เกณฑ์ใหม่ปลุกตลาด IPO ต้นปีระดมทุนแล้ว 540 ล.
หุ้นวิชั่น - นักวิเคราะห์ ชี้หลักเกณฑ์ใหม่ IPO ปี68 ดันตลาดคึกคักขึ้น อานิสงส์มาตรการคัดกรองบริษัทคุณภาพ ลดความเสี่ยงนักลงทุน ด้านสำนักงานก.ล.ต.เผยตั้งแต่ต้นปี มี IPO ระดมทุน 2 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 540.40 ล้านบาท ขณะที่คำขอ IPO ที่ได้รับอนุมัติแล้วมี 10 บริษัท และอยู่ระหว่างพิจารณาอีก 16 บริษัท พร้อมกันนี้ ตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนยังร้อนแรง ออกตราสารหนี้ระยะยาวกว่า6.5หมื่นลบ. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ สำนักงาน ก.ล.ต. รายงานสรุป ภาวะตลาดทุนเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2568 มีการระดมทุนเสนอขาย IPO จำนวน 2 หลักทรัพย์ มูลค่ารวม 540.40 ล้านบาทโดยมีคำขอที่ได้รับอนุญาตและพร้อมเสนอขาย 10 หลักทรัพย์ อยู่ระหว่างการพิจารณาคำขอ 16 หลักทรัพย์และอยู่ระหว่าง Pre-consult 56 หลักทรัพย์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการระดมทุนผ่านตลาดทุนต่อเนื่องสำหรับการระดมทุนผ่านสินทรัพย์ดิจิทัล มีคำขออนุญาต จำนวน 1 บริษัท และอยู่ระหว่างการพิจารณา 2 บริษัทและมีคำขอ ICO อยู่ระหว่าง Pre-consult 5 บริษัท (ผลรวมสะสมการระดมทุนผ่านสินทรัพย์ดิจิทัลทั้งสิ้น 3 บริษัท มูลค่า 5,065.23 ล้านบาท) การระดมทุนผ่าน Crowdfunding ในปี 2567 (1 ม.ค. - 31 ม.ค. 68) มีบริษัทที่ดำเนินการสำเร็จแล้ว 32 บริษัท มูลค่ารวม 146.38 ล้านบาท (ผลรวมสะสมการระดมทุนผ่าน Crowdfunding มูลค่า 16,404.02 ล้านบาท) การเสนอขายหลักทรัพย์วงแคบของ SME (1 ม.ค. - 31 ม.ค. 68) มีผลรวมสะสมจนถึงปัจจุบัน 29 บริษัท มูลค่า 1,303.24 ล้านบาทและการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ของ SME จำนวน 1 บริษัท โดยมีมูลค่าเสนอขาย 12.80 ล้านบาท (มีผลรวมสะสมจนถึงปัจจุบัน 7 บริษัท มูลค่าเสนอขายรวม 287.50 ล้านบาท) สำหรับตราสารหนี้ภาคเอกชน มีการออกตราสารหนี้ระยะยาวมูลค่า 65,244.60 ล้านบาทแบ่งเป็นตราสาร Investment Grade 60,605.80 ล้านบาท และ High Yield Bond 4,638.80 ล้านบาท (1 ม.ค. - 31 ม.ค. 68) ตั้งแต่ต้นปี 67 มีการออกเสนอขายตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนแล้ว (1 ม.ค. - 31 ธ.ค. 67)จำนวน 15 บริษัท มูลค่า 184,550.32 ล้านบาท (ผลรวมสะสม 39 บริษัท มูลค่า 901,013.58 ล้านบาท) สำหรับกองทุนรวม (ม.ค. - ก.พ. 2568) มีการเสนอขาย IPO จำนวน 133 กองทุน มูลค่ารวม 271,045 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการเสนอขายกองทุนรวมประเภทตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนในประเทศสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ทั้งนี้ ปัจจุบันมีบริษัทที่อยู่ระหว่างการพิจารณา IPO จำนวน 16 บริษัท ได้แก่ หมวดเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร บมจ. สยาม ดีเสิร์ท ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า TENG1 บมจ. แพลททินัม ฟรุ๊ต ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า PTF หมวดบริการ บมจ. จีเอ็มเอ็ม มิวสิค ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า GMM บมจ.พี เอ อี เทคนิคอล เซอร์วิส ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า PTS บมจ. ออนเซ็น รีทรีต แอนด์ สปา กรุ๊ป ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า ONSENS หมวดสินค้าอุตสาหกรรม บมจ. สมาร์ททีทีซี ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า STTC บมจ. แมสเทค ลิ้งค์ ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า MASTEC หมวดทรัพยากร บมจ. บริษัท แอตลาส เอ็นเนอยี ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า ATLAS บมจ. บริษัท วัน พาวเวอร์ ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า ONE หมวดอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง บมจ. เอ็มเอ็มเอ็ม แคปปิตอล ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า MMM บมจ. ไทยประเสริฐกรุ๊ป เอ็นเตอร์ไพรส์ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า TPG หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค บมจ.แกรนด์ คอส กรุ๊ป ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า MER บมจ. นูทริชั่น โปรเฟส NUT บมจ. 88(ไทยแลนด์) ใช้ชื่อย่อหุ้นยว่า 88TH หมวดธุรกิจการเงิน บมจ. ซิลค์สแปน ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า SILK หมวดเทคโนโลยี บมจ. อินดิจี ใช้ชื่อย่อหุ้นว่า IDG ส่วนบริษัทที่ อนุมัติคำขอIPO แล้ว มี 10 บริษัท ได้แก่ หมวดบริการ บมจ. มิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย. โฮลติ้ง (ประเทศไทย) ใช้ชื่อย่อว่า MRDIYT บมจ. สกิลเลน เทคโนโลยี ใช้ชื่อย่อว่า SKILL บมจ. โรงพยาบาลมุกดาหาร อินเตอร์เนชั่นแนล ใช้ชื่อย่อว่า HANN บมจ. แอลทีเอ็มเอช ใช้ชื่อย่อว่า LTMH หมวดสินค้าอุตสาหกรรม บมจ. วาย.เอส.เอส. (ประเทศไทย) ใชชื่อย่อหุ้นว่า YSS หมวดอสังหาริมทรัพย์ และก่อสร้าง บมจ. บางกอก แอสเซท อินเตอร์กรู๊ป ใช้ชื่อย่อว่า BKA หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค บมจ.พีเคเอ็น อินเตอร์โฮลดิ้ง ใช้ชื่อย่อว่า IGNITE บมจ. สกิน ลาบอราทอรี่ ใช้ชื่อย่อว่า SKIN หมวดธุรกิจการเงิน บมจ. เงินเทอร์โบ ใช้ชื่อย่อว่า TURBO หมวดเทคโนโลยี บมจ. บลู โซลูชั่น ใช้ชื่อย่อว่า BLUE นายมงคล พ่วงเภตรา รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า มองว่า ปี 2568 จะเป็นปีแห่งการฟื้นตัวของตลาด IPO หลังจากตลาดหลักทรัพย์ปรับปรุงหลักเกณฑ์การเข้าจดทะเบียนทั้งใน SET และ mai ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพของบริษัทจดทะเบียน หลักเกณฑ์ใหม่ที่เข้มงวดขึ้นจะทำหน้าที่คัดกรองให้เฉพาะบริษัทที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่งและมีผลประกอบการที่ดีเข้าสู่ตลาด ส่งผลให้คุณภาพโดยรวมของบริษัทจดทะเบียนสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุน เนื่องจากที่ผ่านมา การลงทุนในหุ้น IPO หลายกรณีไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่ดี หรือราคาหุ้นหลังเข้าตลาดต่ำกว่าราคาจองซื้อ ส่งผลให้ภาวะการซื้อขายหุ้น IPO ลดความคึกคักลง สำหรับบริษัทจดทะเบียน นายมงคลระบุว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จำนวนบริษัทที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่ในปีนี้ คาดว่าตลาด IPO จะกลับมาเปิดโอกาสอีกครั้ง เนื่องจากบริษัทที่ต้องการเข้าตลาดต้องมีคุณภาพสูงขึ้น ขณะที่หลักเกณฑ์ที่เข้มงวดขึ้นจะทำให้การกำหนดราคา IPO เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยุติธรรมมากขึ้น "ที่ผ่านมา มีบางบริษัทที่เข้าตลาดเพื่อ Exit หรือจดทะเบียนแล้วไม่มีความเคลื่อนไหวมากนัก แต่ด้วยหลักเกณฑ์ใหม่ การเข้าตลาดหลักทรัพย์จะเป็นไปเพื่อการเติบโตอย่างแท้จริงของบริษัท และสร้างประโยชน์ให้แก่นักลงทุนมากขึ้น" นายมงคลกล่าว รายงานโดย : ณัฏฐ์ชญา ปุริมปรัชญ์ภัทร บรรณาธิการ Hoon vision