ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#KBANK


PTTGC จับมือ KBank ลงนามสินเชื่อหมุนเวียนวงเงิน 20,000 ล้านบาท เสริมสภาพคล่องทางการเงิน

PTTGC จับมือ KBank ลงนามสินเชื่อหมุนเวียนวงเงิน 20,000 ล้านบาท เสริมสภาพคล่องทางการเงิน

                  หุ้นวิชั่น – ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2568, กรุงเทพมหานคร – บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC ได้ลงนามสัญญาสินเชื่อหมุนเวียน (Revolving Facilities) วงเงิน 20,000 ล้านบาท กับธนาคารกสิกรไทย หรือ KBank เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน สนับสนุนการพลิกสถานการณ์ธุรกิจ และวางรากฐานสู่การเติบโตในอนาคต ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนและช่วงขาลงของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี  โดยวงเงินสินเชื่อนี้นับเป็นวงเงินสูงสุดที่บริษัทฯ เคยได้รับ สะท้อนถึงความน่าเชื่อถือของบริษัท และความเชื่อมั่นจากสถาบันการเงินและภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีต่อศักยภาพของ PTTGC           สัญญาสินเชื่อหมุนเวียนวงเงิน 20,000 ล้านบาทฉบับนี้ เป็นสินเชื่อระยะยาวที่มีความยืดหยุ่นสูงและมีลักษณะพิเศษ โดยสามารถเบิกใช้หรือชำระคืนได้ตามความจำเป็นในการบริหารจัดการธุรกิจ อีกทั้งยังสามารถใช้วงเงินดังกล่าวในการออกเลทเทอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit: LC) เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง สะท้อนถึงความเข้าใจในลักษณะเฉพาะและสถานการณ์ไม่ปกติที่เกิดขึ้นในธุรกิจปิโตรเคมี รวมถึงความเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่สำคัญระหว่าง KBank และ PTTGC           นายทิติพงษ์ จุลพรศิริดี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี PTTGC เปิดเผยว่า “วงเงินสินเชื่อหมุนเวียนนี้จะช่วยเสริมสภาพคล่องให้ GC รองรับความผันผวนของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ยังอยู่ในช่วงฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความยืดหยุ่นในการเบิกใช้และชำระคืนตามความจำเป็น เมื่อชำระคืนแล้ว วงเงินก็สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ช่วยให้เราบริหารต้นทุนทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการบริหารกระแสเงินสดและการลดภาระดอกเบี้ย”           นอกจากนี้ GC ยังคงมุ่งเน้นการบริหารจัดการต้นทุนอย่างเข้มงวด ทั้งค่าใช้จ่ายดำเนินงาน (OPEX) และเงินลงทุน (CAPEX) ควบคู่กับการบริหารหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมความมั่นคงทางการเงิน รองรับแผนการพลิกฟื้นธุรกิจและขับเคลื่อนการเติบโตในกลุ่มธุรกิจมูลค่าสูง–คาร์บอนต่ำ ซึ่งเป็นกลยุทธ์สำคัญในการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน           “ขอขอบคุณธนาคารกสิกรไทยที่ให้ความเชื่อมั่นและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือครั้งนี้ไม่เพียงเสริมความแข็งแกร่งทางการเงิน แต่ยังสะท้อนความมั่นใจในศักยภาพของ GC ในการพลิกสถานการณ์ธุรกิจและขับเคลื่อนการเติบโตในกลุ่มธุรกิจมูลค่าสูง-คาร์บอนต่ำ ซึ่งเป็นกลยุทธ์สำคัญในการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของเรา” นายทิติพงษ์ กล่าวเพิ่มเติม           นายทิพากร สายพัฒนา รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า “ธนาคารกสิกรไทยมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน GC ผ่านข้อตกลงสินเชื่อหมุนเวียนในครั้งนี้ ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะเป็นแรงหนุนที่ช่วยเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันให้กับ GC และส่งเสริมให้ GC สามารถเติบโตอย่างยั่งยืนได้ในระยะยาว”

ระวัง! หุ้นการเมือง

ระวัง! หุ้นการเมือง

          ดีกรีการเมืองน่าจะร้อนระอุ วันนี้ โหมโรงเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นวันแรก นักวิเคราะห์มองว่า อาจส่งผลในเชิงจิตวิทยาต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยช่วงสั้น นักลงทุนคงอยู่ในโหมด "รอดูท่าที" (wait and see)           โดยเฉพาะประเด็นที่อาจมีการพาดพิงถึง โครงการสำคัญของรัฐบาล เช่น โครงการแจกเงิน (Digital Wallet) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคประชาชน ซึ่งหากถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเวทีอภิปราย อาจสร้างความไม่แน่นอน เกี่ยวกับการเดินหน้านโยบายดังกล่าวในช่วงที่เหลือของปีได้           สำหรับภาพรวมการอภิปรายครั้งนี้ ไม่น่าจะส่งผลกระทบในเชิงพื้นฐานต่อตลาดหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจรายบุคคล โดยเน้นไปที่บทบาทและสถานะของนางสาวแพทองธาร มากกว่าการอภิปรายเพื่อโจมตีนโยบายเศรษฐกิจโดยรวม           ทั้งนี้ นักลงทุนควรจับตาผลการลงมติในวันที่ 26 มีนาคม 2568 ซึ่งสามารถสะท้อนเสถียรภาพของรัฐบาลในระยะข้างหน้า หากสามารถผ่านการลงมติไปได้อย่างราบรื่น อาจเป็นปัจจัยบวกในเชิงจิตวิทยาให้กับตลาดหุ้น           ด้าน บล.กรุงศรี จับตากระแสการซื้อหุ้นซื้อคืนจะกลับมาคึกคัก หลัง PTT ประกาศโครงการซื้อหุ้น คืนเพื่อบริหารทางการเงิน (Treasury Stock) วงเงินสูงสุดไม่เกิน 16,000 ลบ. และจำนวนหุ้นซื้อคืน ไม่เกิน 470 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกิน 1.65% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด (implied ราคาหุ้น ซื้อคืนราว 34 บาท/หุ้น)           คาดตลาดมีโอกาสเก็งกำไรหุ้น Big Cap ที่มีศักยภาพดำเนินการได้  พบว่า มีหุ้น Big Cap หลักๆในกลุ่มพลังงาน ธนาคาร ปิโตรเคมี ที่มีโอกาสเห็นการซื้อหุ้นคืนระยะถัดไป อาทิ SCB, KBANK, KTB , BBL, PTTGC, TOP, BCP นอกจาก PTT- TTB ที่ประกาศโครงการดังกล่าวไปแล้ว จับตา  BCP, PTTGC, TOP กันต่อไป           นับเป็นหุ้น Health Care ที่น่าจับตา จากผลการดำเนินงานที่เติบโตต่อเนื่องมาโดยตลอด สำหรับ บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด (มหาชน) หรือ BLC ล่าสุด ภก. สุวิทย์ งามภูพันธ์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BLC พร้อมคณะผู้บริหาร ร่วมนำเสนอข้อมูลผลการดำเนินงานปี 2567 แก่นักลงทุนใน Opportunity Day โดยมีรายได้ 1,557 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 176.1 ล้านบาท เติบโต 10.7% และ 16.8% ตามลำดับ  ด้านบอร์ดเตรียมขออนุมัติจ่ายเงินปันผล งวดผลการดำเนินงานในปี 2567 จากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ในอัตรา 0.09 บาทต่อหุ้น โดยจะกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ์ได้รับเงินปันผล ในวันที่ 11 เมษายน 2568 และจ่ายเงินปันผลในวันที่ 30 เมษายน 2568           ทั้งนี้ ในปี 2568 BLC วางแผนขยายขอบเขตความร่วมมือเพื่อสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยาไทยให้เติบโต พร้อมทั้งสร้างความมั่นคงทางด้านสุขภาพ และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน รวมทั้ง มุ่งผลักดันรายได้เติบโตเฉลี่ย 200 ล้านบาทต่อปีตามเป้าหมาย งานนี้ผู้ถือหุ้นสบายใจหายห่วง           ในที่สุดก็กระจ่างชัด นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ กรรมการผู้จัดการใหญ่ TTB แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ข่าวการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB  กับธนาคารทหารไทยธนชาตจำกัด (มหาชน) หรือ TTB นั้น  ไม่เป็นความจริง บริษัทฯ ไม่ได้มีการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อีกทั้ง TTB  ยังคงมุ่งเน้นพันธกิจสำคัญคือ การ Make REAL Change หรือการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายเพื่อให้ลูกค้าของธนาคารกว่า 10 ล้านคน มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ผ่านกลยุทธ์การสร้างการเติบโตแบบ Ecosystem Play และการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบและสอดคล้องกับแนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending)           ขณะที่ นายพงษ์สิทธิ์ ชัยฉัตรพรสุข ประธานผู้บริหาร Legal Comliance & Financial Crime และเลขานุการบริษัท KTB  ก็ชี้แจงว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง และในขณะนี้ คณะกรรมการธนาคารฯ ไม่ได้มีดำริ หรือได้มอบหมายฝ่ายบริหารให้ดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการควบรวมกิจการตามที่เป็นข่าว  ออกมาชี้แจงชัดเจนกันทั้ง 2 ฝ่าย...จบนะ           ปิดท้ายกันที่ หนุ่มน้อยหน้ามนคนขยัน นายปรมัตถ์ จุฬวนิช ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน CHOW ล่าสุดได้รับเกียรติเป็นวิทยากรบรรยายหลักสูตร “ความรู้ Solar Rooftop เพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์สินเชื่อ SME Green Productivity” ให้กับพนักงาน SME D Bank ทั่วประเทศ โดยมุ่งเน้นให้พนักงาน SME D Bank มีความเข้าใจและสามารถแนะนำข้อมูลให้ลูกค้าที่ต้องการติดตั้ง Solar Rooftop และเข้าร่วมโครงการ สินเชื่อ SME Green Productivity พร้อมดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3%ต่อปีสำหรับ 3 ปีแรก  นักลงทุนคงต้องเกาะติดผลงาน CHOW ให้ดีๆ เพราะนี่อาจจะเป็นดีลนำร่อง เพื่อต่อยอดดีลต่อๆไปก็ได้    การลงทุน มีความเสี่ยง ผู้ลงทุน ควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ ลงทุน ข่าวหัวม่วง By ทีมงานหุ้นวิชั่น     

[Vision Exclusive] GULF ถือหุ้น KBANK รับปันผล Q2 ที่ 808 ลบ.

[Vision Exclusive] GULF ถือหุ้น KBANK รับปันผล Q2 ที่ 808 ลบ.

           หุ้นวิชั่น – GULF เสริมพอร์ตลงทุน! เข้าถือหุ้น KBANK จำนวน 77 ล้านหุ้น คิดเป็น 3.25% ชี้เป็นหุ้นที่มี P/BV และ P/E ต่ำ สภาพคล่องสูง จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ พร้อมรับรู้เงินปันผลไตรมาส 2/2568 จำนวน 808.5 ล้านบาท มุ่งหวังผลตอบแทนจากปันผลและ Upside ของราคาหุ้นในอนาคต โบรกมองเป็นการตัดสินใจที่ดีในการบริหารเงินสดในมือ การลงทุนใน KBANK มีอนาคต และถือเป็นโอกาสที่น่าสนใจ            นางสาวยุพาพิน วังวิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF เปิดเผยว่า บริษัทได้เข้าลงทุนใน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ตั้งแต่ไตรมาส 4/2567 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ปัจจุบันมีสัดส่วนการถือหุ้นใน KBANK จำนวน 77,000,000 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 3.25% (รวมข้อมูลผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 13 มีนาคม 2568)            ทั้งนี้ การลงทุนในหุ้น KBANK ถือเป็นการลงทุนทั่วไป เนื่องจาก GULF มี Portfolio การลงทุนป็นปกติอยู่แล้ว โดย KBANK เป็นหุ้นที่มี สภาพคล่องสูง มีอัตราส่วน P/BV (Price to Book Value Ratio) และ P/E (Price to Earnings Ratio) อยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งยังมีประวัติการ จ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 โดยให้อัตราผลตอบแทนเงินปันผล (Dividend Yield) อยู่ที่ 7-8% ดังนั้น GULF จึงเข้าลงทุนในหุ้น KBANK โดยมุ่งหวัง ผลตอบแทนจากเงินปันผลและ Upside จากราคาหุ้น ในอนาคต ทั้งนี้ บริษัทจะรับรู้เงินปันผลใน ไตรมาส 2/2568 จำนวน 808.5 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยต่อยอดศักยภาพการลงทุนและบริหารกระแสเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพ            นายมงคล พ่วงเภตรา รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การตัดสินใจเข้าลงทุนในหุ้น KBANK ของ GULF ถือเป็นกลยุทธ์การบริหารเงินสดที่ชาญฉลาด โดยหลังจากที่ GULF เปิดดำเนินการผลิตไฟฟ้าในโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ประเภท IPP ส่งผลให้บริษัทมีกระแสเงินสดไหลเข้าจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีการบริหารสภาพคล่องอย่างมีประสิทธิภาพ            ทั้งนี้ ที่ผ่านมา GULF ได้แสดงให้เห็นถึง วิสัยทัศน์ที่เฉียบคม ในการลงทุน และ การเข้าลงทุนใน KBANK ครั้งนี้ก็มองว่าจะสร้างผลตอบแทนที่มีนัยสำคัญให้แก่บริษัท เนื่องจาก KBANK เป็นธนาคารที่มี แนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีประวัติ การจ่ายเงินปันผลที่มั่นคง และมีศักยภาพในการสร้าง ผลตอบแทนระยะยาว ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการบริหารพอร์ตการลงทุนของ GULF ที่มุ่งเน้น การสร้างมูลค่าเพิ่มจากสินทรัพย์ที่มีศักยภาพ รายงานโดย : ณัฏฐ์ชญา ปุริมปรัชญ์ภัทร บรรณาธิการ HoonVision

KBANK หุ้นจ่ายปันผลสุดปัง  โบรกแนะซื้อ ราคาเป้าหมาย 171 บ.

KBANK หุ้นจ่ายปันผลสุดปัง โบรกแนะซื้อ ราคาเป้าหมาย 171 บ.

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ระบุว่า KBANK มีกำไร 4Q67 +12% YoY ผลหลักจากสำรอง ECL ลดตามคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้นช่วยหนุน ส่งผลกำไรทั้งปี 67 โตสูง +15% YoY           คุณภาพสินทรัพย์เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น หลัง clean up balance sheet มาตลอด พร้อมตั้งเป้าปี 68 กลับมาตั้งสำรองปกติ 140-160 bps. ของสินเชื่อ หนุนกำไร พร้อมตั้งเป้า ROE double digit ในปี 69           ยังเป็นหุ้นที่จ่ายปันผลจูงใจและสม่ำเสมอ ประกาศจ่ายปันผลงวด 2H67 อีก @8.- ล่าสุดแถมปันผลพิเศษอีก @2.50 บ. รวม @10.5 บ. คิดเป็นอัตราเงินปันผลตอบแทนสูงถึง 6.6%           แนวรับ = 155.5/156.5 แนวต้าน = 163.5/164.5           KBANK | ซื้อ | TP=171 บ.

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

 KBANKเคาะคืนภาษีเงินปันผล  อัตราเท่าไรนักลงทุน เช็กได้แล้ว!

 KBANKเคาะคืนภาษีเงินปันผล อัตราเท่าไรนักลงทุน เช็กได้แล้ว!

                หุ้นวิชั่น –เกาะติด KBANK ใกล้เข้ามาแล้ว การจ่ายปันผลรอบแรก หุ้นละ 8 บาท จ่อขึ้น XD วันที่ 8 เม.ย. 2568 และงวดที่2 ปันผลพิเศษอีก 2.50 บาทต่อหุ้น  ขึ้น XD  วันที่ 15 พ.ค. 2568  รวมเป็นเงินปันผลจ่ายทั้งสิ้น 28,431,931,116  บาท ทั้งนี้ เงินปันผลจ่ายจากกำไรสะสมที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 20 ผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดาสามารถ ขอเครดิตภาษีเงินปันผลคืนได้ ในอัตรา 20/80 ของเงินปันผลที่ได้รับ                 บมจ.ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK แจ้งมายังตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2568 ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ เห็นควรเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติจ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานปี 2567 แก่ผู้ถือหุ้นสามัญเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษในอัตราหุ้นละ 2.50 บาท เป็นเงิน 5,923,318,982.50 บาท                 ทั้งนี้ ธนาคารได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลไปแล้วเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2567 ในอัตราหุ้นละ 1.50 บาท เป็นเงิน 3,553,991,389.50 บาท และเสนอขออนุมัติจ่ายเงินปันผลงวดสุดท้าย ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น วันที่ 9 เมษายน 2568 ในอัตราหุ้นละ 8.00 บาท เป็นเงิน 18,954,620,744.00 บาท                 ซึ่งเมื่อรวมกับการเสนอขอจ่ายเงินปันผลเป็นกรณีพิเศษครั้งนี้ ในอัตราหุ้นละ 2.50 บาท รวมเป็นเงินปันผลจ่ายทั้งสิ้น 28,431,931,116.00 บาท โดยกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผลในวันที่ 16 พฤษภาคม 2568 และกำหนดจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในวันที่ 6 มิถุนายน 2568 ขอคืนภาษีได้ 20/80 ของเงินปันผลที่ได้รับ                 ทั้งนี้ เงินปันผลจ่ายจากกำไรสะสมที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 20 ซึ่งผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดาสามารถขอเครดิตภาษีเงินปันผลคืนได้ในอัตรา 20/80 ของเงินปันผลที่ได้รับ                 หุ้นวิชั่นรายงานว่า  เงินปันผล KBANK รอบนี้มี 2 งวด  โดยงวดแรก จ่าย 8 บาทต่อหุ้น ขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 17 เม.ย. 2568 และงวดที่สอง เงินปันผลพิเศษอีกหุ้นละ 2.50 บาท โดยจะขึ้น XD วันที่ 15 พ.ค. 2568  dividend yield ทั้งปี67 ที่ 8.1%                 บทวิเคราะห์ บล . ดาโอ ระบุว่า KBANK อนุมัติจ่ายเงินปันผลพิเศษอีก 2.50 บาทต่อหุ้น โดยจะ XD วันที่ 15 พ.ค. 25 (งวด 1H24 จ่ายไปแล้ว 1.50 บาทต่อหุ้น, 2H24=8.00 บาทต่อหุ้น XD 17 เม.ย. 25)                 บล. ดาโอ มีมุมมองเป็นบวกต่อการเซอร์ไพร์จ่ายเงินปันผลพิเศษที่้เหนือความคาดหมาย ทำให้งวดปี 2024 จ่ายทั้งหมดที่ 12.00 บาทต่อหุ้น คิดเป็น dividend yield ทั้งปี 2024 ที่ระดับ 8.1% (ใกล้เคียงกับ SCB ที่ 8.5%) และคิดเป็น Dividend payout ที่ 59% (มากกว่าเดิมที่ 46%) โดยจากการสอบถาม IR พบว่า การจ่ายปันผลพิเศษที่ 2.50 บาทต่อหุ้นจะไม่ sustain เพราะเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนอยู่แต่ KBANK พยายามที่จะบริหาร capital เพื่อที่จะทำให้เป็น double digit ROE (2025E คาด ROE ที่ 9%) โดยยังคงคําแนะนํา “ซื้อ” KBANK และราคาเป้าหมายที่ 176.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.70x (-1.00SD below 10-yr average PBV)

KBANK Top Pick หุ้นแบงก์ จ่ายปันผลพิเศษ 2.5 บาท

KBANK Top Pick หุ้นแบงก์ จ่ายปันผลพิเศษ 2.5 บาท

             หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) ระบุว่า KBANK ประกาศจ่ายปันผลพิเศษ เรามีมุมมอง slightly positive ต่อการประกาศจ่ายปันผลพิเศษของ KBANK ที่ 2.5 บ./หุ้น คิดเป็น dividend yield ที่ 1.7% ขึ้น XD วันที่ 15/05/2025 และจ่ายวันที่ 06/06/2025 ทำให้เงินปันผลรวมปี 2024 อยู่ที่ 12 บ./หุ้น คิดเป็น dividend payout ratio ที่ 59% เทียบกับปี 2023 ที่ 36% การจ่ายปันผลพิเศษครั้งนี้ เป็นการตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น และเป็นวิธีหนึ่งในการบริหารเงินทุน (Capital Management) เพื่อเพิ่ม ROE ให้ถึงเป้าที่ KBANK ตั้งไว้ในปี 2026F ที่ double digit              เราคงคำแนะนำ BUY และคง TP25F ที่ 178 บ. และยังคงเป็น Top Pick ของกลุ่มธนาคารคู่กับ KTB (BUY, TP 27 บ.) เนื่องจาก i) เราคาดว่ามีโอกาสเห็นค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) กลับสู่ระดับปกติในปี 2025F ที่ 140-160 bps ii) กำไรสุทธิ 2025F คาดเติบโต +9% YoY มากกว่ากลุ่มที่ +4% YoY iii) มีโอกาสเห็นการปรับเพิ่ม dividend payout ratio และ ROE ได้ในอนาคต

แจงแล้ว! สาเหตุ KBANK จ่ายปันผลพิเศษ  เชอร์ไพร์ นักวิเคราะห์แค่ไหน? เช็กด่วน!

แจงแล้ว! สาเหตุ KBANK จ่ายปันผลพิเศษ เชอร์ไพร์ นักวิเคราะห์แค่ไหน? เช็กด่วน!

          หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล . ดาโอ ระบุว่า KBANK อนุมัติจ่ายเงินปันผลพิเศษอีก 2.50 บาทต่อหุ้น โดยจะ XD วันที่ 15 พ.ค. 25 (งวด 1H24 จ่ายไปแล้ว 1.50 บาทต่อหุ้น, 2H24=8.00 บาทต่อหุ้น XD 17 เม.ย. 25) (ที่มา: SET)            บล. ดาโอ มีมุมมองเป็นบวกต่อการเซอร์ไพร์จ่ายเงินปันผลพิเศษที่้เหนือความคาดหมาย ทำให้งวดปี 2024 จ่ายทั้งหมดที่ 12.00 บาทต่อหุ้น คิดเป็น dividend yield ทั้งปี 2024 ที่ระดับ 8.1% (ใกล้เคียงกับ SCB ที่ 8.5%) และคิดเป็น Dividend payout ที่ 59% (มากกว่าเดิมที่ 46%)           โดยจากการสอบถาม IR พบว่า การจ่ายปันผลพิเศษที่ 2.50 บาทต่อหุ้นจะไม่ sustain เพราะเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนอยู่แต่ KBANK พยายามที่จะบริหาร capital เพื่อที่จะทำให้เป็น double digit ROE (2025E คาด ROE ที่ 9%)            โดยยังคงคําแนะนํา “ซื้อ” KBANK และราคาเป้าหมายที่ 176.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.70x (-1.00SD below 10-yr average PBV)

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

KBANK คาดปี68 กำไร 5.23 หมื่นลบ. ลดตั้งสำรองหนุน โบรกเคาะเป้า 184.25 บ.

KBANK คาดปี68 กำไร 5.23 หมื่นลบ. ลดตั้งสำรองหนุน โบรกเคาะเป้า 184.25 บ.

            หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.เอเอสแอล ระบุ KBANK มีมุมมองเป็นบวกจากต้นทุนสำรอง (Credit Cost) ที่ลดลง คาดกำไรสุทธิปี 2025 ที่ 5.23 หมื่นล้านบาท (+7.7% YoY) สูงสุดในกลุ่ม 3 แบงก์ใหญ่ โดย Credit Cost ปรับลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่ COVID-19 คาดอยู่ที่ 1.8% ซึ่งชดเชยกับ NII ที่ลดลงจากการปรับลดดอกเบี้ย ► Payout Ratio เพิ่มขึ้นจาก 30% สู่ 47% ปันผล 2H24 8.00 บาท (XD 17 เม.ย.) คิดเป็น Div. Yield 5.3% และเราคาดว่ามีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นแตะ 50% ในอีก 3 ปีข้างหน้า คาด Div. Yield ปีละ 7.2-8.0% ► คงคำแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมายใหม่ 184.25 บาท PBV 0.74 เท่า มูลค่ายังถูกเมื่อเทียบกับศักยภาพของหุ้นกำไรโตสูงสุดในกลุ่ม (+7.8% YoY) เทียบกับ BBL (+4.2% YoY) และ SCB (+3.0% YoY) Earnings Recap • 4Q24 : กำไรสุทธิเท่ากับ 1.05 หมื่นล้านบาท (-12.3%QoQ, +11.8%YoY) ดีกว่าที่ตลาดคาด โดยการหดตัว QoQ มาจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายการดำเนินงานตามปัจจัยฤดูกาล ทั้งค่าใช้จ่ายพนักงานและการพัฒนาระบบ IT ทำให้ C/I ทำจุดสูงของปีที่ระดับ 47.6% และการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองราว 5.1%QoQ จากการปรับลูกหนี้กลุ่มเสี่ยงเป็น stage 2 (S2) โดยลูกหนี้กลุ่ม S2 ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 8.6% จากไตรมาสก่อนที่ 7.8% แต่ด้าน NPLs ratio ปรับตัวลงจาก 3.20% ใน 3Q24 เป็น 3.18% ส่วน NII ชะลอตัวลง ตาม NIM ที่ลดลงเหลือ 3.52% (-9 bps QoQ) แม้สินเชื่อจะขยายตัว 2.92%QoQ แต่ได้รับผลกระทบจากการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง ส่วน Fee income ยังขยายตัว จากธุรกิจประกันและกองทุน • 24FY : กำไรสุทธิ 4.86 หมื่นล้านบาท +14.6%YoY โดดเด่นจากการปรับลดการตั้งสำรองที่ -8.85%YoY และรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น 6.7%YoY จากธุรกิจประกันและกองทุน ขณะที่ ROE เท่ากับ 8.99% (+0.7%YoY) อย่างไรก็ดี Tier 1 เพิ่มขึ้นเป็น 18.27% Outlook มองเป็นบวกจากการลดลงของ credit cost • GDP 25F คาด +2.4% ปรับลดจากสิ้นปี 24 ที่ +2.6% เนื่องจากได้ปรับลดการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน และการนำเข้าส่งออกลง จากความเสี่ยงเรื่องการฟื้นตัวของเศรษบกิจที่อาจล่าช้า และผลกระทบของนโยบายภาษีจากทรัมป์ ด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายคาดว่าจะลดลง สู่ระดับ 1.75% • สินเชื่อทรงตัว : มุ่งเน้นการเติบโตของสินเชื่อคุณภาพในภาคส่วนที่กำลังฟื้นตัว สินเชื่อที่มีหลักประกัน และการขยายตัวในภูมิภาค • NIM ในกรอบ 3.3-3.5% : คาดว่าจะปรับตัวลงตามแนวโน้ม MPC rate แต่ในขณะที่ NIM หัก credit cost ดีขึ้น • NPLs ratio < 3.25% ทรงตัวจากเป้าปีก่อน และ Credit cost ปรับลดลงมาสู่ระดับปกติที่กรอบ 140-160 bps เทียบกับสิ้นปีก่อนที่ 189 bps • Net Fee income growth ในระดับ Mid to High Single digit : ได้รับแรงหนุนจากธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง แม้ว่าค่าธรรมเนียมจากธุรกรรมแบบดั้งเดิมจะลดลงท่ามกลางพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป • C/I ระดับ Low to Mid-40s : ดำเนินการบริหารต้นทุนและปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางการชะลอตัวของรายได้ ประเมินกำไรสุทธิปีนี้ขยายตัวสูงสุดในกลุ่มแบงค์ใหญ่ • ประเมินกำไรสุทธิปี 25F ที่ 5.23 หมื่นล้านบาท +7.7%YoY สูงสุดในกลุ่ม 3 แบงค์ใหญ่ โดยได้อานิสงส์จากการปรับลดค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองที่ทำให้ Credit cost ปรับลดลงต่ำสุดตั้งแต่การแพร่ระบาดโควิด-19 โดยเราคาดที่ 1.8% ซึ่งมาชดเชยกับแนวโน้ม NII ที่ปรับลดลงจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมยังเติบโตตามธุรกิจประกันและกองทุน • แนวโน้ม 1Q25F คาดว่าจะขยายตัว QoQ และ YoY จากการลดลงของค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน QoQ และค่าใช้การตั้งสำรอง ส่วนด้านรายได้ดอกเบี้ยชะลอตัวลงหลังกนง.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในงวด คงคำแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 184.25 บาท • เราคงคำแนะนำ “ซื้อสะสม” โดยมีราคาเป้าหมายสิ้นปีที่ 184.25 บาท อิง PBV ที่ 0.74 เท่า โดยตลาดรับรู้การจ่ายปันผลที่สูงขึ้นจากปี 23 ที่ 30% สู่ระดับ 47% ซึ่งปันผลงวด 2H24 เท่ากับ 8.00 บาท ขึ้น XD 17 เม.ย. คิดเป็น Div. yield ที่ 5.3% อย่างไรก็ดีเราคาดว่ามีโอกาสที่จะจ่ายปันผลสูงขึ้น (แตะระดับ 50%) ส่งผลให้ Div. yield ทั้งปีในช่วง 3 ปีข้างหน้าที่ 7.2-8.0% ส่วนในแง่ผลประกอบการ คาดหวังการเติบโตของกำไรสุทธิที่จะสูงสุดที่ 7.8%YoY เมื่อเทียบกับ BBL (+4.2%YoY) และ SCB (+3.0%YoY) เนื่องจากผลของการ cleanup balance sheet ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้ credit cost ลดลง ปัจจัยเสี่ยง: ภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอ อาจกระทบต่อสินเชื่อเติบโตต่ำกว่าคาดและคุณภาพลูกหนี้ที่อ่อนแอลง, รายได้จาก JK AMC ชะลอตัวต่อเนื่อง ประเด็นที่มีนัยยะสำคัญด้านความยั่งยืน: ความปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้า (G), การบริหารความเสี่ยง (G), การเงินเพื่อความยั่งยืน (E), ความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนผ่านอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (E)

KBANK จ่ายปันผลอีก8บ. เกินคาด-XD17เม.ย.นี้

KBANK จ่ายปันผลอีก8บ. เกินคาด-XD17เม.ย.นี้

            หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล.ดาโอ ระบุว่า KBANK อนุมัติจ่ายเงินปันผลงวดปี 2024 จำนวน 9.50 บาทต่อหุ้น (งวด 1H24 จ่ายไปแล้วที่ 1.50 บาทต่อหุ้น) ทำให้งวด 2H24 จะจ่ายเพิ่มอีก 8.00 บาทต่อหุ้น โดยจะ XD วันที่ 17 เม.ย. 25 (ที่มา: SET)             มีมุมมองเป็นบวกต่อการจ่ายเงินปันผลที่มากกว่าเราคาด โดยการจ่ายงวดปี 2024 ที่ 9.50 บาทต่อหุ้น (มากกว่าเราคาดไว้ทั้งปีที่ 8.41 บาทต่อหุ้น) คิดเป็น dividend yield ทั้งปี 2024 ที่ระดับ 6.2% และคิดเป็น Dividend payout ที่ 47% (มากกว่าที่เราคาดที่ 41%) ขณะที่หากคิดแค่งวด 2H24 ที่จ่ายที่ 8.00 บาทต่อหุ้น จะคิดเป็น dividend yield ที่ 5.2%             โดยยังคงคําแนะนํา “ซื้อ” KBANK และราคาเป้าหมายที่ 176.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.70x (-1.00SD below 10-yr average PBV)

KBANK ตั้งสำรองผ่อนคลาย Yield สูง 4.7% แนะ “ซื้อ”

KBANK ตั้งสำรองผ่อนคลาย Yield สูง 4.7% แนะ “ซื้อ”

         หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า วานนี้ KBANK จัดการประชุมเพื่อแถลงกลยุทธ์ประจำปี 2025 สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้          โดยผู้บริหารระบุเป้าหมาย ROE ในปี 2026 จะกลับไปสู่ระดับ Double Digit ROE (> 10%) โดยกลยุทธ์หลักๆ จะมาจากการเน้นขยายสินเชื่อโดยเน้นพิจารณาที่คุณภาพสินทรัพย์เป็นหลัก แม้ดอกเบี้ยจะไม่สูง แต่มีต้นทุน Credit Cost ต่ำ และมีโอกาสต่อยอดไปสู่ธุรกิจอื่นๆ เช่น ธุรกิจ Wealth Management และธุรกิจนายหน้าประกัน พร้อมกับนำเทคโนโลยีทั้ง AI และ Big Data มาใช้ในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่และเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมความเสี่ยง          โดยเป้าหมายทางการเงินปี 2025 มีดังนี้ 1) เป้า Net Interest Margin อยู่ที่ 3.3-3.5% ลดลงจากปีก่อน กดดันจากทิศทางดอกเบี้ยขาลง ผู้บริหารประเมิน กนง. จะลดดอกเบี้ยนโยบายลง 2 ครั้ง รวมทั้งมีผลจากมาตรการ “คุณสู้ เราช่วย” 2) สินเชื่อรวมตั้งเป้าทรงตัว YoY โดยเน้นขยายสินเชื่อเฉพาะกลุ่มลูกค้ารายย่อยที่มีความสามารถชำระหนี้สูง ทั้งสินเชื่อมีหลักประกัน (บ้าน, รถ) และสินเชื่อไม่มีหลักประกัน 3) รายได้ค่าธรรมเนียมตั้งเป้าโตในระดับ Mid-High Single Digit หนุนจากธุรกิจ Wealth Management และการทำ Cross Selling โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาเสริม 4) Credit Cost ตั้งเป้าที่ 140-160 bps ลดลงจาก 189 bps หลังเสร็จสิ้นการทำ Balance Sheet Clean Up แล้ว บวกกับผลของโครงการคุณสู้เราช่วย ส่วนการขายหนี้เสียให้กับ ARUN AMC (JVAMC ร่วมกับ BAM) คาดไม่สร้างภาระการตั้งสำรองเพิ่ม และ 5) NPL ทรงตัวที่ 3.25% สะท้อนคุณภาพสินทรัพย์ที่ดี          KBANK อยู่ระหว่างพิจารณาเพิ่ม Div. Payout Ratio ขึ้นเพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น (เราใช้สมมุติฐานที่ 35%) เพราะปัจจุบันธนาคารมี CET1 และ CAR สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของ ธปท. ที่ 8% และ 12% มาก โดยมี Target Long Term CET1 ที่ 13-15% จากปัจจุบันที่ 17.3% ในงบรวม และ 16.5% ในงบธนาคารเดี่ยว Our Take          ฝ่ายวิเคราะห์มีมุมมองเป็นบวกเล็กน้อยหลังจบการประชุม แนวโน้มปี 2025 คาดรายได้ดอกเบี้ยสุทธิจะปรับตัวลง ทั้งจากสินเชื่อที่โตได้จำกัด และ NIM ที่ปรับตัวลงตามทิศทางของดอกเบี้ยนโยบายและการปรับ Product Mix มาเน้นกลุ่มที่ความเสี่ยงต่ำมากขึ้น แต่บางส่วนจะถูกชดเชยด้วยรายได้ค่าธรรมเนียมที่ขยายตัวได้ดีขึ้น และค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองที่ปรับตัวลง หาก Credit Cost อยู่ในระดับใกล้เคียงกับเป้าของผู้บริหาร จะถือว่าเป็น Credit Cost ที่ต่ำที่สุดในรอบกว่า 10 ปี หลังทำการปรับปรุงคุณภาพหนี้กลุ่มเสี่ยงเดิม และเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อใหม่ โดยรวมเราคาด KBANK จะมีกำไรสุทธิปี 2025 จำนวน 50,414 ล้านบาท โต 3.7% YoY          ฝ่ายวิเคราะห์คงมุมมองบวกต่อ KBANK แม้แนวโน้มการเติบโตของกำไรสุทธิไม่หวือหวา แต่ปัจจัยลบเริ่มผ่อนคลายลง และคาดว่ายังจ่ายปันผลในระดับที่น่าสนใจ คาดให้ปันผล 2H24 หุ้นละ 5.9 บาท คิดเป็น Div. Yield 3.7% ส่วนปี 2025 คาดปันผลหุ้นละ 7.5 บาท คิดเป็น Div. Yield 4.7% ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันมี Upside 10.1% จากมูลค่าพื้นฐานปี 2025 เดิมที่ 175 บาท จึงคงคำแนะนำ “ซื้อ” โดยมีโอกาสปรับประมาณการขึ้น หากบริษัทควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ได้ดี และสามารถลด Credit Cost ได้ตามเป้า

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

image not found

KBANK เป้าNPLไม่เกิน3.25% เล็งปีนี้กำไร5.2หมื่นล.

          หุ้นวิชั่น - บล.ดาโอระบุว่า KBANK ประกาศเป้าหมายทางการเงินปี 2025E ใกล้เคียงที่เราคาด KBANK ประกาศเป้าหมายทางการเงินปี 2025E ใกล้เคียงที่คาด 1) ตั้งเป้าสินเชื่อทรงตัว YoY (คาด 3%) 2) NIM ทรงตัวเท่ากับปีก่อนที่ 3.3-3.5% (คาด 3.6%) 3) Credit cost ที่ 140-160bps (คาด 170bps) 4) Net fee income growth อยู่ที่ Mid to high single digit (คาด 7%) 5) Cost to Income ratio อยู่ที่ Low to Mid 40% (เราคาด 44%) 6) NPL อยู่ที่น้อยกว่า 3.25% (คาด 3.28%)           มีมุมมองเป็นกลางเพราะเป้าหมายยังใกล้เคียงคาด ถึงแม้ว่าสินเชื่อจะต่ำกว่าที่เราคาด แต่จะถูกชดเชยกับ Credit cost ที่ต่ำกว่าที่คาดได้ ขณะที่เราขอรอรายละเอียดเพิ่มเติมจากการประชุมนักวิเคราะห์ช่วง 10.00 น. วันนี้อีกที           โดยยังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2025E อยู่ที่ 5.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น +7% YoY จากสำรองฯที่ลดลงเป็นหลัก และยังแนะนำ “ซื้อ” KBANK และราคาเป้าหมายที่ 176.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.70x (-1.00SD below 10-yr average PBV)

KBANK ตั้ง

KBANK ตั้ง "สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา" เป็นกรรมการอิสระ

            หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน นายกฤษณ์ จิตต์แจ้ง เลขานุการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ ว่า ด้วยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท บมจ. ธนาคารกสิกรไทย ครั้งที่ 9/2567 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 และครั้งที่ 12/2567 ซึ่งประชุมวันที่ 19 ธันวาคม 2567 ได้มีมติอนุมัติตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดอัตราค่าตอบแทน ให้แต่งตั้ง นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา เป็นกรรมการอิสระของธนาคาร เพื่อทดแทนตำแหน่งว่าง             ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นต้นไป ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งดังกล่าวแล้ว

กลุ่มธนาคาร คาดกำไรปี68 ที่ 2.24 แสนลบ. มีปันผล 4-9% ชู KBANK - KTB เด่น

กลุ่มธนาคาร คาดกำไรปี68 ที่ 2.24 แสนลบ. มีปันผล 4-9% ชู KBANK - KTB เด่น

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.กรุงศรี มองธีมการลงทุนกลุ่มธนาคารเป็น value play มากกว่า growth story เพราะธนาคารคงปันผลระดับสูง dividend yield คาดที่ 4-9% ต่อปี และราคาหุ้นธนาคารส่วนใหญ่ซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี (Book Value) โดยภาพรวมปี 2568 เรามองการจัดการคุณภาพสินทรัพย์เป็นประเด็นหลัก ดังนั้นการลดลงของค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) จะเป็นตัวหลักในการผลักดันการเติบโตของกำไรสุทธิ รวมถึงการบริหารจัดการเงินทุน ทั้งการเพิ่ม dividend payout ratio และการซื้อหุ้นคืน จะช่วยเพิ่ม ROE ในอนาคตได้ แนวโน้มผลประกอบการ 2568           คาดกำไรสุทธิปี 2568 ที่ 2.24 แสนล้านบาท เติบโต +4% y-y โดยได้รับแรงหนุนหลักจากค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) ที่ลดลง ซึ่งช่วยกลบผลกระทบเชิงลบจากการลดลงของ NIM โดยเรามองว่าธนาคารยังคงมีปันผลที่น่าสนใจ dividend yield คาดที่ 4-9% ต่อปี สำหรับ ROE ปี 2568 คาดว่าจะทรงตัวที่ 9.1% และมีโอกาสเพิ่มขึ้นจากการบริหารจัดการเงินทุน ทั้งการเพิ่ม dividend payout ratio และการซื้อหุ้นคืน คาดเห็นผลบวกในเรื่องคุณภาพสินทรัพย์ในปี 2568 คาดว่าในปี 2568 จะเห็นผลบวกในเรื่องคุณภาพสินทรัพย์จาก ธนาคารเร่งจัดการคุณภาพสินทรัพย์ตลอดปี 2566-67 เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ การตัดจำหน่ายหนี้สูญ และการขายหนี้ เป็นต้น ธนาคารเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เห็นได้จากปี 2567 สินเชื่อรวมทรงตัว y-y นโยบายช่วยเหลือลูกหนี้ของ ธปท. และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดการตกชั้นของลูกหนี้ ได้รับผลกระทบเชิงลบจากการลดลงของ NIM คาดว่าในปี 2568NIM มีแนวโน้มลดลงเหลือ 3.06% จาก 3.13% เนื่องจาก การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 2.00% จากปัจจุบันที่ 2.25% ซึ่งมีโอกาสปรับลดลงอีก 1 ครั้งในช่วง 1Q68 ธนาคารเน้นเติบโตสินเชื่อไปยังลูกหนี้ที่มีคุณภาพ หรือกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ ธนาคารคงปันผลน่าสนใจ           ธนาคารมีเงินกองทุนสูง เห็นได้จาก 3Q67 มีเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (CET1) อยู่ที่ 14-18% และเงินกองทุนรวมชั้นที่ 1 (Tier 1) อยู่ที่ 14-19% สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่ ธปท. กำหนดไว้ (CET1 ที่ 8% และ Tier 1 ที่ 9%) ทำให้ธนาคารมีความสามารถในการจ่ายเงินปันผลในระดับสูง dividend yield คาดที่ 4-9% ต่อปี คง KBANK และ KTB เป็น Top Picks บทวิเคราะห์ชอบ KBANK และ KTB เพราะ คาดว่ากำไรสุทธิปี 2568 เติบโต +9% y-y มากกว่ากลุ่มที่ +2% y-y ค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) ของ KBANK มีโอกาสลดลงมากที่สุดในกลุ่ม และความเสี่ยงเรื่องค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) ของ KTB มีจำกัด เนื่องจากการเติบโตของสินเชื่อภาครัฐ KBANK และ KTB มีโอกาสเห็นการปรับเพิ่ม dividend payout ratio และ ROE

abs

ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร

KBANK ปันผลเด่น 6 บ. โบรกแนะซื้อ เป้า 182 บาท

KBANK ปันผลเด่น 6 บ. โบรกแนะซื้อ เป้า 182 บาท

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ระบุ KBANK กำไร 4Q67 +12% YoY ผลหลักจากสำรอง ECL ลดลงตามคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้นช่วยหนุน ส่งผลกำไรทั้งปี 67 โตสูง +15% YoY           ผลประกอบการเริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ คุณภาพสินทรัพย์เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น พร้อมตั้งเป้าปี 68 กลับมาตั้งสำรองปกติที่ 140-160bps ของสินเชื่อ และปี 69 ตั้งเป้า ROE double digit           ยังเป็นหุ้นที่จ่ายปันผลจูงใจและสม่ำเสมอ คาดจ่ายปันผลงวด 2H67 อีก @6.- (1H67 จ่าย @1.5) คิดเป็นอัตราเงินปันผลตอบแทน 3.75%           แนวรับ = 158.5/159 แนวต้าน = 162/163 KBANK | ซื้อ | TP=182 บ.

กลุ่มธนาคาร Q4 กำไรตามคาด   มีปันผล 4-8% โบรกคัด KBANK, KTB เด่น

กลุ่มธนาคาร Q4 กำไรตามคาด มีปันผล 4-8% โบรกคัด KBANK, KTB เด่น

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.กรุงศรี ระบุธนาคารที่ทีมศึกษารายงานกำไรสุทธิ 4Q24 ที่ 5.13 หมื่นล้านบาท ใกล้เคียงกับที่บทวิเคราะห์และตลาดคาด กำไรเพิ่มขึ้น +20% y-y ลดลง -6% q-q ไตรมาสนี้ได้เห็นพัฒนาการเชิงบวกทางคุณภาพสินทรัพย์ ทั้งการลดลงของค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) และ NPL ratio ที่ 3.56% ลดลงจาก 3.78% ใน 3Q24 จากการชำระหนี้ของลูกหนี้ดีขึ้น และการแปลงหนี้เป็นทุนของการบินไทย            สำหรับเงินปันผล 2H24 คาด dividend yield ที่ 3-6% ภาพรวมปี 2025F มองว่าธนาคารได้รับผลกระทบเชิงลบจากการลดลงของ NIM อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะเห็นผลบวกจากการจัดการกับคุณภาพสินทรัพย์ และธนาคารคงมีปันผลที่น่าสนใจ dividend yield คาดที่ 4-8% ต่อปี ดังนั้นคงน้ำหนักการลงทุนเป็น NEUTRAL และคง KBANK และ KTB เป็น Top Pick คงคำแนะนำกลุ่มธนาคารเป็น NEUTRAL และคง KBANK, KTB เป็น Top Pick            คงน้ำหนักการลงทุนเป็น NEUTRAL สำหรับกลุ่มธนาคาร ภาพรวมมองว่าปี 2025F ธนาคารได้รับผลกระทบเชิงลบจากทิศทางดอกเบี้ยขาลง โดยคาดดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.00% จากปัจจุบันที่ 2.25% ซึ่งมีโอกาสปรับลดอีก 1 ครั้งในช่วง 1Q25 และการขยายไปกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ อย่างไรก็ตามคาดว่าจะเห็นผลบวกในเรื่องการจัดการคุณภาพสินทรัพย์ จากธนาคารที่เร่งจัดการคุณภาพสินทรัพย์ตลอดปี 2024 รวมถึงการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ นอกจากนี้ ธนาคารยังคงมีปันผลที่น่าสนใจ dividend yield คาดที่ 4-8% ต่อปี โดยเราคง KBANK และ KTB เป็น Top Pick กำไรสุทธิ 4Q24 ที่ 5.13 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น +20% y-y ลดลง -6% q-q กลุ่มธนาคาร 7 แห่งที่เราศึกษารายงานกำไรสุทธิที่ 5.13 หมื่นล้านบาท กำไรเพิ่มขึ้น +20% y-y เพราะ การเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าธรรมเนียม-บริการ การเพิ่มขึ้นของเงินลงทุน (FVTPL) การลดลงของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX) การลดลงของค่าใช้จ่ายสำรอง (ECL) จาก 4Q23 มีการตั้งสำรองก้อนใหญ่ของ KTB และ TTB ขณะที่กำไรลดลง -6% q-q เพราะ การลดลงของ yield on loan การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ตามปัจจัยฤดูกาล            สำหรับสินเชื่อรวม +1.8% q-q คิดเป็น +0.1% YTD จากสินเชื่อภาคธุรกิจและภาครัฐ ด้านคุณภาพสินทรัพย์เห็นพัฒนาการเชิงบวก ทั้งการลดลงของค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) และ NPL ratio ที่ 3.56% ลดลงจาก 3.78% ใน 3Q24 จากการชำระหนี้ของลูกหนี้ดีขึ้น และการปรับหนี้เป็นทุนของการบินไทย แนวโน้มผลประกอบการ 2025F คาดกำไรสุทธิ 2025F ที่ 2.24 แสนล้านบาท เติบโต +4% y-y ธนาคารถูกแรงกดดันจากการลดลงของ NIM จากทิศทางดอกเบี้ยขาลง และการขยายไปกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ เราคาดเห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยทำให้ สินเชื่อรวมเพิ่มขึ้น รายได้ค่าธรรมเนียม-บริการเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) ลดลง

KBANK มองปี 68-70 EPS โตดี จับตาปันผลน่าสนใจ

KBANK มองปี 68-70 EPS โตดี จับตาปันผลน่าสนใจ

          หุ้นวิชั่น - ฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) หรือ CGSI ระบุในบทวิเคราะห์ ว่าในไตรมาส 4/67 KBANK ทำกำไรสุทธิได้ 1.05 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 11. 8% yoy แต่ลดลง 12.3% qoq ซึ่งสูงกว่าประมาณการของฝ่ายวิเคราะห์ฯ 4% และสูงกว่า Bloomberg consensus 7% โดยปัจจัยบวกที่ช่วยหนุนผลประกอบการไตรมาส 4/67 คือ สินเชื่อที่เติบโตสูงกว่าคาด 0.6% yoy และ 2.9% qoq           ส่วนปัจจัยที่ทำให้กำไรสุทธิลดลง qoq คือ ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล ดังนั้น KBANK จึงมีกำไรสุทธิในปี 67 ที่ 4.86 หมื่นล้านบาท เติบโต 14.6% yoy ขณะที่กำไรก่อนตั้งสำรอง (PPOP) ในไตรมาส 4/67 ลดลง 3.3% yoy และ 6.1% qoq แต่ PPOP ในปี 67 ยังคงเติบโต 2.8% yoy           ในการประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวันที่ 21 ม.ค.68 ผู้บริหารของ KBANK ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดทั้งหมดของเป้าหมายปี 68 เพราะ CEO เตรียมจะประกาศระหว่างโรดโชว์ในวันที่ 3 ก.พ.68 นี้ อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารยังคงเชื่อว่าอัตราการสำรองหนี้สูญในปีนี้จะกลับมาอยู่ในระดับปกติที่ 140-160bp เทียบกับสมมติฐานของฝ่ายวิเคราะห์ฯที่ 170bp ในปี 68           ขณะเดียวกัน KBANK ประเมินในเบื้องต้นว่ามาตรการช่วยลูกหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ภายใต้โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” น่าจะกระทบส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) 3-5bp โดยผู้บริหารกล่าวว่า อัตราการสมัครเข้าร่วมโครงการและได้รับอนุมัติจากธนาคาร น่าจะใกล้เคียงกับฐานข้อมูลของธปท.ที่ 10% ของจำนวนลูกหนี้ที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ           นอกจากนี้ ผู้บริหารชี้แจงว่าสินเชื่อ stage 2 ที่เพิ่มขึ้นในไตรมาส 4/67 มาจากลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการปรับ โครงสร้างหนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อแบบมีหลักประกันและอยู่ในกลุ่มสินเชื่อ SME ขนาดเล็กที่มีหลักประกันและสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลัก           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI ปรับประมาณการ EPS ของ KBANK ในปี 68-69 ลง 4.1-5.1% พร้อมกับนำเสนอประมาณการในปี 70 โดยปรับประมาณการกำไรของ KBANK หลังปรับลดสมมติฐานคือ 1.อัตราการเติบโตของสินเชื่อจาก 4% เป็น 1.9-2.0%  2.ปรับ NIM ลง 9-12bp สะท้อนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครึ่งแรกปีนี้ 3.อัตราการเติบโตของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยจาก 4.0-4.4% เป็น 3.4-3.9% ในปี 68-69           ฝ่ายวิเคราะห์ฯ ยังคงแนะนำ “ซื้อ” หุ้น KBANK ที่ราคาเป้าหมาย 188 บาท ซึ่งเท่ากับ P/BV 0.74 เท่าในปี 68 โดยมองว่า KBANK น่าจะมี EPS เติบโตดีในอัตรา 2.0-5.2% ในปี 68-70, อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลน่าสนใจที่ 4.7% ต่อปีในปี 68-70 และสามารถบริหารจัดการ NPL ได้ดีขึ้น           โดย KBANK จะมี downside risk หาก NPL หรือสินเชื่อ stage 2 พุ่งสูงขึ้น รวมถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนปัจจัยบวกที่ช่วยหนุนคือ การปรับเพิ่มประมาณการกำไรใน 68-70 เนื่องจากอัตราการสำรองหนี้สูญกลับมาอยู่ในระดับปกติและการขยายธุรกิจสินเชื่อในต่างประเทศ

abs

Hoonvision

KBANK กำไร Q4ดีกว่าคาด แต่กังวล Asset quality -เป้า176บ.

KBANK กำไร Q4ดีกว่าคาด แต่กังวล Asset quality -เป้า176บ.

          หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์บล. ดาโอระบุว่า ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” KBANK และราคาเป้าหมายที่ 176.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.70x (-1.00SD below 10-yr average PBV) โดยมีมุมมองเป็นลบจากการประชุมนักวิเคราะห์วานนี้ (21 ม.ค.) เพราะมีความกังวลเรื่อง Asset quality มากขึ้น และ credit cost ที่ดูท้าทาย           ขณะที่จะประกาศเป้าหมายการเติบโตปี 2025E ในวันที่ 3 ก.พ. 25 โดยกำไรสุทธิ 4Q24 อยู่ที่ 1.05 หมื่นล้านบาท (+12% YoY, -12% QoQ) ดีกว่าที่ตลาดคาด +9% และเราคาด +4% เพราะมีกำไรจากเครื่องมือทางการเงิน (FVTPL) เข้ามาช่วยที่ 3.2 พันล้านบาท (เราคาด 1.8 พันล้านบาท)           ขณะที่มีการตั้งสำรองฯมากกว่าคาดอยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท (เราคาด 1.1 หมื่นล้านบาท) เพราะมีการปรับโครงสร้างหนี้ในกลุ่มสินเชื่อ SME และสินเชื่อบ้านเพิ่มขึ้นเป็นหลัก ด้าน NPL ลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3.18% จากไตรมาสก่อนที่ 3.20% ขณะที่มี write-off เพิ่มขึ้นอีก 2.5 พันล้านบาท จากไตรมาสก่อนที่ 3.2 พันล้านบาท           ขณะที่ Special mention loan (Stage 2) เพิ่มขึ้นถึง +13% หรือราว 2.5 หมื่นล้านบาทเรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2025E อยู่ที่ 5.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น +7% YoY จากสำรองฯที่ลดลงเป็นหลัก ขณะที่เราคาดกำไร 1Q25E จะทรงตัว YoY เพราะสำรองฯที่ลดลงจะถูกชดเชยกับกำไรจากเงินลงทุนที่ลดลง แต่จะเพิ่มขึ้น QoQ เพราะ OPEX ที่ลดลงตามฤดูกาลราคาหุ้นเพิ่มขึ้น +6% และ +17% เมื่อเทียบกับ SET ในช่วง 1 เดือน และ 3 เดือนที่ผ่านมา เพราะตลาดหุ้นที่เป็นขาลง ทำให้นักลงทุนหันมาหาหุ้นที่มี Dividend yield สูงๆ           โดย KBANK มี Dividend yield ราว 6% โดยปัจจุบันซื้อขายเพียง 0.65x PBV (-1.25SD below 10-yr average PBV) ถูกกว่ากลุ่มที่ 0.70x PBV และถูกกว่า SCB ที่ 0.80x PBV และเราคาดหวัง JV AMC กับ BAM จะช่วยลด NPL ได้ในระยะยาว ขณะที่เรามีความกังวลเรื่อง Asset quality มากขึ้น ทำให้เอา KBANK ออกจากการเป็น Top pick

KBANK งบสวย โบรกมองปี68 โตต่อ 12%

KBANK งบสวย โบรกมองปี68 โตต่อ 12%

           หุ้นวิชั่น - บล.กรุงศรี ส่องหุ้น KBANK โดยคงคำแนะนำ BUY ที่ TP 25F 180 บ. ฝ่ายวิจัยมองว่าการกลับสู่ระดับปกติของ ค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) ปี2025F ที่140-160 bps. มีความท้าทายมากขึ้น เพราะไตรมาสนี้เห็นลูกหนี้stage 2 เพิ่มขึ้น มากเป็น 8.6% จาก 7.7% ใน 3Q24            สำหรับกำไรสุทธิ 4Q24 ที่ 1.05 หมื่นลบ. ใกล้เคียงกับฝ่ายวิจัยคาด แต่ดีกว่าตลาดคาด โดยกำไรเพิ่มขึ้น +12% y-y ลดลง -12% q-q ทั้งนี้ KBANK จะมีการ จัดการประชุมนักวิเคราะห์ในเช้าวันนี้ หากมีข้อมูลเปลี่ยนไปจากคาดเดิม ฝ่ายวิจัยจะทบทวนประมาณการอีกครั้ง ฝ่ายวิจัยประเมินกำไรสุทธิ2025F            คาดกำไรสุทธิ2025F อยู่ที่ 5.45 หมื่นลบ. เพิ่มขึ้น +12% y-y ทั้งนี้ KBANK จะมีการจัดการ ฝ่ายวิจัยคงคำแนะนำ BUY และคง TP25F ที่180 บ.            อย่างไรก็ตามมองว่าการกลับสู่ระดับปกติของค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) ปี2025F ที่140-160 bps. มีความท้าทายมากขึ้น เพราะไตรมาสนี้ เห็นลูกหนี้ stage 2 เพิ่มขึ้นมากเป็น 8.6% จาก 7.7% ใน 3Q24            สำหรับเงินปันผลทั้งปีคาดที่ 7.59 บ./หุ้น คิดเป็น dividend yield ที่4.7% โดย 2H24 คาดจ่ายที่ 6.09 บ./หุ้น (yield ที่3.8%)

KBANK รายงานกำไรสุทธิปี 67 พุ่ง 14.6% แตะ 48,598 ล้านบาท

KBANK รายงานกำไรสุทธิปี 67 พุ่ง 14.6% แตะ 48,598 ล้านบาท

          หุ้นวิชั่น - ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)หรือKBANK รายงานในไตรมาส 4 ปี 2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้จำนวน 25,513 ล้านบาท ลดลงจำนวน 1,665 ล้านบาท หรือ 6.13% จากไตรมาส 3 ปี 2567 โดยรายได้จากการดำเนินงานสุทธิมีจำนวน 48,685 ล้านบาท ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน          ในขณะที่ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ มีจำนวน 23,172 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 1,671 ล้านบาท หรือ 7.77% ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล รวมทั้งมีการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 12,242 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนจำนวน 590 ล้านบาท หรือ 5.06% ตามหลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สำรองฯ อยู่ในระดับที่เหมาะสมรองรับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้กำไรสุทธิไตรมาส 4 ปี 2567 มีจำนวน 10,494 ล้านบาท ลดลงจำนวน 1,471 ล้านบาท หรือ 12.30% จากไตรมาสก่อน          ในปี 2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้จำนวน 110,673 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 2,988 ล้านบาท หรือ 2.77% จากปีก่อน โดยรายได้จากการดำเนินงานสุทธิมีจำนวน 197,946 ล้านบาท เติบโตจำนวน 5,293 ล้านบาท หรือ 2.75% เป็นผลจากการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของธนาคารและการขยายตัวของปริมาณธุรกิจ โดยในปี 2567 ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ มีจำนวน 87,273 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 2,305 ล้านบาท หรือ 2.71% จากปีก่อน          สำหรับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) ในปี 2567 อยู่ที่ 44.09% ใกล้เคียงกับปีก่อนจากการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายให้เกิดความคุ้มค่า และการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง          ธนาคารและบริษัทย่อยยังคงตั้งสำรองฯ ตามหลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่องในทุกไตรมาส เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เติบโตช้าและในอัตราที่ต่ำ แม้ว่าสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss: ECL) ลดลง 8.85% จากปีก่อนหน้า ส่งผลให้กำไรสุทธิในปี 2567 มีจำนวน 48,598 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจำนวน 6,193 ล้านบาท หรือ 14.60%           เศรษฐกิจไทยในปี 2567 ยังมีสัญญาณฟื้นตัวไม่ทั่วถึง (K-Shaped Recovery) แม้ในภาพรวมสามารถประคองการขยายตัวไว้ได้ในระดับที่สูงกว่าปี 2566 โดยภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้าบางหมวดที่ได้รับอานิสงส์จากวัฏจักรสินค้าเทคโนโลยีขยายตัวได้ดี แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรม การลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนยังมีสัญญาณอ่อนแอ ท่ามกลางแรงกดดันต่อเนื่องจากปัญหาความสามารถในการแข่งขัน ข้อจำกัดของกำลังซื้อทั้งในและต่างประเทศ และปัญหาภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง          สำหรับในปี 2568 แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยเผชิญความท้าทายจากหลายด้าน โดยเฉพาะผลกระทบจากความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ความเสี่ยงจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ปัญหาในภาคการผลิต และภาระหนี้เอกชนที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ต้องใช้เวลาในการแก้ไข          ท่ามกลางความท้าทายของปัจจัยต่าง ๆ ธนาคารและบริษัทย่อยยังคงมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยเฉพาะการส่งมอบผลตอบแทนที่มั่นคงแก่ผู้ถือหุ้น การดูแลช่วยเหลือลูกค้าในด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งรวมถึงการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ตลอดจนการให้ความร่วมมือในโครงการภาครัฐเพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าสามารถดำเนินชีวิตและธุรกิจต่อไปได้อย่างยั่งยืน ผ่านการเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ 3+1 และการจัดการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Productivity) อย่างต่อเนื่อง

KBANK คาดกำไรปี 67 โต 14.3% มีปันผล 5.86 บาท แนะ “ซื้อ” เป้า 182.75 บาท

KBANK คาดกำไรปี 67 โต 14.3% มีปันผล 5.86 บาท แนะ “ซื้อ” เป้า 182.75 บาท

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.เอเอสแอล ประเมิน KBANK จะรายงานกำไรสุทธิ 4Q24F ที่ 1.03 หมื่นล้านบาท (-13.5%QoQ, +10.3%YoY) ปรับตัวขึ้น YoY จากการลดลงของค่าใช้จ่ายการตั้งสำรอง -16.2%YoY คิดเป็น credit cost ที่ 9%ตามผลของแผนการ clean up balance sheet ขณะที่สินเชื่อยังทรงตัวโดยได้สินเชื่อธุรกิจที่ขยายตัวชดเชยกลุ่มรายย่อยและ SME ส่วน QoQ ชะลอตัวจาก NII ที่ปรับตัวลง แม้สินเชื่อจะขยายตัว QoQ แต่คาดว่า Yield ที่ปรับลดลง ส่งผลให้ NIM สิ้นงวดอยู่ที่ 3.6% รวมถึงค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น +5.7% ตามปัจจัยฤดูกาล คิดเป็น C/I ที่ 47.7% ด้านรายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นจากธูรกิจนายหน้าประกัน ประเมินกำไรสุทธิปี 24-25F เท่ากับ 4.85 หมื่นล้านบาท +14.3%YoY และ 5.09 หมื่นล้านบาท +5.2%YoY โดยมีการลดลงเข้าสู่ระดับปกติของ Credit cost เป็นปัจจัยผลักดันการฟื้นตัวของกำไร นอกจากนี้คาดว่าจะเริ่มรับรู้ JV กับ BAM เต็มปี            แนะนำ “ซื้อ” มีราคาเป้าหมายสิ้นปี 25F เท่ากับ 182.75 บาท อิง PBV ที่ 0.76 เท่า โดยผลประกอบการมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง จากการปรับลดค่าใช้จ่ายการตั้งสำรอง และการฟื้นตัวของสินเชื่อธุรกิจ ด้านการจ่ายปันผลคาดในงวด 2H24 จะอยู่ที่ 5.86 บาท คิดเป็น div. yield ที่ 3.7%

กลุ่มธนาคารได้อานิสงส์มาตรการรัฐ โบรกแนะ KBANK - SCB เป็น Top Pick

กลุ่มธนาคารได้อานิสงส์มาตรการรัฐ โบรกแนะ KBANK - SCB เป็น Top Pick

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.หยวนต้า ชี้ BANKING SECTOR กำไรชะลอลง QoQ ตามปัจจัยฤดูกาล แต่ยังโต YoY คาดกำไรสุทธิของกลุ่มใน 4Q24 โต 12.9% YoY แต่ลดลง 12% QoQ จากค่าใช้จ่ายที่เร่งตัวขึ้น เราคาดหุ้นกลุ่มธนาคารภายใต้ Coverage ของเราทั้ง 7 แห่ง จะมีกำไรสุทธิรวมใน 4Q24 จำนวน 48,182 ลบ. โต 12.9% YoY จากฐานที่ต่ำในปีก่อน เพราะมีการตั้งสำรองเพื่อรองรับความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทใหญ่ในกลุ่มรับเหมา ขณะที่ปีนี้ยังไม่มีสัญญาณบริษัทใหญ่ที่มีปัญหาเพิ่มเติม แต่คาดกำไรสุทธิกลุ่มจะลดลง 12% QoQ เพราะเป็นช่วงที่หลายธนาคารจะตั้งค่าใช้จ่ายลงทุนพัฒนาระบบงานและเทคโนโลยีจำนวนมาก ทำให้ Cost to Income Ratio เร่งตัวขึ้นสูงกว่าไตรมาสอื่น รวมทั้งมีผลลบจากรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิที่คาดจะลดลง เพราะมีผลกระทบเชิงลบจาก NIM ที่ชะลอตัวหลังมีการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ตั้งแต่เดือน พ.ย. 2024 อย่างไรก็ดี เราคาดปัจจัยลบดังกล่าวบางส่วนจะถูกชดเชยด้วย รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่เร่งตัวขึ้น หนุนจากรายได้ค่าธรรมเนียมธุรกิจนายหน้าประกัน, ธุรกิจบริหารจัดการกองทุน และธุรกิจ Wealth Management ที่ขยายตัวได้ดี และ คาดการตั้งสำรองโดยรวมลดลงราว 3.2% QoQ เพราะหลายธนาคารเร่งตั้งสำรองไปมากแล้ว และคาดได้อานิสงส์บวกจากมาตรการรัฐฯ ที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีแรงขับเคลื่อนมากขึ้น ธนาคารใหญ่ที่คาดกำไรสุทธิโดดเด่นคือ SCB และ KTB            ในส่วนของธนาคารใหญ่ คาดกำไรสุทธิรวมใน 4Q24 ที่ 40,514 ลบ. โต 14.6% YoY แต่ลดลง 12.9% QoQ โดยธนาคารใหญ่ที่ผลดำเนินงานแข็งแรงคือ SCB (คาดกำไรสุทธิ 11,099 ลบ. +0.9% YoY, +1.4% QoQ) เนื่องจากคาดจะได้อานิสงส์จากธุรกิจ Gen3 ที่มีผลขาดทุนลดลง หลังขายหุ้นบริษัท Purple Venture (ผู้ให้บริการแอป Robinhood) ให้กับกลุ่มยิบ อิน ซอยไปแล้ว รวมทั้งไม่มีค่าใช้จ่ายด้อยค่าเหมือนกับ 3Q24 (บันทึกขาดทุนจากการด้อยค่าราว 731 ลบ.) ทำให้ค่าใช้จ่ายดำเนินงานไม่ได้เร่งตัวขึ้นมาก QoQ เหมือนกับธนาคารอื่น ขณะที่การตั้งสำรองคาดลดลง 14% QoQ เพราะคุณภาพสินทรัพย์ของ CardX เริ่มฟื้นตัว รองลงมาคือ KTB (คาดกำไรสุทธิ 10,410 ลบ. +70.4% YoY, -6.3% QoQ) โตเด่น YoY จากฐานต่ำในปีก่อน ส่วน QoQ คาดคุณภาพสินทรัพย์แข็งแรงขึ้น แต่รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิจะปรับลง เพราะมีสินเชื่อกลุ่มงานภาครัฐฯ เพิ่มขึ้นมามาก            ส่วน KBANK (คาดกำไรสุทธิ 9,862 ลบ. +5.0% YoY, -17.6% QoQ) และ BBL (คาดกำไรสุทธิ 9,143 ลบ. +3.2% YoY, -26.7% QoQ) ถูกกดดันจาก NIM ที่ลดลง หลังเน้นขยายสินเชื่อในกลุ่มบริษัทใหญ่มากขึ้น และค่าใช้จ่ายดำเนินงานเร่งตัวขึ้นสูงในช่วงปลายปี แต่คาดการตั้งสำรองจะเริ่มทยอยปรับลง เพราะควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ได้ดี ธนาคารกลาง/เล็กถูกกดดันจากสินเชื่อเช่าซื้อรถมือหนึ่งที่ชะลอตัวตามยอดขายรถในประเทศ            สำหรับธนาคารขนาดกลาง/เล็ก คาดกำไรสุทธิรวม 7,667 ลบ. โต 4.8% YoY แต่ลดลง 7.0% QoQ ภาพรวมยังมีแรงกดดันจากสินเชื่อรวมที่ชะลอตัวสอดรับกับยอดขายยานยนต์ในประเทศที่แย่ลง และการเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อใหม่ ทำให้คาด TISCO (คาดกำไรสุทธิ 1,672 ลบ. -6.1% YoY, -2.4% QoQ), TTB (คาดกำไรสุทธิ 4,918 ลบ. +1.1% YoY, -6.0% QoQ) และ KKP (คาดกำไรสุทธิ 1,077 ลบ. +60.8% YoY, -17.5% QoQ)            แนวโน้มการเติบโตของกำไรในปี 2568 จะเริ่มชะลอตัวมากขึ้นจาก NIM ที่ชะลอตัวลง เรามีการปรับลดประมาณการกำไรสุทธิของ SCB ในปี 2024/25 ลง 2.6%/1.6% เพื่อเพิ่มความระมัดระวังในประเด็นการตั้งสำรองสำหรับกลุ่มสินเชื่อบ้านที่มีความเสี่ยงมากขึ้น และปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิของ TTB ขึ้น 3.3% ในปี 2024 เพื่อสะท้อนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ควบคุมได้ดีกว่าคาด สำหรับแนวโน้มปี 2025 เรามองว่าการเติบโตของกลุ่มจะค่อนข้างจำกัด โดยประเมินว่ากำไรรวมจะอยู่ที่ 221,245 ลบ. โต 4.7% YoY เพราะมีแรงกดดันจากรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิที่จะทยอยปรับตัวลงรับผลของการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ และเป็นผลจากมาตรการ “คุณสู้ เราช่วย” ที่จะมีการลดดอกเบี้ยให้กับลูกหนี้บางส่วน แลกกับการได้รับส่วนลดอัตราเงินนำส่ง FIDF และโอกาสในการลดการตั้งสำรองลงตามการชำระเงินของลูกหนี้ภายใต้มาตรการที่ดีขึ้น            คงน้ำหนักการลงทุน “เท่ากับตลาด” แนะนำ KBANK และ SCB เป็น Top Pick ของกลุ่ม แม้เราคาดการเติบโตของกำไรจะจำกัดมากขึ้นตามทิศทางของดอกเบี้ยนโยบาย แต่ผลดำเนินงานยังสามารถโตได้จากการลดค่าใช้จ่ายดำเนินงานและการทยอยลดการตั้งสำรองลง อีกทั้งเป็นกลุ่มที่มีความโดดเด่นในเรื่องของเงินปันผล (คาดการณ์เงินปันผล 2H24 ในตารางที่ 3) เราจึงคงคำแนะนำลงทุนหุ้นกลุ่มธนาคารที่ “เท่ากับตลาด” โดยหุ้น Top Pick เราแนะนำ KBANK (TP@175) แม้กำไรสุทธิ 4Q24 จะไม่เด่น แต่คาดจะเห็นพัฒนาการที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ในแง่ของคุณภาพสินทรัพย์ ทำให้มีโอกาสที่บริษัทจะลดการตั้งสำรองลงมากกว่าที่ประเมินไว้ อีกทั้งคาดจะเป็นธนาคารเดียวที่ได้รับอานิสงส์เชิงบวกจากมาตรฐานบัญชี TFRS17 ที่จะช่วยลดผลขาดทุนจากธุรกิจประกันชีวิต (KBANK ถือหุ้นใน MTL 51%) นอกจากนี้ยังแนะนำ SCB (TP@130) สำหรับเก็งผลดำเนินงาน 4Q24 ที่คาดจะออกมาแข็งแรงกว่าธนาคารอื่น และมีจุดเด่นที่ปันผล 2H24 ที่คาดจะจ่ายหุ้นละ 7 บาท คิดเป็น Div. Yield 5.9%

KBANK ประกาศจับมือ BAM ลุยAMC โบรกว่าไง!

KBANK ประกาศจับมือ BAM ลุยAMC โบรกว่าไง!

         หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า KBANK (ซื้อ/เป้า 155.00 บาท) แจ้งความคืบหน้าจัดตั้งบริษัทร่วมทุน JV AMC กับ BAM ทุนจดทะเบียนเพิ่มเป็น 1 พันล้านบาท KBANK แจ้งความคืบหน้าการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน JV AMC กับ BAM โดย **บริษัท กสิกร วิชั่น จำกัด (KVISION)** ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร กับ **บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (BAM)** โดยได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัทร่วมทุนในนาม **บริษัท บริหารสินทรัพย์ อรุณ จำกัด** เพื่อประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ โดย KVISION ถือ 50% และ BAM ถือ 50% ทุนจดทะเบียนที่ 1 พันล้านบาท ทั้งนี้ ในวันที่ 19 ธันวาคม 2565 บริษัท บริหารสินทรัพย์ อรุณ จำกัด ได้รับอนุมัติให้จดทะเบียนเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์จากธนาคารแห่งประเทศไทย และได้รับใบทะเบียนบริษัทบริหารสินทรัพย์แล้ว ในวันที่ 26 ธันวาคม 2565 (ที่มา: SET) **DAOL: มองเป็นบวกต่อความคืบหน้าในการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน JV AMC กับ BAM** มองเป็นบวกต่อความคืบหน้าในการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน JV AMC กับ BAM โดยมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 1 พันล้านบาท จากเดิมที่ 25 ล้านบาท ซึ่งเราคาดว่ามีโอกาสเพิ่มทุนจดทะเบียนได้อีกในอนาคต (เทียบกับ JKAMC ที่ KBANK ทำ JV AMC กับ JMT ตอนเริ่มตั้งบริษัทอยู่ที่ 4 ล้านบาท และภายหลังได้เพิ่มทุนเป็น 1 หมื่นล้านบาท) ขณะที่การจัดตั้งบริษัทร่วมทุน JV AMC กับ BAM จะช่วยให้ KBANK มีการขายหนี้ได้ในราคาที่สมเหตุสมผลมากขึ้น นอกจากนี้จะทำให้ NPL มีแนวโน้มลดลงได้ดีในระยะยาว            โดยคาดว่าการร่วมมือ JV AMC กับ BAM ครั้งนี้จะเน้นทรัพย์ที่เป็นสินเชื่อที่มีหลักประกัน (Secured loan) ต่างจาก JKAMC ที่เน้นทำกับสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน (Unsecured loan) เพราะก่อนหน้านี้ BAM ได้ทำ JV AMC กับออมสินไปแล้วเมื่อต้นปี 2564 โดยเน้นทรัพย์ที่เป็น Unsecured loan ทั้งนี้ เราคาดว่าการทำ JV AMC กับ BAM จะช่วยหนุนให้มีกำไรเพิ่มขึ้นอีกในอนาคตได้ (เทียบกับ JKAMC มีกำไรสุทธิปี 2563 อยู่ที่ 1.08 พันล้านบาท) สำหรับ KBANK ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายที่ 176.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.70x (-1.00SD below 10-yr average PBV)

โฟกัส KTB-KBANK สินเชื่อรายใหญ่-รัฐแกร่ง

โฟกัส KTB-KBANK สินเชื่อรายใหญ่-รัฐแกร่ง

หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล.ดาโอระบุว่า สินเชื่อเดือน พ.ย. 24 เพิ่มขึ้นได้ดีที่ +0.6% MoM จากสินเชื่อรายใหญ่และภาครัฐ ภาพรวมสินเชื่อเดือน พ.ย. 24 ทั้ง 7 ธนาคารที่เรา cover อยู่ที่ 10.7 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น +0.7% MoM ส่วนใหญ่มาจากสินเชื่อรายใหญ่และสินเชื่อภาครัฐ ส่วนสินเชื่อรายย่อยที่มาจากสินเชื่อเช่าซื้อยังคงลดลงต่อเนื่อง โดยธนาคารที่มีสินเชื่อเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ BBL เพิ่มขึ้น +1.4% MoM จากสินเชื่อรายใหญ่เป็นหลัก รองลงมาเป็น KTB เพิ่มขึ้น +1.2% MoM จากสินเชื่อภาครัฐเป็นหลัก และ KBANK +1.0% MoM จากสินเชื่อรายใหญ่และรายย่อย ขณะที่ธนาคารที่มีสินเชื่อลดลงมากที่สุด MoM คือ KKP -0.7% MoM ลดลงจากสินเชื่อเช่าซื้อทั้งในส่วนของรถใหม่และรถมือสอง รองลงมาเป็น SCB -0.4% MoM จากสินเชื่อทุกประเภท แต่บริษัทลูกๆอย่าง AutoX และ Monix ยังคงเพิ่มขึ้นได้อยู่ ขณะที่ TTB ทรงตัว MoM จากสินเชื่อรายใหญ่และสินเชื่อ High yield ยังเพิ่มขึ้น แต่สินเชื่อรายย่อยและ SME ยังลดลง ส่วนภาพรวมของเงินฝากเดือน พ.ย. 24 อยู่ที่ 12.6 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น +0.2% MoM โดยธนาคารที่เงินฝากเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ BBL เพิ่มขึ้น +1.0% MoM รองลงมาเป็น KBANK, KTB เพิ่มขึ้น +0.5%, +0.2% จากเงินฝาก CASA เป็นหลัก ส่วนเงินฝากที่ลดลงมากที่สุดคือ SCB -2.3% MoM จากเงินฝากทุกประเภท โดยมี saving ลดลงมากที่สุด รองลงมาเป็น TTB -1.1% MoM จากเงินฝากประจำที่ลดลง (ที่มา: ข้อมูลบริษัท)            มองเป็นบวกต่อกลุ่มธนาคาร มีมุมมองเป็นบวกต่อสินเชื่อในเดือน พ.ย. 24 ที่เพิ่มขึ้นได้ดีที่ +0.6% MoM จากเดือน ต.ค. 24 ที่เพิ่มขึ้น +0.2% MoM โดยการเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากสินเชื่อรายใหญ่และภาครัฐเป็นหลัก ขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อยังลดลงตามทิศทางของยอดขายรถยนต์ที่มีการปรับตัวลดลงและจากกำลังซื้อชะลอตัว รวมถึงหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ทำให้กลุ่มธนาคารมีการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ขณะที่เราคาดว่าสินเชื่อรายใหญ่และภาครัฐจะมี Momentum ที่เพิ่มขึ้นได้ในช่วงเดือน ธ.ค. 24 ตามโครงการใหญ่ๆของภาครัฐที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ภาพรวมการประมาณการการเติบโตของสินเชื่อรวมทั้งปี 2024E ของกลุ่มที่ +0.8% YoY น่าจะมี downside เล็กน้อยเพราะ 11M24 อยู่ที่ -1.0% YTD ด้าน NPL คาดว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เชื่อว่าจะทยอยเพิ่มขึ้นไม่น่ากังวลมากนัก เพราะแต่ละธนาคารมีการตั้งสำรองฯจำนวนมากมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และมีการทยอยขายหนี้เสียออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยคาด NPL ในปี 2024E จะอยู่ที่ 3.29% จาก 2.92% ในปี 2023 คงน้ำหนักเป็น “มากกว่าตลาด” เลือก KTB,           KBANK เป็น Top pick ขณะที่ BBL จะได้รับผลบวกจากสินเชื่อที่เติบโตได้สูงสุดในเดือน พ.ย. 24 เราให้น้ำหนักการลงทุนของกลุ่มธนาคารเป็น “มากกว่าตลาด” เพราะแนวโน้มการเติบโตของกำไรปี 2024E-2025E จะยังเติบโตได้ต่อเนื่องอีก 5-6% YoY ขณะที่ valuation ยังถูก โดยเทรดที่ระดับเพียง 0.65x PBV (-1.25SD below 10-yr average PBV) ขณะที่ยังคงเลือก KTB, KBANK เป็น Top pick ขณะที่ BBL จะได้รับผลบวกจากสินเชื่อที่เติบโตได้สูงที่สุดในเดือน พ.ย. 24 - KTB ราคาเป้าหมายที่ 24.50 บาท อิง PBV 2025E ที่ 0.85x (-0.75SD below 10-yr average PBV) เพราะกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงที่สุดในกลุ่มธนาคารที่ +18% YoY ขณะที่เราคาดว่าแนวโน้มกำไรสุทธิ 4Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY แต่จะลดลง QoQ จาก OPEX ที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล และ KTB เน้นปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้น ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงต่ำและรองรับกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงได้ - KBANK ราคาเป้าหมายที่ 176.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.70x (-1.00SD below 10-yr average PBV) เพราะคุณภาพของสินทรัพย์ที่ดีขึ้น และเราคาดหวัง JV AMC กับ BAM จะช่วยลด NPL ได้ในระยะยาว และคาดกำไร 4Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY จากสำรองฯที่ลดลง โดยปัจจุบันซื้อขายเพียง 0.66x PBV (-1.25SD below 10-yr average PBV) ถูกกว่า SCB ที่ 0.81x PBV

สินเชื่อ ต.ค.เพิ่ม 0.2% หุ้นแบงก์ไหนเด่น เช็กเลย!

สินเชื่อ ต.ค.เพิ่ม 0.2% หุ้นแบงก์ไหนเด่น เช็กเลย!

        หุ้นวิชั่น- บทวิเคราะห์ บล.ดาโอระบุว่า ภาพรวมสินเชื่อเดือน ต.ค. 24 ทั้ง 7 ธนาคารที่เรา cover อยู่ที่ 10.7 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น +0.2% MoM ส่วนใหญ่มาจากสินเชื่อรายใหญ่ ขณะที่สินเชื่อภาครัฐทรงตัว ส่วนสินเชื่อรายย่อยที่มาจากสินเชื่อเช่าซื้อยังคงลดลงต่อเนื่อง โดยธนาคารที่มีสินเชื่อเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ BBL เพิ่มขึ้น +1.6% MoM จากสินเชื่อรายใหญ่และต่างประเทศ รองลงมาเป็น KBANK, TISCO เพิ่มขึ้น +0.3% MoM จากสินเชื่อรายใหญ่เป็นหลัก ส่วนสินเชื่อรายย่อยและ SME ยังคงหดตัวลง ขณะที่ธนาคารที่มีสินเชื่อลดลงมากที่สุด MoM คือ KKP -0.7% MoM ลดลงจากสินเชื่อเช่าซื้อทั้งในส่วนของรถใหม่และรถมือสอง รองลงมาเป็น TTB ลดลง -0.5% MoM จากสินเชื่อรายใหญ่และรายย่อย แต่สินเชื่อ High yield ยังเพิ่มขึ้น ส่วนภาพรวมของเงินฝากเดือน ต.ค. 24 อยู่ที่ 12.5 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น +1.8% MoM โดยธนาคารที่เงินฝากเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ KTB เพิ่มขึ้นถึง +5.7% MoM จากเงินฝาก CASA ของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ รองลงมาเป็น SCB, KKP เพิ่มขึ้น +3.5%, +3.4% จากเงินฝาก CASA เป็นหลัก ส่วนเงินฝากที่ลดลงมากที่สุดคือ KBANK ลดลง -3.7% MoM จากเงินฝากประจำที่ลดลง (ที่มา: ข้อมูลบริษัท) บล.ดาโอ มองเป็นบวกต่อกลุ่มธนาคาร มีมุมมองเป็นบวกต่อสินเชื่อในเดือน ต.ค. 24 ที่กลับมาฟื้นตัวในรอบ 6 เดือนได้ที่ +0.2% MoM จากเดือน ก.ย. 24 ที่ลดลง -0.5% MoM โดยการเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากสินเชื่อรายใหญ่เป็นหลัก ขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อยังลดลงตามทิศทางของยอดขายรถยนต์ที่มีการปรับตัวลดลง และจากกำลังซื้อชะลอตัว รวมถึงหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ทำให้กลุ่มธนาคารมีการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ขณะที่เราคาดว่าสินเชื่อรายใหญ่และภาครัฐจะมี Momentum ที่เพิ่มขึ้นได้ในช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. 24 ตามโครงการใหญ่ๆของภาครัฐที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เรายังคงประมาณการการเติบโตของสินเชื่อรวมทั้งปี 2024E ของกลุ่มไว้ที่ +1% YoY (10M24 อยู่ที่ -1.6% YTD) ด้าน NPL เราคาดว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เราเชื่อว่าจะทยอยเพิ่มขึ้นไม่น่ากังวลมากนัก เพราะแต่ละธนาคารมีการตั้งสำรองฯจำนวนมากมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และมีการทยอยขายหนี้เสียออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยคาด NPL ในปี 2024E จะอยู่ที่ 3.29% จาก 2.92% ในปี 2023          ยังคงน้ำหนักเป็น “มากกว่าตลาด” เลือก KTB, KBANK เป็น Top pick ขณะที่ BBL จะได้รับผลบวกจากสินเชื่อที่เติบโตได้สูงสุดในเดือน ต.ค. 24 เราให้น้ำหนักการลงทุนของกลุ่มธนาคารเป็น “มากกว่าตลาด” เพราะแนวโน้มการเติบโตของกำไรปี 2024E-2025E จะยังเติบโตได้ต่อเนื่องอีก 5-6% YoY ขณะที่ valuation ยังถูก โดยเทรดที่ระดับเพียง 0.65x PBV (-1.25SD below 10-yr average PBV) ขณะที่เรายังคงเลือก KBANK, KTB เป็น Top pick ขณะที่ BBL จะได้รับผลบวกจากสินเชื่อที่เติบโตได้ในเดือน ต.ค. 24 - KTB ราคาเป้าหมายที่ 24.50 บาท อิง PBV 2025E ที่ 0.85x (-0.75SD below 10-yr average PBV) เพราะกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงที่สุดในกลุ่มธนาคารที่ +18% YoY ขณะที่เราคาดว่าแนวโน้มกำไรสุทธิ 4Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY แต่จะลดลง QoQ จาก OPEX ที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล และ KTB เน้นปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้น ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงต่ำและรองรับกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงได้ - KBANK ราคาเป้าหมายที่ 176.00 บาท บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.70x (-1.00SD below 10-yr average PBV) เพราะคุณภาพของสินทรัพย์ที่ดีขึ้น และเราคาดหวัง JV AMC กับ BAM จะช่วยลด NPL ได้ในระยะยาว และคาดกำไร 4Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY จากสำรองฯที่ลดลง โดยปัจจุบันซื้อขายเพียง 0.64x PBV (-1.25SD below 10-yr average PBV) ถูกกว่า SCB ที่ 0.81x PBV

วิพากษ์อนาคต KBANK ซ่อนมูลค่าปันผลยิลด์ 5%

วิพากษ์อนาคต KBANK ซ่อนมูลค่าปันผลยิลด์ 5%

          หุ้นวิชั่น- ฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CGSI ระบุในบทวิเคราะห์ ว่า ในไตรมาส 3/67 KBANK ทำกำไรสุทธิได้ 1.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.1% yoy แต่ลดลง 5.4% qoq สอดคล้องประมาณการของ Bloomberg consensus แต่ต่ำกว่าที่ฝ่ายวิเคราะห์ฯคาดไว้ 10%           ดังนั้น กำไรสุทธิ 9 เดือนแรกของปี 67 จึงอยู่ที่ 3.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.4% yoy คิดเป็น 78.8% ของประมาณการทั้งปี           KBANK มีกำไรก่อนตั้งสำรองในไตรมาส 3/67 ลดลง 0.4% yoy และ 4.8% qoq ขณะที่อัตราการเติบโตของสินเชื่ออยู่ที่ 0% yoy, และลดลง 2.2% qoq และลดลง 2.1% จากสิ้นปี 66 ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้เกณฑ์การอนุมัติ สินเชื่อที่ระมัดระวัง บวกกับเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า นอกจากนี้ KBANK ยังมี NPL เพิ่มขึ้นเป็น 3.82% จาก 3.27% ในไตรมาส 2/67 และมีอัตราการตั้งสำรองต่อหนี้ NPL ลดลงเล็กน้อยเป็น 139% จาก 141% ในไตรมาส 2/67           ในไตรมาส 3/67 ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย(NIM) ของ KBANK ลดลงมาที่ 3.68% จาก 3.73% ในไตรมาส 2/67 เนื่องจากผลตอบแทนจากสินทรัพย์ลดลง ทำให้รายได้ดอกเบี้ยลดลง 2.6% yoy และ 1.2% qoq ส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยยังเติบโต 28% yoy แต่ลดลง 10.2% qoq เพราะรายได้สุทธิจากการรับประกันภัยลดลง อย่างไรก็ตาม รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเติบโตสูง 8.1% yoy และ 4.4% qoq จากการเพิ่มขึ้นของค่าธรรมเนียมรับจากบริการการค้าระหว่างประเทศและค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ขณะที่มีอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้เพิ่มเป็น 44.2% จาก 43.4% ในไตรมาส 2/67 แต่ยอดค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานทรงตัว qoq           ทั้งนี้ประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์ KBANK ยังคงเป้าหมายทางการเงินในปี 67 แต่มองว่าสินเชื่อน่าจะไม่สามารถเติบโตได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ 3- 5% ในปีนี้ เพราะยอดสินเชื่อ 9 เดือนขยายตัวต่ำกว่าคาด ขณะที่ยังตั้งเป้ารายได้ค่าธรรมเนียมเติบโตระหว่าง 5-9% ในปีนี้ ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่จะมาจากค่าธรรมเนียมรับจากการจัดการกองทุน, การให้บริการสินเชื่อและธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ (Trade finance) ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมในไตรมาส 4/67 จะเติบโตจากธุรกิจการบริหารความมั่งคั่ง (Wealth management) ขณะเดียวกันเป้าหมายอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ(CET-1)ระยะยาวของ KBANK ที่ 13-15% สะท้อนเสถียรภาพทางการเงิน, ผลตอบแทนที่ให้กับผู้ถือหุ้นและการลงทุนเพื่อการเติบโตแล้ว ทั้งนี้ CET-1อยู่ที่ 17.6% ในไตรมาส 3/67 นอกจากนี้ KBANK ยังคาดว่าอัตราการจ่ายเงินปันผลจะค่อยๆเพิ่มขึ้น           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI ยังแนะนำ “ซื้อ” KBANK ราคาเป้าหมาย 188 บาทในปี 68 เท่ากับ P/BV 0.74 เท่า มองว่า ปี 67-69 EPS จะเติบโตดีในอัตรา 6.3-14.1%, อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลน่าสนใจที่ 5.0% ต่อปีในปี 67-69 และสามารถบริหารจัดการ NPL ได้ดีขึ้น           อย่างไรก็ตามมี downside risk หาก NPL กลุ่มสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคและสินเชื่อ SME สูงขึ้น รวมถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนปัจจัยบวกคือการที่ Bloomberg consensus ปรับเพิ่มประมาณการกำไรและอัตราการสำรองหนี้สูญกลับมาอยู่ในระดับปกติจากการใช้กลยุทธ์เคลียร์งบดุล

บล.กรุงศรี ให้น้ำหนักลงทุนแบงก์ KTB-KBANK ดาวเด่น

บล.กรุงศรี ให้น้ำหนักลงทุนแบงก์ KTB-KBANK ดาวเด่น

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) กลุ่มธนาคารรายงานกำไรสุทธิไตรมาส 3/2567 ที่ 5.47 หมื่นลบ. เพิ่มขึ้น +9% y-y และ +2% q-q เพราะการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย (Non-NII) และการลดลงของค่าใช้จ่ายสำรอง (ECL) ไตรมาสนี้ BBL, SCB และ KKP รายงานกำไรสุทธิดีกว่าคาด ขณะที่ธนาคารที่เหลือรายงานกำไรสุทธิใกล้เคียงฝ่ายวิเคราะห์คาด โดยธนาคารที่รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 3/2567 เติบโต y-y และ q-q คือ BBL,SCB และ KKP สำหรับธนาคารที่รายงานกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น y-y ลดลง q-q คือ KBANK ,KTB และ TTB ส่วนธนาคารรายงานกำไรสุทธิลดลง y-y และ q-q คือ TISCO           ภาพรวมกลุ่มปี 2568 คาดธนาคารได้รับผลกระทบเชิงลบ จากทิศทางดอกเบี้ยขาลง อย่างไรก็ตามคาดจะเห็นผลบวกในเรื่องคุณภาพสินทรัพย์ นอกจากนั้นธนาคารยังคงปันผลเด่น ดังนั้นคงน้ำหนักการลงทุนเป็น NEUTRAL และคง KBANK และ KTB เป็น Top Pick

โบรกเคาะเป้า KBANK 180 บ. กำไรโตเด่น

โบรกเคาะเป้า KBANK 180 บ. กำไรโตเด่น

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) มีมุมมอง Neutral ต่อการประชุมนักวิเคราะห์ของ KBANK เพราะข้อมูลส่วนใหญ่ไม่ได้ต่างจากที่คาดก่อนหน้า ภาพรวมคงชอบ KBANK และคงเป็น Top Pick กลุ่มธนาคารคู่กับ KTB (BUY, TP 24 บ.) เพราะเห็นพัฒนาการการบริหารคุณภาพสินทรัพย์ของ KBANK ในทางบวก ดังนั้นคาดมีโอกาสเห็นค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) กลับสู่ระดับปกติในปี 2568 ที่ 140-160 bps. และกำไรสุทธิ 2568-2569 คาดเติบโตเด่น +17% และ +10% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน           ฝ่ายวิเคราะห์ปรับประมาณการกำไรสุทธิ 2567-2569 ใหม่เป็น 4.95/5.45 และ 5.83 หมื่นลบ. เดิม 4.94/ 5.48และ 5.81 หมื่นลบ. ตามลำดับ มุมมองที่เปลี่ยนไป สินเชื่อรวมต่ำกว่าคาด จากกลยุทธ์การเติบโตสินเชื่ออย่างระมัดระวัง ทิศทางดอกเบี้ยนโยบายขาลง ใช้สมมุติฐานดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 2.0% ซึ่งคาดจะมีการปรับลงอีกครั้งในช่วง ไตรมาส 1/2568 และรายได้ค่าธรรมเนียม-บริการดีกว่าคาด จากธุรกิจ wealth management           ฝ่ายวิเคราะห์แนะนำ BUY และคง TP25F ที่ 180 บาท เพราะเห็นพัฒนาการการบริหารคุณภาพสินทรัพย์ของ KBANK ในทางบวก ดังนั้นคาดว่ามีโอกาสเห็นค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) กลับสู่ระดับปกติในปี 2568 ที่ 140-160 bps. กำไรสุทธิ 2567-2568 คาดเติบโตเด่น +17% และ +10% จากช่วงเดียวกันกับปีก่อน

KBANK วิเคราะห์มีแววโตแค่ไหน? จับตา NPL มีสัญญาณลด

KBANK วิเคราะห์มีแววโตแค่ไหน? จับตา NPL มีสัญญาณลด

          หุ้นวิชั่น - บล. ดาโอ ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” KBANK และราคาเป้าหมายที่ 176.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.70x (-1.00SD below 10-yr average PBV)           โดยมีมุมมองเป็นกลางทั้งจากการประชุมนักวิเคราะห์เพราะแนวโน้มยังเป็นไปตามคาด และการประกาศกำไรสุทธิ 3Q24 ที่เป็นไปตามที่ตลาดและเราคาด มาอยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท (+6% YoY, -5% QoQ) เพราะมีกำไรจาก FVTPL เข้ามาช่วยถึง 3.7 พันล้านบาท (เราคาด 2.7 พันล้านบาท) แต่มี Net Insurance Premium ลดลงมากกว่าคาดมาอยู่ที่ -2.3 พันล้านบาท (คาด -1.1 พันล้านบาท) ขณะที่ NPL เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3.20% จากไตรมาสก่อนที่ 3.18% ขณะที่มี write-off เพิ่มขึ้นอีก 3.2 พันล้านบาท และขาย NPL อีก 4.9 พันล้านบาท ส่วนเรื่อง JV AMC กับ BAM ตอนนี้รอ License อนุมัติจาก ธปท. ซึ่งคาดว่าจะได้ใน 4Q24E และจะช่วยให้ NPL มีโอกาสลดลงได้ในอนาคต กำไรสุทธิ 9M24 คิดเป็น 79% จากประมาณการทั้งปี           โดยยังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น +13% YoY จากสำรองฯที่ลดลงเป็นหลัก ขณะที่เราคาดกำไร 4Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY จากสำรองฯที่ลดลง แต่จะลดลง QoQ เพราะ OPEX ที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล ราคาหุ้นลดลง -7% เมื่อเทียบกับ SET ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา จาก Fund flow จากนักลงทุนต่างชาติที่เริ่มไหลออก ประกอบกับ กนง. เซอร์ไพร์ลดอัตราดอกเบี้ย           อย่างไรก็ดี KBANK ยังมี valuation ที่น่าสนใจ โดยปัจจุบันซื้อขายเพียง 0.65x PBV (-1.25SD below 10-yr average PBV) ถูกกว่ากลุ่มที่ 0.70x PBV และถูกกว่า SCB ที่ 0.80x PBV และเราคาดหวัง JV AMC กับ BAM จะช่วยลด NPL ได้ในระยะยาว

KBANK กำไร 9 เดือนแรกพุ่ง 15.41% แตะ 38,104 ล้านบาท

KBANK กำไร 9 เดือนแรกพุ่ง 15.41% แตะ 38,104 ล้านบาท

          ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK  เผยกำไร 9 เดือนแรกปี 2567 พุ่ง 15.41% จากการเติบโตของรายได้สุทธิและการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมตั้งสำรองอย่างระมัดระวังเพื่อรองรับความเสี่ยง NPL อยู่ที่ 3.20% แม้เศรษฐกิจจะฟื้นตัวไม่ทั่วถึง ธนาคารยังคงมุ่งมั่นขยายธุรกิจและดูแลคุณภาพสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง           ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK รายงานต่อหลักทรัพย์ ว่าไตรมาส 3 ปี 2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 11,965 ล้านบาท ลดลงจำนวน 688 ล้านบาท หรือ 5.43% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน หลัก ๆ เกิดจากการลดลงของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ส่วนใหญ่จากธุรกิจประกัน อย่างไรก็ตาม รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งจากค่าธรรมเนียมรับของบริการการค้าระหว่างประเทศ และค่านายหน้าจากการซื้อขายหลักทรัพย์ ประกอบกับรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมที่ยังคงฟื้นตัวอย่างไม่ทั่วถึง และธนาคารมีการยกระดับกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการปล่อยสินเชื่อใหม่อย่างมีคุณภาพ โดยอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin: NIM) อยู่ที่ 3.61% ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เป็นผลจากสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิที่เพิ่มจากการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกองทุนแห่งหนึ่ง ซึ่งส่งผลต่อธนาคารเพียงในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม หากไม่รวมรายการดังกล่าว อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin: NIM) จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ มีจำนวน 21,501 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนจากการที่ธนาคารยังคงบริหารจัดการค่าใช้จ่ายและการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของการตั้งสำรอง ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss: ECL) มีจำนวน 11,652 ล้านบาท อยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นไปตามหลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สำรองฯ อยู่ในระดับที่เหมาะสม สะท้อนสถานการณ์ปัจจุบัน และรองรับความไม่แน่นอนของปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่อาจส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจ           สำหรับงวด 9 เดือน ปี 2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้จำนวน 85,159 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 3,861 ล้านบาท หรือ 4.75% เป็นผลจากรายได้จากการดำเนินงานสุทธิเติบโตจำนวน 7,501 ล้านบาท หรือ 5.29% สูงกว่าค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ซึ่งเพิ่มขึ้นจำนวน 3,640 ล้านบาท หรือ 6.02% ตามการขยายตัวของปริมาณธุรกิจ แม้ว่าการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss: ECL) จะลดลงเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน แต่ธนาคารและบริษัทย่อยยังคงตั้งสำรองฯ ตามหลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง รองรับความไม่แน่นอนของปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจ จึงได้ตั้งสำรองฯ สำหรับไตรมาส 3 ปี 2567 จำนวน 11,652 ล้านบาท ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน ส่งผลให้กำไรสุทธิมีจำนวน 38,104 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 5,087 ล้านบาท หรือ 15.41% จากงวดเดียวกันของปีก่อน           รายได้จากการดำเนินงานสุทธิมีจำนวน 149,260 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 7,501 ล้านบาท หรือ 5.29% โดยมีรายการหลักจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่มีจำนวน 113,031 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 3,436 ล้านบาท หรือ 3.14% ตามภาวะตลาด โดยในช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้ออกมาตรการต่าง ๆ รวมทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อเพื่อให้ความช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบาง และลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในหลายพื้นที่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ลูกค้าสามารถฟื้นตัวได้ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin: NIM) อยู่ที่ 3.66%           รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิมีจำนวน 24,809 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 1,178 ล้านบาท หรือ 4.98% เติบโตหลัก ๆ จากค่าธรรมเนียมรับจากการบริหารความมั่งคั่งผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ครอบคลุมทั้งของธนาคารและบริษัทย่อย รวมทั้งพันธมิตร และค่าธรรมเนียมรับจากการให้บริการด้านเครดิต นอกจากนี้ มีการเพิ่มขึ้นของกำไรจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน และรายได้จากการลงทุน รวมทั้งรายได้จากการปริวรรตเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว ทำให้รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมีจำนวน 36,229 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นจำนวน 4,065 ล้านบาท หรือ 12.64%           ในขณะที่ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ มีจำนวน 64,101 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 3,640 ล้านบาท หรือ 6.02% จากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการขยายช่องทางการให้บริการลูกค้า และค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่สอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มตามการขยายตัวของปริมาณธุรกิจ โดยธนาคารและบริษัทย่อยยังคงมุ่งเน้นการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายให้เกิดความคุ้มค่า และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) อยู่ที่ระดับ 42.95% ใกล้เคียงกับงวดเดียวกันของปีก่อน           ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 4,367,025 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2566 จำนวน 83,469 ล้านบาท หรือ 1.95% หลัก ๆ จากรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินด้านสินทรัพย์มีจำนวน 663,457 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 94,449 ล้านบาท หรือ 16.60% จากการบริหารสภาพคล่องของธนาคาร อย่างไรก็ตาม เงินให้สินเชื่อสุทธิมีจำนวน 2,321,531 ล้านบาท ลดลงจำนวน 49,961 ล้านบาท หรือ 2.11% จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวอย่างไม่ทั่วถึง ประกอบกับการยกระดับกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการปล่อยสินเชื่อใหม่อย่างมีคุณภาพ สะท้อนการบริหารความสมดุลของความเสี่ยงและผลตอบแทนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม นอกจากนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของธนาคารในการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ให้มีประสิทธิผลสูงสุดอย่างระมัดระวังรอบคอบ สำหรับเงินให้สินเชื่อธุรกิจที่ไม่มีหลักประกันบางส่วนที่หยุดดำเนินการ ธนาคารจึงมีแผนการขายในอนาคตและได้โอนย้ายไปเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน รวมทั้งมีแผนให้บริษัทย่อยของธนาคารจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์จำกัด (มหาชน) (BAM) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามที่ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว           สำหรับเงินรับฝากมีจำนวน 2,770,120 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 70,558 ล้านบาท หรือ 2.61% ส่งผลให้อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝากอยู่ที่ 87.85% ทั้งนี้ หากไม่รวมปริมาณเงินรับฝากที่เพิ่มในระยะสั้น อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝากจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน สำหรับเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPL gross) อยู่ที่ระดับ 3.20% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตาม ธนาคารยังคงติดตามคุณภาพสินเชื่ออย่างใกล้ชิดจากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น และพิจารณาดำเนินการตั้งสำรองฯ อย่างเพียงพอตามหลักความระมัดระวัง ทำให้อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) อยู่ที่ 150.72% สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งหมดต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 ยังคงมีความแข็งแกร่งอยู่ที่ 20.58%           กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยในไตรมาส 3 ปี 2567 ยังมีภาพการฟื้นตัวไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะการผลิตภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง และการใช้จ่ายของภาคเอกชน ทั้งในส่วนของการลงทุนและการบริโภคของครัวเรือนที่มีแรงกดดันจากด้านต้นทุน ภาระหนี้สิน รวมถึงกระแสรายได้ที่ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ สำหรับในช่วงที่เหลือของปี 2567 แม้เศรษฐกิจไทยน่าจะสามารถประคองแนวโน้มการขยายตัวได้ แต่ต้องติดตามผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมและความผันผวนของค่าเงินบาท ตลอดจนแนวโน้มการชะลอตัวของประเทศเศรษฐกิจหลักของโลก ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์และสัญญาณการฟื้นตัวช้าของการใช้จ่ายภายในประเทศ ซึ่งยังคงเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า ท่ามกลางความท้าทายของปัจจัยต่าง ๆ ธนาคารกสิกรไทยยังคงมุ่งเน้นการเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ 3+1 เพื่อส่งมอบคุณค่าที่ยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายภายใต้บริบทของเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอน

ชำแหละกำไรหุ้นแบงก์ ชี้ KTB-KBANK ซ่อนค่า

ชำแหละกำไรหุ้นแบงก์ ชี้ KTB-KBANK ซ่อนค่า

          หุ้นวิชั่น - บล.ดาโอ ระบุว่า ยังคงน้ำหนักการลงทุน “มากกว่าตลาด” โดยคาดกำไรสุทธิรวม 3Q24E ของกลุ่มธนาคารจะอยู่ที่ 5.2 หมื่นล้านบาท (+3% YoY, -3% QoQ) โดยเพิ่มขึ้น YoY เกิดจาก TTB ที่ได้ผลประโยชน์ทางภาษีราว 1.1 พันล้านบาท จากปีก่อนที่ไม่มี ประกอบกับ KTB มีรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิเพิ่มขึ้นได้จากการ Cross-selling ในกลุ่ม และ KBANK มีสำรองฯที่ลดลงจากปีก่อนที่ตั้งเผื่อมาเยอะ           ส่วนกำไรที่ลดลง QoQ เพราะกำไรจากเงินลงทุนในส่วนของเงินปันผลรับลดลงตามฤดูกาล โดยธนาคารที่มีกำไรสุทธิ 3Q24E เติบโตได้ดีทั้ง YoY/QoQ คือ SCB +5% YoY, +1% QoQ เพราะมีสำรองฯที่ลดลง YoY และมีการขาย Robinhood ได้เงินทันที 400 ล้านบาท           ส่วนธนาคารที่เติบโตได้ดี YoY คือ TTB +13% YoY, KBANK +7% และ KTB +6% ขณะที่กำไรสุทธิ 3Q24E ที่ลดลง YoY, QoQ คือ TISCO -10% YoY, -3% QoQ เพราะสำรองฯเพิ่มขึ้นตามการปล่อยสินเชื่อผลตอบแทนสูงที่เพิ่มขึ้น รองลงมาเป็น BBL -3% YoY และ -7% QoQ เพราะมีกำไรจากเงินลงทุนลดลง           ด้านสินเชื่อรวม 3Q24E ลดลง -2% YoY และ -1% QoQ เพราะสินเชื่อรายใหญ่และภาครัฐมีการชำระคืน ส่วน NPL รวมทยอยเร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ 3.19% จาก 2Q24 ที่ 3.13% แต่ยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้           ยังคงประมาณการกำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารปี 2024E/2025E อยู่ที่ 2.05 แสนล้านบาท/2.17 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น +5% YoY/+6% YoY จากสำรองฯที่ลดลงเป็นหลัก โดยคาดว่าจะมีการปรับตัวลดลง -10% YoY จากปี 2023 ที่เพิ่มขึ้น +17% YoY เพราะมีการตั้งเผื่อมาเยอะแล้ว ขณะที่คาด กนง. จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 50bps ในช่วงปลายปี 2024E-1H25E กลุ่มธนาคารปรับตัวเพิ่มขึ้น +6%/+13% ใน 3 และ 6 เดือนที่ผ่านมา เพราะ Fund flow ที่ไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง           อย่างไรก็ตาม valuation ยังน่าสนใจ เทรดที่ระดับเพียง 0.70x 2024E PBV (-1.00SD below 10-yr average PBV) Top picks เลือก KBANK และ KTB KBANK (ซื้อ/เป้า 176.00 บาท) จากคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น และ valuation ถูก โดยซื้อขายเพียง 0.65x PBV ถูกกว่ากลุ่มที่ 0.70x PBV และถูกกว่า SCB ที่ 0.80x PBV KTB (ซื้อ/เป้า 23.00 บาท) เพราะกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มสูงสุดในกลุ่มที่ +15% YoY จากสำรองฯที่ลดลง และจะเน้นการปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้น ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ

ปตท.-KBANK-ออร์บิกซ์ เทค ออกหุ้นกู้ Q-Bond ครั้งแรกในไทย ชูนวัตกรรมบล็อกเชน

ปตท.-KBANK-ออร์บิกซ์ เทค ออกหุ้นกู้ Q-Bond ครั้งแรกในไทย ชูนวัตกรรมบล็อกเชน

          ปตท. ผนึก กสิกรไทย - ออร์บิกซ์ เทค ออกหุ้นกู้ Q-Bond ครั้งแรกในไทย ชูนวัตกรรมบริหารจัดการหุ้นกู้ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน           วันนี้ (24 กันยายน 2567) – นางสาวพรรณนลิน มหาวงศ์ธิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (กลาง) พร้อมด้วย ดร.กรินทร์ บุญเลิศวณิชย์ รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย (ซ้าย) และ นายญาณวิทย์ รักษ์ศรี กรรรมการผู้จัดการ บริษัท ออร์บิกซ์ เทคโนโลยี แอนด์ อินโนเวชั่น จำกัด (ออร์บิกซ์ เทค) (ขวา) ประกาศความสำเร็จจากการที่ ปตท. ออกและเสนอขายหุ้นกู้ Q-Bond รุ่นอายุ 1 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.38% มูลค่าการเสนอขายรวม 500 ล้านบาท โดยมีธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่าย นายทะเบียน และผู้ลงทุน และมีออร์บิกซ์ เทค เป็นผู้พัฒนาและดูแลระบบแอปพลิเคชัน ภายใต้โครงการ Q-Bond (Bond data on Quarix chain) โดยเป็นการนำ Quarix Blockchain มาใช้ประกอบการทำธุรกรรมตราสารหนี้เป็นครั้งแรกของประเทศไทย ทั้งการจัดเก็บข้อมูล การคำนวณมูลค่าการจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นของตราสารหนี้ที่ผู้ลงทุนจะได้รับในวันครบกำหนดไถ่ถอน ผ่านระบบงาน Q-Bond ตลอดจนมีการนำเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Q-money) ใน Quarix Blockchain มาใช้ชำระมูลค่าตราสารหนี้ จ่ายคืนดอกเบี้ยและเงินต้น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและขั้นตอนในการทำธุรกรรม รวมถึงทำให้การจัดเก็บข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว และโปร่งใส นับเป็นความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินภายใต้กรอบ Regulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่สะท้อนภาพการเป็นผู้นำในตลาดทุนของ ปตท. และเป็นก้าวสำคัญที่ภาคธุรกิจและภาคการเงินจับมือเป็นฟันเฟืองหลักในการพัฒนาตลาดทุนไทยให้เดินหน้าสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างทัดเทียมระดับสากลต่อไป

ดัชนีหุ้นไทยปีหน้า 1,630 จุด KBANK-CPN-SIRI น่าสน

ดัชนีหุ้นไทยปีหน้า 1,630 จุด KBANK-CPN-SIRI น่าสน

          หุ้นวิชั่น -CGSI ปรับเพิ่มเป้า SET Index ปีนี้เป็น 1,480 จุด พร้อมคาดปีหน้าอยู่ที่ 1,630 จุด           ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงานว่า บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CGSI ปรับเพิ่มเป้าหมาย SET Index ปีนี้เป็น 1,480 จุด จากเดิม 1,420 จุด มองหุ้นไทยจะมีแรงหนุนจากแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในไทยและสหรัฐฯ เร็วกว่าคาด และเงินบาทน่าจะแข็งค่าขึ้นอีก ขณะที่คาด SET Index ปี 68 จะอยู่ที่ 1,630 จุด           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 50bp เมื่อวันที่ 18 ก.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่ Bloomberg consensus คาดว่า Fed จะปรับลดดอกเบี้ยอีก 25-50bp และ 25-50bp ในการประชุมสองครั้งถัดไป คาดว่าจะมีเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นไทยมากขึ้น ขณะเดียวกันมองว่าการที่เศรษฐกิจไทยอ่อนตัวและเงินบาทแข็งค่า น่าจะทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25bp เป็น 2.25% ในการประชุมวันที่ 16 ต.ค.67 นี้           เชื่อว่าการที่เงินลงทุนจากต่างประเทศมีแนวโน้มไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นไทยมากขึ้น จะเป็นผลดีกับหุ้น big cap เช่น หุ้นในกลุ่มธนาคารและกลุ่มอุปโภคบริโภค จึงเพิ่มหุ้น KBANK และ CPN เข้ามาอยู่ในรายชื่อหุ้น Top pick นอกจากนี้มองว่า sentiment ของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์น่าจะดีขึ้น จึงได้เพิ่มหุ้น SIRI เข้ามาในรายชื่อหุ้น Top pick ด้วยเช่นกัน           อย่างไรก็ตาม คาดว่าเงินบาทไทยน่าจะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในกลุ่มส่งออก, กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI เชื่อว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/67 อาจชะลอตัวกว่าที่คาดการณ์ เพราะโครงการดิจิทัลวอลเล็ตเฟส 2 ของรัฐบาล วงเงินประมาณ 3 แสนล้านบาท น่าจะต้องเลื่อนไปเป็นปีหน้า อย่างไรก็ตามแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในไทยและสหรัฐฯเร็วกว่าคาด และการที่เงินบาทน่าจะแข็งค่าขึ้นอีก ในปี 67-68 จึงปรับเพิ่มเป้าดัชนี SET สิ้นปี 67 นี้เป็น 1,480 จุด เท่ากับ P/E 16 เท่าในปี 68 หรือ -0.75SD ของค่าเฉลี่ย 10 ปี จากเดิม 1,420 จุด เท่ากับ P/E 15 เท่าในปี 68 , - 1SD ของค่าเฉลี่ย 10 ปี           ขณะที่สิ้นปี 68 นั้น มองเป้าหมายดัชนี SET อยู่ที่ 1,630 จุด เท่ากับ P/E 16 เท่าในปี 69 หรืออยู่ที่ -0.75SD ของค่าเฉลี่ย 10 ปีเช่นกัน สำหรับรายชื่อหุ้น Top pick ประกอบด้วย AMATA, BBL, BCH, CBG, CPALL, CPN, CRC, KBANK, KLINIQ, PTTEP และ SIRI

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456