ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#JMART


JMART ออกหุ้นกู้ใหม่ ดอกเบี้ย 5.5% TRIS ปรับอันดับน่าเชื่อถือ BBB+

JMART ออกหุ้นกู้ใหม่ ดอกเบี้ย 5.5% TRIS ปรับอันดับน่าเชื่อถือ BBB+

          บริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ” หรือ “JMART”) ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2568 ที่อันดับเครดิต BBB+ โดยได้รับการปรับแนวโน้มจาก “ลบ” เป็น “คงที่” สะท้อนถึงความคาดหวังของทริสเรทติ้ง ว่าบริษัทจะสามารถรักษาสถานะความเสี่ยงทางการเงินและดำเนินกลยุทธ์การลงทุนอย่างรอบคอบและระมัดระวัง โดยทริสเรทติ้งคาดว่าภาระหนี้สินรวมของบริษัท ซึ่งวัดโดยอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อ EBITDA ที่ปรับปรุงแล้ว จะลดลงจาก 3.8 เท่าในปี 2567 เป็น 3.4 เท่าในปี 2568 ซึ่งเป็นผลมาจากการคาดการณ์ว่าหนี้สินรวมของบริษัทจะลดลง           นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JMART เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ยื่นแบบแสดงรายงานข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้และร่างหนังสือชี้ชวนต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เพื่อออกและเสนอขายหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เสนอขายต่อผู้ลงทุนทั่วไป (Public Offering) โดยหุ้นกู้ที่เสนอขายในครั้งนี้ มีอายุ 2 ปี 6 เดือน อัตราดอกเบี้ยคงที่ [5.30 - 5.50]% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก ๆ 3 เดือน ตลอดอายุหุ้นกู้ และคาดว่าจะเสนอขายระหว่างวันที่ 17 - 18, 21 เมษายน 2568 นี้           นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในปี 2568 บริษัทฯ เดินหน้าการเติบโตใน 3 กลุ่มธุรกิจหลัก คือ ค้าปลีก การเงิน และเทคโนโลยี ล่าสุดประกาศผลประกอบการจากงบการเงินรวมประจำปี 2567 รายได้รวมอยู่ที่ 14,772 ล้านบาท เติบโต 1% จากปี 2566 ที่ผ่านมา และมีกำไรสุทธิ 1,141 ล้านบาท เติบโต  355% โดยพลิกกลับมามีกำไรสุทธิได้อย่างเข้มแข็ง และสะท้อนภาพการฟื้นตัวของผลประกอบการในกลุ่มบริษัท และเชื่อว่าได้เข้าสู่ช่วงของการเทิร์นอะราวด์สำหรับ บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) (“SINGER”) และ บริษัท เอสจี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) (“SGC”) พร้อมผลักดันสินเชื่อ Locked Phone ภายใต้โครงการ SG Finance+ ที่ได้เริ่มมียอดขายที่เติบโตชัดเจน           ในด้านความแข็งแกร่งทางเงินทุนของกลุ่มบริษัทเจมาร์ท มีอัตราส่วนของหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (IBD/E) ในระดับต่ำอยู่ที่เพียง 0.69 เท่า พร้อมเงินสดในกระเป๋าเพียงพอ ทำให้มั่นใจว่า บริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทที่เข้าไปลงทุนจะสร้างกระแสเงินสดให้เจมาร์ทมากขึ้น และส่งผลกำไรที่ดีต่องบรวมของบริษัท โดยเฉพาะบริษัท เจเอ็มที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) (“JMT”) ซึ่งเป็นผู้นำในธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพแบบไม่มีหลักประกัน ซึ่งในปีนี้คาดว่าผลประกอบการจะสามารถกลับมาสู่การช่วงชิงการเติบโตได้           นอกจากนี้ JMART ยังได้แรงสนับสนุนจาก สุกี้ ตี๋น้อย (“TEENOI”) ภายใต้ บริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด (JMART ถือหุ้นสัดส่วน 30%) ในปี 2567 ที่ผ่านมา สามารถทำกำไรสุทธิได้ 1,169 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28% ซึ่งแสดงถึงการให้การยอมรับของผู้บริโภคที่ดี พร้อมด้วยการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ           ในส่วนของ เจมาร์ท โมบาย (“JMB”) ซึ่งเป็นธุรกิจแกนของบริษัท มีกระแสตอบรับยอดขายที่ดีจากการเปิดตัว Samsung Galaxy S25 Series รวมทั้ง ได้รับอานิสงส์จากมาตรการ “EASY E-RECEIPT”  ในช่วงไตรมาส 1/2568 พร้อมเติบโตไปกับการเปิดตัวสินค้าใหม่รุ่นเรือธง ผ่านช่องทางร้านเจมาร์ทกว่า 300 สาขา พร้อมด้วยบริการสินเชื่อ Samsung Finance+ ผลักดันภาพรวมยอดขายเติบโตขึ้น โดยในปี 2567 JMB มียอดขายโทรศัพท์เคลื่อนที่มากถึง 0.65 ล้านเครื่อง โดยในปีนี้ตั้งเป้าหมายเพิ่มขึ้นจากโครงการ Locked Phone ที่ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคอย่างดี           ทั้งนี้ JMART ย้ำความมั่นใจ จะเติบโตได้ด้วยเทคโนโลยี หรือแพลตฟอร์มอันทรงพลัง ที่สามารถหาลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ให้รีเทิร์นผลตอบแทนที่สูง อีกทั้งยังบริหารความเสี่ยงได้ด้วย NPL ในระดับต่ำ ล่าสุด สินเชื่อ Samsung Finance+  ภายใต้การบริหารของบริษัท KBJ Capital และ SG Finance+ โดยการบริหารของ SGC ได้รับการตอบรับที่ดีจากทั้งดีลเลอร์ และลูกค้าทั่วประเทศมียอดขายรวมกันมากกว่า 1.57 ล้านเครื่องในปี 2567 ที่ผ่านมา           สำหรับ ธุรกิจศูนย์การค้าชุมชนภายใต้การบริหารของ บริษัท เจเอเอส แอสเซ็ท จำกัด (มหาชน) หรือ (“J”) มั่นใจในโครงการคอมมูนิตี้มอลล์ที่สามารถตอบโจทย์ชุมชนได้ต่อเนื่อง และเป็นแหล่งรับรู้รายได้ที่ยั่งยืนโดยในปีที่ผ่านมาเปิดศูนย์การค้าชุมชนเพิ่มได้อีก 2 ศูนย์การค้า คือ โครงการแจส กรีน วิลเลจ ประเวศ และโครงการ แจส กรีน วิลเลจ รามคำแหง ซึ่งคาดว่าจะสร้างการรับรู้รายได้เต็มปีได้ภายในปี 2568 นี้           สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่สนใจจองซื้อหุ้นกู้บริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JMART สามารถจองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท และทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท และสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sec.or.th หรือติดต่อผ่านสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้จัดการการจำหน่ายหุ้นกู้ ดังนี้ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด โทร. 02-680-4004 บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โทร. 02-658-5050 บริษัทหลักทรัพย์ บลูเบลล์ จำกัด โทร. 02-249-2999 บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-205-7000 ต่อ 7387 บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จำกัด โทร. 02-695-5555 บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด โทร. 02-846-8675 บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โทร. 02-351-1800 บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) โทร. 02-820-0100 บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โทร. 02-658-8945 บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน) โทร. 02-660-6624 บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด โทร. 02-687-7543 หมายเหตุ: บริษัทอยู่ระหว่างการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งยังไม่มีผลใช้บังคับ การจัดสรรขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ เงื่อนไขการจัดจำหน่ายเป็นไปตามที่กำหนดในร่างหนังสือชี้ชวน คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

JMART จับมือ JMT คว้ามาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022

JMART จับมือ JMT คว้ามาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022

           บริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (JMART)  และ บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) (JMT) รับมอบประกาศนียบัตรผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022 ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับสากลที่กำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล (Information Security Management System - ISMS) ครอบคลุมการระบุความเสี่ยง, ป้องกันข้อมูลรั่วไหล, รับมือภัยคุกคามไซเบอร์ และบริหารช่องโหว่ของระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีและภัยคุกคามไซเบอร์ที่เปลี่ยนแปลงไปในโลกธุรกิจยุคดิจิทัล ซึ่งออกโดย บริษัท บีเอสไอ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด (British Standards Institution : BSI) องค์กรชั้นนำด้านมาตรฐานระดับโลก            นายเอกชัย สุขุมวิทยา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทเจมาร์ท กล่าวว่า “การได้รับมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022 สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ JMART และ JMT ในการทรานส์ฟอร์มองค์กร โดยมุ่งเน้น Fin Tech - Commerce Tech และ InsurTech ด้วยจุดมุ่งหมายในการขับเคลื่อนธุรกิจภายในกลุ่มเจมาร์ทสู่ดิจิทัลเฟิรส์ (Digital First) โดยการใช้เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มมากขึ้น อาทิ ปัจจุบันเรามีระบบ One ID ให้ลูกค้ายืนยันตัวตนรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ รองรับธุรกรรมการซื้อ-ขาย ในแบบ Digital First และมีคนลงทะเบียนในระบบแล้วกว่า 2 ล้านคน ซึ่งตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ลูกค้าได้ว่า เรามีการป้องกันความเสี่ยงข้อมูลของลูกค้าในระดับสูงสุด ”            นายปิยะ พงษ์อัชฌา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทเจมาร์ท และประธานกรรมการบริหาร บมจ.เจเอ็มที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส  กล่าวเสริมว่า “JMT เป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพรายใหญ่ของประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาการจัดการข้อมูลลูกค้าด้วยความปลอดภัยของข้อมูลในระดับสูงสุด สำหรับปีนี้ ปักธงขยายตลาด InsurTech และแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับประกันภัย ดังนั้น  การได้รับมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022 จะสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าข้อมูลทั้งหมดของบริษัทอยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานระดับสากล และช่วยให้บริษัทสามารถขยายบริการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น”

JMART มุ่ง Digital First ลุย Fin Tech - Commerce Tech โตต่อเนื่อง

JMART มุ่ง Digital First ลุย Fin Tech - Commerce Tech โตต่อเนื่อง

          JMART ปี 68 ประกาศเดินหน้าทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ Fin Tech และ Commerce Tech พร้อมตั้งเป้าเติบโตต่อเนื่อง ดันธุรกิจหลักโตแรง นำโดยธุรกิจบริหารหนี้ JMT - ธุรกิจมือถือ Lock Phone Platform เติบโต ทั้ง Samsung Finance+ และ SG Finance+ พร้อมด้วยการเติบโตของพันธมิตร Suki Teenoi และบริษัทที่เข้าไปลงทุน หนุน Investment Return ปีนี้คาดรับเงินปันผลกว่า 800 ล้านบาท พร้อมเสริมทัพกลยุทธ์ทางธุรกิจระยะยาวด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัล วางยุทธศาสตร์เดินเกมเจมาร์ทสู่ Digital First เต็มรูปแบบ           นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (JMART) เปิดเผยถึง กลยุทธ์ปี 2568 กลุ่มเจมาร์ทเดินหน้าทรานส์ฟอร์มธุรกิจต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้น Fin Tech และ Commerce Tech หลังจากปี 2567 ที่ผ่านมา ถือเป็นปีที่ JMART กลับเข้าสู่เส้นทางการเติบโตอีกครั้ง โฟกัสในการลดต้นทุนภาระหนี้ เพิ่มกำไรในทุกบริษัท ตั้งเป้า JMART กำไรเติบโต 30%           ซึ่งหนึ่งในความสำเร็จมาจากบริษัทที่เข้าไปลงทุนส่งกำไรกลับมาได้อย่างมีศักยภาพ (Investment Return) และคาดปีนี้จะมี Dividend Yield เข้ามาที่ JMART มากกว่า 800 ล้านบาท ชูโรงด้วย Key Driver สำคัญอย่าง สุกี้ ตี๋น้อย ภายใต้ บริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด บริษัทที่เข้าไปลงทุนในปีที่ผ่านมา มีการเติบโตและการขยายสาขาอย่างโดดเด่น หนุนให้ JMART ได้รับส่วนแบ่งกำไรจากการถือหุ้น Suki Teenoi สัดส่วน 30% หรือเท่ากับ 350.7 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา จากผลกำไรสุทธิรวมของ Suki Teenoi 1,169 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 Suki Teenoi มีสาขาทั้งหมด 78 สาขา Teenoi BBQ (บุฟเฟต์ปิ้งย่าง) 1 สาขา และ Teenoi Express (บุฟเฟต์พรีเมียม) 1 สาขา และได้เริ่มขยายออกไปต่างจังหวัดมากขึ้น ตั้งเป้าปี 2568 ขยายสาขาประมาณ 26 สาขา และเตรียมเปิดตัวครัวกลาง เพื่อบริหารจัดการเครือข่ายสาขาให้มีประสิทธิภาพ           สำหรับ Next Driver มองว่าธุรกิจ Lock Phone จะเป็นอีกโอกาสสำคัญ ด้วยการใช้เทคโนโลยีมาขับเคลื่อนการเติบโตธุรกิจมือถือ ซึ่งเป็นธุรกิจที่เราเชี่ยวชาญ และมี Market size ที่ใหญ่ หรืออยู่ที่ 15-20 ล้านเครื่องต่อปี มีปัจจัยเร่งมาจากกำลังซื้อผู้บริโภค ความก้าวล้ำของเทคโนโลยี ประกอบกับการ Synergy ในกลุ่มบริษัท ในด้าน JMT เป็นธุรกิจหลักที่ส่งกำไรให้ JMART อยู่เสมอ และปีนี้กลับมาเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดย Big Change คือการเตรียมพร้อมสู่ JMT Gen2 การใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์และการให้บริการลูกค้า ตอกย้ำการเป็นผู้นำในธุรกิจบริหารสินทรัพย์ (AMC) ที่เริ่มทรานส์ฟอร์มธุรกิจด้วยเทคโนโลยี           นายเอกชัย สุขุมวิทยา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร JMART เปิดเผยว่า ด้วยจุดมุ่งหมายในการขับเคลื่อนธุรกิจภายในกลุ่มเจมาร์ทสู่ธุรกิจ Generation 2 (Gen2) หรือการเปลี่ยนแปลงจากอนาล็อก (Analog) ให้เป็นดิจิทัล (Digital) เราได้วางกลยุทธ์ Center of Excellence (COE) นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้สร้างการเติบโตในอนาคต โดยแบ่งเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่  1. “TechTech” การนำระบบในการยืนยันตัวตนแบบอิเล็กทรอนิกส์ (One ID) ต่อยอดจาก KYC มาตรฐานเดียวกับธนาคาร ซึ่งปัจจุบันเรามีฐานข้อมูลผู้ใช้งานอยู่ 2 ล้านคน ช่วยเสริมศักยภาพธุรกิจในการขยายตลาดผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้น 2. “Mar Tech” การรุกตลาดดิจิทัลผ่าน J Point ซึ่งคาดปีนี้มีประมาณ 1 ล้าน User ช่วยเสริมสร้าง Business Impact ด้านกิจกรรมการตลาดและแคมเปญส่งเสริมการขาย 3. “Data Tech” การใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า  4. “Fin Tech” รุกตลาดสินเชื่อผ่านแพลตฟอร์มต่อเนื่อง โดยมี J Wallet ซึ่งเป็นดิจิทัลวอลเล็ตที่สนับสนุนในกลุ่มเจมาร์ท รวมทั้ง เตรียมรุกตลาด Insure Tech เสริมแกร่ง 6. “Commerce Tech” ในการจับมือพันธมิตรสร้างรูปแบบการขายใหม่ๆ ผ่าน Social Commerce           นายธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด (J Ventures) กล่าวเสริมอีกว่า กลุ่มบริษัทเชื่อว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ให้เจมาร์ทเป็น Digital First มากขึ้น เราจะไม่ทำธุรกิจเหมือนเดิมอีกต่อไป ทั้ง Fin Tech, Commerce Tech และ Insure Tech โดยเชื่อมต่อระหว่างบริษัท Gen1 คือการที่บริษัทพบลูกค้าแบบ Analog และ Gen2 คือการพบลูกค้าแบบดิจิทัล ภายใต้จุดแข็งกลุ่มเจมาร์ทมีวาไรตี้สูงมาก เรามีฐานลูกค้าหลากหลายประเภท แกนกลางคือเทคโนโลยี ดังนั้นการยืนยันตัวตนเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง และกลไกทั้งหมดที่ขับเคลื่อนด้วย JFIN Chain เราได้สร้าง Technology Foundation เตรียมพร้อมไว้แล้ว เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน สนับสนุนให้กลุ่มเจมาร์ทมีความแข็งแรง เตรียมพร้อมรับโอกาสในอนาคต           นายสุพจน์ สิริกุลภัสสร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจเอเอส แอสเซ็ท จำกัด (มหาชน) (J) ดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และบริการพื้นที่เชิงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในปี 2568 มุ่งเน้นบริหารพื้นที่เดิมที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้ง IT Junction และ Community Mall ภายใต้แบรนด์ The Jas และ JAS Green Village ปัจจุบันมีศูนย์การค้า 8 แห่ง มีพื้นที่รวมประมาณ 100,000 ตารางเมตร มีพาร์ทเนอร์ใหม่ๆ เช่น Lotus เปิดสาขาร่วมกันที่ โครงการ JAS Green Village ประเวศ และ BigC Foodplace เปิดที่ JAS Green Village รามอินทรา พร้อมกับจับมือสุกี้ตี๋น้อย ที่จะเปิดสาขาร่วมกันเพิ่มเติมอีก คาดจะมี 5 สาขาในปีนี้ และมีโครงการที่อยู่ระหว่างพัฒนา JAS Green Village ขอนแก่น ชูโมเดลห้างสรรพสินค้าผสานโรงแรม เตรียมเปิดในปี 2569 เป็นสาขาที่ 9 สำหรับ SENERA Senior Wellness ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุครบวงจร บริษัทลูกที่จะเป็นอีก Key Driver มีการเติบโตไปกับเมกะเทรนด์ด้านการดูแลสุขภาพและสังคมสูงวัยของประเทศ           ด้าน นายดุสิต สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวถึง บริษัท เจมาร์ท โมบาย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแกนของ JMART ในฐานะผู้นำธุรกิจค้าปลีกสินค้าเทคโนโลยีและสมาร์ทโฟน เปิดเผยว่า แนวโน้มไตรมาส 1/2568 สัญญาณดี ได้รับอานิสงส์ในช่วงต้นปีจากภาครัฐบาล รวมทั้ง สินค้าแฟลกชิพจากภาพรวมตลาด AI Smartphone นอกจากนี้ กลยุทธ์การนำ J Point มาใช้ และผลักดันยอดขายผ่านสินเชื่อมือถือ Lock Phone ทั้งในส่วนของ Samsung Finance+ โดยบริษัท เคบี เจ แคปปิตอล จำกัด และ SG Finance+ โดย บริษัท เอสจี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) ที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ มุ่งเน้น Mobile Care Protection ซึ่งเป็นการขายประกันเข้าไป จะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนธุรกิจของบริษัทปีนี้ให้เติบโตยิ่งขึ้น ทั้งผ่านช่องทางการแบบรีเทล และมุ่งเน้นขยายไปยังช่องทางใหม่ๆ ผ่านพันธมิตรและแพลตฟอร์ม           นายสุทธิรักษ์ ตรัยชิรอาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) (JMT) ผู้นำธุรกิจติดตามหนี้ และบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ ตั้งเป้าปี 2568 กลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ให้เป้ากำไรโตแตะระดับ 2,000 ล้านบาท จากธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพที่มีรายได้อย่างมั่นคง แม้สถานการณ์เศรษฐกิจและกำลังซื้อชะลอตัว บริษัทฯ มุ่งเน้นคุณภาพในการจัดเก็บ และการบริหารผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ซึ่งได้มีการปรับแก้ไขในปีที่ผ่านมาให้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และในไตรมาส 1/2568 ยังอยู่ในระดับที่วางไว้ สัญญาณ ECL ในไตรมาสถัดๆไปมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง           พร้อมกับวางงบซื้อหนี้ปีนี้ 2,000 ล้านบาท คาดการซื้อหนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในครึ่งปีหลัง จากครึ่งปีแรกยังมีมาตรการภาครัฐผยุงอยู่ และโฟกัสกลุ่ม Unsecure Loan เป็นหลัก จากสิ้นปี 2567 JMT ใช้เงินลงทุนซื้อหนี้ 1,139 ล้านบาท ซื้อหนี้เข้ามาบริหารประมาณ 30,000 ล้านบาท สนับสนุนพอร์ตบริหารหนี้รวมอยู่ที่ 544,920 ล้านบาท และมียอดจัดเก็บหนี้ (Cash Collection) เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 8,809 ล้านบาท (รวม JK AMC) เรามีแอปพลิเคชันมาช่วยสนับสนุนธุรกิจทั้งการชำระหนี้ และนัดหมายสำหรับการซื้อบ้านมือสอง ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ  สำหรับแผนการรุกตลาด InsurTech หลังจาก JMT ได้ประกาศแผนเข้าร่วมทุนกับ บริษัท แอกซินัน (ประเทศไทย) จำกัด จัดตั้งการร่วมค้า (Joint Venture) มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจประกันภัยในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้แบรนด์ “igloo” โดย JMT ถือหุ้นในบริษัทร่วมค้า 51% ขับเคลื่อน InsurTech ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ หุ้นกู้ของ JMT 2 ชุดที่จะครบกำหนดในเดือนเมษายน และตุลาคมเตรียมเงินรอไว้เรียบร้อยแล้ว โดยเงินจำนวน 4,500 ล้านบาท มาจาก Cash Collection อีกทั้ง มีเงินสดในมือ และเงินในกองทุน รวมทั้ง มีแผนออกหุ้นกู้ประมาณ 4,500 ล้านบาท           นายนราธิป วิรุฬห์ชาตะพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) (SINGER) เปิดเผยว่า ในปี 2568 มั่นใจภาพรวมกำไรเติบโตก้าวกระโดด จากการบริหารจัดการภายในเพื่อลดต้นทุน ประกอบกับไม่มีค่าใช้จ่ายพิเศษ สนับสนุนความสามารถในการทำกำไรมากขึ้น อีกทั้ง SINGER คืนหุ้นกู้ครบแล้วในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และยังไม่มีแผนออกหุ้นกู้ใหม่ ทำให้ในช่วงที่เหลือของปีไม่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายอีก ซึ่งในปี 2566 ที่ผ่านมาภาระดอกเบี้ยจ่ายจากหุ้นกู้อยู่ที่ประมาณกว่า 200 ล้านบาท เข้ามาสนับสนุนภาพรวมผลการดำเนินงานทันที นอกจากนี้ ในปี 2568 SINGER เดินหน้าขยายเครือข่ายการขายผ่าน Lock Phone และการขายผ่าน Direct Sale และ Tele sales จากการพัฒนา SG Finance+ เข้ามาปลดล็อกการรุกตลาดไปยังช่องทางออนไลน์ ทำให้สามารถยืนยันตัวตนและขอสินเชื่อผ่านออนไลนได้ภายใน 3 นาที และสามารถควบคุมหนี้เสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงโฟกัสการรุกธุรกิจมือถือในปีนี้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังเพิ่มสินค้ามัลติแบรนด์ในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้ามาเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภค และการขยายผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่ม Green Energy           ทั้งนี้ จากความสำเร็จในปี 2567 สามารถพลิกกลับมาเทิร์นอะราวด์อย่างแข็งแกร่ง มีกำไรสุทธิ 14 ล้านบาท จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีผลขาดทุนสุทธิ 3,210 ล้านบาท แม้ในไตรมาส 4/2567 มีการขาดทุน 61 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่าย One time จากการปิดสถานที่ค่าเช่าหรือค่าบริหารที่ไม่ก่อให้เกิดกำไร จากการเคลียร์สต็อกสินค้ามือสองได้เร็ว และการปิดคลังสินค้า อย่างไรก็ดี SINGER มีสินค้ามือสองคงเหลือ 254 ล้านบาท และตัวเลข Net book value เหลืออยู่เพียง 116 ล้านบาท เป็นตู้น้ำมันประมาณ 90 ล้านบาท โดยปีที่แล้วกระจายตั้งตู้น้ำมันไป 1,740 ตู้ คาดปีนี้ตั้งตู้น้ำมันเพิ่มอีก 120 ตู้/เดือน ทำให้ SINGER จะมีรายได้ใหม่เกิดขึ้น สามารถเปลี่ยนจาก Pain Point เป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ใหม่ และเป็นเหตุผลให้ SINGER ปิดคลังสินค้า ลดค่าใช้จ่ายระยะยาว           นายอโณทัย ศรีเตียเพ็ชร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสจี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) (SGC) เปิดเผยถึง ภาพรวมปี 2568 เดินหน้าบุกธุรกิจสินเชื่อ Lock Phone ภายใต้โครงการ SG Finance+ แพลตฟอร์มดิจิทัลที่ช่วยสนับสนุนการขาย จากในปี 2567 ปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 3,246 ล้านบาท มีสัญญาทั้งหมดกว่า 343,889 สัญญา ผ่านเครือข่ายร้านค้าพันธมิตรเกือบ 5,900 แห่ง และพาร์ทเนอร์ 6 แบรนด์มือถือชั้นนำ คือ OPPO – VIVO – XIAOMI – realme – Infinix และล่าสุด Honor แบรนด์จีนที่มี Market share ตลาดมือถือในประเทศสูงถึง 62% และมี NPL อยู่ในระดับต่ำเพียง 0.74 เท่า           ในปี 2568 ตั้งเป้าปีนี้ปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวอยู่ที่ 8,000 ล้านบาท จากปีก่อนปล่อยสินเชื่อ Lock Phone อยู่ที่ 3,246 ล้านบาท จากการขยายตลาดเชิงรุกเต็มปี ซึ่งจะสนับสนุนรายได้อื่นๆ เข้ามาสนับสนุนเพิ่มขึ้น  จากค่าคอมมิชชั่นจากการขายมือถือ (Marketing Support) รวมไปถึงยังได้ค่าธรรมเนียมในการใช้แพลตฟอร์มเครื่องละ 300 บาท นอกจากนี้ เราจะเน้นขายประกันจอแตกผ่าน SG Shield มาขายบันเดิลยอดสินเชื่อ คาดเห็น SG Shield 100 ล้านต่อกรมธรรม/ปี รับรู้คอมมิชชั่นเข้ามาสนับสนุน           อย่างไรก็ดี แผนการปล่อยสินเชื่อ Lock phone 8,000 ล้านบาท แหล่งเงินทุนมาจากกระแสเงินสดบริษัทส่วนหนึ่ง โดยในปี 2567 เราเก็บเงินจากพอร์ตลูกหนี้ราว 6,000 ล้านบาท คาดปีนี้เก็บเงินได้เพิ่มขึ้นประมาณ 7,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นรายได้อื่นๆ อีกทั้ง ปีนี้มีแผนออกหุ้นกู้สนับสนุนการขยายธุรกิจราว 500-1,000 ล้านบาท เป็นโอกาสเข้ามาเติมเต็มโอกาสธุรกิจที่สามารถเพิ่มศักยภาพการเติบโต สะท้อนจากความสำเร็จในการปรับกลยุทธ์ และสนับสนุนกำไรสุทธิในปี 2567 เทิร์นอะราวด์อยู่ที่ 163 ล้านบาท มีพอร์ตสินเชื่อรวมอยู่ที่ 14,408 ล้านบาท โดยหลักมาจากการปรับพอร์ตลดลงของสินเชื่อรถทำเงิน (C4C) และการปรับพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า (HP) มาโฟกัสสินเชื่อ Lock Phone ซึ่งเริ่ม Nation Wide ในเดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา และมี EIR ในระดับสูงกว่าธุรกิจเดิม จากเป้า EIR 28% เราทำได้ 31% [PR News]

JMARTลุยลดหนี้ทั้งกลุ่ม ดันสุกี้ตี๋น้อยเข้าตลาดหุ้น

JMARTลุยลดหนี้ทั้งกลุ่ม ดันสุกี้ตี๋น้อยเข้าตลาดหุ้น

           หุ้นวิชั่น - JMART เดินกลยุทธ์ลดภาระหนี้ทั้งกลุ่ม วางเป้าผลงานปีนี้ไม่ต่ำกว่า 30% ทุกกลุ่มธุรกิจจะกลับมาเติบโต โอกาสธุรกิจล็อคโฟนขยายต่อเนื่อง เร่งดันดันสุกี้ตี๋น้อยเข้าตลาดหุ้น เดินหน้าขยายสาขาต่อเนื่อง โบรกมองประเมิน ราคาหุ้นได้สะท้อนปัจจัยลบไปมากแล้ว และคาดหวังกําไรในไตรมาส 1ปี2568 สดใสขึ้น จากหลายปัจจัยบวกเข้ามาช่วยหนุน ราคาเป้าหมาย 16.30บาท            นาย อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JMART เป้าหมาย 2568 บริษัทวางแผนลดภาระหนี้ของกลุ่ม พร้อมเพิ่มกำไรของบริษัทในเครือ สำหรับกลุ่มโฮลดิ้งวางเป้าหมายผลกำไรเติบโตอย่างน้อย 30% พร้อมดันธุรกิจล็อคโฟน หรือ โทรศัพท์มือถือสร้างกำไรเติบโต ด้วยปัจจุบันเทรนด์ตลาดโทรศัพท์ AI ยังเป็นที่ต้องการของตลาด สัดส่วนการซื้อเงินผ่อนมีการเติบโต ทั้งนี้ โครงการจากภาครัฐ มาตรการ Easy E-Receipt และการเปิดตัวของ ซัมซุง จะหนุนให้ไตรมาสมาส 1 ปี2568 นั้นเติบโตอีกด้วย เล็งดันสุกี้ตี๋น้อยเข้าตลาด            จากปีที่ผ่านมาที่ผ่านมาบริษัทรุกขยายสาขาของสุกี้ตี๋น้อย ในพื้นที่ต่างจังหวัดเพิ่มและได้กระแสตอบรับที่ดี ในปี2568นี้ บริษัทวางแผนที่จะขยายสาขาเพิ่มในจังหวัดที่มีศักยภาพ และรวมถึงขยายสาขาของ ตี๋น้อย BBQ เพิ่มซึ่งบริษัทยังคงเน้นคุณภาพและการบริการเป็นหลัก เพื่อครองใจผู้บริโภคแม้ว่าภาพรวมของตลาดจะมีผู้เล่นใหม่ๆเกิดขึ้นก็ตาม ทั้งนี้ บริษัทเล็งที่ผลักดัน สุกี้ตี๋น้อยเข้าตลาดหลักทรัพย์ในอนาคต โดยอยู่ระหว่างในการวางแผนของบริษัทต่อไป อย่างไรก็ตาม กลุ่มของ JMT ปีนี้ บริษัทวางเป้าเติบโตเท่ากับปี 2566 โดยวางแผนเข้าซื้อหนี้ราว 2,000 ล้านบาท และวางแผนลด ECL ให้ลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงควบคุมลดค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้อง ด้านซิงเกอร์บริษัทวางเป้าที่เติบโต โดยเพิ่มยอดขาย แบ่งเป็นยอดขายจากเครื่องใช้ไฟฟ้าราว 500 ล้านบาท โทรศัพท์มือถือ 500 ล้านบาท และธุรกิจอีวีอีก 30 ล้านบาทอีกด้วย สำหรับผลการดำเนินการ ปี2567 ของบริษัทฯ และบริษัทย่อย มีผลกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้น 1,140.8 ล้านบาท โดยปรับสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาหรือคิดเป็นเติบโต 355% พลิกจากเดิมที่ขาดทุนจากปี 2567 โดยกำไรของบริษัทที่กลับมาเติบโตนั้น จากการบริหารความเสี่ยง และควบคุมต้นทุนที่ดี โบรกคาดไตรมาส 1/68 สดใส !            ด้าน บล.เอเซียพลัส มองแนวโน้มกําไร ไตรมาส 1ปี2568 น่าจะชะลอ QoQ แต่ยังโตได้ YoY โดยฝ่ายวิจัยมองว่ากําไรในไตรมาส 1ปี2568 ของ JMARTน่าจะชะลอลง QoQ จากผลของฤดูกาล แต่มีแนวโน้มดีขึ้นYoY เพราะคาดธุรกิจจัดจําหน่ายได้ประโยชย์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐอย่าง Easy E-receipt ทั้งนี้ คาดว่าผู้บริโภคจะซื้อสินค้าที่มีราคาสูง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงมือถือด้วยบวกกับมือถือแบรนด์ดังต่างมีการเปิดตัวรุ่นใหม่ เช่น Samsung S25, Redmi Note 14และ Huawei Nova 13 ซึ่งได้เปิดตัวไปแล้วในเดือน ม.ค. 68            ในขณะที่ธุรกิจติดตามหนี้ บริหารหนี้ คาดจะมีค่าใช้จ่ายลดลง โดยเฉพาะการตั้งสํารองหนี้ปรับประมาณกําไรปี 2568 ลง แต่คงแนะนํา “Outperform”เพราะเชื่อว่าปัจจัยลบสะท้อนในราคาหุ้นแล้วฝ่ายวิจัยต้องปรับประมาณการกําไรปกติสําหรับปี 2568 –2569 ของ JMART ลง สะท้อนการดําเนินงานของธุรกิจที่ยังล่าช้ากว่าคาดโดยเฉพาะจาก JMTโดยการปรับสมมติฐานรายได้ลดลงต้นทุนและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งทําให้ประมาณการกําไรปกติปี 2568 –69 ลดลงจากเดิมเฉลี่ย 2% เหลือ 984ล้านบาท (+13% YoY) และ 1.2พันล้านบาท (+23% YoY) ตามลําดับ ภายใต้ประมาณการใหม่ทําให้ราคาเป้าหมายปี 2568 ปรับลดจาก 17.50 บาท เหลือ 16.30บาท (SOTP ที่อิงราคา JMT จาก SAA Consensus โดยใช้ค่ามัธยฐานที่ 18 บาท) คงคําแนะนํา “Outperform” เพราะเชื่อว่าราคาหุ้นได้สะท้อนปัจจัยลบไปมากแล้ว และคาดหวังกําไรในไตรมาส 1ปี2568 ทีดูจะสดใสขึ้น YoY จากหลายปัจจัยบวกเข้ามาช่วยหนุน

abs

ปตท. แข็งแกร่งร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

JMART ชูธง JMT–สุกี้ตี๋น้อย  ตั้งเป้ากำไรโตต่อ

JMART ชูธง JMT–สุกี้ตี๋น้อย ตั้งเป้ากำไรโตต่อ

           หุ้นวิชั่น - กลุ่มเจมาร์ท ทรานส์ฟอร์มนำเทคโนโลยีมาใช้ขับเคลื่อนธุรกิจ หนุนปี 67 JMART คอนเฟิร์มตามนัด เข้าสู่สภาวะที่กลับมาเติบโต พลิกทำกำไรอยู่ที่ 1,140.8 ลบ. เพิ่มขึ้น 355% ชูธุรกิจ Lock Phone เป็นดาวรุ่งมาแรง สเกลได้ และความเสี่ยงต่ำ เสริมทัพกับธุรกิจบริหารหนี้ของ JMT ที่ยังคงบริหารจัดการได้ดีแม้ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว พร้อมคุม ECL รัดกุม ตั้งเป้าปีนี้กลับมาทำนิวไฮ พร้อมประกาศจับมือพาร์ทเนอร์รุก InsurTech ด้าน สุกี้ ตี๋น้อย ส่งกำไรกลับมาได้อย่างโดดเด่น รับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากสัดส่วนการลงทุน 30% ที่ 350.7 ลบ. ตั้งเป้าปี 68 JMART ต่อจิ๊กซอว์ Ecosystem หนุนกำไรโตต่อเนื่องอีก 30%            นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JMART เปิดเผยถึง ผลการดำเนินงานงวดปี 2567 มีรายได้จากการขายและบริการ 13,878.8 ล้านบาท กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้น 1,140.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 355% จากปีก่อนหน้า และพลิกจากขาดทุน 447 ล้านบาทในปี 2566 แสดงถึงผลการดำเนินงานของบริษัทได้กลับเข้าสู่สภาวะของการเติบโต ด้วยกลยุทธ์ “The Power of Synergy” ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการสร้าง Ecosystem เชื่อมโยงธุรกิจในเครือในด้าน Commerce Tech และ FinTech  เชื่อมั่นว่ากลยุทธ์ดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง พร้อมสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว ตั้งเป้ากำไร JMART ปีนี้เติบโต 30% จากปีก่อน            โดย บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) (JMT) ผู้นำธุรกิจติดตามหนี้ และบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ส่งกำไรให้ JMART มีผลประกอบการที่น่าพอใจอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2567 มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้น 1,615.2 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้า 19.7% ซึ่งเป็นผลจากการที่บริษัทมีการตั้งสำรอง (ECL) ที่เพิ่มขึ้น โดยบริษัท ได้ปรับกลยุทธ์ เพิ่มมาตรการในการติดตามหนี้ด้อยคุณภาพให้ใกล้ชิดมากขึ้น ทำให้ตั้งแต่ไตรมาส 3/2567 เป็นต้นมา ระดับของ ECL ที่ต้องสำรองลดลงอย่างชัดเจน และมีการจัดเก็บหนี้คุณภาพที่ดีขึ้นตามลำดับ ขณะที่ ในปี 2567 JMT มียอดจัดเก็บหนี้ (Cash Collection) เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 8,809 ล้านบาท (รวม JK AMC) ใช้เงินลงทุนซื้อหนี้อยู่ที่ 1,139 ล้านบาท ซื้อหนี้เข้ามาประมาณ 30,000 ล้านบาท สนับสนุนพอร์ตบริหารหนี้รวมอยู่ที่ 544,920 ล้านบาท            ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ได้มีมติอนุมัติให้ JMT เข้าร่วมทุนกับ บริษัท แอกซินัน (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มของบริษัท Axinan จากประเทศสิงคโปร์ จัดตั้งการร่วมค้า (Joint Venture) โดย JMT ถือหุ้นในบริษัทร่วมค้าสัดส่วน 51% เพื่อประกอบธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์ และ InsurTech โดยความแข็งแกร่งของพาร์ทเนอร์ที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจประกันภัยในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้แบรนด์ “igloo” มีการขยายธุรกิจ InsurTech ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะสามารถใช้พลังจาก Ecosystem ขับเคลื่อน InsurTech ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ            นอกจากนี้ บริษัทที่ JMART เข้าไปลงทุนและสร้างการเติบโตอย่างโดดเด่น คือ สุกี้ ตี๋น้อย (Suki Teenoi) ภายใต้ บริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด ได้รับส่วนแบ่งกำไรจากการถือหุ้นสัดส่วน 30% เท่ากับ 350.7 ล้านบาท จากผลกำไรสุทธิรวมของ Suki Teenoi 1,169 ล้านบาท (ไม่รวม การปันส่วนราคาซื้อ (PPA)) ในด้านรายได้ปี 2567 อยู่ที่ 7,029 ล้านบาท และสามารถรักษา Net Profit Margin อยู่ที่ 17%  สะท้อนกลยุทธ์การควบคุมต้นทุนและบริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้ดี โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 Suki Teenoi มีสาขาทั้งหมด 78 สาขา Teenoi BBQ (บุฟเฟต์ปิ้งย่าง) 1 สาขา และ Teenoi Express (บุฟเฟต์พรีเมียม) 1 สาขา จากปี 2567 ที่ผ่านมา Suki Teenoi มีสาขาจำนวน 55 สาขา โดยสาขาที่เปิดเพิ่มมีส่วนหนึ่งที่ได้เริ่มขยายออกไปต่างจังหวัด เช่น ชลบุรี ระยอง สุพรรณบุรี มหาสารคาม อุดรธานี และเชียงใหม่ เป็นต้น ซึ่งเป็นทำเลที่มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการค่อนข้างหนาแน่น            พร้อมกับตั้งเป้าปีนี้ Suki Teenoi คาดว่าจะขยายสาขาประมาณ 26 สาขา  เพื่อเพิ่มยอดขายและกำไร และได้ดำเนินกิจกรรมการทางการตลาดร่วมกับกลุ่มบริษัทเจมาร์ทต่อเนื่อง โดยในเดือนมกราคมได้เปิดสาขาร่วมกับบริษัทในเครือ คือ Teenoi BBQ ที่ Jas Green Village คู้บอน และเดินหน้าสาขาอื่นๆ เพิ่มเติม            ด้าน บริษัท เจมาร์ท โมบาย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแกนของ JMART ในการเป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกสินค้าเทคโนโลยีและสมาร์ทโฟน ในปี 2567 มียอดขายอยู่ที่ระดับ 8,605 ล้านบาท และมีสาขาที่เปิดทั่วประเทศ 309 สาขา ประเมินปี 2568 สัญญาณดี ได้รับอานิสงส์ในช่วงต้นปีจากภาครัฐบาลไฟเขียว Easy E-Receipt 2.0 ให้ประชาชนนำค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือบริการไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2568  รวมทั้ง สินค้าแฟลกชิพจากภาพรวมตลาด AI Smartphone เข้ามากระตุ้นการเปลี่ยนผ่านของการใช้มือถือ รวมทั้ง การร่วมมือกับบริษัทในกลุ่มผลักดันยอดขายผ่านสินเชื่อมือถือ Lock Phone ทั้งในส่วนของ Samsung Finance+ โดยบริษัท เคบีเจ แคปปิตอล จำกัด และ SG Finance+ โดย บริษัท เอสจี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) ที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง            บริษัท เจเอเอส แอสเซ็ท จำกัด (มหาชน) (J) ดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และบริการพื้นที่เชิงพาณิชย์ ล่าสุด ประกาศผลงานปี 2567 กวาดรายได้จากการขายและบริการกว่า 631 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% จากการรับรู้ 2 โครงการใหม่ที่ JAS Green Village ประเวศ และ รามคำแหง ด้านกำไรสุทธิทำได้เกือบ 166 ล้านบาท เดินหน้าแผนปี 2568 เน้นโฟกัสพื้นที่ศูนย์การค้าชุมชนซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 8 แห่ง มีพื้นที่รวมประมาณ 100,000 ตารางเมตร พัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตั้งเป้ารายได้ปี 68 เติบโตอย่างต่อเนื่อง            สำหรับ บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SINGER รายงานผลการดำเนินงานปี 2567 มีรายได้ 2,538 ล้านบาท พลิกมีกำไรสุทธิ 14 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมีผลขาดทุนสุทธิ 3,210 ล้านบาท เนื่องจาก กลุ่มบริษัทฯ มีการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตในธุรกิจสินเชื่อของบริษัทย่อย และการตั้งสำรองการลดลงของมูลค่าสินค้าในบริษัท รวมทั้งสินค้าล้าสมัยในสินค้าคงเหลือ ลดลงอย่างมีสาระสำคัญเมื่อเทียบกับปีก่อน ในด้านผลงานไตรมาส 4/2567 มีผลขาดทุน 61 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากรับรู้ค่าใช้จ่าย One time จากการปิดสถานที่ค่าเช่าหรือค่าบริหารที่ไม่ก่อให้เกิดกำไร ทำให้มีการตั้งสำรองค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ ซึ่งประกอบไปด้วย สินค้าคงเหลือ เครื่องมือ อุปกรณ์ และ ผลขาดทุนด้านเครดิตของบริษัทย่อยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ภายหลังจากการจ่ายคืนหุ้นกู้ครบถ้วนเมื่อต้นเดือน กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาทำให้ SINGER ไม่มีต้นทุนทางการเงินจากหุ้นกู้อีกภายในปี 2568 นี้            โดยธุรกิจ Lock Phone ภายใต้บริษัท SGC ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ที่ทำผลงานได้ดีชดเชยกับยอดขายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ลดลงจากการควบคุมนโยบายการอนุมัติของสินเชื่อในการควบคุมหนี้เสีย จึงตั้งเป้าในปี 2568 ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าจะขยายไปยัง Multi Brand และกลับมาโฟกัสตลาดมือถือให้เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ และช่องทางการขายใหม่ๆ อีกทั้ง การไม่มีภาระจากการคืนหุ้นกู้ชุดสุดท้ายเรียบร้อยแล้วในเดือนกุมภาพันธ์ สนับสนุนให้ต้นทุนทางการเงินในปีนี้ปรับตัวลดลง จึงคาดว่า SINGER กำไรเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ            บริษัท เอสจี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ SGC เปิดเผยถึง ความสำเร็จในการขยายธุรกิจใหม่ในปี 2567 สนับสนุนกำไรสุทธิอยู่ที่ 163 ล้านบาท พลิกฟื้นจากปี 2566 ขาดทุนอยู่ที่ 2,275 ล้านบาท ด้านรายได้รวมอยู่ที่ 1,955 ล้านบาท จากการนำเทคโนโลยีมาใช้ขยายธุรกิจ Lock Phone ทำให้สามารถสเกลได้ และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน รวมทั้ง การควบคุมต้นทุนการบริหารจัดการและ Credit Cost ต่างๆ ที่มีการติดตามอย่างใกล้ชิด ในด้านการคืนเงินกู้จะเป็นปัจจัยบวกทำให้ปีนี้ SGC ต้นทุนทางการเงินลดลง            ในปี 2567 บริษัทมียอดปล่อยสินเชื่อใหม่อยู่ที่ 5,103 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 6,471 ล้านบาท โดยหลักมาจากการลดลงของสินเชื่อรถทำเงิน (C4C) ซึ่งเป็นพอร์ตหลักของบริษัท มีสัดส่วนอยู่ที่เพียง  27% ของยอดสินเชื่อใหม่ ขณะที่ สินเชื่อเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า (HP) สัดส่วน 4% จากการอนุมัติการปล่อยสินเชื่อรัดกุม และโฟกัสสินเชื่อ Lock Phone ที่เริ่ม Nation Wide ในเดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา จนถึงสิ้นปีสามารถปล่อยสินเชื่อใหม่รวมอยู่ที่ 3,246 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 63% ของยอดสินเชื่อใหม่ สะท้อนการเติบโตเชิงรุกในธุรกิจที่เป็นโอกาสมากขึ้น สนับสนุนพอร์ตสินเชื่อรวมในปี 2567 อยู่ที่ 14,408 ล้านบาท            โดยธุรกิจสินเชื่อ Lock Phone ภายใต้โครงการ SG Finance+ ในปี 2567 มีสัญญาทั้งหมดกว่า 343,000 สัญญา ผ่านเครือข่ายร้านค้าพันธมิตรเกือบ 6,000 แห่ง และพาร์ทเนอร์แบรนด์มือถือชั้นนำ OPPO – VIVO – XIAOMI – realme – Infinix และล่าสุด Honor  ในปี 2568 ยังคงโฟกัสสินเชื่อ Lock Phone เป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อระยะสั้น และมี NPL อยู่ในระดับต่ำ [PR News]

สรุปงบกลุ่ม JMART ปี 2567

สรุปงบกลุ่ม JMART ปี 2567

           บริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (JMART) รายงานผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจากงบการเงินรวมประจำปี 2567 บริษัท มีผลกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้น 1,140.8 ล้านบาท ปรับสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาเท่ากับ 355% ซึ่งแสดงถึงผลการดำเนินงานของบริษัทได้กลับเข้าสู่สภาวะของการเติบโตในการดำเนินงาน            กลุ่มบริษัทเจมาร์ท ยังคงดำเนินธุรกิจภายใต้การดำเนินงานร่วมกันของกลุ่มบริษัทย่อยและร่วม โดยมี 4 สายธุรกิจหลัก ที่เน้นการประกอบธุรกิจในธุรกิจค้าปลีกและการเงินด้วยเทคโนโลยี ภายใต้ปณิธานของการดำเนินงานในแนวคิด “The Power of Synergy” ซึ่งเป็นกลยุทธ์หลักที่สำคัญที่จะสร้างระบบนิเวศในการดำเนินงาน (Ecosystem) เพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น            ทั้งนี้ ธุรกิจจัดจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์เสริม ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท เจมาร์ท โมบาย จำกัด (“เจมาร์ท โมบาย”) ในปี 2567 ที่ผ่านมา มีจำนวนสาขาที่เปิดทั่วประเทศจำนวน 309 สาขา มียอดขายลดลง 1% จากปีที่ผ่านมา โดยมียอดขายอยู่ที่ระดับ 8,605 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิเท่ากับ 90 ล้านบาท เนื่องจากสภาวะของการแข่งขั้นและสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่กำลังซื้อยังมีการชะลอตัว            บริษัทฯ ยังคงมีมุมมองในเชิงบวกต่อทิศทางของผลการดำเนินงานในปี 2568 ต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมียอดขายที่สูงกว่าปี 2567 ที่ผ่านมา เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีจาก Smart Phone ไปสู่ AI Smart Phone ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านของการใช้มือถือที่มีสมรรถภาพทางด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มากขึ้น ประกอบกับการร่วมมือกับบริษัทในกลุ่มในการผลักดันยอดขายผ่านสินเชื่อมือถือ Locked Phone ทั้งในส่วนของ Samsung Finance+ โดยบริษัท เคบีเจ แคปิตอล จำกัด และ SG Finance+ โดยบริษัท เอสจี แคปิตอล จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ คาดหวังว่านโยบายการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐจะเพิ่มยอดขายให้ภายในปี 2568 นี้            ธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท เจเอ็มที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) (JMT) ยังคงเป็นธุรกิจที่มีผลประกอบการที่น่าพอใจอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2567 ที่ผ่านมามีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 1,615.2 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้า 19.7% ซึ่งเป็นผลจากการที่บริษัทมีการตั้งสำรอง Expected Credit Loss ที่เพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บหนี้ที่น้อยกว่าประมาณการ โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 อย่างไรก็ตามฝ่ายบริหารของเจเอ็มทีได้ปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจโดยการเพิ่มมาตรการในการติดตามหนี้ด้อยคุณภาพให้ใกล้ชิดมากขึ้น ทำให้ตั้งแต่ไตรมาส 3/2567 เป็นต้นมา ระดับของ ECL ที่ต้องสำรองลดลงอย่างชัดเจน และมีการจัดเก็บหนี้คุณภาพที่ดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งปี 2568 เจเอ็มที คาดว่าจะมีระดับของ ECL ที่อยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ และทิศทางเช่นเดียวกับในไตรมาส 3 และ 4 ของปี 2567            ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท เจเอเอส แอสเซ็ท จำกัด (มหาชน) (J) มีผลการดำเนินงานในปี 2567 มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 165.6 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้า 14% เนื่องจากรายการปรับมูลค่ายุติธรรมที่ลดลง โดยในปี 2567 ที่ผ่านมา บริษัทไม่มีการเปิดตัวของโครงการศูนย์การค้าชุมชนที่มีขนาดใหญ่เทียบเท่ากับปี 2566 ที่ผ่านมา โดยเจเอเอสเปิดศูนย์การค้าได้ตามเป้าหมายจำนวน 2 ศูนย์การค้า ด้วยกันคือ JAS Green Village ประเวศ และ JAS Green Village รามคำแหง ซึ่งทำให้ปัจจุบันเจเอเอสมีศูนย์การค้าชุมชนภายใต้การบริหาร 8 ทำลทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้งนี้ สำหรับปี 2567 ที่ผ่านมา บริษัทเน้นรักษากระแสเงินสดพร้อมกับการปรับปรุงโครงการของศูนย์การค้าเดิม ซึ่งได้เห็นผลอย่างชัดเจนที่ศูนย์การค้า JAS Green Village อมตะ ที่มีผู้เช่ารายใหญ่และรายย่อยเข้ามาเช่าพื้นที่ทำให้โครงการศูนย์การค้ามีอัตราการเช่าที่ดีขึ้น และในช่วงปลายปี 2567 ที่ผ่านมา โครงการ The JAS รามอินทราได้เปิดตัว Supermarket โดย Big C ได้เข้ามาเปิด Big C Food Place ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้าจากชุมชนใกล้เคียง ในปี 2568 J มุ่งเน้นไปที่การสร้างรายได้ส่วนเพิ่ม โดยที่จะมีมูลค่าการลงทุนขนาดใหญ่ที่ลดลง และสร้างอัตรากำไรเพิ่มจากอสังหาริมทรัพย์ที่มีศักยภาพภายใต้การบริหารของบริษัท            ธุรกิจประกันภัย ภายใต้บริษัทย่อยของเจเอ็มที ภายใต้ชื่อบริษัท เจมาร์ท ประกันภัย จำกัด (มหาชน) สำหรับปี 2567 มีรายได้ 227.2 ล้านบาท ลดลง 89.1 ล้านบาท หรือลดลง 28.2% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากบริษัทฯ ได้พิจารณาการรับประกันภัยโดยพิจารณาถึงความเสี่ยงของประกันภัยเพื่อควบคุม Loss Ratio            ขณะที่ บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อยประจำปี 2567 งบการเงินรวมมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทฯ 1,615.2 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 เท่ากับ 395.5 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิเท่ากับ ร้อยละ 30.9 ส่วนรายได้รวมสำหรับปี 2567 เท่ากับ 5,225.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 139.3 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 2.7            ด้าน บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SINGER สำหรับไตรมาสสุดท้ายของเดือนธันวาคม กลุ่มบริษัทฯ มีกำไรสุทธิของบริษัทใหญ่จำนวน 14 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,224 ล้านบาท จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีผลขาดทุน 3,210 ล้านบาท เนื่องจากในปี 2567 กลุ่มบริษัทฯ มีการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตในธุรกิจสินเชื่อของบริษัทย่อย และการตั้งสำรองการลดลงของมูลค่าสินค้าในบริษัท รวมทั้งสินค้าล้าสมัยในสินค้าคงเหลือลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับปีก่อน            ด้านบริษัท เจเอเอส แอสเซ็ท จำกัด (มหาชน)หรือ J สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อยประจำปี 2567 มีกำไรสุทธิ 165.6 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 14 โดยสาเหตุหลักที่บริษัทมีกำไรสุทธิลดลง เนื่องจาก รายการกำไรสุทธิจากการปรับมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนลดลง จากคอมมูนิตี้มอลล์ใหม่ของบริษัทฯ ที่ทำการเปิดศูนย์การค้า JAS Green Village ประเวศ ในไตรมาสที่ 2/2567 และ JAS Green Village รามคำแหง ในไตรมาสที่ 3/2567 ซึ่งมีมูลค่าของโครงการขนาดเล็กกว่าปี 2566 รวมถึง ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เพิ่มสูงขึ้น            นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมา บริษัทได้มุ่งเน้นไปที่ การพัฒนาศูนย์การค้าเดิมให้มีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึง ปรับเปลี่ยนผู้เช่ารายหลักในบางศูนย์การค้า ที่เปิดดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว เพื่อเพิ่มสีสันและความน่าสนใจให้กับลูกค้าในแต่ละศูนย์ ขณะที่บริษัท เอสจี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)หรือSGC สำหรับปี 2567 บริษัทมีกำไรสุทธิ จำนวน 162.7 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2566 บริษัทมี ขาดทุนสุทธิ จำนวน 2,275.2 ล้านบาท            กำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจาก นโยบายการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้น และ การติดตามหนี้เชิงรุก ทำให้ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลง รวมถึง การเติบโตของรายได้ดอกเบี้ยรับจากพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อโทรศัพท์มือถือ (Lock Phone)นอกจากนี้ การควบคุมค่าใช้จ่าย และการชำระคืนเงินกู้ยืมบางส่วน ทำให้ ดอกเบี้ยจ่ายลดลง ส่งผลให้ในปี 2567 บริษัทมี อัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ร้อยละ 8.3            และบริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด (สุกี้ ตี๋น้อย หรือ Suki Teenoi) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 Suki Teenoi มีสาขาทั้งหมด 78 สาขา, Teenoi BBQ (บุฟเฟต์ปิ้งย่าง) 1 สาขา, และ Teenoi Express (บุฟเฟต์พรีเมียม) 1 สาขา ในปี 2567 Suki Teenoi ได้เปิดสาขาเพิ่มขึ้น 23 สาขา โดยบางส่วนได้เริ่มขยายไปยัง ต่างจังหวัด เช่น ชลบุรี, ระยอง, สุพรรณบุรี, มหาสารคาม, อุดรธานี และเชียงใหม่ ซึ่งเป็นทำเลที่มีลูกค้าเข้าใช้บริการหนาแน่น ด้วยแนวคิด การให้บริการที่เข้าถึงความต้องการของลูกค้า ที่ต้องการทาน สุกี้-ชาบู ในราคาคุ้มค่า ทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างดี            สำหรับปี 2567 ที่ผ่านมา บริษัทได้รับส่วนแบ่งกำไรจากการถือหุ้น Suki Teenoi ในสัดส่วนร้อยละ 30 เท่ากับ 350.7 ล้านบาท จากผลกำไรสุทธิรวม 1,169 ล้านบาท (ไม่รวมการปันส่วนราคาซื้อ (PPA))            นอกจากนี้ บริษัทได้ดำเนินกิจกรรมทางการตลาดร่วมกับ กลุ่มบริษัทเจมาร์ท เช่น การนำคะแนนสะสมมาแลกเป็นค่าบุฟเฟต์ ตามที่กำหนด รวมถึงยังมีแผนร่วมมือกันในการเปิดร้าน Teenoi BBQ ในศูนย์การค้าของ JAS Asset ซึ่งได้เปิดไปแล้ว 1 สาขาที่ Jas Green Village คู้บอน เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา

SINGER กลับมากำไรแล้ว รุก

SINGER กลับมากำไรแล้ว รุก "ล็อกสินค้า" ทีวี-เครื่องซักผ้า

           หุ้นวิชั่น - ถอดรหัส คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ของบริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) และบริษัทย่อย (กลุ่มบริษัทฯ)" หรือ SINGER            "สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม กลุ่มบริษัทฯ มีผลกำไรสุทธิของบริษัทใหญ่จำนวน 14 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 3,224 ล้านบาท จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีผลขาดทุน 3,210 ล้านบาท เนื่องจากในปี 2567 กลุ่มบริษัทฯ มีการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตในธุรกิจสินเชื่อของบริษัทย่อย และการตั้งสำรองการลดลงของมูลค่าสินค้า รวมทั้งสินค้าล้าสมัยในสินค้าคงเหลือ ลดลงอย่างมีสาระสำคัญเมื่อเทียบกับปีก่อน"            ฝ่ายบริหารและกลุ่มบริษัทฯ ยังคงมีมุมมองเชิงบวกสำหรับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานในอนาคต ถึงแม้ปัจจุบันทางด้านยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าจะลดลง จากนโยบายการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้น บริษัทได้พิจารณาใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตน และการใช้ Platform สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 4 จะช่วยในเรื่องของการขายและการขยายเครือข่ายที่ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น            ทั้งนี้ด้านธุรกิจสินเชื่อโดยเฉพาะสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ที่มีการแข่งขันที่สูงขึ้นในขณะที่อัตราดอกเบี้ยไม่สามารถปรับตัวให้สูงขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2566 กลุ่มบริษัทฯ ได้เริ่มมีการปรับเปลี่ยนธุรกิจโดยมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยสินเชื่อโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่สามารถล็อคการใช้งานหากลูกค้าไม่ชำระเงินค่างวด หรือ Locked Phone โดยมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้ง่ายและรวดเร็วในการสมัครสินเชื่อและการอนุมัติสินเชื่อโดยผ่านแพลตฟอร์มที่เรียกว่า "SG Finance+" ตลอดจนการจ่ายชำระค่างวดของลูกค้า ซึ่งสินเชื่อดังกล่าวมีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเฉลี่ยในอัตราสูง และอัตราหนี้เสีย (NPL) อยู่ในอัตราที่ต่ำ            ซึ่งฝ่ายบริหารมีความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะสามารถทำให้กลุ่มบริษัทฯ เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับกลุ่มบริษัทฯ ได้ปรับลดค่าใช้จ่ายอย่างมีนัยยะสำคัญที่จะทำให้ต้นทุนในการจัดจำหน่ายและค่าใช้จ่ายในการบริหารลดลงในอนาคต            บริษัทได้ประกาศวิสัยทัศน์ใหม่ "Financial Services Network Tech" โดยมุ่งเน้นการสร้าง "New Business - New Growth Engine" มุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านบริการทางการเงินครบวงจร ด้วยการผสานจุดแข็งด้านเครือข่ายการขายที่ครอบคลุมทั่วประเทศเข้ากับเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัล ผ่านกลยุทธ์หลัก 3 ด้าน ประกอบด้วย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถ Lock ได้ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล SG Finance+ และการขยายเครือข่ายพันธมิตร เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน            การพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญคือการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ภายใต้แคมเปญ "Locked Phone" โดยร่วมกับบริษัทย่อยในการเสนอผลิตภัณฑ์สินเชื่อ "เอสจี ไฟแนนซ์พลัส (SG Finance+)" สำหรับการซื้อโทรศัพท์มือถือ            นอกจากนี้บริษัทยังขยายพอร์ตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยการร่วมมือกับแบรนด์ชั้นนำอย่าง SAMSUNG, TCL, และ ACONATIC เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค และเตรียมนำแคมเปญ "ล็อกสินค้า" มาใช้กับทีวีและเครื่องซักผ้าเพื่อบริหารความเสี่ยง และบริษัทยังรุกตลาดรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อตอบรับกระแสความต้องการพลังงานสะอาดและนโยบายภาครัฐ            การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลบริษัทนำแพลตฟอร์มดิจิทัลมาใช้ในการให้บริการสินเชื่อ SG Finance+ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกสบายในการอนุมัติสินเชื่อ ลดการใช้กระดาษ และนำเทคโนโลยีล่าสุดมาช่วยในการยืนยันตัวตนและประเมินความเสี่ยงของลูกค้า นอกจากนี้บริษัทยังพัฒนาระบบแคตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Catalog) เพื่อให้พนักงานขายและตัวแทนจำหน่ายสามารถนำเสนอสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น            ในการขยายเครือข่ายพันธมิตรบริษัทยังคงมุ่งมั่นในการขยายเครือข่ายพันธมิตร โดยร่วมมือกับ Influencer และครีเอเตอร์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น TikTok เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ และล่าสุดได้ร่วมมือกับ "ร้านเตือนใจ" นำเครื่องใช้ไฟฟ้าไปจัดจำหน่ายใน 300 สาขาทั่วประเทศภายในปี 2567 และมีเป้าหมายในการขยายเครือข่ายตัวแทนขายจาก 3,000 รายในช่วงครึ่งปีแรกเป็น 5,000 รายภายในสิ้นปีนี้ โดยเน้นกลุ่มดีลเลอร์ของ SG Finance+ ที่สนใจขยายไลน์สินค้า

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

JMART พลิกกำไรโต 355% จบสิ้นบุ๊กขาดทุน SINGER

JMART พลิกกำไรโต 355% จบสิ้นบุ๊กขาดทุน SINGER

          หุ้นวิชั่น - บริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JMART รายงานผลประกอบการ ปี 2567           โดยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทฯ มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสำหรับปี 2567 เท่ากับ 1,140.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,587.8 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 355.2 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจาก • ผลประกอบการของบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรตามปกติ • ไม่มีส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนใน บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) เหมือนในปีที่ผ่านมา           โดยมีกำไรขั้นต้นบริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นตามงบการเงินรวมสำหรับปี 2567 เท่ากับ 4,487.3 ล้านบาท ลดลง 118.2 ล้านบาท หรือ ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 2.6 เมื่อเปรียบเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อนหน้า ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร           บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารจากงบการเงินรวมประจำปี 2567 เท่ากับ 3,071.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 341.2 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจาก • ค่าใช้จ่ายของพนักงานของบริษัทย่อยที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของธุรกิจ • ค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่เพิ่มขึ้นในบริษัทย่อย • ค่าเสื่อมราคาที่เกิดขึ้นจากการขยายสาขา • ECL ที่เกิดขึ้นในบริษัทย่อยที่ทำธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในการร่วมค้า           บริษัทฯ มีส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในการร่วมค้าเท่ากับ 463.6 ล้านบาท ลดลง 57.8 ล้านบาท หรือ ลดลงร้อยละ 11.1 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นส่วนแบ่งกำไรจากผลการดำเนินงานของ บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจเค จำกัด โดยมีสาเหตุมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ทำให้การจัดเก็บหนี้ลดลง อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ           บริษัทฯ มีส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมเท่ากับ 306.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 938.4 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 148.6 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า สาเหตุหลักเนื่องจาก • ในไตรมาส 1 และ 2 ปี 2566 มีรายการส่วนแบ่งขาดทุนจาก บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) • การตั้งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss) ที่เกิดขึ้นจาก บริษัท เอสจี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) กำไรสุทธิสำหรับงวด           บริษัทฯ มีกำไรสุทธิสำหรับปี 2567 เท่ากับ 1,965.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,366.6 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 228.1 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจาก • ผลประกอบการของบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรตามปกติ • ไม่มีส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนใน บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) เหมือนในปีที่ผ่านมา

JMARTผลงานเด่นสุด โบรกให้เป้าเชิงกลยุทธ์ 12.90 บ.

JMARTผลงานเด่นสุด โบรกให้เป้าเชิงกลยุทธ์ 12.90 บ.

            หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด ระบุถึง JMART จะเติบโตเด่นสุดใน 4Q ผู้บริหารตั้งเป้ารายได้ปี 25F เติบโต 30% จากการผนึกกำลัง Ecosystem ของทุกกลุ่มธุรกิจดังนี้ ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไอที ตามการพัฒนาสินค้า IT และการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ของค่ายโทรศัพท์ต่าง ๆ ส่วนสำหรับธุรกิจ สุกี้ตี๋น้อย ที่อยู่ในเครือ มีโอกาสขยายตัวเพิ่มเติม บริษัทจึงมีแผนเปิดร้านอาหาร ตี๋น้อย บาร์บีคิว เพิ่มเติม             JMT ยังมีโมเมนตัมการเติบโตต่อเนื่องจาก 2H24 จนถึงตลอดปี 25F ตามการเก็บเงินสดที่เพิ่มขึ้น หลังจากที่บริษัทเริ่มดำเนินคดีทางกฎหมายอย่างจริงจังตั้งแต่ 2Q24 ส่วนภาพรวมหนี้ภาคครัวเรือนก็ยังอยู่ในระดับสูง โดยตั้งเป้าปี 68 งบลงทุนซื้อหนี้ไว้เบื้องต้น 2,000 ล้านบาท มูลค่าหนี้ราว 1 หมื่นล้านบาท             SINGER-SGC ที่ได้ดำเนินธุรกิจการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อโทรศัพท์มือถือ Lock Phone ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น เพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่             ฝ่ายวิเคราะห์ประเมินแนวโน้มผลประกอบการของ JMART จะเติบโตเด่นสุดใน 4Q จาก JMT ที่ผ่านจุดต่ำสุดของปีมาแล้ว ตามแนวโน้ม cash collection ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงแผนปรับปรุงการติดตามหนี้โดยการใช้กระบวนการทางกฎหมายที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองอย่างยั่งยืน และจะเข้าสู่ช่วง high season ในงวด 4Q24F             ผลประกอบการของ SINGER และ SGC มีทิศทางที่ดีขึ้นจากการขยายสินเชื่อ Locked Phone ผ่าน SG Finance+ ที่ตั้งเป้าแตะ 100,000 สัญญาภายในปีนี้ และทำการตลาดขยายพาร์ทเนอร์ให้มากขึ้น พร้อมกับการจัดการค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น             คาดหวังรายงานกำไรสุทธิใน 2H24F ส่วนของ KBJ ผลประกอบการขยายตัวผ่าน Samsung Finance+ ธุรกิจ Mobile ดีขึ้นจากการขยายแบรนด์ใหม่ พร้อมกับรับอานิสงส์จากการเปิดตัว iPhone 16 และประเมิน SSSG อยู่ในกรอบ 7-10% ของ Retail shop ผลประกอบการของ JAS Asset ดีขึ้นต่อเนื่อง ตามการเปิดศูนย์การค้าใหม่ที่รามคำแหง หนุนผลประกอบการให้ก้าวกระโดด โดยปัจจุบันมี occ rate เฉลี่ยราว 90%             ร้านสุกี้ตี๋น้อย มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นต่อเนื่อง ตามรายได้ที่ขยายตัวจากการขยายสาขา พร้อมกับเข้าสู่ช่วง high season ของธุรกิจ คาดการณ์กำไรสุทธิในปี 24-26F เท่ากับ 1.3 พันล้านบาท (พลิกจากขาดทุนสุทธิในปีก่อนที่ 447 ล้านบาท), 1.54 พันล้านบาท +16%YoY และ 1.88 พันล้านบาท +22%YoY ตามลำดับ คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ยแบบ CAGR ที่ 12% ต่อปี ตามการรับรู้ผลประกอบการของบริษัทย่อยของกลุ่มที่ดีขึ้น และผลของการสร้าง Ecosystem ภายในกลุ่มแนวรับ 11.80/11.50 ไม่ควรต่ำกว่าลงมา แนวต้าน 12.30/12.90

บรูอิ้งแฮปปี้เนส บ.ย่อย JMART รุกตลาดกาแฟพรีเมียม  “xBloom”

บรูอิ้งแฮปปี้เนส บ.ย่อย JMART รุกตลาดกาแฟพรีเมียม  “xBloom”

          หุ้นวิชั่น - ในปี 2025 โลกกำลังจะเข้าสู่ยุคของ Convenience Automation Drip Coffee หรือยุคที่ทุกๆ คนสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยทำกาแฟสด (Specialty Coffee) ที่สมบูรณ์แบบได้เองแบบง่ายๆ ที่บ้านได้ ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงกาแฟที่มีคุณภาพมากขึ้นได้ทุกวันที่บ้าน จะเห็นได้จากหลายๆแบรนด์กาแฟใหญ่ทั่วโลกต่างมีนวัตกรรมเครื่องอัตโนมัติต่างๆ ซึ่ง xBloom เป็นแบรนด์ที่ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกต่างให้การยอมรับสูงที่สุดในปี 2024           นายเอกชัย สุขุมวิทยา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (JMART) เปิดเผยว่า บริษัท บรูอิ้งแฮปปี้เนส จำกัด (Brewing Happiness) ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม ดำเนินธุรกิจร้านกาแฟ Specialty Coffee ภายใต้แบรนด์ CASA LAPIN มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดจำหน่ายเพียงเจ้าเดียว (Exclusive Distributor) ในประเทศไทยให้แก่ xBloom แบรนด์เครื่องชงกาแฟชั้นนำจากประเทศสหรัฐฯ โดย xBloom ได้รับการยอมรับในระดับโลกด้านเทคโนโลยีเครื่องชงกาแฟที่มีดีไซน์ทันสมัย สะดวก และ เรียบง่าย มีความโดดเด่นด้วยระบบอัตโนมัติที่ออกแบบมาอย่างครบทุกมิติ เพื่อรสชาติกาแฟที่ดีที่สุด สามารถบดกาแฟ ชงกาแฟ และชั่งน้ำหนักได้ภายในเครื่องเดียว นอกจากนี้ ยังได้เตรียมเปิดตัว xBloom Experience Store แห่งแรกใจกลางกรุงเทพฯ ที่ Central World ในเดือนมีนาคมนี้ ส่งมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมของเครื่องชงกาแฟ ให้ลูกค้าสัมผัสอย่างใกล้ชิด           นับเป็นก้าวสำคัญของการขยายธุรกิจของ บรูอิ้งแฮปปี้เนส ที่ก้าวนำเข้าสู่ยุค Convenience Automation Drip Coffee เจ้าแรกในไทย สอดรับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคปัจจุบันที่ต้องการความสะดวกในการบริโภคเครื่องดื่ม รุกตลาดกาแฟสดในบ้านที่ต้องการคุณภาพที่ดีขึ้นและง่ายขึ้น ทำให้ชีวิตดีขึ้นจากเดิม           การจับมือกับ xBloom แบรนด์เครื่องดริปกาแฟรูปแบบใหม่ จึงนับเป็นการประกาศแผนบุกตลาดกาแฟในบ้านอย่างเข้มข้นในปี 2568 อีกทางหนึ่ง คือการต่อยอดความสำเร็จของร้าน CASA LAPIN ที่มีคอนเซ็ปต์ความเป็น Specialty Coffee และการมุ่งเน้น ‘Brewing Happiness’ คือ การชงความสุข ลูกค้าได้อะไรที่มากกว่าการดื่มกาแฟ สามารถเจาะตลาดคอกาแฟสดพรีเมียมที่ลูกค้าสามารถดื่มด่ำในการชงกาแฟที่บ้านและสามารถเติบโตไปพร้อมกับภาพรวมตลาดกาแฟไทย โดยในปี 2567 มีมูลค่าประมาณ 60,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ลูกค้าที่สนใจสามารถเยี่ยมชมเครื่อง xBloom ได้ที่สาขาของ CASA Lapin ทุกสาขา และพาร์ทเนอร์ที่ถูกแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ เพื่อทดสอบประสบการณ์ดื่มกาแฟดริปแบบพรีเมียมได้ด้วยตัวเองที่บ้าน หรือที่ ทำงาน หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Fan Page: https://www.facebook.com/xblooomthailand/ [PR News]

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

JMART - JMT ปี 68 ลุยธุรกิจเติบโตแกร่ง  ดันแผน New S-Curve CommerceTech และ Fintech

JMART - JMT ปี 68 ลุยธุรกิจเติบโตแกร่ง ดันแผน New S-Curve CommerceTech และ Fintech

          หุ้นวิชั่น - บมจ. เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (JMART) พร้อมลุยธุรกิจเต็มพิกัดรับปีมะเส็ง เดินหน้าตามกลยุทธ์ CommerceTech - Fin Tech  ผนึกกำลัง Synergy ธุรกิจค้าปลีก การเงิน และเทคโนโลยี มี Ecosystem ที่ครบวงจร วางเป้ากำไรปี 68 เติบโตจากปี 67 เดินหน้าทรานส์ฟอร์มองค์กร ผลงานพลิกฟื้นตามนัด มองเทคโนโลยี คือ จุดเปลี่ยนเกมส์ธุรกิจ เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน โดย บริษัท เจเวนเจอร์ส จำกัด เตรียมเผยข่าวดีเร็วๆ นี้ อย่างไรก็ดี จากสถานการณ์ของราคาหุ้นที่ปรับลดลง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการจำนำหุ้นแต่อย่างใด           ด้าน บมจ.เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส (JMT) อภิชาตบุตรในการเติบโตของ JMART ส่งสัญญาณปีนี้ ธุรกิจบริหารหนี้ยังแข็งแกร่ง ผลจากการปรับกลยุทธ์การติดตามลูกค้าอย่างใกล้ชิดทำให้ ช่วงที่ผ่านมา ลูกหนี้มีอัตราเร่งลูกค้าปิดบัญชี และกระแสเงินสดเข้ามาปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ หนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) ในระบบยังมีอีกจำนวนมาก ข้อมูลจากเครดิตบูโร ระบุ ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 67 พบหนี้เสีย (NPL) แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จึงมองเป็นโอกาสของ JMT เข้ามาช่วยบริหารจัดการหนี้เสียจากสถาบันการเงิน แก้ปัญหาลูกหนี้ที่ประสบปัญหาการปรับโครงสร้างหนี้ให้กลับคืนสู่ระบบ สร้างการเติบโตไปพร้อมเศรษฐกิจที่ยั่งยืน โดยตั้งเป้าปี 68 งบลงทุนซื้อหนี้ไว้เบื้องต้น 2,000 ล้านบาท

JMART คาด Q4 โตเด่น โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 18.60 บาท

JMART คาด Q4 โตเด่น โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 18.60 บาท

หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.เอเอสแอล ประเมินแนวโน้มผลประกอบการของ JMART จะเติบโตเด่นสุดใน 4Q จาก 1. JMT ที่ผ่านจุดต่ำสุดของปีมาแล้ว ตามแนวโน้ม cash collection ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงแผนปรับปรุงการติดตามหนี้โดยการใช้กระบวนการทางกฎหมายที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองอย่างยั่งยืน และจะเข้าสู่ช่วง high season ในงวด 4Q24F 2. ผลประกอบการของ SINGER และ SGC มีทิศทางที่ดีขึ้นจากการขยายสินเชื่อ Locked Phone ผ่าน SG Finance+ ที่ตั้งเป้าแตะ 100,000 สัญญาภายในปีนี้ และทำการตลาดขยายพาร์ทเนอร์ให้มากขึ้น พร้อมกับการจัดการค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น คาดหวังรายงานกำไรสุทธิใน 2H24F ส่วนของ KBJ ผลประกอบการขยายตัวผ่าน Samsung Finance+ 3. ธุรกิจ Mobile ดีขึ้นจากการขยายแบรนด์ใหม่ พร้อมกับรับอานิสงส์จากการเปิดตัว iPhone 16 ในงวด และประเมิน SSSG อยู่ในกรอบ 7-10% ของ Retail shop 4. ผลประกอบการของ JAS Asset ดีขึ้นต่อเนื่อง ตามการเปิดศูนย์การค้าใหม่ที่รามคำแหง หนุนผลประกอบการให้ก้าวกระโดด โดยปัจจุบันมี occ rate เฉลี่ยราว 90% 5. ร้านสุกี้ตี๋น้อยมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นต่อเนื่อง ตามรายได้ที่ขยายตัวจากการขยายสาขา พร้อมกับเข้าสู่ช่วง high season ของธุรกิจ • คาดการณ์กำไรสุทธิในปี 24-26F เท่ากับ 1.3 พันล้านบาท (พลิกจากขาดทุนสุทธิในปีก่อนที่ 447 ล้านบาท), 1.54 พันล้านบาท (+16% YoY) และ 1.88 พันล้านบาท (+22% YoY) ตามลำดับ คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ยแบบ CAGR ที่ 12% ต่อปีตามการรับรู้ผลประกอบการของบริษัทย่อยของกลุ่มที่ดีขึ้น และผลของการสร้าง Ecosystem ภายในกลุ่ม • แนะนำ “ซื้อ” มีราคาเป้าหมายปี 25F ที่ 18.60 บาท อิง PE ที่ 17.7 เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยย้อนหลังระยะยาว – 0.75 SD คาดหวังแนวโน้มทุกธุรกิจฟื้นตัว โดยเฉพาะ JMT ที่ยังมี upside จากการจัดตั้ง JV AMC กับสถาบันการเงิน และผลประกอบการของ SINGER และ SGC ที่คาดว่าจะพลิกกลับมามีกำไรใน 2H24F

JMART เดินหน้าวิสัยทัศน์สู่ความยั่งยืน คว้า SET ESG Ratings 2024 ที่ระดับ “A”

JMART เดินหน้าวิสัยทัศน์สู่ความยั่งยืน คว้า SET ESG Ratings 2024 ที่ระดับ “A”

          หุ้นวิชั่น - นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จํากัด (มหาชน) (JMART) ผู้นำในธุรกิจค้าปลีกโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์เสริม ธุรกิจการเงินและเทคโนโลยี เปิดเผยว่า บริษัทได้รับผลการประเมินหุ้นยั่งยืน หรือ SET ESG Ratings ประจำปี 2567 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดให้อยู่ในระดับ “A” สะท้อนความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจบนหลักธรรมาภิบาล และบริษัทได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมตลอดมา ควบคู่การพัฒนาธุรกิจ เดินหน้า Transform องค์กรด้วยการใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อน บนวิสัยทัศน์ด้าน ESG คือ การให้ความสำคัญในด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ซึ่งจะเป็นรากฐานการเติบโตที่ยั่งยืนในอนาคต และสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนต่อไป

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

JMART มีสัญญาณฟื้นชัด 9 เดือนแรกฟันกำไร 831 ลบ.

JMART มีสัญญาณฟื้นชัด 9 เดือนแรกฟันกำไร 831 ลบ.

           JMART มาตามนัด! โชว์งบ Q3/67 กำไรเป็นบวกต่อเนื่อง 5 ไตรมาสติด พลิกฟื้นเทิร์นอะราวด์ตามกลยุทธ์ที่วางไว้ ทำกำไรกว่า 255 ล้านบาท หนุน 9 เดือนแรกปีนี้ กำไรพุ่งอยู่ที่ 831 ล้านบาท โต 236% มอง Q4/67 ธุรกิจค้าปลีก การเงิน และเทคโนโลยี จับมือกันโต รับไฮซีซั่นซื้อหนี้และธุรกิจจำหน่ายสินค้าเทคโนโลยีพีค ขณะที่ สุกี้ตี๋น้อยกวาดกำไรแรง              นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (JMART) เปิดเผยว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานในปีนี้ มีพัฒนาการที่ดี ธุรกิจในกลุ่มสามารถสร้างการเติบโต และผนึกกำลัง Synergy ร่วมกัน โดย SGC สามารถสร้างธุรกิจใหม่ “Locked Phone” เปลี่ยนเกมการปล่อยสินเชื่อแบบเดิมๆ ทำให้กลุ่มบริษัทสามารถขยายธุรกิจแบบสเกลได้ ภายใต้ความเสี่ยงที่รัดกุม ด้านภาพรวมธุรกิจบริหารหนี้ JMT ยังคงแข็งแกร่ง เป็นบริษัทเรือธงที่ส่งกำไรมาให้ JMART มากที่สุด เรามองว่าจากนี้ไป จะเดินหน้านำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน โฟกัส Commerce Tech และ FinTech ตั้งเป้ากำไรปี 2568 เติบโตประมาณร้อยละ 30            ในด้านความสำเร็จของผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ในไตรมาส 3/2567 บริษัทฯ มีผลกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้น 255 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.8 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สำหรับงวด 9 เดือน ปี 2567 เท่ากับ 830.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,443.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 235.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อนหน้า เนื่องจากในไตรมาส 1 และ 2 ปี 2566 มีรายการผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากสินทรัพย์ทางการเงินอื่น และไม่มีส่วนแบ่งขาดทุนจากบริษัทร่วม สะท้อนการฟื้นตัวอย่างชัดเจนของบริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SINGER และ บริษัท เอสจี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ SGC ที่ไม่มีการตั้งสำรองก้อนใหญ่แล้ว ขณะที่ ธุรกิจใหม่สินเชื่อ Locked Phone เดินหน้าเติบโตตามนัด ในด้านรายได้รวมประจำไตรมาส 3 ปี 2567 เท่ากับ 3,428.8 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย ในอัตราร้อยละ 2.8 สำหรับงวด 9 เดือนของปี 2567 เท่ากับ 10,285.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า            อย่างไรก็ดี ภาพรวม Ecosystem ที่แข็งแกร่งของกลุ่มบริษัท ทั้งในธุรกิจค้าปลีก การเงิน และเทคโนโลยี สนับสนุนผลการดำเนินงานที่ประกาศออกมา กำไรสุทธิพลิกกลับมาเป็นบวกต่อเนื่อง 5 ไตรมาส โดยเฉพาะการฟื้นตัวที่ดีของธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ โดยในไตรมาส 3 ปีนี้ บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT มีแนวโน้มการเติบโตของผลกำไรที่ดี หรือเติบโตร้อยละ 17.2 จากจุดต่ำสุดของ JMT ในไตรมาส 2/2567 เนื่องจากธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ และการจัดเก็บกระแสเงินสดปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ทิศทางและแนวโน้มของ ECL ปรับลดลง มองแนวโน้มไตรมาส 4/2567 ธุรกิจบริหารหนี้เป็นโอกาสทองในการซื้อหนี้เข้ามาบริหารต่อเนื่อง อีกทั้ง ธุรกิจดาวรุ่งดวงใหม่ “สุกี้ ตี๋น้อย” ยังคงเป็นบริษัทที่ส่งกำไรกลับมาให้ JMART ต่อเนื่อง กำไรสุทธิทำได้ 916 ล้านบาท เติบโตจากงวดเดียวกันของปีก่อนประมาณ 35% จากการบริหารจัดการต้นทุน และการขยายสาขาได้ตามเป้า โดยปัจจุบันมี 76 สาขา และมีแผนเปิดอีก 3 สาขา ครบ 79 สาขาในสิ้นปีนี้ โดยมุ่งเน้นขยายไปในพื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้น อาทิ เตรียมเปิดที่ขอนแก่น เชียงใหม่ และอยุธยา มองไตรมาส 4/67 ไฮซีซั่น คาดมาร์จิ้นดีขึ้น รวมทั้ง เริ่มขยายไปยังกลุ่มปิ้งย่างภายใต้แบรนด์ TEENOI BBQ            ธุรกิจจัดจำหน่ายมือถือและสินค้าเทคโนโลยี แม้ไตรมาส 3 ปีนี้ ปรับลดลง แต่มองกำลังเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่น สินค้ามือถือจะเปิดตัวรุ่นใหม่ต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาส 1/2568 รวมถึงนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และการเติบโตของสินเชื่อ Locked Phone ทั้งในส่วนของ Samsung Finance+ และ SG Finance+ หนุนภาพรวมไตรมาส 4 จะเป็นไตรมาสที่บริษัทฯ มียอดขายมือถือสูงที่สุดในปี 2567 พร้อมด้วยบริการผ่อนสินเชื่อและประกัน ครบวงจร นำ J Point Adoption จับจ่ายใช้สอยที่ร้านเจมาร์ทโมบาย เจาะการขายและการตลาดบนแพลตฟอร์มใหม่ๆ สร้างการเติบโตเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้มีประสิทธิภาพ            ในด้าน บริษัท เจเอเอส แอสเซ็ท จำกัด (มหาชน) หรือ J ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา มีการเปิดตัว Community Mall แห่งใหม่ 2 แห่ง ที่ JAS Green Village สาขาประเวศ และสาขารามคำแหง ได้พื้นที่ขายในปีนี้เข้ามาประมาณ 15,000 ตารางเมตร เตรียมสร้างรายได้อย่างมีนัยสำคัญและยั่งยืนมากขึ้นในปีหน้า สนับสนุนศูนย์การค้าชุมชนภายใต้การบริหารของบริษัทฯ มีจำนวน 8 แห่ง และมีพื้นที่โครงการรวมเกือบ 100,000 ตารางเมตร นอกจากนี้ วางแผนพัฒนาปรับปรุงพื้นที่รีเทลสเปซในสาขาเดิมให้มีศักยภาพมากขึ้น ผลักดันรายได้ต่อตารางเมตรดีขึ้น พร้อมกางแผนปี 68 ลุยเปิดสาขาใหม่ใจกลางเมืองขอนแก่น ซึ่งเป็นที่ดินของบริษัทเอง ในรูปแบบโครงการมิกซ์ยูส โรงแรมและห้าง เตรียมเปิดให้บริการไตรมาส 3 ปีหน้า และอยู่ระหว่างศึกษาการเปิด Community mall ขนาดเล็กเพื่อเข้าถึงแหล่งชุมชนมากขึ้น สนับสนุนการรับรู้รายได้ในอนาคต            และไฮไลท์ที่สำคัญของบริษัทร่วม ในบริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SINGER ผลการดำเนินงานในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมามีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 76 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 102.4 และพัฒนาการที่โดดเด่นของ SGC (บริษัทย่อยของ SINGER) ได้ประสบความสำเร็จในการขยายธุรกิจใหม่ ชูสินเชื่อ SG Finance+ ภายใต้แคมเปญ Locked Phone ทำได้ดีกว่าคาดการณ์ไว้  และมี NPL ในระดับต่ำ สะท้อนโอกาสเติบโตภายใต้การควบคุมความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม [PR News]

VEGA Creator เข้าตลาดหุ้นใน 3 ปี

VEGA Creator เข้าตลาดหุ้นใน 3 ปี

          นายกิติพัฒน์ ชลวุฒิ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการลงทุน บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) (JMART) เปิดเผยถึง  ดีลร่วมทุนกับ บริษัท เวก้าครีเอเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ VEGA Creator โดยเข้าถือหุ้นในสัดส่วน 30% ด้วยมูลค่าลงทุนที่ 42 ล้านบาท  เพื่อขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ “New Jaymart” มุ่งสู่รูปแบบการขายที่แตกต่างและเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มใหม่ สร้างโอกาสทางการตลาดภายใต้ระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เน้นการสร้างและรวบรวมครีเอเตอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการขายสินค้าความร่วมมือนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเติบโตด้านยอดขาย โดยมีแผนที่จะนำครีเอเตอร์เข้ามาช่วยฝึกสอนพนักงานของร้านเจมาร์ท เพื่อพัฒนาทักษะการขายทั้งออนไลน์และผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น เฟซบุ๊ก นอกเหนือจากการขายในหน้าร้านปกติ           JMART คาดว่า VEGA Creator จะกลายเป็นบริษัทที่มีศักยภาพในการทำกำไรได้ในปีนี้ และมีแผนนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในระยะเวลา 3 ปี ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการซื้อขายสินค้า (GMV) ของ VEGA Creator จะสามารถแตะระดับ 1,200 ล้านบาทในปีนี้ หลังจากเพิ่งเปิดดำเนินการในปีที่ผ่านมา ระดับ P/E อยู่ราว 10%

[Vision Exclusive] JMART แกร่งกว่าเดิม ถอดรหัสผลงานโต

[Vision Exclusive] JMART แกร่งกว่าเดิม ถอดรหัสผลงานโต

          หุ้นวิชั่น - JMART ดำเนินธุรกิจภายใต้การดำเนินงานร่วมกันของกลุ่มบริษัทย่อย มี 6 สายธุรกิจหลัก ที่เน้นการประกอบธุรกิจธุรกิจค้าปลีก และการเงินด้วยเทคโนโลยี ภายใต้ปณิธานของการดำเนินงานในแนวคิด “The Power of Synergy” ซึ่งเป็นกลยุทธ์หลักสำคัญที่จะสร้างระบบนิเวศน์ในการดำเนินงาน (Ecosystem)           “วันนี้กลุ่ม JMART กลับมาแล้วอย่างแข็งแกร่งกว่าเดิม ในไตรมาส 3/2567 จะได้เห็นตัวเลขที่ยืนยันความสำเร็จของเรา และตอกย้ำด้วยไตรมาส 4/2567 รวมถึงปีหน้า 2568 จะเป็นปีที่ดีกว่าทุกปีที่ผ่านมา เราจะก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง  และยังพร้อมที่จะส่งผ่านธุรกิจไป Gen 2 ที่เข้ามาเสริมศักยภาพอย่างแข็งแกร่ง" นายอดิศักดิ์ประธานกลุ่ม JMART             นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JMART  เปิดเผยว่า ตั้งแต่เกิดวิกฤต SINGER เมื่อปีที่แล้ว JMART ได้บันทึกการขาดทุน (Loss) กว่า 400 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม บริษัทได้เดินหน้าแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 1 ปี และมั่นใจว่าปัญหาเหล่านั้นได้รับการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว           นายอดิศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วง 4 ไตรมาสที่ผ่านมา ตั้งแต่ไตรมาส 3/2566 ถึงไตรมาส 2/2567 บริษัทมีกำไรรวมกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งยืนยันได้ว่า บริษัทได้ผ่านวิกฤตและกลับมามีกำไรที่แข็งแกร่งต่อเนื่อง อีกทั้งมีกำไรที่เพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นแผนธุรกิจที่บริษัทจะดำเนินการอย่างมั่นคง แม้ว่าที่ผ่านมาจะต้องเผชิญกับปัญหาที่ไม่คาดคิดก็ตาม           ปัจจุบัน บริษัทฯ ยังได้พัฒนา Business Model ใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มเติม โดยปัญหาจาก SGC และ SINGER ได้รับการแก้ไขแล้ว และบริษัททั้งสองนี้กำลังเติบโตในรูปแบบเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งเชื่อว่าจะเติบโตได้เร็วกว่าที่ทุกคนคาดคิด ในระหว่างนี้บริษัทได้ดำเนินการเพิ่มทุนและมีการเทรดวอร์แรนท์ (Warrant) [caption id="attachment_5347" align="aligncenter" width="1000"] นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JMART[/caption] "สุกี้ตี๋น้อย” ยื่นไฟลิ่งปลายปี68           นายกิติพัฒน์ ชลวุฒิ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการลงทุน บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) (JMART) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการลงทุนใน "สุกี้ตี๋น้อย" ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด ซึ่ง JMART ถือหุ้นในสัดส่วน 30% กระบวนการลงทุนเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 โดย JMART ได้เข้าซื้อหุ้นจำนวน 352,941 หุ้น คิดเป็น 30% ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด ด้วยมูลค่าลงทุน 1,200 ล้านบาท           ปัจจุบัน สุกี้ตี๋น้อยมีสาขาทั้งหมด 73 สาขา คาดว่าภายในสิ้นปีนี้เพิ่มเป็น 79 สาขา การขยายสาขายังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องในต่างจังหวัด โดยที่ผ่านมาได้เปิดสาขาเฉลี่ยเดือนละ 2 สาขา นอกจากนี้ บริษัทฯ กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างครัวกลางที่รังสิต คลอง 4 ซึ่งคาดว่าแล้วเสร็จในช่วงปลายปีนี้ถึงต้นปี 2568 ครัวกลางใหม่นี้สามารถรองรับสาขาได้ถึง 200 แห่ง ปัจจุบันครัวกลางตั้งอยู่บริเวณถนนเรียบด่วนรามอินทรา ทำให้การขยายสาขาถูกจำกัด  ทั้งนี้ บริษัทฯ มีพนักงานทั้งหมดประมาณ 6,000 ราย           ในเดือนพฤศจิกายนปี 2567 นี้  จะมีการเปิดสาขาใหม่ที่จังหวัดขอนแก่นและมหาสารคาม โดยตลาดในต่างจังหวัดได้รับการตอบรับที่ดีมาก และมีมาร์จิ้นที่สูง ซึ่งเป็นผลมาจากค่าเช่าที่ต่ำ ค่าไฟฟ้าและค่าแรงไม่สูง แต่ยังคงรักษามาตรฐานราคาอยู่ที่ 276 บาทต่อหัว รวมทุกอย่างแล้ว ส่งผลให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพและสามารถลดต้นทุนได้           เมื่อมีการขยายสาขามากขึ้น ถือได้ว่า "สุกี้ตี๋น้อย" เป็นบริษัทที่สร้างกระแสเงินสด (Cash Cow Company) ได้อย่างดีเยี่ยม โดยที่ผ่านมา JMART ได้รับเงินปันผลแล้วกว่า 450 ล้านบาท จากการลงทุน 1,200ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีมาก สำหรับงวด 6 เดือนที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้รับส่วนแบ่งกำไรจาก "สุกี้ตี๋น้อย" เป็นจำนวน 183 ล้านบาท           ในปี 2568 บริษัทฯ มีแผนจะขยายสาขาอย่างเชิงรุก (Aggressive) มากขึ้น โดยตั้งเป้าเปิดสาขาใหม่มากกว่า 2 สาขาต่อเดือน นอกจากนี้ ยังมีแผนเปิดร้าน "Teenoi BBQ" โดยสาขาแรกจะตั้งอยู่ที่เรียบด่วน และคาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนตุลาคมนี้           ส่วนแผนการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์  มีแผนจะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ได้ในช่วงปลายปี 2568 และเข้าตลาดหุ้นไม่เกินไตรมาส 2 ปี 2569  โดยใช้งบการเงินระหว่างปี 2566-2568 เพื่อประกอบการยื่นไฟลิ่ง ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้แต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ รายได้และกำไรสุกี้ตี๋น้อยย้อนหลัง และทิศทางสิ้นปี 2567 ปี 2562 รายได้ 499 ล้านบาท กำไร 15 ล้านบาท ปี 2563 รายได้ 1,223 ล้านบาท กำไร 140 ล้านบาท ปี 2564 รายได้ 1,572 ล้านบาท กำไร 148 ล้านบาท ปี 2565 รายได้ 3,976 ล้านบาท กำไร 591 ล้านบาท  ปี 2566 รายได้ 5,244 ล้านบาท  กำไร 913 ล้านบาท ปี 2567 คาดว่าจะมีกำไรมากกว่า 1,200 ล้านบาท VEGA Creator เข้าตลาดหุ้นใน 3 ปี           บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) (JMART) ประกาศดีลร่วมทุนกับ บริษัท เวก้าครีเอเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ VEGA Creator โดยเข้าถือหุ้นในสัดส่วน 30% ด้วยมูลค่าลงทุนที่ 42 ล้านบาท  เพื่อขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ "New Jaymart" มุ่งสู่รูปแบบการขายที่แตกต่างและเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มใหม่ สร้างโอกาสทางการตลาดภายใต้ระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เน้นการสร้างและรวบรวมครีเอเตอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการขายสินค้าความร่วมมือนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเติบโตด้านยอดขาย โดยมีแผนที่จะนำครีเอเตอร์เข้ามาช่วยฝึกสอนพนักงานของร้านเจมาร์ท เพื่อพัฒนาทักษะการขายทั้งออนไลน์และผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น เฟซบุ๊ก นอกเหนือจากการขายในหน้าร้านปกติ           JMART คาดว่า VEGA Creator จะกลายเป็นบริษัทที่มีศักยภาพในการทำกำไรได้ในปีนี้ และมีแผนนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในระยะเวลา 3 ปี ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการซื้อขายสินค้า (GMV) ของ VEGA Creator จะสามารถแตะระดับ 1,200 ล้านบาทในปีนี้ หลังจากเพิ่งเปิดดำเนินการในปีที่ผ่านมา ระดับ P/E อยู่ราว 10% รายงานโดย : ณัฏฐ์ชญา ปุริมปรัชญ์ภัทร บรรณาธิการข่าว สำนักข่าว Hoonvision

abs

ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร

[PR News] JMART ขานรับ iPhone 16 ยอดจองโต 30%

[PR News] JMART ขานรับ iPhone 16 ยอดจองโต 30%

          JMART ยิ้มรับกระแส iPhone 16 เรือธงรุ่นล่าสุดของค่าย Apple ที่มีแฟนคลับเหนียวแน่น วางจำหน่ายวันแรก 20 กันยายนนี้ มียอดจองเข้ามาพีคกว่ารุ่นก่อนกว่า 30% โดย เจมาร์ทจัดเต็มโปรโมชั่นพิเศษ ดูแลเครื่องขยายระยะเวลาประกันเพิ่มความคุ้มครองนาน 2 ปี สำหรับลูกค้าของเจมาร์ทที่เดียวที่กล้าให้ และข้อเสนอสุดพิเศษหนุนโค้งสุดท้ายของปีรับไฮซีซั่น           นายดุสิต สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจมาร์ท โมบาย จำกัด ในเครือ บมจ.เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (JMART) เปิดเผยถึง การเปิดตัว iPhone 16 ในวันแรก เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 มีลูกค้าให้ความสนใจต่อคิวจับจองเป็นเจ้าของอย่างคึกคัก หลังผลตอบรับยอดจองยังคงทำได้ดีกว่ารุ่นก่อนกว่า 30% ด้วยคุณสมบัติที่เร็วขึ้น แรงขึ้น และฉลาดสุดล้ำกับฟีเจอร์ Apple Intelligence ระบบ AI อัจฉริยะ ที่มาพร้อมกับ iPhone 16 ทุกรุ่น ประกอบด้วย iPhone 16, iPhone 16 Plus, iPhone 16 Pro และ iPhone 16 Pro Max สำหรับการเปิดจองในช่วงที่ผ่านมา รุ่นที่ได้รับการตอบรับสูงสุดคือรุ่น iPhone 16 Pro Max           นอกจากนี้ เจมาร์ทยังได้จัดเต็ม “ที่เดียวที่กล้าให้” กับ “Jaymart We Care ดูแลเครื่อง ดูแลคุณ” ในการรับฟรี! ประกันตัวเครื่องนาน 2 ปี *ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย บริการดูแล โดย Apple Authorized Services Provider ไม่จำกัดจำนวนครั้ง           รวมทั้ง ข้อเสนอสุดพิเศษสำหรับลูกค้าที่มีการใช้จ่ายผ่าน “J Wallet” แอปพลิเคชั่น  กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ที่จะช่วยให้การใช้จ่ายสะดวกสบายยิ่งขึ้น ลดเพิ่ม 3% และสมาชิก J Point (ระบบคะแนนสะสมในกลุ่มเจมาร์ท) ที่ซื้อ iPhone 16 ทุกรุ่น รับคะแนนสะสม x20 เท่า ตลอดเดือนกันยายน รวมไปถึง แคมเปญเก่าแลกใหม่ที่ช่วยให้ลูกค้าแลกรับส่วนลด มูลค่าสูงสุด 32,000 บาท เจมาร์ทใจดีลดเพิ่มสูงสุด 5,000 บาท เฉพาะรุ่น iPhone 11 ขึ้นไป  ลูกค้าปัจจุบัน AIS รับส่วนลดค่าเครื่องสูงสุด 6,700 บาท หรือสมัครแพ็คเกจใหม่ ย้ายค่ายเบอร์เดิม รับฟรี เบอร์เสริมชีวิต เบอร์สวย เบอร์มงคล บัตรเครดิต ผ่อน 0% นานสูงสุด 36 เดือน ใช้คะแนนแลกรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 50% ผ่านบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ พร้อมเอาใจลูกค้าไม่มีบัตรเครดิต ก็ผ่อนได้ นานสูงสุด 48 เดือน และโปรโมชั่นมากมายที่ร้านเจมาร์ท ทุกสาขา และช่องทาง Synergy ร่วมกับบริษัทในเครือ           ด้านผู้บริหาร ชูแนวโน้มไตรมาส 4/67 เป็นช่วงที่ดีที่สุดของเจมาร์ท โมบาย เนื่องจากยังมีสินค้าใหม่แบรนด์ดังทยอยเปิดตัว หนุนผลงานโค้งสุดท้ายของปีนี้พีคสุด

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011