ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#GGC


GGC แจงคืบหน้าคดีแพ่ง-อาญา เหตุวัตถุดิบคงคลังสูญหาย

GGC แจงคืบหน้าคดีแพ่ง-อาญา เหตุวัตถุดิบคงคลังสูญหาย

          บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ได้เปิดเผยความคืบหน้าด้านคดีความที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์วัตถุดิบคงคลังสูญหาย ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน 2561 โดย GGC ได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และแจ้งความดำเนินคดีกับผู้บริหารและคู่ค้าที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ได้กล่าวโทษอดีตผู้บริหาร GGC จำนวน 2 ราย ได้แก่ นายจิรวัฒน์ นุริตานนท์ และนายวัลลภ  เทียนทอง พร้อมด้วยพวกอีก 9 ราย ในกรณีที่เป็นผู้บริหารในบริษัทจดทะเบียนไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต อันเป็นการทุจริต ส่งผลให้ GGC ได้รับความเสียหายรวมกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งมีคดีความที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์วัตถุดิบคงคลังสูญหายเป็นคดีอาญา จำนวน 8 คดี และคดีแพ่ง จำนวน 5 คดี นอกจากนี้ยังมีคดีที่ GGC ถูกฟ้องร้องคดีแพ่ง จำนวน   6 คดี ซึ่งคดีทั้งหมดมีความคืบหน้าทางคดีเป็นอย่างมาก GGC ยืนยันว่าได้ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมทั้งทางแพ่งและอาญาอย่างต่อเนื่อง โดยนายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ GGC ได้รายงานความคืบหน้าคดีแพ่งและคดีอาญาในเดือนมีนาคม 2568 ดังนี้           คดีแพ่ง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2568 ศาลแพ่งได้พิจารณาและมีคำพิพากษายกฟ้อง กรณีคู่ค้ารายหนึ่งได้ฟ้องร้อง GGC ในข้อหาผิดสัญญาซื้อขายน้ำมันปาล์มและเรียกร้องค่าเสียหาย 109.42 ล้านบาท เป็นผลให้ GGC ไม่ต้องชำระค่าเสียหายใด ๆ           คดีอาญา เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2568 ศาลอาญาได้มีคำพิพากษาคดีที่สำนักงาน ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษ และ GGC ได้แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับอดีตผู้บริหารและบริษัทคู่ค้า โดยศาลมีคำพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา และ/หรือความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ศาลได้ลงโทษจำคุกอดีตผู้บริหาร GGC จำนวน 1 คน เป็นระยะเวลา 2 ปี และจำคุกกรรมการบริษัทคู่ค้า 1 คน เป็นระยะเวลา 1 ปี 4 เดือน โดยให้นับโทษต่อจากคดีอาญาคดีก่อน นอกจากนี้ยังพิพากษาลงโทษจำคุกอดีตผู้บริหาร GGC อีก 1 คน เป็นระยะเวลา 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา สรุปผลความคืบหน้าคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งหมดจนถึงปัจจุบัน           กรณี GGC ถูกฟ้องร้องคดีแพ่งจำนวน 6 คดี ปัจจุบัน ศาลมีคำพิพากษาให้บริษัทฯ ชนะคดีแล้ว จำนวน 5 คดี ส่วนกรณีที่ GGC เป็นฝ่ายยื่นฟ้องอดีตผู้บริหารและคู่ค้าในคดีแพ่ง จำนวน 5 คดี โดยศาลมีคำพิพากษาให้บริษัทฯ ชนะทุกคดี โดยในจำนวนนี้ 4 คดีได้ถึงที่สุดแล้ว รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 800 ล้านบาท ปัจจุบัน GGC อยู่ระหว่างดำเนินการบังคับคดีเพื่อเรียกคืนความเสียหาย           สำหรับคดีอาญาที่สำนักงาน ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษ และ GGC ได้แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับอดีตผู้บริหารและบริษัทคู่ค้ารวม 8 คดี ปัจจุบัน มีคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานสอบสวน   4 คดีอยู่ในชั้นพนักงานอัยการ 1 คดี และศาลชั้นต้นได้พิจารณาตัดสินแล้ว 3 คดี โดยพบว่า จำนวน 2 คดี ศาลมีคำพิพากษาว่า อดีตผู้บริหารและคู่ค้ามีความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา และ/หรือความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ศาลได้ลงโทษจำคุกอดีตผู้บริหาร GGC จำนวน 1คน เป็นระยะเวลารวม 4 ปี และจำคุกกรรมการบริษัทคู่ค้า 1 คน เป็นระยะเวลารวม 2 ปี    8 เดือน และพิพากษาลงโทษจำคุกอดีตผู้บริหาร GGC อีก 1 คน เป็นระยะเวลา 2 ปี ส่วนอีก 1 คดี ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องเนื่องจากยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย อย่างไรก็ตาม GGC ได้ใช้สิทธิในการยื่นอุทธรณ์ไว้แล้ว ยืนยันความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส           GGC ขอยืนยันอีกครั้งว่า บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล พร้อมทั้งจะปกป้องผลประโยชน์ของนักลงทุนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างเต็มความสามารถ

ตลท.ปลดเครื่องหมาย CF หุ้น GGC ผ่านเกณฑ์ฟรีโฟลต

ตลท.ปลดเครื่องหมาย CF หุ้น GGC ผ่านเกณฑ์ฟรีโฟลต

หุ้นวิชั่น - ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปลดเครื่องหมาย CF ของบริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GGC) กรณีมีคุณสมบัติการกระจายการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อยครบถ้วน โดยจะปลดเครื่องหมายในวันที่ 28 มี.ค.2568

GGC ชูยุทธศาสตร์ Transformation for Future Growth ปั้นรายได้โต 2 หมื่นล.

GGC ชูยุทธศาสตร์ Transformation for Future Growth ปั้นรายได้โต 2 หมื่นล.

          หุ้นวิชั่น - กรุงเทพฯ - บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ประกาศทิศทางธุรกิจและเป้าหมายสำหรับปี 2568 เดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ Transformation for Future Growth   มุ่งเน้นการเติบโตอย่างแข็งแกร่งใน 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ตั้งเป้าหมายรายได้รวมมากกว่า 20,000 ล้านบาท โดยวางกลยุทธ์หลักเพื่อการขยายความ เป็นผู้นำผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อนพลังแห่งการสร้างสรรค์ เพื่อคุณค่าที่ยั่งยืน สร้างโอกาสความสำเร็จสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน           แผนการดำเนินงานในปี 2568  GGC  คาดว่าจะสามารถสร้างรายได้และการเติบโตจากการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น และคาดการณ์อัตรากำไร EBITDA Margin ใกล้เคียงกับในปัจจุบันประมาณ 4%  สำหรับแผนการดำเนินงานใน 5 ปี (2568-2572) โดยเตรียมความพร้อมเพื่อการขยายและสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจในระยะยาว ด้วยงบลงทุนไม่น้อยกว่า 1,500 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนแผนการเติบโตในระยะยาว รวมถึงการเพิ่มอัตรากำไร โดยปัจจุบัน บริษัทฯ ไม่มีหนี้สินทางการเงิน (Debt Free) มีสถานะทางการเงินที่แข็งแรง การเตรียมความพร้อมในการจัดหาเงินทุนในรูปแบบ Sustainability Financing พร้อมที่จะจัดหาเงินทุนเพื่อสนับสนุนการเติบโตตามแผนกลยุทธ์           นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ   GGC เปิดเผยว่า “ปี 2568 ยังคงเป็นปีแห่งความท้าทายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลกระทบในหลายมิติ รวมถึงมาตรการกีดกันทางการค้าที่ยังคงมีแนวโน้มต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลต่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานของสินค้าและบริการสำหรับสินค้าทั่วโลก นอกจากนี้ ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวต่อเนื่องทั่วโลก ภูมิทัศน์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ความไม่แน่นอนจากนโยบายความยั่งยืนของอเมริกาและยุโรป เช่น EUDR ผนวกกับทั่วโลกมีความตระหนักถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้บริษัทฯ ต้องเร่งหามาตรการเพื่อบริหารจัดการต้นทุน และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ตาม แนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมากขึ้น นับเป็นโอกาสของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของโลกได้อย่างยั่งยืน บริษัทฯ จึงได้มีการทบทวนโครงการลงทุนสำคัญและการเร่งดำเนินการต่างๆ อย่างระมัดระวัง โดยการปรับกลยุทธ์ใหม่ เพื่อบรรลุเป้าหมายระยะยาวที่สำคัญ ภายใต้กรอบยุทธ์ศาสตร์ Transformation for Future Growth  โดยดำเนินการตาม 3 กลยุทธ์หลัก คือ เข้มแข็ง เติบโต ยั่งยืน ด้วยการปรับเปลี่ยน กลุ่มธุรกิจหลักจาก ธุรกิจพลังงานชีวภาพ (BioEnergy) ไปสู่ ธุรกิจเคมีชีวภาพ (BioChemical) ซึ่งยังมีความต้องการและมีแนวโน้มเติบโตในอนาคต รวมถึงเร่งแสวงหาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม (High Value Products) ที่ให้ผลตอบแทนสูงและตอบสนองความต้องการของตลาดเข้ามาเติม เพื่อให้บริษัทฯ รักษาขีดความสามารถในการแข่งขันและเติบโตอย่างยั่งยืน โดยขับเคลื่อนเชิงกลยุทธ์ด้วย 3 Strategic Focus ได้แก่ Portfolio Transformation : Transform BioEnergy to BioChemicals Growth in BioChemicals by Capacity Expansion Growth in Specialty Platform with Asset Light Strategy การปรับโครงสร้างธุรกิจของบริษัทฯ (Portfolio Transformation)           จากสถานการณ์แนวโน้มธุรกิจพลังงานชีวภาพที่ได้รับผลกระทบจากการเข้ามาของ EV Car ทำให้แนวโน้มความต้องการผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ลดลง ส่งผลให้ด้านการตลาดมีการแข่งขันที่สูง รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ในกลุ่มพลังงานชีวภาพมีแนวโน้มลดลง บริษัทฯ จึงมีมาตรการบริหารจัดการต้นทุน ลดค่าใช้จ่าย เพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงมีนโยบายปรับโครงสร้างทางธุรกิจของบริษัทฯ โดยมุ่งเน้นการขยายกำลังการผลิตในกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพให้มากยิ่งขึ้น           ในปี 2567 ยังคงดำเนินโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานทั่วทั้งองค์กร (Max Integration) เพื่อบริหารจัดการต้นทุน และลดค่าใช้จ่ายทั่วทั้งองค์กร รวมถึงการสร้างความเป็นเลิศทางการตลาด เพื่อขยายการขายออกสู่ตลาดใหม่ที่มีผลกำไรสูงขึ้น นอกจากนี้ได้เริ่มดำเนินการนำเครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Asset Utilization) เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ และทดลองขายออกสู่ตลาดเรียบร้อยแล้วในช่วงปลายปี 2567 ทั้งนี้ ในปี 2568 ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อการผลิตและขายผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เป็นไปตามเป้าหมาย  การขยายกำลังการผลิตของธุรกิจเคมีชีวภาพ (Growth in BioChemicals by Capacity Expansion)           ภาพรวมธุรกิจเคมีชีวภาพ ยังมีแนวโน้มเติบโตในอนาคต โดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์สำหรับของใช้ในบ้านและของใช้ส่วนตัว (Home and Personal Care Product: HPC) ประกอบกับความได้เปรียบทั้งในการเป็นผู้ผลิตเพียงรายเดียวในประเทศ           ในปี 2567 ได้เร่งดำเนินการศึกษาโครงการปรับปรุงกระบวนการผลิตในกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ และการวางแผนในการบริหารจัดการวัตถุดิบให้เพียงพอและมีต้นทุนที่แข่งขันได้ โดยในปี 2568 จะมีการพิจารณาแนวทางการดำเนินการและวางแผนจัดเตรียมเงินลงทุนอย่างเหมาะสมสำหรับการดำเนินการปรับปรุงกระบวนการผลิตในอนาคต การเติบโตไปยังกลุ่มผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษด้วยกลยุทธ์การลงทุนแบบลดการถือครองทรัพย์สิน (Growth in Specialty Platform with Asset Light Strategy)           บริษัทฯ ได้เริ่มต้นพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม (HVP) เพื่อตอบสนองแนวโน้ม Megatrend ด้านสุขภาพและความยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ตลาดและเพิ่มความยั่งยืนทางธุรกิจผ่านกลยุทธ์การลดการถือครองทรัพย์สิน (Asset Light Strategy) เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและสนับสนุนการเติบโตอย่างรวดเร็ว           ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้นำแนวคิด Market Focused Business Transformation (MFBT) มาใช้เป็นกรอบในการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน เพื่อรองรับการดำเนินงานด้านการตลาดและการขายที่มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม (HVP) ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดอย่างตรงจุด ผ่านการศึกษาและวิเคราะห์ทางการตลาดเชิงลึก เพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตและรายได้ใหม่ให้กับบริษัทฯ ในระยะยาว           บริษัทฯ ได้ต่อยอดจากผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 แพลตฟอร์ม ได้แก่ 1) อาหารและส่วนประกอบอาหาร (Food & Feed) 2) เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคล (Cosmetics & Personal Care) 3) โภชนเภสัช (Pharmaceuticals) และ 4) เคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ (Industrial Applications) โดยตั้งเป้าหมาย EBITDA จากผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง (HVP) และผลิตภัณฑ์ใหม่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ในปี 2573 ซึ่งบริษัทฯ ได้ดำเนินการศึกษาโอกาสพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง (High Value Products) และผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน (Sustainable Products) เพื่อเพิ่มรายได้และกำไรให้กับบริษัทฯ ในอนาคต           ในปี 2567 บริษัทฯ ได้มีการขยายผลิตภัณฑ์ Probio Pro Plus+ ในกลุ่มอาหารเสริมภายใต้แบรนด์ “Nutralist” เพิ่มเติมในกลุ่มคลีนิคและโรงพยาบาล นอกจากนี้ได้เริ่มดำเนินการศึกษาวิจัยผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม (HVP) ซึ่งจะมีการขายออกสู่ตลาดในปี 2568 ทั้งหมด 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ตัวทำละลายชีวภาพ ภายใต้แบรนด์ “BioSovel” และผลิตภัณฑ์สารเพิ่มความชุ่มชื้นกลุ่มเคมีชีวภาพ ที่เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและเครื่องสำอาง           บริษัทฯ เร่งดำเนินการปรับปรุงกระบวนการผลิตและดำเนินโครงการลงทุน รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2568 อย่างไรก็ตาม โครงการลงทุนสำคัญใช้ระยะเวลาในการศึกษาและก่อสร้างประมาณ 4 ปี การพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม ใช้ระยะเวลาในการทดลองตลาดและสร้างฐานลูกค้า ประมาณ 3-5 ปี ซึ่งจากแผนกลยุทธ์ดังกล่าว บริษัทฯ จะเติบโตอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรมได้ในปี 2572 เป็นต้นไป           เรามีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจที่วางไว้ ขณะเดียวกันก็เสริมศักยภาพในด้านต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นองค์กรที่ยั่งยืนและเดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ Transformation for Future Growth   เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างอนาคตที่มั่นคง และยั่งยืนให้กับผู้มีส่วนได้เสีย สังคม และประเทศไทย ด้วยการมุ่งพัฒนายกระดับศักยภาพในทุกด้านเพื่อการเติบโต ของกลุ่มธุรกิจอย่างแข็งแกร่ง พัฒนาและยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนต่อไปในอนาคต ตามวิสัยทัศน์ TO BE A LEADING GREEN CHEMICAL COMPANY BY CREATING SUSTAINABLE VALUE หรือ เป็นผู้นำผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อนพลังแห่งการสร้างสรรค์ เพื่อคุณค่าที่ยั่งยืน” นายกฤษฎา กล่าวทิ้งท้าย [PR News]

GGC ปี67 ขาดทุน 265 ลบ. จับตาปีนี้ พร้อมพิสูจน์

GGC ปี67 ขาดทุน 265 ลบ. จับตาปีนี้ พร้อมพิสูจน์

           หุ้นวิชั่น - บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ประจำปี 2567 มีผลขาดทุนสุทธิจำนวน 265 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ • รายได้จากการขาย จำนวน 19,006 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7 โดยหลักมาจากราคาขายและปริมาณการขายแฟตตี้แอลกอฮอล์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นดังรายละเอียดที่กล่าวข้างต้น • ค่าใช้จ่ายการผลิต จำนวน 727 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 10 โดยหลักลดลงจากการควบคุมค่าซ่อมแซม บำรุงรักษาโรงงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด • ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร จำนวน 492 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 23 โดยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายบุคลากร ค่าที่ปรึกษา ค่าใช้จ่ายสำนักงาน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ • ในช่วงไตรมาส 3/2567 มีรายการกลับรายการสำรองค่าเสียหายจากคดีความ จำนวน 43 ล้านบาท ตามที่บริษัทฯ ได้รายงานผลคดีความต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ไปเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2567 ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ พ.4702/2561 โดยให้บริษัทฯ ชำระหนี้สินตามคำพิพากษา ซึ่งบริษัทฯ ได้สำรองหนี้สินสำหรับคดีดังกล่าวไว้ในจำนวนที่มากกว่ายอดที่ต้องชำระ ทำให้มีการกลับรายการสำรองดังกล่าว จำนวน 43 ล้านบาท • ในส่วนอัตราแลกเปลี่ยนของปี 2567 มีผลกำไร จำนวน 18 ล้านบาท แม้ว่าอัตราแลกเปลี่ยน ณ สิ้นปี 2567 แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับต้นปี 2567 แต่ในช่วงระหว่างปีนั้น ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมาก ทำให้เกิดผลกำไรดังกล่าว • สำหรับส่วนลงทุนในการร่วมค้า ในปี 2567 บริษัทฯ รับรู้ส่วนกำไรสุทธิจากธุรกิจแฟตตี้แอลกอฮอล์อีทอกซีเลท (Fatty Alcohol Ethoxylate : FAEO) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากในปี 2566 มีการหยุดการผลิตชั่วคราวเป็นระยะเวลานานจากการขาดแคลนวัตถุดิบจากผู้ผลิตที่มีการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน ส่งผลให้ปริมาณผลิตและปริมาณขายผลิตภัณฑ์ FAEO ลดลงอย่างมาก ในขณะที่ปี 2567 สามารถดำเนินการผลิตได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ รับรู้ผลขาดทุนจากธุรกิจเอทานอลที่อยู่ในช่วงเริ่มการผลิต ส่งผลให้ภาพรวมกำไรจากส่วนการลงทุนในการร่วมค้าปรับลดลง            บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC มีผลการดำเนินงานประจำปี 2567 เปรียบเทียบปี 2566 ของบริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) มีรายได้จากการขายรวมทั้งหมด 19,006 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 7 โดยหลักเป็นผลจากปริมาณการผลิตสินค้าที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงปริมาณการขายและราคาผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากธุรกิจแฟตตี้แอลกอฮอล์ ทั้งนี้ บริษัทฯ มี Adjusted EBITDA จำนวน 555 ล้านบาท ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 32 โดยหลักมาจากธุรกิจแฟตตี้แอลกอฮอล์ที่มีอัตรากำไรปรับลดลง            โดยในปี 2567 นี้ บริษัทฯ มีการรับรู้ Stock Gain & NRV จำนวน 290 ล้านบาท จากแนวโน้มราคาผลิตภัณฑ์และราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายปี เมื่อรวมผลกระทบจากการรับรู้ Stock Gain & NRV จำนวนดังกล่าวแล้ว ทำให้บริษัทฯ มี EBITDA จำนวน 845 ล้านบาท สำหรับผลการดำเนินงานกับบริษัทร่วมทุน ในปี 2567 บริษัทฯ รับรู้ผลขาดทุน จำนวน 567 ล้านบาท โดยหลักจากผลขาดทุนจากธุรกิจเอทานอลที่อยู่ในช่วงเริ่มการผลิตในปีนี้ ทำให้ผลประกอบการประจำปี 2567 บริษัทฯ มีผลขาดทุนสุทธิ จำนวน 265 ล้านบาท            สำหรับผลประกอบการประจำไตรมาส 4/2567 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายรวมทั้งหมด 5,457 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4/2566 ร้อยละ 25 และมี Adjusted EBITDA จำนวน 101 ล้านบาท ลดลงจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 60 โดยในไตรมาส 4/2567 นี้ บริษัทฯ มีการรับรู้ Stock Gain & NRV จำนวน 231 ล้านบาท ทำให้บริษัทฯ มี EBITDA จำนวน 332 ล้านบาท ทั้งนี้ จากสถานการณ์ราคาเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์เมทิลเอสเทอร์และแฟตตี้แอลกอฮอล์ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มของราคาวัตถุดิบ ทำให้ผลประกอบการประจำไตรมาส 4/2567 บริษัทฯ รับรู้ผลกำไรสุทธิ จำนวน 150 ล้านบาท ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาส 4/2566            สำหรับผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจเมทิลเอสเทอร์ ในปี 2567 ถึงแม้ว่าราคาขายเมทิลเอสเทอร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 11 ตามแนวโน้มราคาน้ำมันปาล์มดิบ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณการขายเมทิลเอสเทอร์ปรับตัวลดลงร้อยละ 10 เนื่องจากทางภาครัฐปรับนโยบายลดส่วนผสมไบโอดีเซลลงจาก B7 เป็น B5 ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำมันพืชเพื่อบริโภคและราคาที่สูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบปี 2566 ที่ใช้สัดส่วน B7 ตลอดทั้งปี นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มกำลังการผลิตของผู้ผลิตรายเดิมในช่วงต้นปี 2567 ทำให้มีการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาด ทำให้ในปี 2567 บริษัทฯ รับรู้รายได้จากการขายของธุรกิจผลิตภัณฑ์เมทิลเอสเทอร์ จำนวน 12,315 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนเล็กน้อยร้อยละ 1 สำหรับภาพรวม P2F ของเมทิลเอสเทอร์ในปี 2567 อยู่ในระดับเดียวกันกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า            สำหรับผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจแฟตตี้แอลกอฮอล์ ในปี 2567 บริษัทฯ มีปริมาณขายผลิตภัณฑ์แฟตตี้แอลกอฮอล์ จำนวน 103,692 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6 โดยในปี 2567 บริษัทฯ สามารถเดินเครื่องการผลิตได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากปีก่อนหน้า สำหรับผลการดำเนินงานในธุรกิจอื่น จากแผนกลยุทธ์ของบริษัทฯ ในการมุ่งสู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินธุรกิจ Food & Nutraceutical ซึ่งจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นส่วนประกอบอาหารและโภชนเภสัชต่างๆ อาทิ กลุ่มสารให้ความหวาน กลุ่ม Plant-Based Protein กลุ่ม Antioxidant Extract เป็นต้น โดยในปี 2567 บริษัทฯ รับรู้รายได้จากธุรกิจ Food & Nutraceutical จำนวน 101 ล้านบาท            สำหรับสถานะทางการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 11,338 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นรวมทั้งสิ้น 1,057 ล้านบาท มีหนี้สินรวมทั้งสิ้น 1,823 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นจำนวน 9,515 ล้านบาท

abs

ปตท. แข็งแกร่งร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

GGC รายงานความคืบหน้ากรณีศาลแพ่งยกฟ้องให้บริษัท ยืนยันความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล

GGC รายงานความคืบหน้ากรณีศาลแพ่งยกฟ้องให้บริษัท ยืนยันความโปร่งใส มีธรรมาภิบาล

          หุ้นวิชั่น - นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC เปิดเผยความคืบหน้าด้านคดีความอันเนื่องมาจากเหตุการณ์วัตถุดิบคงคลังสูญหาย ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงมิถุนายน 2561 ตามที่ GGC ได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ  และแจ้งความดำเนินคดีกับผู้บริหาร พนักงาน และ คู่ค้าที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต่อมาสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ กล่าวโทษอดีตผู้บริหาร GGC 2 ราย และบริษัทคู่ค้า อีก 9 ราย ร่วมกันกระทำผิด พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และกระทำความผิดอาญา ซึ่ง GGC ได้ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม ร่วมกับ ก.ล.ต. มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีความคืบหน้าของคดีที่สำคัญ ดังนี้           เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา ศาลแพ่งได้พิจารณาแล้วมีคำพิพากษายกฟ้อง GGC กรณีที่คู่ค้ากล่าวหาว่าบริษัทฯ ผิดสัญญาซื้อขายน้ำมันปาล์มและเรียกร้องค่าเสียหาย 595.10 ล้านบาท ซึ่งทำให้บริษัทฯ ชนะคดีแพ่งที่บริษัทฯ ถูกฟ้องเป็นคดีที่ 4  จากทั้งหมด 6 คดี เพราะยังมีบางคดีอยู่ระหว่างพิจารณาในชั้นศาล นอกจากนี้ยังมีคดีที่ GGC ฟ้องคดีแพ่งกับอดีตผู้บริหารและคู่ค้าอีก 5 คดี ปัจจุบันศาลตัดสินให้ GGC ชนะทั้ง 5 คดี ซึ่งมีคดีที่ถึงที่สุดแล้ว 4 คดี รวมมูลค่ากว่า 800 ล้านบาท โดย GGC อยู่ระหว่างดำเนินการบังคับคดี           ในส่วนคดีอาญา ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้กล่าวโทษอดีตผู้บริหารของ GGC และบริษัทคู่ค้า และ GGC ได้แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญากับอดีตผู้บริหารและบริษัทคู่ค้า รวมทั้งสิ้น 8 คดี โดยขณะนี้มีคดีอยู่ในชั้นพนักงานสอบสวน 4 คดี อยู่ในชั้นพนักงานอัยการ 1 คดี และอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอีก 3 คดี โดยในช่วงที่ผ่านมาศาลตัดสินคดีอาญาแล้ว 2 คดี ได้แก่           คดีแรก ในช่วงปี 2566 โดยศาลมีคำพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา และความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ให้ลงโทษจำคุกอดีตผู้บริหาร 2 ปี และกรรมการของคู่ค้า 1 ปี 4 เดือน และให้อดีตผู้บริหารชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ GGC จำนวนประมาณ 328.87 ล้านบาท ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์           คดีที่สอง ศาลตัดสินเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ศาลพิพากษายกฟ้อง เพราะยกประโยชน์ให้จำเลย เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้สิ้นข้อสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาจริง อย่างไรก็ตาม คำพิพากษาดังกล่าวเป็นคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเท่านั้น คดียังไม่ถึงที่สุด และ GGC จะใช้สิทธิในการยื่นอุทธรณ์ต่อไปโดยคดีดังกล่าว มีมูลค่าความเสียหายประมาณ 72.88 ล้านบาท แต่ GGC ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของบริษัทคู่ค้าไว้แล้ว           นอกจากนี้ บริษัทฯ ขอความร่วมมือผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ระมัดระวังการรับข้อมูลข่าวสารที่มีการเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งมีการใช้ข้อกล่าวหาบริษัทฯ โดยปราศจากมูลความจริง และมีเจตนาสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของบริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ จะติดตามและมีการดำเนินการอย่างเหมาะสมต่อไป           GGC ขอยืนยันว่า บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส มีธรรมาภิบาล พร้อมปกป้องผลประโยชน์ของนักลงทุนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเต็มความสามารถ [PR News]

GGC สานต่อนโยบายกลุ่ม ปตท จับมือพันธมิตรส่งเสริมความยั่งยืนอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน

GGC สานต่อนโยบายกลุ่ม ปตท จับมือพันธมิตรส่งเสริมความยั่งยืนอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน

          บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC จับมือองค์กรเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมันยั่งยืน Roundtable on Sustainable Palm Oil (RSPO) และ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย พร้อมกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน และโรงสกัดปาล์มน้ำมัน ผลักดันขยายความร่วมมือยกระดับการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานของประเทศไทย เพื่อเป้าหมายให้เกษตรกรขายผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมันได้ราคาที่ดีอย่างยั่งยืน           นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC เปิดเผยว่า GGC ได้ดำเนินการส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกปาล์มน้ำมันของประเทศไทยมากกว่า 1,000 ราย ให้ดำเนินการตามมาตรฐานและได้รับการรับรอง Roundtable on Sustainable Palm Oil (RSPO) ซึ่งเป็นมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ผ่านการดำเนินโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน Sustainable Palm oil production and procurement (SPOPP)  จากความสำเร็จของโครงการดังกล่าวเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรในระยะยาว คือ เกษตรกรมีผลผลิตปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้น มีต้นทุนในการปลูกปาล์มที่ต่ำลง และสามารถสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้แก่เกษตรกร โดย GGC ได้สานต่อความสำเร็จของโครงการดังกล่าวสู่โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนเพื่อลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Sustainable Palm Oil Production and Procurement Project for Climate Mitigation and Adaptation (SPOPP CLIMA)  เพื่อเป็นต้นแบบให้กับเกษตรกรรายย่อยผลิตปาล์มน้ำมันในการจัดการสวนปาล์มแบบคาร์บอนต่ำของประเทศไทย           จากการสนับสนุนเกษตรกรให้ปลูกปาล์มอย่างยั่งยืน นับเป็นต้นทางที่สำคัญที่ GGC ได้สร้างความมั่นคงทั้งเรื่องการปลูกปาล์มรวมถึงความมั่นคงทางการเงินให้กับเกษตรกรในระยะยาว และ GGC มีความมุ่งมั่นในการสานต่อนโยบายในการสนับสนุนการซื้อ-ขายปาล์มน้ำมันของกลุ่ม ปตท. เพื่อสนับสนุนนโยบายภาครัฐ ที่ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันสามารถขายผลผลิตได้ไม่ต่ำกว่าราคาประกาศของราชการ ความสำเร็จที่ผ่านมารวมถึงนโยบายดังกล่าวทำให้ GGC เล็งเห็นถึงความสำคัญและดำเนินการสร้างความร่วมมือกันทั้งห่วงโซ่อุปทาน ช่วยเกษตรกรในด้านราคาอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งโรงสกัดน้ำมันปาล์ม GGC และบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เพื่อร่วมกันดำเนินโครงการการจัดซื้อปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน (Palm Oil Sustainable Procurement) โดยโครงการดังกล่าวจะยึดหลักการซื้อขายที่เป็นธรรมตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เพื่อส่งผลประโยชน์ไปยังเกษตรกรทุกรายได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น เพราะสามารถขายผลผลิตได้ราคาที่ดีและเป็นธรรม เราร่วมผลักดันเพื่อให้การรับซื้อผลปาล์มในมูลค่าที่สูงขึ้น ทั้งในส่วนของเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO เรารับซื้อตามราคาประกาศของกรมการค้าภายใน  และในส่วนของเกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO นอกจากจะได้รับราคาตามประกาศฯ แล้ว ยังได้ราคาพรีเมี่ยมจากมาตรฐาน RSPO เพิ่มขึ้นด้วย  ซึ่งโครงจัดซื้อน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนนี้จะส่งผลให้ทุกกลุ่มที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานปาล์มน้ำมันของประเทศไทยสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน           วันนี้เรามีพันธมิตรทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคประชาชน ไม่ว่าจะเป็น เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน    ผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน โรงสกัดปาล์มน้ำมัน GGC OR กรมวิชาการเกษตร GIZ  และ RSPO ที่พร้อมร่วมกันผลักดันและสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เพื่อส่งผ่านความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มทุกรายของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน [PR News]

PSP จับมือ GGC ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ EnPAT

PSP จับมือ GGC ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ EnPAT

         บริษัท พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PSP ผู้นำด้านโซลูชันน้ำมันหล่อลื่น นำโดย นายเสกสรร ครองพาณิชย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับบริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ผู้นำด้านธุรกิจเคมีชีวภาพ และบริษัทแกนนำในธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม Green Flagship Company ของ GC Group นำโดย นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ เพื่อร่วมกันพัฒนาและผลักดันผลิตภัณฑ์น้ำมัน หม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ EnPAT ให้ก้าวสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอบสนองต่อความต้องการในตลาดพลังงานหมุนเวียน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม          ผลิตภัณฑ์ EnPAT ได้รับการพัฒนาภายใต้แนวคิดที่เน้นความยั่งยืน โดยใช้วัตถุดิบชีวภาพจากปาล์มน้ำมันไทย ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิล นอกจากนี้ ข้อตกลงนี้ยังมุ่งเน้นการศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจ และศักยภาพในการขยายกำลังการผลิตสู่ระดับอุตสาหกรรม พร้อมการทำงานร่วมกันในด้านการตลาดและการจัดจำหน่าย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ในอนาคต          นายเสกสรร ครองพาณิชย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พี.เอส.พี.สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PSP กล่าวว่า “การร่วมพัฒนาน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพจากน้ำมันปาล์มไทยในครั้งนี้ ถือเป็นโครงการสำคัญที่ไม่เพียงส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจเพียงเท่านั้น แต่ยังช่วยลดการนำเข้าและพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในประเทศ ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน”          ปัจจุบัน PSP กำลังทดสอบการใช้งานน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ EnPAT ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในโครงการ EnPAT ซึ่งทีมวิจัยได้ติดตั้งต้นแบบระบบการผลิตน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพที่มีกำลังการผลิตประมาณ 300 ลิตรต่อครั้ง และได้ทำการทดสอบระบบจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว          นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน)  หรือ GGC กล่าวว่า “ GGC  ร่วมกับภาครัฐดำเนินโครงการ EnPAT โดยพัฒนาน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพจากน้ำมันปาล์มที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการนี้มีการทดสอบภาคสนามเชิงบูรณาการ เพื่อสร้างโอกาสในการใช้งานเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับเศรษฐกิจใหม่ภายใต้ BCG Model และ New S-Curve ด้าน Biochemicals ช่วยเพิ่มมูลค่าให้น้ำมันปาล์ม สร้างรายได้ให้เกษตรกรไทย และทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ          ความร่วมมือในครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในอนาคต ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปในระดับสากล สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของ GGC ที่มุ่งมั่นสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจให้กับภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นผู้นำผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อนพลังแห่งการสร้างสรรค์ เพื่อคุณค่าที่ยั่งยืน” [PR News]

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

[PR  News] GGC-GIZ

[PR News] GGC-GIZ "ผลิตปาล์มน้ำมันคาร์บอนต่ำ”

          (30 กันยายน 2567)  - บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ ประจำประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม และกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมันรายย่อย 4 จังหวัดภาคใต้ร่วมกันต่อยอดความสำเร็จ ประกาศยกระดับจากการผลิตปาล์มอย่างยั่งยืนสู่การผลิตปาล์มน้ำมันแบบคาร์บอนต่ำ โดยลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding) โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนเพื่อลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Sustainable Palm Oil Production and Procurement Project on Climate Mitigation and Adaptation หรือ SPOPP CLIMA) ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงแรมเซ็นทารา อ่าวนาง บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา กระบี่           สำหรับพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ มีผู้บริหาร และผู้แทนจาก GGC GIZ หน่วยงานภาครัฐรวมทั้งพันธมิตรใน 4 จังหวัดผู้ผลิตปาล์มน้ำมันภาคใต้ ได้แก่ ตรัง กระบี่ พังงา และชุมพร ร่วมลงนาม           โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน เพื่อลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Sustainable Palm Oil Production and Procurement Project for Climate Mitigation and Adaptation หรือ SPOPP CLIMA)  เป็นโครงการต่อยอดความสำเร็จจากการรับรองกลุ่มเกษตรกรรายย่อย ตามมาตรฐานการปลูกปาล์มอย่างยั่งยืน (Roundtable Sustainable Palm Oil หรือ RSPO) ภายใต้โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน หรือ SPOPP ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ดำเนินการโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ และความร่วมมือจากกรมวิชาการเกษตร โดยมุ่งเน้นในการสร้างองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรรายย่อยที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน RSPO ในโครงการ SPOPP  ให้สามารถนำข้อมูลที่มีอยู่มาต่อยอดในการคำนวณคาร์บอนฟุตปริ้นท์สำหรับผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมันทะลายสด และมีแนวทางการจัดการสวนแบบคาร์บอนต่ำ ซึ่งการลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์ไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ แต่ยังเป็นการเพิ่มความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมันของไทยในตลาดโลกอีกด้วย           นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ GGC กล่าววิสัยทัศน์ภายในงานว่า “GGC ได้ดำเนินการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อให้บรรลุยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals (SDGs) ของสหประชาชาติ (United Nations: UN) โดยครอบคลุมทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน สร้างคุณค่าและยกระดับมาตรฐานการดำเนินธุรกิจให้ได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ในฐานะผู้นำผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม เราคำนึงถึงการรักษาสมดุลระหว่างการดำเนินกลยุทธ์การเติบโตทางธุรกิจ ควบคู่ไปกับการสร้างผลลัพธ์ที่ยั่งยืนยั่งยืน มีเป้าหมายการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงร้อยละ 20 ภายในปี 2573  และในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero target) ภายในปี 2593  ก้าวสู่การเป็นองค์กรที่สนับสนุนการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ผ่านการดำเนินธุรกิจและการผลิตผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ จากความสำเร็จการดำเนินโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน หรือSPOPP  ที่ผ่านมา GGC ได้นำมาเชื่อมโยงกับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจด้านยั่งยืนของบริษัทฯ ในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดย GGC และ GIZ มีแผนร่วมกันดำเนินโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน เพื่อลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Sustainable Palm Oil Production and Procurement Project for Climate Mitigation and Adaptation (SPOPP CLIMA)  ในปี พ.ศ. 2567 – 2570 จุดประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเกษตรกรในการปลูกปาล์มและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคการเกษตร การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้น และคาร์บอนเครดิต เพื่อร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการเดินไปสู่เป้าหมาย Net Zero ของ GGC ในปี พ.ศ. 2593 และส่งเสริมการปลูกปาล์มยั่งยืนที่สอดรับกับกฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า EU Deforestation-free Regulations: EUDR ที่จะเริ่มบังคับใช้ 1 มกราคม 2568 รวมทั้งการเตรียมความพร้อมสำหรับมาตรฐานความยั่งยืนต่าง ๆ ความร่วมมือในครั้งนี้นอกจากจะช่วยสนับสนุนให้เกิดกระบวนการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศเท่านั้น แต่ยังเป็นการเพิ่มความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผลิตภัณฑ์ปาล์มน้ำมันของไทยในตลาดโลกอีกด้วย”           คุณจูเลี่ยน ทอสส์ ผู้แทน ผู้ประสานงานกลุ่มโครงการเกษตรและอาหาร GIZ ประเทศไทย กล่าวในพิธีลงนามข้อตกลงว่า โครงการ SPOPP CLIMA มีวัตถุประสงค์พัฒนาการเปลี่ยนแปลงของการเกษตรในประเทศไทยไปสู่การผลิตที่ยั่งยืนและคำนึงถึงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของกลุ่มโครงการฯ    ที่มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหาร ยกระดับความเป็นอยู่ และเสริมสร้างความยืดหยุ่นของเกษตรกร ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการปกป้องสิ่งแวดล้อม และบรรเทาภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  “ความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและเอกชน รวมทั้งกลุ่มเกษตรกร กลุ่มโรงงานสกัดปาล์มน้ำมันผ่านโครงการ SPOPP CLIMA จะช่วยยกระดับความยั่งยืน และห่วงโซ่คุณค่าการจัดการสวนปาล์มน้ำมันคาร์บอนต่ำที่สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ การทำงานพัฒนาร่วมกันครั้งนี้จะนำไปสู่การต่อยอดเพื่อสร้างต้นแบบเกษตรกรกว่าหนึ่งพันคนและวิทยากรที่มีความรู้และศักยภาพอีกไม่น้อยกว่า 50 คนเพื่อขยายผลในพื้นที่อย่างยั่งยืน รวมทั้งสร้างระบบฐานข้อมูลในการคำนวณการฝึกอบรมคาร์บอนฟุตปริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ปาล์มทะลายสดของเกษตรกรภายในระยะเวลาดำเนินโครงการ  นำมาสู่การจัดการสวนปาล์มคาร์บอนต่ำในประเทศไทยในระยะยาวต่อไป”

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011