ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#IVF


IVF เจาะ ซาอุฯ – เอมิเรตส์ รับดีมานด์ตลาดสุขภาพโต

IVF เจาะ ซาอุฯ – เอมิเรตส์ รับดีมานด์ตลาดสุขภาพโต

             หุ้นวิชั่น - บริษัท อินสไปร์ ไอวีเอฟ จำกัด (มหาชน) หรือ Inspire IVF ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากด้วยมาตรฐานสากล เดินหน้าขยายธุรกิจไปยังภูมิภาคตะวันออกกลาง ตอกย้ำกลยุทธ์การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ ที่เน้นการลงทุนในตลาดที่มีศักยภาพสูง “ซาอุดีอาระเบีย - สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์” หลังพบความต้องการที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มผู้มีบุตรยาก และอานิสงส์จากนโยบายด้านสุขภาพของทั้งสองประเทศ ที่เน้นพัฒนาระบบสาธารณสุขและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพ โดยบริษัทมุ่งสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อรองรับการเติบโตระดับสากล พร้อมคว้าโอกาสขยายรายได้และสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงให้กับนักลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย              นางสาวเกศิณี กุลดิลก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินสไปร์ ไอวีเอฟ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “อินสไปร์ ไอวีเอฟ เดินเกมกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ (Joint Venture) เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจสู่ตลาดที่มีศักยภาพสูงในตะวันออกกลางอย่าง ‘ซาอุดีอาระเบีย’ (KSA) และ ‘สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์’ (UAE) หลังพบดีมานด์การรักษาภาวะมีบุตรยากโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) จากปัจจัยหนุนด้านประชากรที่แต่งงานและมีบุตรช้าลง ผนวกกับนโยบายส่งเสริมสุขภาพของทั้งสองประเทศ อาทิ รัฐบาลซาอุฯ ทุ่มงบกว่า 224 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข รวมถึงการเติบโตของตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพใน UAE ที่มีมูลค่ากว่า 992 ล้าน AED (หรือ 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งมีแนวโน้มเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวทางการแพทย์ (Medical Tourism Hub) ในอนาคต”              นางสาวเกศิณี กล่าวต่อว่า “เพื่อให้การขยายธุรกิจเป็นไปตามแผน เราได้ดำเนินการเข้าพบหน่วยงานและพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ ทั้งผู้ให้บริการทางการแพทย์ครบวงจรในตะวันออกกลาง ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ และบริการดูแลสุขภาพที่บ้าน โดยมีความสนใจทำข้อตกลงร่วมกันเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์ IVF ในซาอุฯ และหน่วยงานที่กำกับดูแลเขตเศรษฐกิจเสรีด้านการแพทย์ใน UAE ที่พร้อมมอบสิทธิพิเศษสำหรับนักลงทุนด้านสุขภาพ อาทิ การยกเว้นภาษี การถือครองกรรมสิทธิ์เต็มรูปแบบ และการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการลงทุนด้านการแพทย์ ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถขยายธุรกิจใน UAE ได้อย่างแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ”              “ทั้งนี้ ตลาด IVF ทั่วโลกคาดว่าจะมีมูลค่าถึง 43.57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2033 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่ 5.57% ตั้งแต่ปี 2024 ถึง 2033 (ที่มา: Vision Research Reports) โดยจะได้รับการขับเคลื่อนจากอัตราการมีบุตรยากที่เพิ่มขึ้น และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี IVF เพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง จึงนับเป็นโอกาสสำคัญของ Inspire IVF ในการก้าวสู่การเป็น ‘ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากมาตรฐานสากลระดับแนวหน้าของประเทศไทยและเอเชีย’ ที่พร้อมเติมเต็มทุกความฝันในการมีบุตรให้เป็นเรื่องง่าย และเป็นไปได้จริง (Simplicity in Every Step) โดยเราพร้อมเดินตามแผนขยายเครือข่ายในภูมิภาคตะวันออกกลาง ลงทุนเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดจนสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดและสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้กับนักลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเรา” นางสาวเกศิณี กล่าวทิ้งท้าย ติดตามความเคลื่อนไหวของ บริษัท อินสไปร์ ไอวีเอฟ จำกัด (มหาชน) หรือ “IVF” ได้ทางเว็บไซต์ https://www.inspireivf.com เพจเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/inspireivfthailand หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 063-531-8666 และ 02-251-8666

KResearch คาดตลาดรักษาภาวะมีบุตรยากไทยปี 68 คาดโต 6.2% จากปี 67 ที่ 6.3 พันล้านบาท

KResearch คาดตลาดรักษาภาวะมีบุตรยากไทยปี 68 คาดโต 6.2% จากปี 67 ที่ 6.3 พันล้านบาท

         หุ้นวิชั่น -  แนวโน้มธุรกิจบริการรักษาภาวะมีบุตรยาก ตลาดบริการรักษาภาวะมีบุตรยากของไทยในปี 2568 คาดโต 6.2% จากปี 2567 โดยมีมูลค่ากว่า 6.3 พันล้านบาท ตามความต้องการใช้บริการที่ยังเพิ่มขึ้นจากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติสอดคล้องไปกับเทรนด์ของโลก ในปี 2568 มูลค่าตลาดผู้รับบริการชาวไทย คาดว่าจะขยายตัว 5.0% จากค่านิยมมีบุตรช้าลง และปัญหาด้านการเจริญพันธุ์ที่มีความซับซ้อน และมีสาเหตุมาจากเพศชายมากขึ้น ทำให้ต้องพึ่งพาวิธีการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ขณะที่ มูลค่าตลาดผู้รับบริการชาวต่างชาติ คาดว่าจะขยายตัว 7.6% โดยมีแรงหนุนจากราคาและคุณภาพบริการที่ยังโดดเด่น รวมถึงการขยายตลาดใหม่ของธุรกิจ แนวโน้มตลาดบริการรักษาภาวะมีบุตรยากของโลก          ปี 2568 คาดตลาดบริการรักษาภาวะมีบุตรยากของโลกในปี 2568 มีมูลค่ากว่า 2.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 6.8% จากปี 2567 (รูปที่ 2)          มูลค่าตลาดบริการรักษาภาวะมีบุตรยากของโลกยังมีทิศทางเติบโต นำโดยการบริการรักษาด้วยวิธีทำเด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertility: IVF) ที่มีสัดส่วนมากกว่า 80% ของมูลค่าตลาดบริการรักษาภาวะมีบุตรยากของโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่คาดว่าส่วนแบ่งตลาดการรักษาด้วยวิธี IVF จะเพิ่มขึ้นจาก 22% ในปี 2563 ไปเป็น 26% ในปี 2573 จากหลายประเทศเข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัยในระดับที่รุนแรงขึ้น          อัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลง ประกอบกับปัญหาด้านการเจริญพันธุ์ เป็นปัจจัยหนุนหลักที่ทาให้ตลาดบริการรักษาภาวะมีบุตรยากของโลกยังมีทิศทางขยายตัว          อัตราการเจริญพันธุ์ของโลกมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง จากในปี 2513 ที่ผู้หญิง 1 คนมีบุตรจานวน 4.8 คน เหลือเพียง 2.2 คน ในปี 2568 (รูปที่ 3) รวมถึงค่านิยมในการมีบุตรที่เปลี่ยนแปลงไป ทาให้คู่สมรสทั่วโลกมีบุตรช้าลง สะท้อนจากอายุเฉลี่ยในการคลอดบุตรคนแรกทยอยปรับเพิ่มขึ้นจนปัจจุบันอยู่ที่ราว 28 ปี เทรนด์ดังกล่าวส่งผลให้ตลาดบริการรักษาภาวะมีบุตรยากเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น          นอกจากนี้ จากปัญหาด้านการเจริญพันธุ์ที่พบบ่อยขึ้นทั่วโลก ยังหนุนการเดินทางออกไปรับบริการรักษาภาวะมีบุตรยากในต่างประเทศ (Fertility Tourism) ให้ขยายตัว โดยในปี 2566 มีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 3 หรือราว 14% ของมูลค่าตลาดการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของโลก1 ทั้งนี้ การเติบโตของตลาด Fertility Tourism ของโลก ส่งผลให้ไทยน่าจะได้รับอานิสงส์จากการเดินทางเข้ามารับบริการรักษาภาวะมีบุตรยากของชาวต่างชาติมากขึ้น แนวโน้มตลาดบริการรักษาภาวะมีบุตรยากของไทย          ปี 2568 คาดตลาดบริการรักษาภาวะมีบุตรยากของไทย2 มีมูลค่ากว่า 6.3 พันล้านบาท เติบโต 6.2% จากปี 2567 (รูปที่ 4) โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ ลูกค้าชาวไทย มีสัดส่วน 70% ของผู้มาใช้บริการทั้งหมด และลูกค้าชาวต่างชาติอีก 30%          แม้มูลค่าตลาดในปี 2567 มีแนวโน้มโตชะลอจากผลของฐานสูงในปีก่อนหน้าตามค่านิยมคลอดบุตรในปีมังกร แต่มูลค่าตลาดในปี 2568 คาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นได้ โดยเป็นผลมาจากการเดินทางเข้ามารับบริการของชาวต่างชาติที่ขยายตัวสูงกว่าภาพรวมตลาด โดยเฉพาะการรักษาด้วยวิธีเด็กหลอดแก้ว3 ที่คาดว่าจานวนรอบการรักษาจะเพิ่มขึ้น 5.9% และเป็นวิธีที่ชาวต่างชาตินิยม เนื่องจากอัตราความสำเร็จสูงกว่าวิธีอื่นๆ ส่วนการรักษาด้วยวิธีผสมเทียมที่อัตราความสำเร็จต่ำกว่า จานวนรอบการรักษาน่าจะเพิ่มขึ้น 3.7% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการรับบริการของชาวไทย ตลาดผู้รับบริการรักษาภาวะมีบุตรยากชาวไทย          มูลค่าตลาดของชาวไทยที่มารับบริการรักษาภาวะมีบุตรยาก คาดขยายตัว 5.0% ในปี 2568 จากค่านิยมมีบุตรช้าลง และปัญหาด้านการเจริญพันธุ์          มูลค่าตลาดชาวไทยที่มีสัดส่วนกว่า 55% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ยังโตจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้คู่สมรสชาวไทยนิยมมีบุตรช้าลง สะท้อนจากสัดส่วนการคลอดของสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากเดิมที่เคยมีสัดส่วนราว 35% ในปี 2555 คาดว่าจะขยับมาเป็น 46% ในปี 2568 (รูปที่ 5) รวมถึงหลายคู่ประสบภาวะมีบุตรยากจากปัญหาสุขภาพ เช่น ความไม่สมบูรณ์ของฮอร์โมน โรคอ้วน และโรคเครียดจากการทำงาน เป็นต้น การรักษาด้วยวิธีเด็กหลอดแก้วแบบ ICSI ที่มีค่าใช้จ่ายสูง ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้รับบริการชาวไทย จากสาเหตุการมีบุตรยากมีความซับซ้อนและเกิดจากเพศชายมากขึ้น          การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีผสมเทียม (IUI) เริ่มได้รับความนิยมน้อยลง สะท้อนจากช่วงหลังโควิดจำนวนรอบการรักษาด้วยวิธี IUI มีสัดส่วนลดลงจาก 31% ในปี 2565 คาดว่าจะเหลือเพียง 28% ในปี 2568 (รูปที่ 6) เช่นเดียวกับการทำเด็กหลอดแก้วแบบปกติ (IVF) ที่อัตราการเติบโตของรอบการรักษาเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียง 2% ต่อปี ขณะที่ การรักษาด้วยการทำเด็กหลอดแก้วแบบเฉพาะเจาะจง (ICSI) มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 8% ต่อปี (CAGR ปี 2565-2568)          แนวโน้มการรักษาด้วย ICSI ที่โตขึ้นสอดคล้องกับผู้ประกอบการในธุรกิจที่ระบุว่าในระยะหลัง ภาวะมีบุตรยากที่พบในคู่สมรสชาวไทยมีความซับซ้อน และพบว่าเกิดในฝั่งเพศชายมากขึ้นจากความไม่สมบูรณ์ของน้ำเชื้ออสุจิตามพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และความผิดปกติที่เกิดจากการใช้ยารักษาโรคบางชนิด เป็นต้น ซึ่งการรักษาด้วย ICSI ที่เป็นนวัตกรรมใหม่จะให้อัตราความสำเร็จที่สูงกว่าวิธีอื่นๆ หากผู้รักษามีภาวะข้างต้น ตลาดผู้รับบริการรักษาภาวะมีบุตรยากชาวต่างชาติ มูลค่าตลาดต่างชาติที่เดินทางมารับบริการรักษาภาวะมีบุตรยาก คาดขยายตัว 7.6% ในปี 2568 จากไทยยังมีจุดเด่นด้านราคาและคุณภาพในการบริการ          มูลค่าตลาดต่างชาติที่มีสัดส่วนกว่า 45% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ยังมีทิศทางเติบโตเพิ่มขึ้น จากผู้รับบริการในกลุ่มประเทศจีน อินเดีย และอาเซียน ที่นิยมเดินทางเข้ามารักษาภาวะมีบุตรยากในไทย ซึ่งไทยถือเป็นหนึ่งในจุดหมายหลักของการเดินทางมารับบริการรักษาภาวะมีบุตรยาก จาก Fertility Tourism ที่มีความโดดเด่นหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ค่ารักษาพยาบาลยังต่ำกว่าคู่แข่ง การรักษาโดยวิธี IVF ในไทยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ราว 6,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่ำกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญอย่างสิงคโปร์และมาเลเซีย รวมถึงสถานพยาบาลไทยที่ได้มาตรฐาน Joint Commission International (JCI) สูงกว่าหลายประเทศ (รูปที่ 7) ความพร้อมด้านสิ่งอานวยความสะดวกต่างๆ ที่ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ให้แก่ชาวต่างชาตินอกเหนือจากการรักษา เช่น โรงแรม/ที่พัก ร้านอาหาร ศูนย์การค้าต่างๆ รวมถึงการออก Medical Treatment Visa ให้แก่ผู้มารับบริการชาวต่างชาติที่ต้องพานักในไทยเพื่อติดตามผลการรักษา กลุ่มผู้รับบริการชาวต่างชาติยังเป็นตลาดศักยภาพ สะท้อนจากธุรกิจเน้นทาการตลาด เพื่อดึงดูดลูกค้ากลุ่มนี้ให้มาใช้บริการเพิ่มขึ้น          จำนวนผู้รับบริการชาวต่างชาติที่ยังโตต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจบริการรักษาภาวะมีบุตรยากในไทยเน้นทำการตลาดผ่านออฟไลน์และออนไลน์ หรือตัวแทน (Agent) เพื่อดึงดูดชาวต่างชาติให้มารับบริการในไทยมากขึ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายในการรักษาภาวะมีบุตรยากของชาวต่างชาติจะสูงกว่าชาวไทยราว 1 เท่าตัว เนื่องจากต้องมีบริการเสริมอื่นๆ เพิ่มเติมในแพ็กเกจการรักษา (ล่าม รถรับส่ง ค่า Commission ฯลฯ) ดังนั้น การขยายตลาดใหม่ๆ จึงสะท้อนโอกาสสร้างรายได้ส่วนเพิ่มของธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนที่มีสัดส่วนรายได้จากชาวต่างชาติราว 20-30% ของรายได้รวม โอกาสของธุรกิจบริการรักษาภาวะมีบุตรยากในระยะข้างหน้า การผ่อนปรนนโยบายมีบุตรของรัฐบาลจีน จาก 2 คน มาเป็น 3 คน ตั้งแต่ปี 2564 ตามปัญหาการเข้าสู่สังคมสูงวัยของจีนที่รุนแรงขึ้น รวมถึงแนวโน้มประชากรจีนที่ยังคงลดลงตั้งแต่ปี 2565 ทาให้คาดว่ารัฐบาลจีนจะยังใช้นโยบายนี้ในระยะกลาง-ยาว ส่งผลให้ไทยที่เป็นหนึ่งในจุดหมายหลักของการเดินทางมารับบริการรักษาภาวะมีบุตรยากของชาวจีน น่าจะได้อานิสงส์ต่อเนื่องจากการบริการภายในประเทศจีนยังไม่เพียงพอรองรับความต้องการใช้บริการที่เพิ่มขึ้น การเตรียมปรับกฎหมายอุ้มบุญของไทย เช่น การยอมให้ญาติสืบสายโลหิตของภรรยาอายุตั้งแต่ 20-40 ปี สามารถบริจาคไข่ได้ โดยไม่ต้องผ่านการสมรส และการยอมให้ภรรยาอายุ 55 ปีขึ้นไป สามารถรับบริการอุ้มบุญได้ ซึ่งหากมีการปรับแก้สำเร็จ คาดว่าจะมีส่วนหนุนให้การบริการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ของตลาดคนไทยเติบโตได้เพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้ยังคงต้องติดตามรายละเอียดของการปรับกฎหมายดังกล่าวว่าจะสามารถเอื้อต่อตลาดบริการรักษาภาวะมีบุตรยากมากน้อยอย่างไร การบังคับใช้ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ในปี 2568 ทำให้ต้องมีการปรับแก้กฎหมายลูกต่างๆ ให้สอดรับกับกฎหมายสมรสเท่าเทียม โดยเฉพาะการยอมให้คู่สมรสเพศเดียวกันมีบุตรได้ผ่านการใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อตลาดบริการรักษาภาวะมีบุตรยากของไทยให้เปิดกว้างมากขึ้น ครอบคลุมไปถึงกลุ่มความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) ที่ปัจจุบันในไทยมีอยู่ราว 5.9 ล้านคน4 หรือคิดเป็น 9% ของจำนวนประชากรไทยทั้งหมด และคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในระยะข้างหน้า เทรนด์มีลูกเมื่อพร้อม ดันบริการแช่แข็ง/ฝากไข่เติบโตทั่วโลก สะท้อนจากมูลค่าตลาดบริการแช่แข็ง/ฝากไข่ของโลกที่คาดว่าจะโตเฉลี่ยปีละ 8% (CAGR 2566-2571) สูงกว่าอัตราการเติบโตของบริการอื่นๆ ในตลาดบริการรักษาภาวะมีบุตรยาก ทำให้ไทยอาจแข่งขันในตลาด Fertility Tourism ได้มากขึ้นจากกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเข้มงวดน้อยกว่าบางคู่แข่ง เช่น สิงคโปร์มีการกาหนดช่วงอายุสตรีที่รับบริการได้อยู่ระหว่าง 21-37 ปี และมาเลเซียกาหนดให้สตรีโสดที่จะแช่แข็ง/ฝากไข่ได้ต้องไม่ใช่ชาวมุสลิม เป็นต้น ความเสี่ยงของธุรกิจบริการรักษาภาวะมีบุตรยาก การแข่งขันมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จากเป็นที่ตั้งของสถานพยาบาลกว่า 70% ของผู้ให้บริการทั้งหมด อย่างไรก็ดี รายได้ของธุรกิจยังขึ้นอยู่กับมาตรฐานและ ธุรกิจจำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพการบริการ และต้องมีการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะช่วยเพิ่มอัตราความสาเร็จ เพื่อรักษารายได้และอัตรากาไรในระยะยาว จานวนบุคลากรที่มีความชานาญเฉพาะด้านการรักษาภาวะมีบุตรยากมีจากัด โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์การเพาะเลี้ยงตัวอ่อน จากยังไม่มีหลักสูตรอุดมศึกษาในไทยที่เปิดสอนด้านนี้โดยตรง ส่งผลให้ธุรกิจต้องมีการวางแผนกำลังคน จัดฝึกอบรมนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกาหนดนโยบายค่าตอบแทนที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดแคลน/ย้ายงานของบุคลากรดังกล่าวในอนาคต การเปลี่ยนแปลงมาตรการอุดหนุนการรักษาภาวะมีบุตรยากในประเทศของคนไข้ต่างชาติ เช่น ปัจจุบันรัฐบาลจีนมีการอุดหนุนการทำ IVF ผ่านระบบประกันสุขภาพใน 4 เมือง และไปข้างหน้าก็มีความเป็นไปได้ที่จะขยายเพิ่มอีก ทำให้อาจมีผลต่อการตัดสินใจมารับบริการในไทย นอกจากนี้ ยังรวมถึงการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่อาจส่งผลต่ออัตราความสำเร็จและรูปแบบการให้บริการของธุรกิจ

IVF แจ้ง พลตำรวจโทธัชชัย ปิตะนีละบุตร ลาออก มีผล 19 ธ.ค.67

IVF แจ้ง พลตำรวจโทธัชชัย ปิตะนีละบุตร ลาออก มีผล 19 ธ.ค.67

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน นางสาวเกศิณี กุลดิลก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินสไปร์ไอวีเอฟ จำกัด (มหาชน) หรือ IVF แจ้งข่าวต่อลาดหลักทรัพย์ ว่า บริษัท อินสไปร์ไอวีเอฟ จำกัด (มหาชน) ขอแจ้งให้ทราบว่า พลตำรวจโทธัชชัย ปิตะนีละบุตร ประธานกรรมการ และกรรมการอิสระ ได้ยื่นหนังสือของลาออก โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป เนื่องจากมีภารกิจทางราชการเพิ่มขึ้นตามที่ได้รับแต่งตั้งจากประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2567           ทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน จะดำเนินการสรรหาบุคคลที่เหมาะสม เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทพิจารณาและแต่งตั้งให้เข้าดำรงตำแหน่งที่ว่างลงต่อไป

IVF ทยอยซื้อหุ้นเข้าพอร์ต ส่งสัญญาณบวกให้นักลงทุน

IVF ทยอยซื้อหุ้นเข้าพอร์ต ส่งสัญญาณบวกให้นักลงทุน

          หุ้นวิชั่น - ตามรายงานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า นางสาวเกศิณี กุลดิลก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินสไปร์ ไอวีเอฟ จำกัด (มหาชน) หรือ “IVF” แสดงความเชื่อมั่นในศักยภาพการเติบโตของบริษัท ควักทุนส่วนตัวซื้อหุ้น IVF จำนวน 5 แสนหุ้น ในราคาหุ้นละ 1.98 บาท หลังจาก IVF เพิ่งเปิดตัวในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณเชิงบวก ตอกย้ำความเชื่อมั่นในศักยภาพการเติบโตระยะยาวของ IVF ตามกลยุทธ์การสร้าง New S-Curve ที่มุ่งเน้นการขยายตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตะวันออกกลางซึ่งเป็นฐานลูกค้าหลัก และการขยายธุรกิจ Wellness ซึ่งจะช่วยส่งเสริมอัตราความสำเร็จของการตั้งครรภ์ให้ผู้ใช้บริการ และเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนที่กำลังมองหาหุ้นที่มีศักยภาพการเติบโตสูง โดย IVF มีจุดแข็งด้านอัตราความสำเร็จในการทำ IVF ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และมาตรฐานระดับโลกที่ได้รับการยอมรับ ทั้งยังอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากนโยบายผลักดัน Medical Hub ของรัฐบาล           บริษัท อินสไปร์ ไอวีเอฟ จำกัด (มหาชน) หรือ “IVF”  คือ ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากที่มุ่งเน้นการให้บริการด้วยมาตรฐานระดับสากล มีจุดแข็งที่โดดเด่น ทั้งอัตราความสำเร็จในการทำ IVF ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมอย่างมีนัยสำคัญ และการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงได้รับการรับรองมาตรฐานระดับโลก โดยผลประกอบการ 9 เดือนแรกของปี 2567 สร้างรายได้รวม 84.95 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 16.72 ล้านบาท สะท้อนถึงศักยภาพที่แข็งแกร่ง           ทั้งนี้ เงินทุนที่ได้จากการระดมทุนจะถูกนำไปใช้ขยายสาขาเพื่อเข้าถึงตลาดใหม่ๆ ทั้งในและต่างประเทศ และเสริมศักยภาพธุรกิจ Wellness สำหรับตอบรับเทรนด์สุขภาพที่กำลังมาแรง และเสริมโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์ให้กับผู้ใช้บริการ เพื่อสร้างฐานรายได้ที่มั่นคง รวมถึงผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจให้กับนักลงทุน ด้วยปัจจัยบวกทั้งหมดนี้ จึงถือเป็นโอกาสทองสำหรับนักลงทุนที่มองหาหุ้นที่มีศักยภาพการเติบโตสูง ภายใต้การนำทัพของผู้บริหารที่มั่นใจในอนาคตที่สดใสของ IVF [PR News]

abs

ปตท. แข็งแกร่งร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

[ภาพข่าว] IVF เริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ mai วันแรก

[ภาพข่าว] IVF เริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ mai วันแรก

          ประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ พร้อมด้วย  เกศิณี กุลดิลก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อินสไปร์ ไอวีเอฟ  ร่วมพิธีเปิดการซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ของ บมจ. อินสไปร์ ไอวีเอฟ  ผู้ให้บริการด้านการรักษาผู้มีบุตรยาก ในวันที่ 11 ธันวาคม 2567 มูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 1,364 ล้านบาท โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “IVF”

ตลท. ต้อนรับ บมจ. อินสไปร์ ไอวีเอฟ (IVF) เริ่มซื้อขาย 11 ธ.ค. นี้

ตลท. ต้อนรับ บมจ. อินสไปร์ ไอวีเอฟ (IVF) เริ่มซื้อขาย 11 ธ.ค. นี้

         หุ้นวิชั่น - นายประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ mai ยินดีต้อนรับ บมจ. อินสไปร์ ไอวีเอฟ เข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขายใน mai ภายใต้กลุ่มบริการ โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “IVF” ในวันที่ 11 ธันวาคม 2567 IVF ผู้ให้บริการด้านการรักษาผู้มีบุตรยากตั้งแต่การให้คำปรึกษา การวางแผนการรักษาภาวะมีบุตรยาก ตลอดจนการเลือกรักษาด้วยวิธีต่างๆ ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เช่น ICSI และ IUI เพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ของคู่สมรส โดยมีทีมแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ผู้ชำนาญการด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์  มีสถานที่ให้บริการตั้งอยู่ที่ อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ พื้นที่ประมาณ 1,000 ตร.ม. มีแพทย์แบบประจำ 1 ท่าน แพทย์แบบชั่วคราว  6 ท่าน และนักวิทยาศาสตร์ผู้ชำนาญการฯ 6 ท่าน บริษัทแบ่งการให้บริการเป็น 2 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ 1. การให้บริการรักษาผู้มีบุตรยาก และการให้บริการอื่นๆ เช่น การให้บริการสร้างเสริมสุขภาพแก่คู่สมรสที่มารับบริการรักษาผู้มีบุตรยาก การตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อน การรักษาภาวะเจริญพันธุ์  2. การให้บริการเวชศาสตร์ป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพแก่บุคคลทั่วไป  โดยในงวด 9 เดือน 2567 มีสัดส่วนรายได้จากบริการทั้ง 2 กลุ่ม และรายได้อื่นร้อยละ 90 : 8 : 2 ตามลำดับ ทั้งนี้มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายส่วนใหญ่ร้อยละ 80-90 เป็นลูกค้าชาวต่างชาติ IVF มีทุนชำระแล้วหลัง IPO 220 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญเดิม 310 ล้านหุ้นและหุ้นสามัญเพิ่มทุน 130 ล้านหุ้น เสนอขายต่อบุคคลตามดุลยพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์จำนวนไม่น้อยกว่า 57.5 ล้านหุ้น ผู้ลงทุนสถาบันไม่เกิน 40 ล้านหุ้น ผู้มีอุปการคุณของบริษัทไม่เกิน 19.5 ล้านหุ้น  กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทไม่เกิน 13 ล้านหุ้น เมื่อวันที่ 29 พ.ย.- 3 ธ.ค. 2567 ในราคาหุ้นละ 3.10 บาท คิดเป็นมูลค่าเสนอขาย 403 ล้านบาท มูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 1,364 ล้านบาท ทั้งนี้ การกำหนดราคาเสนอขายหุ้น IPO คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E ratio) ที่ 44.93 เท่า คำนวณจากกำไรสุทธิ 4 ไตรมาสล่าสุด (1 ต.ค. 66-30 ก.ย. 67)  ซึ่งเท่ากับ 30.36 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นครั้งนี้ (fully diluted) คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.069 บาท โดยมีบริษัท ฟินเน็กซ์ แอ๊ดไวเซอรี่ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และบริษัทหลักทรัพย์ คิงส์ฟอร์ด จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการการจัดจำหน่าย นางสาวเกศิณี กุลดิลก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อินสไปร์ ไอวีเอฟ (IVF) เปิดเผยว่า บริษัทเน้นสร้าง Brand Awareness และพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ลูกค้าเชื่อมั่นในคุณภาพ บริษัทจึงให้ความใส่ใจต่อคุณภาพบริการด้วยมาตรฐาน AACI, ISO9001:2015,GHA และ Temos และให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ สำหรับเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้จะนำไปใช้ในการขยายสาขา ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น ธุรกิจให้บริการดูแลสุขภาพ (wellness) และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน IVF มีผู้ถือหุ้นใหญ่หลังเข้าจดทะเบียน คือ กลุ่มนายชนะชัย จุลจิราภรณ์ ถือหุ้น 46.82% นายพุฒิพงศ์ ภูมิสุวรรณ 11.91% และนายบัณฑิต อนันตมงคล 4.20% โดยบริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่ต่ำกว่า 50% ของกำไรสุทธิภายหลังจากหักภาษีเงินได้ นิติบุคคล และเงินทุนสำรองตามกฎหมาย และเงินสำรองอื่น ๆ

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011