ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#HANA


DELTA-CCET อิเล็กฯ อ่วม โบรกฯ แนะเลี่ยงลงทุน

DELTA-CCET อิเล็กฯ อ่วม โบรกฯ แนะเลี่ยงลงทุน

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน หุ้นกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เช้านี้ปรับตัวลงกันถ้วนหน้า นำโดย DELTA-CCET รับผลกระทบจากมาตรการตอบโต้ทางภาษีของสหรัฐ บล.กรุงศรี ระบุ การปรับขึ้นของภาษีของสหรัฐ โดยสร้างผลกระทบเชิงลบต่ออุตสาหกรรมอย่างชัดเจน มองว่ารายได้ของกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์จะมีความผันผวนอย่างมากในช่วงไตรมาส 2/2568 ทันที สัดส่วนรายได้ของกลุ่ม Electronic ใน US มีดังนี้ DELTA 26% HANA 25% KCE 21 % SVI 11% (คำนวนจากการส่งสินค้าทางตรง โดยอาจจะมีสัดส่วนทางอ้อมที่สูงกว่านี้)           เชื่อว่าจะไม่ส่งผลร้ายถึงขนาดมีการปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนหรือโครงสร้างของธุรกิจอย่างชัดเจน การย้ายฐานการผลิตในกลุ่มประเทศในเอเชียน่าจะมีอย่างจำกัด เนื่องจากทุกประเทศถูกคำนวนภาษีในระดับเดียวกัน อาจจะมีปัจจัยบวกเล็กน้อยจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า โดยล่าสุดค่าเงินบาทอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 3 เดือน           ยังคงมุมมองเดิมว่าควรหลีกเลี่ยงการลงทุนหุ้นกลุ่ม Electronics ภายหลังมีการประกาศงบการเงินไตรมาส 1/2568 (ที่ยังมีความเสี่ยงด้านผลการดำเนินงานที่อ่อนแอ)

HANA ยันฐานะการเงินแข็งแกร่ง มั่นใจรายได้ 68 โต-จับตาภาษีทรัมป์

HANA ยันฐานะการเงินแข็งแกร่ง มั่นใจรายได้ 68 โต-จับตาภาษีทรัมป์

           หุ้นวิชั่น - HANA ยันฐานการเงินยังแข็งแกร่ง ตลาดกัมพูชาช่วย ยอมรับปีนี้ท้าทาย จับตาภาษีทรัมป์ กระทบมากน้อยแค่ไหน ศึกษาขยายตลาด อินเดีย-ตุรกีต่อยอด เนื่องจากเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีศักยภาพสูง            นายริชาร์ด เดวิด ฮัน ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน) หรือ HANA เปิดเผยว่า ปี 2568 เป็นปีที่บริษัทต้องเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญหลายด้าน แต่บริษัทก็ยังมีความมั่นใจในสถานะทางการเงิน และยังคงสามารถสร้างรายได้ต่อเนื่อง แต่ก็มีในเรื่องมาตรการภาษีที่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด            อย่างไรก็ดี รายได้ในไตรมาส 1/2568 จะดีกว่าไตรมาส 4/2567 แม้ว่าจะยังคงได้รับผลกระทบจากมาตรการทางภาษีของสหรัฐฯโดย ธุรกิจผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร (EMS) ยังคงสร้างรายได้ได้ดี นอกจากนี้ รายได้จากการผลิตแผงวงจรพิมพ์ประกอบ (PCBA) ในกัมพูชาจะเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญ แต่ในส่วนของความต้องการของผลิตภัณฑ์เซมิคอนดักเตอร์แบบบูรณาการ (SI และ SIC) รวมถึงชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า (EV) มีความต้องการลดลง ซึ่งยังคงประสบปัญหาทั่วโลก            สำหรับแผนการขยายตลาดต่างประเทศ บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายตลาดสู่ประเทศอินเดีย เนื่องจากเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีศักยภาพสูง และได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐ นอกจากนี้ บริษัทกำลังพิจารณาโอกาสในการร่วมมือทางธุรกิจกับประเทศตุรกี ซึ่งต้องติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด            สำหรับตลาดเกาหลีใต้ (PMS) บริษัทคาดว่าสถานการณ์จะมีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วงปลายปี 2568 ขณะที่ความร่วมมือกับประเทศจีนยังคงดำเนินไปได้ด้วยดี แม้ว่าผลกระทบจากมาตรการภาษียังคงเป็นปัจจัยที่ต้องพิจารณา            ทั้งนี้บริษัทให้ความสำคัญกับปัจจัยต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะมาตรการภาษีของสหรัฐฯ ซึ่งยังคงมีความไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม บริษัทคาดการณ์ว่าสถานการณ์ต่างๆ จะเริ่มปรับตัวดีขึ้นในปีนี้

HANA ทำไมเริ่มแนะนำ “ซื้อ” เช็ก! ความเสี่ยงลดจริงหรือ

HANA ทำไมเริ่มแนะนำ “ซื้อ” เช็ก! ความเสี่ยงลดจริงหรือ

          หุ้นวิชั่น- ฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล(ประเทศไทย) หรือ CGSI ระบุในบทวิเคราะห์ ว่า ได้ปรับเพิ่มคำแนะนำหุ้น HANA มาเป็น “ซื้อ” จาก “ถือ” รวมทั้งปรับราคาเป้าหมายขึ้นเป็น 22.5 บาท จากเดิม 20.90 บาท ซึ่งยังเท่ากับ P/E 11.5 เท่าในปี 69, -1.5SD ของค่าเฉลี่ยห้าปี เนื่องจากความเสี่ยงและผลตอบแทนน่าสนใจมากขึ้น หลังราคาหุ้นปรับตัวลง 35% YTD           แม้ว่าธุรกิจหลักของ HANA ยังมีแนวโน้มเผชิญกับความท้าทายในครึ่งแรกปี 68 นี้ จากการทยอยดูดซับสต็อกในอุตสาหกรรมอนาล็อกและความไม่แน่นอนด้านนโยบายการค้า แต่เล็งเห็นปัจจัยบวกที่จะช่วยหนุนราคาหุ้น (กรอบเวลา 3-6 เดือน) ในรูปของอัตราการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจหลัก รวมถึงผลขาดทุนที่ลดลงจาก Powermaster (ประกอบธุรกิจซิลิคอน/ซิลิคอนคาร์ไบด์ frontend) ในครึ่งหลังปี 68                     ขณะที่ ราคาหุ้น HANA ในปัจจุบัน ซื้อขายที่จุดต่ำสุดของการประเมินมูลค่าตั้งแต่ปี 43 ที่ P/BV 0.53 เท่าในปี 67นอกจากนี้ บริษัทยังมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดอยู่ที่ 1.02 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 4/67 ซึ่งคิดเป็น 72% ของ market cap ในขณะนี้ จึงเชื่อว่าการประเมินมูลค่าในปัจจุบันมีความเสี่ยงและผลตอบแทนน่าสนใจ อย่างไรก็ตาม HANA จะมี downside risk หาก Powermaster ขาดทุนสูงกว่าคาดและยอดขายลดลง เพราะผลพวงจากความไม่แน่นอนด้านนโยบายการค้าโลก           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI ระบุในบทวิเคราะห์ ว่า จากการเข้าร่วมประชุมนักวิเคราะห์ของ HANA เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 68 ซึ่งถึงแม้ว่าผู้บริหารยังไม่เปิดเผยตัวเลขบางประการ แต่ HANA คาดการณ์ว่ารายได้จากธุรกิจหลักในไตรมาส 1/68 จะลดลงเล็กน้อย qoq ซึ่งสอดคล้องกับปัจจัยฤดูกาลและประมาณการของฝ่ายวิเคราะห์ฯที่คาดว่ารายได้จะลดลงราว 5% qoq           นอกจากนี้ มุมมองของผู้บริหารยังตรงกับความคิดเห็นของฝ่ายวิเคราะห์ฯว่า อุตสาหกรรมอนาล็อกโดยรวมน่าจะเริ่มฟื้นตัวในไตรมาส 2/68 จากฐานที่ต่ำ แต่กว่ายอดขายจะกลับมาเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ อาจต้องรอไปจนถึงครึ่งหลังปี 68 โดยมีปัจจัยหนุนจากอุปสงค์ในการเติมสต็อก ดังนั้นจึงประมาณการว่า HANA จะมีรายได้จากการขายลดลง 3.6% yoy เป็น 2.39 หมื่นล้านบาทในปี 68 เพราะการฟื้นตัวของอุปสงค์ในครึ่งแรกปี 68 ยังอ่อนตัว           โดยธุรกิจหลักน่าจะมียอดขาย 2.33 หมื่นล้าน บาท ลดลง 4.1% yoy และ Powermaster มียอดขาย 612 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23% yoy ขณะเดียวกัน คาดว่า GPM ของธุรกิจหลักจะเพิ่มขึ้นจาก 2.4% ใน 67 เป็น 7% ในปี 68 เพราะไม่มีผลกระทบจากการวัดมูลค่าสินค้าคงคลังตามความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน อีกทั้งเชื่อว่า GPM จะเพิ่มขึ้นจากความพยายามลดต้นทุนของบริษัท เช่น การเปิดโรงงาน 5 วันต่อสัปดาห์ จากจำนวนพนักงานที่ลดลง           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI ประมาณการว่า Powermaster น่าจะมีขาดทุน 1.25 พันล้านบาทในปี 67 เพราะใช้กำลังการผลิตไม่เต็มที่ นอกจากนี้ ราคา wafer ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในปี 67 ส่งผลให้บริษัทปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือ 216 ล้านบาทในไตรมาส 4/67 อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารเชื่อว่า Powermaster จะมีขาดทุนลดลงช่วงกลางปี 68 หลัง บริษัทตัดสินใจยุติการผลิตซิลิคอน เพราะเสียเปรียบด้านต้นทุน ส่วน HANA จะหันไปพึ่ง Foundry ของ ผู้ประกอบการอื่นในการผลิตผลิตภัณฑ์ซิลิคอน ซึ่งจะช่วยให้ประสิทธิภาพด้านต้นทุนของบริษัทดีขึ้น           ขณะเดียวกัน ผู้บริหารจะพยายามทำการตลาดมากขึ้น เพื่อคว้าแบบการผลิตอุปกรณ์ซิลิคอนคาร์ไบด์ ประกอบกับเชื่อว่าจะไม่มีการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือมากนัก หลังราคา wafer ทรงตัวในครึ่งปีแรก จึงคาดว่าต้นทุนที่ลดลงหลังถอนตัวจากธุรกิจผลิตอุปกรณ์ซิลิคอน จะทำให้ Powermaster มีขาดทุนลดลงเหลือ 1.03 พันล้านบาทและ 645 ล้านบาทในปี 68 และ 69 ตามลำดับ

HANA กำไรต่ำสุดรอบ22ปี โบรกชี้อ่อนแอเป้า17บ.

HANA กำไรต่ำสุดรอบ22ปี โบรกชี้อ่อนแอเป้า17บ.

            หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล.กรุงศรี ระบุว่า ผลประกอบการของ HANA อ่อนแอที่สุดในกลุ่มอุตสาหกรรม และปรับอันดับจาก "NEUTRAL" เป็น "REDUCE" และกำไรหลักเพียง 11 ล้านบาท (-96% yoy, -79% qoq) แสดงให้เห็นปัญหาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง บริษัทตั้งสำรองการด้อยค่า 1.8 พันล้านบาท สำหรับธุรกิจ PMS ที่เกาหลี ส่งผลให้กำไรทั้งปี 2567 ต่ำที่สุดในรอบ 22 ปี             ปรับคำแนะนำ HANA เป็น "REDUCE" พร้อมปรับราคาพื้นฐานลง 17 บาท จาก 25 บาท **ข้อมูลสำคัญ** - ราคาเป้าหมาย (TP): 17 บาท - ราคาปิด: 20.10 บาท - Upside/Downside: -15%             ผลการดำเนินงานในไตรมาส 4/2567 น่าผิดหวัง รายได้ 5.6 พันล้านบาท (-10% yoy, -9% qoq) ต่ำกว่าที่คาด 5% อัตรากำไรขั้นต้นลดลงเป็น 5.3%. กำไรหลักปีนี้อยู่ที่ 902 ล้านบาท (-55% yoy) ต่ำสุดในสองทศวรรษ คาดว่าผลประกอบการไตรมาส 1/2568 จะยังอ่อนแอ โดยอาจลดลง 50-70% yoy แต่คาดว่าจะฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง โดยลดประมาณการกำไรปี 2568 ลง 29% เหลือ 1.2 พันล้านบาท (+38% yoy)             นักลงทุนควรพิจารณา HANA อีกครั้งหลังผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2568 บริษัทประกาศจ่ายเงินปันผล 0.5 บาทต่อหุ้น คิดเป็นอัตราผลตอบแทน 2.4% แหล่งที่มา: บริษัท, คาดการณ์ KSS

abs

ปตท. แข็งแกร่งร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

HANA ดิ่งแรง 17.91% เซ่นงบ Q4/67 ต่ำสุดรอบ 4 ปี ฉุดกำไรหลักทั้งปี ต่ำสุดรอบ 20 ปี

HANA ดิ่งแรง 17.91% เซ่นงบ Q4/67 ต่ำสุดรอบ 4 ปี ฉุดกำไรหลักทั้งปี ต่ำสุดรอบ 20 ปี

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บล.กรุงศรี ระบุ ผลประกอบการไตรมาส 4/67 ของ HANA ต่ำที่สุดในรอบ 4 ปีที่ 5.6 พันล้านบาท (-10% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว, -9% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า) ซึ่งต่ำกว่าคาดการณ์ 5% กำไรขั้นต้นลดลงเหลือ 5.3% จาก 6.2% ในไตรมาส 3/67 ทำให้บริษัทขาดทุนจากการดำเนินงานเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน กำไรหลักเหลือเพียง 11 ล้านบาท (-96% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว, -79% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า) ซึ่งต่ำกว่าคาดทั้งของฝ่ายวิเคราะห์และของตลาด บริษัทยังมีการตั้งสำรองขาดทุน 1.8 พันล้านบาทจากการประเมินมูลค่าของ IC Korea (PMS) ส่งผลให้ขาดทุนสุทธิ 1.7 พันล้านบาทในไตรมาสนี้ สำหรับผลประกอบการทั้งปี กำไรหลักอยู่ที่ 902 ล้านบาท (-55% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว) ต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี การปรับลดคาดการณ์กำไรปี 2568           คาดว่า 1Q68 ผลประกอบการจะอ่อนแอเหมือนกับ 4Q67 และกำไรจะลดลง 50-70% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ผลประกอบการจะเริ่มฟื้นตัวในครึ่งปีหลังปี 68 แต่จะมาจากฐานที่ต่ำมาก เราปรับลดคาดการณ์กำไรปี 68 ลง 29% เหลือ 1.2 พันล้านบาท (+38% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว) หลังจากปรับลดคาดการณ์รายได้และอัตรากำไรขั้นต้น คาดว่ากำไรจะฟื้นตัวเล็กน้อยหลังจากการปรับโครงสร้างธุรกิจ PMS คาดว่าการประเมินมูลค่าสินค้าคงเหลือจะลดลงและความต้องการเริ่มฟื้นตัวจะช่วยเพิ่มรายได้ การปรับลดคำแนะนำเป็น "ลด" พร้อมกับราคาพื้นฐานใหม่ที่ 17 บาท           ผลประกอบการไตรมาส 4 ของ HANA เป็นผลประกอบการที่อ่อนแอที่สุดในกลุ่มอุตสาหกรรม ธุรกิจ PMS ยังคงเป็นภาระต่อบริษัทตามที่คาดการณ์ไว้หลังจากดำเนินการมา 4 ปี จึงปรับลดราคาพื้นฐานลงเหลือ 17 บาท (จาก 25 บาท) หลังจากปรับลดคาดการณ์กำไร โดยยังคงใช้ PER ที่ 12 เท่า (-1 SD ของค่าเฉลี่ย) ทั้งนี้นักลงทุนควรพิจารณา HANA ใหม่อีกครั้ง หลังจากผลประกอบการไตรมาส 2/68 ขณะที่บริษัทได้ประกาศจ่ายเงินปันผล 0.5 บาทต่อหุ้น ซึ่งคิดเป็นอัตราผลตอบแทนเงินปันผล 2.4%

HANA คาดกลับมาฟื้น โบรกลุ้น Q2 ต้องจับตา!

HANA คาดกลับมาฟื้น โบรกลุ้น Q2 ต้องจับตา!

          หุ้นวิชั่น - บล.หยวนต้า ส่องหุ้น HANA โดยฝ่ายวิจัยคงประมาณการและราคาเหมาะสม 30.00 บาทต่อหุ้น อิง PER 19.1x และคงคำแนะนำ “TRADING” ราคาหุ้นกลับมาในระดับน่าสนใจอีกครั้ง และจะน่าสนใจมากขึ้นหลังผ่านงบ 4Q24 แต่การปรับขึ้นยังค่อยเป็นค่อยไป จากการฟื้นตัวของกำไรปกติที่ต้องไปลุ้นกลาง 2Q25 เป็นอย่างเร็วทำให้หุ้นยังขาดแรงหนุนระยะสั้น           ฝ่ายวิจัยคาดกำไรปกติ 4Q24 ที่ 85 ล้านบาท (+63% QoQ, -71% YoY) กำไรปกติที่ฟื้นตัว QoQ มาจาก GPM ที่ดีขึ้นกำไรปกติที่ลดลง YoY กดดันจากรายได้ที่ลดลง ทั้งนี้ HANA Guidance ว่าอาจมีด้อยค่าสินทรัพย์จากการทยอยลดธุรกิจ Si ย้ายไปให้ Partner ที่จีนทำหากเกิดขึ้นจริง จะเป็นรายการ One-time ที่ไม่ใช่เงินสด

HANA คาดกำไร Q4 โต 66.9% y-y แนะนำ “ซื้อ” เป้า 32.50 บาท

HANA คาดกำไร Q4 โต 66.9% y-y แนะนำ “ซื้อ” เป้า 32.50 บาท

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.ฟิลลิป คาด HANA 4Q67 กำไรปกติสูงขึ้น y-y และ q-q จาก GPM ที่ปรับตัวดีขึ้น ทิศทางเงินบาท/ดอลลาร์กลับมาอ่อนค่าใน 4Q67 แต่กำไรสุทธิจะลดลง q-q จากไม่มีกำไรพิเศษเหมือนในช่วง 3Q67 ภาพรวมระดับกำไรยังคงต่ำอยู่จากรายได้ที่ลดลง ผลกระทบจากเศรษฐกิจจีนชะลอตัว แต่ทางฝ่ายฯ มองว่าราคาหุ้นต่ำไปมาก ทำให้มี P/BV อยู่ที่ 0.75 เท่า            ยังไม่ฟื้นตัวดี: ธนาคารโลกประมาณการ GDP จีนปี 67 เติบโตชะลอตัวลงที่ 4.9% และปี 68 ชะลอตัวลงเหลือ 4.5% ภาคส่วนอสังหาฯ ในจีนจะยังไม่ฟื้นตัวจนถึงปลายปี 68 คาดธุรกิจ EMS ทำได้เพียงทรงตัว q-q ขณะที่ธุรกิจ OSAT ยังอ่อนตัวอยู่ แม้คาดว่าธุรกิจ RFID & Inlay จะปรับตัวดีขึ้น แต่สัดส่วนรายได้ยังน้อย ไม่สามารถชดเชยภาพรวมของธุรกิจที่โดนผลกระทบจากเศรษฐกิจจีน และค่าเงินบาทเฉลี่ย 4Q67 แข็งค่าขึ้นที่ 33.95 บาท/ดอลลาร์เทียบ y-y และ q-q ทำให้คาดรายได้รวมในรูปเงินบาทที่ 6.0 พันล้านบาท -3.3% y-y -1.4% q-q, GPM 8.5% เพิ่มขึ้น y-y และ q-q คาดว่าไม่มีการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือเนื่องจากเงินบาทกลับมามีทิศทางอ่อนค่า กำไรปกติสูงขึ้น y-y และ q-q แต่คาดกำไรสุทธิ 208 ล้านบาท +66.9% y-y -48.7% q-q เนื่องจาก 3Q67 มีกำไรพิเศษเข้ามา            P/BV ต่ำ: ปัจจุบันราคาหุ้นปรับตัวลงค่อนข้างมาก ทำให้มี P/BV 0.75 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ที่ 1.67 เท่า โดยปกติอุตสาหกรรมจะมี P/BV มากกว่า 1 เท่า ราคาพื้นฐาน 32.50 บาท แนะนำ “ซื้อ”

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

วิเคราะห์ผู้เล่นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์: HANA [HoonVision x FynCorp]

วิเคราะห์ผู้เล่นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์: HANA [HoonVision x FynCorp]

เซมิคอนดักเตอร์ในไทย เริ่มก้าวสู่อุตสาหกรรมต้นน้ำ           หากพูดถึงอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนสำคัญในอุปกรณ์ คงหนีไม่พ้น เซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นแผงวงจรควบคุมและประมวลผลข้อมูลในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกชนิด ปัจจุบัน อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์โดยเฉพาะการผลิตชิป ถือเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของโลกที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด ด้วยมูลค่าตลาดที่ถูกคาดว่าจะสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2573 ตามความต้องการใช้ AI, Data Center, IoT, EV, เครื่องมือแพทย์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งต้องใช้หน่วยประมวลผลที่ทำจากเซมิคอนดักเตอร์เป็นส่วนประกอบหลัก           หากดูจากห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญในส่วนกลางน้ำ (Midstream) และปลายน้ำ (Downstream) ซึ่งจะเป็นขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วนประกอบ (components) และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (finished goods) เช่น การประกอบและทดสอบเซมิคอนดักเตอร์ (OSAT) การผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) โดยในปี 2566 BOI รายงาน ไทยมียอดส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า 2.5 ล้านล้านบาท หรือ 25% ของการส่งออกทั้งหมด โดยเป็นมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เซมิคอนดักเตอร์ เช่น วงจรรวม (IC) เซมิคอนดักเตอร์ไดโอด และอุปกรณ์ต่างๆ มูลค่า 5.1 แสนล้านบาท           นอกจากนี้ การขอรับส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างมากในไทยช่วง 2 ปีมานี้ โดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกา จีน ยุโรป ไต้หวัน และญี่ป่น จนในปี 2567 รัฐบาลได้ประกาศ นโยบายสส่งเสริมให้ไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูงแห่งชาติ (บอร์ดเซมิคอนดักเตอร์) ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มที่สำคัญในการผลักดันอุตสาหกรรมการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในประเทศ           บอร์ดเซมิคอนดักเตอร์ ตั้งเป้าดึงเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 5 แสนล้านบาท ในระยะเวลา 5 ปี (2568-2572) เพื่อยกระดับไทยสู่ศูนย์กลางการผลิตเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูงในภูมิภาค ซึ่งในเดือนธันวาคม 2567 บริษัท ยูนิค อินทิเกรตเต็ด เทคโนโลยี ผู้ผลิตอุปกรณ์และโมดูลสำหรับเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ระดับต้นน้ำ ภายใต้กลุ่ม Foxsemicon Integrated Technology Inc. (FITI) ในเครือของ Foxconn เข้ามาตั้งฐานการผลิตแห่งที่ 4 ของโลกในไทย ด้วยเงินลงทุนในเฟสแรก 10,500 ล้านบาท โดยตั้งโรงงาน 2 แห่งที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี และนิคมอมตะซิตี้ ระยอง ซึ่งบริษัทมีโรงงานอยู่ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา           ดังนั้น การที่ FITI เข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทย จะเป็นขั้นตอนที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูงสุดในห่วงโซ่อุปทาน เช่น การออกแบบวงจรรวม (IC Design) และการผลิตแผ่นเวเฟอร์ (Wafer Fabrication) และจะเป็นโอกาสในการสร้างพันธมิตรที่ดีของผู้เล่นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไทยได้ อีกทั้ง ในปี 2567 นี้ ผู้เล่นในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่าง HANA ได้มีแผนร่วมทุนสร้างโรงงานผลิตชิป (Wafer Fabrication) แห่งแรกในไทย ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือเป็นจุดสำคัญที่ไทยจะเริ่มเข้าสู่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ระดับต้นน้ำ HANA: 1 ใน 50 บริษัทรับจ้างผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของโลก           บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน) (HANA) ซึ่งบริษัทแม่ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2521 และได้เข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2536 บริษัทและบริษัทย่อยให้บริการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร (Electronics Manufacturing Service: EMS) แก่ลูกค้า (Original Equipment Manufacturer: OEM) ผ่านฐานการผลิตรวมทั้งสิ้น 7 แห่ง ตั้งอยู่ที่ประเทศไทย จีน สหรัฐอเมริกา กัมพูชา และเกาหลี ซึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์หลักของ HANA แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ การผลิตและประกอบแผงวงจร “PCBA” การผลิตและประกอบและทดสอบวงจร “IC” และการผลิตและประกอบ RFID และ Liquid Crystal on Silicon “LCOS”           1) ผลิตภัณฑ์ประเภทแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCBA) - Printed Circuit Board Assembly Source: 56-1 One Report 2566           PCBA เป็นการประกอบแผงวงจรรวมอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ลงบนแผงวงจรพิมพ์ (PCB) ที่เป็นฐานสำหรับยึดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเชื่อมต่อวงจรให้แผ่นวงจรไฟฟ้าให้สามารถทำงานได้ โดย HANA มีโรงงานผลิต PCBA 3 แห่ง อยู่ที่จังหวัดลำพูน ประเทศไทย ที่เมืองเจียซิง ประเทศจีน และจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา 2) ผลิตและทดสอบการทำงานของผลิตภัณฑ์แผงวงจรไฟฟ้ารวม (IC Assembly) Source: 56-1 One Report 2566           แผงวงจรไฟฟ้ารวม (IC) คือ สารกึ่งตัวนำที่ประกอบด้วยส่วนประกอบวงจร เช่น ตัวต้านทาน (Resistor) ตัวเก็บประจุตัวเหนี่ยวนำ ทรานซิสเตอร์ ไดโอด เป็นต้น ซึ่งเชื่อมต่อด้วยสายไฟวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการพัฒนาขนาดที่เล็กลง โดยโรงงานประกอบ IC ของบริษัทมี 3 แห่ง ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย เมืองเจียซิง ประเทศจีน และที่จังหวัดชุงชองบุกโด ประเทศเกาหลีใต้ 3) การผลิตและประกอบ RFID Source: 56-1 One Report 2566           RFID หรือ Radio Frequency Identification คือ อุปกรณ์แสดงตำแหน่งหรือระบุตัวตน ด้วยการอ่านรหัสคลื่นวิทยุ ใช้สำหรับรับส่งข้อมูลอย่างรวดเร็วแบบไร้สาย ส่วน Microdisplay เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนสัญญาณทางไฟฟ้าเป็นสัญญาณภาพที่มีความละเอียดสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ LCoS (Liquid Crystal on Silicon) อุปกรณ์ MEMS หรือ HTP (High-Temperature Polysilicon) ซึ่งใช้เป็นชิ้นส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ เช่น แว่นตาแสดงภาพเหมือน (Virtual and Augmented Reality Goggles) เครื่องฉายภาพ (Multimedia Projector) เป็นต้น โดยโรงงานผลิตตั้งอยู่ที่ เมืองทวินส์เบิร์กและโซลอน รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา โครงสร้างรายได้           บริษัทมีสัดส่วนรายได้จากผลิตภัณฑ์ PCBA เป็นหลัก คิดเป็น 61% ของรายได้จากการขายทั้งหมดในปี 2566 ตามมาด้วยผลิตภัณฑ์ IC Assembly หรือ 33% ส่วน RFID & Microdisplay มีสัดส่วนรายได้อยู่ที่ 6% ซึ่งแบ่งรายได้ตามประเทศที่ตั้งหน่วยการผลิตได้ตามรูปด้านล่าง Source: 56-1 One Report 2566 สภาพตลาดและการแข่งขัน           HANA ถือว่าเป็น 1 ใน 50 บริษัทรับจ้างผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของโลก ซึ่งมีเพียงไม่กี่ผู้เล่นในไทยที่ทำธุรกิจเช่นนี้ แต่ถ้าดูผู้เล่นในไทยที่ผลิต PCBA จะเป็น SMT, Benchmark, Fabrinet และ SVI ส่วนคู่แข่งในด้าน IC Assembly ได้แก่ UTAC และ SMT ขณะที่ผู้เล่นรายใหญ่นอกประเทศที่ให้บริการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร อย่างเช่น IMI, Flextronics, Solectron, Plexus และ Pemstar นี้ บริษัทหลีกเลี่ยงที่จะแข่งขันโดยตรง โดยเน้นการรับจ้างผลิตและประกอบชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ประเภทไมโครอิเล็กทรอนิกส์ การร่วมทุนกับกลุ่ม ปตท. ลงทุนสร้างโรงงานผลิตชิปแห่งแรกในไทยภายใน 2 ปี ยังอยู่ระหว่างประเมินสถานการณ์           บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ และกลุ่ม ปตท. มีแผนร่วมทุนสร้างโรงงานผลิตชิปชนิดซิลิคอนคาร์ไบด์ (SiC) แห่งแรกของไทย (Wafer Fabrication) ภายใต้ บริษัท เอฟทีวัน คอร์เปอเรชั่น จำกัด (FT1) ภายหลังที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมจาก BOI ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 และออกบัตรส่งเสริมในเดือนสิงหาคม 2567 โดยโรงงานจะถูกก่อสร้างในพื้นที่สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ จังหวัดลำพูน ด้วยระยะเวลาก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักร 2 ปีโดยประมาณ และคาดว่าจะเริ่มผลิตในช่วงไตรมาสแรก ปี 2570 Source: 56-1 One Report 2566           บริษัท เอฟทีวัน คอร์เปอเรชั่น จำกัด มีแผนลงทุนกว่า 11,500 ล้านบาท เพื่อจัดตั้งโรงงานผลิตชิปต้นน้ำแห่งแรกในประเทศไทย เป็นชิป (Wafer) ชนิดซิลิคอนคาร์ไบด์ (SiC) เป็นวัตถุดิบชนิดใหม่ มีคุณสมบัติแตกต่างจากชิปทั่วไปที่ผลิตจากซิลิคอน ตรงที่มีความสามารถทนไฟขั้นสูงสามารถแปลงแรงดันไฟฟ้ากำลังสูง เหมาะกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานในวงกว้างตั้งแต่เครื่องใช้ไฟฟ้าระดับไฮเอนด์ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ในครัวเรือน อุปกรณ์ Cloud Computing อินเวอร์เตอร์ไฟฟ้า EV/OBC รวมทั้งในอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน ซึ่งทำให้ SiC มีความยากในการผลิตและต้นทุนสูง           อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์ความต้องการในอุตสาหกรรม (FT1 Business Demand) ที่ชะลอตัวลงในปัจจุบัน ทำให้บริษัทยังคงจับตาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิดจนกว่าจะถึงช่วงไตรมาส 2 ปี 2568 ถึงความเหมาะสมที่จะตัดสินใจลงทุน ระยะเวลาเริ่ม รวมถึงมูลค่าเงินที่จะลงทุนในโครงการ Risk Factors ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจโลก เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ราคาขายและอุปสงค์ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจในตลาดโลกที่เกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ เช่น สงครามการค้า ภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย สภาพเศรษฐกิจที่คาดว่าจะถดถอยและปัญหาพลังงาน           อย่างไรก็ตาม บริษัทมีการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านนี้ โดยการรักษาฐานลูกค้าและกระจายการผลิตสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพื่อลดผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และจากนโยบายการค้าของสหรัฐที่ทำให้เกิดความเสียเปรียบทางธุรกิจสำหรับโรงงานผลิตในจีน บริษัทจึงปรับกลยุทธ์โดยมุ่งเน้นลูกค้าในจีนเป็นหลัก ทั้งนี้ สงครามการค้าอาจสร้างโอกาสทางธุรกิจให้โรงงานในประเทศที่เหลือของบริษัท ความเสี่ยงของระบบห่วงโซ่อุปทาน ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตสามารถเกิดขึ้นได้อีกโดยเฉพาะจากปัจจัยความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงอยู่ ขณะที่ห่วงโซ่อุปทานโลกมีความซับซ้อนและบูรณาการมากขึ้น ทำให้บริษัทมีการประสานงานและทำงานอย่างใกล้ชิดกับซัพพลายเออร์ในส่วนวัตถุดิบและชิ้นส่วนหลักในการผลิตซึ่งส่วนใหญ่เป็นคู่ค้าที่เป็นพันธมิตร ความเสี่ยงของฐานลูกค้ารายใหญ่ ถือเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงหลักที่กลุ่มฐานลูกค้ารายใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีสาระสำคัญ เช่น การเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ การเปลี่ยนเจ้าของกิจการหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม บริษัทมีการกระจายความเสี่ยงโดยมีสัดส่วนสินค้าที่ผลิต กระจายตัวอยู่ในตลาดที่หลากหลายในอุตสาหกรรมและมีสัดส่วนการกระจายการพึ่งพิงลูกค้ารายใหญ่ด้วยการขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มขึ้น โดยลูกค้ารายใหญ่ที่สุดมียอดขายไม่เกินร้อยละ 20 ของยอดขายกลุ่มบริษัท หุ้น HANA           หุ้น HANA มี Market Cap อยู่ที่ 21,514.41 ล้านบาท (อิงข้อมูล ณ วันที่ 19 ธันวาคม 67) หรือเป็นอันดับที่ 4 ให้หุ้นกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (ETRON) โดยผลการดำเนินงานของบริษัทในช่วง 9 เดือนแรกปี 2567 ยังคงได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นส่งผลต่อต้นทุนเพิ่ม ทำให้อัตรากำไรจากการดำเนินงานลดลง รวมถึงการตั้งด้อยค่าสินค้าคงคลัง ขณะที่ความต้องการใน SiC ยังคงอ่อนตัวลงและราคาลดลงจากการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ชะลอตัว รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับภาษี EV ที่กระทบต่อการผลิตที่ตลาดจีน           อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 3 ปี 2567 หน่วยงานพาวเวอร์ มาสเตอร์ เซมิคอนดักเตอร์ในเกาหลีใต้ (PMS) และหน่วยงานฮานา เทคโนโลยี (HTI) ในสหรัฐอเมริกามียอดขายเพิ่มขึ้น 40% YoY และ 20% YoY ตามลำดับ Unit: THB Million           ในด้านเงินปันผล บริษัทมีนโยบายการจ่ายปันผลตั้งแต่ 30% ของกำไรสุทธิของงบการเงินรวมหลังหักเงินสำรองต่างๆทุกประเภท ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการลงทุนและกระแสเงินสด โดยล่าสุด (13 ธันวาคม 67) บริษัทได้จ่ายปันผลเป็นเงินสด 0.25 บาทต่อหุ้น (DPS) ซึ่งมูลค่าที่ลดลงอาจเกิดจากการวางแผนเก็บเงินสดไว้ลงทุน อย่างเช่นการสร้างโรงงาน หรือเน้นการเติบโตในระยะยาวมากกว่า รายละเอียดเพิ่มเติม ที่ https://app.visible.vc/shared-update/8ebd9f84-5a2d-47c2-a2c5-068bd4084898

HANA ไตรมาส3/67 มีกำไรที่ 406 ล้านบาท พร้อมอนุมัติปันผล0.25บาทต่อหุ้น

HANA ไตรมาส3/67 มีกำไรที่ 406 ล้านบาท พร้อมอนุมัติปันผล0.25บาทต่อหุ้น

          บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน) หรือ HANA รายได้จากการขายของกลุ่มบริษัทฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส์ ลดลงร้อยละ 7 เมื่อเทียบปีต่อปี อยู่ที่ 6,100 ล้านบาทในไตรมาส 3/67 จาก 6,555 ล้านบาทในไตรมาส 3/66 รายได้จากการขายในรูปสกุลเงินเหรียญสหรัฐในไตรมาส 3/67 ลดลงร้อยละ 6 อยู่ที่ 175 ล้านเหรียญสหรัฐ จาก 186 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาส 3/66           กำไรจากการดำเนินงานในไตรมาส 3/67 ลดลงร้อยละ 97 อยู่ที่ 21 ล้านบาท จาก 698 ล้านบาทในไตรมาส 3/66 ในไตรมาส 3/67 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิจำนวน 406 ล้านบาท ลดลงจาก 734 ล้านบาทในไตรมาส 3/66 เนื่องจากยอดขายลดลงในไตรมาส 3/67 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/66 รวมถึงการปรับมูลค่าสินค้าคงคลังของหน่วยงานในประเทศไทยจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น อีกทั้งอัตรากำไรขั้นต้นลดลง และการเพิ่มกำลังการผลิตของหน่วยงาน IC ที่ประเทศเกาหลีใต้ การแถลงการณ์เชิงคาดการณ์ล่วงหน้า ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน           ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ ได้แก่ การรักษาลูกค้า, การได้ลูกค้าใหม่, การด้อยค่าของราคาสินค้า (Erosion), ความสำเร็จของการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของลูกค้าในตลาดที่เกี่ยวข้องและวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์, การผลิตสินค้าให้เป็นไปตามข้อกำหนดและการส่งมอบตามกำหนดให้กับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ, การเรียกคืนสินค้า, ความเสี่ยงในการรับผิดอันเกิดจากผลิตภัณฑ์, ราคาวัตถุดิบของซัพพลายเออร์และการจัดหาวัตถุดิบอย่างสม่ำเสมอตามข้อตกลง, ความสามารถในการชำระหนี้ของซัพพลายเออร์, ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของบริษัทฯ และบริษัทย่อย           การเปรียบเทียบระหว่างสกุลเงินการขายผลิตภัณฑ์ ซึ่งหลัก ๆ เป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐ กับการจัดซื้อมูลค่าวัตถุดิบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐ และสกุลเงินของแต่ละประเทศที่บริษัทตั้งอยู่, ค่าจ้างและเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น, ตลาดแรงงาน, อัตราการลาออก และแรงงานฝีมือ, ความเสี่ยงด้านเครดิต, สภาวะตลาด, สภาพคล่องทางการเงินและเงินทุน, การประกันภัย, การปฏิบัติตามกฎระเบียบ, กลยุทธ์, ชื่อเสียง, กฎหมายและระเบียบข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อม, ความสามารถในการแข่งขัน และความเสี่ยงด้านระบบของบริษัทฯ ความสำเร็จของบริษัทฯ • การดำเนินการควบรวมกิจการ การเข้าซื้อกิจการ และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่ตามมา • การพัฒนาและทำการตลาดในผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และกระบวนการผลิต • การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ           เสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคของประเทศที่บริษัทฯ ลูกค้าของบริษัทฯ หรือซัพพลายเออร์ดำเนินธุรกิจอยู่, เสถียรภาพทางการเงินของโลกที่อาจกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของบริษัทฯ ลูกค้าของบริษัทฯ และซัพพลายเออร์ ความเสี่ยงจากโรคระบาด           เช่น โรคโควิด-19 ที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อความต้องการของลูกค้าและห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก พร้อมคณะกรรมการบริษัทมีการอนุมัติเงินปันผลอัตราการจ่ายปันผลเป็นเงินสด 0.25 (บาทต่อหุ้น) : กำหนด วันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล(XD) : 28 พ.ย. 2567 และกำหนดวันที่จ่ายปันผล : 13 ธ.ค. 2567

INSET พร้อมเติบโตตามอุตสาหกรรม Data Center

INSET พร้อมเติบโตตามอุตสาหกรรม Data Center

          หุ้นวิชั่น - INSET พร้อมเติบโตตามการขยายตัวของอุตสาหกรรม Data Center โดยในอีก 4-5 ปีข้างหน้า เราคาดว่าอุตสาหกรรมนี้จะเติบโตอย่างก้าวกระโดด สอดคล้องกับการเติบโตของธุรกิจดิจิทัลและ AI ที่มีบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วน ซึ่งจะเปิดโอกาสให้บริษัทรับงานก่อสร้าง Data Center มากขึ้น คาดว่าจะเริ่มเห็นการประมูลโครงการตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไป แต่การรับรู้รายได้จะเกิดขึ้นในปี 2569           นายศักดิ์บวร พุกกะณะสุต กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินฟราเซท จำกัด (มหาชน) หรือ INSET เปิดเผยกับ หุ้นวิชั่น ว่า อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทยยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยล่าสุด Google ได้ประกาศแผนการลงทุนมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 35,000 ล้านบาท ในประเทศไทยระหว่างปี 2568-2572 เพื่อสร้าง Data Center และ Cloud Region แห่งใหม่ ซึ่งเป็นการลงทุนสำคัญที่ช่วยผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้           การลงทุนนี้ไม่เพียงแต่จะยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีในประเทศ แต่ยังเปิดโอกาสให้ประเทศไทยรองรับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจดิจิทัลขั้นสูง เช่น 5G, ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI), คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud), Internet of Things (IoT) และ Smart City           นอกจากนี้ การสร้าง Data Center และ Cloud Region ของ Google ยังช่วยดึงดูดผู้ประกอบการด้านบริการข้อมูลระดับโลกเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากประเทศมีความโดดเด่นในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน อัตราค่าไฟฟ้าที่แข่งขันได้ และการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดการลงทุนของผู้ประกอบการยุคใหม่           สำหรับ INSET ซึ่งให้บริการก่อสร้างศูนย์ข้อมูล (Data Center) บริษัทมีความเชี่ยวชาญในด้านการออกแบบและก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับ Data Center ที่รองรับ Big Data, เทคโนโลยี 5G, Cloud Computing และระบบ AI การขยายตัวของผู้ให้บริการดิจิทัลและคลาวด์ในระดับโลกทำให้เกิดความต้องการ Data Center ที่มีประสิทธิภาพสูงและมีเสถียรภาพ ซึ่ง INSET สามารถตอบโจทย์นี้ได้           ด้วยความพร้อมของบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในโครงการโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล INSET อยู่ในตำแหน่งที่ดีในการเข้าร่วมประมูลงานก่อสร้าง Data Center ทั้งจาก Google และผู้ให้บริการเทคโนโลยีรายใหญ่อื่นๆ บริษัทคาดว่าจะเข้าร่วมการประมูลงานตั้งแต่ปลายปีนี้ไปจนถึงปีหน้า มูลค่ารวมกว่า 2,000 ล้านบาท สอดคล้องกับการเติบโตของอุตสาหกรรม โดยคาดว่าจะเริ่มรับรู้รายได้จากโครงการเหล่านี้ในปี 2569           อนึ่ง INSET เป็นผู้ให้บริการก่อสร้างศูนย์ข้อมูล (Data Center) และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ, ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายโทรคมนาคม และธุรกิจซ่อมบำรุงและให้บริการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม ส่วนความเห็นนักวิเคราะห์           กระแสเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง Cloud, AI และในอนาคตในส่วนระบบ Automation แม้ไทยอาจจะไม่ได้อยู่ในกลุ่มประเทศต้นน้ำที่ได้ประโยชน์จากการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาโดยตรง แต่กระแสหลักนี้จะสร้างโอกาสให้ไทยในช่วง 4-5 ปีนับจากนี้ ด้วยศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางโครงสร้างพื้นฐานสำคัญด้านเทคโนโลยี กล่าวคือ Data Center ในไทยมีจุดเด่นจากพื้นที่ตั้งเป็นศูนย์กลางภูมิภาค ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ 4G, 5G ที่ครอบคลุม ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติต่ำ และกระแสไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพและมั่นคง ทำให้ไทยเป็นจุดสนใจจากการขยาย Data Center จากสิงคโปร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางเดิมที่เริ่มมีข้อจำกัด           จากการรวบรวมตัวเลขโดย KSS ในส่วนเม็ดเงินลงทุน Data Center ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในประเทศหลักๆ เราประเมินว่าปัจจุบันมีเม็ดเงินมหาศาลรอลงทุน Data Center ในไทยช่วง 4-5 ปีจากนี้ ไม่น้อยกว่า 200,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนสูงราว 1.1% ของมูลค่า GDP ประเทศไทยในปัจจุบัน โดยหากทยอยลงทุนในช่วง 4-5 ปี จะส่งผลบวกต่อ GDP ราว 0.2-0.25% ต่อปี ซึ่งยังไม่รวมประโยชน์ด้านดิจิทัลอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นอีกมากมายต่อประเทศ ถือเป็นหนึ่งใน S-Curve ใหม่ของไทย และเป็น Upside ของเศรษฐกิจระยะกลาง-ยาว ซึ่งเชื่อว่าตลาดยังแทบไม่รวมในประมาณการ GDP มุมมองเชิงกลยุทธ์           ประเมินว่า Upside จากแรงขับเคลื่อนด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ มีจุดเด่นสำคัญ คือ ปริมาณข้อมูลที่ใช้สนับสนุนจะเติบโตแบบทวีคูณ (Exponential) ซึ่งน่าจะสร้างโอกาสทางธุรกิจสูงกว่าที่ตลาดคาดคิดไว้ และเป็น Thematic Theme ระยะกลาง-ยาว 1-5 ปี KSS มีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นที่อยู่ในระบบนิเวศของ Data Center โดยฝั่ง Data Center เราแนะนำผู้ได้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่ขยายตัวโดยตรง อาทิ GULF, INTUCH, ADVANC, TRUE, INSET, DELTA, STPI (Non-Coverage)           กลุ่ม Digital Tech ที่ Data Center จะนำมาสู่ Upside งานประเภท Cloud Adoption และ AI รวมถึง Automation Adoption ระยะยาวที่จะหนุนอุตสาหกรรมเข้าสู่รอบใหญ่ของการขยายตัวอีกครั้ง อาทิ BE8, BBIK           ส่วนกระแส Cycle เทคโนโลยี AI ที่ผลักดันอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ พัฒนาให้มี AI พื้นฐานติดเครื่องมากขึ้น จะสร้างโอกาสฟื้นตัวจากรอบการเปลี่ยนอุปกรณ์ตามกระแส AI ซึ่งเราคาดไม่ต่างจากยุค 3G, 4G ที่เคยหนุนหุ้นที่ได้ประโยชน์ อาทิ HANA, ADVICE (Non-Coverage), SYNEX (Non-Coverage) Best Picks: GULF, TRUE, DELTA, INSET, BE8, HANA, ADVICE ที่มา : บล.กรุงศรี

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011