ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#KTB


ระวัง! หุ้นการเมือง

ระวัง! หุ้นการเมือง

          ดีกรีการเมืองน่าจะร้อนระอุ วันนี้ โหมโรงเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นวันแรก นักวิเคราะห์มองว่า อาจส่งผลในเชิงจิตวิทยาต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยช่วงสั้น นักลงทุนคงอยู่ในโหมด "รอดูท่าที" (wait and see)           โดยเฉพาะประเด็นที่อาจมีการพาดพิงถึง โครงการสำคัญของรัฐบาล เช่น โครงการแจกเงิน (Digital Wallet) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคประชาชน ซึ่งหากถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเวทีอภิปราย อาจสร้างความไม่แน่นอน เกี่ยวกับการเดินหน้านโยบายดังกล่าวในช่วงที่เหลือของปีได้           สำหรับภาพรวมการอภิปรายครั้งนี้ ไม่น่าจะส่งผลกระทบในเชิงพื้นฐานต่อตลาดหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจรายบุคคล โดยเน้นไปที่บทบาทและสถานะของนางสาวแพทองธาร มากกว่าการอภิปรายเพื่อโจมตีนโยบายเศรษฐกิจโดยรวม           ทั้งนี้ นักลงทุนควรจับตาผลการลงมติในวันที่ 26 มีนาคม 2568 ซึ่งสามารถสะท้อนเสถียรภาพของรัฐบาลในระยะข้างหน้า หากสามารถผ่านการลงมติไปได้อย่างราบรื่น อาจเป็นปัจจัยบวกในเชิงจิตวิทยาให้กับตลาดหุ้น           ด้าน บล.กรุงศรี จับตากระแสการซื้อหุ้นซื้อคืนจะกลับมาคึกคัก หลัง PTT ประกาศโครงการซื้อหุ้น คืนเพื่อบริหารทางการเงิน (Treasury Stock) วงเงินสูงสุดไม่เกิน 16,000 ลบ. และจำนวนหุ้นซื้อคืน ไม่เกิน 470 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกิน 1.65% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด (implied ราคาหุ้น ซื้อคืนราว 34 บาท/หุ้น)           คาดตลาดมีโอกาสเก็งกำไรหุ้น Big Cap ที่มีศักยภาพดำเนินการได้  พบว่า มีหุ้น Big Cap หลักๆในกลุ่มพลังงาน ธนาคาร ปิโตรเคมี ที่มีโอกาสเห็นการซื้อหุ้นคืนระยะถัดไป อาทิ SCB, KBANK, KTB , BBL, PTTGC, TOP, BCP นอกจาก PTT- TTB ที่ประกาศโครงการดังกล่าวไปแล้ว จับตา  BCP, PTTGC, TOP กันต่อไป           นับเป็นหุ้น Health Care ที่น่าจับตา จากผลการดำเนินงานที่เติบโตต่อเนื่องมาโดยตลอด สำหรับ บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด (มหาชน) หรือ BLC ล่าสุด ภก. สุวิทย์ งามภูพันธ์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BLC พร้อมคณะผู้บริหาร ร่วมนำเสนอข้อมูลผลการดำเนินงานปี 2567 แก่นักลงทุนใน Opportunity Day โดยมีรายได้ 1,557 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 176.1 ล้านบาท เติบโต 10.7% และ 16.8% ตามลำดับ  ด้านบอร์ดเตรียมขออนุมัติจ่ายเงินปันผล งวดผลการดำเนินงานในปี 2567 จากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ในอัตรา 0.09 บาทต่อหุ้น โดยจะกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ์ได้รับเงินปันผล ในวันที่ 11 เมษายน 2568 และจ่ายเงินปันผลในวันที่ 30 เมษายน 2568           ทั้งนี้ ในปี 2568 BLC วางแผนขยายขอบเขตความร่วมมือเพื่อสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยาไทยให้เติบโต พร้อมทั้งสร้างความมั่นคงทางด้านสุขภาพ และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน รวมทั้ง มุ่งผลักดันรายได้เติบโตเฉลี่ย 200 ล้านบาทต่อปีตามเป้าหมาย งานนี้ผู้ถือหุ้นสบายใจหายห่วง           ในที่สุดก็กระจ่างชัด นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ กรรมการผู้จัดการใหญ่ TTB แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ข่าวการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB  กับธนาคารทหารไทยธนชาตจำกัด (มหาชน) หรือ TTB นั้น  ไม่เป็นความจริง บริษัทฯ ไม่ได้มีการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อีกทั้ง TTB  ยังคงมุ่งเน้นพันธกิจสำคัญคือ การ Make REAL Change หรือการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายเพื่อให้ลูกค้าของธนาคารกว่า 10 ล้านคน มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ผ่านกลยุทธ์การสร้างการเติบโตแบบ Ecosystem Play และการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบและสอดคล้องกับแนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending)           ขณะที่ นายพงษ์สิทธิ์ ชัยฉัตรพรสุข ประธานผู้บริหาร Legal Comliance & Financial Crime และเลขานุการบริษัท KTB  ก็ชี้แจงว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง และในขณะนี้ คณะกรรมการธนาคารฯ ไม่ได้มีดำริ หรือได้มอบหมายฝ่ายบริหารให้ดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการควบรวมกิจการตามที่เป็นข่าว  ออกมาชี้แจงชัดเจนกันทั้ง 2 ฝ่าย...จบนะ           ปิดท้ายกันที่ หนุ่มน้อยหน้ามนคนขยัน นายปรมัตถ์ จุฬวนิช ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน CHOW ล่าสุดได้รับเกียรติเป็นวิทยากรบรรยายหลักสูตร “ความรู้ Solar Rooftop เพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์สินเชื่อ SME Green Productivity” ให้กับพนักงาน SME D Bank ทั่วประเทศ โดยมุ่งเน้นให้พนักงาน SME D Bank มีความเข้าใจและสามารถแนะนำข้อมูลให้ลูกค้าที่ต้องการติดตั้ง Solar Rooftop และเข้าร่วมโครงการ สินเชื่อ SME Green Productivity พร้อมดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3%ต่อปีสำหรับ 3 ปีแรก  นักลงทุนคงต้องเกาะติดผลงาน CHOW ให้ดีๆ เพราะนี่อาจจะเป็นดีลนำร่อง เพื่อต่อยอดดีลต่อๆไปก็ได้    การลงทุน มีความเสี่ยง ผู้ลงทุน ควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ ลงทุน ข่าวหัวม่วง By ทีมงานหุ้นวิชั่น     

แจงแล้ว KTB - TTB แผนควบรวม ยันไม่เป็นความจริง!

แจงแล้ว KTB - TTB แผนควบรวม ยันไม่เป็นความจริง!

                หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ ว่า ตามที่หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจและสื่อออนไลน์ในเครือดังกล่าว เสนอข่าวเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 ว่าจะมีการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (“กรุงไทย”) กับธนาคารทหารไทยธนชาตจำกัด (มหาชน) (“ทีทีบี”) นั้น บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายหนึ่งของทีทีบี ขอเรียนว่าเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง โดยบริษัทฯ ไม่ได้มีการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้                 ด้าน นางมานิกา สิทธิชัย เลขานุการบริษัท ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ เช่นกันว่า ตามที่ได้มีรายงานข่าว ณ วันที่ 21 มีนาคม 2568 เกี่ยวกับการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบีธนชาต ("ธนาคารฯ") และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) นั้น ทีเอ็มบีธนชาตขอเรียนชี้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง ธนาคารฯ ไม่ได้อยู่ในกระบวนการควบรวมกิจการตามที่ปรากฏในสื่อ รวมทั้งไม่มีแผนการควบรวมกิจการกับธนาคารอื่นอยู่ในแผนงาน 5 ปีแต่อย่างใด                 ทั้งนี้ ธนาคารฯ ยังคงมุ่งเน้นพันธกิจสำคัญคือ การ Make REAL Change หรือการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายเพื่อให้ลูกค้าของธนาคารกว่า 10 ล้านคน มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ผ่านกลยุทธ์การสร้างการเติบโตแบบ Ecosystem Play และการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบและสอดคล้องกับแนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) อีกทั้งยังเดินหน้า Transform องค์กรอย่างรอบด้านเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรและสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นอย่างยั่งยืน                 ขณะที่ นายพงษ์สิทธิ์ ชัยฉัตรพรสุข ประธานผู้บริหาร Legal Comliance & Financial Crime และเลขานุการบริษัท แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อเกี่ยวกับการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) นั้น ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ("ธนาคารฯ") ขอเรียนชี้แจงว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง และในขณะนี้ คณะกรรมการธนาคารฯ ไม่ได้มีดำริ หรือได้มอบหมายฝ้ายบริหารให้ดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการควบรวมกิจการตามที่เป็นข่าว ธนาคารฯ ขอยืนยันว่า คณะกรรมการธนาคารฯและฝ่ายบริหาร ยังคงขับเคลื่อนองค์กรภายใด้วิสัยทัศน์                 "กรุงไทยเคียงข้างไทยสู่ความยั้งยืน" โดยให้ความสำคัญกับการเติบโตของประเทศไทย คนไทย และธุรกิจไทยอย่างครอบคลุมและทั่วถึงผ่านความร่วมมือกับพันธมิตร และการเชื่อมโยงระบบนิเวศน์ทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งพิจารณาโอกาสในการขยายการเดิบโตในหลากหลายรูปแบบ ทั้งในส่วนของธนาคารฯ และบริษัทในกลุ่มธนาคารฯ เพื่อมุ่งสร้างและเพิ่มมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่องและชั่งยืน ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวสอดคล้อง กับยุทธศาสตร์ของธนาคารฯ ภายใต้แนวคิด Corporate Value Creation (เสริมทักษะ สร้างคุณค่า สู่อนาคต) ซึ่งธนาคารได้สื่อสารมาอย่างต่อเนื่อง

SCB-KTB ยังไหวไหม มีสัญญาณกำไรโตช้า

SCB-KTB ยังไหวไหม มีสัญญาณกำไรโตช้า

          หุ้นวิชั่น- ฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) หรือ CGSI ระบุในบทวิเคราะห์ ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานข้อมูลคุณภาพสินทรัพย์ของกลุ่มธนาคารในไตรมาส 4/67 โดยฝ่ายวิเคราะห์ฯพบว่าธุรกิจหลักสี่กลุ่มมีอัตราส่วน NPL ลดลง นำโดยกลุ่มบริการและการผลิต นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคมี NPL ลดลงเช่นกัน เนื่องจากสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อรถยนต์มี NPL ลดลง ผลจากธนาคารเพิ่มความเข้มงวดของมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อ รวมทั้งการบริหารจัดการ NPL เชิงรุกในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา           อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 4/67 สินเชื่อ Stage 2 (underperforming) ยังเพิ่มขึ้น แต่เชื่อว่าสินเชื่อกลุ่มนี้น่าจะเพิ่มขึ้นจากการปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ทั้งนี้พบว่าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย,สินเชื่อบ้านและสินเชื่อส่วนบุคคลมีอัตราส่วนสินเชื่อ Stage 2 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในไตรมาส 4/66-4/67 ตรงข้ามกับสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อรถที่มีอัตราส่วนสินเชื่อ stage 2 ลดลง qoq           ขณะเดียวกัน กลุ่มธนาคารมีอัตราการเกิด NPL ใหม่ลดลง 7% qoq ในไตรมาส 4/67 เพราะยอด NPL ใหม่และสินเชื่อที่กลับมาเป็น NPL ลดลง 4.1% qoq และ 17% qoq ตามลำดับ นอกจากนี้ ธนาคารยังเสนอปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกค้าและตัดหนี้สูญในเชิงรุกมากขึ้น           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI ระบุว่า เมื่อวันที่ 4 มี.ค.68 ได้พากลุ่มนักลงทุนไปเยี่ยมชมบริษัทสหการประมูล (AUCT) ซึ่งเป็นผู้เล่นรายใหญ่สุดในธุรกิจให้บริการจัดการประมูลรถยนต์ในไทย ด้วยส่วนแบ่งตลาด 40% ตามข้อมูลของผู้บริหาร ทั้งนี้ AUCT จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (market cap) อยู่ที่ 4.1 พันล้านบาท โดย AUCT เผยว่าช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ราคารถมือสองฟื้นตัว 10% ฝ่ายวิเคราะห์ฯจึงเชื่อว่าจะทำให้กลุ่มสินเชื่อรถยนต์และธนาคารมีขาดทุนจากการขายรถยึดลดลงในปีนี้ เนื่องจากทั้งปริมาณขายและขาดทุนต่อคันจะลดลง           อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการเติบโตของสินเชื่อรถยนต์ใหม่ยังอยู่ภายใต้แรงกดดัน เพราะความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ไม่ได้ดีขึ้นจากปีที่แล้ว (ที่มา: ธปท.) อีกทั้งคาดว่ายอดขายรถยนต์ในปี 68 น่าจะทรงตัว yoy           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI คงน้ำหนักการลงทุน (Neutral) ในกลุ่มธนาคาร เพราะคาดว่ากำไรก่อนตั้งสำรอง (PPOP) จะเติบโตช้าในอัตรา -1.5%/+1.5%+3.8% ในปี 68/69/70 ขณะที่เลือก SCB และ KTB เป็นหุ้น Top pick เพราะเชื่อว่าธนาคารทั้งสองแห่งจะมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงที่ 5.5-9.0% ต่อปีและมีอัตราการ เติบโตของกำไรสุทธิ 2-12% ในปี 68-70 แม้ว่าอุตสาหกรรมโดยรวมจะมีสินเชื่อเติบโตชะลอตัว           โดยกลุ่ม ธนาคารจะมี downside risk หาก NPL เพิ่มสูงขึ้นและธปท. ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก ส่วน upside risk จะมาจากการที่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในไทยมากขึ้น เพราะจะช่วยกระตุ้นการบริโภค รวมถึงความตึงเครียดทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ลดลงและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

KTB ปันผลเกินคาด หนุนROE- เป้า 27.50 บ.

KTB ปันผลเกินคาด หนุนROE- เป้า 27.50 บ.

  หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล. ดาโอ ระบุว่า คงคำแนะนำ “ซื้อ” KTB แต่ปรับราคาเป้าหมายขึ้นมาอยู่ที่ 27.50 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.82x (-0.25SD below 10-yr average PBV) จากเดิมที่ 24.50 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.74x (-0.50SD below 10-yr average PBV) จากการปรับ PBV เพิ่มขึ้น โดยวานนี้ KTB ประกาศจ่ายเงินปันผลประจำปี 2024 ที่ 1.545 บาทต่อหุ้น ซึ่งมากกว่าที่ตลาดคาดไว้เพียง 1.051 บาทต่อหุ้น และมากกว่าที่เราคาดไว้ที่ 1.255 บาทต่อหุ้น โดยเป็นการจ่ายปีละครั้ง จะ XD วันที่ 16 เม.ย. 25 ซึ่งคิดเป็น Dividend payout ที่ 49% (มากกว่าปี 2023 ที่ 33%) และคิดเป็น Dividend yield ที่สูงถึง 6.4% ซึ่งเป็นระดับ Dividend yield ที่เป็น Top tier ของกลุ่มธนาคารที่เฉลี่ยราว 6% โดย Dividend payout ที่สูงขึ้นมาก ช่วยหนุนให้ ROE มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ที่ 10.30% จากเดิมที่ 10.00% ซึ่งส่งให้ PBV เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 0.82x จากเดิมที่ 0.74x และทำให้ราคาเป้าหมายมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ราว 3.00 บาทเรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2025E โดยกำไรสุทธิปี 2025E จะอยู่ที่ 4.6 หมื่นล้านบาท เติบโตได้อีก +6% YoY ขณะที่แนวโน้มกำไรสุทธิ 1Q25E จะเพิ่มขึ้น YoY/QoQ จากสำรองฯที่จะลดลงได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนภาพรวมของ NPL มีแนวโน้มที่ดีกว่ากลุ่มเพราะเน้นการปล่อยสินเชื่อให้ภาครัฐเป็นหลักราคาหุ้นเพิ่มขึ้น +14% และ +30% เมื่อเทียบกับ SET ในช่วง 1 เดือน และ 3 เดือนที่ผ่านมา เพราะแนวโน้มกำไรที่ยังเติบโตได้ดีและเก็งปันผลที่จะสูงกว่าคาด ประกอบกับมี Asset Quality ที่แข็งแกร่งจากการเน้นปล่อยสินเชื่อภาครัฐ ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงต่ำและรองรับกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงได้ นอกจากนี้ยังมี Coverage ratio ที่ยังอยู่ในระดับสูงถึง 188% ขณะที่ valuation ปัจจุบันซื้อขายที่ระดับต่ำเพียง PBV ที่ 0.71x (-0.75SD below 10-yr average PBV) ด้านราคาหุ้นยังไม่สะท้อนกำไรรายไตรมาสที่ยืนเหนือระดับ 1 หมื่นล้านบาท อย่างต่อเนื่องมา 5 ไตรมาสติดกัน โดยเลือก KTB เป็น Top pick ของกลุ่ม

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

KTB ปันผล 1.545 บ.ต่อหุ้น ขึ้น XD วันที่ 16 เม.ย.นี้

KTB ปันผล 1.545 บ.ต่อหุ้น ขึ้น XD วันที่ 16 เม.ย.นี้

หุ้นวิชั่น- นายพงษ์สิทธิ์ ชัยฉัตรพรสุข เลขานุการ บมจ.ธนาคารกรุงไทย หรือ KTB แจ้งมายังตลาดหลักทรัพย์ฯว่า คณะกรรมการธนาคารมีมติ ให้เสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อพิจารณาอนุมัติ การจ่ายเงินปันผล สำหรับปี 2567 ให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญ ในอัตราหุ้นละ 1.5450 บาท และผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ 1.6995 บาท โดยธนาคารกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้น ที่มีสิทธิรับเงินปันผล วันที่ 17 เม.ย. และขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 16 เม.ย. 2568 จ่ายเงินปันผล วันที่ 2 พ.ค. 2568

กลุ่มธนาคาร คาดกำไรปี68 ที่ 2.24 แสนลบ. มีปันผล 4-9% ชู KBANK - KTB เด่น

กลุ่มธนาคาร คาดกำไรปี68 ที่ 2.24 แสนลบ. มีปันผล 4-9% ชู KBANK - KTB เด่น

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.กรุงศรี มองธีมการลงทุนกลุ่มธนาคารเป็น value play มากกว่า growth story เพราะธนาคารคงปันผลระดับสูง dividend yield คาดที่ 4-9% ต่อปี และราคาหุ้นธนาคารส่วนใหญ่ซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี (Book Value) โดยภาพรวมปี 2568 เรามองการจัดการคุณภาพสินทรัพย์เป็นประเด็นหลัก ดังนั้นการลดลงของค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) จะเป็นตัวหลักในการผลักดันการเติบโตของกำไรสุทธิ รวมถึงการบริหารจัดการเงินทุน ทั้งการเพิ่ม dividend payout ratio และการซื้อหุ้นคืน จะช่วยเพิ่ม ROE ในอนาคตได้ แนวโน้มผลประกอบการ 2568           คาดกำไรสุทธิปี 2568 ที่ 2.24 แสนล้านบาท เติบโต +4% y-y โดยได้รับแรงหนุนหลักจากค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) ที่ลดลง ซึ่งช่วยกลบผลกระทบเชิงลบจากการลดลงของ NIM โดยเรามองว่าธนาคารยังคงมีปันผลที่น่าสนใจ dividend yield คาดที่ 4-9% ต่อปี สำหรับ ROE ปี 2568 คาดว่าจะทรงตัวที่ 9.1% และมีโอกาสเพิ่มขึ้นจากการบริหารจัดการเงินทุน ทั้งการเพิ่ม dividend payout ratio และการซื้อหุ้นคืน คาดเห็นผลบวกในเรื่องคุณภาพสินทรัพย์ในปี 2568 คาดว่าในปี 2568 จะเห็นผลบวกในเรื่องคุณภาพสินทรัพย์จาก ธนาคารเร่งจัดการคุณภาพสินทรัพย์ตลอดปี 2566-67 เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ การตัดจำหน่ายหนี้สูญ และการขายหนี้ เป็นต้น ธนาคารเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เห็นได้จากปี 2567 สินเชื่อรวมทรงตัว y-y นโยบายช่วยเหลือลูกหนี้ของ ธปท. และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดการตกชั้นของลูกหนี้ ได้รับผลกระทบเชิงลบจากการลดลงของ NIM คาดว่าในปี 2568NIM มีแนวโน้มลดลงเหลือ 3.06% จาก 3.13% เนื่องจาก การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 2.00% จากปัจจุบันที่ 2.25% ซึ่งมีโอกาสปรับลดลงอีก 1 ครั้งในช่วง 1Q68 ธนาคารเน้นเติบโตสินเชื่อไปยังลูกหนี้ที่มีคุณภาพ หรือกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ ธนาคารคงปันผลน่าสนใจ           ธนาคารมีเงินกองทุนสูง เห็นได้จาก 3Q67 มีเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (CET1) อยู่ที่ 14-18% และเงินกองทุนรวมชั้นที่ 1 (Tier 1) อยู่ที่ 14-19% สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่ ธปท. กำหนดไว้ (CET1 ที่ 8% และ Tier 1 ที่ 9%) ทำให้ธนาคารมีความสามารถในการจ่ายเงินปันผลในระดับสูง dividend yield คาดที่ 4-9% ต่อปี คง KBANK และ KTB เป็น Top Picks บทวิเคราะห์ชอบ KBANK และ KTB เพราะ คาดว่ากำไรสุทธิปี 2568 เติบโต +9% y-y มากกว่ากลุ่มที่ +2% y-y ค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) ของ KBANK มีโอกาสลดลงมากที่สุดในกลุ่ม และความเสี่ยงเรื่องค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) ของ KTB มีจำกัด เนื่องจากการเติบโตของสินเชื่อภาครัฐ KBANK และ KTB มีโอกาสเห็นการปรับเพิ่ม dividend payout ratio และ ROE

SCB-KTB ยิลด์ปันผลสูง TTB มีแววซื้อหุ้นคืน

SCB-KTB ยิลด์ปันผลสูง TTB มีแววซื้อหุ้นคืน

          หุ้นวิชั่น-ฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) หรือ CGSI ระบุในบทวิเคราะห์ ว่า ธนาคาร 8 แห่งที่ศึกษา ได้แก่ BBL, KBANK, SCB, KTB, TTB, KKP, TISCO และ CREDIT ทำกำไรสุทธิรวม 5.25 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 4/67 เพิ่มขึ้น 20.9% yoy แต่ลดลง 6.1% qoq และทำให้กำไรสุทธิทั้งปี 67 เพิ่มเป็น 2.18 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.6% yoy           ส่วนกำไรก่อนตั้งสำรอง (PPOP) ไตรมาส 4/67 เติบโต 2.7% yoy แต่ลดลง 5.7% qoq ทำให้ PPOP ทั้งปี 67 เติบโต 2.2% yoy โดยกำไรสุทธิไตรมาส 4/67 ของกลุ่มธนาคารสูงกว่าประมาณการของ Bloomberg consensus เนื่องจากอัตราการสำรองหนี้สูญลดลงและอัตราการเติบโตของสินเชื่อสูงขึ้น โดยยอดสินเชื่อรวมของกลุ่มขยายตัว 0.3% yoy และ 1.8% qoq ในไตรมาส 4/67 และมีอัตราส่วน NPL ลดลง 18bp qoq เป็น 3.61% และมีอัตราการสำรองหนี้สูญลดลง 9bp qoq เป็น 141bp           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI ระบุว่า ธนาคารบางแห่งออกมาเปิดเผยเป้าหมายทางการเงินในปี 68 หลังประกาศผลประกอบการไตรมาส 4/67 โดยตั้งเป้าสินเชื่อขยายตัวเพียง 0-3% เนื่องจากธนาคารมีมุมมองที่ระมัดระวังต่อธุรกิจสินเชื่อและให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างหนี้ โดยพบว่าธนาคารยังกังวลเกี่ยวกับคุณภาพสินทรัพย์ของสินเชื่อรายย่อย อีกทั้งมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คือ “คุณสู้ เราช่วย” ยังมีอัตราการอนุมัติต่ำ ทั้งนี้ธปท. เปิดเผยเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 68 ว่า ลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติเข้าร่วมโครงการเพียง 10% ที่ได้รับอนุมัติ ส่วนระยะเวลาการลงทะเบียนจะสิ้นสุดลงวันที่ 28 ก.พ. 68           ฝ่ายวิเคราะห์ฯ ประมาณการว่าธนาคารทั้ง 8 แห่งที่ศึกษา จะมียอดสินเชื่อรวมเติบโต 1.1-2.7% ในปี 68-70 ขณะที่มีอัตราการสำรองหนี้สูญ 135bp/126bp/125bp และอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิโดยรวมอยู่ที่ 3.7%/4.3%/4.5% ในปี 68/69/70 ตามลำดับ ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI มองว่า ธนาคารไทยอยู่ภายใต้แรงกดดัน เพราะต้องบริหารจัดการเงินทุนจำนวนมาก ในขณะที่สินเชื่อมีอัตราการเติบโตชะลอตัว โดยธนาคารบางแห่ง เช่น ธนาคารทหารไทยธนชาต กำลังพิจารณา เรื่องการซื้อหุ้นคืนตามข้อเสนอของรัฐบาล ขณะที่ธนาคารบางแห่งจะปรับขึ้นอัตราการจ่ายเงินปันผลเพื่อเพิ่ม ผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้น รวมทั้งเพิ่ม ROE ทั้งนี้ KTB และ KBANK น่าจะจ่ายเงินปันผลสูงขึ้นในปี 68 นี้ ยังแนะนำให้คงน้ำหนักการลงทุน (Neutral) ในกลุ่มธนาคาร เพราะคาดว่า PPOP จะเติบโตลดลงในอัตรา -1.4%/+0.8%/+3.5% ในปี 68/69/70 ขณะที่เลือก SCB และ KTB เป็นหุ้น Top pick เพราะเชื่อว่าธนาคารทั้งสองแห่งจะมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงที่ 5.4-9.2% ต่อปี และมีอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิ 2- 12% ในปี 68-70 นอกจากนี้ เชื่อว่าทั้ง SCB และ KTB จะบริหารจัดการเงินทุนได้ดีกว่าธนาคารอื่นที่ทำการศึกษา ซึ่งจะส่งผลให้ ROE เพิ่มสูงขึ้นในปี 68-70 อย่างไรก็ตาม กลุ่มธนาคารจะมี downside risk หาก NPL เพิ่มสูงขึ้นและธปท. ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก ส่วน upside risk จะมาจากการที่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในไทยมากขึ้น เพราะจะช่วยกระตุ้นการบริโภค, ความตึงเครียดทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ลดลง และรัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

กลุ่มธนาคาร Q4 กำไรตามคาด   มีปันผล 4-8% โบรกคัด KBANK, KTB เด่น

กลุ่มธนาคาร Q4 กำไรตามคาด มีปันผล 4-8% โบรกคัด KBANK, KTB เด่น

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.กรุงศรี ระบุธนาคารที่ทีมศึกษารายงานกำไรสุทธิ 4Q24 ที่ 5.13 หมื่นล้านบาท ใกล้เคียงกับที่บทวิเคราะห์และตลาดคาด กำไรเพิ่มขึ้น +20% y-y ลดลง -6% q-q ไตรมาสนี้ได้เห็นพัฒนาการเชิงบวกทางคุณภาพสินทรัพย์ ทั้งการลดลงของค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) และ NPL ratio ที่ 3.56% ลดลงจาก 3.78% ใน 3Q24 จากการชำระหนี้ของลูกหนี้ดีขึ้น และการแปลงหนี้เป็นทุนของการบินไทย            สำหรับเงินปันผล 2H24 คาด dividend yield ที่ 3-6% ภาพรวมปี 2025F มองว่าธนาคารได้รับผลกระทบเชิงลบจากการลดลงของ NIM อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะเห็นผลบวกจากการจัดการกับคุณภาพสินทรัพย์ และธนาคารคงมีปันผลที่น่าสนใจ dividend yield คาดที่ 4-8% ต่อปี ดังนั้นคงน้ำหนักการลงทุนเป็น NEUTRAL และคง KBANK และ KTB เป็น Top Pick คงคำแนะนำกลุ่มธนาคารเป็น NEUTRAL และคง KBANK, KTB เป็น Top Pick            คงน้ำหนักการลงทุนเป็น NEUTRAL สำหรับกลุ่มธนาคาร ภาพรวมมองว่าปี 2025F ธนาคารได้รับผลกระทบเชิงลบจากทิศทางดอกเบี้ยขาลง โดยคาดดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.00% จากปัจจุบันที่ 2.25% ซึ่งมีโอกาสปรับลดอีก 1 ครั้งในช่วง 1Q25 และการขยายไปกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ อย่างไรก็ตามคาดว่าจะเห็นผลบวกในเรื่องการจัดการคุณภาพสินทรัพย์ จากธนาคารที่เร่งจัดการคุณภาพสินทรัพย์ตลอดปี 2024 รวมถึงการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ นอกจากนี้ ธนาคารยังคงมีปันผลที่น่าสนใจ dividend yield คาดที่ 4-8% ต่อปี โดยเราคง KBANK และ KTB เป็น Top Pick กำไรสุทธิ 4Q24 ที่ 5.13 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น +20% y-y ลดลง -6% q-q กลุ่มธนาคาร 7 แห่งที่เราศึกษารายงานกำไรสุทธิที่ 5.13 หมื่นล้านบาท กำไรเพิ่มขึ้น +20% y-y เพราะ การเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าธรรมเนียม-บริการ การเพิ่มขึ้นของเงินลงทุน (FVTPL) การลดลงของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX) การลดลงของค่าใช้จ่ายสำรอง (ECL) จาก 4Q23 มีการตั้งสำรองก้อนใหญ่ของ KTB และ TTB ขณะที่กำไรลดลง -6% q-q เพราะ การลดลงของ yield on loan การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ตามปัจจัยฤดูกาล            สำหรับสินเชื่อรวม +1.8% q-q คิดเป็น +0.1% YTD จากสินเชื่อภาคธุรกิจและภาครัฐ ด้านคุณภาพสินทรัพย์เห็นพัฒนาการเชิงบวก ทั้งการลดลงของค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) และ NPL ratio ที่ 3.56% ลดลงจาก 3.78% ใน 3Q24 จากการชำระหนี้ของลูกหนี้ดีขึ้น และการปรับหนี้เป็นทุนของการบินไทย แนวโน้มผลประกอบการ 2025F คาดกำไรสุทธิ 2025F ที่ 2.24 แสนล้านบาท เติบโต +4% y-y ธนาคารถูกแรงกดดันจากการลดลงของ NIM จากทิศทางดอกเบี้ยขาลง และการขยายไปกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ เราคาดเห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยทำให้ สินเชื่อรวมเพิ่มขึ้น รายได้ค่าธรรมเนียม-บริการเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) ลดลง

KTB กำไรQ4ดีกว่าคาด NPL ลดลงได้ดี-เป้า 24.50บ.

KTB กำไรQ4ดีกว่าคาด NPL ลดลงได้ดี-เป้า 24.50บ.

           หุ้นวิชั่น -บทวิเคราะห์ บล. ดาโอระบุว่า คงคำแนะนำ “ซื้อ” KTB และราคาเป้าหมายที่ 24.50 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.74x (-0.50SD below 10-yr average PBV) โดย KTB ประกาศกำไรสุทธิ 4Q24 อยู่ที่ 1.05 หมื่นล้านบาท (+71% YoY, -6% QoQ) ดีกว่าตลาดคาด +5% และเราคาด +4% จากการตั้งสำรองฯที่ลดลงมากกว่าคาดอยู่ที่ 6.7 พันล้านบาท (คาด 7.5 พันล้านบาท) ส่วน OPEX น้อยกว่าคาดมาอยู่ที่ 1.74 หมื่นล้านบาท (เราคาด 1.78 หมื่นล้านบาท) จากค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการทรัพย์สินรอการขายลดลง            ด้านสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นได้โดดเด่นที่ +4.8% YoY (มากกว่าเป้าที่ 3% YoY) จากสินเชื่อภาครัฐที่เพิ่มถึง +39% YoY ส่วน NPL ดีกว่าคาดอยู่ที่ 2.99% ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ 3.14% จากลูกหนี้รายหนึ่งที่มีการแปลงหนี้เป็นทุน            ขณะที่มูลค่า NPL ลดลง -3.3% QoQ โดยมีการ write-off อีก 8.5 พันล้านบาทเรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2025E โดยกำไรสุทธิปี 2025E จะอยู่ที่ 4.6 หมื่นล้านบาท เติบโตได้อีก +6% YoY ขณะที่กำไรสุทธิ 1Q25E จะเพิ่มขึ้น YoY/QoQ จากสำรองฯที่จะลดลงได้อย่างต่อเนื่อง ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น +9% และ +12% เมื่อเทียบกับ SET ในช่วง 1 เดือน และ 3 เดือนที่ผ่านมา เพราะแนวโน้มกำไรที่ยังเติบโตได้ดี ประกอบกับมี Asset Quality ที่แข็งแกร่งจากการเน้นปล่อยสินเชื่อภาครัฐ ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงต่ำและรองรับกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงได้            รวมถึง KTB มี Dividend yield สูงราว 6% นอกจากนี้ยังมี Coverage ratio ที่ยังอยู่ในระดับสูงถึง 188% ขณะที่ valuation ปัจจุบันซื้อขายที่ระดับต่ำเพียง PBV ที่ 0.71x (-0.75SD below 10-yr average PBV) ด้านราคาหุ้นยังไม่สะท้อนกำไรรายไตรมาสที่ยืนเหนือระดับ 1 หมื่นล้านบาท อย่างต่อเนื่องมา 5 ไตรมาสติดกัน โดยยังคงเลือก KTB เป็น Top pick ของกลุ่ม

KTB ปี67โกยกำไร 43,856 ล้าน โต 11.3%

KTB ปี67โกยกำไร 43,856 ล้าน โต 11.3%

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB ประกาศผลประกอบการ ในปี 2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร เท่ากับ 43,856 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 ถ้าไม่รวมรายการตั้งสำรองสำหรับลูกค้ารายใหญ่รายหนึ่งและกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกันที่มีแนวโน้มของคุณภาพสินเชื่อที่เสื่อมค่าลงที่เกิดขึ้นในไตรมาส 4 ปี 2566 (กำไรสุทธิเติบโตร้อยละ 19.8 เมื่อเทียบกับปี 2567)           ธนาคารมุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ ดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวังและรอบคอบ พร้อมบริหารจัดการ Portfolio อย่างสมดุล ให้ความสำคัญกับการบริหารคุณภาพสินทรัพย์ และรักษา Coverage ratio ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ธนาคารมีสินเชื่อที่เติบโตร้อยละ 4.7 ส่วนใหญ่จากการขยายตัวในกลุ่มลูกค้ารายย่อยที่เป็นกลุ่มยุทธศาสตร์ของธนาคาร และสินเชื่อภาครัฐ รวมถึงการสนับสนุนนโยบายรัฐขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แก้ปัญหาเชิงโครงสร้างและการจัดการหนี้ตามแนวทาง Responsible Lending ทำให้สามารถเติบโตในสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ร้อยละ 17           ขณะที่รายได้จากการดำเนินงานขยายตัวร้อยละ 6.4 ส่วนใหญ่จากค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์ทางการเงินของธนาคารและบริษัทย่อย ผลิตภัณฑ์ตลาดเงินตลาดทุน รวมถึงรายได้จากหนี้สูญรับคืน สะท้อนนโยบายเชิงรุกในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการติดตามหนี้และการบริหารจัดการสินทรัพย์รอการขายของธนาคาร           ธนาคารมุ่งเน้นการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในองค์รวมอย่างมีประสิทธิภาพ มี Cost to Income ratio อยู่ที่ร้อยละ 43.2 ขณะที่ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ขยายตัว ส่วนใหญ่จากการขยายการลงทุนเกี่ยวกับเทคโนโลยีและดิจิทัลเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ พร้อมรับการเติบโตของอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและนวัตกรรมในอนาคต           ธนาคารยังคงบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์อย่างระมัดระวังและยืดหยุ่น มีสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ในระดับควบคุมได้ดีที่ 95,065 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.4 จากสิ้นปี 2566 และมี NPLs Ratio ร้อยละ 2.99 ลดลงจากสิ้นปี 2566 ให้ความสำคัญกับการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระดับที่เหมาะสม สอดคล้องกับแนวโน้มคุณภาพสินทรัพย์ รักษา Coverage ratio ในระดับสูงที่ร้อยละ 188.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 181.3 จากสิ้นปี เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจยุคใหม่           ทั้งนี้ ผลประกอบการในไตรมาส 4/2567 ได้สะท้อนผลกระทบของลูกหนี้รายใหญ่รายหนึ่งที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการและมีการแปลงหนี้เป็นทุนบางส่วนตามแผนฟื้นฟูดังกล่าวแล้ว มุมมองจาก บล.ดาโอ           บทวิเคราะห์ บล. ดาโอระบุว่า คงคำแนะนำ “ซื้อ” KTB และราคาเป้าหมายที่ 24.50 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.74x (-0.50SD below 10-yr average PBV) โดย KTB ประกาศกำไรสุทธิ 4Q24 อยู่ที่ 1.05 หมื่นล้านบาท (+71% YoY, -6% QoQ) ดีกว่าตลาดคาด +5% และเราคาด +4% จากการตั้งสำรองฯที่ลดลงมากกว่าคาดอยู่ที่ 6.7 พันล้านบาท (คาด 7.5 พันล้านบาท) ส่วน OPEX น้อยกว่าคาดมาอยู่ที่ 1.74 หมื่นล้านบาท (เราคาด 1.78 หมื่นล้านบาท) จากค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการทรัพย์สินรอการขายลดลง            ด้านสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นได้โดดเด่นที่ +4.8% YoY (มากกว่าเป้าที่ 3% YoY) จากสินเชื่อภาครัฐที่เพิ่มถึง +39% YoY ส่วน NPL ดีกว่าคาดอยู่ที่ 2.99% ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ 3.14% จากลูกหนี้รายหนึ่งที่มีการแปลงหนี้เป็นทุน            ขณะที่มูลค่า NPL ลดลง -3.3% QoQ โดยมีการ write-off อีก 8.5 พันล้านบาทเรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2025E โดยกำไรสุทธิปี 2025E จะอยู่ที่ 4.6 หมื่นล้านบาท เติบโตได้อีก +6% YoY ขณะที่กำไรสุทธิ 1Q25E จะเพิ่มขึ้น YoY/QoQ จากสำรองฯที่จะลดลงได้อย่างต่อเนื่อง ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น +9% และ +12% เมื่อเทียบกับ SET ในช่วง 1 เดือน และ 3 เดือนที่ผ่านมา เพราะแนวโน้มกำไรที่ยังเติบโตได้ดี ประกอบกับมี Asset Quality ที่แข็งแกร่งจากการเน้นปล่อยสินเชื่อภาครัฐ ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงต่ำและรองรับกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงได้            รวมถึง KTB มี Dividend yield สูงราว 6% นอกจากนี้ยังมี Coverage ratio ที่ยังอยู่ในระดับสูงถึง 188% ขณะที่ valuation ปัจจุบันซื้อขายที่ระดับต่ำเพียง PBV ที่ 0.71x (-0.75SD below 10-yr average PBV) ด้านราคาหุ้นยังไม่สะท้อนกำไรรายไตรมาสที่ยืนเหนือระดับ 1 หมื่นล้านบาท อย่างต่อเนื่องมา 5 ไตรมาสติดกัน โดยยังคงเลือก KTB เป็น Top pick ของกลุ่ม

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

KTB รับอานิสงส์เบิกจ่ายภาครัฐ  คาดกำไรปี 68 พุ่ง 15% แนะซื้อ เป้า 24.70 บ.

KTB รับอานิสงส์เบิกจ่ายภาครัฐ คาดกำไรปี 68 พุ่ง 15% แนะซื้อ เป้า 24.70 บ.

           หุ้นวิชั่น – ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์  ระบุว่า KTB มีกำไร 3Q67 +8% YoY หนุนโดยรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยจากค่าธรรมเนียมและหนี้สูญรับคืน ขณะคาดกำไร 4Q67F ยัง +9% YoY โตต่อเนื่องได้            คาดยังได้รับผลบวกหลังจากการเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐที่จะดีต่อสินเชื่อของ KTB และยังถือเป็นหนึ่งในธนาคารที่เป็นผู้นำดิจิทัลแบงกิ้ง ซึ่งจะได้ประโยชน์จากการสามารถขายผลิตภัณฑ์รายย่อยบนฐานลูกค้าจำนวนมากผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ต่างๆ โดยเชื่อกำไรปีนี้จะโตราว 15% ได้            เป็นหุ้นธนาคารที่มีอัตราเงินปันผลตอบแทนสูงสม่ำเสมอ คาดจ่ายปันผลตอบแทนปีนี้ราว 4.7%            แนวรับ=22/22.1 แนวต้าน=23/23.4            KTB | ซื้อ | TP=24.70 บ.

KTB มูลค่าหุ้นถูก เมื่อเทียบ ROE อนาคต มีปันผล 6% ราคาเป้า 23.00 บาท

KTB มูลค่าหุ้นถูก เมื่อเทียบ ROE อนาคต มีปันผล 6% ราคาเป้า 23.00 บาท

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.กสิกรไทย คาดสินเชื่อเดือนพฤศจิกายนยังเติบโต 1.2% จากเดือนก่อนและ 1% จากปีก่อน โดยหลักมาจากสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อภาครัฐที่มีสัดส่วน 27% และ 16% ตามลำดับ โดยไตรมาส 4/2567 น่าจะเติบโตเมื่อเทียบกับปีก่อนเนื่องจากไม่มีการตั้งสำรอง ECL เหมือนไตรมาส 4/2566 ด้านคุณภาพสินทรัพย์ในไตรมาส 3/2567 มี NPL และ NPL formation ที่ลดลงจากความปลอดภัยของพอร์ตสินเชื่อที่มีการทำ MOU สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อที่อยู่อาศัยของพนักงานรัฐวิสาหกิจที่หักเงินเดือนได้ คิดเป็น 90% และ 50% ตามลำดับ รวมเป็น 30% ของพอร์ตสินเชื่อรวม และอีก 16% เป็นสินเชื่อภาครัฐ ทำให้พอร์ตสินเชื่อราว 46% มีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้มีโอกาสเพิ่มอัตราการจ่ายปันผลจาก 35% หรืออัตราผลตอบแทนปันผล 6% เมื่อเทียบกับคู่แข่ง โดยมูลค่าหุ้นยังอยู่ในโซนถูกเมื่อเทียบกับศักยภาพ ROE ในอนาคต KTB: ราคาพื้นฐาน 23.00 บาท

KTB คาดปี 67 กำไรโตแกร่ง คุมคุณภาพสินเชื่อดี ชี้เป้า 24 บ.

KTB คาดปี 67 กำไรโตแกร่ง คุมคุณภาพสินเชื่อดี ชี้เป้า 24 บ.

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.พาย มีมุมมองเป็นบวกต่อการควบคุมค่าใช้จ่ายการดำเนินงานดีขึ้นทำให้ปรับคาดการณ์กำไรสุทธิเพิ่ม 2-3% ในปี 2024-26 โดยคาดว่ากำไรสุทธิในปี 2024 เติบโตแข็งแกร่งที่ 15.6% และกำไรมีแนวโน้มเติบโตชะลอตัวที่ 3.1%/4.4% ในปี 2024-26 (ไม่รวมผลกระทบจากโครงการ  “คุณสู้ เราช่วย” ของ ธปท.) โดยมองว่า KTB มีจุดแข็งในการควบคุมคุณภาพสินเชื่อได้ดี โดยคาดว่า NPL ratio จะทรงตัวที่ 3% ในปี 2024-26 และสำรองหนี้ฯ เพียงพอรองรับความไม่แน่นอนในอนาคต KTB (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 24.00 บาท)

abs

ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร

KTB คุณภาพสินทรัพย์ดี Valuation ยังอยู่ในโซนถูก เป้า 23 บาท

KTB คุณภาพสินทรัพย์ดี Valuation ยังอยู่ในโซนถูก เป้า 23 บาท

           หุ้นวิชั่น – ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.กสิกรไทย ชี้  KTB: ราคาพื้นฐาน 23.00 บาท มีมุมมองเชิงบวกจาก Loan ในเดือนพฤศจิกายน ที่ยังโตได้ 1.2% MoM และ 1% YoY หลัก ๆ มาจาก Corporate Loan และ Government Loan ที่มีสัดส่วนราว 27% และ 16% ตามลำดับ 4Q24 น่าจะโต YoY ได้เพราะไม่มีสำรองขนาดใหญ่เหมือน 4Q23 ที่ผ่านมา โดยมองว่า Asset Quality ใน 3Q24 มี NPL และ NPL Formation ลดลงเล็กน้อยในกลุ่มธนาคาร จากความปลอดภัยของลักษณะสินเชื่อที่มีการทำ MOU สำหรับลูกค้ากลุ่ม Personal Loan และ Mortgage Loan ที่มีสถานะเป็นลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งสามารถหักเงินเดือนมาชำระหนี้ได้ คิดเป็น 90% และ 50% ตามลำดับ รวมเป็น 30% ของพอร์ตสินเชื่อทั้งหมด อีกทั้ง 16% เป็น Government Loan ทำให้พอร์ตสินเชื่อราว 46% ค่อนข้างปลอดภัยสำหรับคุณภาพสินทรัพย์ในอนาคต นอกจากนี้ยังมีโอกาสเพิ่ม Payout Ratio จาก 35% หรือ Dividend Yield ที่ 6% เมื่อเทียบกับกลุ่มเพื่อน อีกทั้ง Valuation ยังอยู่ในโซนถูกเมื่อเทียบกับ Potential ROE ในอนาคต

KTB ลุ้นกำไร Q4 โตเกิน 15% ลงทุนภาครัฐหนุน คาดปันผล 4.7%

KTB ลุ้นกำไร Q4 โตเกิน 15% ลงทุนภาครัฐหนุน คาดปันผล 4.7%

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์  ระบุ KTB กำไร 3Q67 +8% YoY หนุนโดยรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยจากค่าธรรมเนียมและหนี้สูญรับคืน ส่งผลให้กำไร 9M67 +9.4% YoY พร้อมลุ้นกำไร 4Q67F ยังโตสูงเทียบ YoY หนุนกำไรทั้งปีนี้โต >15% ได้           คาดรับผลบวกหลังจากการเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐ ซึ่งจะดีต่อสินเชื่อของ KTB และยังถือเป็นหนึ่งในธนาคารที่เป็นผู้นำดิจิทัลแบงก์กิ้ง ซึ่งได้รับประโยชน์จากการสามารถขายผลิตภัณฑ์รายย่อยบนฐานลูกค้าจำนวนมากผ่านแอปฯ ออนไลน์ต่างๆ           เป็นหุ้นธนาคารที่มีอัตราเงินปันผลตอบแทนสูงสม่ำเสมอ คาดจ่ายปันผลตอบแทนปีนี้ราว 4.7%           แนวรับ = 21/21.2 แนวต้าน = 21.9/22           KTB | ซื้อ | TP=23.20 บ.

KTB จับตาสำรองฯลดลง โบรกชี้ Q4 กำไรพุ่ง65%

KTB จับตาสำรองฯลดลง โบรกชี้ Q4 กำไรพุ่ง65%

          หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์บล. ดาโอ ระบุว่า คงคำแนะนำ “ซื้อ” KTB และราคาเป้าหมายที่ 24.50 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.74x (-0.50SD below 10-yr average PBV) ประมาณการกำไรสุทธิ 4Q24E ที่ 1 หมื่นล้านบาท (+65% YoY, -9% QoQ) โดยกำไรเพิ่มขึ้น YoY จากสำรองฯที่ลดลงเป็นหลัก (-43% YoY, -10% QoQ) เพราะ 4Q23 มีตั้งสำรองฯจาก ITD และมีรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น (+7% YoY, +3% QoQ) จาก Wealth management ขณะที่กำไรลดลง QoQ เพราะมี OPEX เพิ่มขึ้น +3% QoQ ตามฤดูกาล และมี NIM ลดลงมาอยู่ที่ 3.36% จากไตรมาสก่อนที่ 3.39% ส่วนสินเชื่อรวมตัวเพิ่มขึ้น (+0.4% YoY, +1.0% QoQ) จากสินเชื่อภาครัฐเป็นหลัก ด้าน NPL เพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 3.20% จาก 3Q24 ที่ 3.14% (แต่มีโอกาสดีกว่าคาดหากนำ THAI ออกได้ทันใน 4Q24E โดย %NPL จะลดลงได้ –0.13%) เรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2024E/2025E โดยกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงที่สุดในกลุ่มธนาคารที่ +18% YoY จากสำรองฯที่ลดลงกลับมาที่ระดับปกติจากปีก่อนที่ตั้งเยอะมากจาก ITD และคาดปี 2025E กำไรจะอยู่ที่ 4.6 หมื่นล้านบาท เติบโตได้อีก +7% YoY ขณะที่แนวโน้มกำไรสุทธิ 1Q25E จะเพิ่มขึ้น YoY/QoQ จากสำรองฯที่จะลดลงได้อย่างต่อเนื่องราคาหุ้นเพิ่มขึ้น +5% เมื่อเทียบกับ SET ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา เพราะได้ Fund flow จากวายุภักดิ์ และ KTB เน้นปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้น ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงต่ำและรองรับกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงได้ นอกจากนี้ยังมี Coverage ratio ที่ยังอยู่ในระดับสูงถึง 184% ขณะที่ valuation ปัจจุบันซื้อขายที่ระดับต่ำเพียง PBV ที่ 0.68x (-0.75SD below 10-yr average PBV) ขณะที่ราคาหุ้นยังไม่สะท้อนกำไรรายไตรมาสที่ยืนเหนือระดับ 1 หมื่นล้านบาท อย่างต่อเนื่องมา 4 ไตรมาสติดกัน โดยเรายังคงเลือก KTB เป็น Top pick ของกลุ่ม

abs

Hoonvision

โฟกัส KTB-KBANK สินเชื่อรายใหญ่-รัฐแกร่ง

โฟกัส KTB-KBANK สินเชื่อรายใหญ่-รัฐแกร่ง

หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล.ดาโอระบุว่า สินเชื่อเดือน พ.ย. 24 เพิ่มขึ้นได้ดีที่ +0.6% MoM จากสินเชื่อรายใหญ่และภาครัฐ ภาพรวมสินเชื่อเดือน พ.ย. 24 ทั้ง 7 ธนาคารที่เรา cover อยู่ที่ 10.7 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น +0.7% MoM ส่วนใหญ่มาจากสินเชื่อรายใหญ่และสินเชื่อภาครัฐ ส่วนสินเชื่อรายย่อยที่มาจากสินเชื่อเช่าซื้อยังคงลดลงต่อเนื่อง โดยธนาคารที่มีสินเชื่อเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ BBL เพิ่มขึ้น +1.4% MoM จากสินเชื่อรายใหญ่เป็นหลัก รองลงมาเป็น KTB เพิ่มขึ้น +1.2% MoM จากสินเชื่อภาครัฐเป็นหลัก และ KBANK +1.0% MoM จากสินเชื่อรายใหญ่และรายย่อย ขณะที่ธนาคารที่มีสินเชื่อลดลงมากที่สุด MoM คือ KKP -0.7% MoM ลดลงจากสินเชื่อเช่าซื้อทั้งในส่วนของรถใหม่และรถมือสอง รองลงมาเป็น SCB -0.4% MoM จากสินเชื่อทุกประเภท แต่บริษัทลูกๆอย่าง AutoX และ Monix ยังคงเพิ่มขึ้นได้อยู่ ขณะที่ TTB ทรงตัว MoM จากสินเชื่อรายใหญ่และสินเชื่อ High yield ยังเพิ่มขึ้น แต่สินเชื่อรายย่อยและ SME ยังลดลง ส่วนภาพรวมของเงินฝากเดือน พ.ย. 24 อยู่ที่ 12.6 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น +0.2% MoM โดยธนาคารที่เงินฝากเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ BBL เพิ่มขึ้น +1.0% MoM รองลงมาเป็น KBANK, KTB เพิ่มขึ้น +0.5%, +0.2% จากเงินฝาก CASA เป็นหลัก ส่วนเงินฝากที่ลดลงมากที่สุดคือ SCB -2.3% MoM จากเงินฝากทุกประเภท โดยมี saving ลดลงมากที่สุด รองลงมาเป็น TTB -1.1% MoM จากเงินฝากประจำที่ลดลง (ที่มา: ข้อมูลบริษัท)            มองเป็นบวกต่อกลุ่มธนาคาร มีมุมมองเป็นบวกต่อสินเชื่อในเดือน พ.ย. 24 ที่เพิ่มขึ้นได้ดีที่ +0.6% MoM จากเดือน ต.ค. 24 ที่เพิ่มขึ้น +0.2% MoM โดยการเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากสินเชื่อรายใหญ่และภาครัฐเป็นหลัก ขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อยังลดลงตามทิศทางของยอดขายรถยนต์ที่มีการปรับตัวลดลงและจากกำลังซื้อชะลอตัว รวมถึงหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ทำให้กลุ่มธนาคารมีการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ขณะที่เราคาดว่าสินเชื่อรายใหญ่และภาครัฐจะมี Momentum ที่เพิ่มขึ้นได้ในช่วงเดือน ธ.ค. 24 ตามโครงการใหญ่ๆของภาครัฐที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ภาพรวมการประมาณการการเติบโตของสินเชื่อรวมทั้งปี 2024E ของกลุ่มที่ +0.8% YoY น่าจะมี downside เล็กน้อยเพราะ 11M24 อยู่ที่ -1.0% YTD ด้าน NPL คาดว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เชื่อว่าจะทยอยเพิ่มขึ้นไม่น่ากังวลมากนัก เพราะแต่ละธนาคารมีการตั้งสำรองฯจำนวนมากมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และมีการทยอยขายหนี้เสียออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยคาด NPL ในปี 2024E จะอยู่ที่ 3.29% จาก 2.92% ในปี 2023 คงน้ำหนักเป็น “มากกว่าตลาด” เลือก KTB,           KBANK เป็น Top pick ขณะที่ BBL จะได้รับผลบวกจากสินเชื่อที่เติบโตได้สูงสุดในเดือน พ.ย. 24 เราให้น้ำหนักการลงทุนของกลุ่มธนาคารเป็น “มากกว่าตลาด” เพราะแนวโน้มการเติบโตของกำไรปี 2024E-2025E จะยังเติบโตได้ต่อเนื่องอีก 5-6% YoY ขณะที่ valuation ยังถูก โดยเทรดที่ระดับเพียง 0.65x PBV (-1.25SD below 10-yr average PBV) ขณะที่ยังคงเลือก KTB, KBANK เป็น Top pick ขณะที่ BBL จะได้รับผลบวกจากสินเชื่อที่เติบโตได้สูงที่สุดในเดือน พ.ย. 24 - KTB ราคาเป้าหมายที่ 24.50 บาท อิง PBV 2025E ที่ 0.85x (-0.75SD below 10-yr average PBV) เพราะกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงที่สุดในกลุ่มธนาคารที่ +18% YoY ขณะที่เราคาดว่าแนวโน้มกำไรสุทธิ 4Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY แต่จะลดลง QoQ จาก OPEX ที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล และ KTB เน้นปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้น ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงต่ำและรองรับกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงได้ - KBANK ราคาเป้าหมายที่ 176.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.70x (-1.00SD below 10-yr average PBV) เพราะคุณภาพของสินทรัพย์ที่ดีขึ้น และเราคาดหวัง JV AMC กับ BAM จะช่วยลด NPL ได้ในระยะยาว และคาดกำไร 4Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY จากสำรองฯที่ลดลง โดยปัจจุบันซื้อขายเพียง 0.66x PBV (-1.25SD below 10-yr average PBV) ถูกกว่า SCB ที่ 0.81x PBV

โบรกมอง KTB บวก ลงทุนภาครัฐ หนุนพอร์ตสินเชื่อโต

โบรกมอง KTB บวก ลงทุนภาครัฐ หนุนพอร์ตสินเชื่อโต

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.กสิกรไทย มีมุมมองเชิงบวกต่อ KTB จากโอกาสเพิ่มอัตราการจ่ายเงินปันผลในปี 2568 พร้อมความสามารถควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีโดยมีลูกหนี้ 30% อยู่ภายใต้ MOU ที่สามารถหักเงินเดือนชำระหนี้ได้โดยตรง และมี Coverage Ratio ที่สูงราว 180% เป็นการป้องกันความเสี่ยง            คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการลงทุนภาครัฐที่เพิ่มขึ้นในปี 2568 ซึ่งจะช่วยให้พอร์ตสินเชื่อเติบโตตามเป้าด้วยความเสี่ยงที่ต่ำกว่าผลิตภัณฑ์อื่น มูลค่าหุ้นยังถูกที่อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (PBV) ที่ 0.6 เท่า มีอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) 9-10% และอัตราเงินปันผลตอบแทน 6%            KTB ราคาพื้นฐาน 23.00 บาท

KSS คาด SET “ช่วงปลายความผันผวน” ต้าน 1415 จุด ชู KTB, SCB, BTS

KSS คาด SET “ช่วงปลายความผันผวน” ต้าน 1415 จุด ชู KTB, SCB, BTS

           หุ้นวิชั่น – ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) คาด SET วันนี้ “ช่วงปลายความผันผวน” ต้าน 1411/1415 จุด รับ 1380/1363 จุด ดัชนีS&P500 ดิ่ง -2.95% ตอบ รับผลประชุม Fed ที่แม้ปรับลดดอกเบี้ย -25 bps ตามคาด แต่ประเด็นที่ตลาดให้น ้าหนัก คือ Dot Plot ปี2025F ที่คาดปรับลดดอกเบี้ยเหลือ 2 ครั้ง (vs ตลาดคาด 2-3 ครั้ง, เดิม 4 ครั้ง) โดยรวมผลกระทบนโยบาย Trump 2.0 ขณะที่ปรับเพิ่ม GDP ปี2025F สู่ 2.1% (เดิม 2.0%) vs prev. 2.5% หลังประชุม US Bond Yield 10 ปี+12 bps มาที่ 4.51% Dollar Index แข็งค่าสู่ 107.9 จุด ประเมินระยะสั้นท าให้เกิดภาพปรับสถานะ สินทรัพย์เสี่ยงโลกอีกรอบ แต่ประเมินความผันผวนจะอยู่ในช่วงปลาย โดยไทยกดดันจากเงินบาทอ่อนค่าสู่ 34.5 +/- บาท อย่างไรก็ตาม ภาพ หลักปี2025F ที่ Fed ยังมองวงจรดอกเบี้ยเป็นขาลง เศรษฐกิจสหรัฐ Soft Landing vs BOT ที่ยังคงคาดการณ์ GDP ปี2025F เร่งขึ้น โดย มีภายในหนุน เราประเมินความผันผวนระยะสั้นเป็นโอกาสทยอยตั้งรับ หุ้นเด่น คือ กลุ่ม Domestic ที่เกาะไปกับกระแส Yield เร่งขึ้น+เศรษฐกิจ ภายในเด่น อาทิธนาคาร ประกัน ผสาน หุ้น Defensive อาทิสื่อสาร ค้าปลีก (สินค้าจ าเป็น) ร.พ. กลุ่มที่ได้จิตวิทยาบวกเงินบาทอ่อนค่าหนุน วันนี้แนะน ำ KTB, SCB, BTS

KSS คาด SET “Rebound” ต้าน 1433 จุด ชู BJC, CRC, KTB

KSS คาด SET “Rebound” ต้าน 1433 จุด ชู BJC, CRC, KTB

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) คาด SET วันนี้ “Rebound” ต้าน 1429/1433 จุด รับ 1415/1411 จุด ตลาดหุ้นสหรัฐแกว่งขึ้น ดัชนีS&P500 +0.38% หุ้นเทคฯนำตลาด Broadcom ยังมีโมเมนตัม ขณะที่ปัจจัยมหภาค Flash PMI สหรัฐฯ ธ.ค. 24 ภาคบริการขยายตัว ดีกว่าคาด เร่งขึ้นสู่ 58.5 จุด ชดเชยฝั่งภาคผลิตที่ต่ำกว่าคาด หนุนเศรษฐกิจสหรัฐฯเป็นภาพ Goldilocks to Soft Landing แต่ตลาดน่าจะเริ่มรอสัญญาณช่วงถัดไปโดยเฉพาะมุมมองดอกเบี้ยและเศรษฐกิจจากการประชุม Fed (ไทยทราบผลเช้า 19 ธ.ค.) บ่งชี้จาก US Bond Yield 10 ปีที่ยังแกว่ง 4.4%           ขณะที่เอเชียการฟื้นตัวจีนยังค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ความน่าสนใจระยะสั้นที่จะดึงดูดเม็ดเงินลงทุนยังไม่มาก ด้านไทยหลังตลาดปรับตัวลดลง 6 วันติด ส่งผลให้ Current Equity Risk Premium (ERP) แตะ 3.8% > ค่าเฉลี่ย 3.1% ส่วน Forward ERP ขึ้นไป 4.4% > Avg + 1 S.D. (4.05%) น่าจะเริ่มเป็นจุดกลับมาสร้างความน่าสนใจตลาดหุ้นไทย ผสาน ภายในลุ้นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม           ประเมิน SET วันนี้ Rebound หุ้นนำ คือ กลุ่ม Domestic ธนาคาร ค้าปลีก กลุ่มที่เป็นเป้า Domestic Long Term Funds อาทิ สื่อสาร วันนี้แนะนำ BJC, CRC, KTB

THAI แปลงหนี้เป็นทุน BBL-KTBรับอานิสงส์ เช็กเลย!

THAI แปลงหนี้เป็นทุน BBL-KTBรับอานิสงส์ เช็กเลย!

            หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล. ดาโอ ระบุว่า BBL, KTB แจ้งแบบ 246-2 เข้าถือหุ้น THAI จากการแปลงหนี้เป็นทุน ทำให้แนวโน้ม NPL จะลดลง โดย BBL แจ้งในแบบรายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ (แบบ 246-2) ของหุ้น THAI ที่จำนวน 2,407,879,062 หุ้น สัดส่วน 10.3507% ส่วน KTB ถือหุ้น THAI ที่ 1,327,322,126 หุ้น สัดส่วน 5.7280% (ที่มา: SEC)             มีมุมมองเป็นบวกต่อ BBL และ KTB เพราะจะทำให้ NPL จะลดลง คาดเร็วสุดใน 4Q24E โดยอ้างอิงจากหนังสือชี้ชวน THAI (วันที่ 20 ต.ค. 22) พบว่า BBL มีการปล่อยสินเชื่อ (ไม่รวมหุ้นกู้) ให้ THAI ที่ 9.3 พันล้านบาท และ KTB อยู่ที่ 6.9 พันล้านบาท และหลังจากมีการแปลงหนี้เป็นทุนพบว่าBBL ถือหุ้นใน THAI ที่ประมาณ 2.4 พันล้านหุ้น (สัดส่วน 10.35%) จากเดิมที่ 9.4 ล้านหุ้น โดยมีราคาแปลงหนี้เป็นทุนที่ 2.5452 บาท ทำให้เราคาดว่าจะได้มูลค่าที่แปลงหนี้เป็นทุนได้ 6.1 พันล้านบาท ซึ่งจะทำให้ NPL ของ BBL จะลดลงได้ -0.22% จาก 3Q24 ที่อยู่ที่ 3.40% ทั้งนี้หลังการเพิ่มทุนแบบ RO สำเร็จ หากผู้ถือหุ้นเดิมใช้สิทธิ์ครบ 100% จะส่งผลให้ BBL ถือหุ้น THAI ที่ระดับราว 7.30% ซึ่งเป็นไปตามแผนของ BBL ที่จะถือหุ้นไม่เกิน 10%KTB ถือหุ้นใน THAI ที่ประมาณ 1.327 พันล้านหุ้น (สัดส่วน 5.728%) จากเดิมไม่พบจำนวนหุ้นเพราะไม่ได้ติดรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยมีราคาแปลงหนี้เป็นทุนที่ 2.5452 บาท ทำให้เราคาดว่าจะได้มูลค่าที่แปลงหนี้เป็นทุนได้ 3.4 พันล้านบาท ซึ่งจะทำให้ NPL ของ KTB จะลดลงได้ -0.13% จาก 3Q24 ที่อยู่ที่ 3.14% ทั้งนี้หลังการเพิ่มทุนแบบ RO สำเร็จ หากผู้ถือหุ้นเดิมใช้สิทธิ์ครบ 100% จะส่งผลให้ KTB ถือหุ้น THAI ที่ระดับราว 4.02%โดยเราคาดว่าแนวโน้ม NPL จากประเด็นนี้จะลดลงได้เร็วสุดใน 4Q24E             แนะนำ “ซื้อ” BBL และราคาเป้าหมายที่ 186.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.60x (-1.00SD below 10-yr average PBV) เพราะ BBL ยังคงมีความแข็งแกร่งทางด้านการเงินที่รองรับความเสี่ยงได้ดีกว่าคู่แข่ง โดยมี coverage ratio สูงที่สุดในกลุ่มที่ 267% ด้าน Valuation ยังน่าสนใจโดยเทรดที่ PBV เพียง 0.53x หรือที่ระดับ -1.25SD ย้อนหลัง 10 ปี ถูกกว่ากลุ่มที่เทรดที่ PBV ที่ 0.66x             แนะนำ “ซื้อ” KTB และราคาเป้าหมายที่ 24.50 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.74x (-0.50SD below 10-yr average PBV) จากกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงที่สุดในกลุ่มธนาคารที่ +18% YoY ขณะที่กำไรสุทธิ 4Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY และ KTB เน้นปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้น ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงต่ำและรองรับกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงได้ ขณะที่ valuation ปัจจุบันซื้อขายที่ระดับต่ำเพียง PBV ที่ 0.67x (-1.00SD below 10-yr average PBV)

บล.กรุงศรี ให้น้ำหนักลงทุนแบงก์ KTB-KBANK ดาวเด่น

บล.กรุงศรี ให้น้ำหนักลงทุนแบงก์ KTB-KBANK ดาวเด่น

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) กลุ่มธนาคารรายงานกำไรสุทธิไตรมาส 3/2567 ที่ 5.47 หมื่นลบ. เพิ่มขึ้น +9% y-y และ +2% q-q เพราะการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย (Non-NII) และการลดลงของค่าใช้จ่ายสำรอง (ECL) ไตรมาสนี้ BBL, SCB และ KKP รายงานกำไรสุทธิดีกว่าคาด ขณะที่ธนาคารที่เหลือรายงานกำไรสุทธิใกล้เคียงฝ่ายวิเคราะห์คาด โดยธนาคารที่รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 3/2567 เติบโต y-y และ q-q คือ BBL,SCB และ KKP สำหรับธนาคารที่รายงานกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น y-y ลดลง q-q คือ KBANK ,KTB และ TTB ส่วนธนาคารรายงานกำไรสุทธิลดลง y-y และ q-q คือ TISCO           ภาพรวมกลุ่มปี 2568 คาดธนาคารได้รับผลกระทบเชิงลบ จากทิศทางดอกเบี้ยขาลง อย่างไรก็ตามคาดจะเห็นผลบวกในเรื่องคุณภาพสินทรัพย์ นอกจากนั้นธนาคารยังคงปันผลเด่น ดังนั้นคงน้ำหนักการลงทุนเป็น NEUTRAL และคง KBANK และ KTB เป็น Top Pick

บล.กรุงศรี เคาะกำไร KTB โตแรง ชูเป้า 24 บาท

บล.กรุงศรี เคาะกำไร KTB โตแรง ชูเป้า 24 บาท

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) มีมุมมอง Neutral ต่อกำไรสุทธิในไตรมาส 3/2567 ที่ 1.11 หมื่นลบ. ของ KTB ใกล้กับการวิเคราะห์และตลาดคาด โดยกำไรเพิ่ม +8% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของเงินลงทุน (FVTPL)           ขณะที่กำไรลดลง -1% จากไตรมาสก่อนหน้า จากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่าย IT และค่าใช้จ่ายสำรอง (ECL) สำหรับสินเชื่อลดลง -2.5% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน เพิ่มขึ้น +0.1 % จากไตรมาสก่อนหน้า คิดเป็น -0.5% YTD การเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า จากสินเชื่อภาครัฐ ด้านคุณภาพสินทรัพย์ควบคุมได้ดี NPL Ratio อยู่ที่ 3.14% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/2567 ที่ 3.12%           ฝ่ายวิเคราะห์ชอบ KTB และคงเป็น Top Pick ของกลุ่มธนาคารคู่กับ KBANK (BUY, TP 180 บ.) เพราะ i) กำไรสุทธิปี 2567-2568 คาดเติบโตเด่น +19% และ +10% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน คาดได้ผลบวกจากงบประมาณภาครัฐใน ครึ่งปีหลัง 2567 ถึง ครึ่งปีแรก 2568 ให้เป้า KTB 24 บาท

KTB กำไร Q3 ตามคาค เล็งไตรมาส 4 โตต่อ

KTB กำไร Q3 ตามคาค เล็งไตรมาส 4 โตต่อ

          หุ้นวิชั่น -บล. ดาโอ คงคำแนะนำ “ซื้อ” KTB และราคาเป้าหมายที่ 23.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.68x (-0.75SD below 10-yr average PBV) โดย KTB ประกาศกำไรสุทธิ 3Q24 อยู่ที่ 1.1 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น +8% YoY แต่ลดลง -1% QoQ เป็นไปตามที่ตลาดและเราคาด โดยมีรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิมากกว่าคาด จาก Wealth management ขณะที่มี OPEX มากกว่าคาดจากค่าใช้จ่าย IT ที่เพิ่มขึ้น ด้าน NPL เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3.14% จากไตรมาสก่อนที่ 3.12% ขณะที่มูลค่า NPL ลดลง -0.4% QoQ โดยมีการ write-off อีกราว 6 พันล้านบาท จากไตรมาสก่อนที่ 7.5 พันล้านบาท กำไรสุทธิ 9M24 คิดเป็น 79% จากประมาณการทั้งปี ทำให้เรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงที่สุดในกลุ่มธนาคารที่ +15% YoY จากสำรองฯที่ลดลงกลับมาที่ระดับปกติ ขณะที่เราคาดว่ากำไรสุทธิ 4Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY แต่จะลดลง QoQ           ทั้งนี้ประมาณกำไรมี upside เพิ่มจากสำรองฯที่จะลดลงได้มากกว่าคาด หาก KTB มีการปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้นไปอีก เพราะสินเชื่อภาครัฐไม่ต้องมีการตั้งสำรองฯ           โดยขอรอการประชุมนักวิเคราะห์อีกที ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น +12% เมื่อเทียบกับ SET ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา เพราะได้ Fund flow จากวายุภักดิ์ และ KTB เน้นปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้น ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงต่ำและรองรับกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงได้ นอกจากนี้ยังมี Coverage ratio ที่ยังอยู่ในระดับสูงถึง 184% ขณะที่ valuation ปัจจุบันซื้อขายที่ระดับต่ำเพียง PBV ที่ 0.73x (-0.50SD below 10-yr average PBV) ขณะที่ราคาหุ้นยังไม่สะท้อนกำไรรายไตรมาสที่ยืนเหนือระดับ 1.1 หมื่นล้านบาท อย่างต่อเนื่องมา 3 ไตรมาสติดกัน           โดยยังคงเลือก KTB เป็น Top pick ของกลุ่ม

KTB กำไร Q3 ชน 1.1หมื่นล้านบาท ส่วน 9 เดือนโต 9.4%

KTB กำไร Q3 ชน 1.1หมื่นล้านบาท ส่วน 9 เดือนโต 9.4%

          KTB รายงานผลประกอบการไตรมาส 3/2567 มีกำไรสุทธิ 11,107 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน ขณะที่ช่วง 9 เดือนแรกของปี กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 9.4% อยู่ที่ 33,381 ล้านบาท เน้นบริหาร Portfolio อย่างสมดุล พร้อมขับเคลื่อนนวัตกรรมการเงินและร่วมยื่นขอใบอนุญาต Virtual Bank เพื่อเตรียมความพร้อมรับอนาคตเศรษฐกิจดิจิทัล ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB เผยภาพรวมผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 3/2567           เศรษฐกิจไทยปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่ยังอยู่ในระดับต่ำ และเป็นการขยายตัวที่ไม่ทั่วถึงในรูปแบบ K-shaped Economy โดยมีการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวเป็นเครื่องยนต์หลัก และได้รับปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ ทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ การลดภาระค่าใช้จ่าย และการเพิ่มรายได้ให้กับภาคครัวเรือน อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตและภาคการส่งออกกำลังเผชิญกับความท้าทายจากการพัฒนาผลิตภาพแรงงานเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน เศรษฐกิจโลกที่มีทิศทางชะลอตัวท่ามกลางปัญหาความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ ความผันผวนของค่าเงินบาท โดยเฉพาะธุรกิจ SME ที่ส่วนใหญ่ยังคงเปราะบางและขาดความยืดหยุ่นในการปรับตัวจึงทำให้ฟื้นตัวได้ช้า ส่วนภาคครัวเรือนยังได้รับแรงกดดันจากภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูง มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังได้รับผลกระทบจากสภาวะภูมิอากาศแปรปรวนที่ส่งผลให้เกิดปัญหาอุทกภัยในบางพื้นที่           ผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 3/2567 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 2/2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารเท่ากับ 11,107 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา ธนาคารเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ ดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวังและรอบคอบ ให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินทรัพย์ รักษา Coverage ratio ในระดับสูงที่ร้อยละ 184.1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 181.3 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ทั้งนี้สินเชื่ออยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมา จากการบริหารจัดการ Portfolio รักษาสมดุลด้านความเสี่ยงและผลตอบแทน แม้มีกำรชำระคืนของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ ในขณะที่รายได้จากการดำเนินงานขยายตัวเล็กน้อย ร้อยละ 2.8 บริหารจัดการค่าใช้จ่ายในองค์รวมอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ Cost to Income ratio เท่ากับร้อยละ 42.4 ธนาคารตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระดับที่เหมาะสมใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมา รองรับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ รวมถึงความท้าทายจากความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างไม่ทั่วถึง ทั้งนี้ มีสินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ที่ 98,301 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.1 จากสิ้นปี 2566 มี NPLs Ratio เท่ากับร้อยละ 3.14           เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2566 กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 มุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนพร้อมบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์อย่างยืดหยุ่นและระมัดระวัง บริหารจัดการ Portfolio เพื่อรักษาสมดุลและมีคุณภาพ ส่งผลให้รายได้รวมจากการดำเนินงานขยายตัวร้อยละ 4.3 ธนาคารบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในองค์รวมอย่างมีประสิทธิภาพ โดย Cost to Income ratio เท่ากับร้อยละ 42.4 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ธนาคารตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระดับที่เหมาะสม ภาพรวมผลประกอบการสำหรับช่วงเก้าเดือนของปี 2567           ผลประกอบการในช่วง 9 เดือนของปี 2567 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารเท่ากับ 33,381 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 มุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน บริหารจัดการ Portfolio อย่างสมดุลและมีคุณภาพ ประกอบกับการขยายตัวของรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิและรายได้จากการดำเนินงานอื่น ๆ ซึ่งรวมทั้งจากหนี้สูญรับคืน ส่งผลให้รายได้จากการดำเนินงานขยายตัวร้อยละ 9.9 ธนาคารได้มุ่งเน้นการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในองค์รวมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี Cost to Income ratio เท่ากับร้อยละ 42.5 ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นผลจากการบริหารจัดการทรัพย์สินรอการขายอย่างระมัดระวัง โดยธนาคารตั้งค่าเผื่อด้อยค่าทรัพย์สิน           รอการขายตามศักยภาพของทรัพย์สินอย่างเหมาะสม อีกทั้งธนาคารยังคงให้ความสำคัญกับการขยายการลงทุนเกี่ยวกับเทคโนโลยีและดิจิทัลเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ครอบคลุมลูกค้าในทุกภาคส่วน และเพื่อเตรียมความพร้อมรับการเติบโตของอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและนวัตกรรมในอนาคต ทั้งนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระดับที่เหมาะสม ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ           ณ 30 กันยายน 2567 ธนาคาร (งบเฉพาะธนาคาร) มีเงินกองทุนชั้นที่ 1 ร้อยละ 18.95 ของสินทรัพย์ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยง และมีเงินกองทุนทั้งสิ้นร้อยละ 20.97 ของสินทรัพย์ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยง ซึ่งอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รวมถึงมีสภาพคล่องในระดับที่เพียงพอโดยรักษาระดับของ Liquidity Coverage ratio (LCR) อย่างต่อเนื่อง สูงกว่าเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด           ธนาคารกรุงไทย ขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรม พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ลูกค้าในทุกมิติ สนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมสร้างคุณค่า ตอบโจทย์ลูกค้า สู่ความยั่งยืน” ล่าสุด ธนาคารได้สร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับประเทศอีกครั้ง โดยบริษัท กรุงไทย เวนเจอร์ส จำกัด (Krungthai Ventures) บริษัทเงินร่วมลงทุนภายใต้ธนาคารกรุงไทย ได้ร่วมลงทุนในบริษัท เสิร์ชเอ็นจินอ็อปทิไมเซชั่น จำกัด ผู้ก่อตั้งโกเธอร์ (Gother) แพลตฟอร์มบริการท่องเที่ยวออนไลน์ของไทย เชื่อมต่อ Ecosystem ที่แข็งแกร่งของธนาคาร ทั้งแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT และแอปฯ เป๋าตัง พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการสตาร์ทอัพของไทย และ SMEs ให้เติบโตแข็งแกร่ง อีกทั้ง ธนาคารยังได้ร่วมกับพันธมิตรในการยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเงิน สนับสนุนการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างมีคุณภาพของคนไทยและธุรกิจไทย ลดความเหลื่อมล้ำ สนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน           ทั้งนี้ ธนาคารให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางให้สามารถปรับตัวและฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืน โดยธนาคารตระหนักถึงสถานการณ์น้ำท่วมเฉียบพลันในหลายพื้นที่ของประเทศ ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้าง ธนาคารได้เร่งบรรเทาความเดือดร้อนในการดำรงชีพและออกมาตรการทางการเงินเพื่อลดภาระทางการเงินให้กับผู้ประสบภัย ครอบคลุมการลดดอกเบี้ยและลดค่างวดชำระหนี้ พร้อมเสริมสภาพคล่องในการดำรงชีพ ตลอดจนการซ่อมแซมทรัพย์สินและที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหาย           ธนาคารมุ่งมั่นขับเคลื่อนการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่กระทบต่อการดำรงชีพของลูกค้าประชาชน และเป็นอุปสรรคสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย จึงเดินหน้าขยายความร่วมมือเพิ่มเติม ภายใต้ “โครงการรวมหนี้ข้าราชการยั่งยืน” โดยมีความร่วมมือกับกระทรวงการคลัง กระทรวงศึกษาธิการ สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ กำลังพล สหกรณ์ข้าราชการ สหกรณ์จำกัด และสหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น และอยู่ระหว่างขยายความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อช่วยเหลือข้าราชการกลุ่มเปราะบาง ลดภาระทางการเงิน เพิ่มสภาพคล่องในการดำรงชีพ พร้อมส่งเสริมความรู้ สร้างวินัยทางการเงิน ตามแนวทางการแก้หนี้ยั่งยืน และแนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ของธนาคารแห่งประเทศไทย

คัดหุ้นปันผลสูง KTB BBL ADVANC HMPRO

คัดหุ้นปันผลสูง KTB BBL ADVANC HMPRO

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัดระบุถึง หุ้นที่จ่ายปันผลสูงและคาดได้อานิสงส์จากการเป็นเป้าหมายสะสมของกองทุนวายุภักษ์และกองทุนที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีช่วงปลายปี แนะนำหุ้นที่ผลประกอบการมีแนวโน้มเติบโตได้ในปี 2025 เลือก KTB BBL ADVANC HMPRO

ชำแหละกำไรหุ้นแบงก์ ชี้ KTB-KBANK ซ่อนค่า

ชำแหละกำไรหุ้นแบงก์ ชี้ KTB-KBANK ซ่อนค่า

          หุ้นวิชั่น - บล.ดาโอ ระบุว่า ยังคงน้ำหนักการลงทุน “มากกว่าตลาด” โดยคาดกำไรสุทธิรวม 3Q24E ของกลุ่มธนาคารจะอยู่ที่ 5.2 หมื่นล้านบาท (+3% YoY, -3% QoQ) โดยเพิ่มขึ้น YoY เกิดจาก TTB ที่ได้ผลประโยชน์ทางภาษีราว 1.1 พันล้านบาท จากปีก่อนที่ไม่มี ประกอบกับ KTB มีรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิเพิ่มขึ้นได้จากการ Cross-selling ในกลุ่ม และ KBANK มีสำรองฯที่ลดลงจากปีก่อนที่ตั้งเผื่อมาเยอะ           ส่วนกำไรที่ลดลง QoQ เพราะกำไรจากเงินลงทุนในส่วนของเงินปันผลรับลดลงตามฤดูกาล โดยธนาคารที่มีกำไรสุทธิ 3Q24E เติบโตได้ดีทั้ง YoY/QoQ คือ SCB +5% YoY, +1% QoQ เพราะมีสำรองฯที่ลดลง YoY และมีการขาย Robinhood ได้เงินทันที 400 ล้านบาท           ส่วนธนาคารที่เติบโตได้ดี YoY คือ TTB +13% YoY, KBANK +7% และ KTB +6% ขณะที่กำไรสุทธิ 3Q24E ที่ลดลง YoY, QoQ คือ TISCO -10% YoY, -3% QoQ เพราะสำรองฯเพิ่มขึ้นตามการปล่อยสินเชื่อผลตอบแทนสูงที่เพิ่มขึ้น รองลงมาเป็น BBL -3% YoY และ -7% QoQ เพราะมีกำไรจากเงินลงทุนลดลง           ด้านสินเชื่อรวม 3Q24E ลดลง -2% YoY และ -1% QoQ เพราะสินเชื่อรายใหญ่และภาครัฐมีการชำระคืน ส่วน NPL รวมทยอยเร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ 3.19% จาก 2Q24 ที่ 3.13% แต่ยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้           ยังคงประมาณการกำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารปี 2024E/2025E อยู่ที่ 2.05 แสนล้านบาท/2.17 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น +5% YoY/+6% YoY จากสำรองฯที่ลดลงเป็นหลัก โดยคาดว่าจะมีการปรับตัวลดลง -10% YoY จากปี 2023 ที่เพิ่มขึ้น +17% YoY เพราะมีการตั้งเผื่อมาเยอะแล้ว ขณะที่คาด กนง. จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 50bps ในช่วงปลายปี 2024E-1H25E กลุ่มธนาคารปรับตัวเพิ่มขึ้น +6%/+13% ใน 3 และ 6 เดือนที่ผ่านมา เพราะ Fund flow ที่ไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง           อย่างไรก็ตาม valuation ยังน่าสนใจ เทรดที่ระดับเพียง 0.70x 2024E PBV (-1.00SD below 10-yr average PBV) Top picks เลือก KBANK และ KTB KBANK (ซื้อ/เป้า 176.00 บาท) จากคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น และ valuation ถูก โดยซื้อขายเพียง 0.65x PBV ถูกกว่ากลุ่มที่ 0.70x PBV และถูกกว่า SCB ที่ 0.80x PBV KTB (ซื้อ/เป้า 23.00 บาท) เพราะกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มสูงสุดในกลุ่มที่ +15% YoY จากสำรองฯที่ลดลง และจะเน้นการปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้น ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456