ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#KKP


KKP หั่น GDP เหลือ 2.3% ชี้ไทยเสี่ยงโตต่ำ นทท.จีนหด-นโยบาย Trump กดดัน

KKP หั่น GDP เหลือ 2.3% ชี้ไทยเสี่ยงโตต่ำ นทท.จีนหด-นโยบาย Trump กดดัน

          KKP Research ประเมินเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มโตต่ำและเผชิญความไม่แน่นอนสูงจากนโยบายการค้าของสหรัฐ ฯ โดยพิจารณาจากข้อมูลเศรษฐกิจปี 2024 ที่เติบโตได้ค่อนข้างต่ำเพียง 2.5% แม้ว่าการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวได้ดีและมีมาตรการแจกเงินขนาดใหญ่จากภาครัฐแล้วก็ตาม บ่งชี้ถึงความอ่อนแอในภาคส่วนอื่นๆ ของเศรษฐกิจไทยอย่างชัดเจนจากปัญหาเชิงโครงสร้างโดยเฉพาะการผลิตภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีขนาดประมาณ 25% ของ GDP แต่หดตัวต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาจากการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในหลายอุตสาหกรรม  ทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเปราะบางและกระจุกตัวมากขึ้น จากการพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวเป็นหลัก ซึ่งอาจไม่เพียงพอที่จะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตในระยะยาวได้ อีกทั้งการเข้าสู่สังคมสูงอายุ ยังจะทำให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง และหากไม่มีการเปลี่ยนแปลง มีแนวโน้มที่อาจต่ำกว่า 2.0% ภายในปี 2035           สำหรับปี 2025 KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026 ท่องเที่ยวจีนไม่มา ชั่วคราวหรือถาวร ?           จำนวนนักท่องเที่ยวจีนตั้งแต่ช่วงหลังตรุษจีนมาเติบโตได้ต่ำกว่าที่ประเมินไว้มาก โดยจำนวนนักท่องเที่ยวจีนปรับตัวลดลงจากประมาน 6 แสนคนต่อเดือน หรือ 60% ของช่วงก่อนโควิด ลงมาที่ระดับต่ำกว่า 4 แสนคน หรือ 35% ของช่วงก่อนโควิดซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2023 ประเด็นที่น่ากังวล คือ สัญญาณการฟื้นตัวที่ช้าของนักท่องเที่ยวจีนบางส่วนไม่ได้เกิดจากปัจจัยชั่วคราวและอาจทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้าลงในระยะยาว นักท่องเที่ยวจีนมีความนิยมเที่ยวในประเทศมากขึ้น ข้อมูลในช่วงที่ผ่านมาสะท้อนว่าการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในต่างประเทศของชาวจีนฟื้นตัวช้ากว่าการท่องเที่ยวในประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยการท่องเที่ยวต่างประเทศต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดประมาณ 13.5% ในขณะที่การท่องเที่ยวในประเทศต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดประมาณ 6.4% ซึ่งอาจสะท้อนว่านักท่องเที่ยวจีนมีความชื่นชอบในการท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น การแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นจากประเทศญี่ปุ่นและมาเลเซีย โดยจำนวนเที่ยวบินจากจีนไปยังญี่ปุ่นและมาเลเซียมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 อย่างชัดเจน นอกจากนี้เหตุการณ์ลักพาตัวนักแสดงจีนในไทยยังเพิ่มความกังวลกับนักท่องเที่ยวจีนที่จะมาเที่ยวไทย กรุ๊ปทัวร์จีนคือกลุ่มหลักที่ไม่กลับมา โดยแม้นักท่องเที่ยวทั่วไป (Free Individual Traveler) จะเริ่มฟื้นตัวกลับมาได้กว่า 77% ของช่วงก่อนโควิด แต่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนแบบกรุ๊ปทัวร์ยังคงไม่กลับมาในระดับเดิม โดยอยู่เพียงระดับประมาณ 45% ของจำนวนช่วงก่อนโควิดเท่านั้น           KKP Research ประเมินว่าหากนักท่องเที่ยวจีนไม่กลับมาฟื้นตัวจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยอาจไม่สามารถกลับไปแตะระดับ 40 ล้านคนเท่ากับช่วงก่อนโควิดได้เร็วตามคาด เนื่องจากนักท่องเที่ยวจีนคิดเป็นสัดส่วนกว่า 30% ของภาคการท่องเที่ยวทั้งหมด โดย KKP Research ปรับประมาณการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวปี 2025 เป็น 37.2 ล้านคน จาก 38.1 ล้านคน และปี 2026 เป็น 39.9 ล้านคนจาก 40.6 ล้านคน เศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญหน้ากับความเสี่ยงจากนโยบายการค้าสหรัฐ ฯ           KKP Research ประเมินว่าประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่เผชิญความเสี่ยงจากนโยบายการค้าสหรัฐ ฯ เป็นลำดับต้น ๆ ของภูมิภาค โดยมีโอกาสสูงที่ไทยจะอยู่ในรายชื่อกลุ่มแรกของการเรียกเก็บภาษี reciprocal tariffs ซึ่งสะท้อนจากข้อมูลสองส่วน คือ 1) การเกินดุลการค้ากับสหรัฐ ฯ ในระดับสูง ซึ่งไทยถือเป็นประเทศลำดับที่ 11 ของโลกที่มีการเกินดุลการค้ากับสหรัฐ ฯ มากที่สุด 2) ส่วนต่างระหว่างอัตราภาษีเฉลี่ยตามน้ำหนักการค้าที่ไทยคิดกับสหรัฐ ฯ และสหรัฐ ฯ คิดกับไทยถือว่าสูงเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศกลุ่ม Emerging Markets และสูงที่สุดใน ASEAN และไทยยังมีมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีอีกด้วย           KKP Research ประเมินว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากนโยบายการค้าสหรัฐฯ มีความไม่แน่นอนสูงมากและยังไม่ได้รวมผลกระทบไว้ในการประเมินตัวเลข GDP โดยมี 4 ปัจจัยหลักที่ต้องประเมินผลกระทบจากการขึ้นภาษี คือ 1) ขนาดของภาษีที่สหรัฐ ฯ จะขึ้นกับไทย 2) ผลต่อการชะลอตัวของการส่งออกของไทยจากการขึ้นภาษี 3) มูลค่าเพิ่มที่ไทยสร้างได้จากการส่งออกไปยังสหรัฐ ฯ และ 4) ระยะเวลาที่ไทยจะถูกขึ้นภาษี โดยประเมินว่า           1) อัตราภาษีที่ไทยจะถูกเรียกเก็บจากสหรัฐฯ จะอยู่ในช่วง 10% - 20% โดยคำนวณจากส่วนต่างของอัตราภาษีที่ไทยคิดกับสหรัฐ ฯ และสหรัฐ ฯ คิดกับไทย อย่างไรก็ตามอัตรานี้ยังมีความไม่แน่นอนสูง           2) มูลค่าเพิ่มที่ไทยสร้างได้ในประเทศจากสินค้าส่งออกไปยังสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับ 30% - 40%  ในช่วงก่อนปี 2020 สินค้าส่งออกไทยไปสหรัฐฯ มีมูลค่าเพิ่มค่อนข้างสูงที่ประมาน 50% - 60% อย่างไรก็ตามตั้งแต่หลังปี 2020 การเติบโตของการส่งออกเกิดจากการนำเข้าจากจีนเพื่อส่งต่อไปยังสหรัฐฯ ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มในประเทศในระดับต่ำมาก ทำให้มูลค่าเพิ่มของสินค้าส่งออกไทยในปัจจุบันลดต่ำลง           จากสองปัจจัยสำคัญ KKP Research คาดการว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในภาพรวมจะอยู่ในช่วง 0.2 – 0.4ppt หากมีการประกาศขึ้นภาษีจริงและอัตราภาษีคงไว้ทั้งปี ผลกระทบดังกล่าวไม่รวมถึงผลจากข้อเสนอที่ไทยอาจต้องเจรจาเพื่อให้สหรัฐปรับลดอัตราภาษีนำเข้าลงมา ปัจจัยเหล่านี้อาจเป็นปัจจัยลบเพิ่มเติมโดยต้องจับตาช่วงต้นเดือนเมษายน ที่สหรัฐฯ จะมีการประกาศเกี่ยวกับนโยบายภาษีนำเข้าเพิ่มเติม นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐมีแนวโน้มให้ผลจำกัด           มาตรการแจกเงินผ่านนโยบาย Digital Wallet เป็นความหวังของภาครัฐว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ส่งผลบวกน้อยกว่าที่ประเมินไว้ โดยมาตรการแจกเงินใน 2 ระยะแรกคิดเป็นเงินมูลค่ารวมกว่า 1.77 แสนล้านบาท แต่การบริโภคภาคเอกชนในช่วงไตรมาส 4 ปรับตัวดีขึ้นเพียงเล็กน้อย และอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีโดยเฉพาะเมื่อไม่รวมการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว ทำให้แม้ว่าภาครัฐมีการอนุมัติงบกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมผ่านการแจกเงินระยะที่สามซึ่งจะแจกคนเป็นจำนวน 2.7 ล้านคนอายุระหว่าง 16-20 คิดเป็นเงิน 2.7 หมื่นล้านบาทและจะเริ่มแจกช่วงไตรมาส 2 ของปี และการแจกเงินระยะสุดท้ายน่าจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี แต่จากขนาดของการแจกเงินที่เล็กลง KKP Research ประเมินว่าผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมจะมีจำกัดโดยคาดว่าการบริโภคจะขยายตัวได้ใกล้เคียงกับระดับที่เคยประเมินไว้ คาด ธปท. ลดดอกเบี้ยถึง 1.25% ในปี 2026           ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในเดือนตุลาคมและเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ลงมาที่ระดับ 2% ซึ่งมีทิศทางสอดคล้องกับที่ KKP Research ประเมินไว้ว่ามีโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะปรับลดลงเหลือ 1.5% ในปีนี้ อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแอต่อเนื่อง ความไม่แน่นอนด้านการค้าโลก ภาวะทางการเงินที่ตึงตัวจากการหดตัวของสินเชื่อ และคุณภาพสินเชื่อที่ยังคงแย่ ส่งผลให้ KKP Research คาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีการปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มอีก 2 ครั้งในปี 2025 และอีก 1 ครั้งในปี 2026 และทำให้อัตราดอกเบี้ยสุดท้าย (Terminal rate) ในรอบการลดดอกเบี้ยนี้จะอยู่ที่ 1.25% เหตุผลสำคัญที่เชื่อว่าดอกเบี้ยควรลดลงเพิ่มเติม คือ ปัญหาด้านความเสี่ยงเสถียรภาพระบบการเงินลดน้อยลงมาก จากสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่ธนาคารระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และสินเชื่อภาคธนาคารหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณหนี้ต่อ GDP ของไทยเริ่มปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการสื่อสารของ ธปท. ในช่วงที่ผ่านมาที่กล่าวว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้จะไม่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงด้านเสถียรภาพของระบบการเงิน สัญญาณในตลาดการเงินหลายส่วนสะท้อนว่านโยบายการเงินในปัจจุบันอาจตึงตัวมากเกินไป อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มอยู่ต่ำกว่าระดับศักยภาพในอดีต นอกจากนี้สัญญาณของตลาดการเงินทั้งเงินบาทที่แข็งค่า อัตราดอกเบี้ยดอกเบี้ยระยะยาวที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง อาจส่งสัญญาณว่านโยบายการเงินในปัจจุบันมีแนวโน้มตึงตัวเกินไป

KKP เปิดตัว KKP Lifecare Saving ตอบโจทย์การเงิน-ด้านสุขภาพ

KKP เปิดตัว KKP Lifecare Saving ตอบโจทย์การเงิน-ด้านสุขภาพ

                หุ้นวิชั่น -ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) จับมือ บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ "KKP Lifecare Saving" บัญชีเงินฝากที่มาพร้อมประกันโรคร้ายแรง ตอบโจทย์คนที่ต้องการทั้งผลตอบแทนทางการเงินและความอุ่นใจด้านสุขภาพในบัญชีเดียว ด้วยจุดเด่นที่ให้ความคุ้มครอง 40 โรคร้ายแรง ทุนประกันภัยสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมข้อเสนอพิเศษจากธนาคารเกียรตินาคินภัทร รับดอกเบี้ยเงินฝากสูงถึง 0.75% ต่อปี (วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 – 31 พฤษภาคม 2568)                 นายกัมพล จันทวิบูลย์  กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร กล่าวว่า “ปัจจุบันอัตราการป่วยด้วยโรคร้ายแรงของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นมะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความเครียดและมลภาวะที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวัน โดยเฉพาะคนวัยทำงานที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้ ธนาคารจึงได้ร่วมมือกับเจนเนอราลี่ ประกันชีวิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ KKP Lifecare Saving ขึ้นมาเพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการด้านการเงินและลดภาระทางการเงินในกรณีที่เกิดโรคร้ายแรง”                 บัญชีเงินฝากพร้อมประกันโรคร้ายแรง KKP Lifecare Saving ได้รับการออกแบบให้ตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการทั้งการออมเงินและการคุ้มครองสุขภาพ โดยการผสานข้อดีของบัญชีเงินฝากและแผนประกันสุขภาพเข้าด้วยกัน ด้วยจุดเด่น ดังนี้ คุ้มครองการเสียชีวิตทุกกรณี ตลอด 24 ชั่วโมง จำนวนเงินเอาประกันภัย 50,000 บาท คุ้มครอง 40 โรคร้ายแรง ครอบคลุมโรคที่พบบ่อย เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะไตวายเรื้อรัง วงเงินคุ้มครองสูงสุดถึง 1,000,000 บาท รับดอกเบี้ยเงินฝากสูงถึง 0.75% ต่อปี (ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 – 31 พฤษภาคม 2568 ) ไม่ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยรายปีเพิ่มเติม เพียงรักษายอดเงินฝากขั้นต่ำ 50,000 บาท วงเงินเอาประกันภัยสูงถึง 125% ของยอดเงินฝากเฉลี่ย 2 เดือน ก่อนเดือนที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคร้ายแรง สะสมดอกเบี้ยเงินฝากทุกวัน ช่วยให้เงินเติบโตโดยไม่ปล่อยเงินให้อยู่เฉย ๆ                 “KKP Lifecare Saving เป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าสำหรับผู้ที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเงินและต้องการเพิ่มหลักประกันด้านสุขภาพ โดยเฉพาะในยุคที่ค่ารักษาพยาบาลมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การมีบัญชีเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ยดี พร้อมกับการคุ้มครองโรคร้ายแรง จะช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจขึ้น ปลอดภัย และไร้กังวล ทั้งในวันนี้และอนาคต” นายกัมพลกล่าว                 นายอาร์ช คอลมิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ กล่าวว่า “เจนเนอราลี่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยตามความต้องการและสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดย KKP Lifecare Saving เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าธนาคารเกียรตินาคินภัทรที่ให้ความสำคัญในการวางแผนทางการเงินอย่างครอบคลุม ทั้งการออมทรัพย์และการป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพ  ธนาคารเกียตินาคินภัทรถือได้ว่าเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่สำคัญของเจนเนอราลี่ เราจึงมุ่งมั่นที่จะเสริมความแข็งแกร่งด้วยการนำเสนอประกันภัยที่ตอบโจทย์ ผ่านการคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม โดดเด่น และให้ประโยชน์ที่คุ้มค่าสำหรับลูกค้า ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักของบริษัทฯ” นายอาร์ชกล่าว                 ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารเกียรตินาคินภัทรทุกสาขา หรือ โทร. 02 165 5555

[ภาพข่าว] KKP เปิดตัวผู้นำคนใหม่ “กัมพล จันทวิบูลย์”  ขับเคลื่อนสู่การเป็นคู่คิดทางการเงิน

[ภาพข่าว] KKP เปิดตัวผู้นำคนใหม่ “กัมพล จันทวิบูลย์” ขับเคลื่อนสู่การเป็นคู่คิดทางการเงิน

            หุ้นวิชั่น - ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) (KKP) ประกาศแต่งตั้ง นายกัมพล จันทวิบูลย์ ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ แทนนาย ฟิลิป เชียง ชอง แทน ซึ่งกำลังจะครบกำหนดเกษียณอายุในเดือนธันวาคม 2568 รับภารกิจเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์และช่องทางบริการของธนาคารเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อและตอบโจทย์แบบรวบยอดสำหรับลูกค้า มุ่งหน้าสู่การเป็นคู่คิดทางการเงินในทุกช่วงชีวิต ในขณะที่นายฟิลิปจะเปลี่ยนบทบาทมาสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านในฐานะของประธานธุรกิจธนาคารรายย่อย             ในการเข้ามารับตำแหน่ง นายกัมพลกล่าวว่า โจทย์สำคัญคือการทำให้ KKP เป็นมากกว่าผู้นำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงิน แต่คือ “คู่คิด” ที่เข้าใจ “วัตถุประสงค์” หรือความต้องการในแต่ละช่วงของชีวิตของลูกค้าได้อย่างถ่องแท้ และนำเสนอคำตอบได้อย่างครอบคลุมตรงจุด และในขณะเดียวกัน ก็ต้องเร่งใช้เทคโนโลยีเสริมศักยภาพการให้บริการ และสร้างประสบการณ์สำหรับลูกค้าที่ราบรื่นในทุกช่องทางไม่ว่าออนไลน์หรือออฟไลน์ และมีความจำเพาะเจาะจงสำหรับลูกค้าแต่ละราย             “เพื่อก้าวสู่เป้าหมายดังกล่าว ธนาคารจะเดินหน้าพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าด้านไอที ข้อมูล หรือกระบวนการต่างๆ ให้มีความเสถียร ปลอดภัย และให้ประสบการณ์ใช้งานที่ดี ส่งเสริมทรัพยากรบุคคลให้สร้างผลิตภาพได้อย่างเต็มที่ นอกจากนั้น ก็คือการสื่อสารกับลูกค้าเพื่อสร้างความเข้าใจในคุณค่าที่เราต้องการส่งมอบ เพื่อรักษาและขยายฐานลูกค้าอย่างต่อเนื่อง” นายกัมพลกล่าว             ทั้งนี้ นายกัมพล ยังเป็น CEO คนแรกและคนปัจจุบันของ KKP Dime บริษัทภายในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เจ้าของแอปพลิเคชัน Dime! ซึ่งบุกเบิกการเทรดหุ้นสหรัฐฯ  จนกลายเป็นแอปพลิเคชันยอดนิยมสำหรับนักลงทุนรายย่อย ที่ปัจจุบันมียอดดาวน์โหลดร่วม 2,000,000 ดาวน์โหลด โดยนายกำพลจะดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของธนาคาร และ CEO ของ KKP Dime ควบคู่กันจนกว่าจะสรรหาผู้ดำรงตำแหน่ง CEO ของ KKP Dime ได้             นายอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร กล่าวว่า “คุณกัมพลมีประสบการณ์ในการทำ Digital Banking มาอย่างยาวนานและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและข้อมูลเพื่อสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า ในแบบที่เข้าถึงได้ง่ายและแตกต่าง อย่างที่แสดงให้เห็นจากความสำเร็จของแอปพลิเคชัน Dime! จึงมั่นใจว่าคุณกัมพลจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจของธนาคารสู่การเป็นคู่คิดทางการเงินในทุกช่วงชีวิตของลูกค้าได้เป็นอย่างดี”             “การที่สถาบันการเงินสามารถตอบโจทย์ทางการเงินลูกค้าได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และเปี่ยมประสิทธิภาพ คือหัวใจหลักที่ช่วยปลดปล่อยศักยภาพให้กับระบบเศรษฐกิจ  ทิศทางที่เราจะมุ่งหน้าต่อไปจึงยังเป็นการคิดค้นและพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อส่งมอบคุณค่าที่แท้จริงและยั่งยืนให้กับลูกค้า ภายใต้วิสัยทัศน์ ‘เติบโตไปพร้อมกับความสำเร็จของลูกค้า เศรษฐกิจ และสังคม’” นายกัมพล กล่าว

image not found

[ภาพข่าว] KKP เปิดตัวผู้นำคนใหม่ “กัมพล จันทวิบูลย์” ขับเคลื่อนสู่การเป็นคู่คิดทางการเงิน

          ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) (KKP) ประกาศแต่งตั้ง นายกัมพล จันทวิบูลย์ ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ แทนนาย ฟิลิป เชียง ชอง แทน ซึ่งกำลังจะครบกำหนดเกษียณอายุในเดือนธันวาคม 2568 รับภารกิจเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์และช่องทางบริการของธนาคารเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อและตอบโจทย์แบบรวบยอดสำหรับลูกค้า มุ่งหน้าสู่การเป็นคู่คิดทางการเงินในทุกช่วงชีวิต ในขณะที่นายฟิลิปจะเปลี่ยนบทบาทมาสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านในฐานะของประธานธุรกิจธนาคารรายย่อย           ในการเข้ามารับตำแหน่ง นายกัมพลกล่าวว่า โจทย์สำคัญคือการทำให้ KKP เป็นมากกว่าผู้นำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงิน แต่คือ “คู่คิด” ที่เข้าใจ “วัตถุประสงค์” หรือความต้องการในแต่ละช่วงของชีวิตของลูกค้าได้อย่างถ่องแท้ และนำเสนอคำตอบได้อย่างครอบคลุมตรงจุด และในขณะเดียวกัน ก็ต้องเร่งใช้เทคโนโลยีเสริมศักยภาพการให้บริการ และสร้างประสบการณ์สำหรับลูกค้าที่ราบรื่นในทุกช่องทางไม่ว่าออนไลน์หรือออฟไลน์ และมีความจำเพาะเจาะจงสำหรับลูกค้าแต่ละราย           “เพื่อก้าวสู่เป้าหมายดังกล่าว ธนาคารจะเดินหน้าพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าด้านไอที ข้อมูล หรือกระบวนการต่างๆ ให้มีความเสถียร ปลอดภัย และให้ประสบการณ์ใช้งานที่ดี ส่งเสริมทรัพยากรบุคคลให้สร้างผลิตภาพได้อย่างเต็มที่ นอกจากนั้น ก็คือการสื่อสารกับลูกค้าเพื่อสร้างความเข้าใจในคุณค่าที่เราต้องการส่งมอบ เพื่อรักษาและขยายฐานลูกค้าอย่างต่อเนื่อง” นายกัมพลกล่าว           ทั้งนี้ นายกัมพล ยังเป็น CEO คนแรกและคนปัจจุบันของ KKP Dime บริษัทภายในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เจ้าของแอปพลิเคชัน Dime! ซึ่งบุกเบิกการเทรดหุ้นสหรัฐฯ  จนกลายเป็นแอปพลิเคชันยอดนิยมสำหรับนักลงทุนรายย่อย ที่ปัจจุบันมียอดดาวน์โหลดร่วม 2,000,000 ดาวน์โหลด โดยนายกำพลจะดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของธนาคาร และ CEO ของ KKP Dime ควบคู่กันจนกว่าจะสรรหาผู้ดำรงตำแหน่ง CEO ของ KKP Dime ได้           นายอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร กล่าวว่า “คุณกัมพลมีประสบการณ์ในการทำ Digital Banking มาอย่างยาวนานและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและข้อมูลเพื่อสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า ในแบบที่เข้าถึงได้ง่ายและแตกต่าง อย่างที่แสดงให้เห็นจากความสำเร็จของแอปพลิเคชัน Dime! จึงมั่นใจว่าคุณกัมพลจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจของธนาคารสู่การเป็นคู่คิดทางการเงินในทุกช่วงชีวิตของลูกค้าได้เป็นอย่างดี”           “การที่สถาบันการเงินสามารถตอบโจทย์ทางการเงินลูกค้าได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และเปี่ยมประสิทธิภาพ คือหัวใจหลักที่ช่วยปลดปล่อยศักยภาพให้กับระบบเศรษฐกิจ  ทิศทางที่เราจะมุ่งหน้าต่อไปจึงยังเป็นการคิดค้นและพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อส่งมอบคุณค่าที่แท้จริงและยั่งยืนให้กับลูกค้า ภายใต้วิสัยทัศน์ ‘เติบโตไปพร้อมกับความสำเร็จของลูกค้า เศรษฐกิจ และสังคม’” นายกัมพล กล่าว

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

“สินเชื่อรถเรียกเงิน” KKP AUTO ยื่นมือช่วยเสริมสภาพคล่อง  ให้วงเงินสูงสุดในตลาด

“สินเชื่อรถเรียกเงิน” KKP AUTO ยื่นมือช่วยเสริมสภาพคล่อง ให้วงเงินสูงสุดในตลาด

                หุ้นวิชั่น - ในภาวะเศรษฐกิจที่ความคล่องตัวทางการเงินเป็นตัวแปรสำคัญในการจัดการกับความท้าทายหรือคว้าโอกาสในชีวิต KKP AUTO โดยธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP)  ขอ “ยื่นมือ” สนับสนุนทุกความต้องการทางการเงิน ผ่าน “สินเชื่อรถเรียกเงิน” สินเชื่อรีไฟแนนซ์รถยนต์ที่ให้วงเงินสูงสุดถึง 150% ของราคาประเมินรถ ซึ่งนับเป็นวงเงินสูงที่สุดในตลาด เพื่อตอบโจทย์บุคคลทั่วไป เจ้าของกิจการขนาดเล็ก และผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าเพื่อลงทุนในธุรกิจ รับมือค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน จัดการภาระหนี้สิน  หรือรวมหนี้จากสถาบันการเงินอื่นมาเป็นก้อนเดียว   ตอบทุกปัญหาทางการเงิน                 นายเตชินท์ ดุลยฤทธิรงค์  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สภาพเศรษฐกิจในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาทำให้ผู้กู้เกิดความต้องการเข้าถึงเงินก้อนที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้กู้จำนวนมากกลับพบอุปสรรคจากเงื่อนไขการขอสินเชื่อที่เข้มงวด และในที่สุดก็อาจถูกปฏิเสธ  “สินเชื่อรถเรียกเงิน” จึงออกแบบมาเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่มี “รถ” สามารถนำมาใช้ “เรียกเงิน” สร้างสภาพคล่องได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้น สำหรับพนักงานเงินเดือน ความคล่องตัวทางการเงินช่วยให้สามารถบริหารจัดการหนี้สิน หรือค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด โดยไม่กระทบต่อแผนการเงินระยะยาว สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระและเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก (SMEs) เงินทุนหมุนเวียนคือกุญแจสำคัญในการขยายกิจการ เพิ่มสินค้า หรือบริหารกระแสเงินสดได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับเกษตรกรยุคใหม่ เงินก้อนช่วยให้สามารถบริหารจัดการรายได้ที่ขึ้นอยู่กับฤดูกาล รวมถึงใช้พัฒนาอุปกรณ์และขยายผลผลิตได้                 “‘สินเชื่อรถเรียกเงิน’ ต้องการเป็น ‘มือ’ ที่คอยสนับสนุนและส่งเสริมให้คนไทยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่พึ่งพาได้ โปร่งใสและปลอดภัย เราเชื่อว่าสินเชื่อในรูปแบบของการใช้รถยนต์เป็นหลักประกันด้วยเงื่อนไขที่ยืดหยุ่นและให้วงเงินสูง จากสถาบันการเงินที่ได้รับการรับรองจากธนาคารแห่งประเทศไทยและอยู่คู่สังคมไทยมาอย่างยาวนาน จะช่วยให้ลูกค้าสบายใจได้ว่าเงื่อนไขของสินเชื่อเป็นไปตามมาตรฐานสากล ช่วยป้องกันปัญหาการพึ่งพาหนี้สินนอกระบบที่อาจก่อให้เกิดภาระหนักและยากต่อการบริหารจัดการในระยะยาว อยากให้คนไทยที่ต้องการเรียกเงินก้อน เรียกใช้ ‘สินเชื่อรถเรียกเงิน’” นายเตชินท์กล่าว จุดเด่นของ “สินเชื่อรถเรียกเงิน” วงเงินสูงสุดในตลาด – ให้สินเชื่อสูงสุดถึง 150% ของราคาประเมินรถยนต์ มั่นคงและน่าเชื่อถือ – ดำเนินงานโดยธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) สะดวกและรวดเร็ว – อนุมัติไว พร้อมบริการประเมินวงเงินและลงนามสัญญาถึงที่ทั่วประเทศ อัตราดอกเบี้ย - เริ่มต้น25% ต่อเดือน                 “สินเชื่อรถเรียกเงิน” ใช้สัญลักษณ์ “มือสีชมพู” ที่ดูเป็นมิตร เป็นตัวแทนของบริการที่จริงใจ สะดวก และพร้อมยื่นไปสนับสนุนลูกค้าในทุกๆ ที่ ลูกค้าจึงมั่นใจได้ว่า “สินเชื่อรถเรียกเงิน” โดย KKP AUTO ของธนาคารเกียรตินาคินภัทร พร้อมอยู่เคียงข้างในทุกสถานการณ์ทางการเงิน และสนับสนุนให้คุณมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีขึ้นในอนาคต                 สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อธนาคารเกียรตินาคินภัทร ได้แล้ววันนี้ที่ www.รถเรียกเงิน.com หรือ สอบถามเพิ่มเติมโทร 02-495-4555

KKP ปันผลเพิ่ม 2.75บาท ได้ยิวด์ 5% เป้า 50บ.

KKP ปันผลเพิ่ม 2.75บาท ได้ยิวด์ 5% เป้า 50บ.

หุ้นวิชั่น -บทวิเคราะห์ บล. ดาโอระบุว่า KKP อนุมัติจ่ายเงินปันผลงวดปี 2024 จำนวน 4.00 บาทต่อหุ้น (งวด 1H24 จ่ายไปแล้วที่ 1.25 บาทต่อหุ้น) ทำให้งวด 2H24 จะจ่ายเพิ่มอีก 2.75 บาทต่อหุ้น โดยจะ XD วันที่ 2 พ.ค. 25 (ที่มา: SET) มุมมองเป็นบวกต่อการจ่ายเงินปันผลที่มากกว่าที่เราคาด โดยการจ่ายงวดปี 2024 ที่ 4.00 บาทต่อหุ้น (มากกว่าที่ตลาดคาด DPS ไว้ทั้งปี 2024 ที่ 2.86 บาทต่อหุ้น และเราคาดที่ 2.71 บาทต่อหุ้น) คิดเป็น dividend yield ทั้งปี 2024 ที่ระดับ 7.2% และคิดเป็น Dividend payout ที่ 68% มากกว่าปี 2023 ที่ 47% (Dividend payout ช่วง 10 ปีย้อนหลังอยู่ที่ราว 36-92%) ขณะที่หากคิดแค่งวด 2H24 ที่จ่ายที่ 2.75 บาทต่อหุ้น จะคิดเป็น dividend yield สูงราว 5.0% ซึ่งจะเป็น sentiment เชิงบวกต่อราคาหุ้นได้ โดยเรายังคงคําแนะนํา “ถือ” KKP ราคาเป้าหมายที่ 50.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.65x (-1.50SD below 10-yr average PBV)

KKP ปันผล 2.75 บ./หุ้น XD 2 พ.ค.68

KKP ปันผล 2.75 บ./หุ้น XD 2 พ.ค.68

หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) (KKP) แจ้งการจ่ายปันผลเป็นเงินสด วันที่คณะกรรมการมีมติ : 20 ก.พ. 2568 ชนิดการปันผล : จ่ายปันผลเป็นเงินสด วันกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับปันผล (Record date) : 06 พ.ค. 2568 วันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล(XD) : 02 พ.ค. 2568 จ่ายให้กับ : ผู้ถือหุ้นสามัญ อัตราการจ่ายปันผลเป็นเงินสด (บาทต่อหุ้น) : 2.75 มูลค่าที่ตราไว้ (Par)(บาท) : 10.00 วันที่จ่ายปันผล : 22 พ.ค. 2568 จ่ายปันผลจาก : งวดดำเนินงานวันที่ 01 ม.ค. 2567 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2567

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

KKP-TISCO-TTBรับโชค บสย.จะเพิ่มค้ำสินเชื่อลีสซิ่ง

KKP-TISCO-TTBรับโชค บสย.จะเพิ่มค้ำสินเชื่อลีสซิ่ง

           หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล. ดาโอระบุว่า นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ในปี 25 บสย.ยังมุ่งเน้นให้ความสำคัญและช่วยเหลือให้กลุ่มเปราะบางและเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยเตรียมขยายผลิตภัณฑ์และเป้าหมายการให้การค้ำประกันสินเชื่อ โดยขณะนี้กำลังศึกษาค้ำประกันสินเชื่อลีสซิ่งรถยนต์เพื่อประกอบธุรกิจ ซึ่งแนวคิดเกิดจากหลังได้หอการค้าไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ขอให้หน่วยงานรัฐมีส่วนช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่เจอประสบปัญหารายได้และสภาพคล่องจนไม่อาจกระทบต่อการผ่อนรถยนต์            เบื้องต้นได้หารือกับธนาคารที่มีบริษัทลูกให้บริการลีสซิ่งรถยนต์แล้ว 6-8 ราย หลังจากจัดทำรายละเอียดแล้วจะนำเสนอบอร์ดบสย.เพื่อพิจารณาและอนุมัติ และลงนามความร่วมมือกับธนาคารทันที โดยใช้งบประมาณที่เป็นกำไรจากการดำเนินการของ บสย.ส่วนหนึ่ง คาดว่าหลังบอร์ด บสย.เห็นชอบจะสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่เดือน มี.ค.นี้ ซึ่งเชื่อว่าได้รับความตอบรับจากทั้งบริษัทให้บริการลีสซิ่ง และค่ายรถยนต์ เป็นการกระตุ้นยอดซื้อรถใหม่ และ ผู้ประกอบการกล้าลงทุนเพิ่ม โดย บสย.จะค้ำประกันสำหรับผู้มีประวัติดีและยังดำเนินธุรกิจ แต่เราค้ำประกันไม่เกิน 20% ของวงเงินหนี้ พร้อมกันนี้กำลังเตรียมมาตรการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่เจอปัญหาเข้าถึงสินเชื่อไม่ได้ (ที่มา: มติชนออนไลน์)            มองเป็นบวกจากประเด็นดังกล่าว โดยหาก บสย. เข้ามาช่วยค้ำประกันสินเชื่อเช่าซื้อให้กับกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะ SME ที่ตอนนี้เข้าถึงสินเชื่อได้ยาก ซึ่งเบื้องต้น บสย. จะค้ำประกันให้ไม่เกิน 20% ของวงเงินหนี้ ทำให้เราคาดว่าผู้ประกอบการอย่างธนาคารและบริษัทลูกของธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อจะมีโอกาสที่ปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อให้กับ SME เพิ่มขึ้นได้บ้าง ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ รวมถึงอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยธนาคารที่มีสินเชื่อเช่าซื้อเรียงตามสัดส่วนสินเชื่อเช่าซื้อจากมาก-น้อยคือ เช่น KKP (45% ของสินเชื่อรวม), TISCO (43% ของสินเชื่อรวม), TTB (29% ของสินเชื่อรวม), BAY (21% ของสินเชื่อรวม), SCB (6% ของสินเชื่อรวม)            ยังคงให้น้ำหนักการลงทุนลงเป็น “มากกว่าตลาด” โดยเลือก KTB (ซื้อ/เป้า 24.50 บาท) และ BBL (ซื้อ/เป้า 186.00 บาท) เป็น Top pick            ส่วน KKP (ถือ/เป้า 50.00 บาท), TISCO (ถือ/เป้า 96.00 บาท) และ TTB (ซื้อ/เป้า 2.22 บาท) จะได้ sentiment เชิงบวกต่อราคาหุ้นจากประเด็นดังกล่าว

KKP ชี้ ศก.ไทย ปีนี้ โตแค่ 2.6% ท่องเที่ยวแผ่ว-หนี้ครัวเรือนกดดัน

KKP ชี้ ศก.ไทย ปีนี้ โตแค่ 2.6% ท่องเที่ยวแผ่ว-หนี้ครัวเรือนกดดัน

          ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (Pipat Luengnaruemitchai, Chief Economist, KKP Research, Kiatnakin Phatra Financial Group) เผยว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 2.6% ชะลอตัวจากปีก่อนหน้าที่คาดไว้ที่ 2.7% เล็กน้อย โดยมีแรงส่งสำคัญจากภาคท่องเที่ยวและภาคบริการ อย่างไรก็ตาม แรงส่งนี้มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากการฟื้นตัวกลับมาเกือบปกติของภาคท่องเที่ยว ในขณะที่ปัญหาความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมและภาคส่งออกยังเป็นแรงกดดันที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ การหดตัวของสินเชื่อภาคธนาคารจากปัญหาหนี้ครัวเรือนและภาวะเศรษฐกิจกำลังส่งผลทางลบต่อการบริโภคสินค้าคงทนและภาคอสังหาริมทรัพย์           ด้านปัจจัยภายนอก เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญความเสี่ยงจากนโยบายของสหรัฐฯ ที่อาจใช้นโยบายการค้าเป็นเครื่องมือในการเจรจาต่อรอง โดยไทยติดอันดับที่ 11 ของประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ มากที่สุด และอาเซียนเองก็เกินดุลการค้าเป็นอันดับ 2 รองจากจีนเท่านั้น ทำให้ไทยและอาเซียนอาจตกเป็นเป้าของมาตรการทางการค้าของรัฐบาลสหรัฐฯ และส่งผลต่อภาคการค้าไทยได้ ทั้งนี้ นอกจากกลุ่มสินค้าส่งออกที่อาจได้รับผลกระทบแล้ว ไทยอาจถูกกดดันให้เปิดตลาดบางกลุ่มสินค้า รวมถึงสินค้าเกษตรที่ไทยมีอัตราภาษีและมาตรการกีดกันการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ ในขณะที่ไทยอาจได้รับประโยชน์จากการย้ายฐานลงทุน จึงมีความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องเตรียมพร้อมในการรับมือและเจรจาต่อรองให้เกิดผลดีที่สุด           ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่มีไม่แน่นอน ดร.พิพัฒน์ มองว่า การใช้นโยบายการคลัง และนโยบายการเงินจะมีบทบาทสำคัญในการรับมือกับความเสี่ยง นอกจากนี้ การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนการลงทุนและยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจยังมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยคาดว่าน่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกในปีนี้ และรัฐบาลยังคงใช้นโยบายขาดดุลด้านการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ           อย่างไรก็ดี ด้วยข้อจำกัดด้านการคลังกำลังมีมากขึ้นและหนี้สาธารณะที่ขยับใกล้แตะเพดาน 70% ของ GDP รัฐบาลอาจต้องมีการทบทวนว่าจะเลือกใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไรเพื่อให้เกิดผลดีที่สุดต่อเศรษฐกิจ และเนื่องจากระดับรายได้ภาษีของรัฐบาลที่มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจ ตลอดจนความจำเป็นในการใช้จ่ายภาครัฐที่มีมากขึ้น ทำให้จำเป็นต้องปฏิรูประบบราชการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของรัฐ ขยายฐานภาษี และปฏิรูประบบภาษีเพื่อเพิ่มรายได้ ดูแลเรื่องปัญหาความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ส่องกลยุทธ์ปี 68 KKP มุ่งสินเชื่อคุณภาพ-ยั่งยืน

ส่องกลยุทธ์ปี 68 KKP มุ่งสินเชื่อคุณภาพ-ยั่งยืน

          หุ้นวิชั่น - กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) เผยความคืบหน้าในการรับมือกับความท้าทาย และวางรากฐานเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยท่ามกลางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังคงเป็นไปอย่างชะลอตัว และความผันผวนในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง KKP ได้วางมาตรการเพื่อยกระดับผลการดำเนินงานและเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตที่มีความไม่แน่นอนสูง รับมือความท้าทายด้วยความแข็งแกร่ง           นับตั้งแต่ช่วงกลางปี 2567 คุณภาพของพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อใหม่ของธนาคารมีแนวโน้มดีขึ้น ฟื้นตัวจากผลกระทบเรื่องราคารถยนต์ตกต่ำช่วงหลังโควิด ส่งผลให้ผลการดำเนินงานโดยรวมของพอร์ตสินเชื่อเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ช่องทางออนไลน์ของธนาคารในด้านเงินฝากและการลงทุนเช่น KKP Savvy, KKP Edge และ Dime! ยังเติบโตเป็นที่น่าพอใจ พร้อมกับที่การเปิดตัวบัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศได้ช่วยให้ลูกค้ามีทางเลือกในการบริหารจัดการต้นทุนอัตราแลกเปลี่ยนได้อย่างมีประสิทธิภาพ           “ปี 2567 เป็นปีแห่งการปรับสมดุลสำหรับ KKP โดยแม้จะมีความท้าทาย แต่ KKP ได้มุ่งเน้นไปที่การวางรากฐานเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการปล่อยสินเชื่อที่มีคุณภาพ เร่งเสริมรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยจากการพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน และการสร้างโอกาสการลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งเชื่อว่าจะส่งมอบคุณค่าในระยะยาวให้แก่ลูกค้าและผู้ถือหุ้น” นายอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (Mr. Aphinant Klewpatinond, Chief Executive Officer, Kiatnakin Phatra Financial Group) กล่าว           ทั้งนี้ แม้ในปี 2567 ธุรกิจตลาดทุนของ KKP ต้องเผชิญกับความผันผวนท่ามกลางภาวะขาลงของตลาดหลักทรัพย์ไทย อย่างไรก็ตาม รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยยังคงเพิ่มสูงขึ้น และสินทรัพย์ภายใต้คำแนะนำและการบริหาร (Asset under Advice/Asset under Management) ของ KKP เติบโตได้ดี คิดเป็นสินทรัพย์รวมกว่า 1 ล้านล้านบาท จากการให้บริการผ่านบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการเป็นผู้นำด้านการลงทุนในต่างประเทศ ไม่ว่าในลักษณะที่เป็นตลาดหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์นอกตลาด (Private Markets) ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุน           ในด้านวานิชธนกิจ ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจหลักของ KKP ยังคงมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะบริการที่ปรึกษาและการทำธุรกรรมสำคัญ เช่น การเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการฟื้นฟูกิจการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวของรูปแบบธุรกิจของธนาคาร เช่นเดียวกับที่ธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์ ยังคงครองส่วนแบ่งเป็นอันดับหนึ่งของตลาดอย่างต่อเนื่อง กลยุทธ์สำหรับปี 2568 มุ่งเน้นคุณภาพและเสถียรภาพ           สำหรับกลยุทธ์ปี 2568 ธนาคารมุ่งเน้นการปล่อยสินเชื่อใหม่ให้กับกลุ่มลูกค้าที่มีคุณภาพ เพื่อสร้างพอร์ตสินเชื่อที่มีเสถียรภาพ ลดต้นทุนด้านเครดิตและบริหารความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม เพื่อที่จะสามารถตอบสนองต่อความท้าทายจากระดับหนี้ครัวเรือนของไทยที่ยังคงอยู่ในระดับสูง โดยแม้ว่าแนวทางการเติบโตอย่างระมัดระวัง อาจส่งผลให้ขนาดของพอร์ตสินเชื่อและรายได้ดอกเบี้ยจากธุรกิจสินเชื่อลดลงในระยะสั้น แต่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระยะยาวของธนาคารในการสร้างระบบนิเวศทางการเงินที่ยั่งยืน           “ในปี 2568 เรายังคงมุ่งเน้นที่คุณภาพและความยั่งยืนของพอร์ตสินเชื่อ ธนาคารทำงานอย่างทุ่มเทเพื่อสร้างโอกาสแก่ลูกค้าที่มีศักยภาพ และช่วยเหลือลูกค้าที่ดีในการรับมือกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ภายใต้แนวทางการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ทางการเงินควบคู่ไปกับการปล่อยสินเชื่อที่มีความรับผิดชอบ" นายฟิลิป เชียง ชอง แทน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) (Mr.Philip Chen Chong Tan, President, Kiatnakin Phatra Bank Public Company Limited) กล่าว           ทั้งนี้ นับตั้งแต่ปี 2566 ธนาคารได้ให้ความช่วยเหลือกับลูกค้าคุณภาพที่ได้รับผลกระทบจากภาวะทางเศรษฐกิจมาโดยตลอด ซึ่งรวมถึงผู้เข้าร่วมโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ที่ทยอยเข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง ต่อยอดจุดแข็ง           KKP ยังคงเป็นผู้นำด้านการบริหารความมั่งคั่งที่ได้รับความไว้วางใจ ด้วยผลงานความสำเร็จที่ผ่านมาจากการช่วยสร้างโอกาสที่มากขึ้นให้กับนักลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินทั่วโลก ดังแสดงให้เห็นผ่านรางวัล Thailand’s Best Private Bank จากหลากหลายนิตยสารทางการเงินระดับสากล KKP มีความมั่นใจว่ากลยุทธ์ที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางและการนำเสนอนวัตกรรมด้านการเงินการลงทุนอย่างต่อเนื่องจะยังคงขับเคลื่อนการเติบโตของสินทรัพย์ภายใต้คำแนะนำและการบริหาร           "เสถียรภาพทางการเงินและการจัดสรรทรัพยากรด้วยความระมัดระวังของเรา ช่วยให้สามารถรับมือกับความท้าทายของตลาด พร้อมๆ กับวางรากฐานด้านระบบเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับโอกาสในอนาคต KKP จึงอยู่ในตำแหน่งที่จะสร้างการเติบโตและมูลค่าที่ยั่งยืนให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายของเรา" ประธานสายการเงินและงบประมาณ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) (Mr. Preecha Techarungchaikul, Head of Finance and Budgeting, Kiatnakin Phatra Bank Public Company Limited) กล่าว

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

KKP ปล่อยสินเชื่อสีเขียว 370 ลบ. ให้บ.ย่อย CNT พัฒนาโครงการโซลาร์เซลล์

KKP ปล่อยสินเชื่อสีเขียว 370 ลบ. ให้บ.ย่อย CNT พัฒนาโครงการโซลาร์เซลล์

          หุ้นวิชั่น - ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ KKP มุ่งหน้าดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ปล่อยสินเชื่อสีเขียว (Green Loan) มูลค่า 370 ล้านบาทแก่ บริษัท ซีเอ็นอีเอส ดีวัน จำกัด (D1) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ CNT เพื่อนำไปพัฒนาโครงการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) จำนวน 10 โครงการ รวมกำลังการผลิตไฟฟ้า 19.40 เมกะวัตต์ ติดตั้งในอาคารขนาดใหญ่ อาทิ โรงพยาบาลและโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีความต้องการใช้พลังงานสูง ช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าและเพิ่มการใช้พลังงานสะอาดให้กับภาคธุรกิจ           การสนับสนุนสินเชื่อดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำของ KKP ผ่านแนวทาง ESG (Environment, Social and Governance) โดยมุ่งเน้นการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม พร้อมส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดอย่างเป็นรูปธรรม ในขณะที่ด้าน CNT มีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้การสนับสนุนครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งความร่วมมือสำคัญระหว่างภาคการเงินและภาคธุรกิจที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมาย Net Zero ในอนาคต           นายสุรัตน์ ลีลาทวีวัฒน์ ประธานสายสินเชื่อธุรกิจและประธานสายสินเชื่อบรรษัท ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "ธนาคารเกียรตินาคินภัทรดำเนินธุรกิจโดยให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว ผ่านทั้งการสนับสนุนสินเชื่อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมองค์ความรู้มาอย่างต่อเนื่อง สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ของ D1 ซึ่งถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการเพิ่มการใช้พลังงานทดแทนในภาคธุรกิจ สะท้อนบทบาทสำคัญของสถาบันการเงินในการขับเคลื่อนแนวทาง ESG อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อร่วมสร้างธุรกิจและเศรษฐกิจไทยที่มีความยั่งยืนให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง"           ด้านนายคูชรู คาลี วาเดีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) (CNT) กล่าวว่า “CNT ภูมิใจที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับ KKP ในโครงการที่มีความสำคัญนี้ ความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยให้ CNT สามารถเติบโตต่อไปและส่งมอบการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่ตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมไทยในการใช้พลังงานสะอาดได้มากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่อนาคตพลังงานที่ยั่งยืนของประเทศไทย”           ทั้งนี้ คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) หรือ CNT เป็นบริษัทชั้นนำด้านวิศวกรรมและการก่อสร้างที่มีประสบการณ์ยาวนานในประเทศไทย โดยมีวิสัยทัศน์ในการขยายธุรกิจด้านพลังงานหมุนเวียน เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดพลังงานสะอาดที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

KKP คาดสินเชื่อปีนี้โต2% ลุ้นปันผลเพิ่ม-เป้า50บ.

KKP คาดสินเชื่อปีนี้โต2% ลุ้นปันผลเพิ่ม-เป้า50บ.

             หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล.ดาโอระบุว่า ยังคงคำแนะนำ “ถือ” และราคาเป้าหมายที่ 50.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.65x (-1.50SD below 10-yr average PBV) โดยเรามีมุมมองเป็นกลางจากการประชุมนักวิเคราะห์วานนี้เพราะเป้าหมายยังใกล้เคียงคาด โดย 1) สินเชื่อจะทรงตัว YoY (เราคาด 2% YoY) โดยสินเชื่อเช่าซื้อจะเน้นในส่วนของรถยนต์มือสองและรถแลกเงินมากขึ้น 2) Credit cost ที่รวมขาดทุนรถยึดจะอยู่ที่ 220-240bps (เราคาด 210bps) จากปี 2024 ที่ 230bps โดยคาดว่าขาดทุนรถยึดจะลดลง แต่เริ่มเห็นความเสี่ยงจากสินเชื่อ Small-SME และสินเชื่อบ้านมากขึ้น 3) Cost of fund ปี 2025E จะลดลงได้บ้างเล็กน้อย โดยช่วง 1H25E จะยังคงเห็นการ repricing ของเงินฝากต้นทุนสูงๆอยู่ แต่จะเริ่มเห็น Cost of fund ลดลงได้ใน 2H25E และ 4) จะเน้นการทำ Capital management เพิ่มมากขึ้น โดยมีโอกาสที่จะจ่าย Dividend payout เพิ่มขึ้นจากปี 2023 ที่ 47% (เราคาดปี 2024-2026E ที่ 47%)เรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2025E อยู่ที่ 5.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น +2% YoY จากขาดทุนรถยึดที่ลดลงได้ตามประมาณรถยึดที่ลดลงจากการปล่อยกู้สินเชื่อเช่าซื้อที่ลดลงตั้งแต่ปี 2024              ขณะที่คาดกำไร 1Q25E จะลดลง YoY จากสำรองฯที่เพิ่มขึ้น แต่จะเพิ่มขึ้น QoQ จาก OPEX ที่ลดลงตามฤดูกาลราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น +9% และ +8% เมื่อเทียบกับ SET ในช่วง 1 และ 3 เดือนที่ผ่านมา เพราะมีโครงการซื้อหุ้นคืน (วงเงินไม่เกิน 950 ล้านบาท จำนวนไม่เกิน 22 ล้านหุ้น, โดยปัจจุบันซื้อไปแล้ว 802 ล้านบาท จำนวน 16.2 ล้านหุ้น ราคาเฉลี่ยราว 49.47 บาทต่อหุ้น) ขณะที่มี Dividend yield ที่ราว 5%

KKP กำไร Q4 โต 110% จากปีก่อน  เน้นปล่อยสินเชื่อคุณภาพสูง โบรกชี้เป้า 56.00 บาท

KKP กำไร Q4 โต 110% จากปีก่อน เน้นปล่อยสินเชื่อคุณภาพสูง โบรกชี้เป้า 56.00 บาท

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.กสิกรไทย มีมุมมองเชิงบวกต่อ KKP จากผลประกอบการไตรมาส 4/2567 ที่มีกำไร 1.4 พันล้านบาท เติบโต 8% จากไตรมาสก่อนและ 110% จากปีก่อน โดยรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเติบโตโดดเด่น 9% จากไตรมาสก่อนและ 21% จากปีก่อน ดีกว่าที่ตลาดคาดจากธุรกิจตลาดทุน และกำไรจากการปรับมูลค่ายุติธรรมที่เพิ่มขึ้นเป็น 484 ล้านบาทจาก 60 ล้านบาทในไตรมาสก่อน นอกจากนี้ ผลขาดทุนจากการขายทรัพย์สินลดลงในไตรมาส 4/2567 พร้อมต้นทุนด้านเครดิตที่ลดลง ส่งผลให้ Credit Cost ลดลงเหลือ 2.18% ทำให้ทั้งปีอยู่ที่ 2.30% ต่ำกว่าเป้าหมาย 2.35%-2.50% จากการเน้นปล่อยสินเชื่อคุณภาพสูงและคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง KKP: ราคาพื้นฐาน 56.00 บาท

abs

ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร

KKPโชว์กำไรปี 67 ที่ 4,985 ล้านบาท ลดลง 8.4% จากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง

KKPโชว์กำไรปี 67 ที่ 4,985 ล้านบาท ลดลง 8.4% จากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง

           หุ้นวิชั่น - ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือKKP สำหรับปี 2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 4,985 ล้านบาท ปรับลดลงร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับปี 2566 หลัก ๆ มาจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ปรับลดลงร้อยละ 11.0 จากการชะลอตัวของสินเชื่อตามมาตรการบริหารคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารที่มุ่งเน้นการปล่อยสินเชื่อในประเภทที่มีคุณภาพสูง รวมถึงการปรับเพิ่มขึ้นของต้นทุนทางการเงินตามภาวะอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิปรับตัวลดลงหากเทียบกับปีก่อนหน้า  ในขณะที่ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นปรับตัวลดลงตามคุณภาพสินเชื่อที่มีสัญญาณทยอยปรับตัวดีขึ้น จากการมุ่งเน้นบริหารคุณภาพสินทรัพย์มาอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา            ทางด้านรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ธนาคารยังคงสามารถสร้างรายได้ในระดับที่ดี ส่งผลให้รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 หากเทียบกับปี 2566 สำหรับรายได้จากธุรกิจตลาดทุนในส่วนของธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) และธุรกิจการจัดการกองทุน ปรับเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของสินทรัพย์ภายใต้การให้คำแนะนำและสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ            ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคินภัทรยังคงมีส่วนแบ่งตลาด ในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์เป็นอันดับที่ 1 อย่างต่อเนื่อง โดยมีส่วนแบ่งตลาดสำหรับปี 2567 ที่ร้อยละ 22 นอกจากนี้แล้ว ธนาคารยังมีรายได้ในส่วนของกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นตามภาวะตลาด ในขณะที่รายได้ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยสินเชื่อ โดยเฉพาะในส่วนของรายได้ค่านายหน้าประกันปรับตัวลดลง ภายใต้มาตรการชะลอการเติบโตสินเชื่อของธนาคาร            ภายใต้ความท้าทายของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ยังคงส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธนาคารในปี 2567 ในส่วนของธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อต่อเนื่องจากปี 2566 ธนาคารยังคงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการเร่งบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ และจากมาตรการต่าง ๆ ที่ธนาคารได้ดำเนินการมาเพื่อบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ส่งผลให้ธนาคารเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น โดยผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทยอยปรับตัวลดลงและอยู่ในระดับที่ดีกว่ากรอบคาดการณ์ของธนาคาร             ในขณะที่ผลขาดทุนจากการขายรถยึดปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเช่นกันหากเทียบกับปีก่อนหน้า ทั้งนี้ ธนาคารยังคงความระมัดระวังในการพิจารณาตั้งสำรองเพื่อรองรับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น โดยมีการสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสำหรับปี 2567 เป็นจำนวน 3,974 ล้านบาท ปรับลดลงร้อยละ 34.7 หากเทียบกับปีก่อนหน้า ตามคุณภาพสินเชื่อที่ดีขึ้นสัญญาณปรับตัวดีขึ้น โดยอัตราส่วนสำรองต่อสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต ณ สิ้นปี 2567 อยู่ที่ร้อยละ 134.2 ทางด้านอัตราส่วนสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวมยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ดีที่ร้อยละ 4.2 ณ สิ้นปี 2567            สำหรับไตรมาส 4/2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิเท่ากับ 1,406 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 109.9 จากงวดเดียวกันของปี 2566 หลัก ๆ มาจากการปรับลดลงของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 36.0 รวมถึงผลขาดทุนจากการขายรถยึดที่ปรับตัวลดลงเช่นกัน ตามปริมาณรถยึดที่ทยอยลดลง            ทางด้านรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.3 หากเทียบกับไตรมาส 4/2566 จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าธรรมเนียมในส่วนของธุรกิจตลาดทุน ทั้งในส่วนของธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง ธุรกิจจัดการกองทุน และธุรกิจวาณิชธนกิจ            นอกจากนี้ ธนาคารยังมีรายได้ในส่วนของกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไร หรือ ขาดทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นตามภาวะตลาดสุทธิกับรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ปรับลดลงร้อยละ 16.4 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยตามมาตรการชะลอตัวของสินเชื่อของธนาคาร และการปรับเพิ่มขึ้นของต้นทุนทางการเงินตามภาวะอัตราดอกเบี้ย

KKP ชี้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ควรปรับพอร์ตลงทุนยังไง?

KKP ชี้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ควรปรับพอร์ตลงทุนยังไง?

          หุ้นวิชั่น - ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) เผยมุมมองเศรษฐกิจโลกบนเวที KKP Year Ahead 2025: Opportunities Unbound เมื่อวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมาว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ นั้นแม้มีแนวโน้มชะลอตัว แต่ยังคงเติบโตได้ดีกว่าระดับศักยภาพ และมีแนวโน้มแข็งแกร่งกว่าภูมิภาคอื่นๆ โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับลดลงได้ แต่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับการคาดการณ์ก่อนหน้า เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังคงแข็งแกร่งและแรงกดดันเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ประเด็นสำคัญที่ต้องจับตาคือนโยบายของรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ ที่น่าจะมีผลกระทบต่อสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ค่อนข้างมาก           “โดนัลด์ ทรัมป์ จะใช้นโยบายภาษีเป็นเครื่องมือต่อรองกับประเทศอื่นในด้านต่างๆ เช่น เรื่องความมั่นคง การค้าที่ไม่เป็นธรรม การเปิดตลาดต่างประเทศให้สินค้าสหรัฐฯ หรือความร่วมมือเรื่องผู้อพยพ นโยบายเหล่านี้อาจดีต่อสหรัฐฯ แต่สร้างความปั่นป่วนให้กับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะครึ่งปีแรก เนื่องจากลำดับของนโยบายที่ทรัมป์จะเริ่มนำมาใช้ก่อน และระดับมูลค่าของสินทรัพย์ซึ่งตั้งต้นอยู่ในระดับที่สูงในปัจจุบัน” ดร.พิพัฒน์กล่าว           สำหรับประเทศไทยปีนี้ การท่องเที่ยว ภาคบริการ และนโยบายการคลังยังคงเป็นเครื่องจักรสำคัญ แต่เศรษฐกิจยังมีแนวโน้มชะลอตัวจากปีก่อน จากปัญหาเรื่องความสามารถในการแข่งขัน และแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อภาคธนาคาร นอกจากนี้ นโยบายการค้าของรัฐบาลทรัมป์เป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่ประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมในเจรจารับมือ ส่วนดอกเบี้ยนโยบายของไทยคาดว่าน่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3 ครั้งในปีนี้ เนื่องระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่สูงกว่าระดับเงินเฟ้อค่อนข้างมาก และภาวะทางการเงินที่อยู่ในภาวะตึงตัว           ด้านนายทวีศักดิ์ เผ่าพัลลภ หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ให้คำแนะนำถึงกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมเพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกว่า สินทรัพย์เสี่ยงจะให้ผลตอบแทนโดดเด่นไม่เท่าเดิมในสถานการณ์ที่ดอกเบี้ยยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงและผ่านพ้นช่วงที่ดีที่สุดของหุ้นไปแล้ว ควรเน้นจัดพอร์ตแบบ Prudent Asset Allocation หรือการกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่หลากหลายแบบรอบคอบตามระดับความเสี่ยง เพื่อช่วยประคองให้ผ่านความผันผวน           ในส่วนของหุ้นเมื่อคาดการณ์ผลตอบแทนในช่วง 5 ปีข้างหน้า หุ้นโลกน่าสนใจกว่าหุ้นไทย จึงแนะนำให้ลดการถือครองหุ้นไทย ส่วนตลาดหุ้นที่น่าสนใจได้แก่ ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ซึ่งน่าจะหลุดออกจากภาวะเงินฝืดได้อย่างยั่งยืน และมีการปฏิรูปบรรษัทภิบาล หุ้นกลุ่มการเงิน ซึ่งได้ประโยชน์จากค่าธรรมเนียมและการผ่อนคลายกฎระเบียบ โดยใช้กลยุทธ์การลงทุนที่เน้นการเข้าซื้อสินทรัพย์ในช่วงที่ราคาปรับตัวลดลงชั่วคราวจากแนวโน้มหลัก (Buy on dip) รวมถึงกระจายลงทุนในหุ้น S&P500 Equal Weighted           นอกจากนี้ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่มีระยะเวลา 3-5 ปี เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากให้อัตราผลตอบแทนที่สูงและช่วยลดความเสี่ยงของพอร์ตในภาวะที่ตลาดกลับมากังวลกับเศรษฐกิจ ในส่วนของตราสารหนี้คุณภาพสูงของไทยที่มีอันดับเครดิต A- ขึ้นไป ยังคงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนในภาวะที่ดอกเบี้ยน่าจะลดลงเพิ่มเติม แต่สำหรับตราสารหนี้ที่มีอันดับ BBB+ ลงมานักลงทุนต้องเลือกลงทุนอย่างระมัดระวัง (Selective)           สำหรับงานสัมมนา KKP Year Ahead เป็นงานที่รวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกและทิศทางการลงทุน ตลอดจนให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ที่มีคุณภาพและการกระจายการลงทุน เพื่อการปรับกลยุทธ์การลงทุนให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก ให้ลูกค้านักลงทุนสามารถรับมือกับความท้าทายและคว้าโอกาสในตลาดการเงินได้อย่างมั่นใจ สนใจรับข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับมุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนของ KKP สามารถติดตามได้ที่ Facebook: Kiatnakin Phatra และ EDGE Invest

KKP โบรกคาดปี 68 กลับมาโต ชี้ปันผลน่าสนใจ

KKP โบรกคาดปี 68 กลับมาโต ชี้ปันผลน่าสนใจ

 หุ้นวิชั่น - บล.ฟิลลิป คาด KKP จะมีกำไร 4Q67 1.1 พันลบ. เพิ่มขึ้นถึง 59.3% y-y จากการลดลงของการตั้งสำรอง และผลขาดทุนจากการขายทรัพย์สินรอขาย แต่คาดว่ากำไรจะลดลง 18.6% q-q จากการตั้งสำรองและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น สินเชื่อ เดือน พ.ย. ยังหดตัวต่อ และยังไม่มีแนวโน้มจะฟื้นตัวในเดือน ธ.ค. คาดปี 68 กำไรกลับมาเติบโต จากการตั้งสำรอง และผลขาดทุนจากการขายทรัพย์สินรอขายจะลดลง ยังคงราคาพื้นฐาน 50 บาท ราคาหุ้นเกินกว่าราคาพื้นฐานแต่ ยังมีปันผล แนะนำ “ถือ” คาดปี 68 กำไรกลับมาเติบโต 12.4% y-y คงราคาพื้นฐาน แนะนำ “ถือ” คาดปี 68 KKP จะกลับมามีกำไรเติบโตได้ 15.8% y-y เป็น 5.4 พันลบ. จากการตั้งสำรองรวมไปถึงผลขาดทุนจากการขายทรัพย์สินการขายที่ลดลง ยังคงราคาพื้นฐาน 50 บาท ถึงแม้ว่าราคาหุ้นจะยังสูงกว่าราคาพื้นฐาน แต่ KKP ยังมีปันผลน่าสนใจ โดยปี 67 คาดว่าจะจ่าย 2.50 บาท/หุ้น คิดเป็น Div.yield 4.8% โดยมีการจ่ายปันผลระหว่างกาลแล้ว 1.25 บาท/หุ้น และคาดว่าจะปันผลจะเพิ่มเป็น 2.90 บาท/หุ้น ในปี 68 คิดเป็น Div. yield 5.6% แนะนำ “ถือ”

abs

Hoonvision

บลจ.เกียรตินาคินภัทร เปิดตัวกองทุน KKP EWUS500-UH เสนอขาย (IPO) วันที่ 27 พฤศจิกายน-3 ธันวาคม นี้

บลจ.เกียรตินาคินภัทร เปิดตัวกองทุน KKP EWUS500-UH เสนอขาย (IPO) วันที่ 27 พฤศจิกายน-3 ธันวาคม นี้

          หุ้นวิชั่น - บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด (บลจ.เกียรตินาคินภัทร) เล็งเห็นโอกาสการลงทุนในหุ้นสหรัฐอเมริกา ที่มีแนวโน้มเติบโตในหลากหลายอุตสาหกรรมจากคาดการณ์ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในปีหน้า จึงเปิดเสนอขายกองทุนใหม่ ได้แก่ กองทุนเปิดเคเคพี US500 EQUAL WEIGHT- UNHEDGED (KKP EWUS500-UH) ประเภทไม่ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน โดยมีกลยุทธ์การบริหารการลงทุนแบบเชิงรับ (Passive Management) มุ่งหวังให้ผลตอบแทนสอดคล้องไปกับดัชนี S&P 500 Equal Weight ที่มีรูปแบบการคำนวณน้ำหนักการลงทุนในหุ้นรายตัวด้วยวิธีถ่วงน้ำหนักเท่ากัน (Equal Weighting) และครอบคลุมการลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ใหญ่ที่สุด 500 แห่งที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ กำหนดการเสนอขายครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2567 ด้วยมูลค่าขั้นต่ำในการซื้อเพียง 1,000 บาท            นายยุทธพล ลาภละมูล กรรมการผู้จัดการ เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นโลกตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นเดือนตุลาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 16% จากการที่เฟดเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยและเศรษฐกิจสหรัฐฯ รอดพ้นภาวะถดถอย ซึ่งทั้งสองปัจจัยดังกล่าวคาดว่าจะเป็นปัจจัยหลักที่สนับสนุนเศรษฐกิจสหรัฐฯ ให้เติบโตต่อเนื่องไปในปีหน้า และส่งผลให้ผลประกอบการของหุ้นสหรัฐฯ ที่ไม่ใช่ หุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ 7 ตัวที่ทรงอิทธิพล หรือที่เรียกว่าหุ้น 7 นางฟ้า เช่น Apple Amazon และ Alphabet มีอัตราการเติบโตที่ดีขึ้นกว่าปีนี้ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณามูลค่า P/E ของดัชนีหุ้นสหรัฐฯ S&P 500 Equal Weight ในปีหน้าที่ระดับ 18.2 เท่า ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในอดีตย้อนหลัง 5 ปี และต่ำกว่า P/E ของดัชนีหุ้นสหรัฐฯ S&P 500 ที่ 22.48 เท่าแล้ว ทำให้ KKPAM มองว่าการลงทุนในดัชนีหุ้นสหรัฐฯ S&P 500 Equal Weight มีความน่าสนใจในการลงทุน จึงได้นำเสนอกองทุนเปิดเคเคพี US500 EQUAL WEIGHT- UNHEDGED (KKP EWUS500-UH) แก่นักลงทุนไทยเพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุน สำหรับ กองทุน KKP EWUS500-UH ระดับความเสี่ยง 6 เป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุนประเภท Feeder Fund มีนโยบายเน้นลงทุนในกองทุนหลัก Invesco S&P 500 Equal Weight ETF ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม และไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (UNHEDGED) โดยกองทุนหลักมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลตอบแทนให้สอดคล้องกับดัชนี S&P 500 Equal Weight (ดัชนีอ้างอิง) ซึ่งวัดผลการดำเนินงานของตราสารทุนของบริษัทขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ โดยดัชนี S&P 500 Equal Weight มีรูปแบบการคำนวณด้วยวิธีถ่วงน้ำหนักเท่ากัน (Equal Weighting) กล่าวคือ ให้น้ำหนักของแต่ละหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบในน้ำหนักที่เท่ากัน ลดการกระจุกตัวในหุ้นขนาดใหญ่ ช่วยกระจายการลงทุนและครอบคลุมการเติบโตของหลักทรัพย์ในหลากหลายอุตสาหกรรม ในขณะที่ดัชนี S&P 500 มีรูปแบบการคำนวณน้ำหนักตามมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization Weighting) ซึ่งจะมีน้ำหนักการลงทุนกระจุกตัวในหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่มากกว่า สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจสามารถขอรับหนังสือชี้ชวนและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://am.kkpfg.com หรือบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร โทร 02 165 5555 หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง ข้อมูลกองทุน KKP EWUS500-UH : เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่าง วันที่ 27 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2567 มูลค่าขั้นต่ำในการซื้อครั้งแรก 1,000 บาท ครั้งถัดไป 1,000 บาท คำเตือน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน กองทุน KKP EWUS500-UH จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ดังนั้น กองทุนจึงมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ โปรดศึกษาคำเตือนที่สำคัญอื่นและข้อมูลเพิ่มเติมได้ในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม https://am.kkpfg.com หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง

KKP ชี้อสังหาฯ ปี 67 หดตัวหนัก บ้านใหม่เสี่ยงเหลือ-หวังมาตรการใหม่ช่วย

KKP ชี้อสังหาฯ ปี 67 หดตัวหนัก บ้านใหม่เสี่ยงเหลือ-หวังมาตรการใหม่ช่วย

          หุ้นวิชั่น - สายงานสินเชื่อธุรกิจ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร เผยว่าในปี 2567 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑล เผชิญกับความท้าทายอย่างต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการชะลอตัวนี้ได้แก่ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงถึง 90% ของ GDP การปฏิเสธสินเชื่อที่อยู่อาศัยยังคงอยู่ในระดับสูง และการสะสมของสินค้าคงค้าง (inventory) ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการเลือกที่จะชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่ รวมถึงมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาโครงการระดับราคาสูง ซึ่งอาจนำไปสู่การอิ่มตัวในตลาดสินค้าระดับนี้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม คาดว่าในไตรมาสที่ 2 ปี 2568 ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีโอกาสที่จะปรับตัวดีขึ้น จากปัจจัยสนับสนุนที่คาดว่าจะมีมากขึ้น เช่น การปรับลดอัตราดอกเบี้ย การผ่อนคลายเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อจากสถาบันการเงิน มาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่อาจจะมีความเข้มข้นมากขึ้นจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้ตลาดมีการฟื้นตัว รวมถึงการลงทุนของภาครัฐและการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรมจากรัฐบาลใหม่ ที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนในตลาดอสังหาริมทรัพย์           กำลังซื้อหด ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยปี 2567 สะดุด จากการคาดการณ์ ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศจะลดลง 15% หรือประมาณ 320,000 หน่วย ซึ่งเป็นยอดที่ต่ำที่สุดในรอบ 8 ปี โดยกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะลดลง 8% และในภาคตะวันออกลดลงถึง 11% สาเหตุหลักมาจากการปฏิเสธสินเชื่อของธนาคารที่ยังคงเข้มงวด ประกอบกับภาระหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่           แน้วโน้มการเปิดตัวโครงการใหม่ในปี 2567 การเปิดตัวโครงการใหม่ในปี 2567 มีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในกลุ่มคอนโดมิเนียมที่มียอดเปิดตัวลดลงถึง 50% เมื่อเทียบกับปี 2566 โครงการแนวราบก็มีการชะลอการเปิดตัวเช่นกัน แต่ลดลงในอัตราที่น้อยกว่า (3%) ตลาดบ้านเดี่ยวมีการเติบโตถึง 60% ในเขตปริมณฑล ขณะที่โครงการทาวน์เฮ้าส์กลับพบว่ามียอดเปิดตัวลดลงถึง 24% เนื่องจากกำลังซื้อของกลุ่มระดับกลาง-ล่างลดลงอย่างชัดเจน           ทิศทางการพัฒนาโครงการและความต้องการในปี 2567 บ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์เป็นประเภทที่อยู่อาศัยที่ยังคงมีความต้องการสูง โดยเฉพาะในระดับราคา 5-10 ล้านบาท ซึ่งยังคงเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงและต้องการพื้นที่ขนาดใหญ่ ในขณะที่บ้านเดี่ยวระดับราคามากกว่า 15 ล้านบาทเริ่มมีสัญญาณการอิ่มตัว และสินค้าคงค้างของบ้านในระดับนี้มีโอกาสเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในทางกลับกัน ทาวน์เฮ้าส์กลุ่มระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและการแข่งขันที่สูง           การปรับตัวของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในปี 2567 ได้มีการปรับตัวอย่างต่อเนื่องเพื่อลดความเสี่ยงจากตลาดที่ชะลอตัว เช่น การลดต้นทุนการดำเนินงาน หันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงการที่มีความยั่งยืน รวมถึงการขยายธุรกิจไปยังกลุ่มอื่นๆ เช่น โรงแรม อพาร์ทเม้นท์ และสถานออกกำลังกาย เพื่อลดการพึ่งพาตลาดอสังหาริมทรัพย์เพียงอย่างเดียว สำหรับภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2567 ยังคงเผชิญกับความท้าทายอย่างหนักจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ รวมถึงปัญหาหนี้ครัวเรือนและการปฏิเสธสินเชื่อที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยและการเปิดตัวโครงการใหม่ลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มคอนโดมิเนียมที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด อย่างไรก็ตาม การโอนกรรมสิทธิ์ของชาวต่างชาติยังคงเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยขับเคลื่อนตลาดได้ในบางพื้นที่ ขณะที่การปรับตัวของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์มุ่งเน้นไปที่ความยั่งยืนและการขยายธุรกิจเพื่อลดความเสี่ยงจากตลาดที่ผันผวน           ตลาดอสังหาฯ ปี 2568 มีปัจจัยบวกจากการลดดอกเบี้ย บ้านแฝด บ้านเดี่ยว 7-15 ล้านมีแนวโน้มโตดี สายงานสินเชื่อธุรกิจ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร วิเคราะห์ว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยระหว่าง 0.5% - 0.75% ในปี 2568 จะช่วยกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะกลุ่มระดับกลางและล่างที่ได้รับผลกระทบจากหนี้ครัวเรือนสูงในช่วงก่อนหน้า การปรับตัวของภาคบริการ ที่คาดว่าจะขยายตัวมากขึ้นในปี 2568 จะช่วยสร้างรายได้และกระตุ้นการบริโภคในวงกว้าง ส่งผลบวกต่อตลาดอสังหาฯ ที่เชื่อมโยงกับภาคบริการในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ และแหล่งท่องเที่ยว โดยผู้ประกอบการควรปรับเปลี่ยนพัฒนาโครงการแนวราบ เพื่อตอบสนองความต้องการที่อยู่อาศัยจริง (Real Demand) อย่างไรก็ตามการพัฒนาบ้านเดี่ยวในราคาสูงกว่า 20 ล้านบาทอาจเผชิญภาวะอิ่มตัว แต่โครงการบ้านเดี่ยวในราคากลาง (7-15 ล้านบาท) จะยังคงเป็นตลาดที่น่าลงทุน ส่วนทาวน์เฮ้าส์ กลุ่มระดับราคากลาง-ล่าง ยังคงต้องเฝ้าระวัง จากปัญหารายได้ยังปรับไม่ทันกับราคาทาวน์เฮ้าส์ที่ปรับตัวสูงขึ้น และภาระหนี้ของกลุ่มผู้ซื้อบ้านราคานี้ยังอยู่ในระดับสูง ส่วนบ้านแฝดยังสามารถพัฒนาได้ และมีแนวโน้มเติบโตขึ้น           โอกาสของการพัฒนาโครงการคอนโด คอนโดระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทมีการแข่งขันสูงและกำลังซื้อที่จำกัด น่าจะยังคงชะลอตัวต่อเนื่องในปี 2568 หากไม่มีมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐ อย่างไรก็ตามกลุ่มนี้จะมีโอกาสในการฟื้นตัวกลับมาเติบโตได้เมื่อโครงการรถไฟฟ้าสร้างใกล้แล้วเสร็จ หรือมีความชัดเจนมากขึ้น อย่าง สายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฏร์บูรณะ) สายสีส้มตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์) และสายสีน้ำตาล (แคราย-ลำสาลี)           แนวโน้มการลงทุนจากต่างชาติ ตลาดการซื้อคอนโดของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนจีนและรัสเซีย จะยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการขับเคลื่อนตลาดคอนโดในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดท่องเที่ยว เช่น ภูเก็ต พัทยา การพัฒนาของระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการรถไฟฟ้าและสนามบินจะช่วยกระตุ้นการลงทุนในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น           อสังหาฯ เพื่อความยั่งยืนมาแรง ตอบโจทย์ผู้บริโภค แนวโน้มการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ที่เน้นความยั่งยืน เช่น บ้านประหยัดพลังงาน ระบบกรองอากาศเพื่อลดมลพิษในการอยู่อาศัย การใช้วัสดุรักษ์โลก ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ฯลฯ จะเริ่มเป็นที่ต้องการมากขึ้นในปี 2568 เนื่องจากผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตและสุขภาพมากขึ้น การพัฒนาบ้านที่เน้นเทคโนโลยีสีเขียว (Green Tech) จะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันในตลาดได้ สรุปแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2568 คาดว่าจะมีการฟื้นตัวแบบช้าๆ โดยมีปัจจัยบวกจากการลดดอกเบี้ยและการขยายตัวของภาคบริการ อย่างไรก็ตาม ตลาดคอนโดราคาต่ำยังคงเผชิญความท้าทายสูง ในขณะที่ตลาดแนวราบ โดยเฉพาะบ้านเดี่ยวระดับกลาง จะยังคงเป็นกลุ่มที่น่าสนใจในการลงทุน

KKP รวมพลัง ฟื้นชายหาดบางแสน ดูแลสิ่งแวดล้อมหลังวันลอยกระทง

KKP รวมพลัง ฟื้นชายหาดบางแสน ดูแลสิ่งแวดล้อมหลังวันลอยกระทง

                      หุ้นวิชั่น – ชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี สถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญอย่าง วันลอยกระทง ต้องเผชิญกับปัญหาขยะสะสมจำนวนมากจากกระทงและสิ่งของต่างๆ ที่ถูกทิ้งลงในทะเลและชายหาด แม้จะมีการรณรงค์ให้เลือกใช้วัสดุกระทงที่เหมาะสมกับแหล่งน้ำเพื่อไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังคงมีขยะบางส่วนที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เพื่อร่วมฟื้นฟูสภาพแวดล้อมหลังคืนวันลอยกระทงบริเวณชายหาดบางแสน กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) พร้อมด้วยมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) และเทศบาลเมืองแสนสุข ได้จัดกิจกรรม “KKP VolunTeam: อาสาสมัครเก็บขยะริมชายหาด จัดการปลายทางขยะอย่างถูกต้อง” เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2567 โดยมีพนักงานจิตอาสาของ KKP เข้าร่วมจำนวนกว่า 100 คน           นางสาวพัทนัย เหลืองตระกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ หัวหน้าสำนักสื่อสารองค์กรและการตลาด กล่าวว่า “KKP มีธุรกิจหลักเป็นสถาบันการเงิน แต่ก็ให้ความสำคัญกับปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อม เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นรากฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งส่งผลต่อทั้งเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน กิจกรรมนี้ไม่ใช่เพียงการเก็บขยะ แต่สร้างประโยชน์ในหลายด้าน ตั้งแต่การช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ โดยการป้องกันสัตว์ทะเลจากการกินหรือสัมผัสกับขยะที่อาจเป็นอันตราย การปรับปรุงทัศนียภาพของชายหาดบางแสนเพื่อให้คงความสวยงามและดึงดูดนักท่องเที่ยว การสร้างความตระหนักรู้ในหมู่พนักงานและผู้เข้าร่วมในการจัดการขยะอย่างถูกวิธี เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” ด้านพนักงานจิตอาสาของ KKP นายวีรพัทธ์ ตาใจ กล่าวถึงสิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ว่า “เมื่อได้ลงมือเก็บขยะ เราได้เห็นถึงผลกระทบของขยะที่ไม่ถูกจัดการอย่างถูกต้องต่อธรรมชาติ ทำให้รู้สึกอยากช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และอยากส่งต่อแนวคิดนี้ไปยังคนรอบตัวให้มากขึ้น” พบว่าสำหรับขยะกระทงในปัจจุบันมักใช้วัสดุสังเคราะห์ เช่น โฟมและพลาสติก ซึ่งย่อยสลายได้ยาก รวมถึงใช้เศษตะปูและวัสดุอันตรายในการยึดหรือตกแต่ง ซึ่งเป็นอันตรายต่อนักท่องเที่ยวและสัตว์ทะเล ขยะเหล่านี้จึงไม่เพียงทำลายความสวยงามของชายหาด แต่ยังส่งผลเสียต่อระบบนิเวศทางทะเลโดยตรง เช่น สัตว์ทะเลกินขยะ เศษพลาสติก หรือสีที่ใช้ในกระทงบางประเภทอาจปล่อยสารเคมีปนเปื้อนน้ำทะเล ยิ่งไปกว่านั้น การจัดการขยะอย่างไม่ถูกวิธี ยังทำลายทรัพยากรธรรมชาติ จนประเทศไทยติดอันดับต้นๆ ของโลกในแง่ของการปล่อยขยะพลาสติกลงทะเล ซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ต้องการการแก้ไขอย่างจริงจัง กิจกรรมเก็บขยะครั้งนี้จึงมุ่งเน้นการจัดการขยะอย่างถูกวิธีและครบวงจร ผ่านกระบวนการ “คัดแยก ส่งคืน ใช้ประโยชน์สูงสุด เพื่อลดขยะหลุมฝังกลบ” โดยคัดแยกประเภทการเก็บขยะอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้น เพื่อให้สามารถจัดการได้อย่างถูกวิธีและเกิดประโยชน์สูงสุด ดังนี้ 1.          กลุ่มขวดพลาสติกใส ขวดแก้ว กระป๋อง และเศษเชือก แห-อวน นำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล และ ฝาขวดพลาสติก ยางวง นำไป Upcycle ผ่านกลุ่มบางแสนคอลเลคชั่น 2.          กลุ่มถุงพลาสติก ถุงหูหิ้ว ถุงขนม สายเดี่ยวแก้วน้ำ กล่อง-แก้วพลาสติก โฟม หลอด ช้อน/ส้อมพลาสติก รองเท้า ฟองน้ำ เศษยาง ส่งให้เทศบาล ส่งต่อไปเป็นขยะเชื้อเพลิง 3.          เศษอาหาร เทศบาลส่งให้กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ ส่วนขยะอินทรีย์อื่น ๆ เช่น ลูกมะพร้าว เศษไม้ ตะเกียบไม้ ใบไม้ ใบตอง รวมทั้งกล่อง-ถ้วย-จานชานอ้อย เทศบาลนำไปทำปุ๋ย แจกจ่ายให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ 4.          กลุ่มไฟแช็ค เศษพลุ ก้นบุหรี่ ขยะที่มีสารเคมี รวบรวมส่งให้เทศบาล ส่งต่อกำจัดอย่างถูกวิธี ขยะที่เก็บได้จากกิจกรรมนี้มีน้ำหนักรวม 430 กิโลกรัม แบ่งเป็นขยะกระทง 345 กิโลกรัม วัสดุรีไซเคิล 75 กิโลกรัม และขยะที่จะต้องกำจัด 10 กิโลกรัม ซึ่งการคัดแยกและกำจัดขยะเหล่านี้อย่างถูกวิธี จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 87 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า กิจกรรม KKP VolunTeam: อาสาสมัครเก็บขยะริมชายหาด จัดการปลายทางขยะอย่างถูกต้อง เป็นอีกสิ่งที่สะท้อนถึงความร่วมกันระหว่างองค์กรเอกชน หน่วยงานท้องถิ่น และชุมชนที่มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในระยะยาว โดยไม่เพียงช่วยฟื้นฟูสภาพแวดล้อมชายหาด แต่ยังส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมตระหนักถึงปัญหาขยะ อีกทั้งยังสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนในพื้นที่ร่วมกันปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อส่งต่อสิ่งแวดล้อมที่ดี น้ำสะอาด และอากาศบริสุทธิ์ให้กับคนรุ่นหลัง

KKP ทำไมกำไรQ3สูงกว่าคาด สาเหตุมาจากอะไร?

KKP ทำไมกำไรQ3สูงกว่าคาด สาเหตุมาจากอะไร?

          หุ้นวิชั่น- บล. ดาโอ ปรับคำแนะนำ KKP  ขึ้นเป็น “ถือ” จากเดิมที่ “ขาย” และปรับราคาเป้าหมายขึ้นมาอยู่ที่ 50.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.65x (-1.50SD below 10-yr average PBV) จากเดิมที่ 40.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.50x (-2.00SD below 10-yr average PBV) จากการปรับกำไรและ PBV ขึ้น โดย KKP ประกาศกำไรสุทธิ 3Q24 อยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท (+2% YoY, +70% QoQ) ดีกว่าที่ตลาดคาดที่ 918 ล้านบาท และเราคาดที่ 881 พันล้านบาท เพราะมีการตั้งสำรองฯที่ลดลงอย่างมากมาอยู่ที่ 681 ล้านบาท จากไตรมาสก่อนที่ 1.8 พันล้านบาท           ขณะที่มีผลขาดทุนรถยึดยังอยู่ในระดับสูงที่ 1.2 พันล้านบาท ลดลง -11% YoY แต่เพิ่มขึ้น +13% QoQ เพราะราคารถมือสองยังอยู่ในระดับต่ำ ด้าน NPL เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 4.10% จากไตรมาสก่อนที่ 4.00% เพราะสินเชื่อหดตัวลง -4.8% QoQ หรือ -6.4% YTD แต่มูลค่า NPL ทรงตัว QoQ           โดย NPL ของสินเชื่อรายใหญ่ลดลง แต่ NPL ของสินเชื่อรายย่อยยังคงเพิ่มขึ้น กำไรสุทธิ 9M24 คิดเป็น 86% จากประมาณการทั้งปี ทำให้เรามีการปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2024E/2025E ขึ้น +16%/+14% โดยมีการปรับ credit cost ลดลง           ขณะที่ปรับการเติบโตของสินเชื่อปี 2024E ลง ทำให้กำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.8 พันล้านบาท ลดลง -12% YoY จากขาดทุนรถยึดที่จะยังทรงตัวระดับสูงตามสภาวะของตลาดรถยนต์ในปัจจุบันที่มีการแข่งขันด้านราคาสูง           ขณะที่คาดกำไร 4Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY จากสำรองฯที่ลดลง แต่จะลดลง QoQ จาก OPEX ที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล ราคาหุ้นในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น +9% เมื่อเทียบกับ SET เพราะมูลค่าการซื้อขายในตลาดหุ้นฟื้นตัวได้ดี และมีโครงการซื้อหุ้นคืน(วงเงินไม่เกิน 950 ล้านบาท จำนวนไม่เกิน 22 ล้านหุ้น, โดยปัจจุบันซื้อไปแล้ว 530 ล้านบาท จำนวน 11 ล้านหุ้น)           อย่างไรก็ดีเห็นความเสี่ยงจากแนวโน้มขาดทุนรถยึดที่ยังทรงตัวในระดับสูง แต่ยังมี Dividend yield ที่ราว 5% จึงแนะนำ “ถือ”

KKP ชี้แจกเงินฟื้นชั่วคราว ชำแหละปัจจัยเสี่ยงที่ควรรู้

KKP ชี้แจกเงินฟื้นชั่วคราว ชำแหละปัจจัยเสี่ยงที่ควรรู้

           หุ้นวิชั่น- แม้ว่าเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญความท้าทายจากปัญหาเชิงโครงสร้างในระยะยาว KKP Research ปรับประมาณการเศรษฐกิจสำหรับปี 2567 ขึ้นจาก 2.6% เป็น 2.8% และปี 2568 ขึ้นจาก 2.8% เป็น 3.0% เพื่อสะท้อนแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะสั้น จากสองปัจจัยบวกที่สำคัญ คือ 1) การแจกเงินให้กลุ่มเปราะบางของภาครัฐในช่วงไตรมาส 4 ปี 2567 และงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมที่ตั้งรอไว้สำหรับปี 2568 2) การปรับตัวดีขึ้นของการส่งออกบางกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นการฟื้นตัวตามวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลก ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชน ภาคการผลิตบางกลุ่ม และการบริโภคสินค้าคงทนยังคงเป็นปัจจัยฉุดเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังเป็นการปรับตัวดีขึ้นในระยะสั้นเท่านั้นจากแรงกดดันเชิงโครงสร้างในระยะยาวต่อเศรษฐกิจไทยที่ยังคงมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมสูงอายุ ปัญหาความสามารถในการแข่งขันระยะยาวในภาคการผลิต และหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยประเมินว่าการเติบโตระยะยาวของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มโตได้ต่ำกว่า 2.5% หากไม่มีการปฏิรูปเศรษฐกิจที่ชัดเจน การส่งออกปรับตัวดีกว่าคาด แต่ผลต่อเศรษฐกิจอาจไม่มาก            KKP Research ปรับประมาณการการส่งออก (ที่แท้จริง) ในปี 2567 ขึ้นจาก 1.3% เป็น 2.3% จากการส่งออกในช่วงที่ผ่านมาขยายตัวได้ดีกว่าที่ประเมินไว้ โดยการขยายตัวของการส่งออกปรับตัวดีขึ้นในหลายกลุ่ม อย่างไรก็ตามข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือ ผลทางบวกต่อเศรษฐกิจจากการปรับตัวดีขึ้นของการส่งออกอาจมีไม่มากเท่ากับในอดีต จากหลายสาเหตุ คือ 1) การส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นในบางสินค้ามีแนวโน้มเกิดจากการ “Rerouting” หรือเป็นการเปลี่ยนเส้นทางการค้าจากจีนไปสหรัฐฯ โดยตรงเป็นการส่งสินค้าจากจีนผ่านไทยไปยังสหรัฐฯ เพื่อหลีกเลี่ยงการกีดกันทางภาษี ซึ่งอาจจะมีมูลค่าเพิ่มภายในประเทศค่อนข้างน้อย 2) การส่งออกที่เป็นตัวเงินปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่การส่งออกที่แท้จริงอาจปรับตัวสูงขึ้นน้อยกว่า 3) การผลิตสินค้าบางกลุ่มยังไม่ปรับตัวดีขึ้นตามการส่งออก เนื่องจากสินค้าคงคลังที่ยังอยู่ในระดับสูง เช่น กลุ่ม ICs และ Electronics เป็นต้น จากมูลค่าเพิ่มในประเทศที่มีแนวโน้มลดลง KKP Research ประเมินว่าการเพิ่มขึ้นของการส่งออก 1% จะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจลดลงจากประมาณ 0.3ppt เหลือประมาณ 0.1ppt ถึง 0.2ppt เท่านั้น ความหวังจากนโยบายภาครัฐใหม่            เศรษฐกิจไทยน่าจะได้รับผลบวกระยะสั้นจากนโยบายแจกเงินของรัฐบาลในไตรมาส 4 ปีนี้ โดยมีการแจกเงินจำนวน 142,000 ล้านบาทให้กับกลุ่มเปราะบางหรือคิดเป็นประมาณ 0.7% ของ GDP KKP Research ประเมินว่าผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมจะมีค่า Multiplier ที่ประมาณ 0.3 โดยประเมินว่าการแจกเงินในรอบแรกส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจประมาณ 0.2-0.3 ppt และมีแนวโน้มส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปีนี้เติบโตได้เกิน 4% อย่างไรก็ตามในปีงบประมาณ 2567/6825 ยังมีการอนุมัติงบประมาณอีก 150,000 – 180,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 0.8% - 0.9% ของ GDP ซึ่ง KKP Research ประเมินว่าการแจกเงินก้อนที่สองจะมีการใช้งานได้ในช่วงไตรมาส 2 ถึง ไตรมาส 3 ปี 2568 และน่าจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยโตขึ้นได้ประมาณ 3% ในปี 2568            นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลมีการประกาศนโยบายเศรษฐกิจใหม่และแนวโน้มสถานการณ์การเมืองไทยที่มั่นคงขึ้นในระยะสั้น KKP Research ประเมินว่านโยบายที่สำคัญ คือ 1) การปรับโครงสร้างหนี้ 2) การส่งเสริมและปกป้องผู้ประกอบการรายเล็กถึงกลางจากการแข่งขันจากต่างประเทศ 3) การให้ความช่วยเหลือด้านราคาพลังงานและสาธารณูปโภค 4) การดึงเศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่เศรษฐกิจในระบบ และ 5) นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม KKP Research ยังมีความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการดำเนินนโยบายของภาครัฐ จากหลายนโยบายที่ยังไม่มีแผนการดำเนินการที่ชัดเจน และข้อจำกัดด้านหนี้สาธารณะของภาครัฐ โดยในสถานการณ์ปัจจุบันหนี้สาธารณะต่อ GDP ของภาครัฐกำลังปรับตัวเพิ่มขึ้นเข้าสู่ระดับ 70% ของ GDP ในขณะที่ รายได้ภาษีต่อ GDP มีแนวโน้มลดลง 4 ปัญหาเชิงโครงสร้างยังคงฉุดให้เศรษฐกิจไทยโตต่ำ            KKP Research ยังคงมุมมองระยะยาวต่อเศรษฐกิจไทยโดยประเมินว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มโตได้ต่ำกว่า 2.5% หากไทยยังขาดนโยบายปฏิรูปเชิงโครงสร้างที่ชัดเจนโดยประเมินว่าในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจยังคงเผชิญกับสี่แรงกดดันเชิงโครงสร้างที่สำคัญ คือ            โครงสร้างประชากร โครงสร้างประชากรไทยในปัจจุบันกำลังเป็นปัจจัยลบต่อศักยภาพเศรษฐกิจไทยในระยะยาว จากจำนวนคนวัยทำงานที่ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วในปี 2558            ความสามารถในการแข่งขัน ภาคการผลิตไทยเผชิญกับปัญหาควาสามารถในการแข่งขันในหลายอุตสาหกรรมทั้งยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี โดยการผลิตมีทิศทางที่หดตัวลงต่อเนื่องจากทั้งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นจากสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ            ภาคการผลิตและการลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชนไทยหดตัวลงรุนแรงถึง 5.7% ในไตรมาส 2 ของปีสูงกว่าที่คาดไว้ โดยการหดตัวเกิดขึ้นหลังจากภาคการผลิตไทยหดตัวต่อเนื่องเป็นเวลานาน ในขณะที่การลงทุนในกลุ่มการก่อสร้างหดตัวลงเช่นกันตามตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่อ่อนแอ            สถานะทางการเงินของครัวเรือนที่อ่อนแอ โดยหนี้ครัวเรือนในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่สูงกว่า 80% ซึ่งเป็นระดับที่เริ่มฉุดศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว ประกอบกับหนี้เสียในภาคธนาคารเริ่มปรับตัวสูงขึ้นชัดเจนในช่วงที่ผ่านมาสอดคล้องกับยอดปล่อยสินเชื่อใหม่ของธนาคารพาณิชย์ที่ยังมีแนวโน้มหดตัวลง ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงอ่อนแอ            ในช่วงที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วและเป็นหนึ่งในสกุลเงินที่แข็งขึ้นเร็วมากที่สุดในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม KKP Research ประเมินว่าการแข็งค่าของเงินบาทยังมีแนวโน้มเกิดจากปัจจัยระยะสั้นซึ่งเกิดจากการอ่อนค่าลงเร็วของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จากการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ และบรรยากาศการลงทุนที่ปรับตัวดีขึ้นจากสถานการณ์การเมืองที่มีทิศทางชัดเจนขึ้น และการปรับตัวสูงขึ้นของราคาทองคำ            อย่างไรก็ตามในระยะต่อไป KKP Research ประเมินว่าว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจในระยะยาวไม่สอดคล้องกับเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในระยะสั้น และยังคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยยังมีแนวโน้มต่ำกว่าในช่วงที่ผ่านมา แม้จำนวนนักท่องเที่ยวจะกลับไปใกล้เคียงกับระดับก่อนโควิดแล้วก็ตาม โดยการเกินดุลในระยะต่อไปจะอยู่ในระดับประมาณ 1% - 3% ของ GDP เมื่อเทียบกับสถานการณ์ก่อนโควิดที่ระดับ 7% - 8% ของ GDP ซึ่งเป็นผลมาจากหลายองค์ประกอบ จากทั้งดุลการค้าที่เกินดุลน้อยลงตามราคาน้ำมันและความสามารถในการแข่งขัน รายได้จากการท่องเที่ยวที่ลดลง และค่าขนส่งที่ยังสูงกว่าช่วงก่อนโควิด ดอกเบี้ยเข้าสู่ขาลง            แม้ว่า KKP Research จะปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจในปี 2567 และ 2568 ขึ้นแต่ยังคงประเมินว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1 ครั้งในปีนี้ และจะลดดอกเบี้ยต่อเนื่องอีก 2 ครั้งในไตรมาส 1 และ 2 ปีหน้าสู่ระดับ 1.75% จากระดับอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ในระดับค่อนข้างสูงแล้วเมื่อเทียบกับเงินเฟ้อ การเติบโตทางเศรษฐกิจ ระดับอัตราดอกเบี้ยในอดีต และระดับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของประเทศพัฒนาแล้ว ในขณะที่หนี้ครัวเรือนที่อยูในระดับสูงเริ่มมีสัญญาณปรับตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมา

[PR News] บลจ.เกียรตินาคินภัทร เปิดตัวกองทุน KKP SIB-H และ KKP SIB-UH

[PR News] บลจ.เกียรตินาคินภัทร เปิดตัวกองทุน KKP SIB-H และ KKP SIB-UH

          บลจ.เกียรตินาคินภัทร เปิดตัวกองทุน KKP SIB-H และ KKP SIB-UH ขยายโอกาสสร้างผลตอบแทนให้พอร์ตกับตราสารหนี้ต่างประเทศ ที่เน้นลงทุนในสหรัฐ เสนอขายครั้งแรก (IPO) วันที่ 8 – 16 ตุลาคมนี้           บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เกียรตินาคินภัทร จำกัด (บลจ.เกียรตินาคินภัทร) มองเห็นโอกาสการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่ดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง ช่วยในการกระจายความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนให้กับพอร์ตการลงทุน จึงเปิดเสนอขาย 2 กองทุนใหม่ล่าสุด ได้แก่ กองทุนเปิดเคเคพี สตราทิจิค อินคัม บอนด์ เฮดจ์ (KKP SIB-H) และกองทุนเปิดเคเคพี สตราทิจิค อินคัม บอนด์ อันเฮดจ์ (KKP SIB-UH) ที่เน้นลงทุนในกองทุนหลัก Neuberger Berman Strategic Income Fund ซึ่งมุ่งเน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทหรือรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา ด้วยกลยุทธ์การบริหารกองทุนแบบเชิงรุก (Active Management) โดยเปิดเสนอขายทั้งประเภทป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเกือบทั้งหมด (HEDGED) และไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (UNHEDGED) เพื่อเป็นทางเลือกให้นักลงทุน ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 1,000 บาท กำหนดการเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 8 – 16 ตุลาคม 2567           นายยุทธพล ลาภละมูล กรรมการผู้จัดการ เปิดเผยว่า แม้ FED จะเริ่มวัฎจักรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้ว แต่การปรับลดคาดว่าจะเป็นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยประมาณการอัตราดอกเบี้ยของ FED (FED Dot Plot) ชี้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ในช่วง 4.25%-4.5% ในสิ้นปีนี้และช่วง 3.25%-3.5% ในปีหน้า ตามคาดการณ์เศรษฐกิจเติบโตลดลงแต่ไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย (Soft landing) ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ 10 ปีในปัจจุบันที่ 3.74% เป็นระดับที่ไม่ต่ำเกินไป ทำให้มองว่าการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศมีความน่าสนใจทั้งในเรื่องอัตราดอกเบี้ยจากการลงทุนและการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุนในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว บลจ.เกียรตินาคินภัทร จึงได้นำเสนอกองทุน KKP SIB-H และ KKP SIB-UH แก่นักลงทุนไทยเพื่อเป็นทางเลือกการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ           สำหรับ กองทุน KKP SIB-H และ KKP SIB-UH ระดับความเสี่ยง 5 (เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง) เป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุนประเภท Feeder Fund มีนโยบายเน้นลงทุนในกองทุนหลัก Neuberger Berman Strategic Income Fund ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม โดยกองทุนหลักจะลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทหรือรัฐบาล ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทหรือรัฐบาลนอกสหรัฐอเมริกา ความน่าสนใจของกองทุนหลักคือ เป็นกองทุน Multi-Sector Bond ที่ลงทุนได้แบบยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนอายุเฉลี่ยของตราสารและอุตสาหกรรมได้ตามสภาวะเศรษฐกิจ ทำให้สามารถลงทุนในตราสารหนี้ได้หลากหลายประเภท รวมถึงมีทีมผู้จัดการกองทุนที่มีประสบการณ์ยาวนานเฉลี่ยกว่า 25 ปี           กองทุน KKP SIB-H จะทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ ส่วนกองทุน KKP SIB-UH จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ           สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจสามารถขอรับหนังสือชี้ชวนและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) โทร. 02 305 9559 หรือ ธนาคารเกียรตินาคินภัทรทุกสาขา หรือ https://am.kkpfg.com หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง ข้อมูลกองทุน KKP SIB-H และ KKP SIB-UH : เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่าง วันที่ 8-16 ตุลาคม 2567 มูลค่าขั้นต่ำในการซื้อครั้งแรก 1,000 บาท ครั้งถัดไป 1,000 บาท คำเตือน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน กองทุน KKP SIB-H จะทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเกือบทั้งหมด (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ) กองทุนจึงอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนในส่วนที่ไม่ได้ทำการป้องกันความเสี่ยงไว้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุน KKP SIB-UH จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ดังนั้น กองทุนจึงมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ โปรดศึกษาคำเตือนที่สำคัญอื่นและข้อมูลเพิ่มเติมได้ในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลกองทุนรวม https://am.kkpfg.com หรือผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนที่ได้รับการแต่งตั้ง

[PR News] KKPS คว้ารางวัลไพรเวทแบงก์ยอดเยี่ยม

[PR News] KKPS คว้ารางวัลไพรเวทแบงก์ยอดเยี่ยม

           บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) คว้ารางวัล Best Private Bank in Thailand จากเวที Triple A Private Capital Awards 2024 ซึ่งจัดขึ้นโดย The Asset นิตยสารการเงินชั้นนำแห่งเอเชีย ด้วยกลยุทธ์ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าแบบเฉพาะเจาะจงแต่ละราย            นายณฤทธิ์ โกสาลาทิพย์ ประธานสายงานที่ปรึกษาและบริหารการลงทุนลูกค้าบุคคล เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาแวดวงการลงทุนอาจต้องเผชิญกับความท้าทายที่หลากหลาย ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และภัยธรรมชาติ แต่ธุรกิจ Private Bank ของบล.เกียรตินาคินภัทร ได้พยายามมุ่งมั่นนำเสนอบริการที่จะพาลูกค้าก้าวผ่านความท้าทายและตอบโจทย์ครอบคลุมทุกมิติของความต้องการ จนสามารถคว้ารางวัลจากหลายสถาบันอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปี รวมถึงล่าสุดคือ The Triple A Private Capital Award - Best Private Bank in Thailand จาก The Asset นิตยสารการเงินชั้นนำของภูมิภาคเอเชีย            “กลยุทธ์สำคัญคือการมุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง นำไปสู่การนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า โดยไม่เพียงจำกัดอยู่ที่ความเป็นบริษัทหลักทรัพย์ขององค์กร แต่ยังผนวกเอาจุดแข็งของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทรในทุกส่วนมาเสริมศักยภาพจนกลายเป็นบริการที่ครอบคลุมได้ทุกความต้องการ เช่น การให้คำแนะนำและบริหารการลงทุนส่วนบุคคล การบริหารสภาพคล่อง ไปจนถึงการแนะนำกระบวนการเข้าสู่ตลาดทุน (IPO) การควบรวมกิจการ (Mergers and Acquisitions) การบริหารความเสี่ยง หรือการส่งต่อธุรกิจและทรัพย์สินให้แก่ทายาท            นอกจากนี้ บล.เกียรตินาคินภัทร ยังพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ทัดเทียมมาตรฐานระดับสากลอยู่ตลอด และจับมือกับพันธมิตรที่มีความชำนาญ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการและโอกาสการลงทุนไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบหรือภูมิภาคใดของโลก การได้รับรางวัลในครั้งนี้นับเป็นการการันตีถึงศักยภาพการให้บริการด้าน Private Bank ขององค์กร ขอขอบคุณลูกค้าที่เชื่อมั่นในบล.เกียรตินาคินภัทรและไว้วางใจใช้บริการมาอย่างต่อเนื่อง เราจะมุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้าคนสำคัญของเราต่อไป”            ทั้งนี้ Triple A Private Capital Awards เป็นเวทีที่มอบรางวัลให้กับสถาบันการเงินชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่มีความโดดเด่นในด้านการบริหารจัดการความมั่งคั่ง การให้คำปรึกษาการลงทุน และบริการด้านการลงทุนต่างๆ ซึ่งจัดขึ้นมามากกว่า 20 ปี พิจารณาและตัดสินโดยคณะบรรณาธิการของ The Asset และจากบทวิจัยประสบการณ์ของลูกค้าในอุตสาหกรรมการเงิน

KKP : คาดกำไรสุทธิ 3Q24F ที่ 870 ลบ. ลด y-y เพิ่ม q-q

KKP : คาดกำไรสุทธิ 3Q24F ที่ 870 ลบ. ลด y-y เพิ่ม q-q

          หุ้นวิชั่น รายงานว่า บล.กรุงศรี มีมุมมอง Neutral ต่อกำไรสุทธิ 3Q24F ของ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ KKP ที่ 870 ลบ. กำไรลดลง -32%y-y เพราะ i) สินเชื่อหดตัว โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อ ii) ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น ขณะที่กำไรเพิ่มขึ้น +13% q-q จาก i) เงินลงทุน (FVTPL) เพิ่มขึ้น ii) ค่าใช้จ่ายสำรอง (ECL) ลดลง ด้านขาดทุนรถยึดคาดยังคงระดับสูงที่ -1.10 พันลบ. ใกล้กับ 2Q24 จาก KKP ทยอยระบายสต๊อครถยึดอย่างต่อเนื่อง สำหรับคุณภาพสินทรัพย์ลูกหนี้อ่อนแอ NPL Ratio อยู่ที่ 4.10% จาก 4.00% ใน 2Q24 หลักๆจากความไม่แน่นอนในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และความไม่แน่นอนด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ ภาพรวมเรายังไม่ชอบ KKP เพราะตลาดเช่าซื้อซึ่งเป็นพอร์ตหลักของ KKP (45% ของสินเชื่อรวม) ยังน่ากังวล โดยเฉพาะคุณภาพสินทรัพย์อ่อนแอ ทำให้กระทบต่อการเติบโตของสินเชื่อรวม

แนะ 3 แนวทางรับมือ

แนะ 3 แนวทางรับมือ "สินค้าจีนทะลักไทย" KKP ชี้ e-Commerce ตัวเร่ง

          สินค้าจีนทะลักเข้ามาตีตลาดในไทยเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงอย่างต่อเนื่องในสื่อ  ซึ่งเริ่มเห็นสินค้าจีนหลากหลายประเภทหลั่งไหลเข้ามาในไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ  KKP Research ประเมินว่าแนวโน้มดังกล่าว ไม่เพียงแต่จะกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องแข่งขันกับจีนโดยตรงเท่านั้น แต่ยังจะกระทบเศรษฐกิจไทยในภาพรวม ทั้งรายได้ธุรกิจและแรงงาน การขาดดุลทางการค้า ซึ่งเป็นประเด็นที่ภาครัฐจำเป็นต้องพิจารณามาตรการในการช่วยดูแลผลกระทบอย่างเหมาะสม จีนก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและกำลังรุกคืบเข้ามาไทย           จีนก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจในภาคการผลิตโลกอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ประเทศจีนเข้าร่วมองค์กรการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ในปี 2001 อย่างไรก็ตามในช่วงวิกฤตโควิด มีหลายการเปลี่ยนแปลงที่เร่งให้สินค้าจากจีนสามารถส่งออกไปยังโลกและไทยได้เร็วมากขึ้น โดยแบ่งออกเป็นสองปัจจัยผลักจากจีน คือ (1) พัฒนาการการเติบโตที่รวดเร็วของแพลตฟอร์ม e-Commerce ในจีนโดยและธุรกรรมในประเทศจีนมีขนาดใหญ่กว่า 50% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งโลก  และยังขยายธุรกิจส่งออกโดยอาศัย e-Commerce ข้ามประเทศ (Cross-border e-Commerce) ซึ่งเติบโตขึ้นถึง 15% ในปี 2021 โดยประเทศไทยมีสัดส่วนจากการส่งสินค้าข้ามประเทศจากจีนขนาดประมาณ 24% ของมูลค่า e-Commerce ทั้งหมด (2) เศรษฐกิจภายในประเทศของจีนที่ชะลอตัวลงจากปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ ทำให้จีนต้องหันมาพึ่งพาภาคการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ           อย่างไรก็ตาม KKP Research ประเมินว่ามี 4 ปัจจัยในไทยเอง ที่มีส่วนดึงดูดสินค้าจากจีนให้เร่งเข้ามามากกว่าในหลายประเทศ คือ  1) ประเทศไทยมีกฎระเบียบที่เอื้อต่อการนำเข้าสินค้าจากจีน ตัวอย่างเช่น การคิดอัตราภาษีจากสินค้าจีนในระดับต่ำ 2) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่จีนเป็นผู้นำ เช่น รถยนต์ไฟฟ้า 3) การเกิดขึ้นของ e-Commerce ในประเทศไทย โดยคนไทยมีความคุ้นเคยและนิยมซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยพิจารณาจากราคา ไม่ยึดติดกับแบรนด์  4) การให้ Free visa กับนักท่องเที่ยวจากจีน ทำให้ไม่มีการตรวจสอบการเข้าออกประเทศอย่างเข้มงวด เปิดช่องทางให้คนจีนเข้ามาทำการค้าทำธุรกิจในไทยได้โดยง่าย           ปัจจัยทั้งหมดส่งผลให้ไทยเป็นหนึ่งในเป้าหมายการส่งออกสินค้าจากจีน ไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเร่งตัวของการขาดดุลการค้ากับจีนเร็วมากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ โดยเพิ่มขึ้นจาก 2.5% ของ GDP ในปี 2012 เป็น 7.5% ของ GDP ในปี 2022 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 5 p.p.  ซึ่งเกิดจากทั้งการนำเข้ามาเพื่อบริโภคในประเทศเอง และการนำเข้าเพื่อส่งออกสินค้าต่อไปยังต่างประเทศ สินค้าที่ทะลักเข้าไทยมากที่สุด            KKP Research ประเมินว่าหากพิจารณาพัฒนาการของการค้าระหว่างไทยกับจีนในรายละเอียดอาจสามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มสินค้าสำคัญที่น่าสนใจ คือ กลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ จะเป็นกลุ่มที่ส่งผลให้มีการขาดดุลมากที่สุด โดยสินค้าที่สำคัญที่ไทยนำเข้าจากจีนค่อนข้างมาก คือ สินค้าในกลุ่ม smartphone ซึ่งเป็นสินค้าที่สามารถซื้อขายได้ผ่าน e-Commerce Platform ทำให้เห็นภาพว่า e-Commerce มีบทบาทสำคัญเช่นกันในการส่งผ่านสินค้าจากจีนมายังไทยมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สินค้าในกลุ่มเครื่องจักร เคยเป็นหนึ่งในประเภทสินค้าที่ไทยเกินดุลการค้ากับจีนจากสินค้าอย่าง Hard Disk Drive อย่างไรก็ดี ในภายหลังสินค้าเครื่องจักรจากจีนเริ่มเข้ามาในตลาดไทยมากขึ้น นำโดย Laptop และเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าในกลุ่มยานยนต์ สินค้าที่ขาดดุลกับจีนเป็นอันดับต้น ๆ ส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนรถยนต์ ขณะที่สินค้าที่เกินดุลการค้ากับจีนเป็นสินค้ารถยนต์ที่ประกอบสำเร็จแล้ว โดยในปี 2022 เริ่มเห็นสัญญาณความเสี่ยงจากการที่ไทยเริ่มขาดดุลการค้ากับจีนในสินค้ารถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV โดยมีการขาดดุลเพิ่มขึ้นแซงหน้าชิ้นส่วนยานยนต์ทุกประเภท เหล็กกล้าและอะลูมิเนียม พบว่าเหล็กและอะลูมิเนียมขาดดุลการค้ามากขึ้นทุกปีกับจีน โดยมีสาเหตุจากกำลังการผลิตที่เกินอุปสงค์ภายในประเทศจีนที่ชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจ สุดท้ายจึงต้องส่งออกเหล็กสำเร็จรูปเหล่านั้นมาที่ประเทศอื่น ๆ รวมถึงประเทศไทย เคมีภัณฑ์และพลาสติก เปลี่ยนจากการเกินดุลการค้าเป็นขาดดุลการค้าในช่วงที่ผ่านมา โดยข้อมูลจากองค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุว่าในปัจจุบันจีนมีการพัฒนาเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรม โดยมีกำลังผลิตรวมมากกว่ายุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้รวมกันเสียอีก จีนจึงไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าอีกต่อไป e-Commerce platform คลื่นยักษ์ลูกใหม่ที่เร่งการทะลักของสินค้าจีนมาไทย           KKP Research ประเมินว่าหนึ่งในปัจจัยเร่งการส่งสินค้าจีนมายังไทย คือ   การเติบโตของ e-Commerce platform โดยข้อมูลชี้ว่ามูลค่า e-Commerce เติบโตเฉลี่ยถึงปีละ 10.5% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยการเติบโตเร่งขึ้นมากในช่วงโควิดส่งผลให้ในปี 2023 ตลาด e-Commerce มีมูลค่าโดยรวมอยู่ที่ราว 5.96 ล้านล้านบาท โดยสัดส่วนกว่า 50% เป็นธุรกิจประเภท Business-to-Consumer (B2C) คือการขายของออนไลน์จากธุรกิจไปยังผู้บริโภคโดยตรง ในด้านช่องทางการซื้อขายออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอันดับแรก คือ e-Marketplace           สาเหตุที่ทำให้ e-Commerce ในประเทศไทยเติบโตอย่างรวดเร็วและยังมีโอกาสเติบโตต่อไปได้สูงจากหลายปัจจัย ได้แก่ (1) การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่อยู่ในระดับสูง โดยสัดส่วนประชากรที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตสูงถึง 88% จัดอยู่ในอันดับต้น ๆ ของโลก เทียบกับค่าเฉลี่ยโลกที่ 66% (2) สัดส่วนการเข้าถึง smart phone สูงถึง 77.2% เทียบกับค่าเฉลี่ยโลกที่ 69%  (3) การเข้าถึงข่องทางการชำระเงินออนไลน์ (online payments) ที่หลากหลาย ช่วยสนับสนุนการค้าปลีกออนไลน์ให้มีความสะดวกในต้นทุนที่ต่ำ  ติดอันดับต้น ๆ ของโลก ในระยะข้างหน้าการแข่งขันในสมรภูมิ e-Commerce กำลังจะเข้มข้นขึ้นอีก เมื่อ มี e-Marketplace platform เจ้าใหม่ที่เจาะตลาดไปแล้วถึง 51 ประเทศทั่วโลกและได้รุกก้าวเข้ามาบุกตลาดในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ เศรษฐกิจไทยภายใต้แรงกดดันจากสินค้าจีน           ในกรณีของประเทศไทยการเติบโตของ e-Commerce มีแนวโน้มส่งผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจไทยในระยะยาว โดยผลจะแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มผู้เล่นในระบบเศรษฐกิจ 1) ผู้บริโภคมีแนวโน้มได้ประโยชน์ เพราะสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาถูกลง 2) ผู้ผลิตในกลุ่มธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากการใช้วัตถุดิบราคาถูก หรือธุรกิจที่โตไปพร้อมกับ e-Commerce 3) ผู้ผลิตในกลุ่มสินค้าเดียวกับสินค้าที่นำเข้าผ่าน e-Commerce มีแนวโน้มได้รับผลกระทบทางลบจากการเข้ามาทดแทนของสินค้าจีน ตัวอย่างเช่น สินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า           เมื่อพิจารณาสินค้าในกลุ่มที่มีแนวโน้มส่งออกผ่านแพลตฟอร์ม e-Commerce มายังประเทศไทย กลุ่มสินค้าที่ไทยมีแนวโน้มขาดดุลกับจีนมากขึ้นและมีแนวโน้มเกี่ยวข้องกับ e-Commerce คือ คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มมากถึง 8.8% ของภาคการผลิตไทย เครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าเพิ่ม 3.5 % และอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้ามีมูลค่าประมาณ 3 % โดยนับรวมเป็นมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิตในกลุ่มที่มีความเสี่ยงนี้คิดเป็นประมาณ 18% ของ มูลค่าการผลิตทั้งหมดของประเทศ โดยเริ่มเห็นทิศทางการผลิตที่ชะลอลงแล้วในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้การเข้ามาของ e-Commerce ยังมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อ ภาคบริการแบบเก่า คือ กลุ่มค้าปลีกมีโอกาสได้รับผลกระทบ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนใหญ่ถึงประมาณ 16% ของ GDP           KKP Research ประเมินว่าอาจมีผลกระทบสำคัญตามมาอีกอย่างน้อย 5 เรื่อง คือ 1) รายได้ของธุรกิจมีแนวโน้มถูกกระทบรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ปรับตัวได้ยากกว่า 2) หนี้เสียมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยในปัจจุบันเริ่มเห็นสัญญาณการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียของธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีแนวโน้มเป็นกลุ่มสินค้าเดียวกันกับสินค้าที่ไทยขาดดุลกับจีนมากขึ้น เช่น สิ่งทอและเสื้อผ้า เหล็ก  3) ดุลการค้ามีแนวโน้มพลิกเป็นขาดดุลในระยะยาวและกดดันค่าเงินบาทจากการนำเข้าสินค้าจีนทดแทนการผลิต 4) เงินเฟ้อไทยมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง จากสินค้าราคาถูกจากจีน 5) รัฐบาลไทยสูญเสียรายได้ภาษี จากการที่การชำระเงินให้กับการซื้อสินค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์มข้ามชาติเหล่านี้ ถูกจ่ายตรงไปยังธุรกิจในต่างประเทศ ไทยควรรับมืออย่างไร ?           การเข้ามาบุกตลาดของสินค้าจีนอาจมีข้อดีทำให้ซื้อสินค้าในราคาถูกลง แต่ตามมาด้วยผลกระทบด้านลบต่อผู้ประกอบการไทย ทั้งนี้การออกมาตรการสกัดกั้นหรือตอบโต้สินค้าจากจีนอาจเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนในทางการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ KKP Research ประเมินว่าภาครัฐไม่จำเป็นต้องกีดกันสินค้าจากจีนในวงกว้าง หากแต่ควรพิจารณาออกแบบมาตรการรับมือ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์และหลักการในมิติดังต่อไปนี้ Fair competition: สินค้านำเข้าเป็นการนำเข้าที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย มีการลักลอบ หรือใช้ช่องว่างทางกฎหมายต่าง ๆ เพื่อหลบเลี่ยงภาษี หรือเป็นการทุ่มตลาด ทำให้ผู้ประกอบการไทยเสียผลประโยชน์จากการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียม Quality and standards: สินค้านำเข้าเป็นการนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานตามที่กำหนดโดยมาตรฐานสินค้าและอาหารของหน่วยงานภาครัฐไทยหรือไม่? Strategic industry: สินค้านำเข้าเป็นการนำเข้าที่มาแข่งขันกับการผลิตในประเทศในอุตสาหกรรมสำคัญที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์สำหรับเศรษฐกิจไทย และการจ้างงานในภาพรวมหรือไม่?           ในกรณีที่สินค้ามีลักษณะที่ตรงตามเกณฑ์ต่าง ๆ ภาครัฐควรให้ความช่วยเหลือธุรกิจไทยในกรณีที่มีการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม หรือเป็นการช่วยให้อุตสาหกรรมที่มีความสำคัญกับเศรษฐกิจมีเวลาปรับตัวมากเพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจ           อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นมาตรการใดที่จะใช้ในการตั้งรับกับการแข่งขันในสมรภูมิสินค้าที่ดุเดือดมากขึ้นนี้ก็อาจเป็นเพียงการซื้อเวลาให้ผู้ประกอบการได้พอมีเวลาปรับตัว แต่สุดท้ายแล้วผู้ชนะในตลาดนี้จำเป็นต้องแข่งกันด้วยคุณภาพของสินค้า ประสิทธิภาพในการผลิต ความคุ้มค่า รวมไปถึงการบริการที่ตอบโจทย์และได้ความพึงพอใจจากผู้บริโภค นับเป็นโอกาสที่ดีที่ภาคการผลิตไทยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ พัฒนาประสิทธิภาพการผลิต สร้างนวัตกรรม สร้างแบรนด์ที่มีความแตกต่าง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น โดยภาครัฐอาจต้องช่วยส่งเสริมด้วยการสนับสนุนการลงทุนในเทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาปรับปรุงการผลิต รวมถึงการบุกเบิกตลาดใหม่

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456