ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#GUNKUL


GUNKUL ยันกังหันลมปกติ  ผลิต 170 เมกะวัตต์ ไม่สะดุด

GUNKUL ยันกังหันลมปกติ ผลิต 170 เมกะวัตต์ ไม่สะดุด

          หุ้นวิชั่น- นางสาวนฤชล ดำรงปิยวุฒิ์ประธานเจ้าหน้าทีบริหารบริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริง จํากัด (มหาชน) หรือ GUNKUL ชี้แจงว่า ตามที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 เวลา 13.20 น. โดยมีศูนย์กลางบริเวณเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา ซึ่งส่งผลให้มีแรงสั่นสะเทือนถึงจังหวัดนครราชสีมา อันเป็นที่ตั้งของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมจํานวน 3 โครงการของบริษัทฯ รวมกําลังการผลิต 170 เมกะวัตต์ นั้น           บริษัทฯ ขอเรียนว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการดําเนินงานและการผลิตไฟฟ้าของบริษัทฯ แต่อย่างใด ภายหลังเกิดเหตุ ทีมวิศวกรของบริษัทฯ ได้เข้าตรวจสอบกังหันลมทั้ง 83 ต้น ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมทั้ง 3 แห่ง ระหว่างวันที่ 28-29 มีนาคม 2568 ไม่พบความเสียหายหรือร่องรอยแตกร้าวผิดปกติบริเวณฐานและโครงสร้างของกังหันลม           อีกทั้งไม่มีสัญญาณแจ้งเตือนการทํางานผิดปกติ ส่งผลให้กังหันลมทุกต้นสามารถผลิตและจําหน่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบได้ตามปกติ           นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ดําเนินการตรวจสอบอาคารสํานักงาน อาคารคลังสินค้า (Warehouse) อาคารสถานีไฟฟ้า อุปกรณ์ในลานไกไฟฟ้าสถานีไฟฟ้า 115kV เส้นทางสายส่ง 115kV จนถึงจุดเชื่อมต่อกับการไฟฟ้าฯ ตลอดจนถนนภายในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมทั้ง 3 แห่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่พบความผิดปกติใด ๆ ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการผลิตและจําหน่ายกระแสไฟฟ้า           สําหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์ฟาร์มและโซลาร์รูฟท็อป) ของบริษัทฯ ยังคงสามารถผลิตและจําหน่ายกระแสไฟฟ้าได้ตามปกติ เช่นเดียวกับอาคารคลังสินค้า โรงงานผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่ตลิ่งชัน และอาคารสํานักงานใหญ่ โดยไม่พบความเสียหายที่มีนัยสําคัญต่อโครงสร้างหรือการดําเนินงาน           ทั้งนี้ ตั้งแต่ช่วงเวลาที่เกิดเหตุจนถึงปัจจุบัน พนักงานและผู้รับเหมาที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ต่าง ๆ ต่างปลอดภัยดี ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บหรือได้รับอันตราย

GUNKUL พบนักวิเคราะห์  ตอกย้ำธุรกิจ - เป้าไกล 5 บ.

GUNKUL พบนักวิเคราะห์ ตอกย้ำธุรกิจ - เป้าไกล 5 บ.

             หุ้นวิชั่น - GUNKUL ประชุมนักวิเคราะห์เป็นบวก มองเป้ารายได้เติบโตปีละ 10-15% ครบวงจรด้าน พลังงานไฟฟ้า มี PPA เพิ่มรอจ่ายไฟจำนวนมาก มีศักยภาพการเติบโตระดับภูมิภาค และมีธุรกิจ EPC งานไฟฟ้า และธุรกิจโรงงาน ที่มีแบ็คล็อคร่วม 4,000 ล้านบาท และพร้อมเติบโตตามความ ต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้น โดยเฉพาะงานด้าน EPC หรืองานรับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้า มีโอกาส เข้าร่วมลงทุนและสร้างโรงไฟฟ้าสีเขียว ที่คาดว่าจะมีการลงทุนและก่อสร้างอีกเป็นจำนวนมาก ราคาเป้าหมายที่ 3.51 ถึง 5 บาท มีอัพไซด์มากกว่า 100%              บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL ผู้นำด้านพลังงานสีเขียวแบบครบวงจรใหญ่ที่สุด อันดับ 2 ของไทย โดย นางสาวนฤชล ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทฯ จัดงานประชุม นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Analyst Meeting) นำเสนอแผนงานธุรกิจประจำปี 2568 และแนะนำตัว ในฐานะซีอีโอคนใหม่อย่างเป็นทางการ พร้อมเปิดวิสัยทัศน์ใหม่ “พาร์ตเนอร์ด้านพลังงานสีเขียว และโครงสร้างพื้นฐานแห่งภูมิภาคเอเชีย ที่ได้รับการยอมรับสูงสุด” โดยมีคณะผู้บริหาร นำโดย นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร และนายฐิติพงศ์ เตชะรัตนยืนยง ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการเงินและบัญชี ร่วมให้ข้อมูลและให้การต้อนรับ โดยมีนักวิเคราะห์จากบริษัท หลักทรัพย์ชั้นนำ เข้าร่วมงานคับคั่ง จัดขึ้น ณ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) ชั้น 44 อาคาร วัน ซิตี้ เซ็นเตอร์ (โอซีซี) เมื่อเร็วๆ นี้              ผู้บริหาร GUNKUL มั่นใจตั้งเป้ารายได้เติบโตต่อเนื่อง รวม 3 ปีกว่า 35,000 ล้านบาท เติบโต 10-15% สำหรับแผนธุรกิจปี 2568 นี้ GUNKUL เดินกลยุทธ์ ‘สมการความก้าวหน้า’ ที่สร้างการเติบโตอย่างเป็น ระบบและมีความมั่นคง มุ่งเน้นการเติบโตรายได้ของ 3 กลุ่มธุรกิจหลัก และต่อยอดสู่ธุรกิจในอุตสาหกรรม New S-Curve โดยปัจจุบัน GUNKUL มีโรงไฟฟ้าพลังงานสีเขียวทั้งหมด 1,479 เมกะวัตต์ ซึ่ง 85% เป็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเป็นแบบค่าไฟคงที่ (FIT) จึงไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนของค่าไฟแปรผันหรือ Ft โดยมี 832 เมกะวัตต์ ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการรอรับรู้รายได้ นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีมูลค่างาน รอรับรู้รายได้ (backlog) ร่วม 4,000 ล้านบาท อีกด้วย ด้านนักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำ ที่เข้าร่วมประชุมกับผู้บริหาร GUNKUL มีสรุปประเด็น มุมมองความคิดเห็น ดังนี้              บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโต 10-15% ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าสีเขียวทั้งหมด 1,479 เมกะวัตต์ และ 832 เมกะวัตต์ ที่พึ่งได้รับคัดเลือกจากการประมูลล่าสุดกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ที่อยู่ระหว่างการรอพัฒนาโครงการ ซึ่งประเมินจากศักยภาพของ GUNKUL น่าจะสามารถหาพาร์ตเนอร์เข้าร่วมลงทุนในโครงการเหล่านี้ และเติบโตไปกับ พาร์ตเนอร์ที่มีศักยภาพการเติบโตในธุรกิจไฟฟ้าระดับภูมิภาค              ส่วนประเด็นโรงไฟฟ้า แสงอาทิตย์หมดสัญญา Adder (เงินส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า) ไปหมดแล้ว เหลือเพียงโรงไฟฟ้า พลังงานลม ที่ถือหุ้นรวมกับพาร์ตเนอร์คนละครึ่งในปี 2027 แต่ในช่วงปี 2027 จะมีโรงไฟฟ้าใหม่เข้ามา เพิ่มมากกว่าในส่วนที่ adder ที่หายไป นอกจากนี้บริษัทยังมีอีกสองธุรกิจ ที่พร้อมเติบโตตามความต้องการ ใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้น โดยเฉพาะ งานด้าน EPC หรืองานรับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้า สถานีไฟฟ้า และวาง สายไฟฟ้า และโทรคมนาคมจากภาครัฐอีกมาก              อีกทั้งมีโอกาสเข้าร่วมลงทุนและสร้างโรงไฟฟ้าสีเขียว เพื่อขายไฟฟ้าให้กับ Data Center ที่คาดว่าจะมีการลงทุนและก่อสร้างอีกเป็นจำนวนมาก ภายใต้สัญญา private PPA (สัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซลาร์เซลล์)

KSS ชูพิกัด GUNKUL 2.6 บ. ล็อกเป้าผลิตไฟ 2,000 MW

KSS ชูพิกัด GUNKUL 2.6 บ. ล็อกเป้าผลิตไฟ 2,000 MW

หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) ระบุว่า จากประชุมนักวิเคราะห์ เรามองมุมมองเป็นกลาง (Neutral) ต่อ GUNKUL โดยบริษัทฯ คงเป้าหมายการเติบโตรายได้ปี 25F ที่ 10-15% จากเป้าหมายกำลังการผลิตในระยะยาวที่ 2,000 MW (ปัจจุบัน 1,464 MW) อย่างไรก็ตามในระยะสั้น ทิศทาง Gross Margin ของงาน EPC ในปี 25F คาดว่าจะอยู่ในกรอบ 18-20% ซึ่งต่ำกว่าประมาณการเดิมที่ 21% เนื่องจากมีสัดส่วนของงานที่มี Margin ต่ำกว่าเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันค่าใช้จ่าย SG&A คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสูงกว่าประมาณการเดิมของบริษัทฯ ทำให้เรามีการปรับลดประมาณการกำไรในปี 25-26F ลงเฉลี่ย 12% จากต้นทุนที่สูงกว่าคาดในระยะสั้น แม้ว่าราคาหุ้นจะลดลง -25% YTD และอยู่ในโซนราคาที่ค่อนข้างถูก (Value zone) ด้วย PER 25F ที่ 9x (-1SD) ซึ่งสะท้อนปัจจัยกดดันไปมากแล้ว แต่ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องติดตามความชัดเจนในบางประเด็น ได้แก่ 1) นโยบายการลดค่าไฟสำหรับโครงการที่ COD แล้ว แม้ว่าความเป็นไปได้จะยาก 2) การชะลอการเซ็น PPA สำหรับพลังงานหมุนเวียนเฟส 2 ที่ยังไม่รวมในประมาณการของบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม เรายังคงคำแนะนำ "ซื้อ" (Buy) ที่ราคาเป้าหมายใหม่ 2.60 บาท/หุ้น. ประเด็นสำคัญ : เป้าหมายการผลิตในระยะยาว บริษัทตั้งเป้าหมายก าลังการผลิตในระยะยาวที่ 2,000 MW ภายในปี 2027F (ปัจจุบัน 1,464 MW) โดยมาจากพลังงานหมุนเวียนในประเทศ การทำ Direct PPA ร่วมกับเอกชน และการขยายธุรกิจในต่างประเทศ ซึ่งในขณะนี้บริษัทกำลังศึกษาโอกาสเติบโตในตลาดโซล่าร์ในฟิลิปปินส์ เนื่องจากมีโอกาสการเติบโตสูง โดยมีความต้องการในตลาดกว่า 80 GW. การเติบโตรายได้ บริษัทคงเป้าหมายการเติบโตรายได้ในปี 25F ที่ 10-15% (ในขณะที่เราคาดการณ์ที่ 8%) โดยมุ่งเน้นกลยุทธ์การเติบโตจากธุรกิจ EPC & Trading ผ่าน Backlog ปัจจุบันที่ 3,800 ล้านบาท ซึ่งรวมทั้งงานสายส่งและโรงไฟฟ้าที่ได้รับคัดเลือกทั้งหมด 5,203 MW ที่จะเริ่ม COD ในปี 26F นอกจากนี้ยังจะมีการเพิ่มโซล่าร์พร้อมแบตเตอรี่ (Solar+BESS) ในกลุ่มลูกค้า Private PPA เพื่อเพิ่มรายได้จากฐานลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ประมาณ 15-20% ทิศทาง Gross Margin บริษัทตั้งเป้าหมายที่จะรักษาระดับ Gross Margin ใกล้เคียงเดิมในปี 25F อย่างไรก็ตาม มาร์จิ้นจากกลุ่มธุรกิจ EPC อาจลดลงอยู่ในกรอบ 18-20% (จาก 22% ในปี 2024) เนื่องจากมีการเพิ่มสัดส่วนงานที่มี Margin ต่ำจากการทำโครงการขนาดใหญ่   แนวโน้ม SG&A คาดว่า SG&A ในปี 25F จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการลดต้นทุนบุคลากร โดยการวางระบบในกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าเพื่อลดต้นทุนในการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า ซึ่งคาดว่าจะลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 40 ล้านบาท แต่ SG&A โดยรวมยังคงสูงกว่าประมาณการเดิม   การ Roll-over หุ้นกู้และ LT-Loan : บริษัทวางแผนที่จะ Roll-over หุ้นกู้และ LT-Loan ในปี 25F รวมมูลค่า 1,842 ล้านบาท และคาดว่าจะสามารถลด Finance cost ได้ประมาณ 1%. ปัจจุบันบริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (IBD/E) ที่ 1.04 เท่า ซึ่งยังคงมีพื้นที่ในการก่อหนี้สำหรับ CAPEX ในปี 25-27F ที่ 12,000 ล้านบาท เพื่อการลงทุนโครงการเพิ่มเติม โดยยังคงอยู่ภายใต้ข้อตกลงที่อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนไม่เกิน 3 เท่า           ความเห็นและคำแนะนำ           เรามองสถานการณ์เป็นกลาง (Neutral) โดยบริษัทฯ คงเป้าหมายการเติบโตรายได้ในปี 25F ที่ 10-15% โดยอิงจากเป้าหมายการผลิตในระยะยาวที่ 2,000 MW (ปัจจุบัน 1,464 MW) ถึงแม้ว่าจะมีต้นทุนที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งส่งผลให้เราปรับลดประมาณการรายได้ปี 25-26F ลงเฉลี่ย 12% โดยลด Gross margin ปี 25-26F ลง 70 bps และ 150 bps จากการปรับฐานของอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลงจากปี 24 เนื่องจากการรับงานโครงการขนาดใหญ่ที่มีมาร์จิ้นต่ำกว่าปกติจากธุรกิจ EPC                     ปรับเพิ่มค่าใช้จ่าย SG&A ปี 25-26F ขึ้น 15% เพื่อสะท้อนต้นทุนที่สูงขึ้นจากบุคลากร แม้ว่าบริษัทฯ จะตั้งเป้าหมายลดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ในปี 25F ประมาณ 40 ล้านบาท แต่ก็ยังคงมีสัดส่วนที่สูงกว่าประมาณการเดิมของเรา คาดว่ากำไรในไตรมาส 1 ปี 25F จะเติบโตเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (y-y) และทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (q-q) เนื่องจากบริษัทฯ จะยังคงได้รับประโยชน์จากธุรกิจ EPC & Trading ต่อเนื่อง รวมถึงคาดว่าโรงไฟฟ้าพลังงานลมจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าปีก่อน           เรายังคงคำแนะนำ "Buy" บนราคาเป้าหมายใหม่ (TP25F) ที่ 2.60 บาท โดยใช้วิธีการประเมินมูลค่าทั้งกลุ่ม (SOTP) ซึ่งประกอบด้วย ธุรกิจปัจจุบัน (โรงไฟฟ้า COD) มูลค่า 1.60 บาท ธุรกิจ EPC & Trading มูลค่า 0.43 บาท โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนใหม่ มูลค่า 0.57 บาท เนื่องจากเรามีการปรับเพิ่มสมมติฐาน WACC สำหรับกลุ่มโรงไฟฟ้าเป็น 8.5% (จากเดิม 7.0%) และปรับลด PER สำหรับกลุ่มธุรกิจก่อสร้างลงเป็น 10 เท่า (จากเดิม 15 เท่า) โดยประมาณการและราคาเป้าหมายในปัจจุบันยังไม่รวม Upside จากการคัดเลือกพลังงานหมุนเวียนเฟส 2 ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างชะลอการเซ็น PPA เชิงกลยุทธ์ แม้ว่า GUNKUL จะยังคงเป็นบริษัทที่มีการเติบโตจากงาน EPC ในปี 25F (คาดกำไรปกติเติบโต 4%) และการเพิ่ม Capacity พลังงานหมุนเวียนในปี 26F (คาดกำไรปกติเติบโต 17%) แต่เราขอแนะนำให้ติดตามปัจจัยความเสี่ยงด้านกฎระเบียบที่อาจกระทบการลงทุน ได้แก่ นโยบายการลดค่าไฟ สำหรับโครงการที่ COD แล้ว ซึ่งโอกาสในการเกิดเป็นไปได้น้อย การชะลอการเซ็น PPA สำหรับพลังงานหมุนเวียนเฟส 2

GUNKUL เป้าพลังงาน 2 GW ดาโอ แนะ “ซื้อ” เป้า 5 บ.

GUNKUL เป้าพลังงาน 2 GW ดาโอ แนะ “ซื้อ” เป้า 5 บ.

               หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุ GUNKUL (ซื้อ/เป้า 5.00 บาท)ธุรกิจมีพัฒนาการที่ดีและอยู่ในภาวะอุตสาหกรรมเอื้อให้เติบโตเราคงคำแนะนำ “ซื้อ” และราคาเป้าหมาย 5.00 บาท อิง SOTP (ในส่วนของโครงการพลังงานทดแทนเราประเมินมูล ค่า 3.50 บาท เฉพาะโครงการที่ COD แล้วประเมินมูลค่า 1.50 บาท) ทั้งนี้เรามีมุมมองเป็นบวกจากงาน Analyst Meeting เมื่อ 13 มี.ค. 2025 หลังธุรกิจมีพัฒนาการที่ดีและภาวะอุตสาหกรรมเอิ้อให้ธุรกิจหลักเติบโตได้ โดยสรุปประเด็นดังนี้ 1)ธุรกิจพลังงานทดแทนตั้งเป้ากำลังการผลิต 2.0GWภายในปี 2027E จากปัจจุบันที่ราว 1.5GWเน้นโครงการในประเทศเป็นหลัก 2) ธุรกิจ EPCและ Trading ตลาดสดใสโดยในช่วง 2 ปีนี้คาดมูลค่าไม่ต่ำกว่า 6.6 หมื่นล้านบาทในส่วนงานของภาครัฐงานเอกชนยังมีแนวโน้มได้เพิ่มเติมเช่นกันจากการทยอยสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน คาดได้งานเติมbacklog ต่อเนื่องจากระดับปัจจุบันที่ราว 4.0 พันล้านบาท 3) เตรียมขยายขอบข่ายบริการยังคงเน้นพลังงานสีเขียว ปัจจุบันอยู่ระหว่างพูดคุย partner ทำ Data Center หากมีความชัดเจนจะแจ้งให้ทราบต่อไป 4)ตั้งเป้ารายได้เติบโตเฉลี่ยต่อปีในกรอบ 10-15%CAGR2024-27E ในขณะที่ CAPEX 3ปีคาดใช้อยู่ราว 1.2 หมื่นล้านบาท 5) ปัจจุบันได้SET ESG rating AA ตั้งเป้าในปี 2025Eขยับขึ้นเป็นAAAราคาหุ้นกลับมาเคลื่อนไหวใกล้เคียง SETมากขึ้นในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ประเมินตลาด pricein ประเด็นการแทรกแซงค่าไฟฟ้าไปพอสมควรโดยกรณีการปรับสัญญา Adder ทางรมว.กระทรวงพลังงานออกมาชี้แจงแล้วว่าเป็นไปได้ยาก แม้ยังเป็นปัจจัย overhangแต่หากตลาดกลับมาให้น้ำหนักโอกาสในการได้งานEPCโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมหลังโครงการพลังงานทดแทน5.2GW จะเริ่มทยอย COD ในปี 2024 เป็นต้นไป                นอกจากนี้ผลประกอบการกลับเข้าสู่ภาวะขาขึ้นจากการทยอยรับรู้รายได้โครงการพลังงานทดแทนใหม่ซึ่งจะทยอย COD ในปี 2026E ถึง2030Eหนุนกำลังการผลิตจากปี 2024 ที่ 0.6GW สู่ระดับ 1.5GW คาดว่าหุ้นจะกลับไป outperform ได้

abs

ปตท. แข็งแกร่งร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

GUNKUL ชูธงโรงไฟฟ้าสีเขียว มีงานรอบุ๊กรายได้ 3,800 ล้าน

GUNKUL ชูธงโรงไฟฟ้าสีเขียว มีงานรอบุ๊กรายได้ 3,800 ล้าน

           หุ้นวิชั่น - GUNKUL  ตั้งเป้ารายได้โต 10-15%  และมีรายได้รวมใน 3 ปีกว่า 35,000 ล้านบาท ล่าสุดมีโรงไฟฟ้าพลังงานสีเขียวทั้งหมด 1,479 เมกะวัตต์ โดยมี 832 เมกะวัตต์ ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการรอรับรู้รายได้  ยังมีมูลค่างานรอรับรู้รายได้กว่า 3,800 ล้านบาท            บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL ผู้นำด้านพลังงานสีเขียวแบบครบวงจรใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของไทย ปรับผังองค์กรส่ง นฤชล ดำรงปิยวุฒิ์ ดำรงตำแหน่งประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) คนใหม่ พร้อมวิสัยทัศน์ “พาร์ตเนอร์ด้านพลังงานสีเขียว และโครงสร้าง พื้นฐานแห่งภูมิภาคเอเชีย ที่ได้รับการยอมรับสูงสุด” เปิดกลยุทธ์ ‘สมการแห่งความก้าวหน้า’ ต่อยอด 3 ธุรกิจหลัก สร้างฐานธุรกิจใหม่           บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL ตั้งเป้ากำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงาน สีเขียวสะสม 2,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2570 และพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และ พลังงานลมใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับ Direct PPA และการเปิดประมูลรอบใหม่ โดยปัจจุบัน GUNKUL มีโรงไฟฟ้าพลังงานสีเขียวทั้งหมด 1,479 เมกะวัตต์ และมีถึง 832 เมกะวัตต์ ที่อยู่ระหว่างการ พัฒนาโครงการรอรับรู้รายได้ ตั้งเป้ารายได้เติบโต 10-15% ทุกปี และภายใต้เป้าการเติบโตทางรายได้รวมใน 3 ปีกว่า 35,000 ล้านบาท           คุณนฤชล เผยว่า ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ของการเป็น “พาร์ตเนอร์ในด้านพลังงานสีเขียวและโครงสร้างพื้นฐานแห่งภูมิภาคเอเชีย” บริษัทฯ ได้มีการกำหนดกลยุทธ์ ‘สมการความก้าวหน้า’ ที่สื่อถึงการเติบโตอย่างเป็นระบบและมีความมั่นคง โดยมีสารตั้งต้นจากศักยภาพด้าน Profit People และ Planet ของบริษัทฯ ที่สนับสนุนให้สามารถนำความเชี่ยวชาญด้านพลังงานแบบครบวงจรของ GUNKUL ผนวกเข้ากับกลยุทธ์ใหม่ เพื่อบรรลุผลลัพธ์ทางธุรกิจตามเป้าประสงค์ ทั้งนี้ได้แตกส่วนของกลยุทธ์ออกเป็น 3 แนวทางด้วยกัน ได้แก่ Build Business Muscles เปรียบเสมือนการสร้างกล้ามเนื้อทางธุรกิจที่แข็งแรงทั้งธุรกิจเดิมและธุรกิจในอุตสาหกรรมใหม่ ที่ GUNKUL สามารถสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน อันมาจากประสบการณ์ด้านพลังงานกว่า 40 ปี มุ่งเน้นการเติบโตรายได้ของ 3 กลุ่มธุรกิจหลัก และต่อยอดสู่ธุรกิจในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่จุดแข็งของกันกุลสามารถสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive advantage) ได้ Trim Operational Fat แนวคิดนี้หมายถึงการปรับธุรกิจให้มีความคล่องตัวมากขึ้น โดยการปรับกระบวนการทำงานให้เอื้อต่อการเติบโต ลดขั้นตอนและต้นทุนการดำเนินงานที่ไม่จำเป็นออก ซึ่งในด้านธุรกิจจะโฟกัสเรื่องของการนำเทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการโรงไฟฟ้าแบบ 100% เพื่อให้เกิดการจัดสรรคนและเวลาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมไปถึงการศึกษาเรื่องของโอกาสในการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อทางธุรกิจอย่างจริงจัง Create Stakeholder Impact เป็นการสร้างกลยุทธ์ที่ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนองค์กรอย่างยั่งยืนแบบไม่ฉาบฉวย แต่ GUNKUL วางความยั่งยืนเป็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ ควบคู่ไปกับการดูแลทุกภาคส่วนอย่างเหมาะสม           เริ่มจากในกลุ่มธุรกิจหลัก GUNKUL จะเดินหน้าเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปลายปี 2567 บริษัทฯ ได้ผ่านคุณสมบัติและได้รับการคัดเลือกเพิ่มขึ้นอีกกว่า 319 เมกะวัตต์ ทั้งโครงการพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์           ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณา เพิ่มเติม ทั้งนี้สอดคล้องกับเป้าของบริษัทฯ ที่จะเพิ่มโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดในพอร์ตโฟลิโอทั้งในไทยและต่างประเทศทั้งหมดเป็น 2,000 เมกะวัตต์ภายใน 3 ปี พร้อมทั้งเดินหน้าต่อยอดธุรกิจแบตเตอรี่ ทั้งในระดับ เชิงพาณิชย์และระดับโครงข่าย และศึกษาโอกาสในการทำธุรกิจพลังงานสีเขียวใหม่ๆ เช่น SMR, Green hydrogen           สำหรับอีก 2 กลุ่มธุรกิจ บริษัทฯ ได้วางแผนขยายบริการรับเหมาวิศวกรรมไฟฟ้าและอินฟราสตรัคเจอร์ สู่ตลาดแรงดันสูง 115 kV - 500 kV  ซึ่งมีความเฉพาะทางสูงทำให้ผู้เล่นในตลาดยังมีจำนวนไม่มากนัก และยังมองไปถึงการต่อยอดธุรกิจด้านสายส่งระบบสื่อสาร ซึ่งต่อยอดจากธุรกิจสายส่งพลังงานไฟฟ้า ในส่วนของกลุ่มธุรกิจผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าเอง ก็ได้มีการเตรียมความพร้อมที่จะเปิดตลาดใหม่สำหรับกลุ่มอุปกรณ์ไฟฟ้าในระดับแรงดันกลางจนถึงแรงดันสูงเพิ่มเติม และเข้าประมูลโครงการของทั้งภาครัฐและเอกชนในปี 2568 ที่เติบโตสอดคล้องกับความต้องการโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานสะอาด และแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (แผน PDP) ฉบับล่าสุด ซึ่งตั้งเป้าให้แหล่งพลังงานหมุนเวียนมีสัดส่วนเป็น 51% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดภายในปี 2580 หรือคิดเป็นมูลค่าตลาดกว่า 1 ล้านล้านบาท ทั้งหมดนี้จะส่งผลให้บริษัทฯ ไม่เพียงเติบโตทั้งในด้านรายได้ แต่ยังสามารถรักษาศักยภาพในการทำกำไรที่ดีได้อีกด้วย           สำหรับธุรกิจใหม่ๆ หรือ New S-curve คุณนฤชล เพิ่มเติมว่า “บริษัทฯ มองหาอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่ไม่จำกัดแค่พลังงาน แต่กำหนดชัดเจนว่าต้องเป็นอุตสาหกรรมที่อยู่ในเทรนด์ความสนใจของประเทศ โดยมีพลังงานสะอาดเป็นหนึ่งในกุญแจขับเคลื่อนความสำเร็จที่สำคัญ เนื่องจาก GUNKUL มีความเชี่ยวชาญทางด้านพลังงานที่สามารถช่วยดูแลโครงการทั้งห่วงโซ่คุณค่า จึงเป็นที่มาของธุรกิจใหม่ ได้แก่ ศูนย์ข้อมูลสีเขียว หรือ Green Data Center และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ (Infrastructure Development) ซึ่งต่างเป็นพื้นที่ทางธุรกิจใหม่ทั้งคู่ ที่ได้รับการสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ รวมไปถึงการทำ Co-investment สร้างความร่วมมือด้านการลงทุนร่วมกับพันธมิตรบริษัทในไทยและบริษัทต่างชาติเพื่อให้เกิด Green S-curve อื่นๆ ต่อไป เพื่อพุ่งไปสู่เป้าหมายรายได้ในกรอบ 3 ปีที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคำนึงถึงการเติบโตอย่างยั่งยืนในมิติของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) โดยได้กำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจนในการทำให้หุ้น GUNKUL ได้ AAA ESG SET Rating”           โดยสรุปในปี 2567 ที่ผ่านมา GUNKUL ทำผลประกอบการณ์ได้เป็นอย่างดี มีรายได้เพิ่มขึ้น 24% เป็น 9,400 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 1,661 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14 % ซึ่งนับว่าเป็นความสำเร็จ ที่มาจาก 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ 1. ธุรกิจผลิตไฟฟ้า และพลังงานสะอาด บรรลุสัญญาโครงการพลังงานใหญ่และเติบโตในกลุ่มโซลาร์รูฟท็อป ทำให้ปัจจุบันกำลังผลิตสะสมเป็น 1,479 เมกะวัตต์ ส่งผลให้ GUNKUL มี กำลังการผลิตพลังงานสะอาดเป็นอับดับที่ 2 ของประเทศ 2. ธุรกิจก่อสร้างโรงไฟฟ้า และระบบ อินฟราสตรัคเจอร์ รายได้เติบโตกว่า 80% ซึ่งมาจากประสบการณ์ EPC ครอบคลุมตั้งแต่โรงไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้า และสถานีไฟฟ้าในทุกระดับแรงดัน และ 3. ธุรกิจผลิตอุปกรณ์สำหรับไฟฟ้า ทำยอดขายเติบโต 28% ด้วยเช่นกัน           ล่าสุดบริษัทฯ ได้วางแผนงานเพื่อ สานต่อความสำเร็จอย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ “The Most Recognized Partner in Inclusive Green Energy and Infrastructure across Asia” ผู้นำในการเป็นพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจด้านพลังงานสีเขียวและอินฟราสตรัคเจอร์แบบครบวงจรแห่งภูมิภาคเอเชีย            และสำหรับปี 2568 นี้บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้เติบโต 10-15% รายได้รวมใน 3 ปีเติบโตกว่า 35,000 ล้านบาท โดยปัจจุบัน GUNKUL มีโรงไฟฟ้าพลังงานสีเขียวทั้งหมด 1,479 เมกะวัตต์ โดยมี 832 เมกะวัตต์ ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการรอรับรู้รายได้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีมูลค่างานรอรับรู้รายได้ (backlog) กว่า 3,800 ล้านบาท

GUNKUL ตั้ง CEO ใหม่

GUNKUL ตั้ง CEO ใหม่ "นฤชล ดำรงปิยวุฒิ์" ชู ‘พาร์ทเนอร์โซลูชั่นพลังงานสีเขียวในเอเชีย’

                หุ้นวิชั่น - บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL ผู้นำด้านพลังงานสะอาด แบบครบวงจร ประกาศแต่งตั้ง “นฤชล ดำรงปิยวุฒิ์” ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทฯ (CEO) คนใหม่ มั่นใจนำทีมบริหารเดินหน้าทรานฟอร์มสู่วิสัยทัศน์ใหม่ “The Most Recognized Partner in Inclusive Green Energy and Infrastructure across Asia” ชูจุดแข็งในการเป็นพาร์ทเนอร์ โซลูชั่นด้านพลังงานสีเขียวที่ยั่งยืน และอินฟราสตรัคเจอร์ในประเทศและทวีปเอเชีย พร้อมสร้าง บทพิสูจน์จากประสบการณ์ในอุตสาหกรรมพลังงานที่สั่งสมกว่า 15 ปี ท่ามกลางสภาวะแวดล้อม ทางธุรกิจที่ท้าทายและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว                 คุณนฤชล ดำรงปิยวุฒิ์ มีประสบการณ์ในการทำงานเชิงลึกในด้านธุรกิจพลังงานกับ GUNKUL มากกว่า 15 ปี และมีความสนใจส่วนตัวเป็นพิเศษด้านพลังงานสะอาด และพลังงานทดแทนที่ยั่งยืน โดยหลัง จากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทอีก 2 ใบ ทางด้านบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และมหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว ได้ เริ่มต้นการทำงานด้วยการเป็นวาณิชธนากรกับองค์กรชั้นนำ ทำให้มีประสบการณ์ที่ดีด้านการวางแผนการ เงิน ก่อนเข้ามาทำงานสายงานบริหารธุรกิจพลังงาน ด้วยตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงาน วางแผน กลยุทธ์และการลงทุน ซึ่งมีหน้าที่ในการขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโต และมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่สามารถ ต่อยอดได้ จากนั้นได้เข้ารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจพลังงานและกลยุทธ์ การลงทุน ซึ่งนับว่าเป็นกำลังสำคัญในการนำองค์กรเข้าสู่ธุรกิจพลังงานสะอาด โดยมีธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และโรงไฟฟ้าพลังงานลม เป็นธุรกิจเรือธง รวมถึงขยายไปยัง ธุรกิจโซลาร์รูฟท็อปทั้งในระดับอุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และระดับครัวเรือน ซึ่งทำให้เกิดการร่วมทุนกับพันธมิตรในหลากหลาย อุตสาหกรรม จนนำไปสู่การสร้างการเติบโตของพอร์ตพลังงานสะอาดของบริษัทฯ อย่างมีนัยยะ                 ทั้งนี้ คุณนฤชล เป็นผู้อยู่เบื้องหลังผลงานสำคัญ อาทิ เป็นเจ้าของวิสัยทัศน์ที่บุกเบิกธุรกิจ โซลาร์ฟาร์ม ในต่างประเทศ รวมถึงเป็นผู้ผลักดันโครงการโซลาร์ฟาร์มและวินด์ฟาร์มในประเทศ ซึ่งนับเป็น ผลงานชิ้นสำคัญ ที่ส่งผลให้พอร์ตโฟลิโอด้านพลังงานสะอาดของ GUNKUL เติบโตขึ้นมากกว่า 100 % หรือเพิ่ม ขึ้นกว่า 1,000 เมกะวัตต์ ภายในระยะเวลาเพียง 2 ปี อีกทั้งเป็นผู้ก่อตั้งหน่วยงานวิจัย และพัฒนานวัตกรรม ภายในองค์กร เพื่อศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆ รองรับตลาดพลังงานดิจิทัล จากวิสัยทัศน์ในการบริหารและผลงานเชิงประจักษ์ ดังที่กล่าวมา ทำให้ชื่อของ คุณนุก-นฤชล ดำรงปิยวุฒิ์ กลายเป็น ผู้บริหารหญิงรุ่นใหม่ ในอุตสาหกรรม พลังงานที่มากความสามารถ เป็นที่ยอมรับและถูกจับตามอง ไม่ได้เป็นเพียงทายาทรุ่นที่สองของกันกุล เอ็นจิเนียริ่ง                 คุณนฤชล ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL เปิดเผยว่า “ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งสำหรับบทบาทใหม่ ในฐานะซีอีโอของกันกุลเอ็นจิ เนียริ่ง พร้อมสานต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง ทั้งการขับเคลื่อนภารกิจเดิมให้ดำเนินต่ออย่าง ราบรื่น ควบคู่การพัฒนาสิ่งใหม่ โดยได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ “The Most Recognized Partner in Inclusive Green Energy and Infrastructure across Asia”  ตั้งเป้าในการเป็นพาร์ตเนอร์โซลูชั่นด้าน พลังงานสีเขียวและอินฟราสตรัคเจอร์ที่ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรในประเทศและในทวีปเอเชีย ซึ่งจะดำเนินกลยุทธ์การเติบโตทั้งในกลุ่มธุรกิจพลังงานและอินฟราสตรัคเจอร์เดิม และขับเคลื่อนธุรกิจที่เป็น New S-curve บนกรอบ 3 ปีข้างหน้าในอุตสาหกรรมใหม่ๆ เน้นย้ำจุดแข็งและความเชี่ยวชาญของกันกุลเอ็นจิเนียริ่ง ที่มีความครบวงจร ส่งผลให้บริษัทฯ สามารถสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันในอุตสาหกรรมดังกล่าวได้ รวมถึงขยายศักยภาพในด้านนวัตกรรมพลังงานและความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เติมเต็มอีโคซิสเต็มของ GUNKUL ให้แข็งแกร่ง เพื่อสร้างการเติบโตและความก้าวหน้าทางรายได้ที่มั่นคง ทั้งนี้ ต้องขอขอบคุณคณะกรรมการบริษัทฯ ที่ให้ความเชื่อมั่นและมอบหมายภารกิจในการสานต่อความสำเร็จของบริษัทฯ ด้วยค่ะ”                 นอกจากผลงานงานเชิงประจักษ์ในทางธุรกิจแล้ว คุณนฤชล ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL ยังได้รับรางวัลเกียรติยศจากองค์กร ชั้นนำอีกมากมาย อาทิ รางวัล Women in Power Award 2020 โดยสมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ IEEE Power & Energy Society – Thailand, รางวัล Best Emerging Women COO in Sustainable Energy โดยเวที The Global Economics Awards 2022 และอีกมากมาย คุณนฤชล กล่าวเสริมว่า “ในฐานะซีอีโอคนใหม่ของ กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง หรือ GUNKUL ขอยืนยันถึง เจตนารมณ์ที่มุ่งมั่น และตั้งใจที่จะดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ใหม่ อย่างมีแบบแผนที่ได้ วางโรดแมพไว้ ซึ่งได้เตรียมประกาศทิศทางการดำเนินธุรกิจประจำปี 2568 และเปิดตัววิสัยทัศน์ใหม่อย่างเป็น ทางการ พร้อมที่จะสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจต่อผู้ถือหุ้น และนักลงทุน โดยจะจัดงานในวันที่ 11 มีนาคม 2568 นี้"

GUNKUL ฟอร์มเจ๋ง! โชว์กำไรปี 67 โตแรง 1.66 พันลบ.พุ่งเฉียด 13%

GUNKUL ฟอร์มเจ๋ง! โชว์กำไรปี 67 โตแรง 1.66 พันลบ.พุ่งเฉียด 13%

            หุ้นวิชั่น - บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) ประกาศผลการดำเนินงานงวดปี 2567 มีกำไรสุทธิรวม 1,661.08 ล้านบาท จากปีก่อนมีกำไรสุทธิ 1,474.89 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 12.62% ส่วนรายได้รวมเท่ากับ 9,731.24 ล้านบาท จากปีก่อนอยู่ที่ 7,697.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.42%รับอานิสงส์จากธุรกิจงานขายอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า และรับรู้รายได้จากธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและวางระบบทางด้านวิศวกรรม (EPC) ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงโครงการพลังงานทดแทนที่สดใส ฟากซีอีโอ “โศภชา ดำรงปิยวุฒิ์” ลุยพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการเติบโตอย่างมีศักยภาพ มั่นใจอนาคตธุรกิจสดใสตามแผน PDP ที่ยังมีการประมูลโครงการเพิ่ม หนุนผลการดำเนินงานเติบโตตามเป้าไม่ต่ำกว่า 15%             นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GUNKUL) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานงวดปี 2567 (สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2567) ของบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรการดำเนินงานตามปกติของกิจการจำนวน 1,661.08 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนเท่ากับ 1,474.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 186.19 ล้านบาท หรือคิดเป็น 12.62% ส่วนรายได้รวมเท่ากับ 9,731.24 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 7,697.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,033.67 ล้านบาท คิดเป็น 26.42%             สาเหตุอันเนื่องจากผลประกอบการไตรมาส4/2567 เทียบกับไตรมาส4/2566 เติบโตค่อนข้างมากเกือบ 4 เท่า หรือเติบโตสูงถึง 395% จากการดำเนินธุรกิจหลักที่ดีขึ้นทั้งในส่วนของธุรกิจการขายอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า เช่น SF6 Gas Switch, Surge Arrester และอุปกรณ์อื่น ๆ อีกทั้งมีรายได้จากกลุ่มงานก่อสร้างและการให้บริการที่เพิ่มขึ้นอย่างมีสาระสำคัญ             ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้เตรียมความพร้อมสำหรับรับโครงการใหม่ๆ โดยเฉพาะพลังงานทดแทนทั้งโครงการโซลาร์ฟาร์มและโครงการพลังงานลม ซึ่งช่วงปลายปี 2567 บริษัทฯ ได้ผ่านคุณสมบัติและได้รับการคัดเลือกเพิ่มขึ้นอีกกว่า 319 เมกะวัตต์ ทั้งโครงการพลังงานลมและโครงการโซลาร์ฟาร์ม ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาเพิ่มเติม โดยบริษัทฯ คาดว่าจะได้เมกะวัตต์ส่วนนี้เข้ามาเพิ่มเติมในพอร์ตถือเป็นโอกาสที่ดีของบริษัทฯ ที่จะสามารถขยายธุรกิจไปในส่วนของพลังงานทดแทนทั้งในประเทศและต่างประเทศ             ด้านงานก่อสร้างบริษัทฯ ยังมีโอกาสที่จะได้รับงานเพิ่มเติมทั้งในส่วนของงานสายส่งและสถานีในส่วนของโรงไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นใหม่ตามแผน PDP ใหม่ อีกทั้งภาคเอกชนมีการสร้างโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์เพื่อใช้ในกิจการของตัวเอง ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่จะมีรายได้ในส่วนของพลังงานทดแทนทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามา ขณะที่ Trading และ Manufacturing บริษัทได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ใหม่เพื่อรองรับโรงไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในระบบ 115 Kv รวมถึงเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ใหม่ที่บริษัทยังไม่เคยทำเพื่อรองรับการเติบโตในระบบส่งและระบบจำหน่ายต่อไปในอนาคต             สำหรับทิศทางธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ ในปี 2568 เชื่อว่า ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปี 2567 เนื่องจากภาพรวมตลาดยังมีศักยภาพทั้งงานจากโครงการพลังงานทดแทนรอบใหม่ และงานของภาครัฐที่มีงบลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติมตามความต้องการใช้ไฟฟ้า ซึ่งบริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้ปีนี้จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 15 % หลักๆ มาจากการรับรู้รายได้ธุรกิจพลังงานทดแทน ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและวางระบบทางด้านวิศวกรรม (EPC) และเทรดดิ้งอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า             ขณะที่เป้าหมายการเติบโตในช่วง 3-5 ปีข้างหน้าตั้งเป้าโตไม่ต่ำกว่า 15% จากการพัฒนาโครงการพลังงานทั้งโครงการลม และโครงการพลังงานแสงอาทิตย์กว่า 832 เมกะวัตต์ รวมถึงโครงการพลังงานทดแทนทั้งในและต่างประเทศที่จะเพิ่มเติมในอนาคต อีกทั้งบริษัทฯ ยังมีส่วนของในงานมือ (Backlog) งานขายอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า และงานบริการก่อสร้างที่มีอยู่ประมาณ 4,000 ล้านบาท โดยคาดว่าในปี 2568 จะมีโครงการรับเหมาก่อสร้างใหม่ๆ ทยอยเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลทำให้งานในมือเพิ่มมากขึ้น             อย่างไรก็ตามบริษัทฯ คาดว่าจะมีการใช้เงินลงทุนในส่วนทุนไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาทในอีก 5 ปี โดยปัจจุบันอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนยังอยู่ในระดับต่ำ พร้อมรองรับการเติบโตในทุกด้าน เพื่อสร้างรายได้และผลกำไรให้บริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

GUNKUL คว้าโครงการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูง 500 กิโลโวลต์ จากกฟผ.มูลค่า 622 ล.

GUNKUL คว้าโครงการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูง 500 กิโลโวลต์ จากกฟผ.มูลค่า 622 ล.

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน ดร.สมบูรณ์ เอื้ออัชฌาสัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จ ากัด (มหาชน) หรือ GUNKUL ขอเรียนแจ้งให้ทราบว่า บริษัท ฟิวเจอร์ อีเล็คทริคอล คอนโทรล จำกัด (FEC) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ และได้ทำกิจการร่วมค้า (Joint Venture) กับ China National Heavy Machinery Corporation (CHMC) ได้รับหนังสืออนุมัติว่าจ้างจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (“กฟผ.”) ให้ดำเนิน โครงการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูง 500 กิโลโวลต์(500kV) ระยะทางประมาณ 37 กิโลเมตร จากสถานีไฟฟ้าแรงสูงบางละมุง 2 ถึงสถานีไฟฟ้าแรงสูงปลวกแดง            โครงการดังกล่าวดำเนินการในนาม THE JOINT VENTURE OF CHINA NATIONAL HEAVY MACHINERYCORPORATION & FUTURE ELECTRICAL CONTROL COMPANY LIMITED โดยมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 622,039,015.72บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) และ 1,523,155.70 ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ครอบคลุมการจัดหาอุปกรณ์ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการขนส่งและติดตั้งอย่างครบถ้วน            โครงการมีกำหนดแล้วเสร็จภายใน 21 เดือน ตามที่ระบุในสัญญา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมความมั่นคงด้าน พลังงานไฟฟ้าในภูมิภาค รองรับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกการได้รับโครงการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูงขนาด 500 kV ในครั้งนี้ นับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของบริษัทฯ โดยถือเป็นครั้งแรกที่บริษัทฯ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินโครงการในระดับดังกล่าวจาก กฟผ. ความสำเร็จนี้สะท้อนให้เห็นถึงความไว้วางใจในศักยภาพและความเชี่ยวชาญของบริษัทฯ ในการดำเนินงานด้านโครงสร้างพื้นฐานพลังงานขั้นสูง ทั้งยังเสริมสร้างความน่าเชื่อถือในฐานะผู้นำในอุตสาหกรรมพลังงาน พร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ ในอนาคต

GUNKUL โบรกคาด Q4 กำไรโต รับอานิสงส์ภาครัฐ

GUNKUL โบรกคาด Q4 กำไรโต รับอานิสงส์ภาครัฐ

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.กรุงศรี ระบุ GUNKUL มี Catalyst 2 ส่วนจากภาครัฐ มอง Positive ต่อข่าว 2 ประเด็นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนซึ่งออกมาเมื่อวานนี้ โดย i) GUNKUL เป็นผู้ได้รับคัดเลือกพลังงานหมุนเวียนเฟส 2 ในปริมาณมากที่สุดรวม 319 MW ซึ่งจะทยอย COD ในปี 2027-2030F เราประเมินโครงการดังกล่าวเป็น Upside ต่อประมาณการปี 27-30F ราว 16% ซึ่งเรายังไม่รวมเข้ามา ii) มีปัจจัยบวกจากข่าวยกเว้นการขอใบอนุญาตติดตั้ง Solar rooftop ในทุกขนาด ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยหนุนการเติบโตของธุรกิจ Solar rooftop (จากปัจจุบันมีสัดส่วน 8% ของรายได้รวม)           ด้าน Outlook คาดกำไรปกติ 4Q24F เติบโต y-y แต่ลดลง q-q หลังปริมาณแรงลมลดลงตาม Seasonality           คงคำแนะนำ Buy และราคาเป้าหมาย (TP25F) ที่ 3.85 บาท อิง SOTP ประเด็น วานนี้มี 2 ประเด็นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน i) กกพ. ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกพลังงานหมุนเวียนเฟส 2 รูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565-2573 รวม 2,145 MW แบ่งเป็นพลังงานลม 565 MW และพลังงานโซลาร์ 1,580 MW โดยจะมีการทยอยลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ภายใน 14-60 วันหลังประกาศผลคัดเลือก ii) กระทรวงอุตสาหกรรมประกาศยกเว้นให้การติดตั้ง Solar rooftop ทุกระดับกำลังการผลิต ไม่เข้าข่ายต้องขอใบอนุญาตโรงงาน (เดิมกำลังการผลิตเกิน 1 MW ต้องขอใบอนุญาต) นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมอยู่ระหว่างพิจารณาขยายกรอบการติดตั้งโซลาร์ฟาร์ม (Solar Farm) และโซลาร์โฟลทติ้ง (Solar Floating) ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในอนาคต ความเห็นและคำแนะนำ มีมุมมอง Positive ต่อทั้ง 2 ข่าว i) โดย GUNKUL เป็นผู้ได้รับคัดเลือกพลังงานหมุนเวียนเฟส 2 ในปริมาณมากที่สุดรวม 319 MW จากทั้งหมด 2,145 MW โดยแบ่งเป็นพลังงานลม 284 MW และพลังงานโซลาร์ 35 MW ซึ่งจะเป็นโครงการที่ทยอย COD ในปี 2027-2030F อิงโครงการล่าสุดที่ GUNKUL ได้รับในพลังงานหมุนเวียนเฟส 1 มีกำไรราว 1.5 ลบ. ต่อ MW และหากคิดบนสมมติฐานเดียวกัน จะเป็น Upside จากประมาณการของเราราว 16% ii) มองบวกต่อการยกเว้นการขอใบอนุญาตทุกกำลังการผลิต เนื่องจากเป็นปัจจัยหนุนช่วยอำนวยความสะดวกการติดตั้ง Solar rooftop เร่งขึ้น จาก ณ ปัจจุบัน GUNKUL มีสัดส่วนรายได้จาก Solar rooftop ราว 8% คาดกำไรปกติ 4Q24F เติบโต y-y จากงาน EPC และ Trading ที่เป็นตัวหนุนตลอดปี 24F ซึ่งมีโอกาสได้รับงานเพิ่ม เนื่องจากเป็นช่วงที่ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าที่ได้รับคัดเลือกจาก PPA พลังงานหมุนเวียนรอบ 5,203 MW ซึ่งเตรียม COD ในปี 25-26F เริ่มก่อสร้าง ส่วนกำไรลดลง q-q หลังปริมาณแรงลมลดลงตาม Seasonality ด้าน Outlook ในระยะกลาง-ยาว มีโรงไฟฟ้าใหม่ทยอย COD ตั้งแต่ปี 2026F (โซลาร์ 652 MW, ลม 180 MW) ซึ่งสามารถชดเชย Adder โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมขนาด 30 MW (ถือเป็น JV ร่วมกับ GULF) ที่จะหมดในปี 2026F ได้ เบื้องต้นยังคงคำแนะนำ Buy และราคาเป้าหมายเดิม (TP25F) ที่ 3.85 บาท อิง SOTP โดยยังไม่รวม Upside จากการคัดเลือกดังกล่าวจนกว่าจะได้รับข้อมูลเพิ่มเติม

GUNKUL-BGRIM ปลื้มได้ไฟเพิ่ม รัฐสั่งลุยไฟฟ้าทดแทน 2.1 พัน MW

GUNKUL-BGRIM ปลื้มได้ไฟเพิ่ม รัฐสั่งลุยไฟฟ้าทดแทน 2.1 พัน MW

          กกพ. ไฟเขียวผลิตไฟฟ้าเพิ่ม 2,145 MW ด้าน GUNKUL กวาด 7 โครงการ 319 MW ดันกำลังการผลิตเพิ่ม ปักหมุดรายได้ทะลุ 10,000 ล้านบาท ส่วน EGCO คว้าสิทธิ 11 โครงการ 448 MW ฟาก BGRIM รับ 60 MW เสริมฐานพลังงานหมุนเวียน ส่วน EA ได้เพิ่ม 90 MW หนุนแผนขยายธุรกิจ จ่อทยอย SCOD ปี 2569-2573 โบรกมอง GUNKUL เด่นสุด เนื่องจากกำลังผลิตที่ได้รับคัดเลือกในรอบดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนราว 22% ของกำลังผลิตทั้งหมดในปัจจุบัน           สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้ประกาศรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมที่ได้รับการคัดเลือก ตามระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565-2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2567 ซึ่งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานได้ประชุมเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567 พิจารณาเห็นชอบผลการคัดเลือกผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติมจำนวน 72 ราย ปริมาณพลังไฟฟ้าที่เสนอขายรวม 2,145.4 เมกะวัตต์ โดยแบ่งเป็นพลังงานลม จำนวน 8 ราย รวม 565.40 เมกะวัตต์ กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ หรือ SCOD ตั้งแต่ปี 2571-2573 และพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน จำนวน 64 ราย รวม 1,580 เมกะวัตต์ กำหนด SCOD ตั้งแต่ 2569-2573           โดยมีการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ให้การไฟฟ้าคู่สัญญาแจ้งให้ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าทราบและยอมรับเงื่อนไขการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายใน 14 วันนับถัดจากวันที่สำนักงาน กกพ. ประกาศรายชื่อ และกลุ่มที่ 2 ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าที่มีรูปแบบการเชื่อมต่อสถานีไฟฟ้าเดียวกัน ตกลงรูปแบบการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายตามหลักการแบ่งปันสิ่งอำนวยความสะดวกร่วมกัน (Common Facilities Sharing) และยอมรับเงื่อนไขการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายใน 60 วัน นับถัดจากวันที่ประกาศผลการคัดเลือก           นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GUNKUL) เปิดเผยว่า ทิศทางธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ ในปี 2568 เชื่อว่ายังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปี 2567 เนื่องจากภาพรวมตลาดยังมีศักยภาพ ทั้งงานจากโครงการพลังงานทดแทนรอบใหม่ และงานของภาครัฐที่มีงบลงทุนด้านพื้นฐานเพิ่มเติมตามความต้องการใช้ไฟฟ้า โดยบริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้ปี 2568 ยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่องจากประมาณการรายได้ปี 2567 ที่คาดว่ารายได้รวมจะเติบโตตามเป้า 15% จากปีก่อน ซึ่งปัจจุบันถือว่าใกล้เคียงแล้ว หลัก ๆ การเติบโตยังคงมาจากการรับรู้รายได้จากธุรกิจพลังงานทดแทน ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและวางระบบทางด้านวิศวกรรม (EPC) และเทรดดิ้งอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า           ทั้งนี้ ปี 2568 บริษัทฯ ตั้งเป้างานในมือจากธุรกิจ EPC ไว้ที่ประมาณ 4,500 ล้านบาท ส่วนธุรกิจโรงไฟฟ้าวางเป้ากำลังการผลิตเติบโต 35% ใน 2 ปีข้างหน้า หรือเพิ่มประมาณ 100-150 เมกะวัตต์ต่อปี จากปัจจุบันมีกำลังการผลิตไฟฟ้าอยู่กว่า 1,500 เมกะวัตต์           โดยล่าสุดสำนักงาน กกพ. ได้ประกาศรายชื่อผู้ผ่านคัดเลือกรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเฟส 2 กำลังการผลิตที่เสนอขายรวม 2,145 เมกะวัตต์ ซึ่งกลุ่มบริษัทย่อยที่ GUNKUL ถือหุ้นทางตรงผ่านบริษัท กันกุล วิน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และบริษัท กันกุล วัน เอ็นเนอร์ยี 9 จำกัด ได้รับการคัดเลือกรวมทั้งสิ้น 319 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นพลังงานลม 284 เมกะวัตต์ และโซลาร์กำลังการผลิต 35 เมกะวัตต์ โดยจะทยอย COD ตั้งแต่ปี 2570-2573 ส่งผลทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้ารวมเพิ่มเป็นประมาณ 1,800 เมกะวัตต์ ซึ่งเป้าหมายของบริษัทฯ คือการมีเมกะวัตต์สะสมเพิ่มเป็น 2,000 เมกะวัตต์ในปี 2569 นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้ดำเนินการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องอยู่หลายโครงการ ทั้งโครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มและโรงไฟฟ้าพลังงานลม           ขณะที่โครงการพลังงานหมุนเวียนจำนวน 832 เมกะวัตต์ ทั้งโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มและโรงไฟฟ้าวินด์ฟาร์ม ที่ได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ไปก่อนหน้านี้ จะทยอยเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ตั้งแต่ปี 2569-2573 คาดว่าจะใช้เงินลงทุนในส่วนนี้ประมาณ 38,000 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ยังมีเงินลงทุนเพียงพอ และปัจจุบันอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนยังอยู่ในระดับต่ำ พร้อมรองรับการเติบโตในอนาคตได้อย่างต่อเนื่อง           “ตามที่ได้มีการประกาศรายชื่อผู้ที่ได้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าเพิ่มขึ้นนั้น ทำให้บริษัทในกลุ่มของ GUNKUL ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการขายสินค้าในระบบอุปกรณ์ไฟฟ้าและรับเหมาก่อสร้างจะได้รับประโยชน์เพิ่มเติมไปด้วย โดยเฉพาะงานรับเหมาก่อสร้างที่จะได้รับโอกาสทำสายส่งไฟฟ้าและสถานีไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังมองว่าในอนาคตหากประเทศไทยมุ่งไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำและต้องการมีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น GUNKUL ก็ยังมีโอกาสในการที่จะเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานภาครัฐเพิ่มขึ้น รวมถึงภาคเอกชนที่ตอนนี้ก็หันมาใช้พลังงานจากโซลาร์เซลล์เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นโอกาสที่ธุรกิจโซลาร์ที่เป็น Private PPA ของ GUNKUL จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน” นางสาวโศภชา กล่าวในที่สุด           ส่วน บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM ผ่านการคัดเลือกกว่า 60 เมกะวัตต์ ขณะที่ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ผ่านการคัดเลือก 90 เมกะวัตต์           บล. หยวนต้า ระบุว่า โดยจากการตรวจสอบเบื้องต้น บริษัทในกลุ่มโรงไฟฟ้าที่ได้รับคัดเลือกมากที่สุดคือ EGCO (ได้รับคัดเลือก 11 โครงการ ขนาดรวม 448 MW และเป็นโครงการแสงอาทิตย์ทั้งหมด) ตามมาด้วย GUNKUL (ได้รับคัดเลือก 7 โครงการ ขนาดรวม 319 MW แบ่งออกเป็นโครงการลม 4 โครงการ ขนาดรวม 284 MW และโครงการแสงอาทิตย์ 3 โครงการ ขนาดรวม 35 MW) มองว่าหุ้นที่ได้ประโยชน์ชัดเจนที่สุดคือ GUNKUL (TP@3.90) เนื่องจากกำลังผลิตที่ได้รับคัดเลือกในรอบดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนราว 22% ของกำลังผลิตทั้งหมดในปัจจุบัน (ทั้งที่ COD แล้วและอยู่ระหว่างการก่อสร้าง)

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

GUNKUL ธุรกิจQ4โตต่อ โบรกเคาะเป้า 5 บาท

GUNKUL ธุรกิจQ4โตต่อ โบรกเคาะเป้า 5 บาท

         หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล. ดาโอคงคำแนะนำ “ซื้อ” GUNKUL และราคาเป้าหมาย 5.00 บาท อิง SOTP ทั้งนี้มีมุมมองเป็นกลางจากงาน SET Opportunity Day เมื่อ 26 พ.ย. 2024 หลังธุรกิจยังมีพัฒนาการตามแผน โดยสรุปประเด็นดังนี้ 1) ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน คงเป้า 2.0GW ในปี 2026E (1.5GW ในปัจจุบัน) นอกจากโครงการในไทยแล้ว จะเพิ่มโครงการในต่างประเทศโดยเฉพาะใน ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลียราว 150MW ในช่วง 3 ปีข้างหน้า 2) ธุรกิจ EPC ปัจจุบันมี Backlog ราว 4 พันล้านบาท โดยงานในระยะสั้นที่เป็น potential project มีไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท ทยอยออกมาในช่วง 4Q24E-2025E 3) ธุรกิจ Trading มี outlook ที่ดีจากการลงทุนเพิ่มเติมของหน่วยงานรัฐฯ รวมไปถึงอานิสงส์จากโครงการพลังงานทดแทนในไทยที่จะเริ่มทยอย COD ในปี 2025E-30E เป็นปัจจัยหนุน เบื้องต้นเรายังคงประมาณการกำไรปกติปี 2024E ที่ 1.8 พันล้านบาท +11% YoY แนวโน้ม 4Q24E คาดเติบโตได้ QoQ จากโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่คาดผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น รวมถึงงาน EPC ซึ่งรับรู้รายได้มากขึ้นโดยเฉพาะช่วงครึ่งปีหลัง ราคาหุ้น underperform SET ราว -14% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาคาดยังไร้ key catalyst ระยะสั้น อย่างไรก็ตามเราคาดราคาหุ้นมีโอกาสกลับไป outperform SET ได้จากโอกาสในการได้งาน EPC โรงไฟฟ้าเพิ่มเติมหลังโครงการพลังงานทดแทน 5.2GW จะเริ่มทยอย COD ในปี 2024E เป็นต้นไป รวมถึงโอกาสในการได้โครงการเพิ่มในเฟสถัดไป 3.6GW เป็นอีก catalyst นอกจากนี้ผลประกอบการกลับเข้าสู่ภาวะขาขึ้นจากการทยอยรับรู้รายได้โครงการพลังงานทดแทนใหม่ซึ่งจะทยอย COD ในปี 2026E ถึง 2030E หนุนกำลังการผลิตจากปี 2023 ที่ 0.6GW สู่ระดับ 1.5GW

GUNKUL Q3/67 มีกำไร 379 ล้านบาท มั่นใจ 3-5ปี โตไม่ต่ำกว่า 15%

GUNKUL Q3/67 มีกำไร 379 ล้านบาท มั่นใจ 3-5ปี โตไม่ต่ำกว่า 15%

          บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) ศักยภาพเต็มเปี่ยม ประกาศผลงานไตรมาส 3/67 กำไรสุทธิแตะ 460.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 49.93 ล้านบาท หรือ 12.17% รับแรงหนุนจากการดำเนินธุรกิจหลักที่ดีขึ้น ทั้งในส่วนของธุรกิจการขายอุปกรณ์ไฟฟ้า ธุรกิจก่อสร้าง รายได้จากการขายทรัพย์สินตามสัญญาเช่าเงินทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างมีสาระสำคัญ ฟาก “โศภชา ดำรงปิยวุฒิ์” ประกาศเดินหน้าประมูลโครงการพลังงานทดแทนต่างประเทศเพิ่มเพื่อต่อยอดธุรกิจให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น  มั่นใจอนาคตธุรกิจสดใสตามแผน PDP ที่ยังมีการประมูลโครงการเพิ่ม           นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร  บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GUNKUL) เปิดเผยว่าผลการดำเนินงานตามปกติของกิจการ สำหรับงวดไตรมาส 3/2567 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2567 มีกำไรสุทธิจำนวน 460.19 ล้านบาท เทียบจากงวดเดียวกันของปีก่อนกำไรสุทธิ 410.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 49.93 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นในอัตรา 12.17%  ส่วนรายได้รวมเท่ากับ 2,667.60 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนจำนวน 2,183.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 483.85 ล้านบาท หรือ คิดเป็นเพิ่มขึ้นอัตรา 22.16%  โดยมีสาเหตุมาจากรายได้ส่วนงานขายอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า ธุรกิจก่อสร้างและให้บริการ และรายได้จากการขายทรัพย์สินตามสัญญาเช่าเงินทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างมีสาระสำคัญ           ขณะที่รายได้จากการก่อสร้างและให้บริการมีจำนวน 942.42 ล้านบาท จากงวดเดียวกันของปีก่อน มีจำนวน 627.71 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 314.71 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นอัตรา 50.14% เนื่องจากการรับรู้รายได้โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับลูกค้าภาคเอกชน และโครงการก่อสร้างสายเคเบิลใต้น้ำให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ส่วนรายได้จากการขายทรัพย์สินตามสัญญาเช่าเงินทุนมีจำนวน 517.23 ล้านบาท เทียบจากงวดเดียวกันของปีก่อนเท่ากับ 461.01 เพิ่มขึ้นจำนวน 110.22 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นอัตรา 23.91% เกิดจากรายได้จากการขายไฟฟ้าบนหลังคาให้กับภาคเอกชน โดยเป็นสัญญาระยะยาว 10-15 ปี ซึ่งเป็นรายได้ที่เกิดจากการขายทรัพย์สินตามสัญญาเช่าเงินทุนจากการปรับของมาตรฐานทางบัญชี (TFRS16)           สำหรับรายได้รวมงวด 9 เดือนของปี 2567 มีจำนวน 7,475.63 ล้านบาท เทียบจากงวดเดียวกันของปีก่อนจำนวน 5,898.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 1,577.04 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นในอัตรา 26.74%           “บริษัทฯ เชื่อว่าภาพรวมธุรกิจของกลุ่ม GUNKUL ในอนาคตจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง จากโครงสร้างธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ ที่ดำเนินการอยู่ในทุกภาคส่วนที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการเติบโตของประเทศ และเทรนด์ธุรกิจด้านพลังงานในอนาคตที่ยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่องจากแผน PDP ที่จะต้องมีการประมูลโครงการเพิ่มขึ้นในอนาคต รวมถึงการพัฒนาโครงการในต่างประเทศ ซึ่งบริษัทฯ อยู่ระหว่างการดำเนินการเจรจาและศึกษาโครงการต่างประเทศเพิ่มอยู่หลายโครงการ ทำให้เชื่อว่าจะช่วยสนับสนุนให้ภาพรวมธุรกิจของบริษัทรวมถึงผลการดำเนินงานในอนาคตจะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง” นางสาวโศภชากล่าว           ด้วยบริษัทฯ มีเป้าหมายการเติบโตในช่วง 3-5 ปี ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 จากการพัฒนาโครงการพลังงาน ทั้งโครงการลมและโครงการพลังงานแสงอาทิตย์กว่า 832 เมกะวัตต์ รวมถึงโครงการพลังงานทดแทนทั้งในและต่างประเทศที่จะเพิ่มเติมในอนาคต นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีส่วนของ Backlog งานขายอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าและงานบริการก่อสร้างที่มีอยู่กว่า 5,000 ล้านบาท คาดว่าบริษัทฯ จะมีการใช้เงินลงทุนในส่วนทุนไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาทในอีก 5 ปี โดยปัจจุบันอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนยังอยู่ในระดับต่ำ พร้อมรองรับการเติบโตในทุกด้าน เพื่อสร้างรายได้และผลกำไรให้บริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง           ทั้งนี้จากการที่กลุ่มบริษัทฯ มีการพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างมั่นคง โดยยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักธรรมาภิบาล ในมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสีย ทุกฝ่าย ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจเพื่อให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน จึงทำให้ได้รับคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการในระดับ 5 ดาว หรือ “ดีเลิศ” จากโครงการสำรวจด้านการกำกับดูแลกิจการของบริษัท จดทะเบียนไทย ประจำปี 2567 (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies 2024 : CGR) จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) โดยการสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)   โดย GUNKUL ถือเป็นองค์กรภาคเอกชนที่ได้รับการประเมิน CGR 5 ดาว ในระดับดีเลิศ  ติดต่อกันเป็นเวลา 8 ปี

โบรกฯคาด GUNKUL กำไรโต YoY ลุ้นนโยบาย Solar Rooftop หนุน

โบรกฯคาด GUNKUL กำไรโต YoY ลุ้นนโยบาย Solar Rooftop หนุน

          หุ้นวิชั่น – ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด คาด GUNKUL กำไรปกติ 3Q67 ที่ 436 ล้านบาท ลดลง 6% QoQ แต่เติบโต 2% YoY โดยการลดลง QoQ มีสาเหตุหลักมาจาก 1) คาดรายได้ของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในไทยลดลงเป็น 590 ล้านบาท (-6% QoQ, -2% YoY) ตามปัจจัยฤดูกาล 2) คาดรายได้ของธุรกิจ EPC และ Trading ลดลงเป็น 790 ล้านบาท (-2% QoQ, +65% YoY) และ 640 ล้านบาท (-4% QoQ, +16% YoY) ตามลำดับ จากการเข้าสู่ช่วงฤดูฝน (ทำให้การติดตั้ง Solar Rooftop ทำได้ยากขึ้น) 3) คาดส่วนแบ่งกำไรจากโครงการลมในประเทศ (รับรู้ผ่าน GGC) ทรงตัวที่ระดับ 220 ล้านบาท (ทรงตัว QoQ, -18% YoY)           ขณะที่ YoY คาดกำไรปกติสามารถเติบโตได้ แม้คาดส่วนแบ่งกำไรจากโครงการลมในประเทศลดลงตามความเร็วลมที่ลดลง เพราะได้แรงหนุนจากรายได้ของกลุ่มธุรกิจ EPC และ Trading ที่เติบโตสูง YoY ตามปริมาณงานก่อสร้างโรงไฟฟ้าและการติดตั้ง Solar Rooftop ที่เติบโตขึ้นจากปีก่อน หากกำไรปกติ 3Q67 ออกมาใกล้เคียงคาด กำไรปกติ 9M67 จะคิดเป็นสัดส่วน 81% ของประมาณการทั้งปี           คาดกำไร 4Q66 ลดลงตามฤดูกาลแต่ยังเติบโตได้ YoY เบื้องต้นคาดกำไรปกติ 4Q67 ที่ระดับ 300-400 ล้านบาท ลดลง QoQ ตามส่วนแบ่งกำไรของโครงการลมในประเทศที่ลดลงตามปัจจัยฤดูกาล (ออกจากช่วงฤดูฝนทำให้ความเร็วลมลดลง) ขณะที่ YoY คาดเติบโตได้จากฐานที่ต่ำในปีก่อนหลังได้แรงหนุนจาก 1) รายได้ของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่คาดเติบโต YoY หลังฤดูมรสุมไม่มาช้าเหมือนปีก่อน (ทำให้ Capacity Factor ของโครงการแสงอาทิตย์สูงขึ้น YoY) 2) รายได้ของธุรกิจ EPC และ Trading ที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องตามกระแสการติดตั้ง Solar Rooftop และปริมาณการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในประเทศที่เร่งตัวขึ้นหลังการลงนามในสัญญา PPA ของโครงการพลังงานหมุนเวียนที่ได้รับคัดเลือกในรอบ 5.2GW รอรับประโยชน์จากการรับซื้อไฟฟ้าหมุนเวียนรอบใหม่และนโยบาย Solar Rooftop           GUNKUL เป็นหนึ่งในหุ้นกลุ่มหลักที่จะได้รับประโยชน์จากการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนส่วนขยายจำนวน 2.2GW สำหรับผู้ที่เสนอขายไฟฟ้าในรอบ 5.2GW แต่ไม่ได้รับคัดเลือก โดยบริษัทฯ มีโครงการที่ไม่ได้รับคัดเลือกในรอบดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 400MW ทำให้มีโอกาสที่บริษัทฯ จะมีโครงการที่ได้รับคัดเลือกเพิ่มเติมสูง (คาดมีความชัดเจนภายในเดือน ธ.ค. 2567 เป็นอย่างเร็ว)           นอกจากนี้ ในปัจจุบัน รัฐบาลอยู่ระหว่างการร่างกฎหมายกำกับดูแลการติดตั้ง Solar Rooftop และการออกมาตรการสนับสนุนเงินทุนในการติดตั้ง Solar Rooftop และการนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปใช้ในการลดหย่อนภาษี ซึ่งหากนโยบายดังกล่าวมีความชัดเจน จะส่งผลให้ความต้องการติดตั้ง Solar Rooftop ในไทยสูงขึ้นและเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนการเติบโตของธุรกิจ EPC และ Trading ของบริษัทฯ ปรับไปใช้ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2568 ที่ 3.90 บาท/หุ้น...คงคำแนะนำ “ซื้อ”           ปรับไปใช้ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2568 ที่ 3.90 บาท/หุ้น มี Upside 47.7% แม้ในระยะสั้นหุ้นมีโอกาสถูกกดดันจาก Bond Yield ระยะ 10 ปีของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้น แต่เรามองว่าหุ้นมีโอกาสเคลื่อนไหวได้ดีกว่าตลาดในระยะกลาง-ยาวจาก 1) ผลประกอบการในช่วง 3Q-4Q67 ที่เติบโต YoY ต่อเนื่อง 2) แรงเก็งกำไรการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนส่วนขยายจำนวน 2.2GW จึงคงคำแนะนำ “ซื้อ” สำหรับการลงทุนระยะ 6 เดือนขึ้นไป

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

[ภาพข่าว] GUNKUL คว้า CG ดีเลิศ 5 ดาว 8 ปีซ้อน

[ภาพข่าว] GUNKUL คว้า CG ดีเลิศ 5 ดาว 8 ปีซ้อน

          บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GUNKUL)  ได้รับคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการในระดับ 5 ดาว หรือ “ดีเลิศ” (Excellent CG Scoring) จากโครงการสำรวจด้านการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนไทย ประจำปี 2567 (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies 2024 : CGR) จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) โดยการสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)   โดย GUNKUL ถือเป็นองค์กรภาคเอกชนที่ได้รับการประเมิน CG 5 ดาว ในระดับดีเลิศ  ติดต่อกันเป็นเวลา 8 ปี           ทั้งนี้ ถือเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท ที่มุ่งเน้นพัฒนามาตรฐานการกำกับดูแลกิจการในระดับที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการดำเนินกิจการ โดยยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักธรรมาภิบาล ในมิติเศรษกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจเพื่อให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน ส่งผลให้ผู้ถือหุ้นมีความมั่นใจในการดำเนินงานของบริษัท

วิพากษ์หุ้นโรงไฟฟ้า ใครจะได้ประโยชน์หลัก

วิพากษ์หุ้นโรงไฟฟ้า ใครจะได้ประโยชน์หลัก

          หุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.กรุงศรี คาดว่า GULF จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์หลัก ตามมาด้วย GUNKUL, BGRIM และ GPSC เราคง ‘NEUTRAL’ สำหรับกลุ่ม เนื่องจากการประเมินมูลค่า (valuation) ปัจจุบัน ได้ถูกสะท้อนข่าวดีไปในราคาแล้ว จากการที่ กกพ. เดินหน้าเปิดประมูลรอบที่ 2 สำหรับโครงการพลังงานหมุนเวียนรวม 3.6 GW โดยจะประเมินข้อเสนอจากผู้สมัครจำนวน 198 รายตามคะแนนคุณภาพโดยไม่ต้องแก้ไขข้อเสนอขายไฟฟ้า และจะประกาศผลคัดเลือกภายในสิ้นปีนี้           ด้วยการประมูลรอบที่สองสำหรับกำลังการผลิตรวม 3.6 กิกะวัตต์ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในรอบนี้จะประกอบด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ 2,632 เมกะวัตต์, พลังงานลม 1,000 เมกะวัตต์, พลังงานชีวมวล 6.5 เมกะวัตต์, และพลังงานจากของเสียอุตสาหกรรม 30 เมกะวัตต์ เพื่อดึงดูดผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้ามากขึ้น กกพ. มีแผนจัดสรรโควตาให้กับผู้ประมูลที่ไม่ได้รับโครงการในรอบแรกเป็นการเฉพาะ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน จะมีกฎระเบียบใหม่ในการจัดซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนภายใต้ระบบ Feed-in Tariff (FiT) สำหรับปี 2565-2573 ซึ่งรวมถึงการซื้อเพิ่มเติมจากผู้สมัคร 198 รายที่เคยผ่านเกณฑ์ความพร้อมทางเทคนิคมาแล้ว แต่ไม่ได้รับการคัดเลือกเนื่องจากปริมาณการจัดซื้อเต็มแล้ว กกพ. จะประเมินการซื้อไฟฟ้าจากคะแนนคุณภาพโดยไม่ต้องแก้ไขข้อเสนอเดิม โดยจำกัดที่ 600 เมกะวัตต์สำหรับพลังงานลม และ 1,580 เมกะวัตต์สำหรับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนพื้นดิน คาดว่าจะประกาศผู้ชนะการประมูลภายในสิ้นปี 2567           หากอ้างอิงถึงผลผู้ชนะการประมูลในรอบแรกและจำนวนเมกะวัตต์ที่ยังไม่ผ่านรอบแรกของแต่ละบริษัท เราคาดว่า GULF (Unrated) จะได้ประโยชน์มากที่สุด ตามมาด้วย GUNKUL, BGRIM, GPSC ทั้งนี้ในรอบแรก GULF ชนะการประมูลคิดเป็น 38% ของการเปิดรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 5.2 GW ตามมาด้วย GUNKUL (16%), SSP (3.3%), BGRIM (3.1%), WHAUP (2.4%), GPSC (0.15%) และอื่นๆ (37%) เรามองว่าการเดินหน้าและมีความชัดเจนนี้จะส่งผลบวกต่อกระบวนการรับรองไฟฟ้าสีเขียวตามแนวทาง Utility Green Tariff (UGT) ของ กกพ. ที่ต้องอาศัยการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในโครงการรับซื้อไฟฟ้าเช่นกัน ที่ถ้าได้ข้อสรุปจะสามารถประเมินผลตอบแทนได้ชัดเจนขึ้นต่อการลงทุนดังกล่าว           บล.กรุงศรี มีมุมมอง Neutral สำหรับกลุ่ม โดยคงคำแนะนำ Trading Buy ต่อ BGRIM (TP Bt27), GPSC (TP Bt50), BCPG (TP Bt8.20), EGCO (TP Bt137) และคำแนะนำ Buy ต่อ GUNKUL (TP Bt3.85)

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011