ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#EV


หุ้นได้ประโยชน์ หลังยอดจองรถ EV พุ่ง เช็กเลย!

หุ้นได้ประโยชน์ หลังยอดจองรถ EV พุ่ง เช็กเลย!

            หุ้นวิชั่น - ฝ่ายวิจัยมองเป็นบวกเล็กน้อยจากยอดจองรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นดี โดยเฉพาะยอดจองรถ EV จากค่ายรถยนต์จีนที่เพิ่มขึ้นมาก (แต่ผลกระทบต่อหุ้นใน SET จำกัด) ส่วนค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นยังมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ดี ดังนั้นเราประเมินว่าจะส่งผลบวกต่อยอดขายรถยนต์ในประเทศตั้งแต่ เม.ย.2025 จะเริ่มทรงตัวได้จากที่ลดลงมากต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2024 และ 2H25E มีโอกาสกลับมาเติบโตได้จากฐานต่ำปีก่อน โดยการผลิตรถยนต์ BEV จะมีปริมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าตามเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการภาครัฐ ซึ่งจะทำให้ยอดผลิตรถยนต์เพื่อจำหน่ายในประเทศในปี 2025 จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ ส.อ.ท. ประเมินไว้ที่ 5.0 แสนคัน +8% YoY             ทั้งนี้ ยังประเมินยอดผลิตรถยนต์ปี 2025 ที่ 1.45-1.50 ล้านคัน ทรงตัว YoY อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงที่ยอดผลิตรถยนต์จะทำได้ต่ำกว่าเป้า จากการส่งออกรถยนต์ที่เริ่มชะลอตัว โดยเฉพาะจากประเด็นสงครามการค้า ทำให้ประเทศคู่ค้าระมัดระวังการใช้จ่าย             กลุ่ม Automotive ยังให้น้ำหนัก underweight ไม่มี top pick โดย SAT (ถือ/เป้า 12.00 บาท) เราประเมิน SAT กำไรปี 2025E จะทรงตัวตามยอดผลิตรถยนต์ อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงจากยอดผลิตรถกระบะที่เป็นฐานลูกค้าหลักของ SAT ยังมีโอกาสลดลงจากปัจจัยเสี่ยงทั้งด้านยอดขายรถยนต์ในประเทศยังอาจฟื้นตัวช้า และการส่งออกมีโอกาสชะลอตัวกว่าคาด ขณะที่อาจมีปัจจัยบวกทดแทนจากรายได้กลุ่มชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการเกษตรที่ดีขึ้น ยอดจองรถ EV ของจีนที่เพิ่มขึ้นมากยังมีผลบวกต่อหุ้นใน SET ค่อนข้างน้อย             โดยเราประเมินยังไม่มีหุ้นที่ได้ประโยชน์โดยตรง แต่จะมีผลบวกต่อหุ้นใน SET บางส่วน ได้แก่ หุ้นกลุ่มนิคมฯ (WHA, AMATA) จะมีการเข้ามาลงทุนเกี่ยวกับ supply chain เข้ามาต่อเนื่องตามผู้ผลิตรถยนต์ EV และ SJWD ที่จะมีการรับงานให้บริการด้านโลจิสติกส์สำหรับรถ EV เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม มีสัดส่วนกำไรขั้นต้นไม่เกิน 10% มาจากบริการโลจิสติกส์ขนส่งรถยนต์ ขณะที่ทั้งกลุ่มนิคมฯ และ SJWD จะได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงด้านสงครามการค้ามากกว่า

EVAT จัด EV Tech Forum 2024  ดันไทยสู่ยุคยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ

EVAT จัด EV Tech Forum 2024 ดันไทยสู่ยุคยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ

หุ้นวิชั่น - เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) นำโดย นายสุโรจน์ เเสงสนิท นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย จัดงานเสวนา "ยานยนต์ไฟฟ้ามุ่งสู่ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ : การปฏิวัตินวัตกรรมที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับยานยนต์เเห่งอนาคต"          โดยมี รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบ ววน. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สก.สว.) กล่าวท่านเเรก โดยได้ให้ข้อมูลว่า "ทาง สก.สว. ได้ให้การสนับสนุนองค์กรต่างๆในประเทศไทยในด้านงบประมาณ องค์กรที่ต้องการเเหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเเห่งอนาคต ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ที่ต้องการสนับสนุน และส่งเสริมเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในประเทศ นอกจากนี้ ทาง ววน. ยังได้เริ่มมีการพูดคุยกับ บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกอย่าง Nvidia ในการร่วมกันพัฒนาระบบแท็กซี่ไร้คนขับ ซึ่งคาดว่าหากการพัฒนาดังกล่าว มีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางที่ดี ประเทศไทยน่าจะมีโอกาสได้เห็น บริการแท็กซี่ไร้คนขับ ที่มีโอกาสเป็นไปได้ครับ"           ด้าน ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานนวัตกรรมเเห่งชาติ (องค์การมหาชน) "ทางสำนักงานนวัตกรรมเเห่งชาติ ได้มีการสนับสนุนและส่งเสริมเทคโนโลยีกับผู้ประกอบการ ทั้งในเรื่องของเเหล่งเงินทุน และบริการต่างๆ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการผ่านการดำเนินงานในธุรกิจนวัตกรรมอย่างยั่งยืน ผ่านกลยุทธ์ Groom, Grant, Growth และ Global ของ สำนักงานนวัตกรรมเเห่งชาติ โดยมี 5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ เกษตรอาหารและสมุนไพร สุขภาพและการเเพทย์ พลังงานสิ่งแวดล้อมยานยนต์ไฟฟ้า การท่องเที่ยวและ Soft power”           รศ.ดร. ยศพงษ์ ลออนวล หัวหน้าศูนย์วิจัย Mobility and Vehicle Technology Research Center (MOVE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย กล่าวว่า “การพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ (Next Generation Mobility) ที่เป็นแนวโน้มเทคโนโลยีแห่งอนาคต ซึ่งในฐานะศูนย์วิจัยฯ ต้องการช่วยให้เกิดการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ รวมถึงการศึกษาการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติอย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของประเทศและโลกในขณะนี้ จึงทำให้มหาวิทยาลัยมีแนวคิดในการพัฒนาศูนย์วิจัย MOVE ขึ้น ในปี พ.ศ. 2563 ภายใต้แนวคิด 3i ได้เเก่ i แรก คือ industry ในการสร้างความร่วมมือที่เข้มเเข็งกับภาคอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการ i สอง คือ international infrastructure ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และห้องปฎิบัติการสำหรับการทดสอบตามมาตรฐานสากล และ i สาม คือ integration for innovation impact ในการบูรณาการศึกษา การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างผลกระทบในการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยหวังว่าการทำงานของศูนย์วิจัยฯ ที่ผ่านมา จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าให้เกิดความเเข็งแกร่งและมั่นคง รวมทั้งการพัฒนาระบบนิเวศน์ของยานยนต์สมัยใหม่ในประเทศไทยได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย”           คุณณัฐนัย หงสุรพันธ์ หัวหน้ากลุ่มมาตรฐานยานยนต์ กรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า “กรมการขนส่งทางบกอยู่ระหว่างจัดทำโครงการศึกษาเพื่อจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategic Roadmap) สำหรับรองรับ ขับเคลื่อน และกำกับดูแลการใช้งานยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ (Connected and Autonomous Vehicles, CAV) ในประเทศไทย ให้มีความปลอดภัยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน”           ดร.ปาษาณ กุลวานิช หัวหน้าโครงการพัฒนาสนามทดสอบยานยนต์ CAV Proving Ground กลุ่มนวัตกรรมหุ่นยนต์และ ระบบอัตโนมัติ กองวัสดุวิศวกรรมกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เผยว่า “มีภารกิจหน้าที่ทางด้านงานวิจัยพัฒนาวิธีทดสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยปัจจุบันแนวโน้มทางด้านเทคโนโลยียานยนต์ได้ปรับไปเป็น ยานยนต์ไฟฟ้า ยานยนต์เชื่อมต่อ และยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ ดังนั้น วศ. จึงให้ความสำคัญกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยียานยนต์อัตโนมัติแบบ CAV (Connected and Automated Vehicle) เป็นอย่างมาก โดยได้สร้างสนามทดสอบยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ พร้อมพัฒนาอุปกรณ์และวิธีทดสอบ พร้อมให้บริการ ณ วังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง ภายใต้โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)”           โดยงานสัมมนา EV Tech Forum นั้นจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี จัดโดยสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย โดยในเเต่ละปีจะมีหัวข้องานสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์เเห่งอนาคต และได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องจากผู้เข้าฟังเสวนา           เกี่ยวกับ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (Electric Vehicle Association of Thailand) สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยเป็นสมาคมที่ไม่เเสวงหาผลกำไร โดยแนวทางของสมาคมมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการเเลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ยังรวมไปถึงการให้คำปรึกษาข้อบังคับมาตรฐาน และการดำเนินงานในการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ในปัจจุบันสมาคมมี คุณสุโรจน์ เเสงสนิท ทำหน้าที่นายกสมาคม และมีสมาชิกที่มาจากภาคเอกชน สถาบันศึกษา รัฐวิสาหกิจ และบุคคลทั่วไปรวมทั้งสิ้นกว่า 390 ราย โดยทางสมาคมมีการกำหนดการจัดการประชุม ในทุกๆเดือน และมีการเเบ่งคณะทำงานในด้านต่างๆเพื่อสนับสนุน และส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทยให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ที่ www.evat.or.th

จับตา! รถยนต์ไฟฟ้า ปี68 ยอดขายทะลุ 2แสนคัน

จับตา! รถยนต์ไฟฟ้า ปี68 ยอดขายทะลุ 2แสนคัน

          อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจะผ่านจุดต่ำสุดไปได้ภายในช่วงครึ่งหลังของปี 2568 จากนั้นจะทยอยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป           อุตสาหกรรมยานยนต์ยังคงเผชิญความท้าทายจากอุปสงค์ในประเทศที่เปราะบาง ส่งผลให้ตลาดรถยนต์และจักรยานยนต์มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้า ขณะที่กลุ่มยานยนต์เชิงพาณิชย์คาดว่าจะทยอยกลับมาคึกคัก โดยได้รับอานิสงส์จากการค้าชายแดนและผ่านแดน รวมถึงภาคการท่องเที่ยวที่ทยอยฟื้นตัวต่อเนื่อง ยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2568 คาดว่าจะทรงตัวในระดับต่ำที่ 5.5 แสนคัน ขณะที่ในระยะปานกลาง มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้าและยังไม่สามารถกลับสู่ช่วง Pre-Covid ได้ในภายในปี 2571 เนื่องจากเผชิญกับผลพวงต่อเนื่องจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งประกอบด้วย 1) สถาบันการเงินเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ 2) กำลังซื้อในภาพรวมค่อนข้างเปราะบาง 3) พฤติกรรมการใช้รถของคนไทยยาวนานขึ้น และ 4) การแข่งขันด้านราคาที่ทวีความรุนแรง ส่งผลให้ผู้บริโภคบางส่วนชะลอการตัดสินใจซื้อรถออกไป นอกจากนี้ เรายังคงต้องติดตาม Vicious cycle ในตลาดยานยนต์ไทย อันเกิดจากการที่สถาบันการเงินมีแนวโน้มตรึงความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ เนื่องจากมีความกังวลต่อทิศทางราคารถยนต์มือ 2 ที่คาดว่าจะปรับลดลงอีก เพราะปัญหาอุปทานส่วนเกินจากกลุ่มรถยึด ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าวจะกดดันยอดขายรถยนต์ใหม่ให้ซบเซาต่อเนื่อง และทำให้เหล่าตัวแทนจำหน่ายต้องหันมาเน้นแข่งขันกันด้วยราคา ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมมูลค่าของหลักประกันหมวดยานยนต์ให้เสื่อมค่าลงอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมยานยนต์เชิงพาณิชย์ปี 2568 มีแนวโน้มกลับมาขยายตัวได้ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศและภาคส่งออกฟื้นตัวดีขึ้น โดยตลาดรถบรรทุกได้รับแรงหนุนจากกิจกรรมขนส่งตามแนวชายแดนและการค้าผ่านแดนเติบโตได้ต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดรถโดยสารได้รับอานิสงส์จากภาคท่องเที่ยวที่กลับมาคึกคัก และมีส่วนช่วยให้ปัญหา Overcapacity ในกลุ่มรถบัสนำเที่ยวบรรเทาลง ทั้งนี้ในระยะปานกลาง จำเป็นต้องจับตาทิศทางการนำเข้ายานยนต์เชิงพาณิชย์ที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะจากกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน ซึ่งแม้จะตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อม แต่ก็นำมาซึ่งความเสี่ยงต่อผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนในประเทศให้สูญเสียความสามารถทางการแข่งขัน ตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศปี 2568 มีแนวโน้มซบเซาต่อเนื่อง ขณะที่ในระยะปานกลางจะทยอยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากอุปสงค์ยังคงเผชิญแรงกดดันจากกำลังซื้อกลุ่มฐานรากที่เปราะบาง ทั้งจากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง รายได้ภาคเกษตรผันผวน รวมถึงความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ดี ต้องติดตามความคืบหน้าของมาตรการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มกำลังซื้อและหนุนให้ความต้องการซื้อรถจักรยานยนต์จากกลุ่มแรงงานนอกภาคเกษตรฟื้นตัวได้เข้มแข็งมากขึ้น ทั้งนี้สำหรับภาคการส่งออกรถจักรยานยนต์ในปี 2568 คาดว่าจะสามารถกลับมาขยายตัวได้ เพราะอุปสงค์จากคู่ค้าสำคัญทยอยปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งในญี่ปุ่น ยุโรป และจีน ตลาดรถยนต์นั่งไฟฟ้า (Hybrid และ BEV) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปี 2568 ยอดขายรถกลุ่มนี้จะอยู่ที่ราว 2.1 แสนคัน หรือคิดเป็น 30% ของยอดขายรถยนต์ในประเทศทั้งหมด โดยตลาดรถไฮบริดนับเป็นแรงส่งสำคัญเพราะผู้บริโภคมีการเปิดรับรถกลุ่มนี้มากขึ้น ทั้งในรถระดับกลาง (ราคา 5 แสน – 1 ล้านบาท) รวมถึงตลาดรถหรู ขณะที่ยอดขายรถ BEV มีแนวโน้มขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และคาดว่าส่วนแบ่งตลาดในระยะปานกลางจะทรงตัวอยู่ที่ 10% ของยอดขายรถยนต์ในประเทศ ทั้งนี้ปัจจัยฉุดรั้งการเปิดรับรถ BEV จากฝั่งผู้บริโภคเกิดจากความกังวลใน 4 ประเด็นสำคัญ คือ 1) ความไม่เพียงพอของสถานีชาร์จสาธารณะ 2) ปัญหาอุปทานอะไหล่ยนต์ในประเทศและตัวเลือกอู่ซ่อมบำรุงรายย่อยยังมีค่อนข้างจำกัด 3) ผลพวงจากสงครามราคารถ BEV ที่ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทยอยปรับลดลง และ 4) ต้นทุนการถือครองบางส่วนยังอยู่ในระดับสูง อาทิ เบี้ยประกันและอัตราการเสื่อมมูลค่า ทั้งนี้ หากพิจารณาพัฒนาการห่วงโซ่อุปทาน EV ในประเทศไทยจะพบว่า กำลังการผลิตรถยนต์ BEV ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยภายในปี 2568 - 2571 จะขยายตัวสู่ระดับ 6 แสนคัน/ปี ไม่เพียงเท่านี้ การลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ ก็เติบโตสอดรับกับการผลิตรถยนต์เช่นกัน โดยเฉพาะการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า สถานีอัดประจุ/สลับแบตเตอรี่ และธุรกิจผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ EV ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้ประกอบการชาวไทย           อ่านต่อบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม https://www.scbeic.com/th/detail/product/automotive-071124 ผู้เขียนบทวิเคราะห์ :  ฐิตา เภกานนท์ นักวิเคราะห์อาวุโสศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC)

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011