ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#KTC


KTC ลุยโครงการ ”เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” คาดเพิ่มยอดยอดสินเชื่อใหม่ 3,000 ล้านบ.

KTC ลุยโครงการ ”เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” คาดเพิ่มยอดยอดสินเชื่อใหม่ 3,000 ล้านบ.

          หุ้นวิชั่น - KTC เดินหน้าสร้างโอกาสทางการเงินให้กับคนไม่ท้อ ผนึกความร่วมมือกับ ไปรษณีย์ไทย เปิดโครงการนำร่อง ขยายช่องทางให้คนไทยเข้าถึงแหล่งสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” ได้สะดวก รวดเร็ว ครบจบ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ไทย 45 แห่ง ในพื้นที่ 5 จังหวัด ผ่านเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ เพียงลูกค้าเตรียมเอกสารสมัครให้พร้อม อนุมัติไวภายใน 1 ชั่วโมง รับเงินทันที วงเงินใหญ่สูงสุด 1 ล้านบาท ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน โดยตั้งเป้าหมายยอดสินเชื่อใหม่ที่ 3,000 ล้านบาท           นางสาวเรือนแก้ว เกษมสวัสดิ์ศรี ผู้บริหารสูงสุด สายงานสินเชื่อรถยนต์ “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในปี 2568 นี้ สภาพเศรษฐกิจโดยรวมยังมีการชะลอตัวต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า ซึ่งอาจส่งผลให้การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆ ต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย อย่างไรก็ดี พอร์ตสินเชื่อธุรกิจ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” ในปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบันยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ด้วยการใช้กลยุทธ์ที่เน้นการเติบโตในเชิงคุณภาพตั้งแต่การคัดกรองสมาชิกเข้าพอร์ต และการบริหารจัดการพอร์ตลูกหนี้ตลอดวงจรของการเป็นสมาชิกกับเคทีซี สำหรับกลยุทธ์การทำธุรกิจ "เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน" ในปี 2568 นี้ ตั้งเป้าหมายยอดสินเชื่อใหม่ที่ 3,000 ล้านบาท โดยมุ่งขยายพอร์ตสินเชื่อผ่านช่องทางธุรกิจต่างๆ เพื่อรุกเข้าถึงพนักงานประจำและเจ้าของกิจการขนาดเล็กที่มีรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ และต้องการเงินทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจ ทำอาชีพเสริมและเพิ่มสภาพคล่อง ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย สะดวกและปลอดภัยด้วยระบบการรักษาข้อมูลลูกค้าที่ได้มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของข้อมูล ISO/IEC 27001: 2013 และมาตรฐานการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล ISO/IEC 27701: 201 โดยลูกค้าเคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงินจะได้รับวงเงินใหญ่สูงสุด 100% ของราคาประเมิน อนุมัติไวภายใน 1 ชั่วโมง รับเงินทันที โดยไม่ต้องมีคนค้ำประกัน”           "การร่วมมือกับไปรษณีย์ไทยในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญในการเข้าหากลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพราะไปรษณีย์ไทยมีเครือข่ายที่ครอบคลุม และเป็นสถานที่ที่ประชาชนคุ้นเคยและใช้บริการอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ บริการรับสมัครสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” ณ จุดบริการในที่ทำการไปรษณีย์ไทย ถูกออกแบบมาให้ง่าย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่เข้ารับบริการที่ไปรษณีย์ไทย ที่มีความต้องการเงินทุนเพื่อนำไปลงทุนต่อยอดธุรกิจ โดยสามารถเข้ารับคำปรึกษาเกี่ยวกับสินเชื่อรถแลกเงินได้จากเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ที่ผ่านการอบรม ซึ่งสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์สินเชื่อ รวมไปถึงทำรายการรับสมัครสินเชื่อเคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ให้กับผู้มาใช้บริการได้ทันที โดยในช่วงแรก จะเริ่มให้บริการที่จุดบริการไปรษณีย์ไทย 45 แห่ง”           ดร.วราภรณ์ ข้องเกี่ยวพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานกลยุทธ์และขับเคลื่อนองค์กร บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า “ไปรษณีย์ไทยทำงานร่วมกับเคทีซีมาอย่างต่อเนื่อง โดยพี่ไปรฯ หรือบุรุษไปรษณีย์ทำหน้าที่ส่งจดหมายใบแจ้งหนี้ บริการจัดเก็บเอกสารชุดสัญญา และบริการพิสูจน์ยืนยันตัวตน (e-KYC) วันนี้ไปรษณีย์ไทยและเคทีซีได้พัฒนาความร่วมมือทางธุรกิจใหม่ร่วมกัน ในการแนะนำลูกค้าที่ประสงค์จะใช้บริการสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ ภายใต้ผลิตภัณฑ์ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” ในรูปแบบการสรรหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เป็นเจ้าของรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ และถือกรรมสิทธิ์ในเล่มทะเบียนรถ โดยมี 2 รูปแบบการให้บริการ คือ 1. ลูกค้าสนใจสมัครสินเชื่อและฝากข้อมูลที่ช่องทางของไปรษณีย์ไทยและทางเคทีซีติดต่อกลับเพื่อให้บริการรับสมัครสินเชื่อ และ 2. ให้บริการรับสมัครและอนุมัติสินเชื่อโดยเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไทยแบบเรียลไทม์” “ไปรษณีย์ไทย เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้านสื่อสารและขนส่งหลักของชาติ ซึ่งมีเครือข่ายที่ทำการไปรษณีย์ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ จึงเป็นช่องทางสำคัญในการเข้าถึงประชาชนที่มีความสนใจในการสมัครสินเชื่อฯ ที่ยังไม่เคยเข้าถึงบริการทางการเงิน (Underserved) และกลุ่มที่อาจไม่ได้รับการดูแลทางการเงินอย่างเพียงพอ (Unserved) และด้วยศักยภาพของพนักงานไปรษณีย์ที่สามารถเรียนรู้และพัฒนาเพื่อยกระดับทักษะใหม่ๆ รวมทั้งไปรษณีย์ไทยยังเล็งเห็นถึงความสำคัญในการสนับสนุนให้ผู้ใช้บริการไปรษณีย์ได้ต่อยอดธุรกิจและการใช้ชีวิต จากการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบที่น่าเชื่อถือ ไปรษณีย์ไทยจึงได้ร่วมกับ เคทีซีเปิดช่องทางให้พนักงานไปรษณีย์ไทยสามารถแนะนำผลิตภัณฑ์สินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” ให้กับประชาชนที่สนใจ”           “การนำร่องความร่วมมือกับเคทีซี จะดำเนินการในลักษณะการแนะนำผลิตภัณฑ์ และการให้บริการรับสมัครสินเชื่อจนลูกค้าได้รับอนุมัติและเงินโอนเข้าบัญชี โดยการปรับใช้ศักยภาพของเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ ที่ผ่านการอบรมจากเคทีซี (Employee Program) เพื่อทำความเข้าใจในกระบวนการและเงื่อนไขในการขอสินเชื่อฯ เพื่อให้ผู้ขอสินเชื่อฯ เลือกวงเงินสินเชื่อให้เหมาะสมตรงตามความต้องการ และได้รับอนุมัติสินเชื่อตามที่ยื่นขอ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาทักษะและส่งเสริมให้พนักงานไปรษณีย์สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดนำร่องต่างๆ โดยนอกจากการสมัครสินเชื่อ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ไทย 45 แห่ง นำร่องใน 5 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม แล้ว ยังสามารถสมัครออนไลน์ผ่านเว็บไซต์และ โซเชียล มีเดียของไปรษณีย์ไทย หรือผ่านแอปพลิเคชัน Wallet@Post ได้อีกด้วย ทั้งนี้ หากผลการตอบรับจากประชาชนผู้ใช้บริการเป็นไปในทิศทางที่ดี อาจมีการขยายพื้นที่ไปยังจังหวัดอื่นๆ ที่มีความต้องการเข้าถึงบริการทางด้านสินเชื่อต่อไป”           นางสาวเรือนแก้วกล่าวเพิ่มเติมว่า "ในอนาคต “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” ยังมีแผนจะขยายเครือข่ายพันธมิตรเพื่อเพิ่มช่องทางเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมมากขึ้น เช่นเดียวกับที่ได้ผสานความร่วมมือกับไปรษณีย์ไทยในวันนี้ รวมถึงพัฒนาสิทธิประโยชน์ต่างๆ สำหรับสมาชิกสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เพื่อให้สามารถใช้บริการได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น โดยทั้งหมดนี้เป็นไปตามเป้าหมายของเคทีซีในการทำให้การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเป็นเรื่องง่าย สะดวกรวดเร็ว เพื่อเป็นทางเลือกให้กับคนไม่ท้อได้ต่อยอดความสำเร็จและสร้างรายได้จากการทำธุรกิจต่อไป"

KTC ยอดช็อปโค้งแรกโตสนั่น Easy E-Receipt หนุน - เป้า 50 บ.

KTC ยอดช็อปโค้งแรกโตสนั่น Easy E-Receipt หนุน - เป้า 50 บ.

               หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด ระบุถึง KTC ว่า KTC รายงานกำไรสุทธิปี 24 เท่ากับ 7.39 พันล้านบาท +2%YoY หนุนจากการโอนกลับหนี้สงสัยจะสูญภายในปีที่ 1.8 พันล้านบาท (เทียบกับปีก่อนที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายราว 970 ล้านบาท) แต่ทั้งนี้ภาพรวมของผลขาดทุนทางด้านเครดิต +15%YoY จากการเพิ่มขึ้นใน ECL ของสินเชื่อบุคคล จาก 9.9% เป็น 11.5% ของรายได้รวม จากการขยายตัวของสินเชื่อบุคคล โดยเฉพาะสินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ที่ +31.8%YoY ส่วนสินเชื่อบัตรเครดิต -0.7%YoY ลดลงเล็กน้อยจากอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้น และการหยุดปล่อยสินเชื่อลูกหนี้สัญญาเช่า -33.8%YoY ส่งผลให้สินเชื่อทั้งปี -1.1%YoY จากความต้องการสินเชื่อที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าและหนี้ภาคครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ด้าน NPLs ratio อยู่ที่ 1.95% และมี NPL coverage อยู่ในระดับสูงที่ 369.3% โดยลูกหนี้ S2 และ S3 ลดลง ขณะที่ credit cost ปรับตัวขึ้นเป็น 6.1% จากปีก่อนที่ 5.2% ตามนโยบายการตัดหนี้สูญเพิ่มขึ้น ประกาศจ่ายปันผล 1.32 บาท คิดเป็น Div. yield ที่ 2.8% ขึ้น XD 17 เม.ย. แนวโน้ม 1Q25F เติบโตแข็งแกร่ง                แนวโน้ม 1Q25F คาดว่าจะขยายตัวทั้ง QoQ และ YoY โดยได้ประโยชน์จากมาตรการ Easy E-Receipt ช่วยเพิ่มยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต โดยหมวดที่มียอดการใช้จ่ายปรับตัวขึ้นได้แก่หมวดวาไรตี้สโตร์ เช่น การช้อปปิ้งผ่านช่องทางออนไลน์, บริการสั่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงรับอาสงค์จากสิทธิพิเศษของร้านค้าที่มีการผ่อน 0% เช่นในหมวดเทเลคอม หรือ โทรศัพท์มือถือ ส่งผลให้ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเป็นไปตามเป้าทั้งปีที่ +10% ส่วนพอร์ตสินเชื่อทั้งหมดจะขยายตัว 4-5% ได้แรงหนุนจาก KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ส่วน NPLs ratio ตั้งเป้าให้ไม่เกิน 2% พร้อมแนวโน้มการตั้งสำรองและค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่ลดลงพันล้านบาท +7%YoY                โดยในปี 25F เราคาดสินเชื่อจะขยายตัว 4% ผ่านยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต +10% สินเชื่อ KTC Proud +3% และสินเชื่อพี่เบิ้ม รถแลกเงิน ปล่อยใหม่ราว 3 พันล้านบาท ด้าน NIM คาดว่าจะทรงตัวจากปีก่อนที่ 13% จากการปรับสัดส่วนสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อจดทะเบียนมากขึ้น ช่วยชดเชย CoF ที่สูงขึ้น                ด้านคุณภาพลูกหนี้คาดว่าจะควบคุมได้ดีขึ้นจากการเน้นกลุ่มลูกค้าบัตรเครดิตระดับบนที่มีวินัยการชำระหนี้ดี โดยคาด NPLs ratio ที่ 1.9% และ Credit cost ที่ 5% ลดลงจากปีก่อนที่ 6.1% ขณะที่ C/I มีโอกาสปรับขึ้นสู่ระดับ 37.5% (ปีก่อนที่ระดับ 35%) เนื่องจากมีการลงทุนในระบบ IT เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน                เราขอแนะนำ “ถือ” โดยมีราคาเป้าหมายเท่ากับ 50.00 บาท อิง PBV 2.95 เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี – 1 SD โดย upside ปัจจุบันเริ่มจำกัดจาก ROE ที่ยังอยู่ในแนวโน้มขาลงจากการเพิ่มขึ้นของ Equity ที่มากกว่ากำไรสุทธิ ซึ่งเราคาดการณ์กำไรสุทธิในปี 25-27F มีการเติบโตเพียง 5% CAGR แต่ทั้งนี้ตลาดติดตามผลบวกจากมาตรการคุณสู้เราช่วย และ sentiment บวกจากแนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย ปัจจัยเสี่ยง: ภาวะเศรษฐกิจที่เปราะบาง, คุณภาพลูกหนี้ที่อ่อนแอ, แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาลง, มาตรการจากทางการ ประเด็นที่มีนัยยะสำคัญด้านความยั่งยืน: การต่อต้านการคอร์รัปชั่นและการติเสินบน (G), นวัตกรรมดิจิทัล (G), การกำกับดูแลกิจการ (G)

KTC ลุ้นผลงานทำนิวไฮ ชี้ราคาเป้าหมาย 55 บ.

KTC ลุ้นผลงานทำนิวไฮ ชี้ราคาเป้าหมาย 55 บ.

               หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) คงคำแนะนำ BUY "KTC" และคงราคาเป้าหมายปี 2025 (TP25F) ที่ 55 บาท โดยเราชอบ KTC เนื่องจากมีปัจจัยหนุนสำคัญ ได้แก่ (i) คาดว่ามาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะช่วยลดปัญหาการตกชั้นของลูกหนี้ (ii) บริษัทได้รับประโยชน์จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง (iii) จุดแข็งของบริษัทอยู่ที่โครงสร้างงบดุลที่แข็งแกร่ง และ (iv) คาดว่ากำไรสุทธิในปี 2025 จะสามารถทำจุดสูงสุดใหม่ต่อเนื่องจากปี 2024                สำหรับกำไรสุทธิไตรมาสที่ 1 ปี 2025 (1Q25F) เราคาดว่าจะอยู่ที่ 1,920 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% y-y และ 2% q-q ปัจจัยหนุนหลักมาจากรายได้รวมที่เติบโตขึ้นจาก ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM), รายได้ค่าธรรมเนียม-บริการ และหนี้สูญรับคืน ในขณะที่ค่าใช้จ่ายปรับตัวลดลง โดยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX) ลดลงตามปัจจัยฤดูกาล และค่าใช้จ่ายสำรอง (ECL) ลดลงจากคุณภาพสินทรัพย์ที่บริหารได้ดี ทั้งนี้ อัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL Ratio) คาดว่าจะอยู่ที่ 2.00% ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า (4Q24)                เราคาดว่า KTC จะรายงานกำไรสุทธิไตรมาสที่ 1 ปี 2025 (1Q25F) ที่ 1,920 ล้านบาท ในวันที่ 18 เมษายน 2025 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลัก ได้แก่ (i) รายได้ดอกเบี้ย (NII) เพิ่มขึ้น 4% y-y และ 1% q-q เนื่องจาก NIM ปรับตัวขึ้นเป็น 13.6% จาก 13.2% ใน 1Q24 และ 13.5% ใน 4Q24 ซึ่งได้รับอานิสงส์จากสัดส่วนสินเชื่อบุคคลที่เพิ่มขึ้น (ii) รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย (Non-NII) เพิ่มขึ้น 2% y-y จากการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียม-บริการและหนี้สูญรับคืน (iii) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX) ลดลง 3% q-q ตามปัจจัยฤดูกาล และ (iv) ค่าใช้จ่ายสำรอง (ECL) ลดลง 3% q-q จากคุณภาพสินทรัพย์ที่บริหารได้ดี ซึ่งส่งผลให้หนี้เสียขั้นต้น (Gross NPL) ลดลง 2% q-q และทำให้อัตราส่วน NPL Ratio อยู่ที่ 2.00% ใกล้เคียงกับ 1.95% ในไตรมาสที่ 4 ปี 2024 (4Q24)                สำหรับสินเชื่อรวม คาดว่าจะลดลง 5% q-q และ 5% YTD โดยหลักมาจากสินเชื่อบัตรเครดิต เนื่องจากปัจจัยฤดูกาลที่ทำให้ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรในไตรมาสที่ 4 ของทุกปีอยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นรูปแบบปกติของธุรกิจ                สำหรับไตรมาสที่ 2 ปี 2025 (2Q25F) เราคาดว่ากำไรสุทธิจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบปีต่อปี (y-y) แต่จะทรงตัวเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส (q-q) โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการเติบโตของรายได้รวม ทั้งจากสินเชื่อรวม, NIM, รายได้ค่าธรรมเนียม-บริการ และหนี้สูญรับคืน รวมถึงค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) ที่ลดลง                เรายังคงคำแนะนำ BUY และคงเป้าหมายราคา (TP25F) ที่ 55 บาท โดยเรามองว่า KTC มีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ประกอบกับมาตรการของ ธปท. และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่คาดว่าจะช่วยลดปัญหาการตกชั้นของลูกหนี้ อีกทั้งบริษัทยังได้รับประโยชน์จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง และมีโครงสร้างงบดุลที่แข็งแกร่ง ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้กำไรสุทธิในปี 2025 สามารถทำจุดสูงสุดใหม่ต่อจากปี 2024 ได้

KTC เจาะลูกค้า Hi-end กด NPL ต่ำ โบรกคาดกำไรปีนี้จ่อนิวไฮ เป้า 56 บ.

KTC เจาะลูกค้า Hi-end กด NPL ต่ำ โบรกคาดกำไรปีนี้จ่อนิวไฮ เป้า 56 บ.

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ระบุ KTC 4Q67 กำไร +7.2% YoY ผลหลักจากรายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมาก บวกกับหนี้สูญรับคืนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้กำไรทั้งปี 67 ยังทำนิวไฮต่อเนื่องอีกปี โดย +1.9% YoY ยังลุ้นกำไรปี 68 ทำนิวไฮต่อเนื่อง           หันมาเน้นเจาะกลุ่มลูกค้า Hi-end ในธุรกิจบัตรเครดิต ถือเป็นลูกค้าชั้นดี ทำให้คุมคุณภาพสินทรัพย์ได้ดี โดย ณ สิ้นปี 67 มี NPL เพียง 1.95%           รับประโยชน์จากมาตรการ Easy e-receipt ช่วง 16 ม.ค.-28 ก.พ. 68 กระตุ้นยอดใช้จ่ายผ่านบัตร และดีต่อผลประกอบการ 1Q68           แนวรับ = 50/50.25 แนวต้าน = 52/52.5           KTC | ซื้อ | TP=56 บ.

abs

ปตท. แข็งแกร่งร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

KTC จ่ายปันผล 1.32 บาท ขึ้น XD 17 เม.ย. จ่าย 2 พ.ค.

KTC จ่ายปันผล 1.32 บาท ขึ้น XD 17 เม.ย. จ่าย 2 พ.ค.

         หุ้นวิชั่น - นายพีระพงศ์ พิตรพิบูลพาทิศ ผู้บริหารสูงสุดสายงานสำนักกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC แจ้งอนุมัติการจ่ายเงินปันผล 1.32 บาท วันที่จ่ายปันผล 2 พ.ค. 2568 วันกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับปันผล (Record date) 18 เม.ย. 2568 วันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล(XD) 17 เม.ย. 2568 จ่ายปันผลจาก งวดดำเนินงานวันที่ 01 ม.ค. 2567 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2567

KTC คว้า SET ESG Ratings : AAA  มุ่งสู่ดิจิทัลอย่างยั่งยืน   

KTC คว้า SET ESG Ratings : AAA มุ่งสู่ดิจิทัลอย่างยั่งยืน  

          หุ้นวิชั่น - เป็นเรื่องน่ายินดีอีกครั้งที่ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC คว้ารางวัลหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับสูงสุด AAA ตอกย้ำการเป็นองค์กรสู่ดิจิทัลอย่างยั่งยืน           โดย นางรจนา  อุษยาพร  ผู้บริหารสูงสุดสายงานการเงิน บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปี 2568 บริษัทฯ วางแผนยุทธศาสตร์ยกระดับทั้งองค์กรสู่ดิจิทัลอย่างยั่งยืน “Building  a Sustainable Future Through Digital Transformation” เตรียมพร้อมระบบไอทีและแผนการพัฒนาโครงสร้างการทำงานเชิงลึก ผลักดันบุคลากรทุกฝ่ายติดอาวุธความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เสริมประสิทธิภาพการทำงาน ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อสร้างประสบการณ์สมาชิกแบบครบวงจร พร้อมขยายฐานสมาชิกให้เติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่การบริหารพอร์ตสินเชื่อคุณภาพ           โดยปี 2567 ที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตเคทีซี ดิจิทัล ได้รับรางวัลนวัตกรรมและมาตรฐานหลายรางวัล ”บัตรเครดิตเคทีซี ดิจิทัล” เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจ เพื่อให้สมาชิกบัตรเครดิตมั่นใจและรู้สึกปลอดภัยทุกครั้งที่มีการใช้จ่ายบัตรฯ ผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งได้มีการเปิดตัวบัตรเครดิตเคทีซี ดิจิทัล ครั้งแรกในประเทศไทยด้วย ชูความพิเศษโดดเด่นของบัตรเครดิตเคทีซี ดิจิทัล คือ ฟีเจอร์ Digital First, Dynamic CVV และ Numberless Card ซึ่งสมาชิกสามารถเลือกรับบัตรพลาสติกใส ไม่มีหมายเลขบนหน้าบัตรและไม่มีแถบแม่เหล็ก เพื่อยกระดับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวในการทำธุรกรรม           นอกจากนี้ ได้รับรางวัลในโครงการรางวัลพระราชทาน Thailand Corporate Excellence Awards 2024 สาขาความเป็นเลิศด้านสินค้า / การบริการ (Product / Service Excellence Award) จัดโดยสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ร่วมกับสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย           รวมทั้งเคทีซีได้รับเลือกจาก S&P Global ให้ปรากฏรายชื่ออยู่ในทำเนียบ The Sustainability Yearbook 2024 อย่างต่อเนื่อง ในกลุ่มอุตสาหกรรม Diversified Financial Services and Capital Markets ในฐานะองค์กรที่มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งการมีผลประกอบการที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) ซึ่งมีบริษัทที่เข้าร่วมการประเมินความยั่งยืนขององค์กร (Corporate Sustainability Assessment: CSA) จัดโดย S&P Global มากกว่า 9,400 บริษัท จาก 62 อุตสาหกรรมทั่วโลก           เคทีซียังได้รับการต่ออายุการรับรองระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ISO/IEC 27001:2013 และระบบบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล ISO/IEC 27701:2019 โดยเป็นสถาบันการเงินรายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ต่ออายุการรับรองมาตรฐานทั่วองค์กร ครอบคลุมทั้งศูนย์ข้อมูล (Data Center) และทุกกระบวนการทำงานตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำของธุรกิจหลัก บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคลและการรับชำระเงิน ซึ่งการได้รับมาตรฐานสำคัญต่อเนื่องนี้ ช่วยตอกย้ำความเชื่อมั่นและเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่าเคทีซีมุ่งเน้นความสำคัญกับระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ในการปกป้องข้อมูลของลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนให้ปลอดภัยจากการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต           เรียกว่า เคทีซี เป็นสถาบันการเงินแห่งแรกในเอเชีย แปซิฟิก ได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยในการรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยบัตรเครดิต (The Payment Card Industry Data Security Standard - PCI DSS) Version 3.2.1 สำหรับบริการรับชำระ จากสถาบันรับรองมาตรฐานแห่งชาติของประเทศอังกฤษ (BSI) ซึ่งจัดการควบคุมความปลอดภัยโดยสภามาตรฐานความปลอดภัยอุตสาหกรรมบัตรชำระเงิน ประกอบด้วย 5 ยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการเครือข่ายชำระเงินระหว่างประเทศ เพื่อช่วยป้องกันการละเมิดข้อมูลผู้ถือบัตรเครดิต           การประกอบธุรกิจบัตรเครดิต สิ่งสำคัญที่สุดคือการป้องกันและรักษาข้อมูลบัตรตลอดกระบวนการชำระเงิน การปฏิบัติตามมาตรฐาน PCI DSS จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กรที่จะต้องจัดเก็บ ประมวลผล หรือส่งข้อมูลบัตรเครดิตให้ปลอดภัย  ซึ่งเคทีซีมุ่งเน้นการปฏิบัติและพัฒนาเพื่อสร้างมาตรฐานสากล โดยคำนึงถึงคน กระบวนการและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในระบบการประมวลผลบัตรชำระเงิน ซึ่งจะมุ่งเน้นการจัดการความปลอดภัย ทั้งนโยบาย ขั้นตอน ระบบและการออกแบบซอฟแวร์ที่เชื่อถือได้ เพื่อให้ผู้ถือบัตรเครดิตมีความมั่นใจว่าข้อมูลบัตรเครดิตจะได้รับความคุ้มครองตามมาตรฐานสากล           ที่ผ่านมา เคทีซี ร่วมกับ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนโครงการ “โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” (Green Hotel) โดยเคทีซีจับมือพันธมิตรโรงแรม มอบสิทธิพิเศษให้สมาชิก ครอบคลุมบริการ ห้องพัก ห้องอาหารและสปา พร้อมวางแผนต่อยอดขยายความร่วมมือ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวแนวใส่ใจธรรมชาติ และส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจสำหรับธุรกิจโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

KTC ยืนหนึ่ง คว้ามูลค่าแบรนด์สูงสุดปี67

KTC ยืนหนึ่ง คว้ามูลค่าแบรนด์สูงสุดปี67

           หุ้นวิชั่น - วันนี้ (30 มกราคม 2568) นางพิทยา วรปัญญาสกุล (ขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร "เคทีซี" หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ขึ้นรับโล่เกียรติยศในฐานะองค์กรที่มีมูลค่าแบรนด์สูงสุดประจำปี 2567 (Thailand’s Top Corporate Brand Value 2024) ในหมวดธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ ด้วยมูลค่าแบรนด์ 92,847 ล้านบาท จากศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ  ภูริวัชร (ซ้าย)  อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 6 ที่เคทีซีได้รับรางวัลนี้ โดยพิธีมอบรางวัลจัดขึ้นที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท            พิทยา วรปัญญาสกุล กล่าวถึงการได้รับรางวัลในครั้งนี้ว่า “ขอบคุณทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มอบรางวัลอันทรงคุณค่านี้ให้กับเคทีซีอีกวาระหนึ่ง ซึ่งเป็นการสะท้อนความตั้งใจของเคทีซีที่ให้ความสำคัญกับเรื่อง   แบรนด์มาตลอดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทฯ จนเป็นวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกในดีเอ็นเอของคนเคทีซี เพราะพวกเราเชื่อว่าแบรนด์ที่ใช่ คือแบรนด์ที่เข้าใจความต้องการของสมาชิกและผู้บริโภค สร้างคุณค่าและความจริงใจอย่างลึกซึ้งยาวนาน จนได้รับความไว้วางใจ ผูกพันเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน และในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและมีผลต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้บริโภค เคทีซียังคงมุ่งเน้นการสร้างแบรนด์เพื่อให้เข้าถึงและสร้างความเชื่อมั่นกับผู้บริโภคอย่างยั่งยืน โดยพัฒนาองค์กรสู่ดิจิทัลผ่านคน-กระบวนการ-ไอที ในการเสริมประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์และบริการแบบครบวงจร เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับสมาชิกและผู้เกี่ยวข้องในทุกมิติ”            รางวัล ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brand เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยประเมินมูลค่าแบรนด์องค์กรในประเทศไทยและในอาเซียน ซึ่งริเริ่มโดยศาสตราจารย์กิตติคุณดร.กุณฑลี รื่นรมย์ หัวหน้าคณะผู้วิจัยและที่ปรึกษาหลักสูตร Master in Branding and Marketing และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกก์ ภทรธนกุล หัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการสร้างเครื่องมือวัดมูลค่า     แบรนด์องค์กรเป็นตัวเลขทางการเงิน หรือ CBS Valuation (Corporate  Brand Success Valuation) โดยใช้แนวคิดทางการเงิน การบัญชีและการตลาดมาบูรณาการร่วมกันออกมาเป็นสูตรในการคำนวณ ทำให้องค์กรทราบตัวเลขที่สะท้อนถึงมูลค่าแบรนด์ขององค์กร ซึ่งมูลค่าแบรนด์ที่ประเมินได้จะมีผลต่อการตัดสินใจของคู่ค้า นักลงทุนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัท ซึ่งอาจเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญขององค์กรในการดำเนินกลยุทธ์สู่ความยั่งยืนในระยะยาวต่อไป เพราะมูลค่าแบรนด์ คือ คุณค่าขององค์กรที่ถูกวัดออกมาด้วยวิธีการคำนวณที่ปราศจากอคติ การที่       แบรนด์จะได้รับการยอมรับจากลูกค้าหรือสังคมขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของสินค้าและการบริการ ช่องทางการขายและการส่งเสริมทางการตลาดแล้ว นโยบายและแนวทางปฏิบัติขององค์กรที่ชัดเจนในมุมของความรับผิดชอบต่อสังคมและการมีธรรมาภิบาลที่ดี ล้วนส่งผลกระทบต่อคุณค่าของแบรนด์องค์กร [PR News]

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

KTC กำไรปี 67 โต 7,437 ลบ. เสริมแกร่งด้วยไอที-สินเชื่อคุณภาพ

KTC กำไรปี 67 โต 7,437 ลบ. เสริมแกร่งด้วยไอที-สินเชื่อคุณภาพ

            หุ้นวิชั่น - กลุ่มบริษัทเคทีซี ประกาศปี 2567 กำไรต่อเนื่อง 7,437 ล้านบาท เสริมแกร่งองค์กรด้วยระบบไอทีและคุมพอร์ตสินเชื่อเติบโตคุณภาพ             เคทีซีและกลุ่มบริษัทเผยปี 2567 ทำกำไรสุทธิ 7,437 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.9% จากปี 2566 ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตสูงกว่าอุตสาหกรรม พอร์ตสินเชื่อรวมมีมูลค่า 111,162 ล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อรวม (NPL Ratio) อยู่ที่ 1.95% พร้อมเดินหน้าสู่องค์กรดิจิทัลด้วยการปรับโครงสร้างระบบไอที เสริมประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์และบริการ ควบคู่พัฒนาบุคลากรทำงานร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัล และบริหารคุณภาพพอร์ตสินเชื่อตลอดกระบวนการ (end to end) เติบโตด้วยความรับผิดชอบและเป็นธรรม อีกทั้งสานต่อมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ในหลายมิติ             นางพิทยา วรปัญญาสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC กล่าวถึงภาพรวมอุตสาหกรรมว่า “แม้ว่าภาพรวมธุรกิจสินเชื่อผู้บริโภคจะชะลอตัวลง จากสภาวะเศรษฐกิจที่ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายและสถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง การดำเนินธุรกิจของเคทีซีในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม-พฤศจิกายน 2567) ยังสามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2566 โดยสัดส่วนปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรอยู่ที่ 13.0% เพิ่มขึ้นจาก 12.1% ในขณะที่สัดส่วนลูกหนี้บัตรเครดิตเทียบกับอุตสาหกรรมอยู่ที่ 15.0% จาก 14.7% และสัดส่วนของลูกหนี้สินเชื่อบุคคล (ไม่รวมสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน) เทียบกับอุตสาหกรรมอยู่ที่ 6.6% จาก 6.3%”             “เคทีซีและกลุ่มบริษัทยังคงสร้างผลกำไรในปี 2567 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องอยู่ที่ 7,437 ล้านบาท ขณะที่พอร์ตสินเชื่อรวมมีมูลค่า 111,162 ล้านบาท ลดลง 1.1% ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทยังคงเน้นการเติบโตมูลค่าพอร์ตควบคู่ไปกับการคัดกรองคุณภาพภายใต้ระดับความเสี่ยงที่เหมาะสม ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยพอร์ตลูกหนี้บัตรเครดิตหดตัว 0.7% เป็นผลจากสภาพเศรษฐกิจที่มีส่วนให้ผู้บริโภคระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย รวมทั้งการปรับเพิ่มอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำ ขณะที่พอร์ตสินเชื่อบุคคลขยายตัวที่ 1.1% จากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” สำหรับ NPL Ratio อยู่ในระดับต่ำที่ 1.95% บรรลุตามกรอบเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ ≤ 2% อัตราการขยายตัวของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรในปี 2567 อยู่ที่ 10.1% โตกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม เป็นผลจากการจัดกิจกรรมการตลาดที่ตอบโจทย์ความต้องการสมาชิก”             บริษัทมีฐานสมาชิกรวม 3,488,156 บัญชี โดยแบ่งเป็นพอร์ตสมาชิกบัตรเครดิต 2,799,301 บัตร เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรเครดิตและดอกเบี้ยค้างรับรวม 73,954 ล้านบาท ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรในปี 2567 เท่ากับ 292,146 ล้านบาท NPL Ratio บัตรเครดิตอยู่ที่ 1.25% พอร์ตสมาชิกสินเชื่อบุคคลรวม 688,855 บัญชี คิดเป็นเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้สินเชื่อบุคคล และดอกเบี้ยค้างรับรวม 35,096 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นยอดเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เท่ากับ 3,015 ล้านบาท NPL Ratio สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 2.46% สำหรับสินเชื่อลูกหนี้ตามสัญญาเช่ามูลค่า 2,112 ล้านบาท โดยเคทีซีได้หยุดการปล่อยสินเชื่อประเภทนี้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 ปัจจุบันมุ่งเน้นการติดตามหนี้และบริหารจัดการคุณภาพพอร์ตสินเชื่อที่มีอยู่             ผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทเคทีซีสำหรับปี 2567 มีรายได้รวมเท่ากับ 27,456 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.0% จากปี 2566 จากรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียม รวมถึงหนี้สูญได้รับคืนที่ขยายตัวได้ดี ขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมเท่ากับ 18,190 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.9% จากค่าใช้จ่ายในการบริหาร โดยหลักๆ เพิ่มขึ้นจากค่าธรรมเนียมจ่ายที่สูงขึ้นตามปริมาณธุรกรรมที่ขยายตัว สำหรับผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) เพิ่มขึ้น 14.7% จากปี 2566 เป็นผลจากการตัดหนี้สูญที่เร็วขึ้นตามนโยบายการตัดหนี้สูญใหม่ และการตั้งสำรองสูงขึ้นตามหลักความระมัดระวัง นอกจากนี้ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นเป็น 2.8% จาก 2.6% ในปี 2566 เนื่องจากมีหุ้นกู้บางส่วนครบกำหนดและ เคทีซีมีการออกหุ้นกู้ใหม่ด้วยอัตราดอกเบี้ยจ่ายที่สูงขึ้นกว่าในอดีต เป็นผลให้ค่าใช้จ่ายทางการเงินเพิ่มขึ้น ขณะที่ผลตอบแทนเงินให้สินเชื่อสำหรับปี 2567 อยู่ที่ 14.5% ลดลงเล็กน้อยจากปี 2566 ซึ่งอยู่ที่ 14.8% ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิปี 2567 เท่ากับ 12.9% ลดลงจากปี 2566 ซึ่งอยู่ที่ 13.2%             ในส่วนของแหล่งเงินทุน ข้อมูลเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2567 กลุ่มบริษัทมีเงินกู้ยืมทั้งสิ้น 62,336 ล้านบาท (รวมหนี้สินตามสัญญาเช่า) แบ่งสัดส่วนโครงสร้างแหล่งเงินทุนเป็นเงินกู้ยืมระยะสั้น (รวมส่วนของเงินกู้ยืมและหุ้นกู้ที่ครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปี) 37% และเงินกู้ยืมระยะยาว 63% โดยแบ่งเป็นเงินกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคารกรุงไทยและบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน จำนวน 5,119 ล้านบาท สถาบันการเงินอื่น 5,000 ล้านบาท เงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารกรุงไทย 9,500 ล้านบาท และหุ้นกู้จำนวน 42,290 ล้านบาท อัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 1.78 เท่า ลดลงเมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 2.15 เท่า ต่ำกว่าภาระผูกพัน (Debt Covenants) ซึ่งกำหนดไว้ที่ 10 เท่า             เคทีซียังคงมีมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง ตามประกาศของ ธปท. ที่ สกช. 7/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending: RL) โดยบริษัทจะพิจารณาให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ และไม่ทำให้ลูกหนี้มีภาระหนี้เพิ่มขึ้นจากภาระหนี้เดิมเกินสมควร รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก www.ktc.co.th/about/news/meaure สำหรับการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่เป็นหนี้เรื้อรัง ( Severe Persistent Debt: SPD) ตลอดปี 2567 คิดเป็นช่วงเวลา 9 เดือน นับตั้งแต่เกณฑ์ SPD มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2567 และในเดือนสิงหาคม 2567 ธปท.ได้ออกข่าวว่า จะมีการขยายระยะเวลาการปิดจบหนี้จากภายในระยะเวลา 5 ปี เป็น 7 ปี เพื่อลดภาระค่างวดต่อเดือน ทั้งนี้ ต้องรอประกาศอย่างเป็นทางการเพื่อสรุปรายละเอียดเงื่อนไข โดยในปี 2567 เคทีซีมีลูกหนี้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ คิดเป็นผลกระทบต่อรายได้ดอกเบี้ยจริงลดลงไปประมาณ 300,000 บาทต่อเดือน โดยคำนวณจากลูกหนี้ที่เข้าเกณฑ์และเข้าร่วมโครงการ             เนื่องจากเคทีซีเป็นผู้ประกอบธุรกิจ Non-Bank ที่เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จึงเป็นหนึ่งในบริษัทที่ให้ความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย ในมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ภายใต้ชื่อโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” โดยสมาชิกสามารถลงทะเบียนผ่าน www.bot.or.th/khunsoo ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2567 – 28 กุมภาพันธ์ 2568 นอกจากนี้ สมาชิกบัตรเครดิตเคทีซียังมีสิทธิ์ร่วมมาตรการลดภาระทางการเงิน โดยการรับเครดิตดอกเบี้ยคืนเข้าบัญชีบัตรเครดิตของลูกหนี้ สำหรับสมาชิกบัตรที่ชำระหนี้ขั้นต่ำมากกว่าหรือเท่ากับ 8% ของยอดเงินที่เรียกเก็บภายในวันครบกำหนดชำระตามใบแจ้งยอดค่าใช้จ่าย ภายในระยะเวลาของมาตรการฯ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2568 – 31 ธันวาคม 2568 โดยสามารถศึกษารายละเอียดของมาตรการนี้ผ่านลิงค์ www.ktc.co.th/financial-relief-credit             นางพิทยากล่าวว่า “การดำเนินความช่วยเหลือลูกหนี้ตามมาตรการต่างๆ ข้างต้น เคทีซีพิจารณาแล้วคาดว่าจะไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทในภาพรวม สำหรับปี 2568 เคทีซีตั้งเป้ายกระดับองค์กรสู่ดิจิทัลอย่างยั่งยืน ภายใต้แผนกลยุทธ์ “Building a Sustainable Future Through Digital Transformation” ด้วยการเสริมประสิทธิภาพระบบไอทีและโครงสร้างการทำงานเชิงลึกระหว่างคนกับเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของสมาชิกในหลากหลายมิติ ควบคู่กับการบริหารพอร์ตสินเชื่อรวมให้เติบโต ภายใต้หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม ใน 3 ธุรกิจหลักคือ บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” และสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เพราะยังเห็นโอกาสเติบโตจากความต้องการสินเชื่อแต่ละประเภทของผู้บริโภค และที่สำคัญคือการดำเนินธุรกิจให้มีผลกำไรเติบโตต่อเนื่อง บริหารจัดการพอร์ตสินเชื่อคุณภาพให้ขยายตัวมากขึ้น ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้อย่างเหมาะสม โดยเคทีซีคาดว่าในปี 2568 ปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจะเติบโต 10% พอร์ตสินเชื่อรวมเติบโตประมาณ 4-5% พอร์ตสินเชื่อ “เคทีซี พราว” เติบโต 3% มูลค่าสินเชื่อใหม่ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เท่ากับ 3,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม หากในปี 2568 เศรษฐกิจไทยมีความแข็งแกร่ง เคทีซีเชื่อว่าธุรกิจจะสามารถเติบโตได้ดีกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้”

KTC เจาะกลุ่ม Hi-end NPL ต่ำ เร่งแคมเปญ High season คาด ปี 67 โกยกำไรนิวไฮ

KTC เจาะกลุ่ม Hi-end NPL ต่ำ เร่งแคมเปญ High season คาด ปี 67 โกยกำไรนิวไฮ

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ระบุ KTC 3Q67 กำไร +3.4% YoY ผลหลักจากรายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมาก บวกกับหนี้สูญรับคืนที่เพิ่มขึ้น โดยกำไร 9M67 ยังทรงตัวใกล้เคียงคาด           หันมาเน้นเจาะกลุ่มลูกค้า Hi-end ในธุรกิจบัตรเครดิต ถือเป็นลูกค้าชั้นดี โดยมี NPL ต่ำเพียง 1.9%           ปกติ Q4 เป็นช่วง High season สำหรับการจับจ่ายใช้สอย และการเร่งแคมเปญในช่วงท้ายปี รวมถึงความต้องการสินเชื่อ personal loan ช่วงปลายปี คาดช่วยหนุนกำไรทั้งปี 67 ทำนิวไฮอีกปีตามคาด           รับประโยชน์จากมาตรการ Easy e-receipt ช่วง 16 ม.ค.-28 ก.พ. 68 กระตุ้นยอดใช้จ่ายผ่านบัตร 1Q68           แนวรับ = 49.5/50 แนวต้าน = 51.75/52           KTC | ซื้อ | TP=56 บ.

เคทีซี x สภาพัฒน์ฯ ชี้เศรษฐกิจปี 2568 โอกาสเติบโตท่ามกลางความท้าทาย ในอุตสาหกรรมสินเชื่อผู้บริโภค

เคทีซี x สภาพัฒน์ฯ ชี้เศรษฐกิจปี 2568 โอกาสเติบโตท่ามกลางความท้าทาย ในอุตสาหกรรมสินเชื่อผู้บริโภค

           เคทีซีเปิดเวทีเสวนา KTC FIT Talk 13 "โฟกัสเศรษฐกิจปี 2568: โอกาสและความท้าทาย" นำเสนอข้อมูลแนวโน้มเศรษฐกิจ การรับมือความผันผวนและปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่อาจเกิดขึ้นในปี 2568 ชี้อุตสาหกรรมสินเชื่อผู้บริโภคมีโอกาสเติบโตท่ามกลางความท้าทาย โดยมีดร. ศุภวุฒิ สายเชื้อ ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนายอภิเชษฐ์ เกียรติวรคุณ ผู้อำนวยการ - การเงิน “เคทีซี” ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง ณ “เคทีซี” อาคารยูบีซี 2            ดร. ศุภวุฒิ สายเชื้อ ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เผยถึงแนวโน้มของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยว่า “เศรษฐกิจไทยในปี 2567 จะขยายตัวได้ประมาณ 2.7% โดยไตรมาส 4/2567 จีดีพีจะขยายตัวได้ 4% จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง และการขยายตัวของการส่งออก แต่ในปี 2568 นั้น ไอเอ็มเอฟคาดการณ์ว่า จีดีพีจะขยายตัว 2.9% แต่แนวโน้มยังคงมีความไม่แน่นอนสูง โดยมีความเสี่ยงที่โน้มเอียงไปในทิศทางขาลง ซึ่งทางไอเอ็มเอฟคงจะนึกถึงการชนะการเลือกตั้งของประธานาธิบดีทรัมป์ และความเสี่ยงของภูมิรัฐศาสตร์ ดังนั้นหากมองไปในปี 2568 จะมี 4 ปัจจัยที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้คือ การส่งออกสินค้าซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ50% ของจีดีพี โดยการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ เท่ากับเกือบ 10% ของจีดีพี จะมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโอกาสที่มีผลกระทบทางลบหรือความเสียหาย (downside risk) มาก และตลาดยุโรปกับจีนก็ดูจะไม่แข็งแรง การท่องเที่ยวคงจะฟื้นตัวต่อไป คือจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในปี2568 น่าจะกลับไปที่ 40 ล้านคน เท่ากับปริมาณก่อนการระบาดของโควิด 19 แต่รายจ่ายต่อหัวจะยังต่ำกว่า แรงกระตุ้นจากภาครัฐคงจะมีต่อเนื่องถึงประมาณกลางปีหน้า จากการแจกเงินก้อนสุดท้าย และการเร่งใช้งบลงทุน แต่การที่รัฐมนตรีคลังพูดถึงการเก็บภาษีเพิ่ม แปลว่า นโยบายการคลังน่าจะตึงตัวขึ้น นโยบายการเงินนั้น ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย จะลดดอกเบี้ยนโยบายลง2 ครั้งในปี 2568 เพราะเงินเฟ้อต่ำมาก แต่ในขณะเดียวกันธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ยังคงจะส่งสัญญาณให้ธนาคารพาณิชย์เข้มงวดกับการปล่อยสินเชื่อใหม่ และธนาคารพาณิชย์เองก็คงจะต้องใช้เวลากับการแก้หนี้เสียที่ยังหลงเหลืออยู่ไม่น้อย ดังนั้น แนวโน้มของการลดลงของสัดส่วนหนี้สินต่อรายได้ (debt deleveraging) ก็จะยังดำเนินต่อไปในปี 2568            อย่างไรก็ตาม หากธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนคลายนโยบายการเงินเชื่องช้าเกินไป ผลที่จะตามมาคือ กำลังซื้อในประเทศจะไม่แข็งแรงและเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นไปอีกได้”   นายอภิเชษฐ์ เกียรติวรคุณ  ผู้อำนวยการ - การเงิน “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เผยถึงแนวโน้มของเศรษฐกิจไทยว่า “เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโตร้อยละ 2.9 ในปี 2568 ท่ามกลางความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าโลก โดยเฉพาะประเด็นการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตและการส่งออกในภูมิภาค การที่สหรัฐฯ อาจขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มเติมอีกร้อยละ 60 และขึ้นภาษีทั่วไปร้อยละ 10 สำหรับประเทศอื่นๆ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ไทยมีโอกาสได้รับประโยชน์ในระยะสั้น จากการย้ายฐานการผลิตของจีนมายังอาเซียน (China+1) แม้ว่าในระยะยาวอาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในตลาดส่งออก จุดแข็งสูงสุดของการเติบโตคาดว่าจะอยู่ในช่วงไตรมาส 4/2567 และไตรมาส 1/2568 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.50-2.00 สอดคล้องกับทิศทางทั่วโลก เนื่องจากเงินเฟ้อที่ชะลอตัวและราคาพลังงานที่คาดว่าจะปรับลดลง การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัลยังคงมีแนวโน้มเข้ามาต่อเนื่อง โดยมีอาเซียนเป็นศูนย์กลางการลงทุนที่สำคัญ รวมถึงการใช้จ่ายภาครัฐที่คาดว่าแข็งแกร่งในช่วงครึ่งปีแรกของ 2568            ภาคธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตโดดเด่น ได้แก่ ธุรกิจร้านอาหารและโรงแรม บริการสุขภาพที่ได้ประโยชน์จากสังคมผู้สูงอายุ และสถาบันการเงินที่มีการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินและปรับตัวสู่ดิจิทัล โดยเฉพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ลูกค้าบริหารจัดการหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสำเร็จในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 2568 จะขึ้นอยู่กับความสามารถในการใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่การผลิตโลก ควบคู่ไปกับการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน และการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างรอบคอบ เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาว            อุตสาหกรรมสินเชื่อผู้บริโภคมีโอกาสเติบโตจากเศรษฐกิจที่จะเร่งตัวขึ้น และต้นทุนทางการเงินที่ลดลง ซึ่งเอื้อให้สถาบันการเงินสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่แข่งขันได้มากขึ้น รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้จะช่วยขยายการเข้าถึงบริการทางการเงิน อย่างไรก็ตาม ความ ท้าทายสำคัญยังคงเป็นเรื่องหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งต้องมีการบริหารความเสี่ยงอย่างรัดกุม รวมถึงการปรับตัวต่อกฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้นและการแข่งขันจากผู้ให้บริการเดิมและผู้เล่นใหม่ โดยเคทีซีพร้อมที่จะเสนอผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถจัดการหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และตอบโจทย์รูปแบบการใช้ชีวิตที่ปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย            ทิศทางธุรกิจเคทีซีในปี 2568 จะนำพาองค์กรสู่องค์กรดิจิทัลอย่างยั่งยืนด้วย 3 องค์ประกอบ คน ระบบและเทคโนโลยี เราเชื่อมั่นว่าการทำความเข้าใจแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต และการวางแผนกลยุทธ์ที่รอบคอบ จะช่วยให้เคทีซีสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนในยุคที่โลกเผชิญความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เรามุ่งมั่นสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมไทย ด้วยบริการทางการเงินที่ทันสมัยและครบวงจร พร้อมเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการขยายผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างการเข้าถึงบริการทางการเงิน และขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น เพื่อรักษาตำแหน่งผู้นำในตลาดสินเชื่อผู้บริโภคและสนับสนุนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนในปี 2568 และต่อไปในอนาคต”            ผลการดำเนินงานในปี 2567 เคทีซีทำกำไรสุทธิ 5,549 ล้านบาทในช่วง 9 เดือนแรก และคาดว่าจะบรรลุเป้าหมายกำไรสุทธิ 7,295 ล้านบาทในสิ้นปี สำหรับปี 2568 บริษัทตั้งเป้ากำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า โดยพอร์ตสินเชื่อรวมคาดว่าจะเติบโตในอัตรา 4-5% พร้อมรักษาคุณภาพของพอร์ตสินเชื่อให้มีอัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL (Non-Performing Loan) ไม่เกิน 2.0% เคทีซียังวางแผนเพิ่มยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต 10% โดยใช้กลยุทธ์สร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้า และขยายผลิตภัณฑ์บัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” (KTC PROUD) เติบโต 3% และยอดลูกหนี้ใหม่ของสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เท่ากับ 3,000 ล้านบาท ด้วยโซลูชันการเงินเฉพาะบุคคลที่    ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

บล.ทรีนีตี้ มอง Top pick Q4 SAWAD, AEONTS, KTC, DIF, CPNREIT เด่น

บล.ทรีนีตี้ มอง Top pick Q4 SAWAD, AEONTS, KTC, DIF, CPNREIT เด่น

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด คาด ตลาดหุ้นไทยยังคงอยู่ในภาวะซึมๆ โดยวอลุ่มการซื้อขายลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนซึ่งเป็นช่วงก่อนที่ดัชนี SET จะทะลุ 1400 จุดขึ้นมา คาดส่วนหนึ่งเกิดจากปัจจัยการเมืองที่เรากล่าวไปเมื่อวานนี้ หันกลับมาที่วันนี้ ตลาดหุ้นทั่วโลกมีโอกาสถูกกดดันเล็กน้อยจาก Bondyield สหรัฐฯที่ปรับตัวสูงขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ของรอบจากความคาดหวังการลดดอกเบี้ย Fed ที่ลดลง รวมถึงการ Price in ความเป็นไปได้ที่นาย Donald Trump จะคว้าชัยจากการชิงชัยตำแหน่งปธน.สหรัฐฯที่มากขึ้น ซึ่งอาจนำมาสู่การออกพันธบัตรสหรัฐฯ (Supply) ขนาดใหญ่ที่รออยู่ได้ อย่างไรก็ดี ยังไม่เห็นสัญญาณการปรับขึ้นของ Bond yield ไทยมากนักซึ่งยังคงถือเป็นปัจจัยเชิงบวกต่อ SET Index บนมาตรวัด Earning yield gap           Strategy : ในเชิงกลยุทธ์ มองกลุ่มหุ้น Rate-sensitive และ Bond-liked ภายในประเทศ ยังคงได้เปรียบในสภาวะที่ Bond yieldของไทยยังคงทรงตัวต่อ โดย Top pick ในกลุ่มนี้ประจำไตรมาส 4 ยังคงได้แก่ SAWAD, AEONTS, KTC, DIF, CPNREIT เป็นต้น           มองปัจจัยเฝ้าระวังที่อาจต้องติดตามในช่วง 1 เดือนข้างหน้าได้แก่ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯซึ่งหากออกมาในกรณีที่ Trump ได้รับชัยชนะ หรือแย่ไปกว่านั้นคือกรณี Red sweep จะส่งผลกดดันต่อตลาดหุ้นเกิดใหม่ ผ่านความกังวลสงครามการค้าที่อาจกลับมารุนแรงอีกครั้ง รวมถึงเม็ดเงินที่อาจโยกย้ายเข้าสู่ตลาดหุ้นสหรัฐฯมากขึ้นเนื่องจากจะเป็นตลาดหุ้นที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากมาตรการลดภาษีต่างๆของ Trump

KTC มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหนุน คาดกำไรปีหน้าโต 8%

KTC มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหนุน คาดกำไรปีหน้าโต 8%

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.กรุงศรี มีมุมมอง KTC  Neutral ต่อกำไรสุทธิ 3Q24 ที่ 1,919 ลบ. เพิ่มขึ้น +3% y-y และ +5% q-q เพราะการเพิ่มขึ้นของรายได้รวม ทั้งการเพิ่มขึ้นของ NIM รายได้ค่าธรรมเนียม-บริการ และหนี้สูญรับคืน รวมถึงการลดลงของค่าใช้จ่ายสำรอง (ECL) ด้านคุณภาพสินทรัพย์บริหารจัดการได้ดี NPL Ratio อยู่ที่ 1.93% ใกล้กับ 2Q24 ทั้งนี้เราปรับกำไรสุทธิ 2025-26F ขึ้นปีละ +1% จากทิศทางดอกเบี้ยขาลง ส่งผลให้ TP25F ปรับเพิ่มเป็น 55 บาท เราชอบ KTC เพราะ i) คาดมาตรการของ ธปท. และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของทางภาครัฐจะช่วยลดปัญหาการตกชั้นของลูกหนี้ ii) ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง iii) มีจุดแข็งเรื่องงบดุล iv) คาดกำไรสุทธิปี 2025F ที่ +8% y-y โตต่อจากปี 2024F ที่ +3% y-y กำไรสุทธิ 3Q24 ที่ 1,919 ลบ. เพิ่มขึ้น +3% y-y และ +5% q-q            KTC รายงานกำไรสุทธิ 3Q24 ที่ 1,919 ลบ. เพิ่มขึ้น +3% y-y และ +5% q-q เพราะรายได้รวมเพิ่มขึ้น +7% y-y และ +2% q-q จาก i) NIM ที่ 13.8% เพิ่มจาก 13.6% ใน 3Q23 เพราะสัดส่วนสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่ม ii) รายได้ค่าธรรมเนียม-บริการเพิ่มขึ้น +15% y-y และ +3% q-q จากค่าธรรมเนียมการเบิกจ่ายล่วงหน้าและค่าธรรมเนียมส่วนลดร้านค้า iii) หนี้สูญรับคืนเพิ่มขึ้น +25% y-y จากมูลหนี้มากขึ้น และ +1% q-q จาก 2Q เป็นช่วง low season ในการตามเก็บหนี้ iv) ค่าใช้จ่ายสำรอง (ECL) ลดลง -5% q-q จากการตัดจำหน่ายหนี้สูญ (write-off) ลดลง สำหรับสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้น +0.3% q-q จากสินเชื่อส่วนบุคคล ด้านคุณภาพสินทรัพย์บริหารได้ดี NPL Ratio อยู่ที่ 1.93% ใกล้กับ 2Q24 ที่ 1.97% ปรับกำไรสุทธิ 2025-26F ขึ้นปีละ +1% จากรายได้ดอกเบี้ย            เราปรับกำไรสุทธิปี 2025-26F ขึ้นปีละ +1% อยู่ที่ 8,118 และ 8,681 ลบ. ตามลำดับ เพราะทิศทางดอกเบี้ยนโยบายขาลง เราใช้สมมุติฐานดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 2.0% ซึ่งคาดจะมีการปรับลงอีกครั้งในช่วง 1Q25 คำแนะนำ            เราปรับ TP25F ขึ้นเป็น 55 บาท เดิม 52 บาท เราคงคำแนะนำ BUY เพราะ i) คาดมาตรการของ ธปท. และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของทางภาครัฐจะช่วยลดปัญหาการตกชั้นของลูกหนี้ ii) ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาลง iii) มีจุดแข็งเรื่องงบดุล iv) คาดกำไรสุทธิปี 2025F ที่ +8% y-y โตต่อจากปี 2024F ที่ +3% y-y

KTC มีกำไรไตรมาส 3/2567 เพิ่มขึ้น 3.4% แม้เผชิญหนี้ครัวเรือนสูง – รักษาคุณภาพพอร์ตได้ดีต่อเนื่อง

KTC มีกำไรไตรมาส 3/2567 เพิ่มขึ้น 3.4% แม้เผชิญหนี้ครัวเรือนสูง – รักษาคุณภาพพอร์ตได้ดีต่อเนื่อง

          กลุ่มบริษัทบัตรกรุงไทย (KTC) รายงานผลประกอบการไตรมาส 3/2567 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 3.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยยังสามารถรักษาคุณภาพพอร์ตสินเชื่อไว้ได้ดี แม้ต้องเผชิญแรงกดดันจากหนี้ครัวเรือนสูงและต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น           บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ("กลุ่มบริษัท") มีกำไรสุทธิในไตรมาส 3 และ 9 เดือนของปี 2567 เท่ากับ 1,919 ล้านบาท และ 5,549 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.4% และ 0.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566           ณ สิ้นไตรมาส 3 ของปี 2567 กลุ่มบริษัทมีพอร์ตสินเชื่อรวม 106,183 ล้านบาท อยู่ในระดับใกล้เคียงกับงวดเดียวกันของปีก่อน ท่ามกลางหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง พอร์ตลูกหนี้บัตรเครดิตชะลอตัวลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำ ขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเติบโตต่อเนื่องที่ 10.0% (YoY) สำหรับพอร์ตสินเชื่อบุคคลยังคงขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป กลุ่มบริษัทยังคงให้ความสำคัญกับการรักษาคุณภาพพอร์ต โดยมี NPL Ratio อยู่ที่ 1.93% ซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า และมี NPL Coverage Ratio อยู่ที่ 373.31% ซึ่งอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งและเพียงพอต่อการรองรับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด           ผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2567 กลุ่มบริษัทรายได้รวมเติบโต 6.6% (YoY) จากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ รวมถึงหนี้สูญที่ได้รับคืน ขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น 8.5% (YoY) จากค่าธรรมเนียมและบริการที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตร ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้น 9.1% (YoY) จากการตัดหนี้สูญที่เร็วขึ้นตามนโยบายการตัดหนี้สูญใหม่และการตั้งสำรองตามหลักความระมัดระวัง สำหรับต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น 2.6% (YoY) ตามการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน           แม้หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงยังคงกดดันภาคเศรษฐกิจและการปล่อยสินเชื่อโดยรวม แต่ KTC ยังคงรักษาคุณภาพพอร์ตได้ดี และสามารถสร้างผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผ่านกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ยืดหยุ่นต่อสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป สะท้อนผ่านอัตรากำไรสุทธิและอัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้นที่ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 27.2% และ 20.1% ตามลำดับ           นอกจากนี้ KTC ยังให้ความร่วมมือกับภาครัฐ โดยมีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมสำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม ลูกหนี้สามารถแจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมมาตรการได้ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน ถึง 30 พฤศจิกายน 2567 ภาพรวมอุตสาหกรรม           ตามผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2567 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2567 และ 2568 จากเดิมที่ 2.6% และ 3.0% เป็น 2.7% และ 2.9% ตามลำดับ โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอุปสงค์ในประเทศของภาครัฐ รวมถึงการส่งออกสินค้าที่ปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ต่อปี เหลือ 2.25% ต่อปี โดยหวังว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ครัวเรือนบางส่วน และจะไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้           นอกจากนี้ ในช่วงเดือนสิงหาคม 2567 เป็นต้นมา หลายพื้นที่ของประเทศไทยได้รับการประกาศเป็นเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยเนื่องจากอุทกภัย จึงมีลูกหนี้จำนวนหนึ่งได้รับความเดือดร้อน ธปท. จึงได้ออกหนังสือที่ “ธปท.ฝนส. (01) ว.601/2567 เรื่อง ขอความร่วมมือให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2567” โดยได้ขอความร่วมมือจากสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยที่มิใช่สถาบันการเงิน ในการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบตามความจำเป็นและเหมาะสม           สำหรับเคทีซีได้ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีสถานะปกติ หรือไม่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 30 วันนับตั้งแต่วันที่แจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นเขตที่ประสบสาธารณภัย โดยสามารถแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการได้ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน ถึง 30 พฤศจิกายน 2567 ผ่านลิงก์: https://www.ktc.co.th/about/news/measures-flood           ทั้งนี้ เคทีซีคาดว่ามูลค่าการช่วยเหลือลูกหนี้ตามมาตรการดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทในภาพรวม

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011