ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#JMT


แนวคิด “ซื้อลูกหนี้ประชาชน”  ทำไม JMT ถึงได้ประโยชน์?

แนวคิด “ซื้อลูกหนี้ประชาชน” ทำไม JMT ถึงได้ประโยชน์?

          หุ้นวิชั่น - จับตา “ซื้อลูกหนี้ประชาชน” ออกจากระบบธนาคาร ซึ่งหากโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ให้น้ำหนักกรณีที่รัฐบาลเปิดโอกาสในการซื้อหนี้เพิ่มเติม หรือว่าจ้างเอกชนในการบริหาร เนื่องจากการสนับสนุนในรูปแบบดังกล่าว มีความเสี่ยงที่รัฐได้รับและต้นทุนด้านนโยบายสูงกว่ากรณีที่รัฐบริหารเอง โดยปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนในแง่ของนโยบาย จึงต้องติดตามในระยะถัดไป คงน้ำหนัก Neutral กลุ่มบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และเลือก JMT (Trading Buy, TP 15.60 บาท) เป็นหุ้นเด่น ประเด็น           บทวิเคราะห์ บล. กรุงศรี ระบุว่า แนวคิด “ซื้อลูกหนี้ประชาชน” ออกจากระบบธนาคาร จากภาครัฐเสนอให้มีการซื้อหนี้ของประชาชนทั้งหมดออกจากระบบธนาคาร แล้วให้ประชาชนค่อยๆ ผ่อนชำระในอัตราที่ลดลง พร้อมล้างประวัติเครดิตบูโร โดยอาศัยการลงทุนจากภาคเอกชน เพื่อลดการใช้งบประมาณของรัฐ           ปัจจุบันมีแนวทางที่อาจเป็นไปได้ 3 กรณี i) ให้ภาคเอกชนที่สนใจเข้ามาร่วมลงทุนและบริหาร NPLs ii) อาศัยรัฐวิสาหกิจเป็นหน่วยงานกลาง (อาทิ BAM หรือ SAM) ในการซื้อหนี้เสีย โดยบริหารหนี้ Secured NPLs เอง และว่าจ้างบริษัทเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญติดตามหนี้ Unsecured NPLs (เนื่องจาก BAM และ SAM ไม่มีความชำนาญในธุรกิจดังกล่าว) iii) จัดตั้งหน่วยบริหาร NPLs ขึ้นมาโดยเฉพาะซึ่งจะดำเนินการร่วมกันระหว่างสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นเจ้าของหนี้ และรัฐบาลช่วยในการบริหาร           บล. กรุงศรี มองเป็น Sentiment บวกเล็กน้อยต่อกลุ่ม AMC เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนในแง่ของนโยบาย แต่จากทั้ง 3 กรณีมองได้ในลักษณะ           กรณีที่ 1 เปิดโอกาสในการซื้อหนี้เพิ่มเตมแก่เอกชน โดยให้การสนับสนุนอาทิ ซื้อหนี้ Unsecured NPLs ได้ในราคาต่ำที่ 5% ของมูลหนี้ หรือให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับการซื้อหนี้เพื่อเป็น Incentive ในการซื้อหนี้ที่อาจเก็บยากกว่าปกติเนื่องจากเป็น NPLs คงค้างในระบบมานาน            กรณีที่ 2 รัฐว่าจ้าง AMC ที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารหนี้เสีย จะเป็นบวกกับกลุ่ม AMC โดยเฉพาะกลุ่มติดตามทวงถามหนี้ Unsecured NPLs (JMT, CHAYO) เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีรัฐวิสาหกิจที่เชี่ยวชาญด้านนี้ เนื่องจาก BAM และ SAM เน้นหนี้ Secured NPLs ซึ่งหากอิงบนยอดหนี้กลุ่มคนที่มีหนี้ไม่มีหลักประกันต่อคน < 1 แสนบาทที่ 35% ของหนี้ NPLs ราว 1.2 ล้านล้านบาท (ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ, NESDC) คิดเป็นมูลค่า 4.2 แสนล้านบาท และโดยทั่วไปธุรกิจติดตามทวงถามหนี้ Unsecured จะได้รับค่า Commission ราว 5-10% ของหนี้ที่ติดตามได้            กรณีที่ 3 รัฐบริหารเองหรือตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่เพื่อบริหารหนี้ดังกล่าว คาดเป็นผลลบจากการเพิ่มการแข่งขันในกลุ่ม AMC ซึ่งอาจทำให้ปริมาณ NPL ที่ซื้อได้มีโอกาสลดลง           หากโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นจริง เรามองน้ำหนักกรณีที่ 1 > กรณีที่ 2 > กรณีที่ 3 เนื่องจากกรณีที่ 1 รัฐได้รับความเสี่ยงต่ำกว่าอีก 2 กรณีซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากรัฐวิสาหกิจ และรัฐต้องร่วมแบกความเสี่ยงในการบริหารหนี้เสียเอง           คงน้ำหนัก Neutral กลุ่มบริหารสินทรัพย์ ระยะสั้นยังคงชอบธุรกิจบริหารสินทรัพย์ซึ่งมีสัดส่วนรายได้จากหนี้ Unsecured NPLs เป็นหลักจากแนวโน้ม Cash collection ที่ฟื้นตัวต่อเนื่องติดต่อกัน 2 ไตรมาส และคงมุมมองระมัดระวังต่อกลุ่มบริหารหนี้ที่มีสัดส่วนรายได้จาก Secured NPLs            เลือก JMT (Trading Buy, TP 15.60 บาท) เป็นหุ้น Top pick กลุ่มฯ โดยปัจจุบันหุ้นซื้อขายบน PBV 0.7x ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง -1.5SD จึงเป็นโอกาสเก็งกำไรจากปัจจัยบวกข้างต้น

JMT ออกหุ้นกู้ ดอกเบี้ย 4.90%  คืนหุ้นกู้เดิม-เสริมแกร่งธุรกิจ

JMT ออกหุ้นกู้ ดอกเบี้ย 4.90% คืนหุ้นกู้เดิม-เสริมแกร่งธุรกิจ

          บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT เตรียมออกและเสนอขายหุ้นกู้ระยะยาว ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ครั้งที่ 1/2568 อายุ 2 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.90% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก ๆ 3 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ มูลค่าการเสนอขายรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1,700 ล้านบาท เสนอขายระหว่างวันที่  11 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2568 นี้ แก่ผู้ลงทุนทั่วไปและผู้ลงทุนสถาบัน เพื่อนำเงินไปชำระคืนหุ้นกู้เดิม (Roll-Over) และเสริมความสามารถในการเข้าซื้อหนี้ด้อยคุณภาพจากบริษัท/สถาบันการเงินเข้ามาบริหาร           สำหรับหุ้นกู้ดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในกลุ่มน่าลงทุนหรือ Investment Grade ที่ระดับ “BBB+” แนวโน้ม “Negative”  จากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 อันดับเครดิตองค์กรของ JMT อยู่ในระดับเท่ากับอันดับเครดิตองค์กรของ JMART ซึ่งสะท้อนถึงสถานะของบริษัทที่เป็นบริษัทลูกหลัก (Core Subsidiary) ของ JMART โดยเป็นไปตาม “เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตกลุ่มธุรกิจ” ของทริสเรทติ้ง ทั้งนี้ JMT มีบทบาทสำคัญต่อกลุ่มเจมาร์ท (JMART Group) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจด้านการเงิน โดยบริษัททำหน้าที่เป็นแกนหลักที่ช่วยสนับสนุนผลการดำเนินงานของธุรกิจการเงินอื่น ๆ ภายในกลุ่ม           ด้าน นายสุทธิรักษ์ ตรัยชิรอาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวว่า “เราเชื่อว่า การออกและเสนอขายหุ้นกู้ครั้งนี้ ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทในหลายด้าน โดยเฉพาะ การคืน Roll-over หุ้นกู้ เพื่อสร้างเสถียรภาพด้านกระแสเงินสดไว้สำหรับการขยายพอร์ตบริหารหนี้ ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงและต่อเนื่อง อีกทั้ง จากภาพรวมผลการดำเนินงานที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น และแนวโน้มการเติบโตในอนาคต จะสนับสนุนให้ JMT ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการจากบริษัทจัดอันดับเครดิต ทริสเรทติ้ง จำกัด ซึ่งคาดจะมีการประกาศการจัดอันดับความน่าเชื่อถือประจำปี เร็วๆ นี้”           โดย JMT ตั้งเป้าปี 2568 กำไรเติบโตจากปีที่ผ่านมา พร้อมวางงบลงทุนในการซื้อหนี้ด้อยคุณภาพ จำนวน 2,000 ล้านบาท (เทียบกับ 1,139 ล้านบาทในปี 2567) อีกทั้งยังรุกตลาด InsurTech ซึ่งมีศักยภาพเติบโตสูง เพื่อสร้างการขยายตัวอย่างยั่งยืนและเสริมพอร์ตธุรกิจให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ทั้งนี้ หุ้นกู้ JMT มีผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ผ่าน บริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำ 13 แห่ง ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด โทร.02-680-4004 บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) โทร. 02-820-0100 บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โทร. 02-658-5050 บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน) โทร. 02-660-6688 บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์ จำกัด โทร. 02-249-2999 บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โทร. 02-351-1800 บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โทร. 02-658-8945 บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด โทร. 02-009-8351-6 บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จำกัด โทร. 02-695-5555 บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด โทร. 02-846-8675 บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด โทร. 02-687-7543 บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) โทร 02-205-7000 ต่อ 7387 บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โทร.02-659-5272-75 ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่สนใจหุ้นกู้ของบริษัท สามารถติดต่อผ่านผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ผ่าน บริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำที่ได้ระบุไว้ตามข้างต้น

JMART จับมือ JMT คว้ามาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022

JMART จับมือ JMT คว้ามาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022

           บริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (JMART)  และ บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) (JMT) รับมอบประกาศนียบัตรผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022 ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับสากลที่กำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล (Information Security Management System - ISMS) ครอบคลุมการระบุความเสี่ยง, ป้องกันข้อมูลรั่วไหล, รับมือภัยคุกคามไซเบอร์ และบริหารช่องโหว่ของระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีและภัยคุกคามไซเบอร์ที่เปลี่ยนแปลงไปในโลกธุรกิจยุคดิจิทัล ซึ่งออกโดย บริษัท บีเอสไอ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด (British Standards Institution : BSI) องค์กรชั้นนำด้านมาตรฐานระดับโลก            นายเอกชัย สุขุมวิทยา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทเจมาร์ท กล่าวว่า “การได้รับมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022 สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ JMART และ JMT ในการทรานส์ฟอร์มองค์กร โดยมุ่งเน้น Fin Tech - Commerce Tech และ InsurTech ด้วยจุดมุ่งหมายในการขับเคลื่อนธุรกิจภายในกลุ่มเจมาร์ทสู่ดิจิทัลเฟิรส์ (Digital First) โดยการใช้เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มมากขึ้น อาทิ ปัจจุบันเรามีระบบ One ID ให้ลูกค้ายืนยันตัวตนรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ รองรับธุรกรรมการซื้อ-ขาย ในแบบ Digital First และมีคนลงทะเบียนในระบบแล้วกว่า 2 ล้านคน ซึ่งตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ลูกค้าได้ว่า เรามีการป้องกันความเสี่ยงข้อมูลของลูกค้าในระดับสูงสุด ”            นายปิยะ พงษ์อัชฌา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทเจมาร์ท และประธานกรรมการบริหาร บมจ.เจเอ็มที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส  กล่าวเสริมว่า “JMT เป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพรายใหญ่ของประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาการจัดการข้อมูลลูกค้าด้วยความปลอดภัยของข้อมูลในระดับสูงสุด สำหรับปีนี้ ปักธงขยายตลาด InsurTech และแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับประกันภัย ดังนั้น  การได้รับมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022 จะสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าข้อมูลทั้งหมดของบริษัทอยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานระดับสากล และช่วยให้บริษัทสามารถขยายบริการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น”

สรุปงบกลุ่ม JMART ปี 2567

สรุปงบกลุ่ม JMART ปี 2567

           บริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (JMART) รายงานผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจากงบการเงินรวมประจำปี 2567 บริษัท มีผลกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้น 1,140.8 ล้านบาท ปรับสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาเท่ากับ 355% ซึ่งแสดงถึงผลการดำเนินงานของบริษัทได้กลับเข้าสู่สภาวะของการเติบโตในการดำเนินงาน            กลุ่มบริษัทเจมาร์ท ยังคงดำเนินธุรกิจภายใต้การดำเนินงานร่วมกันของกลุ่มบริษัทย่อยและร่วม โดยมี 4 สายธุรกิจหลัก ที่เน้นการประกอบธุรกิจในธุรกิจค้าปลีกและการเงินด้วยเทคโนโลยี ภายใต้ปณิธานของการดำเนินงานในแนวคิด “The Power of Synergy” ซึ่งเป็นกลยุทธ์หลักที่สำคัญที่จะสร้างระบบนิเวศในการดำเนินงาน (Ecosystem) เพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น            ทั้งนี้ ธุรกิจจัดจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์เสริม ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท เจมาร์ท โมบาย จำกัด (“เจมาร์ท โมบาย”) ในปี 2567 ที่ผ่านมา มีจำนวนสาขาที่เปิดทั่วประเทศจำนวน 309 สาขา มียอดขายลดลง 1% จากปีที่ผ่านมา โดยมียอดขายอยู่ที่ระดับ 8,605 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิเท่ากับ 90 ล้านบาท เนื่องจากสภาวะของการแข่งขั้นและสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่กำลังซื้อยังมีการชะลอตัว            บริษัทฯ ยังคงมีมุมมองในเชิงบวกต่อทิศทางของผลการดำเนินงานในปี 2568 ต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมียอดขายที่สูงกว่าปี 2567 ที่ผ่านมา เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีจาก Smart Phone ไปสู่ AI Smart Phone ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านของการใช้มือถือที่มีสมรรถภาพทางด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มากขึ้น ประกอบกับการร่วมมือกับบริษัทในกลุ่มในการผลักดันยอดขายผ่านสินเชื่อมือถือ Locked Phone ทั้งในส่วนของ Samsung Finance+ โดยบริษัท เคบีเจ แคปิตอล จำกัด และ SG Finance+ โดยบริษัท เอสจี แคปิตอล จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ คาดหวังว่านโยบายการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐจะเพิ่มยอดขายให้ภายในปี 2568 นี้            ธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท เจเอ็มที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) (JMT) ยังคงเป็นธุรกิจที่มีผลประกอบการที่น่าพอใจอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2567 ที่ผ่านมามีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 1,615.2 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้า 19.7% ซึ่งเป็นผลจากการที่บริษัทมีการตั้งสำรอง Expected Credit Loss ที่เพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บหนี้ที่น้อยกว่าประมาณการ โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 อย่างไรก็ตามฝ่ายบริหารของเจเอ็มทีได้ปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจโดยการเพิ่มมาตรการในการติดตามหนี้ด้อยคุณภาพให้ใกล้ชิดมากขึ้น ทำให้ตั้งแต่ไตรมาส 3/2567 เป็นต้นมา ระดับของ ECL ที่ต้องสำรองลดลงอย่างชัดเจน และมีการจัดเก็บหนี้คุณภาพที่ดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งปี 2568 เจเอ็มที คาดว่าจะมีระดับของ ECL ที่อยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ และทิศทางเช่นเดียวกับในไตรมาส 3 และ 4 ของปี 2567            ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท เจเอเอส แอสเซ็ท จำกัด (มหาชน) (J) มีผลการดำเนินงานในปี 2567 มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 165.6 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้า 14% เนื่องจากรายการปรับมูลค่ายุติธรรมที่ลดลง โดยในปี 2567 ที่ผ่านมา บริษัทไม่มีการเปิดตัวของโครงการศูนย์การค้าชุมชนที่มีขนาดใหญ่เทียบเท่ากับปี 2566 ที่ผ่านมา โดยเจเอเอสเปิดศูนย์การค้าได้ตามเป้าหมายจำนวน 2 ศูนย์การค้า ด้วยกันคือ JAS Green Village ประเวศ และ JAS Green Village รามคำแหง ซึ่งทำให้ปัจจุบันเจเอเอสมีศูนย์การค้าชุมชนภายใต้การบริหาร 8 ทำลทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้งนี้ สำหรับปี 2567 ที่ผ่านมา บริษัทเน้นรักษากระแสเงินสดพร้อมกับการปรับปรุงโครงการของศูนย์การค้าเดิม ซึ่งได้เห็นผลอย่างชัดเจนที่ศูนย์การค้า JAS Green Village อมตะ ที่มีผู้เช่ารายใหญ่และรายย่อยเข้ามาเช่าพื้นที่ทำให้โครงการศูนย์การค้ามีอัตราการเช่าที่ดีขึ้น และในช่วงปลายปี 2567 ที่ผ่านมา โครงการ The JAS รามอินทราได้เปิดตัว Supermarket โดย Big C ได้เข้ามาเปิด Big C Food Place ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้าจากชุมชนใกล้เคียง ในปี 2568 J มุ่งเน้นไปที่การสร้างรายได้ส่วนเพิ่ม โดยที่จะมีมูลค่าการลงทุนขนาดใหญ่ที่ลดลง และสร้างอัตรากำไรเพิ่มจากอสังหาริมทรัพย์ที่มีศักยภาพภายใต้การบริหารของบริษัท            ธุรกิจประกันภัย ภายใต้บริษัทย่อยของเจเอ็มที ภายใต้ชื่อบริษัท เจมาร์ท ประกันภัย จำกัด (มหาชน) สำหรับปี 2567 มีรายได้ 227.2 ล้านบาท ลดลง 89.1 ล้านบาท หรือลดลง 28.2% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากบริษัทฯ ได้พิจารณาการรับประกันภัยโดยพิจารณาถึงความเสี่ยงของประกันภัยเพื่อควบคุม Loss Ratio            ขณะที่ บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อยประจำปี 2567 งบการเงินรวมมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทฯ 1,615.2 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 เท่ากับ 395.5 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิเท่ากับ ร้อยละ 30.9 ส่วนรายได้รวมสำหรับปี 2567 เท่ากับ 5,225.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 139.3 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 2.7            ด้าน บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SINGER สำหรับไตรมาสสุดท้ายของเดือนธันวาคม กลุ่มบริษัทฯ มีกำไรสุทธิของบริษัทใหญ่จำนวน 14 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,224 ล้านบาท จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีผลขาดทุน 3,210 ล้านบาท เนื่องจากในปี 2567 กลุ่มบริษัทฯ มีการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตในธุรกิจสินเชื่อของบริษัทย่อย และการตั้งสำรองการลดลงของมูลค่าสินค้าในบริษัท รวมทั้งสินค้าล้าสมัยในสินค้าคงเหลือลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับปีก่อน            ด้านบริษัท เจเอเอส แอสเซ็ท จำกัด (มหาชน)หรือ J สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อยประจำปี 2567 มีกำไรสุทธิ 165.6 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 14 โดยสาเหตุหลักที่บริษัทมีกำไรสุทธิลดลง เนื่องจาก รายการกำไรสุทธิจากการปรับมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนลดลง จากคอมมูนิตี้มอลล์ใหม่ของบริษัทฯ ที่ทำการเปิดศูนย์การค้า JAS Green Village ประเวศ ในไตรมาสที่ 2/2567 และ JAS Green Village รามคำแหง ในไตรมาสที่ 3/2567 ซึ่งมีมูลค่าของโครงการขนาดเล็กกว่าปี 2566 รวมถึง ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เพิ่มสูงขึ้น            นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมา บริษัทได้มุ่งเน้นไปที่ การพัฒนาศูนย์การค้าเดิมให้มีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึง ปรับเปลี่ยนผู้เช่ารายหลักในบางศูนย์การค้า ที่เปิดดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว เพื่อเพิ่มสีสันและความน่าสนใจให้กับลูกค้าในแต่ละศูนย์ ขณะที่บริษัท เอสจี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)หรือSGC สำหรับปี 2567 บริษัทมีกำไรสุทธิ จำนวน 162.7 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2566 บริษัทมี ขาดทุนสุทธิ จำนวน 2,275.2 ล้านบาท            กำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจาก นโยบายการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้น และ การติดตามหนี้เชิงรุก ทำให้ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลง รวมถึง การเติบโตของรายได้ดอกเบี้ยรับจากพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อโทรศัพท์มือถือ (Lock Phone)นอกจากนี้ การควบคุมค่าใช้จ่าย และการชำระคืนเงินกู้ยืมบางส่วน ทำให้ ดอกเบี้ยจ่ายลดลง ส่งผลให้ในปี 2567 บริษัทมี อัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ร้อยละ 8.3            และบริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด (สุกี้ ตี๋น้อย หรือ Suki Teenoi) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 Suki Teenoi มีสาขาทั้งหมด 78 สาขา, Teenoi BBQ (บุฟเฟต์ปิ้งย่าง) 1 สาขา, และ Teenoi Express (บุฟเฟต์พรีเมียม) 1 สาขา ในปี 2567 Suki Teenoi ได้เปิดสาขาเพิ่มขึ้น 23 สาขา โดยบางส่วนได้เริ่มขยายไปยัง ต่างจังหวัด เช่น ชลบุรี, ระยอง, สุพรรณบุรี, มหาสารคาม, อุดรธานี และเชียงใหม่ ซึ่งเป็นทำเลที่มีลูกค้าเข้าใช้บริการหนาแน่น ด้วยแนวคิด การให้บริการที่เข้าถึงความต้องการของลูกค้า ที่ต้องการทาน สุกี้-ชาบู ในราคาคุ้มค่า ทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างดี            สำหรับปี 2567 ที่ผ่านมา บริษัทได้รับส่วนแบ่งกำไรจากการถือหุ้น Suki Teenoi ในสัดส่วนร้อยละ 30 เท่ากับ 350.7 ล้านบาท จากผลกำไรสุทธิรวม 1,169 ล้านบาท (ไม่รวมการปันส่วนราคาซื้อ (PPA))            นอกจากนี้ บริษัทได้ดำเนินกิจกรรมทางการตลาดร่วมกับ กลุ่มบริษัทเจมาร์ท เช่น การนำคะแนนสะสมมาแลกเป็นค่าบุฟเฟต์ ตามที่กำหนด รวมถึงยังมีแผนร่วมมือกันในการเปิดร้าน Teenoi BBQ ในศูนย์การค้าของ JAS Asset ซึ่งได้เปิดไปแล้ว 1 สาขาที่ Jas Green Village คู้บอน เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

9 หุ้นแกร่ง ลุ้นรีบาวน์แรง รับ Cover Short

9 หุ้นแกร่ง ลุ้นรีบาวน์แรง รับ Cover Short

หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.กรุงศรี ระบุ บรรยากาศลงทุน SET ที่เริ่มฟื้นตัวจากโซนลงทุน จากความคาดหวังเชิงบวกการกลับมาDomestic Long Term Fund ประเมินมีหุ้นอีกชุด Underperform SET และถูก Short สูงมีโอกาสรีบาวน์แรงจากการเร่ง Cover Short ภายใต้เกณฑ์ ผลตอบแทน YTD เคลื่อนไหว Underperform SET100 ที่ YTD ให้ผลตอบแทน -7.3% ยอด Short Sales สูงกว่าค่าเฉลี่ยหุ้นใน SET100 ที่ 0.64% ของทุนชำระแล้ว อิงเกณฑ์ดังกล่าว ผสาน องค์ประกอบที่เป็นหุ้นที่มีความแข็งแกร่งระดับหนึ่งในทางพื้นฐานและมีปัจจัยหนุนรออยู่ ได้ 9 บริษัทที่เหมาะกับการลงทุนลุ้นรีบาวน์แรงดังนี้           BGRIM (YTD -32.8%, Short Sales 1.19%) กระแสเทคโนโลยีระยะนี้กลับมาเด่น คาดมีโอกาสหนุนหุ้นโรงไฟฟ้าที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลัก           OSP (YTD -27.9%, Short Sales 1.51%) เตรียมรับช่วงหน้าร้อน มี.ค.- เม.ย.68           SPRC (YTD -22.9%, Short Sales 1.59%) ค่าการกลั่นเช้าวันนี้เร่งขึ้นสู่ 4.07 เหรียญฯ +22.6%d-d           JMT (YTD -21.98%, Short Sales 0.97%) งบ 4Q24 มีสัญญาณ Cash Collection ฟื้นตัว q-q           BANPU (YTD -21.7%, Short Sales 1.26%) มีโอกาสได้รับประโยชน์ทางบวกธุรกิจในสหรัฐฯ           COM7 (YTD -17.3%, Short Sales 0.78%) คาดยอดจับจ่ายปลายปี-ต้นปีคึกคักต่อเนื่องตามฤดูกาล + มาตรการกระตุ้นรัฐฯ           WHA (YTD -16%, Short Sales 1.13%) หุ้นนิคมมีสัญญาณบวก FDI เร่งต่อเนื่อง ผสาน จิตวิทยาบวก Trade Tension เข้ามาเป็นระยะๆ           BH(YTD -12.3%, Short Sales 1.1%) ภาพใหญ่สังคมสูงวัยไม่เปลี่ยน ขณะที่หุ้นถูกกดันจากปัจจัยลบชั่วคราว           KCE (YTD -11.8%, Short Sales 2.15%) แรงกดดันอุตสาหกรรมยานยนต์บรรเทาลง โดยเฉพาะล่าสุดภาษีเท่าเทียม เตรียมยกเว้นสินค้ายา+ยานยนต์ เชิงกลยุทธ์ แนะนำเก็งกำไรหุ้นชุดดังกล่าว BGRIM, OSP, SPRC, JMT, BANPU, COM7, WHA ,BH, KCE ลุ้นรีบาวน์แรงจากการเร่ง Cover Short

JMT กำไรค่อยๆ ฟื้นตัว โบรกฯ เคาะเป้าใหม่ 15.6 บ.

JMT กำไรค่อยๆ ฟื้นตัว โบรกฯ เคาะเป้าใหม่ 15.6 บ.

         หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.กรุงศรี ระบุ บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) (JMT) รายงานกำไรสุทธิ JMT ใน 4Q67 อยู่ที่ 400 ล้านบาท (-26% y-y, -7% q-q) หากถอดรายการพิเศษจากการด้อยค่า Goodwill ของบริษัทย่อยออก กำไรปกติใน 4Q67 จะอยู่ที่ 456 ล้านบาท (-16% y-y, +6% q-q) ลดลง y-y จากการที่ Gross margin ตกลงจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเร่งรัดติดตามทวงหนี้ที่เพิ่มขึ้นจากสภาวะเศรษฐกิจ ทว่ากำไรฟื้นตัว q-q จาก ECL ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (-52% y-y, -52% q-q) สอดคล้องกับการฟื้นตัวของ Cash collection (-4% y-y, +5% q-q) โดยกำไรปกติใน FY24 อยู่ที่ 1,675 ล้านบาท คิดเป็น 100% ของประมาณการทั้งปี และใน FY24 JMT ซื้อหนี้ได้ราว 1.1 พันล้านบาท          ปรับกำไรสุทธิปี 68-69 ลงเฉลี่ย 15% CAGR ตามปัจจัยดังนี้ 1. ลดปริมาณซื้อหนี้ในปี 68-69 ลงมาอยู่ที่ 2,000 ล้านบาทต่อปี (จากเดิม 4,000 ล้านบาท และ 5,000 ล้านบาทตามลำดับ)โดยคาดว่าการขยายกรอบเวลานโยบาย "คุณสู้เราช่วย" ของ BOT จะทำให้การซื้อหนี้ชะลอตัวลง 2. ลด Cash collection ในปี 68-69 ลงเฉลี่ย 11% ตามการเติบโตของมูลหนี้ที่ชะลอลง 3. ปรับลดส่วนแบ่งกำไรจาก JK ลงเฉลี่ย 19% ในทิศทางเดียวกับ Cash collection โดยกำไรปี 68 คาดจะอยู่ที่ 1,700 ล้านบาท (+9% y-y)          คาดกำไรปกติใน 1Q68 จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย y-y ตามทิศทาง ECL ที่ลดลง และลดลง q-q จากฤดูกาล ซึ่งโดยทั่วไปไตรมาสที่ 4 จะเป็นจุดสูงสุดของปี          คงคำแนะนำ "Trading Buy" โดยตั้งราคาเป้าหมายใหม่ที่ 15.6 บาท บน PBV25F ที่ 0.8x อิงค่าเฉลี่ยย้อนหลัง -1.5SD โดย JMT ประกาศจ่ายปันผลงวด 2H67 อีก 0.28 บาท XD วันที่ 25 กุมภาพันธ์ รวมเป็น Dividend yield ปี 67 ราว 5%

[Vision Exclusive] JMT ปี68 ลุ้นงบนิวไฮ ซื้อหนี้กว่า 1หมื่นล้าน

[Vision Exclusive] JMT ปี68 ลุ้นงบนิวไฮ ซื้อหนี้กว่า 1หมื่นล้าน

          หุ้นวิชั่น - JMT คาดกำไรปี 68 ฟื้นตัวใกล้เคียงปี 66 ผลงานทำนิวไฮ เตรียมงบ 2,000 ล้านบาทเพื่อซื้อหนี้รายย่อยไม่มีหลักประกันมูลค่ารวม 10,000 ล้านบาทในครึ่งปีหลัง พร้อมยกระดับการจัดเก็บหนี้ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยและการจัดการแบบครบวงจร มั่นใจเสริมศักยภาพบริหารพอร์ตหนี้กว่า 530,000 ล้านบาท           นายสุทธิรักษ์ ตรัยชิรอาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT เปิดเผยถึงแนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 4/2567 ซึ่งจะมีการรายงานประมาณวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568 โดยระบุว่าผลประกอบการในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2567 ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าในปี 2568 บริษัทจะสามารถกลับมาทำกำไรในระดับปกติ ใกล้เคียงกับผลประกอบการในปี 2566 (2023)หรือมีทำสถิติสูงสุดใหม่ได้           สำหรับปี 2568 บริษัทได้ตั้งเป้าหมายการเติบโตโดยเน้นการซื้อหนี้กลุ่มลูกหนี้รายย่อยที่ไม่มีหลักประกัน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดี โดย JMT ได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการซื้อหนี้ในปี 2568 ไว้ที่ 2,000 ล้านบาท และคาดว่าจะสามารถซื้อหนี้ได้มูลค่ารวมถึง 10,000 ล้านบาท ซึ่งการซื้อหนี้ดังกล่าวคาดว่าจะเริ่มต้นขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2568 เป็นหลัก เนื่องจากในช่วงครึ่งปีแรกอาจมีโครงการช่วยเหลือจากภาครัฐ เช่น โครงการ "คุณสู้ เราช่วย" ที่จะช่วยบรรเทาภาระของลูกหนี้ และอาจทำให้ตลาดยังไม่เห็นการขายหนี้ออกมาในช่วงเวลาดังกล่าว           นายสุทธิรักษ์ ยังระบุเพิ่มเติมว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2568 บริษัทจะเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยเฉพาะในเรื่องของการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) และการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการจัดเก็บหนี้ ด้วยความเชี่ยวชาญของ JMT ในการบริหารจัดการหนี้ ทำให้บริษัทมีพอร์ตหนี้ภายใต้การบริหารจัดการกว่า 530,000 ล้านบาท           JMT มุ่งมั่นพัฒนากระบวนการจัดเก็บหนี้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในกระบวนการจัดเก็บหนี้ ตั้งแต่การรวมหนี้ การแก้ปัญหาให้ลูกหนี้แบบครบวงจร ไปจนถึงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลลูกหนี้ที่ทันสมัย เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลลูกหนี้ได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น และช่วยเพิ่มโอกาสในการจัดเก็บหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ           ด้วยกลยุทธ์ดังกล่าว บริษัทมั่นใจว่า JMT จะสามารถสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน และเพิ่มความมั่นคงในผลประกอบการได้อย่างต่อเนื่องในปี 2568 ซึ่งจะช่วยเสริมความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและผู้ถือหุ้นในระยะยาวต่อไป

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

JMART - JMT ปี 68 ลุยธุรกิจเติบโตแกร่ง  ดันแผน New S-Curve CommerceTech และ Fintech

JMART - JMT ปี 68 ลุยธุรกิจเติบโตแกร่ง ดันแผน New S-Curve CommerceTech และ Fintech

          หุ้นวิชั่น - บมจ. เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (JMART) พร้อมลุยธุรกิจเต็มพิกัดรับปีมะเส็ง เดินหน้าตามกลยุทธ์ CommerceTech - Fin Tech  ผนึกกำลัง Synergy ธุรกิจค้าปลีก การเงิน และเทคโนโลยี มี Ecosystem ที่ครบวงจร วางเป้ากำไรปี 68 เติบโตจากปี 67 เดินหน้าทรานส์ฟอร์มองค์กร ผลงานพลิกฟื้นตามนัด มองเทคโนโลยี คือ จุดเปลี่ยนเกมส์ธุรกิจ เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน โดย บริษัท เจเวนเจอร์ส จำกัด เตรียมเผยข่าวดีเร็วๆ นี้ อย่างไรก็ดี จากสถานการณ์ของราคาหุ้นที่ปรับลดลง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการจำนำหุ้นแต่อย่างใด           ด้าน บมจ.เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส (JMT) อภิชาตบุตรในการเติบโตของ JMART ส่งสัญญาณปีนี้ ธุรกิจบริหารหนี้ยังแข็งแกร่ง ผลจากการปรับกลยุทธ์การติดตามลูกค้าอย่างใกล้ชิดทำให้ ช่วงที่ผ่านมา ลูกหนี้มีอัตราเร่งลูกค้าปิดบัญชี และกระแสเงินสดเข้ามาปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ หนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) ในระบบยังมีอีกจำนวนมาก ข้อมูลจากเครดิตบูโร ระบุ ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 67 พบหนี้เสีย (NPL) แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จึงมองเป็นโอกาสของ JMT เข้ามาช่วยบริหารจัดการหนี้เสียจากสถาบันการเงิน แก้ปัญหาลูกหนี้ที่ประสบปัญหาการปรับโครงสร้างหนี้ให้กลับคืนสู่ระบบ สร้างการเติบโตไปพร้อมเศรษฐกิจที่ยั่งยืน โดยตั้งเป้าปี 68 งบลงทุนซื้อหนี้ไว้เบื้องต้น 2,000 ล้านบาท

JMTผลงานโตเด่น จับตาโค้งท้ายพีค แนะ

JMTผลงานโตเด่น จับตาโค้งท้ายพีค แนะ "ซื้อ" เป้า 21.6 บาท

หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) ผลประกอบการจะเติบโตโดดเด่นในปี 25F โดยสิ้นงวด ก.ย. 24 JMT มีพอร์ตหนี้เสียในมูลค่ารวม 534,864 ล้านบาท โดย 87% เป็น Unsecured NPL และ 13% เป็น Secured NPL ขณะที่การซื้อหนี้ 9M24 มีเพียง 807 ล้านบาท เทียบกับ 9M23 ที่ใช้เงินซื้อ 6,380 ล้านบาท เราแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 21.6 บาท          โดยมองว่าผลประกอบการใน 4Q24F จะเป็นช่วงพีคที่สุดของปีโดยปี 24F ประเมินกำไรสุทธิที่ 1.66 พันล้านบาท -16% YoY ชะลอตัวลงจาก 1.การเพิ่มค่าใช้จ่ายเพื่อปรับปรุงกระบวนการติดตามหนี้ราว 500 ล้านบาท ในช่วงมิ.ย. เป็นต้นมา เพื่อลดค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองในระยะยาว ค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองที่ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการจัดเก็บหนี้ด้อยคุณภาพที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย Cash collection ที่ชะลอตัว ส่วนหนึ่งมาจากการปรับเกณฑ์การขายหนี้ด้อยคุณภาพของ ธปท. ที่ทำให้สถาบันการเงินขาย NPL และ NPA ได้น้อยลง เนื่องจากต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้ทั้งก่อนและหลังเป็นหนี้เสีย ก่อนที่จะขายหนี้ออกมาได้จึงใช้เวลานานและมีปริมาณหนี้น้อยลงมาขายสู่ตลาด         สำหรับแนวโน้มการเติบโตเฉลี่ยแบบ CAGR ของกำไรสุทธิในปี 24-26F คิดเป็น 10% โดยผลประกอบการจะเติบโตโดดเด่นในปี 25F ที่ประเมินกำไรสุทธิราว 2.05 พันล้านบาท +23% YoY เนื่องจาก 1. คาดหวังก่อตั้ง AMC กับพาร์ทเนอร์สถาบันการเงินอีกแห่ง หนุนส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีเพียง JK AMC แนวโน้มค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองที่ลดลงจากการจัดเก็บหนี้ที่ดีขึ้น โดยวางแผนซื้อหนี้เพิ่ม 2-3 พันล้านบาท ได้ประโยชน์จากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ภายใต้บรรยากาศการปรับลดดอกเบี้ยของ ธปท. อย่างน้อย 1-2 ครั้งในปี 2025 หนุนรายได้ในทุกกลุ่มธุรกิจขยายตัว YoY

JMT กลับมาเด่น แนะ “ซื้อ” เป้า 21.6 บาท

JMT กลับมาเด่น แนะ “ซื้อ” เป้า 21.6 บาท

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT ได้ประโยชน์จากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ สิ้นงวด ก.ย. 24 JMT มีพอร์ตหนี้เสียในมูลค่ารวม 534,864 ล้านบาท โดย 87% เป็น Unsecured NPL และ 13% เป็น Secured NPL ขณะที่การซื้อหนี้ 9M24 มีเพียง 807 ล้านบาท เทียบกับ 9M23 ที่ใช้เงินซื้อ 6,380 ล้านบาท แนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 21.6 บาท โดยมองว่าผลประกอบการใน 4Q24F จะเป็นช่วงพีคที่สุดของปี          ปี 24F ประเมินกำไรสุทธิที่ 1.66 พันล้านบาท -16%YoY ชะลอตัวลงจาก 1. การเพิ่มค่าใช้จ่ายเพื่อปรับปรุงกระบวนการติดตามหนี้ราว 500 ล้านบาท ในช่วง มิ.ย. เป็นต้นมา เพื่อลดค่าใช้ จ่ายการตั้งสำรองในระยะยาว 2. ค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองที่ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการจัดเก็บหนี้ด้อยคุณภาพที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย 3. Cash collection ที่ชะลอตัว ส่วนหนึ่งมาจากการปรับเกณฑ์การขายหนี้ด้อยคุณภาพของ ธปท. ที่ทำให้สถาบัน ทางการเงินขาย NPL และ NPA ได้น้อยลง เนื่องจากต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้ทั้งก่อนจะเป็นหนี้เสีย และ หลังจากเป็นหนี้เสีย ก่อนที่จะขายหนี้ออกมาได้จึงใช้เวลาที่นานและมีปริมาณหนี้ที่นำมาขายสู่ตลาดลดลง            สำหรับแนวโน้มการเติบโตเฉลี่ยแบบ CAGR ของกำไรสุทธิในปี 24-26F คิดเป็น 10% โดบผลประกอบการจะเติบโตโดดเด่นในปี 25F ที่ประเมินกำไรสุทธิราว 2.05 พันล้านบาท +23%YoY เนื่องจาก 1. คาดหวังการจัดตั้ง AMC กับพาร์ทเนอร์สถาบันการเงินอีกแห่ง หนุนส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีเพียง JK AMC 2. แนวโน้มค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองที่ลดลง จากการจัดเก็บหนี้ที่ดีขึ้น โดยวางแผนซื้อหนี้เพิ่ม 2-3 พันล้านบาท 3. ได้ประโยชน์จากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ภายใต้บรรยากาศการปรับลดดอกเบี้ยของ ธปท. อย่างน้อย 1-2 ครั้งในปี 2025 หนุนรายได้ในทุกกลุ่มธุรกิจขยายตัว YoY

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

JMT ไตรมาส 3 พลิกมีกำไร 430 ลบ. คาด Q4 พุ่งสูงสุดของปี

JMT ไตรมาส 3 พลิกมีกำไร 430 ลบ. คาด Q4 พุ่งสูงสุดของปี

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.กรุงศรี มอง Positive JMT ต่อรายงานกำไรสุทธิ 3Q24 ที่ 430 ลบ. (-8% y-y, +17% q-q) ลดลง y-y จากรายได้ที่ต่ำกว่า 3Q23 ตามสภาวะเศรษฐกิจ และ Gross margin ซึ่งปรับตัวลงตามการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีกับลูกหนี้ แต่กำไรฟื้นตัว q-q หลังเริ่มเห็นผลบวกจากการเร่งรัดดำเนินคดี ส่งผลให้ Cash collection ฟื้นตัว (+5% y-y, +7% q-q) และ ECL ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (-24% y-y, -46% q-q) โดยปัจจุบันกำไรสุทธิ 9M24F คิดเป็น 73% บนประมาณการใหม่ 24-26F ซึ่งฝ่ายวิจัยฯ ปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4% ตาม Momentum ธุรกิจจับเก็บหนี้ที่เริ่มเห็นภาพฟื้นตัว ด้าน Outlook 4Q24F คาดเป็นจุดสูงสุดของปี แต่กำไรยังลด y-y จาก Gross margin ซึ่งลดลง y-y ตามปริมาณการดำเนินคดี แต่กำไรฟื้นต่อเนื่อง q-q ตาม Cash collection ซึ่งเป็น Peak Season ของปี เราแนะนำ Trading Buy บน TP25F ใหม่ 22.8 บาท อิง PBV25F ที่ 1.2x ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปี ของ JMT รายงานกำไรสุทธิ 3Q24 ที่ 430 ลบ. (-8% y-y +17% q-q)           รายงานกำไรสุทธิ JMT 3Q24 ที่ 430 ลบ. (-8% y-y, +17% q-q) ลดลง y-y ตาม Gross margin ที่ต่ำลง y-y จากค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเร่งรัดติดตามทวงหนี้ที่เพิ่มขึ้นล้อไปกับสภาวะเศรษฐกิจ ทว่ากำไรฟื้นตัวดี q-q จาก ECL ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (-24% y-y, -46% q-q) โดยบริษัทฯ เริ่มเห็นผลบวกจากการดำเนินคดี อิง Cash collection ซึ่งกลับมาทำได้ดี (+5% y-y, +7% q-q) โดยกำไรสุทธิงวด 9M24 อยู่ที่ 1,215 ลบ. บนกรอบประมาณการที่ 73% ของประมาณการทั้งปี โดยใน 3Q24 มีการซื้อมูลหนี้เพิ่มราว 10,000 ลบ. ซึ่งเป็นหนี้ในกลุ่ม Unsecured เป็นหลักทั้งใน JMT และ JK ซึ่งอยู่กรอบประมาณการ คาดแนวโน้มกำไร 4Q24F ลดลง y-y ฟื้นตัวต่อเนื่อง q-q           คาดกำไร 4Q24F ลดลง y-y ฟื้นตัวต่อเนื่อง q-q และจะเป็นจุดสูงสุดของปี โดยมองว่า Cash collection จะปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและ ECL จะยังมีพัฒนาการจาก 3Q24 เล็กน้อย กอปรกับมี Catalyst ที่ต้องจับตามองคือการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ปรับกำไรสุทธิ 24-26F ขึ้นเฉลี่ย 4% CAGR จากการฟื้นตัวเร็วกว่าคาด           โดยรวมปรับกำไรสุทธิปี 24-26F ขึ้นเฉลี่ย 4% CAGR ตาม i) Cash collection ที่ปรับตัวดีขึ้น ii) ECL ที่ลดลงเฉลี่ย 2% ตามการจัดเก็บที่เริ่มเห็นพัฒนาการ iii) ปรับเพิ่มส่วนแบ่งกำไรจาก JK ในปี 25-26F ราว 1.8% สะท้อนแนวโน้มธุรกิจ AMC ที่ฟื้นตัวไปในทิศทางเดียวกับ JMT คำแนะนำ           ปรับคำแนะนำลงเป็น Trading Buy บนราคาเป้าหมาย (TP25F) ที่ 22.80 บาท อิง PBV 1.2x โดยเป็นการ re-rate ระดับ Forward PBV ให้ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปีของ JMT มองราคาหุ้นสะท้อนปัจจัยบวกไปแล้วบางส่วน ทว่ายังมี Upside เหลืออีกราว 14% บนประมาณการปัจจุบัน

JMT ไตรมาส3/67 กำไร 430ล้าน คาดไตรมาส 4/67 เก็บหนี้ดีขึ้น

JMT ไตรมาส3/67 กำไร 430ล้าน คาดไตรมาส 4/67 เก็บหนี้ดีขึ้น

           JMT กำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 3/2567 อยู่ที่ 430 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย 7.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมกำไรสุทธิงวด 9 เดือนแรกของปี 2567 อยู่ที่ 1,215 ล้านบาท ลดลง 17.4% จากปีก่อน โดยบริษัทฯ ยังคงเดินหน้าตั้งเป้าไตรมาส 4/67 เป็นช่วงเก็บหนี้สูงสุด สถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง            บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT บริษัทฯ มีรายได้รวมสำหรับงวด 9 เดือน เท่ากับ 3,947.6 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 6.5 โดยรายได้ในส่วนบริหารหนี้ด้อยคุณภาพยังคงมีการเติบโต และจะเติบโตไปพร้อมกับการจัดเก็บกระแสเงินสด ทั้งนี้ สัดส่วนของรายได้ในธุรกิจบริหารหนี้ เท่ากับร้อยละ 89.4 ของรายได้รวมของบริษัท            บริษัทฯ มียอดกระแสเงินสดจากการจัดเก็บหนี้ (Cash Collection) ในไตรมาส 3/2567 กรณีรวมกระแสเงินสดที่จัดเก็บโดยบริษัทสินทรัพย์ JK เท่ากับ 2,263 ล้านบาท และสำหรับส่วนของบริษัท จะมีการจัดเก็บในไตรมาส 3/2567 ที่ผ่านมาเท่ากับ 1,396 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/2567 ร้อยละ 7 และสำหรับงวด 9 เดือน กรณีกระแสเงินสดที่จัดเก็บรวมบริษัทสินทรัพย์ JK เท่ากับ 6,479 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ สำหรับการจัดเก็บกระแสเงินสดในส่วนของบริษัท ในรอบ 9 เดือน เท่ากับ 4,154 ล้านบาท            กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้น สำหรับไตรมาส 3/2567 เท่ากับ 430 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.8 สำหรับงวด 9 เดือน เท่ากับ 1,215 ล้านบาท ลดลงเท่ากับ 255.3 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 17.4 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และอัตรากำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทฯ เท่ากับร้อยละ 30.8            “บริษัทยังคงตั้งเป้าหมายในการจัดเก็บกระแสเงินสดให้เพิ่มขึ้น ด้วยการติดตามลูกค้าอย่างใกล้ชิด โดยคาดการณ์ว่าไตรมาส 4/2567 จะเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดของปีนี้ในด้านการจัดเก็บหนี้ด้อยคุณภาพ” สภาพคล่องและความเพียงพอของเงินทุน            บริษัทฯ มีกระแสเงินสดเพียงพอต่อการดำเนินกิจการและชำระเงินกู้ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้สำรองกระแสเงินสดที่จะต้องชำระเงินกู้ให้กับหุ้นกู้ที่ครบกำหนดจ่ายคืน ที่มีกำหนดไถ่ถอนภายในปี 2567 ไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีมูลค่ารวมเพียง 1,012.5 ล้านบาท ซึ่งบริษัทมีกระแสเงินสดและเงินสดในบริษัทเพียงพอต่อการจ่ายคืนหุ้นกู้ดังกล่าว            นอกจากนี้ สำหรับหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนภายใน 1 ปี บริษัทฯ และบริษัทย่อย ได้จัดทำประมาณการทางการเงินสำหรับการชำระหนี้ไว้เรียบร้อยแล้ว โดยจะมีแหล่งเงินมาจากกระแสเงินสดภายในบริษัท เงินปันผลรับที่จะได้รับจากบริษัทย่อยและกิจการร่วมค้า เงินกู้ยืมที่จะได้รับคืนจากกิจการร่วมค้า และการรีไฟแนนซ์ (Refinance) โดยการออกหุ้นกู้ ซึ่งในช่วงปลายไตรมาส 3/2567 ที่ผ่านมา บริษัทประสบความสำเร็จในการปิดการขายหุ้นกู้ 2 ชุดใหม่ อายุ 2 ปี และ 4 ปี อัตราดอกเบี้ย 4.90% และ 5.50% ต่อปีตามลำดับ มูลค่ารวมทั้งสองชุด 1,800 ล้านบาท นักลงทุนให้การตอบรับเป็นอย่างดีครบตามจำนวน            บริษัทฯ ยังคงสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง และยังคงดำรงอัตราส่วนทางการเงินตามข้อกำหนดสิทธิหุ้นกู้เสมอมา มุมมองของอุตสาหกรรมในอนาคต            ในอนาคต อุตสาหกรรมบริหารหนี้ด้อยคุณภาพคาดว่าจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่แน่นอนและแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียในระบบการเงิน การเติบโตนี้ยังได้รับแรงผลักดันจากการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ช่วยให้กระบวนการบริหารหนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อช่วยในการวิเคราะห์และปรับโครงสร้างหนี้ นอกจากนี้ แนวโน้มการปรับปรุงกฎระเบียบด้านการบริหารหนี้ของรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนธุรกิจในภาคนี้ให้มีความยั่งยืนและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น

JMT สุดปลื้ม! หุ้นกู้ 2 ชุดใหม่ มูลค่า 1,800 ล้านบาท ขายหมดเกลี้ยง

JMT สุดปลื้ม! หุ้นกู้ 2 ชุดใหม่ มูลค่า 1,800 ล้านบาท ขายหมดเกลี้ยง

          JMT ประสบความสำเร็จ ปิดการขายหุ้นกู้ 2 ชุดใหม่ อายุ 2 ปี และ 4 ปี ดอกเบี้ย 4.90% และ 5.50% ต่อปีตามลำดับ มูลค่ารวมทั้งสองชุด 1,800 ล้านบาท นักลงทุนให้การตอบรับเป็นอย่างดี ขายได้เต็มตามจำนวนที่ขออนุมัติจากสำนักงาน ก.ล.ต. พร้อมเดินหน้าขยายธุรกิจ รับภาพรวมหนี้ในระบบปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง พร้อมลุยซื้อหนี้เข้าพอร์ตเพิ่มเต็มแม็กซ์           นายสุทธิรักษ์ ตรัยชิรอาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ” หรือ “JMT”) เปิดเผยถึง ความสำเร็จในการออกและเสนอขายหุ้นกู้ระยะยาวชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ จำนวน 2 ชุด เสนอขายแก่ผู้ลงทุนทั่วไป และ ผู้ลงทุนสถาบัน โดยหุ้นกู้ชุดที่ 1 อายุ 2 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ. 2569 อัตราดอกเบี้ย 4.90% ต่อปี และชุดที่ 2 อายุ 4 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ. 2571 อัตราดอกเบี้ย 5.50% ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุกๆ 3 เดือน ตลอดอายุหุ้นกู้ ด้าน บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จัดอันดับความน่าเชื่อถือ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2567 โดยอันดับความน่าเชื่อถือบริษัทฯและหุ้นกู้อยู่ที่ BBB+           ทั้งนี้ หุ้นกู้ที่เสนอขายทั้งหมดในครั้งนี้มีจำนวนรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1,800,000 หน่วย มูลค่ารวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1,800 ล้านบาท กำหนดเสนอขายระหว่างวันที่ 28 – 30 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ขายได้เต็มจำนวนสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุน สำหรับวัตถุประสงค์ในการนำเงินที่ได้รับจากการออกและเสนอขายหุ้นกู้ในครั้งนี้ เพื่อนำไปใช้เป็นเงินลงทุนในการเข้าซื้อหนี้ด้อยคุณภาพจากบริษัท/สถาบันการเงินเข้ามาบริหาร รวมทั้ง นำไปชำระคืนหนี้จากการออกหุ้นกู้           บริษัทฯ ประเมินทิศทางธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพเป็นไปตามแผน ทิศทางหนี้เสีย (NPL) ในระบบยังคงมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง โดยกลุ่มที่มีปัญหาอย่างกลุ่มสินเชื่อรายย่อยประเภทไม่มีหลักประกัน สินเชื่อบัตรเครดิต สถาบันการเงินยังคงบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพด้วยการทยอยขายหนี้ออกมาต่อเนื่อง ล่าสุด JMT เห็นสัญญาณที่ดี ลุยซื้อหนี้ด้อยคุณภาพเข้ามาบริหารในช่วงไตรมาส 3/2567 ถึงปัจจุบัน ได้ลงนามซื้อหนี้ด้อยคุณภาพเข้าพอร์ตแล้ว รวมมูลค่าประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้ประเภทไม่มีหลักประกัน (Unsecure Loan) สนับสนุนพอร์ตหนี้ด้อยคุณภาพอย่างไม่เป็นทางการของ JMT ในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 538,000 ล้านบาท (พอร์ต JMT และ JK AMC) ขณะที่ เงินที่ได้จากการระดมทุน จะมารองรับโอกาสในการขยายธุรกิจในช่วงต่อจากนี้  และสะท้อนความเชื่อมั่นของ JMT ผู้นำธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพของประเทศ [PR News]

abs

ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร

JMT กวาดซื้อหนี้หมื่นล้าน หนุน Q3-Q4/67 สัญญาณดี

JMT กวาดซื้อหนี้หมื่นล้าน หนุน Q3-Q4/67 สัญญาณดี

           JMT เปิดฉาก! ลุยซื้อหนี้ก้อนโตเข้ามาบริหารรวมกว่า 1 หมื่นล้านบาท ส่งสัญญาณสถาบันการเงินเตรียมทยอยขาย NPL ออกมาในครึ่งปีหลังมากกว่าครึ่งแรก โดยเฉพาะในกลุ่ม Unsecured Loan หนุนพอร์ตรวมอย่างไม่เป็นทางการอยู่ที่ 538,000 ล้านบาท            นายสุทธิรักษ์ ตรัยชิรอาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT ผู้นำธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพของประเทศ เปิดเผยว่า ภาพรวมการซื้อหนี้ด้อยคุณภาพเข้ามาบริหาร ในช่วงไตรมาส 3/67 ถึงปัจจุบัน JMT ได้ลงนามซื้อหนี้ด้อยคุณภาพเข้าพอร์ตแล้ว รวมมูลค่าประมาณ 1 หมื่นล้านบาท จากสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นหนี้ประเภทไม่มีหลักประกัน (Unsecured Loan) สนับสนุนพอร์ตหนี้ด้อยคุณภาพอย่างไม่เป็นทางการของ JMT ในปัจจุบันขึ้นสู่ระดับ 538,000 ล้านบาท (พอร์ต JMT และ JK AMC)            นับเป็นการส่งสัญญาณ ภาพรวมสถาบันการเงินทั้งสถาบันการเงินที่เป็นธนาคารและไม่ใช่ธนาคารเริ่มทยอยขายหนี้ด้อยคุณภาพออกมาในช่วงครึ่งปีหลัง จากครึ่งปีแรกมีการขายหนี้ออกมาอย่างจำกัด เนื่องจากรอดำเนินการตามนโยบายการปรับโครงสร้างหนี้ให้แล้วเสร็จ ขณะที่ สถานการณ์หนี้ครัวเรือน มองว่า ตัวเลขหนี้เสีย หรือ NPL ของประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะหนี้ในกลุ่มบัตรเครดิต หนี้สินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่อส่วนบุคคล เนื่องจากเศรษฐกิจในภาพรวมยังมีสัญญาณฟื้นตัวช้า โดย JMT มีความพร้อมในการเดินหน้าซื้อหนี้ด้อยคุณภาพเข้ามาบริหาร พร้อมกับความพยายามในการติดตามหนี้อย่างใกล้ชิดกับลูกค้า จึงคาดไตรมาส 3/2567 แนวโน้มธุรกิจมีทิศทางที่ดี จากช่วงไตรมาส 2/2567 เป็นช่วงต่ำสุดของปี พร้อมกับตั้งงบลงทุนซื้อหนี้ด้อยคุณภาพเข้ามาบริหารในครึ่งปีหลังจำนวน 1,500 - 2,000 ล้านบาท [PR News]

[PR News] JMT ชำระคืนหุ้นกู้ 625 ลบ. จ่อออกชุดใหม่ ดบ. 4.70-5.0%

[PR News] JMT ชำระคืนหุ้นกู้ 625 ลบ. จ่อออกชุดใหม่ ดบ. 4.70-5.0%

         JMT แจ้งข่าวดี! จ่ายคืนหุ้นกู้ 625 ลบ. ตามนัด! และเตรียมเงินพร้อมแล้วสำหรับจ่ายคืนหุ้นกู้ในชุดถัดไป พ.ย. 67 นี้ มองผลงานช่วงครึ่งปีหลังทำได้ดี วางงบ 1,000 - 1,200 ลบ. เดินหน้าลุยซื้อหนี้เพิ่ม อีกทั้ง อยู่ระหว่างออกหุ้นกู้ 2 ชุดใหม่ อายุ 2 - 4 ปี ดอกเบี้ยราว [ 4.70 - 5.50% ] ต่อปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างยื่นขออนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต.          นายสุทธิรักษ์ ตรัยชิรอาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT เปิดเผยว่า JMT เดินหน้าชำระคืนเงินกู้ จำนวน 625 ล้านบาท เรียบร้อยแล้ว โดยบริษัทได้ชำระคืนพร้อมดอกเบี้ยให้กับผู้ถือหุ้นกู้ทั้งหมดตามกำหนดในวันที่ 27 กันยายน 67 พร้อมให้ความเชื่อมั่นแก่ผู้ถือหุ้นกู้ของบริษัททุกราย ที่ผ่านมาบริษัทได้จ่ายดอกเบี้ยและคืนเงินหุ้นกู้ครบตามกำหนด และเตรียมเงินไว้พร้อมแล้วสำหรับไถ่ถอนหุ้นกู้ชุดต่อไปในเดือนพฤศจิกายน 67 นี้ มูลค่า 1,012.5 ล้านบาท          โดยประเมินทิศทางธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพในครึ่งปีหลังเป็นไปตามแผน ทิศทางหนี้เสีย (NPL) ในระบบมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง JMT ตั้งงบลงทุนซื้อหนี้ด้อยคุณภาพเข้ามาบริหารในครึ่งปีหลังจำนวน 1,000 – 1,200 ล้านบาท ในกลุ่มหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน อาทิ กลุ่มบัตรเครดิต หนี้สินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่อส่วนบุคคล จากครึ่งปีแรก JMT สามารถจบดีล ใช้เงินลงทุนซื้อหนี้ไปแล้ว 535 ล้านบาท อีกทั้ง ความพยายามในการจัดเก็บและติดตามหนี้อย่างใกล้ชิดกับลูกค้า ซึ่งคาดว่า ECL จะทยอยลดลงอย่างต่อเนื่อง ตอกย้ำ JMT ฐานะการเงินแข็งแกร่ง ธุรกิจบริหารหนี้มีแนวโน้มสดใสในอนาคต          อย่างไรก็ดี JMT ได้อยู่ระหว่างการยื่นร่างแบบแสดงรายการต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยคาดว่าออกและเสนอขายหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน จำนวน 2 ชุด อายุ 2-4 ปี ดอกเบี้ยราว [ 4.70 - 5.50% ] จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน เสนอขายผู้ลงทุนทั่วไป-สถาบัน โดยหุ้นกู้ชุดที่ 1 อายุ 2 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ.2569 อัตราดอกเบี้ย [ 4.70 - 4.90% ] ต่อปี และชุดที่ 2 อายุ 4 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ.2571 อัตราดอกเบี้ย [ 5.30 - 5.50% ] ต่อปี โดยคาดว่าจะเสนอขายได้ในช่วงปลายเดือน ตุลาคม 2567 นี้          ทั้งนี้ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จัดอันดับความน่าเชื่อถือ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2567 ความน่าเชื่อถือองค์กรอยู่ที่ BBB+  หุ้นกู้จัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ที่ BBB+ โดยบริษัทฯ มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นกู้ในครั้งนี้ เพื่อนำไปใช้เป็นเงินลงทุนในการเข้าซื้อหนี้ด้อยคุณภาพมาบริหาร อีกทั้ง นำไปชำระคืนหนี้จากการออกหุ้นกู้หรือเงินกู้ยืมให้กับสถาบันการเงิน และ เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น

[Vision Exclusive] JMT จับตาไตรมาส 4  จ่อซื้อหนี้ 2-3 หมื่นล้าน

[Vision Exclusive] JMT จับตาไตรมาส 4 จ่อซื้อหนี้ 2-3 หมื่นล้าน

          หุ้นวิชั่น-JMT เตรียมเดินหน้าซื้อหนี้ก้อนใหญ่เพิ่มมูลค่า 20,000-30,000 ล้านบาท ในไตรมาส 4/2567 เน้นลูกหนี้รายย่อยไร้หลักประกัน คาดไตรมาสสุดท้ายของปีจะเป็นไตรมาสที่ผลประกอบการสูงสุด พร้อมกลับมาเติบโตอีกครั้งในไตรมาส 1/2568 บริษัทมั่นใจในความเชี่ยวชาญด้านการจัดเก็บหนี้ที่มีประสิทธิภาพสูง ด้วยการใช้เทคโนโลยีและการขยายเครือข่ายในการเข้าถึงลูกค้า ปัจจุบันบริหารพอร์ตหนี้มูลค่า 500,000-600,000 ล้านบาท            นายปิยะ พงษ์อัชฌา กรรมการ บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT เปิดเผยว่า ในไตรมาส 4/2567 บริษัทมีแผนที่จะซื้อมูลหนี้ก้อนใหญ่เพิ่มเข้ามาในพอร์ตมูลค่า 20,000-30,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างการทำ Due Diligence  โดยจะเน้นการซื้อกลุ่มลูกหนี้รายย่อยที่ไม่มีหลักประกัน ซึ่งปัจจุบันมีซัพพลายหนี้ที่ขายออกมาจำนวนมาก สำหรับปัญหาการตั้งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ที่บริษัทเคยประสบในช่วงที่ผ่านมา ขณะนี้ได้มีการแก้ไขและปรับกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง คาดว่าในไตรมาส 3/2567 จะเห็นการชำระหนี้เพิ่มขึ้น 10% จากไตรมาส 2/2567 ซึ่งเป็นจุดต่ำสุด โดยในไตรมาส 4/2567 คาดว่าจะเป็นไตรมาสที่ทำผลการดำเนินงานได้ดีที่สุด และบริษัทจะกลับมาเติบโตได้อีกครั้งในช่วงไตรมาส 1/2568            ด้วยความเชี่ยวชาญในการจัดเก็บหนี้ JMT สามารถดูแลลูกหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการรวมหนี้ การแก้ปัญหาให้แก่ลูกหนี้แบบครบวงจร และการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในกระบวนการจัดเก็บหนี้ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อกับลูกค้า หรือการพัฒนาระบบฐานข้อมูลลูกหนี้ที่ทันสมัย ทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น            ทั้งนี้ บริษัทสามารถเก็บหนี้ได้ถึง 500% จากการลงทุน โดยภาพรวมของการเก็บหนี้ยังคงมีทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ได้เข้มงวดในการพิจารณาการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ส่งผลให้คุณภาพของลูกหนี้ดีขึ้น เช่น ลูกหนี้ LTV  มีรายได้สูง และมีประวัติการผ่อนชำระที่ดี ทำให้การจัดเก็บเงินเป็นไปได้มากขึ้น นอกจากนี้ กลุ่มลูกหนี้ที่มีรายได้สูงขึ้นจากการปล่อยสินเชื่อในกลุ่มผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนสูงก็มีอัตราการจ่ายที่ดีขึ้นเช่นกัน            บริษัทยังได้ขยายเครือข่าย (Network) ในการเข้าถึงลูกค้า โดยการร่วมมือกับพันธมิตรในเครือในการลงทุนในพื้นที่ต่างๆ ขณะนี้บริษัทกำลังบริหารจัดการหนี้ในพอร์ตปัจจุบันที่มีมูลค่าอยู่ระหว่าง 500,000-600,000 ล้านบาท รายงานโดย : ณัฏฐ์ชญา ปุริมปรัชญ์ภัทร บรรณาธิการข่าว สำนักข่าว Hoonvision

abs

Hoonvision

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456