +118% QoQ ดีกว่าที่ตลาดคาดไว้           เราคาดกำไรปี 2025 ที่ 1.8 พันล้านบาท +11% YoY ผู้บริหารยังมีความมั่นใจที่ยอดขาย 5 แสนตัน โดยจะมีลูกค้าใหม่ๆ จากอินเดียที่จะทยอยเริ่มคำสั่งซื้อใน 2H25 และยังคงแผนการเพิ่มกำลังการผลิตจาก 5.1 แสนตัน เป็น 8.3 แสนตัน ในปี 2027 โดย Phase 1 คาดว่าจะเริ่มการสร้างโรงงานแห่งใหม่ภายใน 2H25 และคาดว่าจะแล้วเสร็จใน 1H26 ซึ่งจะเพิ่มกำลังการผลิตในปี 2026 ประมาณ 30% โดยปัจจุบันบริษัทได้มีการพูดคุย กับลูกค้าใหม่ๆ เป็นที่เรียบร้อยเพื่อรองรับการเพิ่มกำลังการผลิต โดยเป็นลูกค้าอินเดียรายใหญ่ ซึ่งอินเดียเองยังมีความต้องการยางค่อนข้างมาก และจากอินโดนีเซียที่มีปัญหาต้นยางตาย ลูกค้าจึงหาแหล่งยางที่มีความมั่นคง นอกจากนี้บริษัท ยังมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการขายสินค้าใหม่จากเดิมที่ขายล่วงหน้า 100% ลดลงเป็น 85% โดยส่วน 15% ที่ลดการขายล่วงหน้าลงจากแนวโน้มของราคายางที่เป็นขาขึ้น จะทําให้ บริษัทได้ Margin มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็อาจมีความเสี่ยงด้านความผันผวนของราคายาง และปริมาณขายรถยนต์ อินโนเวสท์ เอกซ์ ㆍ แม้ราคาหุ้นปัจจุบันมี Upside จำกัดจากราคาเป้าหมายปี 2568 ที่หุ้นละ 5.00 บาท (EPS อิงจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้นจากใช้สิทธิแปลงสภาพ NER-W2 ซึ่งมี 308 ล้านหน่วย และกำหนดให้ใช้สิทธิเท่ากัน 3 ครั้งในเวลาที่เหลือ 1.5 ปี พร้อมอิงค่าเฉลี่ย PER ที่ 6.0 เท่าเช่นเดิม) และมีความเสี่ยงต้องติดตามจากนโยบายเก็บภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐซึ่งอาจกระทบต่ออุปสงค์ยาง แต่อย่างไรก็ดี NER ยังมีจุดเด่นที่จ่ายเงินปันผลสูง โดยล่าสุดประกาศจ่ายเงินปันผลจ่ายจากกำไรปี 2H67 หุ้นละ 0.31 บาท (XD 24 เม.ย.) คิดเป็น Div. Yield 6.1% กลยุทธ์ลงทุนจึงคงแนะนำ "Neutral" เพื่อรับเงินปันผล ㆍบริษัทมีกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจและตั้งเป้าหมายการเติบโตในปี 2568 หลัง 4Q67 NER มีกำไรสุทธิ 359 ลบ. แต่ไม่รวมรายการพิเศษสุทธิที่บันทึกใน 4Q67 ราว -125 ลบ. จะมีกำไรปกติ 484 ลบ. เพิ่มขึ้น 12.7%YoY ใกล้เคียงตลาดคาด โดยมีแรงหนุนจากยอดขายที่เพิ่มขึ้น 35.3%YoY เนื่องจากมีปริมาณขายยาง 1.36 แสนตัน เพิ่มขึ้น 7%YoY และราคาขายยางเฉลี่ยอยู่ที่ 65.65 บาท ต่อกก. เพิ่มขึ้น 27%YoY อย่างไรก็ดี การเพิ่มขึ้นของยอดขายถูกหักล้างด้วยอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลงเหลือ 8.8% จาก 11.3% ใน 4Q66 หลังมีต้นทุนยางเฉลี่ยสูงขึ้นตามทิศทางราคายางที่ปรับขึ้นแรง ส่งผลให้ปี 2567 NER มีกำไรสุทธิ 1,652 ลบ. เติบโต 6.9%YoY แต่หากไม่รวมรายการพิเศษพบว่ามีกำไรปกติ 1.673 ลบ. เติบโต 5.7%YoY ใกล้เคียงกับที่เราคาดการณ์ ㆍปี 2568 NER ตั้งเป้ามียอดขายราว 3.45 หมื่นลบ. เพิ่มขึ้น 26%YoY ปัจจัยหนุนจากคาดมีปริมาณขายยางที่ 5 แสนตัน (+14%YoY) หลังมองลูกค้าเดิมยังมีดีมานด์ยางที่เติบโตดีและมีการขยายลูกค้าใหม่ในกลุ่มอินเดียเพิ่มเติม ส่วนราคาขายยางเฉลี่ยราว 70-72 บาทต่อกก. ทั้งนี้บริษัทมองว่าอุปทานยางโลกจะทรงตัว โดยอุปทานยางในอินโดนีเซียที่ลดลงจะถูกชดเชยจากอุปทานที่เพิ่มขึ้นขึ้นในโกตดิวัวร์ ส่วนอุปทานไทยปี 68 คาดเพิ่มขึ้น 20% หลังปริมาณฝนที่ดีขึ้นทำให้กรีดยางได้เร็วขึ้น ㆍ โรงงานใหม่แห่งที่ 3 ในไทย (กำลังผลิต 3.2 แสนตัน) จะเริ่มสร้างกลางปีนี้และจะเปิดเฟสแรกได้ในกลางปี 69 ซึ่งจะมีกำลังผลิต 1.6 แสนตัน ส่วนเฟสสองจะเปิดในปี 70 ซึ่งจะมีกำลังผลิตเพิ่มอีก 1.6 แสนตัน ทำให้กำลังผลิตจากปัจจุบัน 5:165 แสนตัน จะเพิ่มเป็น 8.356 แสนตันในปี 70 สามารถรองรับดีมานด์ที่จะเพิ่มขึ้นได้ ทั้งนี้บริษัทมีแผนกู้เงินจากสถาบันการเงินราว 2 พันลบ. เพื่อนำไปใช้สร้างโรงงานใหม่ซึ่งคาดทำให้ D/E เพิ่มจาก 1.2 เท่าเป็น 1.6 เท่า ขณะที่ความคืบหน้าการสร้างโรงงานผลิตและจำหน่ายยางในประเทศโกตติวัวร์ยังอยู่ระหว่างรอรัฐบาลโกตดิวัวร์อนุมัติกำลังผลิตของโรงงานซึ่งยังล่าช้ากว่าที่คาดพอสมควร ขณะที่มาตรการ EUDR ที่จะบังคับใช้ปีหน้าได้เตรียมปรับปรุงโรงงานขนาดเล็กที่บุรีรัมย์รองรับแล้วซึ่งจะมีกำลังผลิตราว 1 แสนตัน

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

เทียบชัดหุ้นยางพาราเด่น STA - NER [HoonVision x FynnCorp]

เทียบชัดหุ้นยางพาราเด่น STA - NER [HoonVision x FynnCorp]

          หุ้นวิชั่น - มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทยปี 67 เกิน 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นครั้งแรก ยางพาราเป็นสินค้าส่งออกที่ขยายตัวโดดเด่นในกลุ่ม ไทยครองส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 ยางพาราโลก ผู้ประกอบการยางพาราได้รับผลบวกจากราคายางที่สูงขึ้น จากอุปสงค์ที่ฟื้นตัว ทำให้ผลการดำเนินงานปี 67 เติบโตจากปีก่อนหน้า โดยเฉพาะ 2 ผู้เล่นจดทะเบียนในตลาด อย่าง STA และ NER มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรเติบโตต่อเนื่อง มูลค่าการส่งออกไทยภาพรวมขยายตัว 5.4% YoY ในปี 2567 สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (TPSO) รายงานมูลค่าการส่งออกของไทยขยายตัว 5.4% จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 300,529.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 10,548,759 ล้านบาท ซึ่งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร คิดเป็น 17.36% ของมูลค่าการส่งออกรวม ด้วยมูลค่า 52,185 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,835,800 ล้านบาท) ขยายตัว 6.0% จากปีก่อนหน้า ถือว่าเป็นครั้งแรกของไทยที่มูลค่าส่งออกสินค้าเหล่านี้เกินกว่า 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น 7.5% YoY ขยายตัวต่อเนื่อง 4 ปี ไทยส่งออกสินค้าเกษตรเป็นมูลค่า 28,827.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,014,588 ล้านบาท) ขยายตัวที่ 7.5% เทียบกับปีก่อน โดยสัดส่วนกว่า 88% ของมูลค่าการส่งออกมาจาก 5 สินค้าอันดับแรก ได้แก่ 1) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง (22.58%) 2) ข้าว (22.32%) 3) ยางพารา (17.32%) 4) ไก่ (14.96%) 5) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (10.87%) และตลาดส่งออกหลักของสินค้าเกษตร คือ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย (2567) ถึงขาดดุลแต่สินค้าส่งออกหลายกลุ่มยังเติบโต แม้ว่าภาพรวมในปี 2567 ไทยยังขาดดุลการค้าอยู่ที่ 6,280.4 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการส่งออกสินค้าในหลายกลุ่มก็ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร อย่างเช่นยางพารา ข้าว อาหารสัตว์เลี้ยง ผลไม้กระป๋องแปรรูป เป็นต้น ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเติบโตแบบ Double digits ตามลำดับ ซึ่งสินค้ากลุ่มยางพารา ขยายตัวกว่า 48.5% YoY ในเดือนธันวาคม และ 36.8% YoY ในปี 2567 การขยายตัวของกลุ่มสินค้าส่งออกไทย (2567) ไทยเป็นผู้ส่งออกยางพาราแปรรูปหลักของโลก ครองส่วนแบ่งอันดับ 1 ในปี 2567 สินค้ายางพารามีมูลค่าส่งออก 4,992.4 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงสุดเป็นอันดับ 3 ในกลุ่มสินค้าเกษตร ซึ่งไทยนับว่าเป็น 1 ใน 4 ผู้ผลิตยางพาราหลักของโลกจากการมีผลผลิตยางพาราจำนวนมาก โดยไทยส่งออกยางแปรรูปขั้นกลางเป็นหลักประมาณ 65% ได้แก่ ยางแท่ง ยางผสม น้ำยางข้น ยางแผ่นรมควัน ตามลำดับ ที่เหลือเป็นยางแปรรูปขั้นปลาย อย่าง ยางล้อและถุงมือยางธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม คู่แข่งประเทศอื่นอย่าง สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ (Cote d’Ivoire) และเวียดนามมีข้อได้เปรียบกว่าไทยในแง่ปริมาณผลผลิตต่อไร่สูงกว่า ราคาขายต่ำกว่า รวมถึงมีตลาดส่งออกหลักในจีนและยุโรป ซึ่งมีสินค้าคู่แข่งอย่าง ยางแท่ง ยางผสม และน้ำยางข้น ขณะที่ไทยมีต้นทุนการผลิตสูง และการส่งออกสินค้ายางพารายังอยู่ขั้นกลางเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมี Value added ไม่เทียบเท่ายางแปรรูปขั้นปลาย เช่น ยางล้อ ถุงมือยางธรรมชาติ ปริมาณการส่งออกสินค้ายางของไทย (2566) ยางพาราส่งออก อย่างยางแท่งและยางแผ่นรมควัน จะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์เป็นหลัก ส่วนน้ำยางข้น ถูกนำไปใช้ในการผลิตถุงมือยาง ยางยืด กาว ถุงยางอนามัย และอื่นๆ ดังนั้น หากไทยสามารถเพิ่มสินค้าส่วนยางแปรรูปขั้นปลาย ประกอบกับรักษาและสามารถเพิ่มฐานลูกค้าในกลุ่มยางแผ่นรมควันได้ ซึ่งไทยยังคงเป็นผู้ผลิตหลักอยู่ จะเป็นการเพิ่ม Value ให้กับอุตสาหกรรมยางพาราและสร้างมูลค่าให้กับสินค้าส่งออกได้มากยิ่งขึ้น หุ้นยางพารา: STA และ NER ในปี 2567 ที่ผ่านมา ราคายางพาราปรับตัวขึ้นมาก ด้วยราคาเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 174.3 เซนต์ต่อกิโลกรัม จากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัวอย่างเช่น จีน ซึ่งเป็นตลาดผู้บริโภคหลัก ประกอบกับอุปทานที่ค่อนข้างขาดแคลน โดยราคายางเฉลี่ย ณ ตลาด SICOM (Singapore Commodity Exchange) ถึงช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ยังคงสูงกว่า 190 เซนต์ต่อกิโลกรัม สะท้อนความต้องการใช้ยางจากอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ยังเติบโตต่อเนื่อง จากราคายางที่ปรับตัวขึ้นดังกล่าว ส่งผลดีต่อผู้ประกอบธุรกิจยางพารา ซึ่งบริษัทที่จดทะเบียนในตลาด ได้แก่ ศรีตรัง (STA) นอร์ทอีส (NER) ไทยอีสเทิร์น (TEGH) และ ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์ (TRUBB) โดย STA และ NER ถือเป็นผู้เล่นใหญ่ในกลุ่มหุ้นยางพารา ด้วยมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap) อยู่ที่ 24,268.8 ล้านบาท และ 9,128.2 ล้านบาท ตามลำดับ (อ้างอิงข้อมูล ณ วันที่ 27 ก.พ. 2568) โดย STA มีผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดและฐานรายได้สูง สะท้อนการเป็นผู้มีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ในอุตสาหกรรม ขณะที่ NER เน้นการเติบโตอย่างต่อเนื่องแบบมีเสถียรภาพ ซึ่งมีความผันผวนน้อยกว่า STA ทั้งในแง่รายได้และกำไร Net Profit ในที่นี้ คือ กำไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัท ในด้านผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) และ ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ (ROA) พบว่า NER โดดเด่นทั้งในเรื่อง การสร้างผลตอบแทนและการใช้สินทรัพย์น้อยกว่า ซึ่งหากวิเคราะห์ในโครงสร้างเงินทุนของบริษัทพบว่า NER มีสัดส่วนหนี้สินมากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น สะท้อนด้วยค่า D/E (Debt to Equity) ที่ 1.29 เท่าในปี 2567 ขณะที่ STA มีค่านี้ต่ำกว่าเล็กน้อยอยู่ที่ 1.2 เท่า ในปีเดียวกัน ด้านอัตราส่วนเงินปันผลตอบเเทน (Dividend yield) ของ NER โดดเด่นกว่า อยู่ที่ 7.36% ในปี 2567 ขณะที่ STA อยู่ที่ 5.52% ส่วนหนึ่งมาจากราคาหุ้นเทียบกับกำไรต่อหุ้น (P/E ratio) ของ STA ที่สูงถึง 70.56 เท่า สะท้อนการเป็นหุ้นที่เติบโตเร็ว จากผลการดำเนินงานและแผนขยายกำลังการผลิตเพื่อรองรับความต้องการยางพาราที่เติบโตต่อเนื่อง ดังนั้น เมื่อพิจารณาแล้ว หุ้น STA อาจเหมาะกับนักลงทุนมองหาหุ้นที่มีการเติบโตที่สะท้อนผ่านค่า P/E ที่สูง ส่วนหุ้น NER จะเป็นหุ้นที่เน้นความมีเสถียรภาพทั้งในด้านผลการดำเนินงาน ราคา และผลตอบแทน เหมาะกับนักลงทุนที่มองหาผลตอบแทนที่มั่นคง กลยุทธ์การเติบโตในปี 2568 ผู้เล่นในกลุ่มเน้นการเติบโตจากการขยายกำลังการผลิต เพื่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด ส่งผลต่อต้นทุนที่ลดลง รวมถึงการขยายฐานลูกค้าใหม่ในตลาดต่างประเทศ การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ อย่างเช่น กลุ่ม STA ตั้งเป้าขยายกำลังการผลิตติดตั้งสู่ 3.74 ล้านตันต่อปีภายใน 2568 จากกำลังการผลิต 2.62 ล้านตันต่อปีในปี 2560 ส่วน NER ขยายฐานลูกค้าไปในเกาหลีและอินเดีย เพื่อตอบสนองกับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงเน้นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น แผ่นปูกันกระแทกสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วย ปัจจัยเสี่ยง อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมยางพาราก็มีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเผชิญ จากภาวะเศษฐกิจ สภาพภูมิอากาศ ความท้าทายจากเทรนด์ความยั่งยืน โดยเฉพาะจากกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการต้ดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EU Deforestation Regulation : EUDR) ซึ่งกำหนดให้สินค้ายางพาราหรือผลิตภัณฑ์จากยางพาราที่ส่งไปสหภาพยุโรป ต้องผ่านการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของวัตถุดิบ ว่าไม่ได้มาจากพื้นที่ที่มีการตัดไม้ทำลายป่า ส่งผลต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ แต่ไทยเองก็มีความพร้อมมากกว่าประเทศคู่แข่ง ซึ่งข้อกำหนด EUDR เลื่อนการบังคับใช้จากสิ้นปี 2567 มาเป็นสิ้นปี 2568 ดังนั้น จากที่ไทยมีความพร้อมอยู่แล้ว ก็จะมีความพร้อมมากขึ้นสำหรับข้อกำหนดนี้ หมายเหตุ: การวิเคราะห์ข้างต้นเป็นการดูอัตราส่วนทางการเงินเบื้องต้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน รายละเอียดเพิ่มเติม ที่ https://app.visible.vc/shared-update/8901e23d-5940-4055-a7a5-e0cc315074dc

NER ราคายางขาขึ้น ลูกค้าอินเดียเพิ่ม

NER ราคายางขาขึ้น ลูกค้าอินเดียเพิ่ม

          หุ้นวิชั่น - NER ราคายางขาขึ้นใน 5 ปี คาดยอดขายยางพารา 500,000 ตันเพิ่ม 14% พร้อมสร้างรายได้ 34,000 ล้านบาทในปี 2568 ปรับกลยุทธ์ขายลด Matching Order ให้เหมาะสม ขยาย STR3 ที่บุรีรัมย์และจับตลาดอินเดียเพิ่มสัดส่วน เพื่อลดความพึ่งพาจีน ท่ามกลางภาษียางส่งออกสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้นเป็น 17% เชื่อยังสามารถบริหารจัดการได้           นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER ซึ่งเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติชั้นนำระดับโลก เปิดเผยว่า สำหรับปีนี้ (2568) บริษัทยอดขายยางพาราที่ 500,000 ตัน เพิ่มขึ้น 14% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา คาดว่าจะสร้างรายได้รวมประมาณ 34,000 ล้านบาท ซึ่งเติบโตถึง 24% โดยเป้าหมายอัตรากำไรสุทธิ (Net Margin) อยู่ที่ 6-7% และอัตรากำไรขั้นต้นในปี 2568 มีแนวโน้มกลับมาอยู่ที่ระดับ 10% เนื่องจากบริษัทมีความสามารถในการบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ           ขณะที่ไตรมาสแรกของปี 2568 บริษัทคาดว่ายอดขายจะต่ำกว่าไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 ลงประมาณ 10% ในขณะที่รายได้อาจลดลงประมาณ 3-4% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 นอกจากนี้บริษัทได้ปรับนโยบายและกลยุทธ์การขาย โดยลดสัดส่วนการใช้วิธี Matching Order จาก 100% มาอยู่ที่ 80% เนื่องจากมองว่าทิศทางราคายางในอีก 5 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มขาขึ้นอย่างชัดเจน โดยอุปทานยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ หากในอนาคตเกิดสภาวะราคาลดลง บริษัทจะกลับมาบริหารจัดการความเสี่ยงตามแนวทางเดิม           สำหรับโรงงานยางแท่งแห่งที่ 3 ที่จังหวัดบุรีรัมย์ (STR3) ซึ่งมีขนาดกำลังการผลิต 320,000 ตัน และมีมูลค่าการลงทุน 2,059 ล้านบาท กำลังเดินหน้าดำเนินโครงการตามแผนที่วางไว้ ในขณะที่ที่ประเทศโกตดิวัวร์ (Côte d'Ivoire) บริษัทได้จัดตั้งบริษัทแล้ว แต่กระบวนการประสานงานยังอยู่ในขั้นตอนดำเนินงาน           ในส่วนของภาษี สหรัฐอเมริกาในปัจจุบันได้ปรับขึ้นภาษีสำหรับยางส่งออกจากบริษัทเล็กน้อย โดยอยู่ที่ 17% จากเดิมที่ 7% แม้ว่าราคายางที่ส่งออกไปยังสหรัฐยังคงถูกกว่าประเทศเพื่อนบ้านในระดับหนึ่ง แต่ภาษีสำหรับการนำเข้ากลับเข้าสหรัฐถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน           ในด้านสินค้าประเภทแผ่นปูรองปศุสัตว์ บริษัทตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 30 ล้านบาทในปีนี้ โดยมุ่งเน้นผลิตแผ่นปูรองคอกสำหรับฟาร์มหมูและฟาร์มวัว ในขณะที่ผลิตภัณฑ์แผ่นรองสำหรับ สุนัข ในโรงพยาบาลอยู่ระหว่างดำเนินการ           ด้านลูกค้าปีนี้คาดว่า ลูกค้าจากประเทศอินเดียจะเพิ่มสัดส่วนขึ้นเป็น 15% ของยอดขายในปี 2568ขึ้นไป เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพาลูกค้าจากประเทศจีน ที่ผ่านมาลูกค้าอินเดียก็มีการเข้ามาดูโรงงานของบริษัทต่อเนื่อง นอกได้มีการกำหนดจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2567 ในอัตราหุ้นละ 0.36 บาท คิดเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 665.20 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการจ่ายเงินปันผลร้อยละ 40.26 ของกำไรสุทธิหลังจากหักเงินทุนสำรองตามกฎหมาย ซึ่งเมื่อหักเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับผลประกอบการงวด 6 เดือนแรกของปี 2567 ในอัตราหุ้นละ 0.05 บาทต่อหุ้น คิดเป็นเงิน 92.39 ล้านบาท ที่จ่ายเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 คงเหลือเป็นเงินปันผลงวดสุดท้ายสำหรับผลประกอบการปี 2567 แก่ผู้ถือหุ้นเป็นเงินหุ้นละ 0.31 บาท คิดเป็นเงินรวมประมาณ 572.81 ล้านบาท โดยจ่ายจากกำไรส่วนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด และกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 9 พฤษภาคม 2568 ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวจะถูกนำเสนอเพื่อขออนุมัติต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นที่จะมีขึ้นในครั้งถัดไป

NER หุ้นมีปันผล คาดกำไรโตต่อ โบรกเชียร์ ‘ซื้อ’

NER หุ้นมีปันผล คาดกำไรโตต่อ โบรกเชียร์ ‘ซื้อ’

           หุ้นวิชั่น - บล.กรุงศรี ฝ่ายวิจัยมีมุมมอง “Positive” ต่อข้อมูลที่ได้รับจากงานประชุมนักวิเคราะห์บริษัทตั้งเป้าเติบโตสูง คาดปริมาณการขาย 500,000ตัน (+14%y-y) มองราคาขายเฉลี่ย 72 บ./กก. (+15%y-y) จาก Demand จีนและอินเดียเพิ่ม รวมถึง Supply ตลาดโลกลดลง อีกทั้งมีกลยุทธป์ รับวิธีการขายเพื่อลดInventory day ลง พร้อมกับการกลับมาตัดสินใจเริ่มก่อสร้างโรงงานแห่งที่ 3 กลางปี 2025F คาดแล้วเสร็จ 2026F            ทั้งนี้ยังคงประมาณการกำไรปกติ 2,024 ลบ. (+21%y-y) รอดู1Q25F ว่ามีแนวโน้มเป็นไปตามคาดหรือไม่ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีความผันผวนของราคาวัตถุดิบสูง            เบื้องต้นคาดกำไรปกติ 1Q25F เพิ่มขึ้น y-y ทรงตัว q-q ทั้งนี้ มีจ่ายปันผล 0.31 บ./หุ้น (yield 6.4%) XD 24 เม.ย. 25 คงคำแนะนำ Buy TP 5.85 บ.

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

NER กำไรปี67ที่ 1,652 ล้านบ. 68เป้ารายได้กว่า 34,000 ล้านบ.

NER กำไรปี67ที่ 1,652 ล้านบ. 68เป้ารายได้กว่า 34,000 ล้านบ.

           หุ้นวิชั่น - NER ประกาศข่าวดียอดขายปี 2567 กำไร 1,652 ล้านบาท พร้อมจ่ายเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 0.36 บาท รวม 665.20 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการจ่ายเงินปันผลร้อยละ 40.26 ของกำไรสุทธิ เผยปีนี้ (2568) เดินหน้ารุกธุรกิจพร้อมดันยอดผลิตและขายสินค้าสู่ 500,000 ตัน คิดเป็นรายได้ประมาณ 34,000 ล้านบาท หรือเติบโต 24 %            นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER ผู้ผลิตยางธรรมชาติชั้นนำระดับโลก ที่มุ่งสร้างคุณค่าและอนาคตที่ยั่งยืนให้กับทุกชุมชนที่มีเรา”ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางพาราในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และยางผสม ตอบสนองความต้องการของผู้ผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์และผู้ค้าคนกลางทั้งในประเทศและต่างประเทศ เปิดเผยถึงผลประกอบการในปี 2567 ว่ามีปริมาณขาย 439,179 ตัน รายได้จากการขายรวมทั้งสิน 27,448.33 ล้านบาท แยกเป็นกำไรสุทธิอยู่ที่ 1,652 ล้านบาท            โดยกำหนดจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2567 ในอัตราหุ้นละ 0.36 บาท คิดเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 665.20 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการจ่ายเงินปันผลร้อยละ 40.26 ของกำไรสุทธิหลังจากหักเงินทุนสำรองตามกฎหมาย ซึ่งเมื่อหักเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับผลประกอบการงวด 6 เดือนแรกของปี 2567 ในอัตราหุ้นละ 0.05 บาทต่อหุ้น คิดเป็นเงิน 92.39 ล้านบาท ที่จ่ายเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 คงเหลือเป็นเงินปันผลงวดสุดท้ายสำหรับผลประกอบการปี 2567 แก่ผู้ถือหุ้นเป็นเงินหุ้นละ 0.31 บาท คิดเป็นเงินรวมประมาณ 572.81 ล้านบาท โดยจ่ายจากกำไรส่วนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด และกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 9 พฤษภาคม 2568 ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวจะถูกนำเสนอเพื่อขออนุมัติต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นที่จะมีขึ้นในครั้งถัดไป            สำหรับปีนี้ (2568) บริษัทได้ตั้งเป้าหมายการเติบโตว่าจะสามารถผลิตและก็ขายสินค้าประมาณ 500,000 ตัน คิดเป็นรายได้ประมาณ 34,000 ล้านบาท หรือเติบโต 24 % ” นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ กล่าวในท้ายสุด

NER กำไร Q4 พุ่งแรง 118.8% จ่ายปันผลสูง 6.1% โบรกแนะซื้อ เป้า 6.45 บาท

NER กำไร Q4 พุ่งแรง 118.8% จ่ายปันผลสูง 6.1% โบรกแนะซื้อ เป้า 6.45 บาท

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.หยวนต้า ระบุว่า NER  รายงานกำไรปกติ 4Q24 ที่ 484 ลบ. (+118.8% QoQ, +12.7% YoY) ดีกว่าคาด 4% โดยกำไรสุทธิอยู่ที่ 359 ลบ. เนื่องจากมีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 12 ลบ. และขาดทุนจากอนุพันธ์ 113 ลบ. กำไรปกติที่ดีกว่าคาดเล็กน้อยมาจากรายได้ที่ดีกว่าคาด จากปริมาณขายอยู่ที่ 1.36 แสนตัน (คาด 1.30 แสนตัน) และ ASP อยู่ที่ 65.6 บาท/กก. (คาด 65.0 บาท/กก.) เพิ่มขึ้น 4.4% QoQ และ 26.8% YoY รายได้อยู่ที่ 8,934 ลบ. (+45.0% QoQ, +35.3% YoY) ดีกว่าคาด 6% แต่ GPM ต่ำกว่าคาดเล็กน้อยอยู่ที่ 8.8% (คาด 9.0%) SG&A/Sales อยู่เพียง 1.8% ลดลงจาก 2.9% ใน 3Q24 และ 2.8% ใน 4Q23 เพราะรายได้สูงขึ้นมาก และดีกว่าที่คาดไว้ที่ 2.2% แต่ดอกเบี้ยจ่ายสูงกว่าคาด 12%           งบดุลยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ DE Ratio ทรงตัว YoY ที่ราว 1.3 เท่า เงินสดเพิ่มขึ้นมีนัยสำคัญจากผลของการออกหุ้นกู้เพิ่มเติม และเงินกู้ระยะสั้นเพิ่มขึ้น กระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวกลดลง YoY จากปริมาณสินค้าคงเหลือที่เพิ่มขึ้นเพื่อเตรียมรับการเติบโตของยอดขายในปี 2025 บริษัทตั้งเป้าปริมาณขายเพิ่มขึ้นเป็น 5.0 แสนตัน (+14% YoY)           กำไรสุทธิทั้งปี 2024 อยู่ที่ 1,652 ลบ. และกำไรปกติอยู่ที่ 1,673 ลบ. (+5.7% YoY) ประกาศจ่ายเงินปันผลงวด 2H24 อีก 0.31 บาท ให้ผลตอบแทน 6.1% ขึ้น XD วันที่ 24 เม.ย. Our Take           คาดกำไร 1Q25 ทรงตัวถึงลดลงเล็กน้อยทั้ง QoQ และ YoY จากปริมาณขายลดลง QoQ แต่ราคาขายทรงตัวถึงเพิ่มขึ้น QoQ แต่ด้วยราคายางที่เพิ่มขึ้นเร็วใน 1Q25 ทำให้ต้นทุนเฉลี่ยอาจสูงขึ้นตาม ทำให้ GPM อาจทำได้เพียงทรงตัวที่ 9%+/- ส่วน YoY คาดปริมาณขายทรงตัว แต่ ASP เพิ่มขึ้นราว 15% YoY แต่ GPM ลดลงจากฐานที่สูง 1Q24 ทำไว้ที่ 11.6%           คงราคาเป้าหมายสิ้นปี 2568 ที่ 6.45 บาท ปัจจุบันซื้อขายที่ PER68 ต่ำเพียง 5.7 เท่า และให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลเฉพาะ 2H24 สูงถึง 6.1% และคาดปี 2025 ทั้งปีอีก 0.36 บาท/หุ้น ให้ผลตอบแทนอีก 7.2% คงคำแนะนำ ซื้อ

[Vision Exclusive] NER ลุยขาย 5แสนตัน ดีมานด์ยางพารายังดี

[Vision Exclusive] NER ลุยขาย 5แสนตัน ดีมานด์ยางพารายังดี

            หุ้นวิชั่น - NER ประกาศงบ 19 ก.พ.นี้ ผลงานตามแผน ด้านบิ๊ก NER เผยปี 68 ปริมาณขายยางพาราเพิ่มขึ้นเป็น 500,000 ตัน จีนยังเป็นตลาดหลัก แต่ปีนี้สัดส่วนอินเดียเพิ่ม มองราคายางพาราคาปีนี้เฉลี่ยที่ 62 บาทต่อกิโลกรัม ซัพพลายในตลาดลด พร้อมตลาด EV ช่วยหนุน โบรกมองอัพไซด์เปิดกว้าง Dividend Yield สูงถึง 6.8 ราคา เป้าหมายที่ 5.85 บาท             นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และยางผสม เพื่อจำหน่ายไปยังผู้ผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ และกลุ่มผู้ค้าคนกลาง ทั้งในและต่างประเทศ เปิดเผยบริษัทเตรียมรายงาน ผลประกอบการไตรมาส 4/2567 และปี 2567 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567) ซึ่งเป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยคาดว่าปริมาณขายจะใกล้เคียงเป้าหมายที่ 440,000 ตัน และรายได้รวมอยู่ที่ 25,000 ล้านบาท ขณะที่แนวโน้มราคายางพารายังเป็นบวก โดยปัจจุบันราคายางเฉลี่ยอยู่ที่ 68 บาทต่อกิโลกรัม             สำหรับแนวโน้มธุรกิจในปี 2568 บริษัทคาดว่าจะยังเติบโตต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าปริมาณขายยางพาราเพิ่มขึ้นเป็น 500,000 ตัน โดย ตลาดจีนยังคงเป็นตลาดหลัก อย่างไรก็ตาม ปีนี้บริษัทมีแผน เพิ่มสัดส่วนการส่งออกไปอินเดีย เป็น 10% จากเดิมที่ทำได้ 5% ในปีที่ผ่านมา             ด้านแนวโน้มราคายางพาราในปี 2568 คาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 62 บาทต่อกิโลกรัม โดยยังอยู่ในระดับที่ดี เนื่องจาก ซัพพลายใหม่ในตลาดยังไม่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะซัพพลายจากอินโดนีเซียที่เผชิญปัญหาภัยแล้งต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้น้ำยางออกมาน้อย ซึ่งเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยพยุงราคายางพารา             ขณะเดียวกัน ความต้องการใช้ยางพาราในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่กำลังขยายตัว ยังเป็นแรงหนุนสำคัญต่อความต้องการยางล้อ และช่วยผลักดันอุตสาหกรรมยางพาราให้เติบโตต่อเนื่องในปีนี้             บล.กรุงศรี ระบุถึง NER ว่า คาดกำไรปกติ ไตรมาส4/2567 ที่ 470 ล้านบาท (+9% จากช่วงเดียวกันปีก่อน, +113% จากไตรมาสก่อนหน้า) และรายได้ที่ 8,842 ล้านบาท (+34% จากช่วงเดียวกันปีก่อน, +44% จากไตรมาสก่อนหน้า) ซึ่งเป็นจุดสูงสุดใหม่ คาดปริมาณการขายราว 136,000 ตัน (+7% จากช่วงเดียวกันปีก่อน , +39% จากไตรมาสก่อนหน้า) ได้แรงหนุนจากปัจจัยฤดูกาล เนื่องจากไตรมาส 4เป็น High Season ของการส่งออกยาง มีวัตถุดิบมาก คาดราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 65 บาท/กก. (+26% จากช่วงเดียวกันปีก่อน, +3% จากไตรมาสก่อนหน้า) อย่างไรก็ตาม คาดว่า GPM จะอยู่ที่ 8.8% ต่ำกว่าที่คาดไว้เดิมที่มองว่าจะฟื้นตัวเป็นตัวเลขสองหลัก (เทียบกับ 11.3% ใน 4Q23 และ 8.3% ใน 3Q24) เนื่องจากราคาต้นทุนยางเร่งตัวขึ้น ทั้งนี้ คาด FX loss ประมาณ -100 ล้านบาท ส่งผลให้คาดกำไรสุทธิอยู่ที่ 370 ล้านบาท (-20% จากช่วงเดียวกันปีก่อน, +3% จากไตรมาสก่อนหน้า)             สำหรับปี 2567 คาดกำไรปกติอยู่ที่ 1,660 ล้านบาท (+5% ) ต่ำกว่าประมาณการปัจจุบันที่คาดไว้ -13% หรือ 1,900 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากการคาดการณ์ว่า GPM ปี 2567 จะอยู่ที่ 10.1% ต่ำกว่าสมมติฐานเดิมที่ 11.8% เนื่องจากราคาต้นทุนวัตถุดิบใน 4Q24F ปรับขึ้นเร็วกว่าคาด เบื้องต้นคำนวณว่า ทุกๆ -0.1% การลดลงของ GPM จะกระทบกำไรปกติปี 2567 จะ -1.4% หากตัวแปรอื่นคงที่ ขณะที่ปริมาณการขายปี 2024F คาดว่าจะอยู่ที่ 439,000 ตัน ใกล้เคียงเป้าหมายของบริษัทที่ตั้งไว้ที่ 440,000 ตัน             คำแนะนำเป็น “Buy” คง TP ที่ 5.85 บาท อิง PER 6.4 เท่า (เดิม Trading Buy) จาก upside ที่เปิดกว้างขึ้น และมองว่าเป็นหุ้นปันผลสูง คาด เงินปันผลที่ 0.32 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend Yield สูงถึง 6.8% คาด XD ช่วงเดือนเมษายน และจ่ายปันผลในเดือนพฤษภาคมนี้ รายงาน : นางสาวณัฏฐ์ชญา ปุริมปรัชญ์ภัทร บรรณาธิการข่าว Hoonvision

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

โบรกคาดการณ์ งบ NER ไตรมาส4/2567

โบรกคาดการณ์ งบ NER ไตรมาส4/2567

           หุ้นวิชั่น - บล.กรุงศรี ระบุถึง NER ว่า คาดกำไรปกติ 4Q24F ที่ 470 ล้านบาท (+9% y-y, +113% q-q) และรายได้ที่ 8,842 ล้านบาท (+34% y-y, +44% q-q) ซึ่งเป็นจุดสูงสุดใหม่ คาดปริมาณการขายราว 136,000 ตัน (+7% y-y, +39% q-q) ได้แรงหนุนจากปัจจัยฤดูกาล เนื่องจาก Q4 เป็น High Season ของการส่งออกยาง มีวัตถุดิบมาก คาดราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 65 บาท/กก. (+26% y-y, +3% q-q) อย่างไรก็ตาม คาดว่า GPM จะอยู่ที่ 8.8% ต่ำกว่าที่คาดไว้เดิมที่มองว่าจะฟื้นตัวเป็นตัวเลขสองหลัก (เทียบกับ 11.3% ใน 4Q23 และ 8.3% ใน 3Q24) เนื่องจากราคาต้นทุนยางเร่งตัวขึ้น ทั้งนี้ คาด FX loss ประมาณ -100 ล้านบาท ส่งผลให้คาดกำไรสุทธิอยู่ที่ 370 ล้านบาท (-20% y-y, +3% q-q)            สำหรับปี 2024F คาดกำไรปกติอยู่ที่ 1,660 ล้านบาท (+5% y-y) ต่ำกว่าประมาณการปัจจุบันที่คาดไว้ -13% หรือ 1,900 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากการคาดการณ์ว่า GPM ปี 2024F จะอยู่ที่ 10.1% ต่ำกว่าสมมติฐานเดิมที่ 11.8% เนื่องจากราคาต้นทุนวัตถุดิบใน 4Q24F ปรับขึ้นเร็วกว่าคาด เบื้องต้นคำนวณว่า ทุกๆ -0.1% การลดลงของ GPM จะกระทบกำไรปกติปี 2024F -1.4% หากตัวแปรอื่นคงที่ ขณะที่ปริมาณการขายปี 2024F คาดว่าจะอยู่ที่ 439,000 ตัน ใกล้เคียงเป้าหมายของบริษัทที่ตั้งไว้ที่ 440,000 ตัน            คำแนะนำเป็น “Buy” คง TP ที่ 5.85 บาท อิง PER 6.4 เท่า (เดิม Trading Buy) จาก upside ที่เปิดกว้างขึ้น และมองว่าเป็นหุ้นปันผลสูง คาด เงินปันผลที่ 0.32 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend Yield สูงถึง 6.8% คาด XD ช่วงเดือนเมษายน และจ่ายปันผลในเดือนพฤษภาคมนี้

NER โบรกอัพเป้าใหม่ คาดกำไรปี68 โต 22% ชี้ปันผลน่าสนใจ

NER โบรกอัพเป้าใหม่ คาดกำไรปี68 โต 22% ชี้ปันผลน่าสนใจ

          หุ้นวิชั่น - บล.กรุงศรี ประเมินหุ้น NER โดยฝ่ายวิจัยปรับคำแนะนำเป็น “Buy” คง TP 5.85 บ. (เดิม Trading buy) คาดปันผล 0.32 บ./หุ้น ณ ราคาปัจจุบันคิดเป็น dividend yield ราว 6.8% ซึ่งเป็นระดับที่น่าสนใจ สำหรับกำไรปกติ 4Q24F คาดที่470 ลบ. (+9%y-y, +113%q-q) จากปริมาณการขายเพิ่มขึ้น ตามปัจจัยฤดูกาล อย่างไรก็ตามคาด GPM ต่ำกว่าที่ฝ่ายวิจัยคาดไว้ก่อนหน้า เพราะต้นทุนยางพาราเร่งตัวขึ้น           ส่วนแนวโน้มปี2025F บริษัทยังคงเป้าปริมาณการขายที่5 แสนตัน/ปีเพิ่มขึ้น +14%y-y ฝ่ายวิจัยคาด 2H25F ดีกว่าครึ่งแรก เนื่องจากจะเริ่มเข้าฤดูกาลปิดกรีดในปลายเดือน ก.พ. - พ.ค. ทำให้ปริมาณการขายอาจลดลงตามฤดูกาล แนวโน้มกำไรปกติ 1Q25F ลดลง y-y, q-q มอง 2H25F ดีกว่าครึ่งแรกของปี           คาดแนวโน้มกำไรปกติ 1Q25F ลดลง y-y,q-q คาดลดลง y-y จากราคาต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งกดดัน GPM และดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มจากการออกหุ้นกู้ชุดใหม่ช่วงปลายเดือน ธ.ค. 24 คาดกำไรปกติลดลง q-q จากปริมาณการขายลดลงหลัง Q4 เป็น High season และต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้นฃ           ขณะที่ราคาขายอาจเพิ่มขึ้นช้ากว่าต้นทุน ส่วน 2Q25F เป็นช่วงปิดกรีด คาดปริมาณการขายน้อยที่สุดของปี จึงคาด 2H25F ดีกว่าครึ่งแรก ทั้งนี้ บริษัทยังคงเป้าปริมาณการขายที่ 500,000ตันต่อปี(+14%y-y) โดยยังคงประมาณการกำไรปกติปี2025F ที่2,024 ลบ. (+22%y-y) ฝ่ายวิจัยปรับคำแนะนำเป็น “Buy” คง TP ที่ 5.85 บ.           ฝ่ายวิจัยปรับคำแนะนำเป็น “Buy” คง TP ที่ 5.85 บ.อิง PER 6.4 เท่า (เดิม Trading buy) จาก upside ที่เปิดกว้างขึ้นและมองเป็นหุ้นปันผลสูง คาดเงินปันผลที่ 0.32 บ./หุ้น คิดเป็น dividend yield สูงถึง 6.8% คาด XD ช่วงเดือน เม.ย. และจ่ายปันผล พ.ค. นี้

NER คาดกำไรQ4ฟื้นชัด รับโชคราคาขายเพิ่ม23%

NER คาดกำไรQ4ฟื้นชัด รับโชคราคาขายเพิ่ม23%

          หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล. ดาโอระบุว่า คงคำแนะนำ “ถือ” และราคาเป้าหมาย 5.50 บาท อิง 2025E PER 6x (5-yr average) เราประเมินกำไรปกติ 4Q24E (ไม่รวมขาดทุน Fx ราว 100 ล้านบาท) อยู่ที่ 462 ล้านบาท (+8% YoY, +109% QoQ) สูงกว่ากรอบประเมินเบื้องต้นที่ราว 300-400 ล้านบาท กำไรปกติโต YoY ได้อานิสงส์จากราคาขายสูงขึ้นราว +23% YoY ตามทิศทางราคายางในตลาด แต่ถูกชดเชยบางส่วนจาก GPM ลดลงอยู่ที่เพียง 8.8% เป็นไปตามต้นทุนยางสูงขึ้น ซึ่งบริษัทบันทึกโดยวิธีถัวเฉลี่ย           ขณะที่กำไรปกติขยายตัว QoQ หนุนโดยปริมาณขายสูงขึ้น +38% QoQ อยู่ที่ 1.35 แสนตัน อานิสงส์ high season ของส่งออกยาง และสถานการณ์วัตถุดิบเริ่มคลี่คลายตามการเข้าสู่ช่วงเปิดกรีดยางเราปรับกำไรสุทธิปี 2024E ขึ้น +4% เป็น 1.7 พันล้านบาท (+7% YoY) และปรับกำไรปกติขึ้น +10% เป็น 1.7 พันล้านบาท (+4% YoY) เพื่อสะท้อนแนวโน้ม 4Q24E ดีกว่าคาด           ขณะที่คงกำไรปกติปี 2025E ใกล้เคียงเดิมที่ 1.7 พันล้านบาท (+5% YoY) สำหรับทิศทาง 1Q25E เบื้องต้นประเมินกำไรปกติจะอ่อนตัว YoY, QoQ จาก GPM ลดลงจากฐานสูงใน 1Q24 และปริมาณขายปรับตัวลงหลังผ่านช่วง high seasonราคาหุ้นกลับมา outperform SET +9%/+7% ใน 1/3 เดือน แม้กำไรปกติ 4Q24E จะโตสูง QoQ และระยะสั้นได้ปัจจัยบวกจากเงินปันผล 2H24E ซึ่งคาดการณ์ dividend yield จะสูงราว +6%           อย่างไรก็ตามเราคงคำแนะนำ “ถือ” จาก 1) ผลการดำเนินงาน 1Q25E มีโอกาสกลับมาชะลอตัว, 2) มีปัจจัยท้าทายจากนโยบายประธานาธิบดีทรัมป์ในการยกเลิกส่งเสริมผลิตยานยนต์ไฟฟ้า แม้ปัจจุบันบริษัทไม่มีสัดส่วนส่งออกไปสหรัฐฯ แต่เรามองว่าปัจจัยดังกล่าวอาจส่งผลต่ออุปสงค์โดยรวมของตลาดโลก, และ 3) การขยายกำลังการผลิตจากโรงงานใหม่ในโกตดิวัวร์และไทย คาดเริ่มได้เร็วสุดในปี 2026E

abs

ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร

ส่งออก ธันวาคม โต 8.7% NER-COCOCO โดดเด่น

ส่งออก ธันวาคม โต 8.7% NER-COCOCO โดดเด่น

           หุ้นวิชั่น - ส่งออกไทยเดือนธันวาคม 2567 ขยายตัว 8.7% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3 แสนล้านดอลลาร์ ดัน GDP ไตรมาส 4 มีโอกาสโตเกินคาด สินค้าที่เติบโตเด่นคือ น้ำมะพร้าว โต75%ยางพารา โต48.5% ปีหน้าคาดส่งออกโต 2– 3% โบรกมองหุ้นเด่น NER-MALEE-COCOCO -KTB- TTB            นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ แถลง การส่งออกของไทยในเดือนธันวาคม 2567 มีมูลค่า 24,765.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (853,305 ล้านบาท) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ร้อยละ 8.7 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวที่ร้อยละ 10.4 ภาพรวมการส่งออกทั้งปี 2567 ทำมูลค่าการส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยการส่งออกในรูปของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ พุ่งทะยานสู่ระดับ 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นครั้งแรก เช่นเดียวกับการส่งออกในรูปของเงินบาทก็มีมูลค่าสูงกว่า 10 ล้านล้านบาท เป็นครั้งแรกเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ การส่งออกในเดือนธันวาคมได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกสินค้าทุนและวัตถุดิบของไทยในทุกหมวดและยังขยายตัวเกือบทุกตลาดส่งออกสำคัญ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของนโยบายทางการค้าโลกในระยะข้างหน้า ทั้งนี้ การส่งออกของไทยทั้งปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 5.4 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 5.4 มูลค่าการค้ารวม            มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนธันวาคม 2567 การส่งออก มีมูลค่า 24,765.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 8.7 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 24,776.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 14.9 ดุลการค้า ขาดดุล 10.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพรวมของทั้งปี 2567 การส่งออก มีมูลค่า 300,529.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 5.4 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 306,809.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 6.3 ดุลการค้าของปี 2567 ขาดดุล 6,280.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ            มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนธันวาคม 2567 การส่งออก มีมูลค่า 853,305 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.2 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 863,930 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 13.4 ดุลการค้า ขาดดุล 10,625 ล้านบาท ภาพรวมของทั้งปี 2567 การส่งออก มีมูลค่า 10,548,759 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.3 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน            การนำเข้า มีมูลค่า 10,896,480 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 3.8 ดุลการค้าของปี 2567 ขาดดุล 347,721 ล้านบาท การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร            มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 8.9 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน โดยสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 10.7 และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 6.7 โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 48.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 14 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ มาเลเซีย และเกาหลีใต้) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 7.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน เนเธอร์แลนด์ และฮ่องกง) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 14.2 ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอียิปต์) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 4.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย และเกาหลีใต้)            อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 9.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 15 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ไต้หวัน เยอรมนี ฟิลิปปินส์ และอินเดีย) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 12.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ออสเตรเลีย เมียนมา และลาว) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 7.8 กลับมาขยายตัวในรอบ 14 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์) และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 24.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 15 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เนเธอร์แลนด์ ลาว และมาเลเซีย)            ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ข้าว หดตัวร้อยละ 8.5 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อิรัก และเซเนกัล แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง เยเมน แอฟริกาใต้ และโมซัมบิก) และน้ำตาลทราย หดตัวร้อยละ 30.0 หดตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (หดตัวในตลาดกัมพูชา ลาว ไต้หวัน สิงคโปร์ และจีน แต่ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย มาเลเซีย เกาหลีใต้ เมียนมา และเฟรนช์โปลีนีเซีย) ทั้งนี้ ปี 2567 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 6.0 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม            มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 11.1 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 43.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เยอรมนี สิงคโปร์ และไอร์แลนด์) ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวร้อยละ 22.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย และมาเลเซีย) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 79.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินเดีย สหรัฐฯ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ญี่ปุ่น และเวียดนาม) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 35.6 ขยายตัวต่อเนือง 10 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น จีน และอินโดนีเซีย) เคมีภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 20.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน อินเดีย สหรัฐฯ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 28.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินเดีย และอิตาลี)            ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 7.2 กลับมาหดตัวหลังจากขยายตัวในเดือนก่อนหน้า (หดตัวในตลาดออสเตรเลีย มาเลเซีย ญี่ปุ่น ซาอุดีอาระเบีย และบราซิล แต่ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ สหรัฐฯ เม็กซิโก อินโดนีเซีย และเวียดนาม) น้ำมันสำเร็จรูป หดตัวร้อยละ 33.7 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดลาว เวียดนาม เมียนมา สิงคโปร์ และมาเลเซีย แต่ขยายตัวในตลาดกัมพูชา จีน อินโดนีเซีย เขตต่อเนื่องราชอาณาจักร และอินเดีย) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 28.3 หดตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (หดตัวในตลาดอาร์เจนตินา สหรัฐฯ มาเลเซีย ไต้หวัน และจีน แต่ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ อินเดีย ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด หดตัวร้อยละ 77.9 หดตัวต่อเนื่อง 10 เดือน (หดตัวในตลาดฮ่องกง ญี่ปุ่น สหรัฐฯ จีน และเกาหลีใต้ แต่ขยายตัวในตลาดไต้หวัน มาเลเซีย เยอรมนี เม็กซิโก และสหราชอาณาจักร) ทั้งนี้ ปี 2567 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว ร้อยละ 5.9 ตลาดส่งออกสำคัญ            การส่งออกไปตลาดสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัว ตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่เพิ่มขึ้น จากความกังวลต่อความไม่แน่นอนของนโยบายทางการค้าโลกในระยะข้างหน้า ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 12.0 โดยขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 17.5 จีน ร้อยละ 15.0 ญี่ปุ่น ร้อยละ 0.6 สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 19.1 และ CLMV ร้อยละ 20.7 ขณะที่อาเซียน (5) หดตัวร้อยละ 0.6 (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 6.2 โดยขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 44.5 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 11.3 แอฟริกา ร้อยละ 8.7 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 12.3 รัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 37.0 และสหราชอาณาจักร ร้อยละ 37.4 ขณะที่ตลาดทวีปออสเตรเลีย หดตัวร้อยละ 15.5 (3) ตลาดอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 65.3            ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 17.5 (ขยายตัวต่อเนื่อง 15 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ ทั้งนี้ ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 13.7            ตลาดจีน ขยายตัวร้อยละ 15.0 (ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ข้าว และแผงวงจรไฟฟ้า ทั้งนี้ ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 3.1 ตลาดญี่ปุ่น กลับมาขยายตัวร้อยละ 0.6 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ไก่แปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ ทั้งนี้ ปี 2567 หดตัวร้อยละ 5.3            ตลาดสหภาพยุโรป (27) ขยายตัวร้อยละ 19.1 (ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า ทั้งนี้ ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 10.2 ตลาดอาเซียน (5) หดตัวร้อยละ 0.6 (หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น น้ำมันสำเร็จรูป ข้าว และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ ทั้งนี้ ปี 2567 หดตัวร้อยละ 0.8            ตลาด CLMV ขยายตัวร้อยละ 20.7 (ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องดื่ม สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น น้ำมันสำเร็จรูป กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และน้ำตาลทราย ทั้งนี้ ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 12.7            ตลาดเอเชียใต้ ขยายตัวร้อยละ 44.5 (ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ เคมีภัณฑ์ และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และน้ำมันสำเร็จรูป ทั้งนี้ ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 13.1            ตลาดทวีปออสเตรเลีย กลับมาหดตัวร้อยละ 15.5 สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และเม็ดพลาสติก สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ทั้งนี้ ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 2.1            ตลาดตะวันออกกลาง ขยายตัวร้อยละ 11.3 (ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และเครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ทั้งนี้ ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 3.8            ตลาดแอฟริกา ขยายตัวร้อยละ 8.7 (ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว และเครื่องยนต์สันดาปภายใน สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติก และไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ทั้งนี้ ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 0.5            ตลาดลาตินอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 12.3 (ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปภายใน และผลิตภัณฑ์พลาสติก ทั้งนี้ ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 15.2            ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS กลับมาขยายตัวร้อยละ 37.0 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อากาศยาน ยานอวกาศ และส่วนประกอบ และน้ำมันสำเร็จรูป สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ ทั้งนี้ ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 7.5            ตลาดสหราชอาณาจักร ขยายตัวร้อยละ 37.4 (ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ไก่แปรรูป และร

NER โบรกคาด Q4 โตตามเป้า  ปีนี้รายได้พุ่ง 2.9 หมื่นลบ. แนะซื้อเป้า 6 บ.

NER โบรกคาด Q4 โตตามเป้า ปีนี้รายได้พุ่ง 2.9 หมื่นลบ. แนะซื้อเป้า 6 บ.

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.เอเอสแอล คาด NER มีผลประกอบการ 4Q67 เท่ากับ 391 ล้านบาท (-15.4%YoY, +8.3%QoQ) โดยเป็นรายได้จากการขาย 9.2 พันล้านบาท (+39.4%YOY, +49.4%QoQ) จากการคาดปริมาณการขายใกล้เคียงกับที่ผู้บริหารคาดที่ 1.3 แสนตัน ด้านราคาขายเฉลี่ยเบื้องต้นคาดอยูที่ 67.50 บาท/กิโลกรัม และ GPM ที่ 8.4% (สูงกว่า 3Q67 ที่ 8.3% แต่ต่ำกว่าช่วง 4Q66 ที่ 11.3%) ทั้งนี้แนวโน้มของกำไรสุทธิลดลงจากการคาดการณ์รอบก่อนหน้า 640 ล้านบาท เนื่องมาจาก GPM เป็นหลัก หลังจากที่ช่วงก่อนคาดไว้ที่ 12% ส่งผลให้ทั้งปี 67 คาดการณ์ยอดขาย เท่ากับ 2.7 หมื่นล้านบาท ปริมาณขาย 4.3 แสนตัน ราคาขายเฉลี่ยทั้งปีอยูที่ 63 บาท/กิโลกรัม มี GPM เฉลี่ยทั้งปี 10%           ขณะที่ปรับประมาณการรายได้และกำไรสุทธิปี 68 ขึ้นมาเป็น 2.9 หมื่นล้านบาท และ 1.9 พันล้านบาท จากราคาขายเฉลี่ยและปริมาณการขายที่สูงขึ้นจากปีก่อน (โดยมองว่าราคาที่ขายล่วงหน้าช่วง 1Q68 จะเป็นราคาที่สูงที่สุด รวมถึงราคายางในปี 68 มีแนวโน้มที่จะสูงกว่าปีก่อนหน้า เมื่อพิจารณา ราคาช่วง ม.ค. ปี 68 ปรับตัวขึ้นกว่า 15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน) ขณะที่แนวโน้ม GPM เบื้องต้นมองเป็นบวกเล็กน้อยจากปี 67 จากการประหยัดจากขนาด คงราคาเหมาะสม สิ้นปี 68 ที่ 6.00 บาท           แนะนำ ซื้อ ที่ราคาเป้าหมายสิ้นปี 68 ที่ราคา 6.00 โดย EPS ปี 68 เท่ากับ 1.00 บาท อ้างอิง PER ที่ 6 เท่า (ซึ่งใกล้เคียงค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปี) ทั้งนี้เรามีมุมมองบวกสำหรับปี 68 ในแง่ของราคาขาย ปริมาณขาย และ GPM มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นจากปีก่อน แต่อย่างไรก็ดีบริษัทยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายจากความผันผวนของราคายางที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ และความเสี่ยงจากการแปลง NER-W2           ปัจจัยเสี่ยง: ความผันผวนของราคายางพารา ทั้งในส่วนที่มาจากปริมาณ supply ในตลาดโลก และ demand จากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

[ภาพข่าว] NER พร้อมรับศักราชใหม่ปี 2568 เติบโตอย่างยั่งยืน

[ภาพข่าว] NER พร้อมรับศักราชใหม่ปี 2568 เติบโตอย่างยั่งยืน

          นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ (ที่5จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ “NER”  ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และยางผสม เพื่อจำหน่ายไปยังผู้ผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ กลุ่มผู้ค้าคนกลาง ทั้งในและต่างประเทศ พร้อมทีมคณะผู้บริหาร นายศักดิ์ชัย จงสถาพงษ์พันธ์  (ที่4 จากซ้าย) รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานบริหารบัญชี-การเงิน   นางสาวเกศนรี จองโชติศิริกุล  (ที่6จากซ้าย) รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการตลาด/ควบคุมคุณภาพ ฯลฯ ประกาศความพร้อมก้าวสู่ศักราชใหม่รับปีมะเส็ง 2568 ด้วยความเชื่อมั่นพร้อมชูนโยบายการตลาดอันแข็งแกร่ง มั่นใจโตตามเป้าอย่างยั่งยืน ณ บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ฯ (สำนักงานกรุงเทพฯ) ชั้น28 อาคารเซ็นทรัลซิตี้ ทาวเวอร์ บางนา เมื่อเร็วๆนี้

abs

Hoonvision

NER ปี68 กำลังการผลิตโต คาดกำไร 1,900 ลบ. โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 7.02 บาท

NER ปี68 กำลังการผลิตโต คาดกำไร 1,900 ลบ. โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 7.02 บาท

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.ฟิลลิป คาด 4Q67 รายได้หลักโต q-q จากราคายางที่ยังคงอยู่ในระดับสูงตามความต้องการใช้ยางในอุตสาหกรรมผลิตยางล้อรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น ทางฝ่ายมองว่ายอดขายยางปี 2568 จะดีต่อเนื่อง โดยจาก Preview ผู้บริหาร NER คาดว่ากำลังการผลิตทั้งปี 2568 จะเร่งตัวขึ้นมากกว่าปี 2567 โดยกลุ่มลูกค้าหลักยังคงเป็นกลุ่มลูกค้าประเทศจีน สำหรับประเด็นเรื่อง GMT ทางฝ่ายมองว่าไม่กระทบกำไร เนื่องจากบริษัทย่อยในต่างประเทศปัจจุบันยังไม่ได้เปิดดำเนินการ คาด 4Q67 รายได้หลักโต q-q: จาก Preview ผลประกอบการ 4Q67 ทางฝ่ายคาดกำลังการผลิตใน 4Q67 เท่ากับ 136,000 ตัน ดันรายได้หลัก 4Q67 โต q-q จากราคายางที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ตามความต้องการใช้ยางในอุตสาหกรรมผลิตยางล้อรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น สำหรับต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการบริหาร ทางฝ่ายคาดใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลให้คาดกำไร 4Q67 ปรับตัวเพิ่มขึ้น q-q มองยอดขายยางดีต่อเนื่อง: NER คาดกำลังการผลิตทั้งปี 2568 เร่งตัวขึ้นมากกว่าปี 2567 ซึ่งเท่ากับ 500,000 ตัน โดยคาดกลุ่มลูกค้าหลักยังคงเป็นกลุ่มลูกค้าประเทศจีน นอกจากนี้ ผู้บริหารแจ้งปัจจุบันมีออเดอร์จากลูกค้าประเทศอินเดียเพิ่มขึ้น ทางฝ่ายคาดบริษัทฯ มีกำไรปี 2567 เท่ากับ 1,672 ล้านบาท โต 8.2% y-y และกำไรปี 2568 เท่ากับ 1,900 ล้านบาท โต 13.6% y-y GMT ไม่กระทบกำไร: NER มีบริษัทย่อยในประเทศโกตดิวัวร์ ปัจจุบันยังไม่ได้เปิดดำเนินการ ทางผู้บริหารคาดเปิดดำเนินงานราวปี 2569 ทางฝ่ายมองว่าปัจจุบัน NER ไม่ได้รับผลกระทบจาก GMT ราคาพื้นฐาน 7.02 บาท คงคำแนะนำ “ซื้อ”

NER คว้า CSR-DIW Award 2024  ต่อเนื่อง 3ปี

NER คว้า CSR-DIW Award 2024 ต่อเนื่อง 3ปี

          นางสาวปาร์ย อรรถพิสาล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานพัฒนาความยั่งยืน รับโล่รางวัลและเกียรติบัตร CSR-DIW Award 2024 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 สำหรับโครงการส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (CSR-DIW to achieve SDGs) ประจำปี 2567 จัดโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม           ด้านรางวัล CSR-DIW Continuous Award สะท้อนความมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงความยั่งยืน ปฏิบัติตามมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบอุตสาหกรรม ส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมดูแลชุมชน ตลอดจนการปฏิบัติตามมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่มีต่อสังคม ดำเนินธุรกิจอยู่ร่วมกับชุมชนโดยรอบได้อย่างยั่งยืน พัฒนาสู่ความเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว และสอดคล้องตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง           บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายที่จะเดินหน้าพัฒนาธุรกิจให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมตามเกณฑ์มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ (CSR-DIW) ในทุกพื้นที่โรงงานของ NER โดยเน้นการดำเนินงานที่ให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ การกำกับดูแลการที่ดีและการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคนในสังคมอย่างแท้จริง [PR News]

NER ออกหุ้นกู้ ครั้งที่ 1/67 อายุ 5 ปี ดอกเบี้ย 3.41% ขายผู้ลงทุนสถาบัน-รายใหญ่ 18 - 19 ธ.ค.นี้

NER ออกหุ้นกู้ ครั้งที่ 1/67 อายุ 5 ปี ดอกเบี้ย 3.41% ขายผู้ลงทุนสถาบัน-รายใหญ่ 18 - 19 ธ.ค.นี้

          หุ้นวิชั่น - บมจ.นอร์ทอีส รับเบอร์ หรือ NER ยื่นไฟลิ่งต่อ ก.ล.ต. ออกหุ้นกู้ ครั้งที่ 1/2567  อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.41 % เสนอขายวันที่ 18 – 19 ธันวาคม 2567  เสนอขายแก่ผู้ลงทุนสถาบันและ/หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ โดยนำเงินไปใช้เพื่อชำระคืนหนี้อื่น           บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สำหรับการเสนอขายหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2567 ของบริษัท โดยมีรายละเอียดดังนี้ หุ้นกู้ หุ้นกู้ระยะยาว ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ มีผู้ค้ำประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ วันที่เสนอขาย วันที่ 18 – 19 ธันวาคม 2567 หุ้นกู้ หุ้นกู้ของบริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 1/2567 เสนอขายหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ มีผู้ค้ำประกัน อายุ 5 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ.2572 อัตราดอกเบี้ย 3.41% ต่อปี           ทั้งนี้ บริษัทจะชำระดอกเบี้ยทุกๆ 6 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ ซึ่งจะเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือผู้ลงทุนรายใหญ่สำหรับวัตถุประสงค์การออกหุ้นกู้ครั้งนี้ ตั้งเป้าหมายนำเงินที่ได้จากการเสนอขายใช้ชำระคืนหนี้อื่น           โดยมีบริษัท โดยมี ธนาคารยูโอบี และ บล.เอเซีย พลัส เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ และ บล.เอเซีย พลัส เป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ขณะที่จัดอันดับความน่าเชื่อถือโดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 องค์กรจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ที่ BBB- หุ้นกู้จัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ที่ AAA

NER ราคายางขาขึ้นอีก 3ปี ดีมานด์ยางเพิ่มหนุนงบโต

NER ราคายางขาขึ้นอีก 3ปี ดีมานด์ยางเพิ่มหนุนงบโต

            NER ลั่นปี 2568 ซัพพลายยางใหม่หด คาดราคารับขาขึ้น 3 ปีติด ประเมินราคายางพาราแตะ 70 บาท/กก. พร้อมเร่งผลิตแตะ 500,000 ตันต่อปี เดินหน้าสร้างโรงงานแห่งที่ 3 กลางปี 2568 ด้านกลยุทธ์เน้นจับคู่ซื้อขาย Matching Order ลดความเสี่ยง พร้อมรุกตลาด EUDR เจรจาลูกค้าแล้ว             นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และยางผสม เพื่อจำหน่ายไปยังผู้ผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ และกลุ่มผู้ค้าคนกลาง ทั้งในและต่างประเทศ เปิดเผยว่า นปี 2566 บริษัทผู้ผลิตยางแผ่นรมควันและยางแผ่นดิบ ซึ่งดำเนินธุรกิจในฐานะบริษัทกลางน้ำที่ส่งต่อวัตถุดิบให้แก่โรงงานผลิตล้อยาง มียอดขายรวมทั้งสิ้น 25,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากการจำหน่ายยางแผ่นรมควัน 8,000 ล้านบาท และยางแท่ง 17,000 ล้านบาท โดยบริษัทมีอัตรากำไรขั้นต้น (มาร์จิ้น) อยู่ที่ประมาณ 5-6%             สำหรับปี 2567 บริษัทตั้งเป้ายอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 28,000 ล้านบาท โดยคาดหวังว่าปัจจัยบวกจากสถานการณ์ราคายางพาราในตลาดโลกจะเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ภาวะอุตสาหกรรมยางพาราโลก อุตสาหกรรมยางพารายังคงเผชิญกับความผันผวนของราคาจากปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทาน (ดีมานด์-ซัพพลาย) โดยในปีที่ผ่านมา ราคายางพาราได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักมาจาก 2-3 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่             1. ภาวะภัยแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตยางพาราที่ใหญ่ที่สุดในโลก ส่งผลให้ซัพพลายยางพาราลดลง คาดว่าผลผลิตจะหายไปประมาณ 20% ในปี 2567 ซึ่งจะส่งผลดีต่อราคายางในตลาดโลกและเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้ผลิตยางพารา โดยปัจจุบันราคาขายยางของเกษตรกรเฉลี่ยอยู่ที่ 67 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่เกษตรกรสามารถดำรงชีพได้อย่างเหมาะสม             2. สถานะประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตยางพาราอันดับหนึ่งของโลก โดยไทยมีส่วนแบ่งในตลาดยางพาราโลกอยู่ที่ 30% ของกำลังการผลิตทั้งหมด รองลงมาได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม รวมถึงประเทศเกิดใหม่อย่างไอวอรี่โคสต์และกัมพูชา ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในตลาดมากขึ้น             ความต้องการของตลาดยางพารา ในส่วนของการผลิตยางพารา ประเภทผลิตภัณฑ์ยางแท่ง (RSS) จะถูกส่งไปยังกลุ่มลูกค้าในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะในภาคการผลิตล้อยางรถยนต์ ซึ่งมีความต้องการในสัดส่วนที่สูงที่สุด ขณะที่ยางน้ำยางข้น (Concentrated Latex) จะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ เช่น ถุงมือยาง เครื่องนุ่งห่ม และผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ             โดยในส่วนของจุดเด่นของบริษัท จะใช้กลยุทธ์ในการจับคู่ซื้อขาย Matching Order ระหว่างปริมาณซื้อวัตถุดิบกับปริมาณขายสินค้าในแต่ละช่วงเวลาให้ สอดคล้องกัน เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคายางพารา โดยฝ่ายการตลาดจะกําหนดราคาขายสินค้า ตามต้นทุนของวัตถุดิบ ต้นทุนการ ผลิต และบวกด้วยอัตรากําไรขั้นต้นที่ต้องการ (Cost Plus Margin) ควบคู่ไปกับการพิจารณาราคาของตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าสิงคโปร์ (Singapore Commodity Exchange : SICOM), ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Future Exchange : SHFE) เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณากําหนด ราคาขายให้แก่ลูกค้า สําหรับการขายสินค้า แบ่งประเภทการขายออกเป็น 2 ส่วน คือ การขายแบบมีสัญญาระยะยาว (Long Term Contract) ที่ทําสัญญาเป็นรายปีและมีกําหนดการ ส่งมอบสินค้าเป็นรายเดือนตามที่ตกลงกัน และ การขายแบบรายครั้ง (Spot Contract)             ทั้งนี้ โรงงานผลิตยางพาราในจังหวัดบุรีรัมย์ มีกำลังการผลิตปัจจุบันอยู่ที่ 515,000 ตันต่อปี โดยในปี 2567 มีปริมาณการผลิตที่ 440,000 ตัน เนื่องจากปัญหาวัตถุดิบลดลงในช่วงต้นปี อย่างไรก็ตาม ในปี 2568 บริษัทคาดว่าจะเพิ่มปริมาณการผลิตขึ้นเป็น 500,000 ตัน หรือเกือบ 100% ของกำลังการผลิตโรงงาน นอกจากนี้ ยังมีแผนขยายโรงงานแห่งใหม่ซึ่งเป็นแห่งที่ 3 คาดว่าจะเริ่มดำเนินการในช่วงกลางปี 2568 เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ             "ปี 2568 คาดว่าซัพพลายยางพาราใหม่จะไม่มีเข้ามา เนื่องจากการปลูกยางพาราต้องใช้เวลา 7 ปีถึงจะให้ผลผลิตได้ ดังนั้น โอกาสที่ซัพพลายใหม่จะเข้ามาทดแทนยังต้องใช้เวลา โดยในรอบ 3 ปีจากนี้ คาดว่าราคายางพาราจะเป็นขาขึ้น พร้อมประเมินราคายางพาราแตะ 70 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี2567"             ตลาดยาง EU Deforestation Regulation (EUDR) ก็จะเป็นโอกาสของบริษัท โดยมีการเจรจากับลูกค้าแล้ว โดยคาดว่าเดือน กรกฎาคม 2568 จะเห็นการเริ่มซื้อขายEUDR รอบใหม่ โดยปีหน้าคาดว่าทำยาง EUDR ราว 8 หมื่นตัน             บริษัทให้ความสำคัญกับหลักการ ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล) อย่างจริงจัง โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการผลิตในโรงงานด้วยการใช้พลังงานทดแทน เช่น การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ บริษัทยังส่งเสริมชุมชนท้องถิ่นผ่านการสนับสนุนเกษตรกรให้ปลูกพืชปลอดสารพิษ ซึ่งผลผลิตดังกล่าวจะถูกนำมาจำหน่ายในโรงงานของบริษัท ถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยเสริมสร้างความยั่งยืนทั้งในมิติของสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบโรงงาน https://www.youtube.com/watch?v=sr2BfTdo_aQ https://www.youtube.com/watch?v=eMZB2nyNZks

NER ได้รับผลการประเมิน SET ESG Ratings ปี 2567 ที่ระดับ “A”

NER ได้รับผลการประเมิน SET ESG Ratings ปี 2567 ที่ระดับ “A”

          หุ้นวิชั่น - บมจ.นอร์ทอีส รับเบอร์ หรือ NER ปลื้มได้รับการประเมินหุ้นยั่งยืน “SET ESG Ratings” ในระดับ "A" ประจำปี 2567 ในกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากนี้บริษัทให้ความสำคัญที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม           นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และยางผสม เปิดเผยว่า บริษัทได้รับเลือกเป็น 1 ใน 228 บริษัทจดทะเบียน ที่ได้รับการประกาศผลประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับ A ในกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน  ภายใต้แนวคิดของการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance หรือ ESG) ตลอดจนการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน รวมถึงการให้ความสำคัญกับพนักงาน ชุมชน และสังคมผ่านกระบวนการทางธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ           รางวัลดังกล่าวนับว่าเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนธุรกิจควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนในทุกมิติอย่างต่อเนื่อง ในการดำเนินงานด้านความยั่งยืนอย่างเข้มแข็งและรอบด้าน สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) พร้อมเผชิญกับทุกความเสี่ยงใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ด้วยแผนการบริหารจัดการรองรับประเด็นต่างๆ อย่างชัดเจน ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นตัวช่วยที่ตอกย้ำความมั่นใจให้กับนักลงทุนที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนอย่างยั่งยืน [PR News]

อุตสาหกรรมยางธรรมชาติไทย เจาะตลาดโลก [EP.2] | จัดเต็มการลงทุน

อุตสาหกรรมยางธรรมชาติไทย เจาะตลาดโลก [EP.2] | จัดเต็มการลงทุน

https://www.youtube.com/watch?v=eMZB2nyNZks อุตสาหกรรมยางธรรมชาติไทย เจาะตลาดโลก [EP.2] | จัดเต็มการลงทุน ติดตามรายการ #จัดเต็มการลงทุน ทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 9.00-9.30 น. ทาง ททบ.5 #NER #หุ้น #SET #หุ้นวิชั่น #HoonVision

อุตสาหกรรมยางธรรมชาติไทย เจาะตลาดโลก [EP.1] | จัดเต็มการลงทุน

อุตสาหกรรมยางธรรมชาติไทย เจาะตลาดโลก [EP.1] | จัดเต็มการลงทุน

https://youtu.be/sr2BfTdo_aQ อุตสาหกรรมยางธรรมชาติไทย เจาะตลาดโลก [EP.1] | จัดเต็มการลงทุน ติดตามรายการ #จัดเต็มการลงทุน ทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 9.00-9.30 น. ทาง ททบ.5 #NER #หุ้น #SET #หุ้นวิชั่น #HoonVision

7 โบรกการันตี!NER ไตรมาส4/67งบสดใส

7 โบรกการันตี!NER ไตรมาส4/67งบสดใส

      หุ้นวิชั่น - บล.ดาโอ (ประเทศไทย) กำไรปกติ 3Q24 ต่ำกว่าคาด จากต้นทุนยางเฉลี่ยสูงขึ้นกดดัน GPM เราคงคำแนะน้า "ถือ" แต่ปรับราคาเป้าหมายลงเป็น 5.50 บาท (เดิม 5.70 บาท) อิง 2025E PER 6x(5-yr average) ตามการปรับประมาณการลง รวมถึงปรับไปใช้ราคาเป้าหมายปี 2025E NER รายงานกำไรปกติ 3Q24 (ไม่รวมกำไร Fx) ที่ 221 ล้านบาท (-35% YoY.-55% QoQ) ต่ำกว่าเราประเมินที่ 390ล้านบาท กำไรปกติที่ปรับตัวลงสาเหตุหลักจาก 1) GPM อยู่ที่เพียง 8.3% ลดลงจาก 3Q23 ที่ 10.9%และ 2024 ที่ 12.4%เป็นผลจากต้นทุนยางโดยรวมสูงขึ้น ซึ่งบริษัทบันทึกโดยวิธีถัวเฉลี่ย ขณะที่ราคาขาย ซึ่งเกิดจากการขายล่วงหน้าใน 5 เดือนก่อนหน้า ยัปรับตัวขึ้นได้ไม่มาก และ 2) SG&A สูงขึ้นจากค่าขนส่งและค่ากองทุนสงเคราะห์สวนยางตามการส่งออกมากขึ้น เราปรับกำไรปกติปี 2024E/25E ลง -15%/-10% เป็น 1.5 พันล้านบาท/1.7 พันล้านบาท (-5%YOY/+16% YoY) โดยหลักเพื่อสะท้อนการปรับสมมติฐาน GPM ลง สำหรับ 4Q24E เบื้องต้นคาดการณ์กำไรปกติจะซะลอ YoY จากปริมาณขายลดลงจากฐานสูง แต่มีโอกาสฟื้นตัว QoQ ตามปัจจัยฤดูกาล ราคาหุ้น underperform SET -7% ใน 1 เดือน ตามทิศทางราคายางที่ปรับตัวลง ทั้งนี้เราแนะนำเพียง"ถือ" จากผลการดำเนินงาน 2H24E กลับมาชะลอ HoH ขณะที่ล่าสุดราคายาง RSSS3 ของไทยปรับตัวลง -17% MoM หลังการเลื่อนใช้กฎหมาย EUDR และอุปทานสูงขึ้น นอกจากนี้การขยายกำลังการผลิตจากโรงงานใหม่ในโกตติวัวร์และไทย คาดจะเริ่มได้เร็วสุดในปี 2026E           บล.อินโนเวสท์ เอกซ์ แม้ ไตรมาส 4/2567 คาดกำไรปกติดีขึ้น QoQ เพราะจะมีส่งบอบยางที่เลือนจาก ไตรมาส 3/2567 ราว 5 พันตัน และคาดราคาขายยางเฉลี่ยสูงขึ้น QoQ หลังเริ่มใช้ราคายางช่วง 2Q-3Q67 ซึ่งปรับขึ้นแรง หนุนให้คาดอัตรากำไรขั้นต้นจะปรัวดีขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ไตรมาส 4/2567 คาดกำไรปกติจะอ่อนตัว YoY หลังมีความเสี่ยงปริมาณขายยางจะลดลงและอัตรากำไรขั้นต้นจะอ่อนตัวจากมีต้นทุนเฉลี่ยยางสูงขึ้น อีกทั้งกำไรปกติ 9M67 คิดเป็นเพียง 68% ของประมาณการทั้งปีซึ่งดำเกินไป เราจึงขอปรับลดประมาณการ โดยภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 2567 NER มีกำไรปกติ 1.595 aบ. ทรงตัว YoY แต่จะกลับมาโต 8%YoY ในปี 2568 จากราคายางที่ทรงตัวสูงจากอุปทานจำกัดและมีแผนเผนเพิ่มลูกค้าใหม่ เราประเมินราคาเป้าหมายปี 2568 ที่หันละ 5.00 บาท (EPS อิงจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้นจากใช้สิทธิแปลงสภาพ NER-W2 ซึ่งมี 308 ล้านหน่วย และกำหนดให้ใช้สิทธิเท่ากัน 4 ครั้งในเวลา 2 ปี พร้อมอิงค่าเฉลี่ย PER ที่ 6.0 เท่าเช่นเดิม) ซึ่งใกล้เคียงกับราคาหุ้นปัจจุบัน อย่างไรก็ดี NER มีจุดเด่นที่จ่ายเงินปันผลสูง โดยคาดมีเงินปันผลจ่ายจากกำไรปีนี้นี้ห้นละ 0.36 บาท คิดเป็น Div. Yield ปีละ7.2% ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนจึงคงแนะนำ "Neutra!" เพื่อรับเงินปันผล ความเสี่ยงสำคัญ คือ ความผันผวนของราคายายางพารา, การถดถอยของเศรษฐกิจโลกและจีน,ภาวะภัยแล้งจากปรากฎการณ์เอลนีโญอาจกระทบผลผลิต, การแข็งค่าของเงินบาท ส่วนความเสี่ยงด้าน ESG ที่สำคัญ คือ การแปรรูปยางอาจก่จก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศและเกิดน้ำเสียได้ (E)อย่างไรก็ดี บริษัทบริหารจัดการกระบวนการผลิตอย่างเป็นระบบ และมีการติดตามผลต่อเนื่อง           บล.กรุงศรี กำไรสุทธิ 3024 ต่ำกว่าที่เราและตลาดคาด เรามีมุมมอง "Negative" ต่อกำไรสุทธิ 3Q24 ของ NER ที่ 361 ลบ. (+16%y-y,-25%g-q) ต่ำกว่าที่เราและตลาดคาด -6%/-8% ตามลำดับ โดยหากไม่รวม FXgain และ hedging gain จะมีกำไรปกติที่ 221 ลบ. (-35%y-y, -55%q-q) เพราะGPM ต่ำกว่าคาด ในขณะที่ยอดขายและ SG&A/sales ใกล้เคียงคาด สำหรับโมเมนตั้ม 4Q24F คาดกำไรสุทธิ เพิ่มขึ้น y-v. g-q จากปริมาณการขายและราคาขายเพิ่มขึ้น q-q ตามร่าคา SICOM ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ต้นทุนในสินค้าคงเหลือมีแนวโน้มคงที่ จึงคาด GPM เพิ่มขึ้น g-q อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของบริษัทค่อนข้างท้าทายเมื่อเทียบกับผลการดำเนินงาน 9M24 จึงมีโอกาสปรับประมาณการหลังได้รับข้อมูลเพิ่มจากการประชุมนักวิเคราะห์ คงคำแนะนำ Trading buy TP25F ที่ 5.85 บ.           บล.หยวนต้า แย่กว่าคาดทุกบรรทัด แต่ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว เราคาดกำไร 4067 มีโอกาสทำระดับสูงสุดใหม่ที่ราว 650 ลบ.+/ เนื่องจาก ASP ที่สูงขึ้นสอดคล้องกับต้นทุนที่สูงขึ้นมากกว่าต้นทุนและ ASP ใน 3Q67 ทำให้เราคาดว่า GPM ใน4Q67 จะกลับมาที่เลขสองหลักได้ นอกจากนี้ปริมาณขายบางส่วนส่งมอบล่าช้ากว่าแผนมาจากใน 3067 และบริษัทยังคงเป้าปริมาณขายที่ 4.4 แสนต้นในปีนี้ ทำให้ 4067 จะมีปริมาณส่งมอบถึง 1.3 แสนตัน สูงที่สุดของปี หากกำไร 4Q67 ใกล้เคียงกับที่เราประเมินจะส่งผลให้กำไรปกติปี 2567 อยู่ที่ 1,839 ลบ. จะต่ำกว่าประมาณการกำไรทั้งปี 2567 ปัจจุจุบันของเราราว 7% แต่เรายังคงประมาณการกำไรปี 2568 เนื่องจากยังคงมุมมองเชิงบวกต่อราคายาง และปี 2568 จะมีสัดส่วนรายได้จากยาง EUDR ในระดับที่มีนัยสำคัญมากขึ้น หนุนทั้งรายได้และ GPM เรายังคงคาดการณ์เงินปันผลช่วง 2H67 ที่ 0.38 บาท/หุ้น เนื่องจากในแง่ของกำไรสุทธิซึ่งใช้พิจารณาในการจ่ายเงินปันผลของบริษัทยังใกล้เคียงเราคาด คงราคาเป้าหมายสิ้นปี 2568 ที่ 7.30 บาท ปัจจุบันซื้อขายที่ PER68 ต่ำเพียง 5.0 เท่า และคงคำแนะนำ ซื้อ เชิงกลยุทธ์คาดว่าตลาดจะตอบรับเชิงลบในช่วงแรกจากกำไรปกติที่ต่ำกว่าคาดมาก แต่เป็นจุดต่ำสุดของปี ราคาหุ้นไม่แพง มีปันผลสูง และ 4067 มีโอกาส New high จึงน่าสนใจสะสมที่แนวรับ 4.80 บาท และ 4.72 บาท ตามลำดับ           บล.บัวหลวง แนวโน้ม 4Q24 จะกลับมาสดใสที่สุดของปีนี้ NER รายงานกำไรสุทธิ 2Q24 ที่ 361 ล้านบาท โต 15% YoY ซึ่งเป็นผลจากราคาขายเพิ่มขึ้น 25% YOY แม้ปริมาณการขายลดลง 12% YoY (ผลผลิตยางออกน้อยลงจากภาวะภัยแล้ง) โดยราคาขายเฉลี่ยเพิ่มมาอยู่ที่ 63 บาท ต่อก.ก. อย่างไรก็ดี บริษัทฯ บันทึกต้นทุนยางที่สูงขึ้นเข้ามา ขณะที่ราคาขายได้มีการกำหนดล่วงหน้าซึ่งเป็นราคาที่อยู่ในโซนต่ำใน 1H24 ส่งผลต่ออัตรากำไรขั้นต้นลดลงเป็น8.3% ใน 3Q24 จาก 10.9% ใน 3Q23 สำหรับแนวโน้ม 4Q24 ข้อมูลจากผู้บริหารในงานพบปะนักวิเคราะห์ มีมุมมองเป็นบวก จากทั้งราคาขายที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ใกล้ๆ 70 บาท ต่อ กก. และปริมาณการขายที่คาดการณ์ที่ 130K ตัน หรือเพิ่มทั้ง YOY และ QoQ จะทำให้ผลการดำเนินงานแข็งแกร่ง ซึ่งเราคาดว่าจะเป็นกำไรที่ดีที่สุดของปีนี้           บล.พาย 3Q24 ต้นทุนขึ้นกดดันกำไรขั้นต้น เรายังคงแนะนำ "ซื้อ" เพราะมีปัจจัยบวกจากแนวโน้มปริมาณขายในช่วง 4Q24 ที่คาดว่าจะเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดของปี จากการได้รับผลดีจากราคายางที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือน ก.ย. เป็นต้นมา ขณะที่แนวโน้มในปื 25 NER ตั้งเป้ายอดขายที่ระดับ 500,000 ตัน(+14%YoY) รวมถึงราคาขายมีโอกาสเห็นระดับ 70 บาท/กก. ซึ่งจะหนุนให้ผลประกอบการเติบโต่อได้โดยเบื้องต้นเราคาดกำไรสุทธิปี25 ที่ระดับ 2,005 ล้านบาท (+6%YoY นับเฉพาะกำไรปกติ) ส่วนผลประกอบการงวด 3Q24 มีกำไรปกติ 221 ล้านบาท (-35%YoY,-55%QoQ) ได้รับผลกระทบจากราคายางพาราที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงกลางไตรมาสทำให้เป็นปัจจัยกดดันกำไรขั้นต้นให้ลดลงเหลือเพียง 8% จาก 10.9% ใน 3Q23 และ 12.4% ใน 2Q24           บล. ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) ประเมินแนวโน้มกำไร 4Q24 จะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น โดยมีปัจจัยหนุนจากการรับรู้ราคาขาย ที่สอดคล้องกับต้นทุนมากชึ้น เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้น จะถูกรับรู้ในงวด 3Q24 ไปแล้ว ทำให้ใน 4Q24 จะกลับมาเป็นขาที่จะเห็นผลบวกจากราคาขายที่สูงขึ้นแล้ว ประกอบกับ ปริมาณการขายคาดฟื้นตัวแรง พลิกกลับมาที่ราว 1.2-1.3 แสนตันได้ คาดกำไรปกติ 4Q24 จะกลับมาเติบโตได้ดีขึ้นทั้ง qoq และ yoy NER รายงานกำไรปกติงวด 3Q24 ที่ 221 ล้านบาท ลดลง 35% yoy และ 55% qoq ปัจจัยกดดันหลักมาจาก gross margin งวด 3Q24 ที่ 8.3% ลดลงจาก 12.4% และ 10.9% ในงวด 2Q24 และ 3Q23 ตามลำดับ โดย gross margin ที่หดตัวแรงมาจากต้นทุนเฉลี่ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ในงวด 3Q24 แต่ต้นทุนในส่วนนี้ จะเป็นส่วนที่ผลิตเก็บไว้ขายในงวด 4Q24 ทำให้เกิดความไม่สอดคล้องในการรับรู้ต้นทุน VS ราคาขายในงวด 3Q24 กดดัน gross margin ปรับตัวลดลงแรงระยะสั้น

[ภาพข่าว] NER พบนักลงทุนในงาน Opportunity Day ประจำไตรมาส 3/2567

[ภาพข่าว] NER พบนักลงทุนในงาน Opportunity Day ประจำไตรมาส 3/2567

          คุณชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วยคุณศักดิ์ชัย จงสถาพงษ์พันธ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานบัญชี-การเงิน คุณเกศนรี จองโชติศิริกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการตลาดและควบคุมคุณภาพ และคุณปาร์ย อรรถพิสาล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานพัฒนาความยั่งยืน บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และยางผสม เพื่อจำหน่ายไปยังผู้ผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆและกลุ่มผู้ค้าคนกลางทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร่วมนำเสนอข้อมูลในงานบริษัทจดทะเบียนพบนักลงทุน Opportunity Day ประจำไตรมาส 3/2567ว่าภาพรวมผลการดำเนินงานงวด 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2567 บริษัทมีปริมาณขาย 303,077 ตัน คิดเป็นรายได้จากการขายรวม 18,514.43 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิเท่ากับ 1,293.14 ล้านบาท           ด้านภาพรวมปี 2567 นั้นมั่นใจว่ามีรายได้ทั้งปีจะเติบโตเป้า จากมีปริมาณขาย 440,000 ตัน โดยมีแนวโน้มคำสั่งซื้อที่ดีขึ้น ได้ปัจจัยบวกจากราคายางพาราที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูง ซึ่งปัจจุบันมีคำสั่งซื้อ (Order) ล่วงหน้าครอบคลุมถึงไตรมาส 1/2568

[ภาพข่าว] NER รับใบประกาศนียบัตร (CAC) ตอกย้ำองค์กรที่บริหารงานด้วยความโปร่งใส

[ภาพข่าว] NER รับใบประกาศนียบัตร (CAC) ตอกย้ำองค์กรที่บริหารงานด้วยความโปร่งใส

          นางสาวณัฐธยาน์ เจษฎาพิสิฐ ผู้ช่วยรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการตลาดและควบคุมคุณภาพ/ประธานคณะทำงานต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER เข้ารับมอบใบประกาศนียบัตรรับรองสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทยในระดับ 2 ดาว สำหรับการดำเนินงานในไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 2567 จากนายทศพร รัตนมาศทิพย์ กรรมการในคณะกรรมการพิจารณาให้การรับรองของ CAC ให้เกียรติมอบใบประกาศนียบัตรให้แก่บริษัทที่ผ่านการรับรอง ในงาน “CAC Certification Ceremony 2/2024” ภายใต้หัวข้อ “Navigating ESG: The Power of Integrity” ที่จัดขึ้น เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพฯ           สำหรับการรับรองดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของบริษัทฯ ที่ให้ความสำคัญและยึดมั่นต่อการปฏิบัติตามนโยบายและแนวปฏิบัติในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ภายใต้พันธสัญญาการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงหลักบรรษัทภิบาลที่ดี ความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ โดยยึดถือนโยบายป้องกันและต่อต้านการทุจริตอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นแนวร่วมในการป้องกันและต่อต้านการให้สินบน และการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ

NER กำไร 9 เดือน ทะลุ 1.2 พันล้านบาท ตอกย้ำปี 2567 โตตามเป้า

NER กำไร 9 เดือน ทะลุ 1.2 พันล้านบาท ตอกย้ำปี 2567 โตตามเป้า

          หุ้นวิชั่น - บมจ. นอร์ทอีส รับเบอร์ หรือ NER แจ้งงบ 9 เดือน กำไรสุทธิ 1,293.14 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.31% โดยรายได้จากการขายรวมอยู่ที่ 18,514.43 ล้านบาท ในผลิตภัณฑ์ยางแท่ง (STR20, STR-Mixture) ที่บริษัทฯได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ มั่นใจปี 2567 โตตามเป้าหมาย จากราคายางพาราเริ่มมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาด           นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และยางผสม เพื่อจำหน่ายไปยังผู้ผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ และกลุ่มผู้ค้าคนกลาง ทั้งในและต่างประเทศ เปิดเผยภาพรวมผลการดำเนินงานงวด 9 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2567 เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณขาย 303,077 ตัน ลดลง 66,400 ตัน หรือลดลง 17.97% คิดเป็นรายได้จากการขายรวม 18,514.43 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 74.53 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 0.40% โดยงวด 9 เดือนของปี 2567 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิเท่ากับ 1,293.14 ล้านบาทหรือคิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 6.98% ของรายได้จากการขายรวม โดยเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน บริษัทฯ มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 209.27 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 19.31%           ด้านผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 3/2567 สำหรับงวด 3 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2567 เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณขาย 98,006 ตัน ลดลง 14,420 ตัน หรือลดลง 12.83 % คิดเป็นรายได้จากการขายรวม 6,163.35 ล้านบาท ลดลง 535.43 ล้านบาทหรือลดลง 9.51% โดยกำไรสุทธิสำหรับงวดไตรมาส 3/2567 บริษัทมีกำไรสุทธิเท่ากับ 360.78 ล้านบาท หรือคิดเป็น 5.85% ของรายได้จากการขายรวม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 48.51 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 15.54% สำหรับรายได้จากการขายงวด 9 เดือนของปี 2567 เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน มียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.40 ซึ่งเป็นการลดลงด้านปริมาณขายอยู่ที่ 3,313.53 ล้านบาท ในผลิตภัณฑ์ยางแท่ง (STR20, STR-Mixture) ที่บริษัทฯได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าต่างประเทศเป็นสำคัญ ทำให้สัดส่วนยอดขายต่างประเทศลดลงจาก 35% ในปี 2566 เป็น 25% ในปี 2567 และผลต่างด้านราคาเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 3,387.65 ล้านบาท           ด้านภาพรวมปี 2567 นั้นมั่นใจว่ามีรายได้ทั้งปีจะเติบโตเป้า จากมีปริมาณขาย 440,000 ตัน โดยมีแนวโน้มคำสั่งซื้อที่ดีขึ้น ได้ปัจจัยบวกจากราคายางพาราที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูง ซึ่งปัจจุบันมีคำสั่งซื้อ (Order) ล่วงหน้าครอบคลุมถึงไตรมาส 1/2568

[ภาพข่าว] NER สนันสนุนยกระดับคุณภาพการศึกษา

[ภาพข่าว] NER สนันสนุนยกระดับคุณภาพการศึกษา

           นายปริญญา ลีนะธรรม  รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานพัฒนาองค์กร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน)  ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับผศ.นิคม ลนขุนทด คณบดีคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เพื่อสร้างและพัฒนาด้านงานวิจัยและที่ปรึกษาในเชิงบูรณาการ นอกจากนี้เพื่อสร้างความร่วมมือการจัดการศึกษาที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาหลักสูตรด้านการผลิตยางธรรมชาติ การแปรรูปผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากยางพาราและการบริหารจัดการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และแลกเปลี่ยนความรู้ให้แก่นักศึกษา ตลอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่นักศึกษา ต่อยอดการทำงานร่วมกับองค์กรในอนาคต และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในระดับบุคคลและสังคม ณ สำนักงานใหญ จังหวัดบุรีรัมย์

[ภาพข่าว] NER ขับเคลื่อนเชิงรุกต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน

[ภาพข่าว] NER ขับเคลื่อนเชิงรุกต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน

          NER ขับเคลื่อนเชิงรุกต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน  จัดอบรมกรรมการ ผู้บริหาร คู่ค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สร้างวัฒนธรรมองค์กรโปร่งใส ยั่งยืน           การคอร์รัปชั้น (Corruption)  เป็นภัยร้ายแรงทำลายการแข่งขันอย่างเสรีและความเป็นธรรม ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและส่วนรวม บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER นำโดยคุณชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจด้วยความชื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ มีคุณธรรม ยึดมันในหลักการกำกับดูแลแลกิจการที่ดี จึงได้ยกระดับมาตรการต่อต้านคอร์รัปชัน ด้วยการจัดอบรมภายใต้หัวข้อ "บทบาทของผู้บริหารและพนักงานในการต่อต้านคอร์รัปชัน" ทั้งในรูปแบบ On-site ณ สำนักงานใหญ่ จังหวัดบุรีรัมย์ และ Online ผ่านระบบ ZOOM และ Facebook Live ให้กับคณะ กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน คู่ค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีคุณภิญญ์ ศิรประภาศิริ ผู้จัดการโครงการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) เป็นวิทยากรในการให้ความรู้ เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่โปร่งใส ยุติธรรม และปฏิบัติตามจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด           สำหรับ NER ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับนโยบายต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น ในทุกรูปแบบเพื่อประโยชน์ทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะเป็นผู้รับ ผู้ให้ หรือผู้เสนอให้ ทั้งที่เป็นตัวเงินหรือไม่เป็นตัวเงิน แก่หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนที่บริษัทฯ ได้ดำเนินธุรกิจหรือติดต่อด้วย โดยมีหลักการที่สำคัญ ดังนี้ บริษัทฯ ไม่เสนอให้ค่าตอบแทน จ่ายสินบน เรียกร้อง ตกลงหรือรับสินบนจากบุคคลอื่น หรือหน่วยงานอื่นในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการโดยตรงหรือโดยอ้อม เพื่อให้มีการตอบแทนปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์ต่อกันหรือหวังผลประโยชน์เกี่ยวกับงานของบริษัท บริษัทฯ ไม่ทำธุรกรรมโดยไม่ชอบ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ บุคคลหรือหน่วยงานอื่น โดยทางตรงหรือทางอ้อม บริษัทฯ ไม่บริจาคเงินหรือจ่ายเงินเพื่ออำนวยความหรือให้เงินสนับสนุนโดๆ แก่บุคคลอื่นหรือหน่วยงานอื่นเพื่อเป็นช่องทางในการจ่ายสินบน บริษัทฯ ไม่สนับสนุนเงินหรือประโยชน์อื่นใด ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมให้แก่พรรคการเมือง กลุ่มทางการเมืองหรือบุคคลใดที่เกี่ยวกับการเมือง เพื่อให้ได้รับประโยชน์ในการดำเนินของธุรกิจหรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง           นโยบายดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากทีมผู้บริหารและพนักงานทุกคน ซึ่งมีเป้าหมายร่วมกันในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดหลักจริยธรรม ยุติธรรม และโปร่งใสตลอดจนปราศจากการทุจริต           “ANTI-CORRUPTION” การต่อต้านการทุจริตไม่ใช่แค่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นภารกิจของทุกคนในสังคม ร่วมสร้างองค์กรที่โปร่งใส ไร้การทุจริตอย่างยั่งยืน ด้วยการแจ้งเบาะแส ตรวจสอบ และไม่เพิกเฉยต่อการทุจริต

[ภาพข่าว] NER คว้ารางวัล BEST CEO ครั้งที่ 2 ประจำปี 2567

[ภาพข่าว] NER คว้ารางวัล BEST CEO ครั้งที่ 2 ประจำปี 2567

         นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน)  หรือ NER รับรางวัล BEST CEO ประจำปี 2567 กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร จากนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วย นายไพบูลย์ นลินทรางกูร นายกสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน ในงานประกาศรางวัล IAA AWARDS for Listed Companies 2024 จัดโดยสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน          นายชูวิทย์ กล่าวว่า การได้รับราง BEST CEO จากสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุนเป็นครั้งที่ 2  สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ NER ในการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ทั้งนักวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ นักลงทุนสถาบัน โดย NER ให้ความสำคัญกับการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และโปร่งใส เพื่อส่งต่อข้อมูลที่ครบถ้วนและถูกต้องไปยังสาธารณชน รางวัลนี้ยังเป็นการยืนยันว่า บริษัทได้ปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณ และบรรษัทภิบาลอย่างเคร่งครัด โดยรางวัลที่ได้รับในครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันทุ่มเทการทำงาน เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานบริษัทให้มีความแข็งแรงและสร้างการเติบโตให้กับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในทุกมิติต่อไป          สำหรับรางวัล IAA Awards for Listed Companies เป็นรางวัลที่มอบให้กับผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน จากการโหวตของนักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุนเป็นสำคัญ ซึ่งพิจารณาจากความรู้ความสามารถในการบริหารงานของผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนที่มีความเป็นเลิศ มีความรอบรู้ในการดำเนินธุรกิจ ภายใต้หลักจรรยาบรรณและบรรษัทภิบาล รวมถึงการให้ความสำคัญต่อการดูแลสังคมควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมกับการพัฒนานวัตกรรมด้านสินค้าและบริการเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นรวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกมิติ ตลอดจนการให้ความสำคัญในการนำเสนอข้อมูลที่มีคุณภาพ ถูกต้องและครบถ้วนให้กับนักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น รวมถึงช่วยขับเคลื่อนภาคสังคม ธุรกิจ และกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจให้กับประเทศต่อไป

NER พร้อมปรับตัวกับยุค AI เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน

NER พร้อมปรับตัวกับยุค AI เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน

          ในยุคที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกมิติของชีวิต การปรับตัวและเตรียมพร้อมจึงเป็นกุญแจสำคัญในการอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืน บมจ. นอร์ทอีส รับเบอร์ หรือ NER มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการนำ AI มาใช้พัฒนาองค์กร โดยได้จัดบรรยายพิเศษเพื่อสร้างวิสัยทัศน์ให้แก่ผู้บริหารและพนักงาน ในหัวข้อ “เมื่อ AI ครองโลก มนุษย์จะอยู่อย่างไร” โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วรศักดิ์ กนกนุกูลชัย ราชบัณฑิต และอดีตผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย AI กับการเปลี่ยนแปลงโลกธุรกิจ           ศาสตราจารย์ ดร.วรศักดิ์ ได้ชี้ให้เห็นว่าในอนาคตอันใกล้ AI จะพัฒนาความฉลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสามารถทำงานแทนมนุษย์ในหลายมิติ AI สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีความเหนื่อยล้าและไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมมีผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ทั้งนี้ นับเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง ในอนาคต AI จะก้าวไปสู่ระดับ AGI (Artificial General Intelligence) ซึ่งจะมีความสามารถเทียบเท่ามนุษย์ สามารถทำงานที่ซับซ้อนและหลากหลายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น NER กับโอกาสในยุค AI           NER มองเห็นถึงโอกาสในการเติบโตและพัฒนาในยุคที่ AI ครองโลก บริษัทจึงเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตที่กำลังมาถึง โดยคาดว่า AI จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการ Automate ระบบต่างๆ ภายในองค์กร นอกจากนี้ ยังมีโอกาสอีกมากมายจากการเพิ่มบทบาทของ AI ในธุรกิจ ซึ่งบุคลากรของเราต้องก้าวตามกระแสธุรกิจและนวัตกรรมใหม่ๆ ให้ทัน เพื่อพัฒนาตนเองและสามารถอยู่ร่วมกับ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือน AI เป็น Co-Pilot ส่วนตัวในการทำงาน นอกจากนี้ NER ยังพร้อมเรียนรู้ และนำ AI มาใช้สร้างโอกาสใหม่ๆ ในการพัฒนาธุรกิจในอนาคต ควบคู่กับการให้ความสำคัญในการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างรับผิดชอบ ตามเป้าหมายความยั่งยืนขององค์กร *โลกจะขับเคลื่อนด้วย AI และ NER เตรียมพร้อมที่จะปรับตัวไปกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน*

โผหุ้นรับกระตุ้นศก.จีน

โผหุ้นรับกระตุ้นศก.จีน

          หุ้นวิชั่น รายงานว่า บล. DAOL เผยว่า จีนเปิดตัวมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ หลังเศรษฐกิจชะลอตัว เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2024 ธนาคารประชาชนจีน (PBOC) ได้ประกาศใช้มาตรการกระตุ้นทางการเงินและมาตรการสนับสนุนตลาดอสังหาริมทรัพย์ครงั้ ใหญ่ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กา ลังเผชิญกับแรงกดดันจากภาวะเงินฝืด และมีความเสี่ยงที่จะไม่บรรลุเป้าหมายการเติบโตในปีนี้ โดย PBOC ประกาศปรับลดปริมาณการตงั้ เงินสา รองไว้ที่อัตราที่ต่า ที่สุดตงั้ แต่ปี 2020 และปรับลดอัตราดอกเบ้ยี นโยบาย ซึ่งถือเป็นครงั้ แรกในรอบทศวรรษที่มาตรการทงั้ สองถูกปรับลดในวันเดียวกัน นอกจากนี้ผู้ว่าการธนาคารกลางยังประกาศมาตรการสนับสนุนตลาดอสังหาริมทรัพย์ของประเทศ โดยมีรายละเอียดมาตรการของ PBOC ไว้ดังนี้ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย Reverse Repo Rate ระยะ 7 วัน ลงจาก 1.7% เป็น 1.5% ปรับลดอัตราส่วนการตั้ง เงินสำรอง (Reserve Require Ratio) ลง 0.50% ปล่อยสภาพคล่องจำนวน 1 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 142 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ปรับลดอัตราดอกเบ้ยี ระยะกลาง (Medium-Term Lending Facility) ลง 0.3% ปรับลดอัตราเงินดาวน์ขนั้ ต่า สา หรับผ้ซู ื้อบ้านหลังที่ 2 ลงจาก 25% เป็น 15%           การผ่อนคลายนโยบายการเงินในครั้ง นี้มากกว่าทนีั่กเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาด และมีโอกาสในการผ่อนคลายเพิ่มเติมในไตรมาสต่อๆ ไป หลังจากที่ Fed ปรับลดอัตราดอกเบ้ยี ลงมามากกว่าคาด DAOL มองเป็น sentiment เชิงบวกระยะสั้นต่อหุ้นที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจจีน เช่น กลุ่มปิโตรเคมีและแพ็กเกจจิ้ง, พลังงานต้นน้ำ , โลจิสติกส์, ยางพารา และส่งออกอาหารไปจีน กลุ่มปิโตรเคมีและแพ็คเกจจิ้ง (PTTGC, IVL, IRPC, SCC, SCGP) เนื่องจากอา นาจในการซื้อของผู้บริโภคที่สูงขึ้นเสริมให้มีการอุปโภคบริโภคภายในประเทศสูงขึ้น ทงั้ นี้ เราเชื่อว่า SCGP จะได้ประโยชน์มากที่สุด เนื่องจากมีรายได้โดยตรงจากส่งออกไปจีน พลังงานต้นนา้ (PTTEP, BANPU) เนื่องจากอา นาจในการซื้อของผู้บริโภคที่สูงขึ้นจะส่งผลบวกต่อความต้องการใช้พลังงานต้นนา้ ทงั้ นี้ เราเชื่อว่า PTTEP จะได้ประโยชน์มากที่สุดจากการที่จีนเป็นผู้นา เข้าน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลก โลจิสติกส์ (RCL, PSL, WICE, LEO, SJWD) เนื่องจากจะส่งผลบวกต่อกิจกรรมการขนส่งดีขึ้น จากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว โดย RCL และ PSL จะได้ประโยชน์มากกว่าจากอัตราค่าระวางเรือที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ยางพารา (STA, TEGH, NER) เนื่องจากจีนเป็นตลาดส่งออกยางสา คัญของไทย โดยเฉพาะยางแท่ง ซึ่งตลาดจีนคิดเป็นสัดส่วนราว 40-50% ของส่งออกยางแท่งรวม ทงั้ น้เี ราคาด STA จะได้ประโยชน์มากสุด เนื่องจากมีสัดส่วนรายได้จากจีนสูงถึง 50% ส่งออกอาหารไปจีน (TKN, COCOCO, PLUS) เนื่องจากจีนเป็นตลาดส่งออกใหญ่ของผู้ประกอบการหลายราย โดย COCOCO มีสัดส่วนรายได้จากจีนประมาณ 28% ของรายได้รวม ส่วน PLUS มีสัดส่วนมากกว่า 20% ขณะที่ TKN มีสัดส่วนรายได้จากจีนที่ 22-24% ของรายได้รวม Top picks เราเลือก SCGP, PTTEP, NER, COCOCO

NER รับผลดี หลัง ธ.กลางจีน อัดเงิน ตอกย้ำรายได้ปี 67 ตามเป้า

NER รับผลดี หลัง ธ.กลางจีน อัดเงิน ตอกย้ำรายได้ปี 67 ตามเป้า

          หุ้นวิชั่น - นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER กล่าวถึงมาตรการที่ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China - PBOC) ได้ดำเนินการอัดฉีดเงิน 580,000 ล้านหยวน เพื่อกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์และรักษาสภาพคล่องทางเศรษฐกิจว่า จะส่งผลดีต่อหลายภาคส่วน รวมถึงการบริโภคยางพาราในประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดสำคัญของบริษัท การกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้คาดว่าจะช่วยเพิ่มความต้องการใช้สินค้ายางพาราในอุตสาหกรรมต่างๆ ของจีน ไม่ว่าจะเป็นยางล้อรถยนต์หรือการผลิตสินค้าอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลให้ NER มีโอกาสขยายตลาดและเติบโตได้มากขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน           การกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้ยังเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตลาด และช่วยกระตุ้นความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและภาคการก่อสร้าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อ NER ในฐานะผู้ผลิตและส่งออกยางพารารายสำคัญของประเทศไทย นอกจากนี้มาตรการดังกล่าวสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลจีนในการสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดอสังหาริมทรัพย์ และสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ให้มีการปรับตัวสูงขึ้น ตามความต้องการในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ธนาคารกลางลดดอกเบี้ย และกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว           โดยบริษัทมั่นใจว่ามาตรการดังกล่าวจะส่งผลดีต่อผลประกอบการ โดยคาดว่ารายได้รวมในปี 2567 จะเติบโตสูงถึง 28,500 ล้านบาท จากปริมาณการขายยางพาราที่ตั้งเป้าไว้ที่ 440,000 ตัน การกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนจะช่วยสนับสนุนให้ความต้องการยางพาราเพิ่มขึ้น ซึ่งบริษัทมองว่าเป็นโอกาสสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจและสร้างรายได้ที่มั่นคงในอนาคต ที่มา           ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China - PBOC) ได้ดำเนินการอัดฉีดเงิน 580,000 ล้านหยวนเข้าสู่ระบบการเงินเพื่อกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์และรักษาสภาพคล่องทางการเงิน โดยการดำเนินการนี้รวมถึงการลดอัตราดอกเบี้ยของการดำเนินการซื้อคืนพันธบัตร (reverse repo) ระยะเวลา 14 วันจาก 1.95% เหลือ 1.85% พร้อมทั้งการลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับการซื้อบ้านครั้งแรกและการลดอัตราเงินดาวน์ขั้นต่ำจาก 25% เป็น 15% เพื่อลดภาระการซื้อที่อยู่อาศัย           นอกจากนี้ ธนาคารกลางยังได้ลดอัตราการสำรองเงินของธนาคารพาณิชย์ลง 0.50% เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินทุนสำรองมากขึ้นสำหรับการปล่อยกู้แก่ภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่กำลังเผชิญกับภาวะชะลอตัวและแรงกดดันจากเงินฝืด โดยมีการคาดการณ์ว่า GDP ของจีนอาจขยับขึ้นสู่เป้าหมายที่ 5.0%

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456