ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#MASTER


[Vision Exclusive] MASTER ความงามสุดปัง!  ตลาดอินโดโตโแรง100%

[Vision Exclusive] MASTER ความงามสุดปัง! ตลาดอินโดโตโแรง100%

           หุ้นวิชั่น - MASTER เดินหน้าขยายฐานธุรกิจความงาม เร่งปั๊มตลาดต่างแดนปี 68 แตะ 40% ชูอินโดนีเซียเป็นตลาดยุทธศาสตร์หลัก มั่นใจตัวเลขโตโดด 100% ชี้ยอดใช้จ่ายต่อบิลสูง ด้านแม่ทัพหญิง "ลภัสรดา เลิศภานุโรจ" ส่งสัญญาณผลงานโค้งแรกฉลุย ปักธงส่วนแบ่งกำไรจากพาร์ทเนอร์ 100 ล้านบาท เชื่อโรงพยาบาลศัลยกรรมน่าเชื่อถือสูง หนุนลูกค้าเข้าใช้บริการเพียบ            นางสาวลภัสรดา เลิศภานุโรจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER เปิดเผยกับทีมข่าวหุ้นวิชั่นว่า แนวโน้มธุรกิจในไตรมาส 1/2568 ยังสามารถเติบโตได้ แม้เศรษฐกิจในประเทศไทยจะยังคงชะลอตัว โดยคาดการณ์การเติบโตในระดับเลขหลักเดียว (1 Digi) หรืออาจมีลักษณะคล้ายกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากบริษัทมีการใช้เงินทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีการลงทุนใน 'V Square' และ 'กรวิน คลินิก' ซึ่งจะมีผลในไตรมาส 1/2568            อย่างไรก็ตาม บริษัทมองว่า ผลประกอบการในไตรมาส 1/2568 จะยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และตั้งเป้าหมาย Partner Profit Contribution (ส่วนแบ่งผลกำไรจากพันธมิตร) ไว้ที่ 80-100 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ค่อนข้าง Conservative            แนวโน้มอุตสาหกรรมความงามในประเทศไทยปี 2568 คาดว่าจะเติบโตในระดับเลขหลักเดียว เช่นเดียวกับปีก่อน โดยหนึ่งในปัจจัยหลักมาจากการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรง และยอดใช้จ่ายต่อบิลที่ลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มบริการศัลยกรรมเสริมหน้าอกที่มีการแข่งขันสูง ส่งผลให้บริษัทคาดว่าอัตรากำไร (มาร์จิ้น) จะบางลง ขณะเดียวกัน ภาวะเศรษฐกิจในประเทศยังไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงระมัดระวังในการใช้จ่ายและถือเงินสดไว้ในมือ            MASTER มีแผนขยายธุรกิจความงามไปยังต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศในปี 2568 ให้สูงถึง 40% จากปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 28% โดยมุ่งขยายการให้บริการและเจาะกลุ่มลูกค้าในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งแม้เศรษฐกิจโดยรวมของอินโดนีเซียจะถูกประเมินว่าชะลอตัว แต่เมื่อพิจารณารายเซกเตอร์ อุตสาหกรรมความงามยังคงมีศักยภาพเติบโตสูง โดยบริษัทคาดว่าธุรกิจในอินโดนีเซียปีนี้จะยังสามารถเติบโตได้ถึง 100% จากการให้บริการศัลบกรรมที่เป็น Top Hit อย่าง            ขณะเดียวกัน บริษัทยังคงให้ความสำคัญกับตลาดในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) โดยมองว่าในบางประเทศยังมีการเติบโตของ GDP ที่สูงกว่าประเทศไทย ซึ่งถือเป็นโอกาสในการขยายธุรกิจในอนาคต ทั้งนี้ การดำเนินธุรกิจในต่างประเทศไม่ได้ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายของบริษัทเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด อีกทั้งยอดใช้จ่ายเฉลี่ยต่อบิลยังอยู่ในระดับค่อนข้างสูง สะท้อนถึงศักยภาพของตลาดและพฤติกรรมการบริโภคที่พร้อมจ่ายเพื่อบริการด้านความงามคุณภาพสูงในต่างแดน            นางสาวลภัสรดา กล่าวต่อว่า แม้ภาพรวมธุรกิจศัลยกรรมในประเทศไทยจะเติบโตเพียงเล็กน้อย และมีผู้เล่นในตลาดจำนวนมาก แต่เชื่อว่าผู้บริโภคยังคงให้ความสำคัญกับการเลือกใช้บริการจากโรงพยาบาลศัลยกรรมที่มีความเชี่ยวชาญและมีความน่าเชื่อถือสูง โดยเฉพาะจากการรีวิวและประสบการณ์ตรงของลูกค้าที่เคยใช้บริการ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน

MASTER ผนึก กรวิน เปิด “KRM Plastic Surgery Hospital”

MASTER ผนึก กรวิน เปิด “KRM Plastic Surgery Hospital”

                              หุ้นวิชั่น - นางสาวลภัสรดา เลิศภานุโรจ  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) MASTER นายแพทย์กรวิน ศิริโรจนทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรวิน โฮลดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด, นายมานิต โทแสง (ซ้าย) รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรวิน โฮลดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด ถ่ายภาพร่วมกันภายหลังเสร็จสิ้นพิธีการเปิดโรงพยาบาล “KRM Plastic Surgery Hospital” โรงพยาบาลเฉพาะทางศัลยกรรมตกแต่งเคอาร์เอ็ม ขอนแก่น ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านศัลยกรรมความงามครบวงจรใหญ่สุดแห่งแรกในภาคอีสานตอนกลาง ทั้งนี้ งานจัดขึ้น ณ โรงพยาบาลเฉพาะทางศัลยกรรมตกแต่งเคอาร์เอ็ม จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา

MASTER-กรวิน ทุ่ม 250 ลบ. เปิด “KRM Plastic Surgery Hospital”

MASTER-กรวิน ทุ่ม 250 ลบ. เปิด “KRM Plastic Surgery Hospital”

         หุ้นวิชั่น - บมจ. มาสเตอร์ สไตล์ MASTER - กรวิน ลงทุน 250 ลบ. สยายปีกอีสานตอนกลาง เปิดตัวโรงพยาบาล “KRM Plastic Surgery Hospital” โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านศัลยกรรมความงามครบวงจร ให้บริการด้านศัลยกรรม และเพิ่มบริการครบวงจรด้านความงาม ด้าน CEO MASTER เติมพอร์ต Organic- Inorganic ด้วยกลยุทธ์ Merger and Partnership (M&P) ทั้ง Cross Border - Cross Selling และ Cross Synergy หวังเสริมทัพศัลยกรรมความงามเติบโตยั่งยืน           นางสาวลภัสรดา เลิศภานุโรจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER ในนาม โรงพยาบาลมาสเตอร์พีช ผู้นำอันดับต้นของอุตสาหกรรมด้านความงามในไทยและเอเชีย ในฐานะ Partner เปิดเผยว่า ในโอกาสนี้ MASTER ร่วมยินดีกับ กรวิน ที่สามารถเปิดตัวโรงพยาบาลได้สำเร็จตามแผนที่ตั้งไว้  โดย KRM Plastic Surgery Hospital เป็นความร่วมมือระหว่าง MASTER ภายหลังจาก MASTER ได้เข้าถือหุ้น 40% ใน กรวิน โฮลดิ้ง ถือเป็นการขยายโอกาสทางธุรกิจของ MASTER ทำให้สามารถเพิ่มรายได้และยังสร้างประโยชน์ทางธุรกิจให้ได้รับผลตอบแทนที่ดีในอนาคต กรวิน เป็นหนึ่งในผู้นำด้านศัลยกรรมเสริมจมูกเทคนิคปิด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับผู้เริ่มทำศัลยกรรม ถือเป็นตลาดใหญ่ติด 1 ใน 3 ของตลาดเสริมจมูกเทคนิคปิด ดำเนินธุรกิจมามากกว่า 16 ปี มีจุดเด่น คือ แพทย์เป็นเจ้าของเอง และมีความชำนาญการด้านการเสริมจมูกเทคนิคปิดโดยเฉพาะ พร้อมให้คำปรึกษาปัญหาความงามทั้งใบหน้าและผิวหน้าแบบครบวงจร          ทั้งนี้ ปีนี้วางเป้าหมาย Partner Profit Contribution (ส่วนแบ่งผลกำไรของพันธมิตร) ไว้ที่ 80-100 ล้านบาท จากการเปิดให้บริการ 3 โรงพยาบาลใหม่ในกลุ่มของพาร์ทเนอร์ โดยล่าสุด เมื่อวันที่  11 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา MASTER และ กรวิน ได้ร่วมกันเปิด KRM Plastic Surgery Hospital  ซึ่งเป็นโรงพยาบาลศัลยกรรมความงามแห่งแรกในภาคอีสาน  และต่อจากนี้เตรียมเปิดโรงพยาบาลใหม่อีก 2 แห่ง ได้แก่ 1. โรงพยาบาลศัลยกรรมความงามครบวงจร ร่วมกับ “WIND” และ 2. โรงพยาบาลศัลยกรรมความงามร่วมกับ TYP Hospital โดย “TYP”          “MASTER พร้อมรับโอกาสใหม่ๆ ในอนาคต ทั้งด้าน Organic และ Inorganic ด้วยกลยุทธ์แบบ Merger and Partnership (M&P) ทั้ง Cross Border - Cross Selling และ Cross Synergy ซึ่งที่ผ่านมา MASTER ขยายการลงทุนเข้าไปถือหุ้นสัดส่วน 36-40% ของบริษัทชั้นนำในวงการศัลยกรรมความงาม และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องจำนวน 13 บริษัท ครอบคลุมทั้ง 3 กลุ่มกลยุทธ์ทางธุรกิจ ทำให้เป็นแรงสนับสนุนการสร้างโอกาสทางธุรกิจร่วมกันของกลุ่มบริษัท และส่งเสริมให้ MASTER ครอง Market Share ในตลาดศัลยกรรมความงามและแพทย์เฉพาะทางมากขึ้น และวันนี้ MASTER รู้สึกยินดีที่เป็นส่วนหนึ่งของก้าวแรกแห่งความสำเร็จ กับการเปิด KRM Plastic Surgery Hospital อย่างเป็นทางการ และกรวิน ถือเป็นผู้นำด้านศัลยกรรมเสริมจมูกเทคนิคปิด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับผู้เริ่มทำศัลยกรรม และมองว่าจะเติบโตอย่างยั่งยืนตามที่คุณหมอกรวินตั้งใจไว้” นางสาวลภัสรดา กล่าว          นายแพทย์กรวิน ศิริโรจนทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรวินโฮลดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้ประกอบการสถานพยาบาลด้านศัลยกรรมความงาม ภายใต้แบรนด์ ‘กรวิน คลินิก’ ‘รณภีร์ คลินิก’ และ ‘KRM Plastic Surgery Hospital’ เปิดเผยว่า บริษัทร่วมทุนกับ บมจ.มาสเตอร์ สไตล์ (MASTER) ผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช ในฐานะพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ เปิดตัว “KRM Plastic Surgery Hospital” โรงพยาบาลเฉพาะทางศัลยกรรมตกแต่งเคอาร์เอ็ม ขอนแก่น โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านศัลยกรรมความงามครบวงจรใหญ่สุดแห่งแรกในภาคอีสานตอนกลาง ด้วยเงินลงทุน 250 ล้านบาท เพื่อขยายการให้บริการด้านศัลยกรรม และเพิ่มบริการใหม่ๆ เช่น ดึงหน้า ยกคิ้ว เสริมหน้าอก ตัดหนังหน้าท้อง ดูดไขมัน ปลูกผม บริการด้านผิวพรรณ และดูแลท่านชาย เป็นต้น เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าในขอนแก่นและพื้นที่ใกล้เคียง เช่น นครราชสีมา อุดรธานี มหาสารคาม หนองคาย ชัยภูมิ และบุรีรัมย์          KRM Plastic Surgery Hospital ตั้งอยู่บนทำเลที่ดีใกล้กับท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น เป็นอาคารสูง 3 ชั้น ขนาดพื้นที่กว่า 3,500 ตร.ม. ประกอบด้วย ห้องผ่าตัด (OR) จำนวน 7 ห้อง ห้องพักฟื้น 8 เตียง ห้อง IPD  6 เตียง ห้องเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ (CSSD) พร้อมอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่มีมาตรฐานระดับสากล โดยมีบุคลากรทางการแพทย์ประจำโรงพยาบาล และทีมแพทย์จากโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช ช่วยเสริมทัพ          “จังหวัดขอนแก่นจัดเป็นเมืองท่องเที่ยวหลัก ตามกลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยว ในฐานะเป็น MICE City 1 ใน 5 พื้นที่ของประเทศ ด้วยศักยภาพความพร้อม ทั้งศูนย์กลางทางการแพทย์ การลงทุน การค้า เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การคมนาคม การศึกษา และศูนย์ราชการ ทำให้มีผู้คนสัญจรและเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้าจังหวัดจำนวนมากและต่อเนื่อง ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจของ KRM Plastic Surgery Hospital และเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในวงการศัลยกรรมความงามของภาคอีสานตอนกลาง ด้วยความมุ่งมั่นยกระดับมาตรฐานโรงพยาบาลสู่ระดับสากลและความปลอดภัยสูงสุด” นายแพทย์กรวิน กล่าว [PR news]

MASTER เปิด รพ.ศัลยกรรม ใหญ่สุดในอีสาน - เป้าไกลแค่ไหน เช็ก!

MASTER เปิด รพ.ศัลยกรรม ใหญ่สุดในอีสาน - เป้าไกลแค่ไหน เช็ก!

             หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุถึง MASTER ว่า MASTER (ซื้อ/เป้า 42.00 บาท) เปิด รพ.ศัลยกรรมครบวงจรใหญ่สุดแห่งแรกในอีสานตอนกลาง              เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” และคงราคาเป้าหมายที่ 42.00 บาท อิง 2025E PER 20.8x โดยเรามีมุมมองเป็นบวกจากการเข้าร่วมงานเปิด KRM Plastic Surgery Hospital (KRM) ที่จังหวัดขอนแก่นเมื่อวานนี้ (11 มี.ค. 2025) ซึ่งมีประเด็นสำคัญดังนี้              รพ. KRM เป็นโรงพยาบาลศัลยกรรมครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในอีสานตอนกลาง ด้วยมูลค่าการลงทุน 250 ล้านบาท ประกอบด้วยห้องผ่าตัด (OR) 7 ห้อง และห้องพักผู้ป่วยใน (IPD) 6 เตียง ทำเลศักยภาพสูง ตั้งอยู่ใกล้สนามบินนานาชาติขอนแก่น รองรับลูกค้าทั้งในจังหวัดขอนแก่น จังหวัดใกล้เคียง และประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งยังมีฐานลูกค้าเก่าจาก กรวิน และรณภีร์ คลินิก ที่มีถึง 47 สาขา              กลุ่ม Korawin Holdings (KRW) ซึ่งประกอบด้วย กรวิน คลินิก, รณภีร์ คลินิก และ KRM Plastic Surgery Hospital คาดการณ์รายได้ปี 2025E อยู่ที่ 786 ล้านบาท (+15% YoY) โดยคาดว่า รพ. KRM จะถึงจุดคุ้มทุน (Breakeven) หลังจากดำเนินงานได้ 1 ปี              อย่างไรก็ตาม ในปี 2025E เราคาดว่า MASTER จะรับรู้ Equity Income จาก KRW (MASTER ถือหุ้น 40%) ที่ 20 ล้านบาท (จากกรวิน คลินิก, รณภีร์ คลินิก และ รพ. KRM) และในปี 2026E Equity Income จาก KRW จะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากการขยายตัวของ กรวิน และรณภีร์ คลินิก รวมถึง รพ. KRM ที่คาดว่าจะพลิกเป็นกำไร              เราคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2025E ที่ 610 ล้านบาท (+17% YoY) โดยได้แรงหนุนจากรายได้ที่คาดว่าจะเติบโต +13% YoY และ Equity Income ที่เพิ่มขึ้นเป็น 95 ล้านบาท (+102% YoY) จากการรับรู้ดีลใหญ่ๆ เต็มปี เช่น V Square, S45 และ Korawin              ราคาหุ้น outperform SET ที่ +7% ใน 1 เดือนที่ผ่านมา ปัจจุบัน MASTER ซื้อขายที่ 2025E PER 14.1x ซึ่งเรามองว่า Valuation ยังไม่แพง เมื่อเทียบกับกำไรปี 2025E-2026E ที่คาดว่าจะทำ All-Time High อย่างต่อเนื่อง

abs

ปตท. แข็งแกร่งร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

MASTER ต่างประเทศหนุนโตแรง รายได้พุ่งรับไฮซีซั่น-แนะ

MASTER ต่างประเทศหนุนโตแรง รายได้พุ่งรับไฮซีซั่น-แนะ"ซื้อ"

            หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง MASTER ว่า ต่างประเทศหนุนการเติบโต Event ► วานนี้บริษัทให้ข้อมูลแนวโน้มผลประกอบการผ่านรายการ SET Opportunity Day เรามีมุมมองเป็นกลางในช่วงสั้น และคงมุมมองบวกในระยะยาว Our Take ► รายได้ปี 2024 อยู่ที่ 2,135 ล้านบาท (+11.4% YoY) โดยรายได้ต่างประเทศคิดเป็นสัดส่วน 28% (อินโดนีเซีย 30.8%, เมียนมา 12.5%, จีน 11.9%, กัมพูชา 11.1%, และลาว 9.3%) และรายได้จากลูกค้าต่างประเทศเติบโต 49.6% YoY ขณะที่ในแง่ของปริมาณลูกค้าต่างประเทศอยู่ที่ 14% ► รายได้จากศัลยกรรมปี 2024 แบ่งตามบริการดังนี้ ศัลยกรรมจมูก สัดส่วน 21% ศัลยกรรมยกคิ้ว ดึงหน้า ตา คอ สัดส่วน 13% ศัลยกรรมทรวงอก สัดส่วน 10% Men’s Health สัดส่วน 9% ที่เหลือประกอบด้วย ดูดไขมัน, ทำตาสองชั้น, ปรับโครงหน้า และตัดหนังหน้าท้อง ตามลำดับ Outlook ► ตั้งเป้ารายได้เติบโตในระดับ เลขสองหลัก และตั้งเป้าสัดส่วนรายได้จากลูกค้าต่างประเทศที่ 40% โดยจะเพิ่ม Partner Agency อีก 2 ประเทศในปีนี้ คือ กัมพูชาและลาว ► รายได้ในเดือนแรกของ 1Q25 เติบโตจากลูกค้าต่างประเทศประมาณ 18% ส่วนรายได้ในประเทศเติบโตต่ำด้วยเลขหลักเดียว ► การรับรู้ค่าใช้จ่าย PPA ของบริษัทร่วมใน 1Q25 จะเป็น Korawin และ V ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อเสีย: ทำให้งบ 1Q25 อาจเติบโตเพียง 10-15% YoY และเป็นไตรมาสที่ต่ำที่สุดของปี ข้อดี: หลังจากรายงานงบ 1Q25 ราคาหุ้นจะหมดประเด็น Overhang แม้ว่าจะยังมีรายการ PPA จากบริษัทอื่นอีกใน 2Q-3Q24 แต่ผลกระทบไม่มีนัยสำคัญเท่ากับ V Square ทำให้ราคาหุ้นกลับมาเคลื่อนไหว Outperform ได้หลังงบ 1Q25 ► บริษัทตั้งเป้าส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม (รวมผลกระทบจากรายการ PPA) ที่ 80-100 ล้านบาท ในปี 2025 และปัจจุบันยังไม่มีแผนลงทุนใหม่เพิ่มเติม แต่เน้น การบริหารจัดการ และ เพิ่มประสิทธิภาพการทำกำไรของ Partner ที่มีอยู่ พร้อมขยายตลาดใหม่ ► มี 3 โรงพยาบาลใหม่ของ Partner ที่เตรียมเปิดในปี 2025 ได้แก่ โรงพยาบาลกรวิน (Korawin) เปิดวันที่ 11 มี.ค. มีห้องผ่าตัดใหญ่ 4 ห้อง และห้องผ่าตัดเล็ก 3 ห้อง โรงพยาบาล Wind เปิดใน 2Q25 มีห้องผ่าตัด 3 ห้อง โรงพยาบาล TYP เปิดใน 3Q25 นอกจากนี้ ยังมีแผนเปิด โรงพยาบาลเฉพาะทาง 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลด้านผมของ TSC โรงพยาบาลปรับโครงหน้าของ S45 ความเห็น เรามีมุมมองเป็นกลางต่อแนวโน้มผลประกอบการระยะสั้น เนื่องจากการเติบโตของรายได้ในประเทศยังไม่สูง YoY ขณะที่รายได้จากต่างประเทศเติบโตสูงกว่าแต่ยังเป็น Low Season และในเดือนมีนาคมเข้าสู่ช่วง รอมฎอนของอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังมีการรับรู้ค่าใช้จ่าย PPA ของ V Square ซึ่งกระทบต่อส่วนแบ่งกำไรของบริษัทร่วม ทำให้กำไร 1Q25 อาจเติบโตเพียง 10-15% YoY อย่างไรก็ตาม เรามองบวกในระยะยาว เพราะ 1Q25 จะเป็นไตรมาสที่ต่ำที่สุดของปี และ 2Q25 มีแนวโน้มดีกว่าคาด เนื่องจากบริษัทรับรู้ผลกระทบจาก PPA ของ V Square เร็วกว่าที่คาดไว้ใน 1Q25 ส่วน 2H25 เป็น High Season ของธุรกิจ และไม่มีปัจจัยลบใหม่มากระทบ เรายังคงประมาณการกำไรปี 2025 ที่ 578 ล้านบาท (+10.7% YoY) ซึ่งต่ำกว่า Consensus ราว 6% ราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายด้วย PER 2025 เพียง 14.5 เท่า คงคำแนะนำ "ซื้อ" ในเชิงกลยุทธ์ การลงทุนช่วงสั้นควรเป็นการ Trading ในกรอบ 28-33 บาท และสามารถ เพิ่มน้ำหนักการลงทุนได้หลังงบ 1Q25 ผ่านไปแล้ว

MASTER ลุยขยายตปท. ปี68 ผลงานโตต่อเนื่อง

MASTER ลุยขยายตปท. ปี68 ผลงานโตต่อเนื่อง

            หุ้นวิชั่น - MASTER วางกลยุทธ์ปี 68 ตั้งเป้าการเติบโตรายได้ กำไรสองหลัก มุ่งขยายธุรกิจต่างแดน ปั๊มยอดสัดส่วนรายได้ลูกค้าต่างชาติแตะ 40% เล็งเพิ่มพาร์ทเนอร์ต่างประเทศ จ่อบุ๊กส่วนแบ่งผลกำไรพันธมิตรไว้ที่ 80-100 ล้านบาท โบรกแนะ “ซื้อ” คาดรายได้ทั้งปีโต 16.1% กำไรสุทธิพุ่ง 20.3% เคาะเป้าหมายที่ 49.50 บาทต่อหุ้น             นางสาวลภัสรดา เลิศภานุโรจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตของรายได้และกำไรในปี 2568 ให้ขยายตัวเป็นตัวเลขระดับสองหลัก (Double Digits) โดยคาดว่าจะรักษาอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ให้อยู่ในระดับ 20% และอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ให้อยู่ในช่วง 58-59% ในส่วนของตลาดต่างประเทศ MASTER ตั้งเป้าการเติบโตเป็นตัวเลขสองหลักในปี 2568 โดยเดินหน้ารุกขยายธุรกิจในต่างประเทศอย่างเต็มที่ มุ่งสู่การเป็น Regional Company เน้นโอกาสในประเทศอินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว พม่า และสิงคโปร์ จากข้อมูลล่าสุดในเดือนมกราคม 2568 พบว่ารายได้จากลูกค้าต่างประเทศเติบโตคิดเป็น 30% ของรายได้ทั้งหมด โดยเฉพาะอินโดนีเซียที่มีสัดส่วนรายได้สูงถึง 33%            รายได้จากต่างประเทศยังเติบโตที่ 18% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผ่านการทำการตลาดที่เข้าใจง่ายและยั่งยืน บริษัทตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนรายได้จากลูกค้าต่างชาติเป็น 40% และเพิ่มพันธมิตรต่างชาติจาก 1 ราย เป็น 3 ราย บริษัทวางเป้าหมาย Partner Profit Contribution (ส่วนแบ่งผลกำไรของพันธมิตร) ไว้ที่ 80-100 ล้านบาท พร้อมเตรียมเปิดโรงพยาบาลใหม่ 3 แห่ง ได้แก่ 1. โรงพยาบาลศัลยกรรมความงามแห่งแรกในภาคอีสาน โดย "กรวิน คลินิก" ร่วมกับ MASTER 2. โรงพยาบาลศัลยกรรมความงามครบวงจร โดย "WIND" ร่วมกับ MASTER 3. TYP Hospital โดย "TYP" ร่วมกับ MASTER ในตลาดในประเทศ บริษัทเดินหน้าขยายการรับรู้แบรนด์ผ่านการร่วมมือกับอินฟลูเอ็นเซอร์ ช่วยดึงดูดลูกค้าใหม่และรักษาลูกค้าเก่า รวมถึงช่วยควบคุมต้นทุนค่าโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลประกอบการปี 2567 กำไรโต 25.5% จากธุรกิจศัลยกรรม             MASTER ประกาศผลประกอบการไตรมาส 4 ปี 2567 โดยมีกำไรสุทธิ 219 ล้านบาท เติบโต 34.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อย โดยรายได้จากกิจการโรงพยาบาลอยู่ที่ 635 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 92 ล้านบาท หรือ 17% YoY โดยรายได้จากการศัลยกรรมเพิ่มขึ้น 17% จากความนิยมในการศัลยกรรมหน้า ศัลยกรรมยกคิ้ว และบริการด้านสุขภาพชาย             รายได้จากลูกค้าต่างประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน หลังมีการขยายตลาดในต่างประเทศ อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) อยู่ที่ระดับ 65.8% สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 63.6% ส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้าเพิ่มขึ้น 20 ล้านบาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารอยู่ที่ 171 ล้านบาท คิดเป็น 27% ของรายได้ ลดลงจากปีก่อนที่ 28.3%             สำหรับผลประกอบการทั้งปี 2567 MASTER มีกำไรสุทธิ 522 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.5% YoY โดยรายได้จากกิจการโรงพยาบาลอยู่ที่ 2,135 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 218 ล้านบาท หรือ 11% รายได้จากการศัลยกรรมเพิ่มขึ้น 13% โดยอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) อยู่ที่ 59.9% ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อนที่ 59.1% ขณะที่สัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ลดลงเล็กน้อยจาก 33.1% ในปีก่อน มาอยู่ที่ระดับ 32.9% MASTER ยังคงเดินหน้าตามแผนการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ทั้งในและต่างประเทศ พร้อมขยายตลาดและสร้างความยั่งยืนในระยะยาว ควบคู่กับการรักษาความสามารถในการทำกำไรและบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ โบรกคาดรายได้ปี68 โต 16.1%             ด้าน บล.เอเอสแอล ประเมินหุ้น MASTER โดยมองแนวโน้มปี2568 ผู้บริหารตั้งเป้าการเติบโตของรายได้จากกิจการโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นราว 20% โดยมี key driver มาจากรายได้ลูกค้าต่างชาติเพิ่มขึ้น ทั้งอินโดนีเซีย จีน เมียนมา ลาว เป็นต้น            ขณะที่ OR Operation ยังมี Capacity เพียงพอ ส่งผลให้ GPM โดยเฉลี่ยทั้งปีสูงขึ้นต่อจากปีก่อน ด้านรายได้จาก Partner คาดรับรู้ได้มากขึ้นจากการไม่ต้องบันทึกรายการ PPA ที่บันทึกไปแล้วเมื่อปีก่อน            เบื้องต้นคาดการณ์รายได้และกำไรสุทธิทั้งปีเท่ากับ 2,475 ล้านบาท และ 624 ล้านบาท คิดเป็นการ เติบโต 16.1% และ 20.3% ตามลำดับ แนะนำ“ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมายปี2568 ที่ 49.50 บาท/หุ้น โดยประเมิน EPS ทั้งปีเท่ากับ 2.07 บาท คิดเป็น PE ที่ 24 เท่า (ใกล้เคียงกันกับค่าเฉลี่ยต้นปีของกลุ่มโรงพยาบาลขนาดใหญ่ และกลุ่ม Beauty & Surgery + 1 s.d.) โดยให้ Premiumกว่าธุรกิจโรงพยาบาลทั่วไป เนื่องจากธุรกิจยังคงมีแนวโน้มเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของการดำเนินงานปกติ และส่วนแบ่งรายได้จาก Partner แต่มองว่าระดับ PE ที่ซื้อขายลดลง เนื่องมาจากนักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อตลาดลดลง จากปัจจัย สงคราม ความขัดแย้งทางการเมืองทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจ

MASTER คาดกำไรปี68 โต13% ศัลยกรรมทำสวยยังเติบโต

MASTER คาดกำไรปี68 โต13% ศัลยกรรมทำสวยยังเติบโต

                    หุ้นวิชั่น - บล.กรุงศรี มอง Slightly positive ต่อกำไรสุทธิ 4Q24 219 ลบ. (+34% y-y, +100% q-q) ดีกว่าคาดและตลาดคาด 10%/6% ตามลำดับ จากการที่ทั้งรายได้, Gross margin และส่วนแบ่งกำไรจาก JV สูงกว่าคาด โดยรวมทั้ง รพ.MASTER และส่วนแบ่งกำไรจาก JV ทำได้ดี ด้าน Outlook คาดกำไรปี 25F เติบโต +13% y-y ภาพรวมยังเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตระยะกลาง-ยาว แนะนำ “Trading Buy” ตั้ง TP25F ที่ 34 บาท อิง PER 17 เท่า คาดกำไรปี 2025F +13%... ระยะสั้น คาด 1H25 เป็น low season            คงกำไรปี 25F ที่คาด 588 ลบ. +13% y-y ประเมินรายได้ +8% (U rate 72% เพิ่มจากปี 24 ที่ 70% และปรับรายได้เพิ่ม +5%) โดยบริษัทยังคงขยายฐานลูกค้ากลุ่มอินโดฯ ที่เติบโตดี ปัจจุบันเริ่มทำตลาด/จัดกิจกรรมมากขึ้น และร่วมมือกับเอเยนซี่ส่งลูกค้าให้ MASTER และลูกค้าจากอินโดเริ่มกลับมาในม.ค. หลังหยุดยาว ธ.ค. ขณะที่กำไรจาก JV กำหนดที่ 80 ลบ. เป็นกรอบล่างของเป้าบริษัท 80-100 ลบ. (รวมผลของมาตรฐานบัญชี PPA แล้ว) ด้านระยะสั้น แนวโน้มกำไร 1H25F จะเป็น Low season แต่ยังเติบโต y-y แนะนำ Trading Buy ตั้ง TP25F ที่ 34 บาท อิง PER 17 เท่า (-2SD)  ราคาหุ้นเริ่มฟื้นตัว หลังผ่านช่วงขาย Big lot ราคาต่ำ ยังแนะนำ Trading Buy ตั้ง TP25F ที่ 34 บาท อิง PER 17 เท่า คิดเป็นค่าเฉลี่ย -2SD ภายใต้มุมมองกลุ่มศัลยกรรมยังเติบโตได้ในระยะกลาง-ยาว

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

MASTER ปี 67 สวยฉ่ำกำไรพุ่ง 25% บอร์ดใจดีปันผล 0.80 บ./หุ้น

MASTER ปี 67 สวยฉ่ำกำไรพุ่ง 25% บอร์ดใจดีปันผล 0.80 บ./หุ้น

          บมจ.มาสเตอร์ สไตล์ หรือ MASTER โชว์กำไรปี 2567 พุ่ง 25% แตะ 522.45 ลบ.กวาดรายได้รวม 2,135.08 ลบ. จากการเติบโตของศัลยกรรมความงาม ขณะที่ Synergy แข็งแกร่ง หนุนส่วนแบ่งกำไรพาร์ทเนอร์ สอดคล้องงบไตรมาส 4/2567 มีกำไรสุทธิ 218 ลบ. เพิ่มขึ้น 33% ที่ประชุมบอร์ด อนุมัติจ่ายปันผล 0.80 บ./หุ้น ตอบแทนผู้ถือหุ้น ด้าน “ลภัสรดา เลิศภานุโรจ” CEO MASTER เผยแผนปี 2568 เดินหน้าขยายตลาดต่างประเทศ ตั้งเป้าดันสัดส่วนรายได้แตะ 40% พร้อมบุกอินโดฯ-เมียนมา–ลาว–จีน-กัมพูชา ประกาศเดินหน้าก้าวสู่ Regional Aesthetic Leader           นางสาวลภัสรดา เลิศภานุโรจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER ในนามโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช ผู้นำอันดับต้นของอุตสาหกรรมด้านความงามในไทยและเอเชียในฐานะ Regional Company กล่าวว่า รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2567 มีกำไรสุทธิ อยู่ที่ 522.45 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25% จากปี 2566 ที่มีกำไรอยู่ที่ 416.29 ล้านบาท เป็นผลมาจากรายได้จากการประกอบกิจการโรงพยาบาล ทำได้ 2,135 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ที่มีรายได้อยู่ที่ 1,916 ล้านบาท โดยรายได้จากการศัลยกรรมเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของรายได้จากหัตถการ ศัลยกรรมยกคิ้ว ศัลยกรรมหน้า และสุขภาพชาย รวมถึงรายได้จากการปลูกผมและดูแลเส้นผม นอกจากนี้ บริษัทฯ มีการทำการตลาดในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีลูกค้าต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศ อินโดนีเชีย เมียนมา จีน เข้ามาใช้บริการ ส่งผลให้รายได้จากการศัลยกรรมความงามปรับตัวเพิ่มขึ้น           สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2567 บริษัทฯ มีอัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้น เป็น 24.20% เมื่อเทียบกับปี 2566 อยู่ที่ 21.42% และบริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นจากการประกอบกิจการโรงพยาบาล เพิ่มขึ้น 13% จากปี 2566 สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการประกอบกิจการโรงพยาบาล ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นเป็น59.93% เมื่อเทียบกับปี 2566 อยู่ที่ 59.05%           นอกจากนี้ บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายในการขายลดลง 3% จากปี 2566 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการที่บริษัท มีการควบคุมค่าใช้จ่ายมากขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายทางการตลาดลดลง กลยุทธ์การโฆษณาผ่านทางสื่อออนไลน์ การปรับเปลี่ยน ให้เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น สนับสนุนต่ออัตราการทำกำไรของบริษัทฯ ที่ดีขึ้นทิศทางเดียวกัน           นางสาวลภัสรดา กล่าวว่า บริษัทฯ รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 4/2567 มีกำไรสุทธิ 219 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33% จากปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้จากการประกอบกิจการโรงพยาบาล 635 ล้านบาท เติบโต 17% จากปี 2566 มีรายได้อยู่ที่ 543 ล้านบาท โดยรายได้หลักมาจากศัลยกรรมทำได้ 541 ล้านบาท เติบโต 17% จากปี 2566 สาเหตุการเติบโตมาจากการรายได้ในหัตถการศัลยกรรมยกคิ้ว สุขภาพชาย และศัลยกรรมหน้า           สำหรับไตรมาส 4/2567 บริษัทฯ มีอัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 34.4% เมื่อเทียบกับปี 2566 อยู่ที่ 30.1% โดยมีสาเหตุมาจากการบริหารต้นทุนที่ดีขึ้น ประกอบกับ รายได้จากส่วนแบ่งของเงินลงทุนในบริษัทร่วมที่เพิ่มขึ้นและการบริหารค่าใช้จ่ายทางการขายที่ดีขึ้น ส่งผลให้บริษัทฯ มีอัตรากำไรสุทธิที่สูงขึ้น           ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทพิจารณาจ่ายเงินปันผล โดยมีมติให้เสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 เพื่อการจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิจากผลการดำเนินงานประจำปี 2567 ให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.80 บาท โดยกำหนดวันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผล ในวันที่ 12 มีนาคม 2568 (Record Date) และกำหนดจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นภายในวันที่ 9 พฤษภาคม 2568 ซึ่งกำหนดวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ในวันที่ 23 เมษายน 2568           นางสาวลภัสรดา กล่าวทิ้งท้ายว่า เป้าหมายในปี 2568 บริษัทฯ วางแผนรุกขยายตลาดต่างประเทศมากขึ้น เพื่อผลักดันสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศเพิ่มเป็น 40% โดยเน้นการขยายฐานลูกค้าไปยัง อินโดนีเซีย เมียนมา ลาว จีน และกัมพูชา ซึ่งเป็นตลาดที่มีความต้องการด้านศัลยกรรมความงามสูง นอกจากนี้ MASTER ยังให้ความสำคัญกับการยกระดับมาตรฐานบริการและประสบการณ์ลูกค้า โดยมุ่งสู่การเป็น Regional Aesthetic Leader หรือผู้นำด้านศัลยกรรมความงามในระดับภูมิภาค           “เรามองเห็นโอกาสในการเติบโตจากตลาดต่างประเทศ ที่มีความต้องการบริการศัลยกรรมความงามระดับพรีเมียมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง MASTER จึงมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบริการ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการแพทย์ ควบคู่ไปกับการขยายฐานลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายการเติบโตระยะยาว” นางสาว ลภัสรดา กล่าว

MASTER คาด Q4 กำไรนิวไฮ 95.7% ลูกค้าอินโดฯ หนุน โบรกแนะ “ซื้อ”

MASTER คาด Q4 กำไรนิวไฮ 95.7% ลูกค้าอินโดฯ หนุน โบรกแนะ “ซื้อ”

        หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล. หยวนต้า คาดกำไร 4Q24 ทำ New high เราคาดกำไรสุทธิ 4Q24 ที่ 214 ลบ. (+95.7% QoQ, +31.4% YoY) และทำระดับสูงสุดใหม่ คาดรายได้หลักที่ 665 ลบ. (+27.4% QoQ, +22.6% YoY) ทำระดับสูงสุดใหม่เช่นกัน ได้แรงหนุนจากปัจจัยฤดูกาล, ลูกค้าต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซีย ส่วนในประเทศได้กลุ่มลูกค้าที่เลื่อนมาจาก 3Q24 เพราะติดน้ำท่วมภาคเหนือเข้ามาใช้บริการใน 4Q24         ผลของรายได้ที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิด Economies of scale หนุน GPM สูงขึ้น เราคาดที่ 62.7% จาก 57.0% ใน 3Q24 แต่คาดต่ำกว่า 4Q23 ที่ 63.6% ขณะที่ SG&A/Sales คาดลดลงเหลือเพียง 25.5% ลดลงจาก 33.2% ใน 3Q24 และ 28.3% ใน 4Q23 เนื่องจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นมาก และในไตรมาสถัดไปไม่ใช่ High season ของธุรกิจจึงไม่จำเป็นต้องทำการตลาดมาก         ในไตรมาสนี้ ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมคาดที่ 23 ลบ. เพิ่มขึ้น 95.7% QoQ และ 391.0% YoY โดยหลักมาจากการรับรู้ส่วนแบ่งเต็มที่จาก V-Square ซึ่งเป็น High season เช่นกัน รองลงมาเป็นส่วนแบ่งจาก Kin และไตรมาสนี้ไม่ได้รับผลกระทบจากค่าใช้จ่าย PPA คราวเดียว 12 เดือนมากเหมือนที่เกิดใน 3Q24 คาดกำไรสุทธิที่ 214 ลบ. เติบโต 95.7% QoQ และ 31.4% YoY และทำระดับสูงสุดใหม่ ซึ่งอยู่ในกรอบประมาณการกำไรทั้งปีของเรา 1Q25 คาดกำไรโตสูง YoY แม้ว่าปกติแล้วในไตรมาส 1 จะได้รับผลกระทบจากปัจจัยฤดูกาลทำให้ผลประกอบการลดลงในแง่ QoQ แต่หากพิจารณาในแง่ YoY แล้ว เราคาดว่ามีโอกาสที่กำไรอาจเติบโตได้ในระดับ 20% YoY ขึ้นไปได้ โดยได้แรงหนุนจากลูกค้าในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซีย จากการทำการตลาดเชิงรุกในอินโดนีเซีย ส่วนลูกค้าในประเทศยังประคองรายได้ทรงตัวถึงเติบโตเล็กน้อย YoY ตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ต้องอาศัยการจัดโปรโมชั่นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมคาดเติบโตสูง YoY เช่นกัน เนื่องจาก V-Square ยังไม่มีการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรใน 1Q24 และหลายบริษัทอย่าง Wind และ TYP มีผลขาดทุนใน 1Q24 คาดว่าจะ Turnaround ใน 1Q25 ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตของรายได้ที่ 20% YoY ในปี 2025 ซึ่งสูงกว่าประมาณการของเราที่ 12% YoY ไม่แพง ประมาณการมี Upside risk … ปรับ Multiple ลง คงคำแนะนำ “ซื้อ”         เรายังคงประมาณการกำไรปี 2025 ที่ 578 ลบ. (+11.9% YoY) ซึ่งที่ประมาณการรายได้ของเราต่ำกว่าเป้าหมายของบริษัท และประมาณการกำไรของเราต่ำกว่า Consensus ราว 7% จึงมีโอกาสถูกปรับประมาณการกำไรขึ้นได้หากบริษัททำได้ตามเป้าหมาย ราคาหุ้นปรับตัวลงแรงหลังจากมีการทำรายการ Big lot หุ้นที่ 37 บาท ทำให้เกิดการ Panic sell         เราประเมินว่าหากผลประกอบการออกมาเท่ากับหรือดีกว่าคาดได้ จะช่วยหนุน Sentiment ของ MASTER ให้ราคาหุ้นฟื้นตัวได้ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยภาวะตลาดที่ถูกซื้อขายด้วย PER ต่ำลง เราจึงปรับลด PER ในการประเมินมูลค่าลงเป็น PER ที่ 22 เท่า ได้ราคาเป้าหมายใหม่อยู่ที่ 42.00 บาท มี Upside gain อยู่ 55.6% และราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายที่ PER 2025 ต่ำเพียง 14 เท่า จากเดิมที่เคยสูงถึง 30 เท่า มองว่าราคาหุ้นมี Downside risk จำกัดมากแล้ว คงคำแนะนำ “ซื้อ”

CEO หญิง MASTER คว้ารางวัล The Best Woman Leadership สาขา Gender Equality Award

CEO หญิง MASTER คว้ารางวัล The Best Woman Leadership สาขา Gender Equality Award

          เปิดต้นปีอย่างสวยงาม! “พี่ดาว มาสเตอร์พีช” หรือ คุณลภัสรดา เลิศภานุโรจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER ได้รับเกียรติเป็น 1 ใน 8 CEO หญิงที่เป็น Soft Power ของประเทศไทย พร้อมคว้ารางวัลอันทรงเกียรติ “The Best Woman Leadership” สาขา Gender Equality Award ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้หญิงไทยในการก้าวขึ้นเป็นผู้นำในระดับประเทศ เส้นทางสู่การเป็น CEO ของ MASTER           คุณลภัสรดา เลิศภานุโรจ หรือที่หลายคนรู้จักในนาม “พี่ดาว มาสเตอร์พีช” เป็นนักบริหารหญิงมากความสามารถที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนวงการศัลยกรรมความงามของประเทศไทย เธอเข้ารับตำแหน่ง CEO บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) ด้วยวิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นการยกระดับมาตรฐานความงามให้ก้าวไกลในระดับสากล รวมถึงการสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ และเปิดโอกาสให้กับทุกคนอย่างเท่าเทียม           ภายใต้การบริหารของเธอ MASTER เติบโตอย่างก้าวกระโดด และสามารถจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้อย่างแข็งแกร่ง สะท้อนถึงศักยภาพของผู้นำหญิงที่สามารถขับเคลื่อนองค์กรขนาดใหญ่ให้ประสบความสำเร็จ อีกก้าวสำคัญแห่งความภาคภูมิใจ           ในโอกาสนี้ คุณลภัสรดา เลิศภานุโรจ ยังได้รับเกียรติ ถ่ายภาพร่วมกับท่านนายกรัฐมนตรี เป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาสำคัญที่สะท้อนถึงพลังของผู้หญิงในการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า [PR News]

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

MASTER คาดกำไร Q4 ทำนิวไฮ 200 ลบ. โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 68.50 บาท

MASTER คาดกำไร Q4 ทำนิวไฮ 200 ลบ. โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 68.50 บาท

หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.หยวนต้า ชี้ MASTER ปัจจัยพื้นฐานยังเหมือนเดิม หลังจากวานนี้ราคาหุ้นปรับตัวลง 19.9% หลังมีรายงานการขาย Big Lot และมีประเด็นข่าวลือในตลาดมากมายกดดันราคาหุ้น ส่งผลให้บริษัทได้จัดแถลงข่าวอย่างไม่เป็นทางการช่วงบ่ายวานนี้ ยังคงมุมมองเชิงบวกต่อปัจจัยพื้นฐานของบริษัท Our Takes: ► ผลประกอบการ 4Q24: ผู้บริหารยังยืนยันว่าทำได้ตามเป้าหมายที่เคยให้ Guidance ไว้ ไม่มีประเด็นน่ากังวลแต่อย่างใด เป้าส่วนแบ่งกำไรจาก Partner ที่ 40–50 ล้านบาทในปี 2024 ยังยืนยันว่าทำได้มากกว่า 40 ล้านบาท ► ข่าวลือเกี่ยวกับกรณีผู้ป่วยเสียชีวิต: บริษัทชี้แจงว่า ตั้งแต่เริ่มดำเนินธุรกิจมาไม่เคยมีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้น ► Big Lot เช้าวานนี้: เกิดรายการ Big Lot จำนวน 11.4 ล้านหุ้น ที่ราคา 37 บาท ทำให้ตลาดกังวล เนื่องจากราคาต่ำกว่าราคาที่ร่วงลงมา 2 วันติดต่อกันจากระดับ 46 บาท ช่วงเย็นวานนี้บริษัทประกาศว่าผู้ขายหุ้นคือ นพ.ระวีวัฒน์ มาศฉมาดล โดยจำนวนหุ้นที่จำหน่ายออกคิดเป็นสัดส่วน 3.78% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ส่งผลให้จำนวนหุ้นที่ นพ.ระวีวัฒน์ ถืออยู่ทั้งทางตรงและผ่าน Inglory Investments ลดลงจาก 59.4% เป็น 55.6% ส่วนราคาขายมีส่วนลดจากราคาตลาดวันก่อนหน้าราว 8% แต่ยังสูงกว่าราคา IPO ► ผู้ซื้อ: นักลงทุนสถาบันต่างประเทศที่ติดตามบริษัทมานาน และมีความตั้งใจถือหุ้นของบริษัทในระยะยาว เพื่อเพิ่ม Free Float ของหุ้นในกระดานหลังย้ายตลาดเข้า SET ► การชี้แจงเพิ่มเติม: ผู้บริหารยืนยันว่าการทำ Big Lot จบแล้ว ► Panic Sell: เช้าวานนี้ราคาหุ้นปรับตัวลงไปแตะระดับ Floor ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่าอาจมีการบังคับขายหุ้นจากผู้ถือหุ้นที่นำหุ้นไปวางเป็นหลักประกัน ณ เดือน พ.ย. มีหุ้นวางเป็นหลักประกันอยู่จำนวน 27 ล้านหุ้น คิดเป็น 9% ของหุ้นจดทะเบียนที่ชำระแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารระบุว่า นพ.ระวีวัฒน์ และ Inglory Investments ไม่เคยนำหุ้นไปวางเป็นหลักประกัน จึงไม่มีการถูกบังคับขายจากผู้ถือหุ้นใหญ่ ► Roadshow ที่อินโดนีเซีย: CEO กำลังอยู่ระหว่าง Roadshow ที่อินโดนีเซีย ครั้งก่อนสามารถปิดยอดขายได้ 20 ล้านบาท ครั้งนี้ตั้งเป้าที่ 40 ล้านบาท ในเวลา 1 วันครึ่ง ความคิดเห็น: คงมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มผลประกอบการ โดยคาดการณ์กำไร 4Q24 เบื้องต้นอาจทำระดับสูงสุดใหม่ที่มากกว่า 200 ล้านบาทได้ เนื่องจากเป็นช่วง High Season ของรายได้ และ Low Season ของค่าใช้จ่ายทางการตลาด อีกทั้งส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายที่ PER2025 ต่ำเพียง 17 เท่า และการปรับตัวลงไม่ได้มาจากปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งสวนทางกับกำไรปี 2025 ที่มีโอกาสดีกว่าคาด จากส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมที่ยังทำไว้เพียง 80 ล้านบาท ซึ่งเป็นขอบล่างของเป้าหมายบริษัทที่ 80–100 ล้านบาท คงคำแนะนำ: ซื้อราคาเป้าหมาย: 68.50 บาท

"หมอเส" ยันถือหุ้นใหญ่ MASTER - ผลงานแกร่ง

           หุ้นวิชั่น - "ลภัสรดา เลิศภานุโรจ" CEO MASTER แจงบิ๊กล้อต 11.36 ล้านหุ้น จาก IN GLORY ผู้ถือหุ้นอันดับสอง โยนให้ 4 กองทุนยุโรป อเมริกา ดันสัดส่วนกองทุนแตะ 12% จากเดิมที่ 5% ยันหุ้น "หมอเส" อยู่ครบ และไม่มีการนำหุ้นไปจำนำแต่อย่างใด มั่นใจผลประกอบการเป็นไปตามเป้า ส่วนปี 68 คาดโตต่อ 20%            ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน ว่า นางสาวลภัสรดา เลิศภานุโรจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER เปิดเผยถึงกรณีการซื้อขายรายการใหญ่บนกระดาน (บิ๊กล็อต) จำนวน 11,366,900 หุ้น ที่ราคาเฉลี่ย 37 บาท รวมมูลค่ากว่า 420 ล้านบาท เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2568            ทั้งนี้ ราคาหุ้น MASTER ในช่วงเช้าของวันเดียวกันปรับตัวลดลงแตะฟลอร์ที่ 28.25 บาท คิดเป็นมูลค่าการซื้อขายรวม 470 ล้านบาท            สำหรับการขายบิ๊กล็อตดังกล่าว เป็นการขายหุ้นจาก IN GLORY INVESTMENTS LIMITED ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับสองของ MASTER โดยก่อนการทำรายการ IN GLORY INVESTMENTS LIMITED ถือหุ้น 16.67% หรือ 44 ล้านหุ้น ทั้งนี้ หุ้นที่ขายออกไปจำนวน 11.37 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 3.8% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ถูกขายให้กับกองทุนต่างชาติ 4 ราย จากสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่สนใจลงทุนใน MASTER ระยะยาว โดยกองทุนเหล่านี้เคยเข้ารับฟังข้อมูล (Company Visit) และติดตามความเคลื่อนไหวของบริษัทมาโดยตลอด            ทั้งนี้ การขายบิ๊กล็อตดังกล่าวส่งผลให้สัดส่วนการถือครองหุ้น MASTER ของนักลงทุนต่างชาติปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 5% ในอดีต มาอยู่ที่ 12% ในปัจจุบัน ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติในศักยภาพการเติบโตของบริษัทในระยะยาว            ขณะเดียวกัน นางสาวลภัสรดา ยืนยันว่า นายระวีวัฒน์ มาศฉมาดล หรือ "หมอเส" ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่งของ MASTER โดยข้อมูลล่าสุดก่อนการทำรายการบิ๊กล็อต นายระวีวัฒน์ถือหุ้นในสัดส่วน 49.22% หรือ 129,937,368 หุ้น และไม่มีการนำหุ้นของบริษัทไปจำนำแต่อย่างใด            การขายหุ้นครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ โดย MASTER ยังคงเดินหน้าขยายธุรกิจตามแผนที่วางไว้ พร้อมทั้งได้รับความเชื่อมั่นจากนักลงทุนต่างชาติที่มองเห็นศักยภาพการเติบโตในระยะยาว            นางสาวลภัสรดา กล่าวต่อว่า ขณะที่แผนการเติบโตของ MASTER ในไตรมาส 4/2567 ยังคงใกลบ้เคียงกับประมาณการของนักวิเคราะห์ ส่วนการเติบโตปี 2568 คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องจากปี 2567 หรือที่ 20% และมีการปรับสัดส่วนผู้ใช้บริการต่างชาติเพิ่มขึ้นเป็น 40% จากปัจจุบันที่ 27% และคาดอัตราการทำกำไร (มาร์จิ้น) ของบริษัทจะเติบโตได้ในระดับดี เนื่องจากยอดใช้จ่ายของต่างชาติสูงกว่าคนไทย 20-30% รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

MASTER คาด Q4 โตแกร่ง  ช่วงไฮซีซัน ลูกค้าอาเซียนหนุน

MASTER คาด Q4 โตแกร่ง ช่วงไฮซีซัน ลูกค้าอาเซียนหนุน

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.ฟิลลิป  คาด MASTER 4Q67 ผลประกอบการได้รับปัจจัยหนุนจากช่วง High Season ของธุรกิจ ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกค้าต้องการเตรียมความพร้อมสำหรับปีใหม่ ทำให้ความต้องการใช้บริการสูงขึ้น นอกจากนี้ลูกค้าต่างชาติโดยเฉพาะจากภูมิภาคอาเซียนเดินทางมาใช้บริการในไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นทางฝ่ายคาดปัจจัยหนุนดังกล่าวจะช่วยหนุนการเติบโตของงบ 4Q67 ปี 68 ส่วนแบ่งกำไรหนุน คาดปี 68 ยังมีแนวโน้มการเติบโตทั้งจากส่วนของบริษัทเอง รวมไปถึงการเปิดดำเนินการบริษัท Partner ที่จะได้รับส่วนแบ่งกำไรเข้ามาหนุน โดยคาดส่วนแบ่งกำไรปี 68 ที่ 80-100 ลบ. เทียบกับส่วนแบ่งกำไร 9 เดือนที่ 27 ลบ.

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

ความงามดาวรุ่งปี68 MASTER พร้อมสวย

ความงามดาวรุ่งปี68 MASTER พร้อมสวย

          หุ้นวิชั่น - KResearch เปิด 5 ธุรกิจดาวรุ่งปี 68 อาหาร เครื่องดื่มสุขภาพ, การแพทย์ ความงาม, ท่องเที่ยว/ฮีลใจ, สินค้า    บริการเด็ก, ธุรกิจกรีน/ปล่อยคาร์บอนต่ำ นำเทรนด์ ส่อง MASTER KLINIQ TRP ติดโผ           ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด (KResearch) คาดการเติบโตของธุรกิจในปี 2568 ยังเสี่ยงกดดันจากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจการแข่งขันที่รุนแรงต่อเนื่องกับสินค้านำเข้าสังคมสูงอายุกระทบการใช้จ่ายและสภาพอากาศแปรปรวน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า Smart Spending, Self-healing, Sustainability เป็น 3 เทรนด์ผู้บริโภคที่ธุรกิจจะต้องปรับตัวตาม           5 ธุรกิจรุ่งได้แก่ อาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ, การแพทย์และความงาม, ท่องเที่ยว/ฮีลใจ, สินค้าและบริการเด็ก, ธุรกิจกรีน/ปล่อยคาร์บอนต่ำ           ขณะที่ 5 ธุรกิจร่วงได้แก่ ผลิตสินค้าแฟชั่นเฟอร์นิเจอร์ของตกแต่ง, ดีลเลอร์รถยนต์สันดาป, อสังหาริมทรัพย์, Trader ซื้อมาขายไป, ธุรกิจปล่อยคาร์บอนสูง.  หลายปัจจัยแวดล้อมยังคงกดดันการทำธุรกิจในปี 2568           1.เศรษฐกิจเสี่ยงโตชะลอเจ้าของกิจการยังคงเผชิญแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวแม้ว่าอาจได้แรงหนุนบางส่วนจากมาตการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐแต่ด้วยค่าครองชีพและหนี้ครัวเรือนที่ยังสูงทำให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงระมัดระวังหรือฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าปี 2568 การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มเติบโต2.4% ชะลอลงจากปี 2567 ที่จะโตราว4.6%           2.แข่งขันรุนแรงต่อเนื่องกับสินค้านำเข้าโดยเฉพาะสินค้าจีนราคาถูกเช่นเหล็กแฟชั่นของใช้ส่วนตัวเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งเป็นต้นซึ่งไทยมีมูลค่านำเข้าสินค้าทั้งหมดจากจีนคิดเป็น 1 ใน 4 ของการนำเข้าสินค้าทั้งหมดรวมถึงยังมีความเสี่ยงจากนโยบายของทรัมป์ที่จะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนและประเทศต่างๆทำให้อาจเห็นการทะลักเข้ามาของสินค้าจีนมากขึ้นและส่งผลให้ธุรกิจที่ดำเนินกิจการในไทยแข่งขันลำบากสะท้อนจากอัตราการใช้กำลังการผลิต 10 เดือนแรกของปี 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ 58% ลดลงต่อเนื่องเมื่อเทียบกับ 3 ปีที่ผ่านมา ที่โตเฉลี่ย 62.5% (ปี 2564-2566)           3.สังคมสูงอายุกดดันการใช้จ่ายไทยจะเข้าสู่ Super-aged Society ในปี 2571 หรือมีจำนวนผู้สูงอายุราว 14 ล้านคนคิดเป็น20% ของประชากรทั้งหมดแต่ผู้สูงอายุกว่า 34% มีรายได้ต่ำกว่า30,000 บาทต่อปีสะท้อนถึงการใช้จ่ายที่จำกัด ขณะเดียวกันค่ารักษาพยาบาลที่มีแนวโน้มสูงขึ้นจะยิ่งกดดันค่าใช้จ่ายในภาพรวมจากการที่ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs) ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของผู้สูงอายุจะอยู่ที่ราว 37% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดซึ่งมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ 3%           4.สภาพอากาศแปรปรวนที่เกิดถี่และรุนแรงขึ้นส่งผลกระทบหรือสร้างความเสียหายต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งภาคเกษตรรายได้ครัวเรือนและธุรกิจรวมถึงสิ่งปลูกสร้าง/ที่อยู่อาศัยนอกจากนี้ยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้หลายประเทศทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้นจนนำมาซึ่งการออกมาตรการต่างๆด้านสิ่งแวดล้อม เช่น CBAM, พ.ร.บ. Climate Change ซึ่งส่งผลกระทบต่อเจ้าของกิจการโดยเฉพาะที่พึ่งพาตลาดต่างประเทศที่เข้มงวดด้านสิ่งแวดล้อมเช่นสหภาพยุโรปทำให้มีต้นทุนในการปรับตัวของธุรกิจที่เพิ่มขึ้นและต้องใช้เวลากว่าที่จะได้ผลตอบแทนกลับมาจากการเปลี่ยนผ่านเพื่อตอบรับกับประเด็นนี้ ส่อง 3 เทรนด์ผู้บริโภคที่ธุรกิจจะต้องเร่งปรับตัวตามเพื่อเพิ่มยอดขาย Smart Spending - ใช้จ่ายอย่างรู้ค่า/คุ้มค่าคุ้มราคาแม้ว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคส่วนหนึ่งจะได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐแต่ความสามารถในการใช้จ่ายของครัวเรือนและธุรกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ค่าครองชีพและหนี้ครัวเรือนที่ยังสูงส่งผลให้ผู้บริโภคยังคงวางแผนใช้จ่ายอย่างระมัดระวังเลือกใช้จ่ายเฉพาะสินค้าที่จำเป็นหรือซื้อสินค้าที่คุ้มค่าคุ้มราคาสะท้อนจากผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ผู้บริโภคกว่า 32% ของผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมด 2 มีค่าใช้จ่ายไม่ต่างจากเดิมมากนัก แต่ปรับพฤติกรรมโดยการลดปริมาณการซื้อสินค้า/ใช้บริการลง เช่น ลดทานข้าวนอกบ้าน/ลดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยเป็นต้น Self-healing - ฮีลใจ/ทันกระแส/มีStoryสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันกดดันให้คนไทยเกิดภาวะเครียดสะสมนำมาซึ่งความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลมากขึ้นซึ่งจากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบว่ามีผู้ป่วยจิตเวชเข้ารับบริการเพิ่มขึ้นจาก 1.3 ล้านคนในปี2558 เป็น 2.9 ล้านคนในปี 2566 แต่คนที่เสี่ยงมีปัญหาอาจสูงถึง 10 ล้านคนโดยเฉพาะในวัยเด็กและเยาวชนรวมถึงวัยทำงาน ดังนั้นธุรกิจสินค้า/บริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจหรือการฮีลใจน่าจะได้รับอานิสงส์เพิ่มขึ้นหากเจ้าของกิจการสามารถปรับตัวได้ทันกับกระแสที่มาไวไปไว Sustainability - กระแสรักษ์โลกตอบโจทย์ตลาดไทยและต่างประเทศการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รุนแรงขึ้นทำให้ทั่วโลกรวมถึงไทยตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้นสะท้อนได้จากการสำรวจพบว่าคนไทยกว่า 90%ได้รับผลกระทบจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเช่นค่าไฟเพิ่มขึ้นจากอากาศที่ร้อนจัดราคาสินค้าสูงขึ้นจากผลผลิตผันผวนมีปัญหาสุขภาพจาก PM2.5 ดังนั้นธุรกิจที่ปรับตัวรับกับเทรนด์ดังกล่าวก็น่าจะสร้างยอดขายได้เพิ่มขึ้นจากทั้งตลาดไทยและต่างประเทศ เปิดโผ 5 ธุรกิจรุ่ง-ร่วง ปี2568           ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตในปี 2568 จะต้องสอดรับไปกับเทรนด์ผู้บริโภคโดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการทำให้สินค้าหรือบริการมีความคุ้มค่าคุ้มราคาและมีความยืดหยุ่นในการปรับตัวให้ทันกระแสรวมถึงตอบโจทย์เทรนด์ความยั่งยืน ได้แก่           อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ มูลค่าตลาดขยายตัว 5-7% จากการใส่ใจดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุ           การแพทย์และความงาม แม้กำลังซื้อของผู้บริโภคจะยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ แต่ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพยังโต 4-6% ตามเทรนด์ใส่ใจสุขภาพและการรักสวยรักงาม           ท่องเที่ยว/ฮีลใจ เช่น สัตว์เลี้ยง คอนเสิร์ต มูเตลู หมีเนย หมูเด้ง มีแนวโน้ม โตตามกระแส Self-health เช่น มูลค่าตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงโต 10-15% ตามจำนวนสัตว์เลี้ยงที่เพิ่มขึ้น           สินค้าและบริการเกี่ยวกับเด็ก มูลค่าตลาดขยายตัวราว 4% จากการที่พ่อ แม่ยังคงใส่ใจ และต้องการสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัยให้กับเด็ก           ธุรกิจกรีน/ปล่อยคาร์บอนต่ำ ผลสำรวจพบว่า 58% ของผู้บริโภค เต็มใจที่จะจ่ายสินค้า/บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งในจำนวนดังกล่าว 37% เต็มใจที่จะจ่ายเพิ่มขึ้นไม่เกิน 10% เมื่อเทียบกับราคาสินค้าปกติ           ขณะที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ประกอบธุรกิจการแพทยืและความงาม ได้แก่ บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER บริษัท เดอะคลีนิกค์ คลินิกเวชกรรม จำกัด (มหาชน) หรือ KLINIQ และ บริษัท เอสเตติก คอนเนค จำกัด (มหาชน) หรือ TRP           ด้าน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง MASTER PPA (Purchase Price Allocation) ไม่มีผลในระดับที่มีนัยสำคัญต่อประมาณการ           เพื่อประกอบมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 (ปรับปรุง 2558) เมื่อกิจการมีโอกาสเข้าซื้อหรือมีการควบรวมกิจการ ต้องมีการบันทึกบัญชีโดยการปันส่วนราคาซื้อ (Purchase Price Allocation, PPA) จึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายบัญชีที่ต้องหาวิธีการเพื่อหาสินทรัพย์ไม่มีตัวตนต่างๆ เพื่อนำไปบันทึกบัญชีให้ลงตัวใกล้เคียงกับราคาซื้อมากที่สุด ซึ่งหากยังคงเหลือส่วนต่างอยู่อีกโดยที่หาสินทรัพย์ที่จะปันส่วนเข้าไปไม่ได้จึงจะบันทึกเป็นค่าความนิยม หรือ Goodwill นั่นเอง โดยระยะเวลาในการวัดมูลค่าไม่เกินกว่า 1 ปี นับจากวันที่ซื้อ ซึ่งได้กำหนดหลักการและข้อกำหนดทางการเงินสำหรับผู้ซื้อกิจการหรือซื้อเงินลงทุน ดังต่อไปนี้ รับรู้และวัดมูลค่าสินทรัพย์ที่ได้มา หนี้สินที่รับมา และส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมในผู้ถูกซื้อ รับรู้และวัดมูลค่าค่าความนิยม (Goodwill) ที่เกิดขึ้นจากการรวมธุรกิจหรือกำไรจากการ ต่อรองราคาซื้อ และกำหนดข้อมูลที่ต้องเปิดเผยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินลักษณะและผลกระทบทางการเงินจากการรวมธุรกิจ           บริษัทร่วมที่ซื้อกิจการมาและไม่อยู่ในระดับที่มีอำนาจควบคุมหรือรวมงบการเงินจะต้องมีการวัดมูลค่าสินทรัพย์ทั้งที่มีตัวตนและไม่มีตัวตนให้ใกล้เคียงกับมูลค่าที่ซื้อมา ซึ่งซื้อในราคาต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม ทำให้เมื่อมีการวัดมูลค่าต้องมีการปรับเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ดังกล่าวก่อนนำส่วนแบ่งกำไรไปรวมในงบการเงินของผู้ซื้อ เมื่อสินทรัพย์เพิ่มขึ้นจึงต้องมีการทยอยตัดจำหน่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นส่วนที่ไปหักออกจากส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมสินทรัพย์หลักที่มีการวัดมูลค่าเพิ่มขึ้นในบริษัทร่วมของ MASTER ใน 3Q67 ได้แก่ อาคารและอุปกรณ์, ความสัมพันธ์กับลูกค้า (เฉพาะบริษัทที่มีลูกค้าประจำเป็นระยะเวลานาน) และ Trademark           ระยะเวลาในการตัดจำหน่ายอยู่ที่ 5 ปีสำหรับ WIND และ 10 ปีสำหรับบริษัทอื่นๆ และจะเริ่มรับรู้การตัดจำหน่ายก้อนแรกเมื่อซื้อครบ 1 ปี ซึ่งจะสูงกว่าปกติ เพราะเป็นการรับรู้ค่าตัดจำหน่ายของรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่ในไตรมาสถัดไปจะทยอยรับรู้เป็นรายไตรมาสหรือ 25% ของที่รับรู้ไปในก้อนแรก ต่อเนื่องจนครบเวลา 5–10 ปีในแต่ละบริษัทร่วม           ใน 3Q67 มีบริษัทที่ซื้อกิจการมาครบ 1 ปี ได้แก่ Rattinan, Kin Corporation, Dr. Chen, และ WIND มูลค่าตัดจำหน่ายรวม 7.2 ล้าน บาท ส่วน 4Q67 ทั้ง 4 บริษัทจะยังคงมีค่าตัดจำหน่ายส่วนนี้อยู่ต่อเนื่อง แต่มูลค่าจะลดลงเพราะมูลค่าจะเป็นรายไตรมาส หรือราว 1.8 ล้าน บาท (เกิดจาก 7.2 ล้านต่อปีหาร 4 ไตรมาส)           ปี 2568 จะมีบริษัทร่วมที่ซื้อกิจการครบ 1 ปี ได้แก่ TYP และ Twinkle Star ในเดือนกุมภาพันธ์, Korawin และ V Square ในเดือนพฤษภาคม เป็นต้น สำหรับมูลค่าจะถูกตัดจำหน่ายเมื่อครบ 1 ปี ไม่สามารถระบุได้ว่าเท่าใด แต่สามารถทราบตัวเลขเบื้องต้นได้จากการจ้างที่ปรึกษาอิสระที่มีความเชี่ยวชาญ มาประเมินมูลค่าที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้น ซึ่งหากมีข้อมูลเพิ่มเติมบริษัทจะแจ้งให้ทราบต่อไป           อย่างไรก็ตามบริษัทตั้งเป้าส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมในปี 67–68 ที่รวมผลกระทบจาก PPA แล้วที่ 40–50 ล้าน บาท และ 80–100 ล้าน บาท ตามลำดับ เทียบกับประมาณการของเราที่ 40 ล้าน บาท ในปี 2567 และ 80 ล้าน บาท ในปี 2568 รายการตัดจำหน่ายมูลค่า PPA ที่เกิดขึ้นจึงไม่มีผลต่อประมาณการของเรา และยังคงประมาณการกำไรและราคาเป้าหมายสิ้นปี 2568 ที่ 68.50 บาท ปัจจุบันซื้อขายที่ PER68 ต่ำเพียง 22.7 เท่า คงคำแนะนำ "ซื้อ"           บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) ระบุถึง KLINIQ ว่า ฝ่ายวิเคราะห์ลดเป้ารายได้ปี 24F เหลือ 2.94 พันลบ. +29% YoY (เดิม 3.0 พันลบ.) และอัตรากำไรเหลือ 11% (เดิม 13.0%) และปี 25F รายได้ 3.5 พันลบ. +19% และอัตรากำไร 12% จากผลกระทบของสาขาใหม่ที่เปิดเร่งตัวในช่วง 1Q24 จำนวน 10 แห่ง (จากปกติเปิดไตรมาสละ 3-4 แห่ง) ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายและ Breakeven นานกว่าปกติที่เฉลี่ย 3-6 เดือน โดยเฉพาะแบรนด์ L.A.B.X (18% ของรายได้) รายได้ 3Q24 ยังต่ำกว่าเป้าราว 30 ลบ. (LABX มี 21 สาขาหรือต่ำกว่าเป้าเฉลี่ยสาขาละ 4.7 แสนบาท/เดือน จากปกติรายได้ราว 3 ลบ./สาขา/เดือน) ซึ่งบริษัทอยู่ระหว่างปรับกลยุทธ์ทั้ง การเปลี่ยน Presenter, การลดค่าใช้จ่าย รวมถึงการเพิ่มฐานลูกค้าประจำ           มองผ่านจุดต่ำสุดโดยมอง 4Q24F ทิศทางจะดีขึ้น มอง Margin เริ่มฟื้นตัว ทั้งจากสาขาใหม่ที่เริ่มดีขึ้นและศูนย์ศัลยกรรม (15% ของรายได้) ยังเป็นโมเมนตัมเด่น, การคุมค่าใช้จ่ายจะเริ่มเห็นผลมากขึ้น           9M24 เปิดสาขาใหม่ไปแล้ว 15 สาขา แบ่งเป็น THE KLINIQUE 7 สาขา, L.A.B.X 7, L'Ckinic 1 สาขา โดยคาดว่าจะเปิดอีก 6 สาขาใน 4Q24F แบ่งเป็น THE KLINIQUE 2 สาขา, L.A.B.X 3 สาขา และสปา 1 สาขา และแผนปี 25F จะกลับมาเปิดตามปกติ 10 แห่ง (มีทำเลแล้ว 6 แห่ง)           ศูนย์ศัลยกรรมเติบโตสูงต่อเนื่องหลังเริ่ม Breakeven ใน 4Q23 โดย 3Q24 U-rate เฉลี่ยอยู่ราว 43-45% และเกือบ 50% ณ สิ้นไตรมาส เพิ่มจาก 37-39% ใน 2Q24 สามารถทำกำไรสุทธิได้ราว 10 ลบ./ไตรมาส ขณะที่ศูนย์ศัลยกรรมใหม่คาดใกล้ประกาศเร็วๆ นี้ และบริษัทยังวางแผนเปิดทัน 4Q25F (เรายังไม่รวมในประมาณการ)           ฝ่ายวิเคราะห์มีมุมมอง "Slightly negative" ต่อข้อมูลที่ได้รับและเราปรับลดกำไรปี 2024-26F ลงเฉลี่ย 8% จากการปรับรายได้ลดลง โดยกำไรใหม่ปี 2024-25F คาด 305 ลบ. (+6%) และ 360 ลบ. (+18%) ตามลำดับ กำไรปี 25F กลับมาเติบโตดีจากสาขาใหม่ปี 24F เต็มปี ขณะที่สาขาใหม่ปี 25F กลับสู่ระดับปกติ           ระยะสั้น 4Q24F คาดกำไรเบื้องต้น 81 ลบ. (+4% YoY, +4% QoQ) ฟื้นตัวอ่อนๆ ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น           มองหุ้นปรับลงมาสะท้อน Earnings cut จากตลาดจากแนวโน้มสาขาใหม่ 1Q24 ยังฟื้นช้ากว่าคาด โดยอยู่ในโซน Valuation น่าสนใจ มี PER 24F ที่ 21 เท่า (ค่าเฉลี่ย -1SD) แนะนำ "Buy" จาก TP 25F ใหม่ 36.0 บาท อิง PER 22 เท่า (ค่าเฉลี่ย -1SD)           นอกจากนี้ KSS ระบุถึง TRP ว่า กำไรสุทธิ 3Q24 อยู่ที่ 38 ลบ. -10% YoY, +49% QoQ รายได้ทยอยฟื้นจากจุดต่ำสุด โดยมีกำไรพิเศษราว 5 ลบ. จากการลดอัตราภาษีเหลือ 8% จากปกติ 20% เนื่องจากการปรับปรุงรายได้ภาษีจ่าย ขณะที่การดำเนินงานหลัก รายได้ยังลดลง -24% YoY และ -9% QoQ คล้ายกับ 1H24 จากการแข่งขันที่สูงและเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยธุรกิจหลักคือ ดึงหน้า (60% ของรายได้) ยังเป็นธุรกิจหลักที่ลดลง แต่รายได้เพิ่มจากการปรับตัว ทั้งเพิ่มธุรกิจใหม่ๆ เช่น ศัลยกรรม (จมูก, กระพุงแก้ม) และความงามอื่นๆ (ผม, ผิวหนัง) ขณะที่ Gross margin อยู่ที่ 53.2% เทียบกับ 3Q23/2Q24 ที่ 54.3%/51.4% และ SG&A/Sales ที่ 25.0% เทียบกับ 3Q23/2Q24 ที่ 22.2%/29.2% ลดลง YoY ทั้งคู่ จากฐานรายได้และการแข่งขัน แต่เป็นภาพฟื้นตัว QoQ           แนวโน้ม 4Q24 ยังฟื้นตัว ส่วนปี 25F คาดฟื้นตัวแต่มี Downside จากการเปิดโรงพยาบาลใหม่ใน 1Q25F กำไร 9M24 คิดเป็น 73% ของทั้งปี 24F ที่ 146 ลบ. (-24%) ยังคงไว้ มองกำไร 4Q24F ยังลด YoY, +QoQ ตามฤดูกาล ขณะที่กำไรปี 25F คาดอยู่ที่ 198 ลบ. +36% แต่มี Downside 10% จากแนวโน้มรายได้ที่ยังเติบโตช้าและแผนเปิดโรงพยาบาลใหม่ใน 1Q25F (ห้องผ่าตัดเพิ่มจากปัจจุบัน 6 ห้อง เป็น 12 ห้อง) คาดจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นราว 10-20 ลบ./ปี ซึ่งแผนปรับปรุงทั้งเพิ่มศัลยกรรมใหม่ ขยายไปกลุ่ม Skin รวมถึงการปรับการตลาดและการขาย มองว่ายังต้องใช้เวลาในการรับรู้จากกลุ่มลูกค้าทั้งกลุ่มเดิม (อายุ 40+)(80% ของรายได้) และกลุ่มวัยรุ่น & คนทำงานช่วงเริ่มต้น (20% ของรายได้)           แนะนำ "Buy" เชิงตั้งรับจาก TP 25F ที่ 11.40 บาท อิง PER 20x หุ้นปรับลง YTD -48% และซื้อขายที่ PER 25F ที่ 16x ซึ่งเป็น Valuation โซนลงทุน แต่ยังมี Downside กำไร 25F จึงแนะนำ "Buy" เชิงตั้งรับจาก TP 25F ที่ 11.4 บาท อิง PER 20 เท่า           ขณะที่ธุรกิจที่มีความเสี่ยงในปี 2568 ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับสินค้ากึ่งคงทนและคงทนที่ถูกกดันจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ อีกทั้งยังต้องแข่งขันรุนแรงต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้านำเข้าราคาถูกจากจีน รวมถึงธุรกิจที่ปล่อยคาร์บอนสูงก็มีความเสี่ยงที่ยอดขายลดลงจากเทรนด์ความยั่งยืนที่เติบโต ได้แก่           ธุรกิจผลิตสินค้าแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์ ผู้บริโภคยังระวังการใช้จ่าย อีกทั้งยังต้องแข่งกับสินค้านำเข้าทั้งจีน ญี่ปุ่นและเหาหลีทำให้ธุรกิจที่ปรับตัวไม่ทัน เสี่ยงยอดขายหดตัว           ดีลเลอร์รถยนต์สันดาป (ICE) การเปลี่ยนผ่านสู่ EV มากขึ้น กดดันยอดขายรถยนต์สันดาป (ICE) ให้มีแนวโน้มหดตัวลง นอกเหนือไปจากผลกระทบด้านกำลังซื้อ           อสังหาริมทรัพย์ มีแนวโน้มหดตัวจากความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคที่ยังไม่กลับมา ขณะที่จำนวนยูนิตสะสมที่รอการขายยังสูง           ซื้อมาขายไป หรือ Trader ผู้ผลิตหันมาใช้ช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลาย  (Omni-channel) ในการเข้าถึงลูกค้าโดยตรง           ธุรกิจปล่อยคาร์บอนสูง โดนกดดันจากมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้นของประเทศคู่ค้า นอกเหนือจากการแข่งกับสินค้านำเข้า เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม ทำให้ธุรกิจมิต้นทุนในการปรับตัวเพิ่มขึ้น

MASTER ติดอันดับ FTSE SET Shariah Index

MASTER ติดอันดับ FTSE SET Shariah Index

          หุ้นวิชั่น - ตลาดหลักทรัพย์ฯ และ ฟุตซี่ รัสเซล (FTSE Russell) ประกาศรายชื่อหลักทรัพย์ FTSE SET Index Series มีผล 23 ธ.ค. 2567 นี้ โดย บมจ. มาสเตอร์ สไตล์  หรือ MASTER ติดอันดับ FTSE SET Shariah Index ครองใจด้านความงามด้วยนิยาม Be a Better You ในฐานะผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช ผู้นำอันดับต้นของอุตสาหกรรมด้านความงามในไทยและเอเชีย พร้อมก้าวเป็น Regional Company ด้าน CEO "ลภัสรดา เลิศภานุโรจ" เผยหุ้น MASTER เข้าคำนวณดัชนีครั้งนี้ สะท้อนถึงมาตรฐาน-ความน่าเชื่อถือของบริษัท เข้าตานักลงทุน ที่สนใจธุรกิจศัลยกรรมความงาม  นางสาวลภัสรดา เลิศภานุโรจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และ ฟุตซี่ รัสเซล (FTSE Russell) ประกาศรายชื่อหลักทรัพย์ชุดใหม่ที่ใช้ในการคำนวณ FTSE SET Index Series โดย MASTER เป็นหนึ่งในหลักทรัพย์ที่เข้าใหม่ในการเข้าคำนวณ FTSE SET Shariah Index (FSTSH) ตอกย้ำผลการดำเนินงานที่เติบโตและความน่าเชื่อถือของบริษัทในสายตาของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยดัชนีนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป หุ้น MASTER ได้เข้ารับคัดเลือกเข้าสู่ดัชนี FTSE SET Shariah Index ในครั้งนี้ สะท้อนถึงมาตรฐานและความน่าเชื่อถือของบริษัท ส่งผลให้ได้รับความสนใจจากนักลงทุน ด้านธุรกิจความงามในภูมิภาค ด้วยกลยุทธ์ที่ชัดเจนและความเป็นผู้นำในด้านนี้ MASTER ที่พร้อมเดินหน้าขึ้นเป็น Regional Company อย่างมั่นคง ตอกย้ำความเป็นศูนย์กลางด้านศัลยกรรมความงามในเอเชีย “MASTER ในฐานะผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าคำนวณในดัชนี FTSE SET Shariah Index (FSTSH) ซึ่งการได้รับเลือกในครั้งนี้เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความโปร่งใสและมาตรฐานของ MASTER ว่ามีความน่าเชื่อถือและมีคุณภาพ ในฐานะองค์กรที่ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม และการเป็นส่วนหนึ่งของดัชนีนี้ช่วยให้ MASTER เป็นที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนในตลาดโลก ตอกย้ำความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมศัลยกรรมความงาม ด้วยมาตรฐานการบริหารจัดการที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล” นางสาวลภัสรดา กล่าว สำหรับดัชนี FTSE SET Shariah Index เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการลงทุนตามหลักศาสนาอิสลาม ใช้อ้างอิงในการออกผลิตภัณฑ์การเงิน เช่น ETF และกองทุนอิสลาม พร้อมช่วยเพิ่มโอกาสในการพัฒนาสินค้าการเงินใหม่ๆ  ให้ตลาดทุนไทยน่าสนใจในระดับภูมิภาคและสากล ดัชนีนี้คัดเลือกหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง (Liquidity screening) กระจายหุ้นดี (Free float adjusted) และมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) เหมาะสำหรับการลงทุนแบบยั่งยืน (Sustainability Investment) นางสาวลภัสรดา กล่าวเสริมว่า MASTER กำลังก้าวขึ้นเป็นผู้นำในระดับภูมิภาค (Regional Company) ในธุรกิจศัลยกรรมความงาม ด้วยจุดโดดเด่น ด้านทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมความงามที่มีประสบการณ์ พร้อมให้บริการลูกค้า ตั้งแต่หัตถการศัลยกรรมเสริมจมูก ศัลยกรรมยกคิ้ว ศัลยกรรมปรับโครงหน้า ดูดไขมัน  การดูแลสุขภาพชาย การดูแลผิวพรรณ และการปลูกผม ทั้งนี้โรงพยาบาลมาสเตอร์พีชได้รับการรับรองภายใต้มาตรฐานโรงพยาบาล ทำให้เป็นที่ไว้วางใจสำหรับลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ สอดคล้องกับความนิยมด้านศัลยกรรมความงามในกลุ่มลูกค้าต่างชาติที่เพิ่มสูงขึ้น เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น และสร้างการเติบโตอย่างมั่นคงในภูมิภาค ตอกย้ำด้วยผลการดำเนินงานเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยผลดำเนินงาน 9 เดือน มีรายได้จากการประกอบกิจการโรงพยาบาลอยู่ที่ 1,500 ล้านบาท เติบโต 8.9% จากปี 2566  และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 303 ล้านบาท เติบโต 20% จากปี 2566 และมีอัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้น เป็น 20.21% เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่ทำได้ 18.40% นอกจากนี้ บริษัทฯ คาดผลดำเนินงานไตรมาส 4/2567 เป็นช่วงสำคัญที่ผลักดันทั้งรายได้และกำไร โดยคาดเห็นการเติบโตที่โดดเด่นจากลูกค้าต่างชาติ ด้วยแรงหนุนจากลูกค้าต่างประเทศเทศ นำโดย  อินโดนีเซีย เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว เข้ามาสนับสนุนการเติบโตของบริษัท โดย MASTER มุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน [PR News]

[ภาพข่าว] MASTER โชว์ศักยภาพธุรกิจศัลยกรรมความงาม ต้อนรับสมาคมนักลงทุน Thai Vi

[ภาพข่าว] MASTER โชว์ศักยภาพธุรกิจศัลยกรรมความงาม ต้อนรับสมาคมนักลงทุน Thai Vi

          นางสาวลภัสรดา เลิศภานุโรจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER ผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช ผู้นำอันดับต้นของอุตสาหกรรมด้านความงามในไทยและเอเชีย พร้อมจะก้าวเป็น Regional Company นำทีมคณะทำงาน ร่วมให้การต้อนรับคณะนักลงทุน จากสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) หรือ Thai VI  เนื่องในโอกาสเข้ารับฟังข้อมูลทิศทางแผนการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ  และทิศทางการเติบโตตามยุทธศาสตร์ของกลุ่มบริษัท และเปิดโอกาสให้นักลงทุนได้ซักถามอย่างเป็นกันเองต่อทิศทางการเติบโตของ MASTER ซึ่งงานจัดขึ้น ณ ห้องประชุมสเตเดียม บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) เลขที่ 99/19 ถนนสุโขทัย แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เมื่อวันอังคารที่ 10 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา

abs

ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร

MASTER เป้า56บ. คาดโค้งทำทุบสถิติ บุ๊กส่วนแบ่งกำไรเข้าพอร์ต

MASTER เป้า56บ. คาดโค้งทำทุบสถิติ บุ๊กส่วนแบ่งกำไรเข้าพอร์ต

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) หุ้นเด่นวันนี้ : MASTER แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 56 บาท คาดกำไร 4Q24 ที่ 190 ลบ. +74% q-q, +17% y-y ทำจุดสูงสุดของปี นำโดย Performance ของรพ. Masterpiece ที่แข็งแกร่งทั้งรายได้และ Margin นอกจากนี้ ยังมีแรงหนุนจากส่วนแบ่ง กำไรจากดีลการลงทุน ในช่วงที่ผ่านมาที่คาดว่าจะทยอย เพิ่มขึ้น คาดกำไรสุทธิปี 2024 ที่ 493 ลบ. +18% y-y ส่วนปี 2025 คาดโตต่อเนื่องเป็น 622 ลบ. +26% y-y หนุนจากการเติบโตของลูกค้าคนไทยและขยายฐานลูกค้า ต่างชาติในแถบอาเซียนร่วมกับ Partner แนวรับ 44//42 บาท แนวต้าน 46-46.50//49 บาท

MASTER ปูพรมความสวย ข้ามแดนบุกอินโดฯต่อยอด

MASTER ปูพรมความสวย ข้ามแดนบุกอินโดฯต่อยอด

          หุ้นวิชั่น - MASTER ปักธงรายได้ปี 68 โต 20% ตลาดความสวยความงามโตต่อเนื่อง เร่งขยายฐานลูกค้าต่างชาติ ลุยอินโดฯ ปูพรม Specialty Hospital Hub ครบวงจร รับดีมานด์พุ่งในไทย-ต่างประเทศ           นางสาวลภัสรดา เลิศภานุโรจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER ผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช Specialty Hospital ผู้นำอุตสาหกรรมด้านความงามของประเทศไทยและเอเชีย เปิดเผยกับว่า โรงพยาบาลศัลยกรรมเสริมความงามภายใต้ชื่อ“โรงพยาบาลมาสเตอร์พีช” มีบริการในการเสริมความงามครบวงจร อาทิเช่น ศัลยกรรมเสริมจมูก ศัลยกรรมยกคิ้วและกรอบหน้า ศัลยกรรมหน้าอก ศัลยกรรมดูดไขมันปรับรูปร่าง ศัลยกรรมตา ศัลยกรรมปรับโครงสร้างรูปหน้า เป็นต้น ปัจจุบัน โครงสร้างรายได้ของบริษัทมาจากธุรกิจศัลยกรรมความงามเป็นหลัก คิดเป็นสัดส่วนกว่า 80% ขณะที่รายได้ส่วนที่เหลือมาจากบริการปลูกผม ธุรกิจสกินแคร์ และบริการดูแลหลังการใช้บริการ           สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมความงาม ทั่วโลก 6-7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนตลาดไทย อยู่ที่ราว 6 หมื่นล้านบาท โดยครอบคลุมทั้งการศัลยกรรม Wellness รวมไปถึงเรื่องสกินแคร์ รวมความงามทั้งหมด โดยในไทยมีอัตราการเติบโตปีละกว่า 9.7% แสดงให้เห็นถึงตลาดที่ยังมีการเติบโต มีโอกาสทางธุรกิจในการขยายกิจการ อย่างในส่วนของบริษัทมีจุดแข็งมีแพทย์ที่ทำงานประจำที่โรงพยาบาล และมีราคาที่เป็นมาตรฐาน           ส่วนประเด็นที่มี "แพทย์ต่างชาติและแพทย์เกาหลี" เข้ามาให้คำปรึกษาด้านความงามในประเทศไทย โดยไม่มีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมในไทย ถือเป็นการกระทำผิดกฎหมาย พร้อมขอความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับกิจกรรมส่งเสริมการตลาด เช่น การจัดอีเวนต์เพื่อชักชวนคนไทยไปทำศัลยกรรมในเกาหลี ซึ่งเท่ากับเป็นการ นำรายได้ออกนอกประเทศ ขณะที่หลายคนที่เดินทางไปทำศัลยกรรมในต่างประเทศ มักพบปัญหาเรื่องการดูแลหลังการทำศัลยกรรม ซึ่งไม่สามารถติดตามการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีตัวอย่างจาก โรงพยาบาลมาสเตอร์พีซ ที่ระบุว่า กว่า 30% ของเคสแก้ไขศัลยกรรม มาจากผู้ที่ไปทำศัลยกรรมในเกาหลี และกลับมาขอรับการแก้ไขในประเทศไทย           ทั้งนี้ มีการแนะนำให้ผู้ที่ต้องการทำศัลยกรรมควรเลือกใช้บริการ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในประเทศ ที่มีใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีแพทย์เฉพาะทางที่มีความรู้และประสบการณ์สูงจำนวนมาก โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลแพทย์ได้ล่วงหน้า อีกทั้งบริการหลังการศัลยกรรมยังสะดวกและเข้าถึงง่ายกว่า ซึ่งถือเป็นจุดแข็งที่ช่วยให้ธุรกิจศัลยกรรมในไทยสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีพันธมิตรที่มาร่วมมือกับ โรงพยาบาลมาสเตอร์พีช มีพันธมิตรกว่า 13 แห่ง แบ่งเป็นตามจุดต่างๆ ในต่างจังหวัด รวมไปถึงบางแห่งที่จะเป็น Specialty ในแต่ละด้าน เป็นต้น ซึ่งการขยายอย่างคลอบคลุม และทุกโซเชียลมีเดีย ทำให้ บริษัทเป็น Specialty Hospital Hub ที่มีตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ และยังมองโอกาสที่จะมีพันธมิตรเข้ามาเสริมปีหน้า           นอกจากนี้บริษัทยังเดินหน้าไปตลาดต่างประเทศ ทั้ง ลาว ปีหน้าต้นปีจะมีที่อินโดนีเซีย และกัมพูชา ซึ่งมีการลงนามความร่วมมือต่อกัน ตลาดต่างประเทศมีโอกาสเติบโตมาก อย่างในตลาดอินโดนีเซีย มีโอกาสเติบโตได้อีกมาก           ด้วยกลยุทธ์การขยายตลาดในประเทศและต่างประเทศ บริษัทจึงตั้งเป้าหมายให้รายได้ในปี 2568 เติบโตไม่ต่ำกว่า 20% พร้อมผลักดันให้สัดส่วนลูกค้าต่างชาติเพิ่มขึ้นเป็น 25.85% ภายในปี 2567 และคาดว่าจะปรับเพิ่มเป็น 40% ในปี 2568           กลยุทธ์ดังกล่าวสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการขยายฐานลูกค้าต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และยกระดับภาพลักษณ์โรงพยาบาลไทยในเวทีสากล https://www.youtube.com/watch?v=_0IzSS-Th_s

ความท้าทาย อุตสาหกรรมศัลยกรรมความงามไทย | จัดเต็มการลงทุน

ความท้าทาย อุตสาหกรรมศัลยกรรมความงามไทย | จัดเต็มการลงทุน

https://www.youtube.com/watch?v=_0IzSS-Th_s ความท้าทาย อุตสาหกรรมศัลยกรรมความงามไทย | จัดเต็มการลงทุน ติดตามรายการ #จัดเต็มการลงทุน ทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 9.00-9.30 น. ทาง ททบ.5

abs

Hoonvision

[Vision Exclusive] ล็อกมง MASTER ดึงยอด ศึกเกาหลีสะเทือนความงาม

[Vision Exclusive] ล็อกมง MASTER ดึงยอด ศึกเกาหลีสะเทือนความงาม

           หุ้นวิชั่น – เกาหลีใต้ประกาศกฎอัยการศึก! MASTER - KLINIQ คาดรับอานิสงส์ ลุ้นลูกค้าแห่ใช้บริการความงามในไทยพุ่ง ฟากแม่ทัพหญิง 'ลภัสรดา เลิศภานุโรจ' ลั่นเจาะ Gen ใหม่ ต่างชาติดันยอดแตะ 40% จัดทัพรุกอินโดเต็มสูบ            ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) นายยุน ซอกยอล ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ประกาศกฎอัยการศึก โดยกล่าวหาว่าพรรคฝ่ายค้านเข้าครอบงำรัฐสภา เป็นอุปสรรคขัดขวางการบริหารประเทศของรัฐบาลการประกาศกฏอัยการศึกส่งผลลบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของประชาชนและนักลงทุน โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนจากต่างประเทศ แต่ล่าสุดประธานาธิบดีประกาศยกเลิกกฎอัยการศึก หลังรัฐสภามีมติให้ยกเลิกด้วยคะแนน 190 เสียง            เหตุการณ์นี้คาดว่าจะกดดันให้ค่าเงินวอนของเกาหลีใต้อ่อนค่าลงรวมไปถึงการลงทุนในตลาดหุ้นน่าจะเห็นแรงขายแบบ panic และอาจจะส่งผลต่อภาคการค้าโลกโดยเฉพาะ supply chain ในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยี โดยเกาหลีใต้มีขนาด GDP ราว 1.7 ล้านล้าน ดอลลาร์ (1.8% ของทั้งโลก หรือมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 13 ของโลก ส่วนไทยมีมูลค่า การค้ากับเกาหลีใต้(2023) 1.5 หมื่นล้านล้านดอลลาร์ (ส่งออก 5.2 พันล้านดอลลาร์ 2% ของการส่งออกรวม, นำเข้า 9.8 พันล้านล้านดอลลาร์) เป็นจิตวิทยาลบต่อหุ้นที่มีรายได้ส่งออกไปเกาหลีใต้โดยเฉพาะกลุ่ม อิเล็กฯ (KCE, HANA, DELTA), กลุ่มท่องเที่ยวจะได้ประโยชน์ทางอ้อมจากการเปลี่ยนเส้นทางท่องเที่ยวของต่างชาติ และจิตวิทยาบวกกลุ่มเสริมความงามที่ลูกค้าอาจเปลี่ยนใช้ บริการจากเกาหลีใต้ อาทิ MASTER , KLINIQ            นางสาวลภัสรดา เลิศภานุโรจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER ผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช Specialty Hospital ผู้นำอุตสาหกรรมด้านความงามของประเทศไทยและเอเชีย เปิดเผยกับ ทีมข่าวหุ้นวิชั่น ว่า จากเหตุการณ์ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ประกาศกฎอัยการศึก และยกเลิกช่วงกลางคืนวันที่ 3 ธันวาคม ที่ผ่านมา ณ ปัจจุบันสถานการณ์เกาหลีเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว การเดินทางท่องเที่ยวคาดว่าจะกลับมาเป็นปกติ อย่างไรก็ตามลูกค้า หรือกลุ่มผู้ใช้บริการเสริมความงามบางกลุ่มอาจจะยังไม่มั่นใจต่อสถานการณ์ทางการเมืองในเกาหลี เป็นไปได้ที่อาจจะพิจารณาต่อการเข้าใช้บริการศัลยกรรมในประเทศไทยมากขึ้น            บริษัทยังให้ความสำคัญและโฟกัสการเข้ามาใช้บริการของลูกค้าในประเทศ ปัจจุบันเทรนด์การทำศัลยกรรมในกลุ่ม Gen ใหม่มีอายุลดลง จากเดิมที่ 19 ปี ลดลงมาอยู่ที่ 17 ปี บริษัทจะขยายการให้บริการให้ครอบคลุมถึงทุกกลุ่มบริการ เพื่อกระจายการใช้บริการให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย            MASTER วางกลยุทธ์ในการขยายตลาดศัลยกรรมความงามสำหรับลูกค้าต่างชาติ โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าจากอินโดนีเซีย ซึ่งในปัจจุบันมีแนวโน้มการใช้บริการจากต่างชาติที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาส 3/2567 สัดส่วนลูกค้าต่างชาติอยู่ที่ 25.85% และคาดว่าในปี 2568 จะขยับขึ้นแตะระดับ 40%            บริษัทได้ตั้งทีมเพื่อเน้นการเจาะตลาดต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นไปที่ประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากอินโดนีเซียให้ความเชื่อมั่นในการแพทย์ไทยที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และจากระยะทางที่สั้นกว่าการเดินทางจากอินโดนีเซียไปเกาหลี (ที่ใช้เวลาประมาณ 7-8 ชั่วโมง) การเดินทางมาประเทศไทยใช้เวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง จึงเชื่อว่าอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าจากอินโดนีเซียเลือกมาทำศัลยกรรมในไทยมากขึ้น            นอกจากนี้ บริษัทมีเครือข่ายคลินิกพาร์ทเนอร์ในอินโดนีเซียกว่า 300 แห่ง และมีแผนที่จะขยายตลาดในภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะเห็นความชัดเจนของแผนการเจาะตลาดอินโดนีเซียในช่วงกลางเดือนมกราคม 2568 เป็นต้นไป รายงาน : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

MASTER เป้าความงาม 68.50 บาท บุ๊กส่วนแบ่งกำไรเข้าพอร์ต

MASTER เป้าความงาม 68.50 บาท บุ๊กส่วนแบ่งกำไรเข้าพอร์ต

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด MASTER PPA ไม่มีผลในระดับที่มีนัยสำคัญต่อประมาณการ Event ► ประชุมนักวิเคราะห์เพื่อให้ข้อมูลรายการปันส่วนราคาซื้อ (PPA: Purchase Price Allocation) Our Takes ข้อมูลทั่วไป ► เพื่อประกอบมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 (ปรับปรุง 2558) เมื่อกิจการมีโอกาสเข้าซื้อหรือมีการควบรวมกิจการ ต้องมีการบันทึกบัญชีโดยการปันส่วนราคาซื้อ (Purchase Price Allocation, PPA) จึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายบัญชีที่ต้องหาวิธีการเพื่อหาสินทรัพย์ไม่มีตัวตนต่างๆ เพื่อนำไปบันทึกบัญชีให้ลงตัวใกล้เคียงกับราคาซื้อมากที่สุด ซึ่งหากยังคงเหลือส่วนต่างอยู่อีกโดยที่หาสินทรัพย์ที่จะปันส่วนเข้าไปไม่ได้จึงจะบันทึกเป็นค่าความนิยม หรือ Goodwill นั่นเอง โดยระยะเวลาในการวัดมูลค่าไม่เกินกว่า 1 ปี นับจากวันที่ซื้อ ซึ่งได้กำหนดหลักการและข้อกำหนดทางการเงินสำหรับผู้ซื้อกิจการหรือซื้อเงินลงทุน ดังต่อไปนี้ รับรู้และวัดมูลค่าสินทรัพย์ที่ได้มา หนี้สินที่รับมา และส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมในผู้ถูกซื้อ รับรู้และวัดมูลค่าค่าความนิยม (Goodwill) ที่เกิดขึ้นจากการรวมธุรกิจหรือกำไรจากการ ต่อรองราคาซื้อ และกำหนดข้อมูลที่ต้องเปิดเผยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินลักษณะและผลกระทบทางการเงินจากการรวมธุรกิจ ประเด็นของ MASTER ► บริษัทร่วมที่ซื้อกิจการมาและไม่อยู่ในระดับที่มีอำนาจควบคุมหรือรวมงบการเงินจะต้องมีการวัดมูลค่าสินทรัพย์ทั้งที่มีตัวตนและไม่มีตัวตนให้ใกล้เคียงกับมูลค่าที่ซื้อมา ซึ่งซื้อในราคาต่ำกว่ ามูลค่ายุติธรรม ทำให้เมื่อมีการวัดมูลค่าต้องมีการปรับเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ดังกล่าวก่อนนำส่วนแบ่งกำไรไปรวมในงบการเงินของผู้ซื้อ เมื่อสินทรัพย์เพิ่มขึ้นจึงต้องมีการทยอยตัดจำหน่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นส่วนที่ไปหักออกจากส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมสินทรัพย์หลักที่มีการวัดมูลค่าเพิ่มขึ้นในบริษัทร่วมของ MASTER ใน 3Q67 ได้แก่ อาคารและอุปกรณ์, ความสัมพันธ์กับลูกค้า (เฉพาะบริษัทที่มีลูกค้าประจำเป็นระยะเวลานาน) และ Trademark ► ระยะเวลาในการตัดจำหน่ายอยู่ที่ 5 ปีสำหรับ WIND และ 10 ปีสำหรับบริษัทอื่นๆ และจะเริ่มรับรู้การตัดจำหน่ายก้อนแรกเมื่อซื้อครบ 1 ปี ซึ่งจะสูงกว่าปกติ เพราะเป็นการรับรู้ค่าตัดจำหน่ายของรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่ในไตรมาสถัดไปจะทยอยรับรู้เป็นรายไตรมาสหรือ 25% ของที่รับรู้ไปในก้อนแรก ต่อเนื่องจนครบเวลา 5–10 ปีในแต่ละบริษัทร่วม ► ใน 3Q67 มีบริษัทที่ซื้อกิจการมาครบ 1 ปี ได้แก่ Rattinan, Kin Corporation, Dr. Chen, และ WIND มูลค่าตัดจำหน่ายรวม 7.2 ล้าน บาท ส่วน 4Q67 ทั้ง 4 บริษัทจะยังคงมีค่าตัดจำหน่ายส่วนนี้อยู่ต่อเนื่อง แต่มูลค่าจะลดลงเพราะมูลค่าจะเป็นรายไตรมาส หรือราว 1.8 ล้าน บาท (เกิดจาก 7.2 ล้านต่อปีหาร 4 ไตรมาส) ► ปี 2568 จะมีบริษัทร่วมที่ซื้อกิจการครบ 1 ปี ได้แก่ TYP และ Twinkle Star ในเดือนกุมภาพันธ์, Korawin และ V Square ในเดือนพฤษภาคม เป็นต้น สำหรับมูลค่าจะถูกตัดจำหน่ายเมื่อครบ 1 ปี ไม่สามารถระบุได้ว่าเท่าใด แต่สามารถทราบตัวเลขเบื้องต้นได้จากการจ้างที่ปรึกษาอิสระที่มีความเชี่ยวชาญ มาประเมินมูลค่าที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้น ซึ่งหากมีข้อมูลเพิ่มเติมบริษัทจะแจ้งให้ทราบต่อไป ► อย่างไรก็ตามบริษัทตั้งเป้าส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมในปี 67–68 ที่รวมผลกระทบจาก PPA แล้วที่ 40–50 ล้าน บาท และ 80–100 ล้าน บาท ตามลำดับ เทียบกับประมาณการของเราที่ 40 ล้าน บาท ในปี 2567 และ 80 ล้าน บาท ในปี 2568 รายการตัดจำหน่ายมูลค่า PPA ที่เกิดขึ้นจึงไม่มีผลต่อประมาณการของเรา และยังคงประมาณการกำไรและราคาเป้าหมายสิ้นปี 2568 ที่ 68.50 บาท ปัจจุบันซื้อขายที่ PER68 ต่ำเพียง 22.7 เท่า คงคำแนะนำ ซื้อ

หุ้นความงาม MASTER โค้งท้ายเด่น-เป้า 64 บ.

หุ้นความงาม MASTER โค้งท้ายเด่น-เป้า 64 บ.

หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) แนะ MASTER (ซื้อ/เป้า 64.00 บาท) PPA กระทบจำกัด, รายได้พันธมิตร YTD +18% คุณลภัสรดา เลิศภานุโรจ CEO ของ MASTER เผยสำหรับ 4Q24E รายได้ของ MASTER ยังคงเติบโตดีต่อเนื่อง โดยรายได้เดือนตุลาคมทำสถิติสูงสุดตลอดกาล และคาดว่าเดือนพฤศจิกายนจะทำสถิติใหม่ต่อเนื่อง สำหรับเดือนธันวาคมมียอดบุ๊คกิ้งเข้ามาแล้วถึง 90% ของเป้าหมายแล้ว ส่วนรายได้จากพันธมิตรเติบโตดีต่อเนื่อง YTD +18% โดยเติบโตในทุกพันธมิตร ด้านรายได้จากหุ้น (equity income) คาดว่าจะปิดปี 2024E ที่ 40-50 ล้านบาท และปี 2025E ที่ 80-100 ล้านบาท โดยรวมผลกระทบจาก PPA (Purchase Price Allocation – PPA) ตามมาตรฐาน TFRS 3 แล้ว ทั้งนี้ KIN, VSQ, KRW และ S45 มีสัดส่วน 50% ของส่วนแบ่งกำไร           ฝ่ายวิเคราะห์คงประมาณการกำไรสุทธิปี 2024E ที่ 532 ล้านบาท (+28% YoY) คาดว่ากำไรสุทธิใน 4Q24E จะเติบโตเด่นทั้ง YoY และ QoQ จากการเข้าสู่ฤดูกาลสูงสุด (high season) และลูกค้าที่เลื่อนการทำศัลยกรรมมาเป็น 4Q24E จากน้ำท่วม นอกจากนี้ลูกค้าต่างประเทศเติบโตต่อเนื่อง ด้าน GPM คาดว่าจะขยายตัวเด่นจากอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ดีขึ้น อีกทั้งยังรับรู้รายได้จาก equity income ที่เพิ่มขึ้น สำหรับปี 2025E ยังคงประมาณการกำไรสุทธิที่ 674 ล้านบาท (+27% YoY) คงราคาเป้าหมาย 64.00 บาท อิง 2024E PER ที่ 36.0x ราคาหุ้นปรับตัวลงมา -9% ใน 1 เดือนที่ผ่านมา ปัจจุบัน MASTER เทรดอยู่ที่ 2024E PER ที่ 24.5x มองว่าราคาปัจจุบันยังน่าสนใจ โดยยังไม่สะท้อนการเติบโตของ 2023-25E EPS CAGR ที่ +28% และมี short-term catalyst จากกำไร 4Q24E ที่จะฟื้นตัวเด่น

CEO MASTER คว้า 2 รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ

CEO MASTER คว้า 2 รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ

          หุ้นวิชั่น - นางสาวลภัสรดา เลิศภานุโรจ (คุณดาว-ลภัสรดา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER ผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช ผู้นำอันดับต้นของอุตสาหกรรมด้านความงามในไทยและเอเชีย พร้อมจะก้าวเป็น Regional Company เข้าร่วมพิธีอันทรงเกียรติ            รับ 2 รางวัลแห่งความความภาคภูมิใจ บุคคลต้นแบบที่ทรงคุณค่า นำโดย รางวัลเชิดชูเกียรติ        “นักวิชาชีพสตรีดีเด่น หอการค้าไทย ประจำปี 2567” โดย CEO MASTER ถือเป็น 1 ใน 17 คน ที่รับการคัดเลือกจากทั่วประเทศมากกว่า 50 คน ซึ่งรางวัลนี้ จัดขึ้นเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติสตรีนักธุรกิจ นักธุรกิจสตรีดีเด่น นักวิชาชีพสตรีดีเด่น และนักธุรกิจสตรีรุ่นใหม่ ที่ประสบความสำเร็จด้านธุรกิจ และการดำเนินชีวิต       เป็นแบบอย่างแก่สตรี พร้อมทั้งส่งเสริมบทบาทสตรี ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งถือว่า   เป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจอย่างยิ่งในฐานะผู้บริหารธุรกิจ สำหรับ โครงการนักธุรกิจสตรีดีเด่น นักธุรกิจสตรีรุ่นใหม่ และนักวิชาชีพสตรีดีเด่น หอการค้าไทย ประจำปี 2567 เป็นโครงการที่จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 12 ทั้งนี้ งานจัดขึ้นในวันที่  23 พฤศจิกายน 2567 นอกจากนี้ คุณดาว -ลภัสรดา ยังเข้ารับรางวัลทรงคุณค่า “รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น คณะบริหารธุรกิจ สาขาการบัญชี  ประจำปีการศึกษา 2566” จัดโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ร่วมกับ สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  ในฐานะที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและสร้างการเติบโตให้กับองค์กร โดยให้เห็นถึงศักยภาพ และความสามารถการเป็นผู้บริหารยุคใหม่แถวหน้าของประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง และมีผลงานให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 12 ปี MASTER ได้ยืนหยัดบนเส้นทางอุตสาหกรรมศัลยกรรมความงามและนำพาโรงพยาบาลมาสเตอร์พีชเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นรายแรก ซึ่งท่ามกลางความท้าทายและความผันผวน ทั้งนี้ งานจัดขึ้นในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

MASTER Signs MOU with “Lumeo Health” to Enhance Regional Presence

MASTER Signs MOU with “Lumeo Health” to Enhance Regional Presence

                  หุ้นวิชั่น - Dr. Raweewat Maschamadol, Executive Chairman, and Miss Lapasrada Lertpanurot, Chief Executive Officer of Master Style Public Company Limited (MASTER), along with Dr. Queencha Chaidy, Chief Executive Officer of Lumeo Health, participated in an MOU signing ceremony to establish business collaboration, enhance regional strength, and expand the Indonesian customer base. This collaboration supports MASTER’s plan to become a leading cosmetic surgery hospital in Southeast Asia as a Regional Company. The event took place on Monday, November 18, 2024, on the 2nd floor of Building 3 of Masterpiece Hospital, on Sukhothai Road.

[ภาพข่าว] MASTER ลงนาม MOU

[ภาพข่าว] MASTER ลงนาม MOU "Lumeo Health" เสริมความแข็งแกร่งระดับภูมิภาค

          นายแพทย์ระวีวัฒน์ มาศฉมาดล ประธานกรรมการบริหาร และนางสาวลภัสรดา เลิศภานุโรจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER ร่วมพิธีลงนาม ความร่วมมือ MOU กับ Dr. Queencha Chaidy, Chief Executive Officer Lumeo Health เพื่อสร้างร่วมมือทางธุรกิจและเสริมสร้างความแข็งแกร่งในระดับภูมิภาค และขยายฐานลูกค้าอินโดนีเซีย สอดคล้องกับแผนการดำเนินงานบริษัทฯ ที่วางเป้าก้าวขึ้นเป็นโรงพยาบาลศัลยกรรมความงามชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะ Regional Company ทั้งนี้ งานจัดขึ้น ณ ห้องประชุมสเตเดียมชั้น 2 อาคาร 3 โรงพยาบาลมาสเตอร์พีช ถนนสุโขทัย เมื่อวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2567

MASTER ปักธง “ผู้นำศัลยกรรมความงามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ประกาศร่วมมือ “Lumeo Health” พาร์ทเนอร์อินโดนีเซีย

MASTER ปักธง “ผู้นำศัลยกรรมความงามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ประกาศร่วมมือ “Lumeo Health” พาร์ทเนอร์อินโดนีเซีย

          บมจ. มาสเตอร์ สไตล์ หรือ “MASTER” ปักธงก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางศัลยกรรมความงามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศร่วมมือ “Lumeo Health” พาร์ทเนอร์อินโดนีเซีย ตอกย้ำการขยายตลาดภูมิภาค – เสริมศักยภาพการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง พร้อมมุ่งเน้นนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย - ขยายเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจต่อเนื่อง เพิ่มการแข่งขันในระดับภูมิภาค ผลักดันอุตสาหกรรมศัลยกรรมความงาม และการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์           นายแพทย์ระวีวัฒน์ มาศฉมาดล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER ผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช Specialty Hospital ผู้นำอุตสาหกรรมด้านความงามของประเทศไทยและเอเชีย กล่าวว่า MASTER GROUP มุ่งมั่นที่จะขยายการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดยเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงในด้านศัลยกรรมความงามและการแพทย์เฉพาะทาง รวมถึงมีการเพิ่มขึ้นของกำลังซื้อ และความนิยมในหัตถการความงามในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ส่งผลให้ความต้องการบริการขยายตัวอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ ยังมีการเข้าถึงตลาดใหม่ๆ เช่น อินโดนีเซีย ลาว และกัมพูชา ถือเป็นก้าวสำคัญในการเสริมสร้างความเป็นผู้นำระดับภูมิภาค ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการมอบบริการที่มีคุณภาพระดับสากล โดย MASTER ตั้งเป้าหมายเป็นศูนย์กลางศัลยกรรมความงามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้           "มองว่าตลาดภูมิภาคมีการเติบโตสูง และมีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของทั้งนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และคนในท้องถิ่นที่หันมาสนใจศัลยกรรมและความงามมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศอย่างอินโดนีเซีย ลาว กัมพูชา และไทย ซึ่งประชากรที่มีกำลังซื้อสูง มีความสนใจการทำศัลยกรรมความงามเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเราได้เห็นถึงความสำเร็จจากการขยายฐานลูกค้าและการเติบโตที่โดดเด่นของกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ ผ่านการทำงานร่วมกับเครือข่าย Influencer และช่องทางการตลาดออนไลน์ที่ช่วยสร้างความรู้จัก และเพิ่มความไว้วางใจให้กับ MASTER ในฐานะศูนย์กลางศัลยกรรมความงามระดับภูมิภาค โดยเรามุ่งเน้นการนำเทคนิคทางการแพทย์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการให้บริการ และขยายเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการเติบโตและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในระดับภูมิภาค" นายแพทย์ระวีวัฒน์ กล่าว           นางสาวลภัสรดา เลิศภานุโรจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER กล่าวว่า ต่อจากนี้จะเริ่มเห็น MASTER ก้าวเข้าสู่การเป็น "Regional  Company" โดยจะมีความร่วมมือกับ MASTER PARTNER ในระดับภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับความแข็งแกร่งของบริษัทไปยังตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย MASTER ร่วมพิธีลงนามความร่วมมือ หรือ MOU กับ Lumeo Health ซึ่งบริษัทจัดตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย โดยมีสำนักงานในจาการ์ตา ซึ่ง Lumeo Health โดดเด่นในฐานะที่ปรึกษาศัลยกรรมความงามและการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ที่ครบวงจรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้           สำหรับการเติบโตภายในประเทศของบริษัทฯ ถือว่าแข็งแกร่ง โดย MASTER GROUP มีจุดให้บริการมากกว่า 90 แห่งทั่วประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่สำคัญๆ ในทุกภูมิภาค โดยให้บริการที่ครอบคลุมความต้องการในทุกกลุ่มลูกค้า ทั้งด้านศัลยกรรมความงามและการแพทย์เฉพาะทาง ถือเป็นจุดแข็งของเราในการตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลาย และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ           Dr. Queencha Chaidy, Chief Executive Officer Lumeo Health กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาร่วมงานกับโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช Specialty Hospital ผู้นำอุตสาหกรรมด้านความงามของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคาดว่าการลงนาม MOU ครั้งนี้จะเป็นการผนึกกำลังอีกขั้นของการพัฒนาด้านศัลยกรรมความงาม ให้เติบโตในระดับภูมิภาค [PR News]

โบรกฯอัพเป้า “MASTER”  ลุ้น Q4 ทำนิวไฮ เคาะที่ 67.50 บ.

โบรกฯอัพเป้า “MASTER” ลุ้น Q4 ทำนิวไฮ เคาะที่ 67.50 บ.

         หุ้นวิชั่น - บล.เอเอชแอล วิเคราะห์หุ้น MASTER ฝ่ายวิจัยรายงานกำไรสุทธิ Q3/67 ต่ำกว่าคาดเล็กน้อย จาก GPM ที่ต่ำกว่าคาด 1% นอกจากนี้มองช่วง Q4/67 จะสามารถทำ New High Record แนวโน้มลูกค้าชาวไทย และต่างชาติเพิ่มขึ้น รวมถึงรับรู้รายได้จากกลุ่มลูกค้าภาคเหนือที่เลื่อนมา          ขณะที่แนวโน้มปี 2568ผู้บริหารยังตั้งเป้าการเติบโตของรายได้จากกิจการโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นราว 20% โดยมี key driver มาจากรายได้ลูกค้าต่างชาติเพิ่มขึ้น ทั้งอินโดนีเซีย จีน เมียนมา ลาว เป็นต้น ขณะที่ OR Operation ยังมี Capacity เพียงพอ ส่งผลให้ GPM เฉลี่ยทั้งปีสูงขึ้นต่อจากปีนี้มีการปรับขึ้นของรายได้และกำไรสุทธิขึ้นจากการประมาณครั้งก่อนหน้า มาอยู่ที่2,474.9 ล้านบาท และ 623.6 ล้านบาท หรือปรับเพิ่มขึ้น 12.5% และ 6.9%ตามลำดับ โดยฝ่ายวิจัยได้ปรับราคาเป้าหมายเพิ่มขึ้นจากครั้งก่อนที่ 63.25 บาท มาอยูที่ 67.50 บาท คงแนะนำ “ซื้อ”  เนื่องจากธุรกิจยังคงมีแนวโน้มเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง ประเมิน EPS ปี 68 เท่ากับ 2.07 บาท/หุ้น และประเมิน PER ที่เหมาะสมเท่ากับ 32.7x (ใกล้เคียงกันกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มโรงพยาบาลและกลุ่ม Beauty & Surgery ตั้งแต่ช่วงปี2566 ซึ่งเป็นช่วงสถานการณ์ปกติหลัง COVID-19)

“MASTER” โชว์ 9 เดือน กำไรสุทธิอยู่ที่ 303 ลบ. แย้มงบโค้งสุดท้ายโดดเด่น

“MASTER” โชว์ 9 เดือน กำไรสุทธิอยู่ที่ 303 ลบ. แย้มงบโค้งสุดท้ายโดดเด่น

         หุ้นวิชั่น - บมจ. มาสเตอร์ สไตล์ หรือ “MASTER” โชว์ 9 เดือน กำไรสุทธิอยู่ที่ 303 ลบ. เติบโต 20% จากปีก่อน ส่วนรายได้อยู่ที่ 1,500 ลบ. เติบโต 8.9% จากปีก่อน ด้าน CEO “ลภัสรดา เลิศภานุโรจ” เผยตัวเลข 9เดือนอัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 20.21% จาก 18.40% เหตุบริหารต้นทุนดีขึ้น พร้อมคาดงบโค้งสุดท้ายปีนี้โดดเด่น เหตุลูกค้าต่างชาติเพิ่มขึ้น - เข้าโหมด High Seasonในประเทศ แย้ม Q4/67 เป็นช่วงสำคัญที่ผลักดันผลงาน- คาดรายได้ปีนี้เติบโต 20%         นางสาวลภัสรดา เลิศภานุโรจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER ผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช Specialty Hospital ผู้นำอุตสาหกรรมด้านความงามของประเทศไทยและเอเชีย  เปิดเผยว่า บริษัทฯ รายงานผลการดำเนินงาน 9 เดือน (สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2567) มีรายได้จากการประกอบกิจการโรงพยาบาลอยู่ที่ 1,500 ล้านบาท เติบโต 8.9% จากปี 2566  และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 303 ล้านบาท เติบโต 20% จากปี 2566 โดยมาจากรายได้จากการศัลยกรรม เติบโต 10.9% จากปี 2566 รวมถึงรายได้ในหัตถการศัลยกรรมยกคิ้ว สุขภาพชาย และ ศัลกรรมหน้า เนื่องจากบริษัทฯ ทำการตลาดต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีลูกค้าเข้ามารับบริการเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า     สำหรับ 9 เดือน บริษัทฯ มีอัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้น เป็น 20.21% เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่ทำได้ 18.40% โดยมีสาเหตุมาจากการบริหารต้นทุนที่ดีขึ้น ซึ่งบริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายในการขายลดลง โดยสาเหตุหลักมาจากบริษัทฯ สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายทางการตลาด จากการลดลงของการโฆษณาผ่านทางสื่อออนไลน์ ที่ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น และ Billboard ขนาดใหญ่ที่ลดจุดโฆษณาลง  นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากส่วนแบ่งของเงินลงทุนในบริษัทร่วมที่เพิ่มขึ้นและการบริหารค่าใช้จ่ายทางการขายที่ดีขึ้น ส่งผลให้บริษัทฯ มีอัตรากำไรสุทธิที่สูงขึ้น         สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567 (สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2567) บริษัทฯ มีรายได้จากการประกอบกิจการโรงพยาบาลอยู่ที่ 522 ล้านบาท เติบโต 8.9% จากปี 2566 และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 109 ล้านบาท เติบโต 9% จากปี 2566 โดยมีอัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้น เป็น 20.95% เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่ทำได้ 20.82% สอดคล้องกับในไตรมาส 3/2567 ที่บริษัทฯ มีรายได้จากการศัลยกรรมเพิ่มขึ้น 46 ล้านบาท เติบโต 12%  จากปี 2566 และมีรายได้เพิ่มขึ้นในหัตถการ สุขภาพชาย ศัลยกรรมยกคิ้ว และศัลยกรรมหน้า “MASTER ก้าวหน้าอีกขั้นสู่การเป็น "Regional  Company" โดยเสริมความร่วมมือกับ MASTER PARTNER ในระดับภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการเติบโต และยกระดับความแข็งแกร่งของบริษัทไปยังตลาดอาเซียน เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืนในฐานะ Regional Company  โดย MASTER ตั้งเป้าหมายในปี 2568 ว่าจะต้องมีสัดส่วนจากลูกค้าต่างประเทศ 40% ของรายได้รวม” นางสาวลภัสรดา กล่าว นอกจากนี้ บริษัทฯ คาดผลดำเนินงานในไตรมาส 4/2567 จะเป็นช่วงสำคัญที่ผลักดันทั้งรายได้และกำไร โดยคาดจะเห็นการเติบโตที่โดดเด่นจากลูกค้าต่างชาติ ด้วยแรงหนุนจากลูกค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ อินโดนีเซีย เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว รวมถึงในประเทศเข้าสู่ช่วงไฮซีซัน (High Season) สอดคล้องกับห้องผ่าตัดใหม่ ที่พร้อมสนับสนุนการเข้ามาทำหัตถการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทฯ มีความมั่นใจว่าแนวโน้มผลประกอบการช่วงที่เหลือของปีจะเติบโตแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง และคาดว่ารายได้ปีนี้โต 20% จากปีก่อน

MASTER คาด Q4/67 โตโดดเด่น ลูกค้าต่างชาติหนุน

MASTER คาด Q4/67 โตโดดเด่น ลูกค้าต่างชาติหนุน

           บมจ. มาสเตอร์ สไตล์ หรือ MASTER คาดไตรมาส 4/67 เติบโตโดดเด่น ปัจจัยสนับสนุนจากลูกค้าต่างชาติ ควบคู่กับการคุมค่าใช้จ่ายการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ หนุนผลงานเติบโต           นางสาวลภัสรดา เลิศภานุโรจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER ผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช Specialty Hospital ผู้นำอุตสาหกรรมด้านความงามของประเทศไทยและเอเชีย  เปิดเผยว่า ทิศทางธุรกิจของ MASTER ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ยังมีมุมมองเชิงบวกและเติบโตต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ คาดผลการดำเนินงานในไตรมาส 4/2567 เติบโตโดดเด่นจากลูกค้าต่างชาติ ตั้งเป้าไตรมาส 4/2567 เป็นช่วงสำคัญที่ผลักดันทั้งรายได้และกำไร ด้วยแรงหนุนจากลูกค้าต่างชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ อินโดนีเซีย เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว ที่มีแนวโน้มเข้ามาใช้บริการศัลยกรรมและความงามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความต้องการที่สูงขึ้นจากลูกค้าในประเทศในช่วงไฮซีซั่น ซึ่งช่วยเสริมผลประกอบการในไตรมาสนี้เป็นได้อย่างดี           นอกจากนี้ MASTER วางแผนลดค่าใช้จ่ายการตลาดในไตรมาส 4/2567 อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการใช้จ่ายในช่วงที่มีความต้องการสูง หลังจากทำยอดได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ล่วงหน้า ซึ่งช่วยให้การใช้งบประมาณเป็นไปอย่างคุ้มค่าและเตรียมความพร้อมสำหรับการตลาดในไตรมาสแรกของปี 2568 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการบริหารต้นทุนที่รัดกุม ควบคู่กับการเติบโตของยอดขายในไตรมาส  4/2567 ซึ่ง MASTER มั่นใจว่ากลยุทธ์นี้จะสนับสนุนการเติบโตที่แข็งแกร่งและยั่งยืน พร้อมเสริมสถานะในฐานะผู้นำด้านศัลยกรรมและความงามในภูมิภาคเอเชีย           นอกจากนี้ประเมินว่าทิศทางการเติบโตต่อเนื่องไปยังแนวโน้มไตรมาส 4/2567 โดยสอดคล้องกับการขยายห้องผ่าตัดใหม่ และลูกค้าที่เข้ามาทำหัตถการอย่างต่อเนื่อง ผ่านการทำการตลาดของบริษัท ขณะที่ความสามารถในการทำกำไรดีขึ้น จากการบริหาร ค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ

MASTER ยกชั้นย้ายเทรด SET กองทุนจ้อง-ปักหมุดต่างแดน

MASTER ยกชั้นย้ายเทรด SET กองทุนจ้อง-ปักหมุดต่างแดน

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ประกาศให้หุ้น MASTER ย้ายจากตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ SET เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจะเริ่มซื้อขายในกระดาน SET ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป            นายแพทย์ระวีวัฒน์ มาศฉมาดล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER ผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช Specialty Hospital ผู้นำอุตสาหกรรมด้านความงามของประเทศไทยและเอเชีย เปิดเผยว่า หุ้น MASTER ย้ายจากตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ SET เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่ง MASTER มีวัตถุประสงค์ เพื่อขยายฐานนักลงทุนให้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะนักลงทุนสถาบัน นักลงทุนรายย่อย และกองทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ            “รู้สึกยินดีที่ได้เห็น MASTER เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยวันนี้ (28 ตุลาคม 2567) ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของเราที่นำหุ้น MASTER ย้ายเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ SET ซึ่งบทพิสูจน์ความสำเร็จตั้งแต่ ที่ MASTER เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)  ในช่วงระยะเวลาปีกว่าที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นภาพของการเติบโตทางธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ ด้วยแผนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ ทั้ง Organic และ Inorganic ด้วยกลยุทธ์แบบ Merger and Partnership (M&P) ที่เป็นส่วนเข้ามาช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตลาดและ MASTER มีเป้าหมายที่จะเติบโตอย่างยั่งยืนคู่ตลาดหุ้นไทย” นายแพทย์ระวีวัฒน์ กล่าว            นางสาวลภัสรดา เลิศภานุโรจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER เปิดเผยว่า ขณะนี้กองทุนภายในประเทศไทยถือหุ้นของ MASTER อยู่ราว 12% ส่วนกองทุนต่างประเทศเพิ่มสัดส่วนการลงทุนเป็น 3% จากระดับ 1% เมื่อต้นปี 2566 โดยล่าสุด MASTER ได้รับเชิญให้เดินทางไปให้ข้อมูลกับนักลงทุนต่างชาติหลายครั้ง รวมถึงการโรดโชว์ที่ฮ่องกงที่ผ่านมา ซึ่งการลงทุนของกองทุนทั้งในและต่างประเทศเป็นการซื้อขายหุ้นผ่านกระดานเทรดโดยทั่วไป โดยไม่มีการทำรายการบิ๊กล็อต            "กองทุนต่างชาติยังสนใจทิศทางการเติบโตในกลุ่ม surgery เราจึงเดินทางไปให้ข้อมูลกับหลายๆโบรกที่ผ่านมา " นางสาวลภัสรดา กล่าว            MASTER ประกาศทิศทางการเติบโต โดยจะเน้นขยายฐานลูกค้าต่างชาติมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอินโดนีเซีย ลาว และกัมพูชา คาดว่า ณ สิ้นปี 2567 สัดส่วนลูกค้าต่างชาติจะเพิ่มขึ้นเป็น 25-30% จากระดับ 25.85% ในไตรมาส 3/2567 และในปี 2568 สัดส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 40%            MASTER อยู่ระหว่างพิจารณาแผนการขยายตลาดไปยังประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง โดยอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการขยายธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงความเป็นไปได้ในการสร้างโรงพยาบาลความงามในประเทศดังกล่าว            ในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า MASTER จะมุ่งเน้นการสร้างพันธมิตรกับกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ เนื่องจากเชื่อว่าทุกบริการและบริษัทที่ MASTER ลงทุนจะมีศักยภาพในการเติบโตตามแผนที่วางไว้            สำหรับเป้าหมายในปีนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้เติบโต 20% จากปีก่อน โดยจะขับเคลื่อนการเติบโตทั้งแบบ Organic และ Inorganic ด้วยกลยุทธ์ Merger and Partnership (M&P) ผ่านการถือหุ้นในบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและเป็นผู้นำในแต่ละภูมิภาค พร้อมใช้จุดแข็งในระบบการจัดการและความร่วมมือ เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตภายใต้กลยุทธ์ Cross Border-Cross Selling และ Cross Synergy ซึ่งออกแบบมาเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในระยะยาวและรองรับการเติบโตในตลาดทั้งในและต่างประเทศ            อนึ่ง 6 เดือนแรกปี 2567 MASTER มีรายได้ที่ 996.37 ล้านบาท และกำไรสุทธิที่ 193.81 ล้านบาท รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

[ภาพข่าว] MASTER ย้ายเทรด SET  28 ต.ค. ปักธงโรงพยาบาลศัลยกรรมความงามชั้นนำ

[ภาพข่าว] MASTER ย้ายเทรด SET 28 ต.ค. ปักธงโรงพยาบาลศัลยกรรมความงามชั้นนำ

          นายแพทย์ระวีวัฒน์ มาศฉมาดล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER ผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช Specialty Hospital ผู้นำอุตสาหกรรมด้านความงามของประเทศไทยและเอเชีย กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ประกาศให้หุ้น MASTER ย้ายจากตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ SET เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจะเริ่มซื้อขายในกระดาน SET ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป ซึ่ง MASTER มีวัตถุประสงค์ เพื่อขยายฐานนักลงทุนให้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะนักลงทุนสถาบัน นักลงทุนรายย่อย และกองทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

จับตา MASTER ย้ายเทรด SET วันนี้

จับตา MASTER ย้ายเทรด SET วันนี้

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงานจากตลาดหลักทรัพย์ พบ บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER  แจ้งย้ายหลักทรัพย์เข้าเทรด (SET) โดยอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดธุรกิจการแพทย์ จากเดิมตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ (เดิม) โดยเริ่มเข้าซื้อขายใน SET วันนี้ (28 ต.ค.67)            บริษัท MASTER ประกอบกิจการสถานพยาบาลด้านความงามที่ให้บริการศัลยกรรมครบวงจร และได้เริ่มทำการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์  mai เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2566 ปัจจุบันมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ 14,180.45 ล้านบาท            บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด มองแนวโน้ม MASTER ไตรมาส 3/2567 กลับมาโตทั้งจากไตรมาสก่อนหน้า และ ช่วงเดียวกันกับปีก่อน  ฝ่ายวิเคราะห์คาดกำไรสุทธิไตรมาส 3/2567 ที่ 113 ล้านบาท (+28.6% จากไตรมาสก่อนหน้า, +12.8% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน) คาดรายได้หลักที่ 515 ล้านบาท (+0.9% จากไตรมาสก่อนหน้า ,  +7.5%  จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน)            โดยรายได้ในเดือน ก.ค. ทำระดับสูงสุดใหม่ แต่แผ่วลงในช่วงปลายไตรมาสจากผลกระทบอุทกภัยในภาคเหนือทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้ชะลอการเข้ารับทำหัตถการออกไป  โดยลูกค้ากลุ่มนี้มีสัดส่วนราว 10% ของรายได้ในประเทศทั้งหมด ซึ่งมีการเก็บเงินมัดจำแล้วทำให้โอกาสยกเลิกค่อนข้างน้อย และคาดว่าจะกลับเข้ารับบริการในไตรมาส 1/2568 เป็นอย่างช้า ส่วน GPM คาดที่ 58% ทรงตัวจากช่วงเดียวกันกับปีก่อน และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า จากสัดส่วนรายได้ต่างชาติที่สูงขึ้น            ส่วน SG&A คาดจะควบคุมได้ดีในไตรมาสนี้เนื่องจากใช้ค่าใช้จ่ายทางการตลาดค่อนข้างมากไปแล้วในครึ่งปีแรก 2567 ฝ่ายวิเเคราะห์คาด SG&A/Sales ที่ 34.0% ลดลงจาก 38.6% ในไตรมาส 2/2567 แต่ทรงตัวจากช่วงเดียวกันกับปีก่อน            ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมคาดที่ 13 ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 96% ไตรมาสก่อนหน้า ส่วนช่วงเดียวกันกับปีก่อน ไม่มีส่วนนี้ในไตรมาส 3/2566 ทั้งนี้จากการ Turnaround ของ V Square และ TYP ส่วน Wind ขาดทุนลดลง นอกจากนี้เป็นไตรมาสแรกที่เริ่มรับรู้ส่วนแบ่งจาก S45            ไตรมาส 4/2567 มีโอกาสสูงที่กำไรจะทาระดับสูงสุดใหม่รายได้ในเดือน ต.ค. ค่อนข้างสูงเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วง High  season โดยมีโอกาสทำรายได้แตะระดับสูงสุดใหม่ ส่วนยอดจองล่วงหน้าเดือน พ.ย. ดีกว่าเดือน ต.ค. ทำให้มีโอกาสสูงที่รายได้ในไตรมาส 4/2567 ทำระดับสูงสุดใหม่ที่ราว 600 ล้านบาทขึ้นไปได้  โดยคาดลูกค้าในประเทศฟื้นตัวและลูกค้าต่างประเทศเติบโตสูงโดยเฉพาะกลุ่มอินโดนีเซียที่ได้รับความนิยมสูงมากในกลุ่มศัลยกรรมจมูก หน้าอก และปลูกผม            ขณะที่ GPM มีโอกาสสูงขึ้นได้อีกจาก Economy of scales และลูกค้าต่างชาติจะมีรายได้ต่อบิลค่อนข้างสูง ส่วน SG&A คาดทรงตัว QoQแต่ SG&A/Sales จะลดลงตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น หนุน NPM นอกจากนี้ยังเป็น High  season ของบริษัทย่อยเกือบทุกบริษัท และเริ่มมีรายได้จาก BEQ ,  TSC และ Aurora  Clinic เป็นไตรมาสแรก โดยส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมอาจแตะระดับ 20 ล้านบาทได้ นอกจากนี้จะมีการเปิดตัวสินค้าใหม่ภายใต้แบรนด์ของโรงพยาบาล ร่วมกับ Partner ซึ่งยังไม่รวมในประมาณการ            คาดกำไรสุทธิไตรมาส 4/2567 เบื้องต้นที่ 200 –220 ล้านบาท PER68 ไม่แพง เป็น Top pick ไตรมาส 4/2567 ราคาหุ้นปรับตัวลงราว 25% จากเดือน ก.ค. จากความผิดหวังงบไตรมาส 2/2567 แต่ฝ่ายวิเคราะห์มองว่าเป็นผลในระยะสั้นจากการใช้ค่าใช้จ่ายทางการตลาดจำนวนมากเพื่อสร้างยอดขายในครึ่งปีหลัง 2567 รวมถึงส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมยังไม่เป็นไปตามเป้า ซึ่งประเด็นดังกล่าวคลี่คลายในทางบวกในไตรมาส 3/2567 และเร่งตัวขึ้นในช่วงไตรมาส 4/2567 ทำให้ที่ระดับปัจจุบันมองว่าน่าสนใจสะสม เนื่องจากปัจจุบันซื้อขายที่ PER67 –68 ที่ 26.6 เท่า และ 23.8เท่าตามลำดับ เทียบเท่าในอดีตเคยสูงถึง 35 – 40 เท่า บนประมาณการที่ค่อนข้างระมัดระวัง            ฝ่ายวิเคราะห์มองว่าประมาณการกำไรปี 2568 มี Upside risk จากลูกค้าต่างประเทศ และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม ปรับไปใช้ราคาเป้าหมายสิ้นปี 2568 โดยให้คงเดิมที่ 68.50 บาท ซึ่งจะเทียบเท่า PER ในการประเมินมูลค่าลดลงจาก 40.00 เท่า เป็น 35.75 เท่า คงคำแนะนำ "ซื้อ" คาดย้ายเข้าซื้อขายตลาด SET ในไตรมาส 4/2567 และมีโอกาสเข้า SET100 ในไตรมาส 4/2568 ให้เป็น Top pick ประจำไตรมาส 4/2567            ส่วน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) คาดกำไรสุทธิ MASTER ในไตรมาส 3/2567 ที่ 113 ล้านบาท (+13% y-y, +29% q-q) โดยแยกเป็นส่วนกำไรจาก Organic ส่วน รพ.ของ MASTER คาด 100 ล้านบาท (+1%  y-y , +12% q-q) จากรายได้คาดยังเติบโต +9%  y-y ได้ทั้งลูกค้าไทยและต่างชาติแต่หักล้างจากคาด SG&A ยังเพิ่มจากช่วงเดียวกันกับปีก่อน  ขณะที่ ส่วนแบ่งก าไรจากบ.ร่วมคาดเพิ่มเป็น 12ลบ. (ฐานปีก่อนไม่มี, +81% q-q) โดยเริ่มรับรู้ V-Square เต็มไตรมาส            คาดรายได้ที่ 520 ล้านบาท (+9% y-y, +2% q-q) เติบโตจากช่วงเดียวกันกับปีก่อน และไตรมาสก่อนหน้า จากจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้นช่วงต้นไตรมาส ทั้งไทยและต่างประเทศ โดย Key driver หลักคือลูกค้าอินโดนีเซียเติบโตแรงเท่าตัว คาดสัดส่วนขึ้นจาก 4% ของรายได้ในปี 2567 เป็น 10%            อย่างไรก็ตาม ในช่วงกันยายนเริ่มมีผลกระทบจากกลุ่มลูกค้าภาคเหนือจากผลน้ำท่วม ทำให้มีการเลื่อนศัลยกรรมออกไป คิดเป็นมูลค่าราว 20-30 ล้านบาท  คาด Gross margin 58.0% เทียบกับ ไตรมาส 3/2566 และไตรมาส 2/2567 ที่ 58.2% และ 57.0% เป็นระดับใกล้เคียงจากช่วงเดียวกันกับปีก่อน ยังไม่มีโปรแรงๆ แต่เพิ่มเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า จาก U rate ปรับขึ้นจาก 60% เป็น 61%            คาด SG&A to sales ที่ 34.2% ไตรมาส 3/2566 และไตรมาส 2/2567 ที่ 33.5% และ 36.9% ยังเป็นระดับเพิ่มจากช่วงเดียวกันกับปีก่อน จากการใช้ด้านการตลาด แต่เป็นทิศทางที่เริ่มลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า หลังใช้การตลาดมากในไตรมาส 2/2566 รวมถึงงวดนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายด้าน M&A  คาดส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมที่ 12 ล้านบาท และ เริ่มรับรู้ครั้งแรกไตรมาส 4/2566 หลายบริษัทเริ่มดีขึ้น และรับรู้ V-Square เต็มไตรมาสครั้งแรกราว 2-3 ล้านบาท จากงวดก่อนขาดทุน -0.4 ล้านบาท (คาด SSSG V-Square +12% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน)            คำแนะนำ “Buy” ที่ 58 บาท อิง PER 29 เท่า(ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง -1SD)ปัจจุบันซื้อขายที่ PER25F 23 เท่า (-2SD) เป็นระดับที่ไม่สูง โดยหุ้น -8% ytd ได้สะท้อนปัจจัยลบต่างๆไปมากแล้วและผ่านช่วง Eanrings  cut จากตลาดมาหมดแล้วอีกทั้งแนวโน้มอุตสาหกรรมด้านศัลยกรรมและความงามเป็นขาขึ้นในระยะยาวโดย MASTER ถือเป็นหนึ่งในผู้นำของโรงพยาบาลศัลยกรรมที่มีแผนขยายธุรกิจเชิงรุกมากที่สุดในกลุ่ม            ด้าน บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด มองผลประกอบการของ MASTER ยังอยู่ในวัฏจักขาขึ้นรายได้รวมและกำไรสุทธิเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจากข้อมมูลในช่วง3ปีย้อนหลัง (2564-2566) มีอัตราการเติบโตที่67.83% CAGR และ 59.91% CAGR ตามลำดับ รวมถึงในช่วงครึ่งปีแรก 67 รายได้รวมและกำไรสุทธิ ยังคงเติบโตได้ 9.24% และ 26.59%จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน            ฝ่ายวิเคราะห์ยังคาดการการเติบโตของผลประกอบการในอนาคต 3 ปี ข้างหน้า (2567-2569) จะมีกาไรสุทธิปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเท่ากับ 481.19ล้านบาท 583.40ล้านบาท แล ะ619.43 ล้านบาท ตามลำดับ หรือคิดเป็นการเติบโต 13.46% โดยมีปัจจัยสนับสนุนมาจาก            1. การเติบโตตามภาพรวมอุตสาหกรรมศัลยกรรมและความงาม ที่ยังคงมีความต้องการเพิ่มขึ้นในทุกGeneration ทั้ง Gen X, Gen Y, Gen Z และ Baby Boomers ผ่านโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช และ Partner            2.แนวโน้มการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ และ3.การมีแบรนด์ที่แข็งแกร่งช่วยสร้างการรับรู้และความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าผ่านการตลาด/การสื่อสารทั้งออนไลน์และออฟไลน์ประเมินมูลค่าเหมาะสม ณ สิ้นปี 6 8ที่ 63.25บาท/หุ้น            เริ่มต้นด้วยคำแนะนำ “ซื้อ” สำหรับ MASTER เนื่องจากธุรกิจยังคงมีแนวโน้มเติบโตได้สูงในช่วง 3 ปี ข้างหน้า โดยประมาณการณ์กำไรสุทธิในปี 2568 ที่ 583.40 ล้านบาท จำนวนหุ้นที่ 301.71ล้านหุ้น  คิดเป็น EPS เท่ากับ 1.93 บาท/หุ้น และประเมิน PER ที่เหมาะสมเท่ากับ 32.7x (ใกล้เคียงกันกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มโรงพยาบาลและกลุ่ม Beauty & Surgery ตั้งแต่ช่วงปี 256 6ซึ่งเป็นช่วงสถานการณ์ปกติหลัง COVID-19) จะได้มูลค่าพื้นฐานที่เหมาะสมสาหรับปี 2568 ที่ 63.25 บาท/หุ้น

MASTER โรดโชว์ฮ่องกง พบ 8 กองทุน เปิดแผนธุรกิจ-กระแสตอบรับล้น

MASTER โรดโชว์ฮ่องกง พบ 8 กองทุน เปิดแผนธุรกิจ-กระแสตอบรับล้น

           นางสาวลภัสรดา เลิศภานุโรจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER ในนามโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช Specialty Hospital ผู้นำอุตสาหกรรมด้านความงามของประเทศไทยและเอเชีย พร้อมคณะทำงานได้เดินทางไปฮ่องกง ระหว่างวันที่ 16-17 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยนำเสนอข้อมูลธุรกิจ(Roadshow)ให้นักลงทุนสถาบันและกองทุนจำนวน 8 กองทุน ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักลงทุนสถาบันและกองทุน และให้ความสนใจในแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมศัลยกรรมความงามของไทย            “ MASTER นำบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา  และภายหลังเข้าซื้อขายในตลาดแล้วนั้นฯ บริษัทฯ มีการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยมีกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนสถาบัน และกองทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งครั้งนี้เป็นโอกาสดีที่ทาง MASTER ได้ให้ข้อมูลและแสดงวิสัยทัศน์แบบ Exclusive 1 on 1 Meeting กับแต่ละกองทุน สะท้อนถึงความสนใจในกลุ่มธุรกิจความงามที่เพิ่มมากขึ้น และ MASTER ยังคงเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตลาด ด้วยการคาดการณ์การเติบโตอย่างแข็งแกร่งในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 โดยบริษัทเตรียมรับมือกับ High season ซึ่งจะมีลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างมากทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ พร้อมวางแผนเป็นโรงพยาบาลศัลยกรรมความงามชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะ Regional Company” นางสาวลภัสรดา กล่าว            ทั้งนี้ MASTER เน้นเติบโตทั้ง Organic และ Inorganic ด้วยกลยุทธ์แบบ Merger and Partnership (M&P) จากการเข้าไปถือหุ้นในบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและเป็นกิจการระดับแนวหน้าในแต่ละภูมิภาค โดยใช้จุดแข็งทางด้านระบบและการจัดการ ผนึกกำลังสร้างโอกาสการเติบโตร่วมกัน ภายใต้กลยุทธ์ Cross Boder-Cross Selling และ Cross Synergy [PR News]

MASTER โบรกประสานเสียง “ซื้อ” เคาะเป้าไกล 68.50 บ.

MASTER โบรกประสานเสียง “ซื้อ” เคาะเป้าไกล 68.50 บ.

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน  บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด มองแนวโน้ม MASTER ไตรมาส 3/2567 กลับมาโตทั้งจากไตรมาสก่อนหน้า และ ช่วงเดียวกันกับปีก่อน  ฝ่ายวิเคราะห์คาดกำไรสุทธิไตรมาส 3/2567 ที่ 113 ล้านบาท (+28.6% จากไตรมาสก่อนหน้า, +12.8% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน) คาดรายได้หลักที่ 515 ล้านบาท (+0.9% จากไตรมาสก่อนหน้า ,  +7.5%  จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน)           โดยรายได้ในเดือน ก.ค. ทำระดับสูงสุดใหม่ แต่แผ่วลงในช่วงปลายไตรมาสจากผลกระทบอุทกภัยในภาคเหนือทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้ชะลอการเข้ารับทำหัตถการออกไป  โดยลูกค้ากลุ่มนี้มีสัดส่วนราว 10% ของรายได้ในประเทศทั้งหมด ซึ่งมีการเก็บเงินมัดจำแล้วทำให้โอกาสยกเลิกค่อนข้างน้อย และคาดว่าจะกลับเข้ารับบริการในไตรมาส 1/2568 เป็นอย่างช้า ส่วน GPM คาดที่ 58% ทรงตัวจากช่วงเดียวกันกับปีก่อน และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า จากสัดส่วนรายได้ต่างชาติที่สูงขึ้น           ส่วน SG&A คาดจะควบคุมได้ดีในไตรมาสนี้เนื่องจากใช้ค่าใช้จ่ายทางการตลาดค่อนข้างมากไปแล้วในครึ่งปีแรก 2567 ฝ่ายวิเเคราะห์คาด SG&A/Sales ที่ 34.0% ลดลงจาก 38.6% ในไตรมาส 2/2567 แต่ทรงตัวจากช่วงเดียวกันกับปีก่อน           ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมคาดที่ 13 ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 96% ไตรมาสก่อนหน้า ส่วนช่วงเดียวกันกับปีก่อน ไม่มีส่วนนี้ในไตรมาส 3/2566 ทั้งนี้จากการ Turnaround ของ V Square และ TYP ส่วน Wind ขาดทุนลดลง นอกจากนี้เป็นไตรมาสแรกที่เริ่มรับรู้ส่วนแบ่งจาก S45           ไตรมาส 4/2567 มีโอกาสสูงที่กำไรจะทาระดับสูงสุดใหม่รายได้ในเดือน ต.ค. ค่อนข้างสูงเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วง High  season โดยมีโอกาสทำรายได้แตะระดับสูงสุดใหม่ ส่วนยอดจองล่วงหน้าเดือน พ.ย. ดีกว่าเดือน ต.ค. ทำให้มีโอกาสสูงที่รายได้ในไตรมาส 4/2567 ทำระดับสูงสุดใหม่ที่ราว 600 ล้านบาทขึ้นไปได้  โดยคาดลูกค้าในประเทศฟื้นตัวและลูกค้าต่างประเทศเติบโตสูงโดยเฉพาะกลุ่มอินโดนีเซียที่ได้รับความนิยมสูงมากในกลุ่มศัลยกรรมจมูก หน้าอก และปลูกผม           ขณะที่ GPM มีโอกาสสูงขึ้นได้อีกจาก Economy of scales และลูกค้าต่างชาติจะมีรายได้ต่อบิลค่อนข้างสูง ส่วน SG&A คาดทรงตัว QoQแต่ SG&A/Sales จะลดลงตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น หนุน NPM นอกจากนี้ยังเป็น High  season ของบริษัทย่อยเกือบทุกบริษัท และเริ่มมีรายได้จาก BEQ ,  TSC และ Aurora  Clinic เป็นไตรมาสแรก โดยส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมอาจแตะระดับ 20 ล้านบาทได้ นอกจากนี้จะมีการเปิดตัวสินค้าใหม่ภายใต้แบรนด์ของโรงพยาบาล ร่วมกับ Partner ซึ่งยังไม่รวมในประมาณการ           คาดกำไรสุทธิไตรมาส 4/2567 เบื้องต้นที่ 200 –220 ล้านบาท PER68 ไม่แพง เป็น Top pick ไตรมาส 4/2567 ราคาหุ้นปรับตัวลงราว 25% จากเดือน ก.ค. จากความผิดหวังงบไตรมาส 2/2567 แต่ฝ่ายวิเคราะห์มองว่าเป็นผลในระยะสั้นจากการใช้ค่าใช้จ่ายทางการตลาดจำนวนมากเพื่อสร้างยอดขายในครึ่งปีหลัง 2567 รวมถึงส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมยังไม่เป็นไปตามเป้า ซึ่งประเด็นดังกล่าวคลี่คลายในทางบวกในไตรมาส 3/2567 และเร่งตัวขึ้นในช่วงไตรมาส 4/2567 ทำให้ที่ระดับปัจจุบันมองว่าน่าสนใจสะสม เนื่องจากปัจจุบันซื้อขายที่ PER67 –68 ที่ 26.6 เท่า และ 23.8เท่าตามลำดับ เทียบเท่าในอดีตเคยสูงถึง 35 – 40 เท่า บนประมาณการที่ค่อนข้างระมัดระวัง           ฝ่ายวิเคราะห์มองว่าประมาณการกำไรปี 2568 มี Upside risk จากลูกค้าต่างประเทศ และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม ปรับไปใช้ราคาเป้าหมายสิ้นปี 2568 โดยให้คงเดิมที่ 68.50 บาท ซึ่งจะเทียบเท่า PER ในการประเมินมูลค่าลดลงจาก 40.00 เท่า เป็น 35.75 เท่า คงคำแนะนำ "ซื้อ" คาดย้ายเข้าซื้อขายตลาด SET ในไตรมาส 4/2567 และมีโอกาสเข้า SET100 ในไตรมาส 4/2568 ให้เป็น Top pick ประจำไตรมาส 4/2567           ส่วน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) คาดกำไรสุทธิ MASTER ในไตรมาส 3/2567 ที่ 113 ล้านบาท (+13% y-y, +29% q-q) โดยแยกเป็นส่วนกำไรจาก Organic ส่วน รพ.ของ MASTER คาด 100 ล้านบาท (+1%  y-y , +12% q-q) จากรายได้คาดยังเติบโต +9%  y-y ได้ทั้งลูกค้าไทยและต่างชาติแต่หักล้างจากคาด SG&A ยังเพิ่มจากช่วงเดียวกันกับปีก่อน  ขณะที่ ส่วนแบ่งก าไรจากบ.ร่วมคาดเพิ่มเป็น 12ลบ. (ฐานปีก่อนไม่มี, +81% q-q) โดยเริ่มรับรู้ V-Square เต็มไตรมาส           คาดรายได้ที่ 520 ล้านบาท (+9% y-y, +2% q-q) เติบโตจากช่วงเดียวกันกับปีก่อน และไตรมาสก่อนหน้า จากจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้นช่วงต้นไตรมาส ทั้งไทยและต่างประเทศ โดย Key driver หลักคือลูกค้าอินโดนีเซียเติบโตแรงเท่าตัว คาดสัดส่วนขึ้นจาก 4% ของรายได้ในปี 2567 เป็น 10%           อย่างไรก็ตาม ในช่วงกันยายนเริ่มมีผลกระทบจากกลุ่มลูกค้าภาคเหนือจากผลน้ำท่วม ทำให้มีการเลื่อนศัลยกรรมออกไป คิดเป็นมูลค่าราว 20-30 ล้านบาท  คาด Gross margin 58.0% เทียบกับ ไตรมาส 3/2566 และไตรมาส 2/2567 ที่ 58.2% และ 57.0% เป็นระดับใกล้เคียงจากช่วงเดียวกันกับปีก่อน ยังไม่มีโปรแรงๆ แต่เพิ่มเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า จาก U rate ปรับขึ้นจาก 60% เป็น 61%           คาด SG&A to sales ที่ 34.2% ไตรมาส 3/2566 และไตรมาส 2/2567 ที่ 33.5% และ 36.9% ยังเป็นระดับเพิ่มจากช่วงเดียวกันกับปีก่อน จากการใช้ด้านการตลาด แต่เป็นทิศทางที่เริ่มลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า หลังใช้การตลาดมากในไตรมาส 2/2566 รวมถึงงวดนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายด้าน M&A  คาดส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมที่ 12 ล้านบาท และ เริ่มรับรู้ครั้งแรกไตรมาส 4/2566 หลายบริษัทเริ่มดีขึ้น และรับรู้ V-Square เต็มไตรมาสครั้งแรกราว 2-3 ล้านบาท จากงวดก่อนขาดทุน -0.4 ล้านบาท (คาด SSSG V-Square +12% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน)           คำแนะนำ “Buy” ที่ 58 บาท อิง PER 29 เท่า(ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง -1SD)ปัจจุบันซื้อขายที่ PER25F 23 เท่า (-2SD) เป็นระดับที่ไม่สูง โดยหุ้น -8% ytd ได้สะท้อนปัจจัยลบต่างๆไปมากแล้วและผ่านช่วง Eanrings  cut จากตลาดมาหมดแล้วอีกทั้งแนวโน้มอุตสาหกรรมด้านศัลยกรรมและความงามเป็นขาขึ้นในระยะยาวโดย MASTER ถือเป็นหนึ่งในผู้นำของโรงพยาบาลศัลยกรรมที่มีแผนขยายธุรกิจเชิงรุกมากที่สุดในกลุ่ม

[ภาพข่าว] CEO MASTER เยี่ยมชม

[ภาพข่าว] CEO MASTER เยี่ยมชม "Winds Surgery Hospital"

          คุณดาว – ลภัสรดา เลิศภานุโรจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER ผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช Specialty Hospital ผู้นำอุตสาหกรรมด้านความงามของประเทศไทยและเอเชีย  ได้เข้าเยี่ยมชมธุรกิจของ "Winds Surgery Hospital" โดยได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจาก หมอบาส – นพ.เฉลิมชัย ศรีอัครพงศ์ ผู้บริหาร และคณะทีมงานผู้บริหารและพนักงานของบริษัท มีแพลนดี จำกัด ผู้ประกอบกิจการ Winds Surgery Hospital ทั้งนี้ เบื้องต้นคาดว่าเมื่อก่อสร้าง “Winds Surgery Hospital” แล้วเสร็จ จะทำให้เป็นโรงพยาบาลศัลยกรรมแห่งแรกในจังหวัดอุบลราชธานี ที่ให้บริการด้วยมาตรฐานระดับสากล ซึ่งเบื้องต้นคาดแล้วเสร็จประมาณ ไตรมาส 1/2568           ปัจจุบัน WIND Clinic มีอยู่ด้วยกัน 2 แห่ง ได้แก่ ถนนชยางกูร ณ สี่แยกกองบิน จังหวัดอุบลราชธานี  และถนนเกษตร-นวมินทร์จังหวัดกรุงเทพฯ ซึ่ง "Winds Surgery Hospital" ที่จังหวัดอุบลราชธานี มีเอกลักษณ์ที่มีความโดดเด่นด้วยสไตล์การตกแต่งด้วยความสวยงาม หรูหรา และบรรยากาศอันผ่อนคลาย           นางสาวลภัสรดา กล่าวสริมว่า จังหวัดอุบลฯ เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 2 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มองว่ามีศักยภาพเติบโตสูง สอดคล้องกับแผนดำเนินธุรกิจของ MASTER ที่พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตมากขึ้น รวมทั้งการขยายฐานลูกค้า ด้วยกลยุทธ์ Celebrity หัวเมือง เพิ่มความสามารถในการให้บริการให้ครอบคลุม เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีให้บริษัทอย่างยั่งยืน

MASTER เด่นเข้าตา ไฮซีซั่นดันยอด แนะ

MASTER เด่นเข้าตา ไฮซีซั่นดันยอด แนะ "ซื้อ" เป้า 58 บ.

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) มีมุมมอง Neutral ต่อ MASTER คาดกำไร 3Q24F 113 ลบ (+13% y-y, +29% q-q) จากรายได้ยังเติบโตได้ และส่วนแบ่งกำไรจากบ.ร่วมรับรู้เพิ่มขึ้น หักล้างผลกระทบการเลื่อนศัลยกรรมในลูกค้าภาคเหนือจากเหตุน้ำท่วมปลายก.ย. และ Outlook 4Q24F คาดกำไรเข้าช่วง High season เติบโต y-y, q-q           คงกำไรปี 2024-25F 497 ลบ. (+4%) และ 600 ลบ. (+21%) แนะนำ “Buy” จาก TP25F 58 บาท อิง PER 29x ภายใต้ภาพอุตสาหกรรมศัลยกรรมและความงามยังเป็นขาขึ้นระยะกลางยาว และระยะสั้น แนวโน้มกำไรเข้าช่วงพีค 4Q24F และคาดจะย้ายมาซื้อขายใน SET (เดิม mai) ช่วง 28 ตุลาคม 2024

[Vision Exclusive]

[Vision Exclusive] "MASTER" โค้งท้ายไฮซีซั่นโตเด่น ฐานอินโดพุ่ง 108%

หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)ประเมินแนวโน้มธุรกิจ บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER คาดกำไรสุทธิไตรมาส3/2567 ที่ 111 ล้านบาท (+11% YoY, +27% QoQ) กำไรขยายตัวจากรายได้รวมขยายตัว +8% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อนจากรายได้ surgery ขยายตัว และฐานลูกค้าต่างชาติขยายตัว           GPM ทรงตัว จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน และ equity income ที่ 13 ล้านบาท (3Q23 = 0 ล้านบาท, 2Q24 = 7 ล้านบาท) ด้านกำไรที่โตจากไตรมาสก่อนหน้าจาก GPM ที่ขยายตัวจาก utilization rate ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น SG&A expenses ที่ลดลง เนื่องจากในไตรมาส 2/2567 มีค่าใช้จ่าย one-time expense ที่ 9 ล้านบาท และ equity income ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการรับรู้ V Square เต็มไตรมาสและเริ่มรับรู้ S45 เป็นเวลา 2 เดือน           ฝ่ายวิเคราะห์คงประมาณการกำไรสุทธิปี 2567 ที่ 532 ล้านบาท (+28% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน) แนวโน้มกำไรสุทธิ 9 เดือนแรกปี 2567 ที่ 57% ของประมาณการกำไรสุทธิปี 2567           แต่มองว่า ผลประกอบการ ไตรมาส 4/2567 จะเติบโตเด่น YoY, QoQ ทั้งจาก high season และลูกค้าที่เลื่อนการทำศัลยกรรมมาเป็นไตรมาส 4/2567 จากน้ำท่วม           ด้าน GPM ขยายตัวเด่นจาก utilization rate ที่ดีขึ้น อีกทั้งยังรับรู้ equity income ที่เพิ่มขึ้น ราคาหุ้นทรงตัวเมื่อเทียบกับ SET ใน 1 เดือนที่ผ่านมา ปัจจุบัน MASTER เทรดอยู่ที่ PER 26.1x           มองว่าราคาปัจจุบันยังน่าสนใจ โดย 2565-2567 EPS CAGR +27% โดยมี short term catalyst จากกำไรไตรมาส 4/2567 ที่จะฟื้นตัวโดดเด่น แนะ “ซื้อ” เป้า 64.00 บาท           นางสาวลภัสรดา เลิศภานุโรจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER เปิดเผยกับ ทีมข่าวหุ้นวิชั่น ถึงแนวโน้มการเติบโตในไตรมาส 4/2567 ว่า บริษัทมีมุมมองในเชิงบวกต่อการเติบโตของรายได้และกำไร โดยคาดว่าอัตราการเติบโตจะยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากยอดการใช้จ่ายต่อบิลของลูกค้าต่างชาติที่ปรับตัวสูงขึ้นอีก 10-15% ขณะที่ต้นทุนค่าใช้จ่ายยังคงอยู่ในระดับเดิม รวมถึงการบริหารค่าใช้จ่ายทางการตลาดให้อยู่ในสัดส่วนไม่เกิน 9% ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้การเติบโตของบริษัทโดดเด่นมากยิ่งขึ้น           ทั้งนี้ ไตรมาสสุดท้ายของปีมักเป็นช่วงไฮซีซั่นของธุรกิจ เนื่องจากทั้งชาวไทยและต่างชาติมักเข้ามารับบริการศัลยกรรมและมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยรายได้จากกลุ่มลูกค้าต่างชาติในไตรมาสนี้มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นไปถึง 27% จากปัจจุบันที่ 25% โดยกลุ่มลูกค้าชาวอินโดนีเซียคิดเป็นสัดส่วน 38% ของรายได้จากลูกค้าต่างชาติ และมีอัตราการเติบโตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 108% รองลงมาคือกลุ่มลูกค้าชาวจีนที่มีอัตราการเติบโต 40%           ในส่วนของศัลยกรรมยอดนิยม ยังคงเป็นการทำจมูก การปลูกผม และการดูดไขมัน ซึ่งยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในหมู่ลูกค้าชาวต่างชาติ           ทีมข่าวหุ้นวิชั่น พบรายงานสถิติ ตลาดศัลยกรรมในประเทศไทยมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2567 โดยมูลค่าตลาดศัลยกรรมและความงามคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 71,000-72,000 ล้านบาท ซึ่งขยายตัวประมาณ 2.3%-3.6% เมื่อเทียบกับปี 2566 หลังจากสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย การกลับมาของกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติและในประเทศทำให้ธุรกิจเริ่มฟื้นตัว แต่ยังไม่ถึงระดับก่อนโควิด หุ้นความงามจึงน่าสนใจสำหรับนักลงทุน เนื่องจากมีโอกาสเติบโตสูงจากการขยายธุรกิจในด้านความงามและศัลยกรรมซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในภูมิภาคเอเชีย รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

วิเคราะห์ MASTER คาดกำไรQ3ที่111ล้าน

วิเคราะห์ MASTER คาดกำไรQ3ที่111ล้าน

          หุ้นวิชั่น -  MASTER กำไร 3Q24E โต YoY/QoQ, 4Q24E โตต่อจาก high season บล.ดาโอ แนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 64.00 บาท อิง 2024E PER 36.0x           บล. ดาโอ ประเมินว่า MASTER กำไรสุทธิ 3Q24E ที่ 111 ล้านบาท (+11% YoY, +27% QoQ) กำไรขยายตัว YoY จาก 1) รายได้รวมขยายตัว +8% YoY จากรายได้ surgery ขยายตัว และฐานลูกค้าต่างชาติขยายตัว, 2) GPM ทรงตัว YoY และ 3) equity income ที่ 13 ล้านบาท (3Q23 = 0 ล้านบาท, 2Q24 = 7 ล้านบาท) ด้านกำไรที่โต QoQ จาก GPM ที่ขยายตัวจาก utilization rate ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น, SG&A expenses ที่ลดลง เนื่องจากใน 2Q24 มีค่าใช้จ่าย one-time expense ที่ 9 ล้านบาท และ equity income ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการรับรู้ V Square เต็มไตรมาสและเริ่มรับรู้ S45 เป็นเวลา 2 เดือน           คงประมาณการกำไรสุทธิปี 2024E ที่ 532 ล้านบาท (+28% YoY) แนวโน้มกำไรสุทธิ 9M24E ที่ 57% ของประมาณการกำไรสุทธิปี 2024E           แต่มองว่า ผลประกอบการ 4Q24E จะเติบโตเด่น YoY, QoQ ทั้งจาก high season และลูกค้าที่เลื่อนการทำศัลยกรรมมาเป็น 4Q24E จากน้ำท่วม           ด้าน GPM ขยายตัวเด่นจาก utilization rate ที่ดีขึ้น อีกทั้งยังรับรู้ equity income ที่เพิ่มขึ้น ราคาหุ้นทรงตัวเมื่อเทียบกับ SET ใน 1 เดือนที่ผ่านมา ปัจจุบัน MASTER เทรดอยู่ที่ PER 26.1x           มองว่าราคาปัจจุบันยังน่าสนใจ โดย 2023-25E EPS CAGR +27% โดยมี short term catalyst จากกำไร 4Q24E ที่จะฟื้นตัวโดดเด่น

[PR News] MASTER คว้า 3 รางวัล  BEST CEO -Outstanding CFO- BEST IR จากเวที IAA Awards 2024

[PR News] MASTER คว้า 3 รางวัล BEST CEO -Outstanding CFO- BEST IR จากเวที IAA Awards 2024

            บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER ผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช Specialty Hospital ผู้นำอุตสาหกรรมด้านความงามของประเทศไทยและเอเชีย ได้รับ 3 รางวัลสำคัญจากเวที IAA Awards for Listed Companies 2024 ได้แก่ Best CEO, Outstanding CFO และ Best IR ตอกย้ำความเชื่อมั่นของนักวิเคราะห์และนักลงทุนในศักยภาพและความสำเร็จของบริษัท ภายใต้การนำของ “คุณลภัสรดา เลิศภานุโรจ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ที่มุ่งมั่นพาบริษัทเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่อง             นางสาวลภัสรดา เลิศภานุโรจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เข้ารับ 3 รางวัลคุณภาพ IAA Awards for Listed Companies 2024 จัดขึ้นโดยสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน (IAA) ได้แก่ รางวัล Best CEO , รางวัล Outstanding CFO และรางวัล Best IR (Investor Relations) ในหมวดกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก และ mai  จากการโหวตของนักวิเคราะห์และสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน             ทั้งนี้ IAA Awards for Listed Companies 2024 ได้จัดโครงการพิจารณามอบรางวัล CEO, CFO และ IR ยอดเยี่ยมในชื่อโครงการ IAA Awards: Awards for Listed Companies 2024 โดยพิจารณาจากผลการโหวตของนักวิเคราะห์ และผู้จัดการกองทุน รวมทั้งคณะกรรมการของสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน เพื่อประกาศเกียรติคุณและยกย่องผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารงาน ซึ่งนำพาให้บริษัทประสบความสำเร็จ และเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้น ซึ่งการประสานกับนักวิเคราะห์ในการให้ข้อมูลพี่ฐานที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการส่งต่อบทวิเคราะห์ต่างๆ ไปยังนักลงทุนทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียม             รางวัล Best CEO สะท้อนความตั้งใจในการทำธุรกิจ ภายหลังเข้ารับตำแหน่ง (CEO – Chief Executive Officer) ที่มีผลตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ. 2567 ที่ผ่านมา โดยผลประกอบการของ MASTER ผ่านการพิสูจน์และยืนยันด้วยผลลัพธ์การเติบโตแบบก้าวกระโดด เริ่มจากผลประกอบการปี 2563 จนถึงปัจจุบัน โดย CEO มีความเชื่อว่าผลลัพธ์เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้แต่ละบุคคลมีคุณค่า             “เมื่อเกิดปัญหาให้แก้ที่คนก่อนแก้ที่งาน ชาว MASTER เรียกตัวเองว่า Professional Sports Team สร้างตำนานการเติบโตที่แตกต่างด้วยความแข็งแกร่ง และผ่านการพิสูจน์มาแล้วด้วยผลลัพธ์ของการเติบโตแบบก้าวกระโดด ทำให้เรียกได้ว่า ตลอดเส้นทางการเข้าร่วมบริหารงาน ด้วยกันกับ หมอเส หรือ นพ.ระวีวัฒน์ มาศฉมาดล CEO of MASTER Group พวกเรามีความพร้อมและมุ่งมั่นที่จะพากลุ่มโรงพยาบาลมาสเตอร์พีชให้เติบโตอย่างยั่งยืน” นางสาวลภัสรดา กล่าว             MASTER ในวันนี้ สะท้อนการดำเนินธุรกิจตามยุทธศาสตร์การเป็นผู้นำตลาดของบริษัทที่วางไว้ สอดรับกับแนวทางการพัฒนาและก้าวสู่ผู้นำ Specialty Hospital กลุ่มโรงพยาบาลเฉพาะทางในอนาคต โดยมุ่งการเติบโตทั้ง Organic และ Inorganic ด้วยการนำกลยุทธ์แบบ Merger and Partnership (M&P) มาประยุกต์ใช้ ซึ่งเป็นแนวทางการขยายโอกาสทางธุรกิจของ MASTER พร้อมด้วยการสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ให้โดดเด่น             รางวัล OUTSTANDING CFO โดย MASTER วางเป้าหมายสร้างผลการดำเนินงานให้เติบโตอย่างต่อเนื่องทุกๆ มิติ ช่วยเสริมศักยภาพและความแข็งแกร่ง เพื่อสะท้อนไปยังภาพของผลกำไรให้ดีขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้า พันธมิตรทางธุรกิจ รวมไปถึงผู้ถือหุ้น และนักลงทุน เพื่อการขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวต่อไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน             รางวัล Best IR ถือเป็นอีก 1 ความภาคภูมิใจที่ทาง MASTER เชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร และสื่อสารข้อมูลของกลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลศัลยกรรมความงามได้เข้าถึงนักลงทุน นักวิเคราะห์ และผู้จัดการกองทุน ซึ่งบริษัทฯ พร้อมสนับสนุน เรื่องของการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง มีคุณภาพ มีความครบถ้วน รอบด้าน และสื่อสารไปอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ทุกภาคส่วนให้มากที่สุด

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011