ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#FOMC


สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนกันยายน 2567

สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนกันยายน 2567

          หุ้นวิชั่น - คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.5% เป็น 4.75% – 5.0% ถือเป็นการลดครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี เพื่อเป็นการทำให้ความเสี่ยงต่อเป้าหมายการจ้างงานและเงินเฟ้ออยู่ในจุดสมดุล โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ตอบรับเชิงบวกแสดงให้เห็นว่าผู้ลงทุนยังมั่นใจว่าเศรษฐกิจจะยังไม่เข้าสู่ภาวะ recession นอกจากนี้ หากพิจารณาข้อมูลในอดีตพบว่าหาก FED ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะเป็นผลดีต่อตลาดหุ้นในประเทศ Emerging Market เริ่มเห็นสัญญาณเงินลงทุนต่างชาติเคลื่อนย้ายมายังตลาดหุ้น ASEAN ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นส่วนใหญ่มีการปรับเพิ่มขึ้นมากในเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยเฉพาะดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ตามลำดับ           นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในส่วนของภายในประเทศยังมีปัจจัยบวก อาทิ การเมืองไทยที่มีความชัดเจนมากขึ้นหลังมีการเลือกนายกรัฐมนตรีใหม่ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่รายงานออกมาเข้มแข็งกว่าที่นักวิเคราะห์คาด รวมถึงมาตรการที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนผ่านการเพิ่มเม็ดเงินลงทุนของผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ ทำให้ผู้ลงทุนต่างชาติพลิกกลับมาซื้อหุ้นไทยในเดือนกันยายนสูงสุดในรอบ 22 เดือน ส่งผลให้เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจาก Sensitivity Analysis พบว่าหุ้นของบริษัทในกลุ่มส่งออกและท่องเที่ยวอาจได้รับผลกระทบเชิงลบต่อคาดการณ์กำไรในอนาคต ซึ่งตรงกันข้ามกับหุ้นของบริษัทในกลุ่ม domestic play และกลุ่มที่มีสัดส่วนนำเข้าเพื่อผลิตสูงที่อาจได้อานิสงส์จากต้นทุนที่ลดลง ขณะที่ SET Index ปรับเพิ่มขึ้นด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นในเดือนที่ผ่านมา ภาวะตลาดหลักทรัพย์ไทยเดือนกันยายน 2567 ณ สิ้นกันยายน 2567 SET Index ปิดที่ 1,83 จุด เพิ่มขึ้น 6.6% จากสิ้นเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 ทำให้เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2566 SET Index ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.3% ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น และกลุ่มที่ปรับตัวดีกว่า SET Index เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2566 ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันใน SET และ mai ปรับมาอยู่ที่ 62,503 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า และปรับเพิ่มขึ้น 35.8% จากเดือนที่แล้ว ทำให้ 9 เดือนแรกของปี 2567 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน อยู่ที่ 46,481 ล้านบาท มีบริษัทเข้าจดทะเบียนใหม่ซื้อขายใน SET 1 หลักทรัพย์ ได้แก่ บมจ. เพชรศรีวิชัย เอ็นเตอร์ไพรส์ (PCE) และใน mai 2 หลักทรัพย์ ได้แก่ บมจ. เอสอีไอ เมดิคัล (SEI) และ บมจ. พีเอ็มซี เลเบิล แมททีเรียลส์ (PMC) Forward P/E ของตลาดหลักทรัพย์ไทย ณ สิ้นเดือนกันยายน 2567 อยู่ที่ระดับ 8 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 13.0 เท่า และ Historical P/E อยู่ที่ระดับ 17.5 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 15.6 เท่า อัตราเงินปันผลตอบแทน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2567 อยู่ที่ระดับ 28% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ 3.04% ภาวะตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) เดือนกันยายน 2567 มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 707,472 สัญญา เพิ่มขึ้น 9% จากเดือนก่อน ที่สำคัญจากการเพิ่มขึ้นของ SET50 Index Futures และ Single Stock Futures และในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 474,728 สัญญา ลดลง 13.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่สำคัญจากการลดลงของ Single Stock Futures และ SET50 Index Futures ที่มา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ลุ้นดอกเบี้ยไทยลดลงตามเฟด สู่2%

ลุ้นดอกเบี้ยไทยลดลงตามเฟด สู่2%

          นายมงคล พ่วงเภตรา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์ลงทุนหลักทรัพย์ บล.ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ โดยเสียงส่วนใหญ่ 11 ต่อ 1 เห็นชอบให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 50 เบซิสพอยต์ (0.50%) ทำให้อัตราดอกเบี้ยปรับลดจากช่วง 5.25% ถึง 5.50% ลงมาอยู่ที่ 4.75% ถึง 5.00% โดยมีโอกาสที่จะเห็นการลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกมาที่ราว 4.25% - 4.50% และอาจปรับลดลงอีก 1% ในปี 2568           ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ว่าอัตราดอกเบี้ยของไทยในช่วง 12 เดือนข้างหน้าอาจลดลงเกิน 0.25% หรืออาจปรับลงไปอยู่ที่ระดับ 2% จากปัจจุบันที่ 2.50% ต่อปี โดยคาดว่ากนง. อาจต้องได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากกระทรวงการคลังและภาครัฐ เพื่อดำเนินนโยบายการเงินและการคลังควบคู่ไปกับการบริหารประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนหุ้นที่น่าลงทุนในสถานการณ์นี้มี 3 กลุ่มหลัก ได้แก่: กลุ่มไฟแนนซ์: เช่น MTC และ SAWAD ที่จะได้ประโยชน์จากต้นทุนดอกเบี้ยที่ลดลง กลุ่มอสังหาริมทรัพย์: ที่จะได้รับประโยชน์จากการซื้อโครงการที่ต้องมีการผ่อนชำระ กลุ่มหุ้นที่มีหนี้สูง: เช่น โรงไฟฟ้า ที่จะทำให้ภาระการจ่ายดอกเบี้ยลดลง

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011