ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#ERW


เช็กหุ้นโรงแรม รับท่องเที่ยวโตต่อ ชู ERW เด่นสุด!

เช็กหุ้นโรงแรม รับท่องเที่ยวโตต่อ ชู ERW เด่นสุด!

             หุ้นวิชั่น - บล.เคจีไอ จับตาหุ้นโรงแรม เชื่อว่าใน 1Q68F ภาคการท่องเที่ยวน่าจะยังดีต่อ เพราะประเทศไทยยังอยู่ในช่วงพีคของการท่องเที่ยว ทั้งนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาประเทศไทยในปี 2567 พุ่งขึ้นอยู่ที่ 35.5 ล้านคน (+26.3% YoY) ซึ่งใกล้เคียงกับประมาณการของเรา              นอกจากนี้ยังคิดเป็น 89% ของระดับก่อนโควิด-19 ส่วนปี 2568F นี้ KGI คาดว่าจำนวนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 38 ล้านคน (+6.9% YoY) ซึ่งสะท้อนถึงการฟื้นตัวต่อเนื่องสู่ระดับก่อนโควิด-19 (39.8 ล้านคนในปี 2562)              ขณะที่เราเชื่อว่าธุรกิจโรงแรมใน 1Q68F น่าจะยังคงดีอยู่ จากการที่ประเทศไทยยังอยู่ในช่วงพีคของการท่องเที่ยว อีกทั้งแนวโน้มภาคการท่องเที่ยวน่าจะได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐบาลในปี 2568F โดยที่เรายังคงให้น้ำหนักลงทุนกลุ่มนี้ที่ “มากกว่าตลาด” โดยที่เราเลือก ERW เป็นหุ้นเด่นสุดในกลุ่ม จากที่มีฐานกลุ่มโรงแรมราคาประหยัด (budget) คงให้น้ำหนักลงทุน “มากกว่าตลาด” โดยเราเลือก ERW เป็นหุ้นเด่นสุดในกลุ่ม เรายังคงมองกลุ่มโรงแรมเป็นบวก โดยคาดว่าจะเห็นการฟื้นตัวต่อเนื่องในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ขณะที่เรายังคงให้น้ำหนักลงทุนกลุ่มนี้ที่ “มากกว่าตลาด” ทั้งนี้ เราเลือก ERW เป็นหุ้นเด่นสุดในกลุ่ม จากที่มีฐานโรงแรมราคาประหยัด (budget hotel) แข็งแกร่งและการขยายธุรกิจต่อเนื่อง โดยที่เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” ERW ประเมินราคาเป้าหมายปี 2568F ที่ 5.20 บาท (อิงจาก EV/EBITDA ที่ 13.4x หรือเท่ากับ -0.75 S.D.)

เปิด 2 ปัจจัยหนุน ERW รายได้โตต่อ เล็งเป้าที่ 4.30บ.

เปิด 2 ปัจจัยหนุน ERW รายได้โตต่อ เล็งเป้าที่ 4.30บ.

           หุ้นวิชั่น - บล.เอเอสแอ ประเมินหุ้น ERW โดยบริษัทคาดรายได้ทั้งปีจะสามารถโตได้ในระดับ 10% โดยมาจาก กลุ่มโรงแรม Economy to Luxury ในไทย คาดโตได้ราว 5-7% YoY จากการปรับค่าห้องขึ้นราว 4% และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย กลุ่มโรงแรม Budget (เครือ Hoop Inn) ในไทยที่คาดจะโตได้โดดเด่น 23% YoY จากการขยายโรงแรมในปีก่อนกว่า 13 แห่ง และตั้งเป้าเปิดเพิ่มอีก 10 แห่งในปีนี้ (ไตรมาสที่ 1-3 คาดจะเปิดได้ไตรมาสละ 3 แห่ง และไตรมาสที่ 4 อีก 1 แห่ง) โดยบริษัทตั้งงบลงทุนปีนี้ที่ 2 พันล้านอีกด้วย            นอกจากนี้ ฝ่ายวิจัยมองแนวโน้มในช่วง 1Q25 เติบโตได้ราว 10% QTD ตามเป้าที่บริษัทวางไว้ จำนวนนักท่องเที่ยวเข้าสู่ไทย 8.3 ล้านคน YTD แนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 4.30 บาท            ฝ่ายวิจัยคาดรายได้ของปี 2025 จะเติบโตในระดับ 8% อยู่ที่ 8.5 พันล้านบาท โดยต่ำกว่าที่บริษัทคาด เนื่องจากการฟื้นตัวช้าของนักท่องเที่ยวจีนและยุโรปที่อาจไม่เป็นไปตามแผน และมีกำไรปกติ (Core Profit) ที่ 1.06 พันล้านบาท +17.4% YoY ฝ่ายวิจัยประเมินราคาเหมาะสมอยู่ที่ 4.3 บาทต่อหุ้น อิง PE ที่ 20 เท่า (ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 2 ปี 24 เท่า) มองว่าเหมาะสม

ERW กำไรปี 67 โตแรง 72% รับรู้รายการพิเศษ-นทท. ฟื้น หนุนโรงแรม

ERW กำไรปี 67 โตแรง 72% รับรู้รายการพิเศษ-นทท. ฟื้น หนุนโรงแรม

            หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (ERW) เปิดเผยผลการดำเนินงานในปี 2567 บริษัทฯ บันทึกกำไรสุทธิ เมื่อรวมผลรายการพิเศษจากส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมที่ใช้วิธีส่วนได้เสีย กำไรจากผลต่างของสินทรัพย์สิทธิการใช้และหนี้สินตาม สัญญาเช่าจากการเปลี่ยนแปลงสัญญาเช่า และการกลับรายการขาดทุนจากการด้อยค่าที่ดิน อาคาร และ อุปกรณ์ จำนวน 1,281 ล้านบาท หรือ เติบโตร้อยละ 72 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนผลประกอบการไม่รวมรายการพิเศษในปี 2567 บริษัทฯ บันทึกรายได้รวมเท่ากับ 7,917 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปี 2566 และบันทึกกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) เท่ากับ 2,645 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับปี 2566 ส่งผลให้สามารถบันทึกกำไรสุทธิสูงสุดเป็นประวัติการณ์จำนวน 906 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับปี 2566             ทั้งนี้กลุ่มลูกค้าหลักของกลุ่มโรงแรมระดับ 5 ดาวจนถึงชั้นประหยัดกว่าร้อยละ 90 เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลให้ปัจจัยหลักที่สนับสนุน การดำเนินงานของโรงแรมกลุ่มนี้ คือ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศ โดยในไตรมาส 4/2567 มีจำนวนนักท่องเที่ยวที่ เดินทางเข้ามาในประเทศไทย จำนวน 9.5 ล้านคน เติบโตร้อยละ 18 จากไตรมาส 4/2566 และคิดเป็นการฟื้นตัวร้อยละ 84 ของไตรมาส 4/2562 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19โดยมีกลุ่มนักท่องเที่ยว 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน มาเลเซีย และอินเดีย และสำหรับปี 2567 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศ 35.5 ล้านคน สูงกว่าเป้าหมายที่การท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทยตั้งไว้ที่จำนวน 35 ล้านคน เติบโตร้อยละ 27จากปี 2566 และคิดเป็นการฟื้นตัวร้อยละ 87 ของปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงเวลา ก่อนเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยมีกลุ่มนักท่องเที่ยว 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน มาเลเซีย และอินเดีย จากกลยุทธ์ในการปรับเพิ่มราคาของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปี 2567 โรงแรมในกลุ่มนี้มีรายได้เฉลี่ยต่อห้องพักเติบโต ร้อยละ 9 จากปี 2566 โดยยังคงรักษาอัตราการเข้าพักที่ระดับเดียวกับปีก่อน ในขณะที่กลุ่มโรงแรมชั้นประหยัดมีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น ด้วยเติบโตของรายได้เฉลี่ยต่อห้องพักที่ร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับปี 2566 ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับขึ้นของค่าห้องพักเฉลี่ยที่ร้อยละ 11 และอัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4             ปี 2567 โรงแรมในกลุ่มนี้มีรายได้จากการดำเนินงานรวม 6,039 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากงวดเดียวกันของปีก่อน โดยมีรายได้จากอาหารและเครื่องดื่มเป็นจำนวน 1,401 ล้านบาท ใกล้เคียงกับงวดเดียวกันของปีก่อน และกำไรระดับ EBITDA 2,260 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 จากงวดเดียวกันของปีก่อน กลุ่มลูกค้าหลักของกลุ่มโรงแรมบัดเจ็ท (ฮ็อป อินน์) ประเทศไทย เป็นลูกค้าคนไทยเกือบทั้งหมด ทั้งซึ่งมีวัตถุประสงค์ส่วนใหญ่กว่าร้อย ละ 70 เป็นการเดินทางเพื่อธุรกิจ ส่งผลให้ปัจจัยหลักที่สนับสนุนการดำเนินงานโรงแรมกลุ่มนี้ คือ ภาพรวมเศรษฐกิจไทย ซึ่งในไตรมาส 4/67 เติบโตร้อยละ 3.2และการเดินทางภายในประเทศ โดยในไตรมาส 4/67 มีนักเดินทางในประเทศจำนวน 71 ล้านคน เติบโตร้อยละ 5 จากไตรมาส 4/66 และตลอดทั้งปี 2567 มีนักเดินทางจำนวน 270 ล้านคน เติบโตร้อยละ 8 จากปี 2566 แนวโน้มธุรกิจของบริษัทฯ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยปี 2568 คาดการณ์เติบโตอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนการท่องเที่ยว โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปี 2568 จะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ที่ 40 ล้านคน โดยใน ภาพรวมปี 2568 บริษัทฯประมาณการเป้าหมายการเติบโตของรายได้ที่ร้อยละ 10 โดยแบ่งเป็นการเติบโตของกลุ่มโรงแรมระดับ 5 ดาว ถึงประหยัดที่ร้อยละ 5-7 และกลุ่มโรงแรมบัดเจ็ทเติบโตที่ร้อยละ23 จากปี2567 และดำเนินการพัฒนาและขยายการลงทุนอย่าง ต่อเนื่องตามแผนระยะยาวที่วางไว้ โดยมุ่งเน้นการลงทุนทั้งในโรงแรมระดับกลางโดยการเข้าทำสัญญาเช่าที่ดินระยะยาวบริเวณ รถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีพร้อมพงษ์ เพื่อเตรียมการเปิดโรงแรมในอนาคต และการปรับปรุงโรงแรมระดับ 5 ดาวถึงชั้นประหยัดที่มีอยู่เพื่อ เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าและตลาดอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังลงทุนใน โรงแรมระดับบัดเจ็ทเพื่อเพิ่มสัดส่วนรายได้และกำไรที่เกิดจากฐานลูกค้าผู้ใช้บริการทั้งในและต่างประเทศเพื่อสร้างการเติบโตที่มี เสถียรภาพในระยะยาว โดย ณ สิ้นไตรมาส 4/67 บริษัทฯ มีโครงการอยู่ระหว่างการพัฒนาในประเทศไทย จำนวน 11 แห่ง และในปี 2568 บริษัทฯ มีแผนในการเปิดโรงแรมใหม่ในกลุ่มโรงแรมระดับบัดเจ็ท จำนวน 10 สาขา             อย่างไรก็ตาม ปี 2568 ยังคงมีปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯ เช่น การผันผวนของค่าเงิน สภาวะ เศรษฐกิจโลก สงครามระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และนโยบายของรัฐบาล บริษัทฯ ได้ติดตามปัจจัย เหล่านี้อย่างใกล้ชิดและปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยคำนึงสถานการณ์และสภาพคล่องของ บริษัทฯ เป็นปัจจัยสำคัญ

ERW คาดเด่นสุดในกลุ่ม รับท่องเที่ยวบูม

ERW คาดเด่นสุดในกลุ่ม รับท่องเที่ยวบูม

           หุ้นวิชั่น - บล.เคจีไอ ประเมินหุ้นกลุ่มโรงแรม โดยคาดว่ากำไรใน 4Q67F ของผู้ประกอบการโรงแรมทั้งสามรายที่ศึกษาอยู่จะฟื้นตัวต่อเนื่อง YoY หนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวไทย เมื่อมองไปข้างหน้าใน 1Q68 แนวโน้มน่าจะยังดีต่อเนื่องจากเป็นช่วงพีคของการท่องเที่ยว นอกจากนี้ มุมมองต่อธุรกิจน่าจะได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในปี2568 ตามที่รัฐบาลกำลัง เตรียมมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในปีนี้            ฝ่ายวิจัยยังคงประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปี2568F อยู่ที่38 ล้านคน โดยจำนวนนักท่องเที่ยวปี2567F จะคิดเป็น 89% ของระดับก่อน COVID ปัจจุบัน ฝ่ายวิจัยยงัคงให้น้ำหนักลงทุนกลุ่มนี้“มากกว่าตลาด” โดยเลือก The Erawan Group (ERW.BK/ERW TB)* เป็นหุ้นเด่นสุดในกลุ่ม

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

ERW ผู้พัฒนาลงทุนในธรุกิจโรงแรมชั้นนำ [HoonVision x FynnCorp]

ERW ผู้พัฒนาลงทุนในธรุกิจโรงแรมชั้นนำ [HoonVision x FynnCorp]

Key Highlights: ERW หนึ่งในผู้เล่นรายใหญ่ของหุ้นกลุ่ม Tourism ได้รับปัจจัยบวกจากจำนวนนักท่องที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง บริษัทลงทุนและพัฒนาธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น คลุมตั้งแต่ระดับ 5 ดาว จนถึงบัดเจ็ท ภายใต้แบรนด์ เช่น Grand Hyatt Erawan, Novotel, Mercure, Holiday Inn, Ibis และ HOP INN แผนขยายการลงทุนกลุ่มโรงแรมที่เติบโต เช่น กลุ่มโรงแรมบัดเจ็ท และเพิ่มสัดส่วนรายได้และกำไรจากฐานลูกค้าในต่างประเทศ กลุ่มธุรกิจโรงแรมแนมโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รายงานตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในไทยปี 2567 อยู่ที่ 35.5 ล้านคน โตขึ้น 26.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีน ซึ่งยังคงเป็นกลุ่มหลักแม้จะยังไม่ฟื้นตัวเท่าระดับเดียวกับปี 2562 คิดเป็น 18.9% ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด ตามมาด้วยนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย 13.9% อินเดีย 6% เกาหลี 5.3% รัสเซีย 4.9% ไต้หวันและญี่ปุ่น ตามลำดับ ซึ่งสร้างรายได้มากกว่า 1.6 ล้านล้านบาท โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลาง เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพและขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับภาครัฐบาลได้กระตุ้นการท่องเที่ยวต่างชาติผ่านนโยบายฟรีวีซ่า ขณะเดียวกัน การท่องเที่ยวในประเทศยังคงเติบโตจากมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐ อย่างเช่น มาตรการลดหย่อนภาษีที่มาจากการท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในเมืองรอง ส่งผลให้การท่องเที่ยวเมืองรองในปี 2567 ที่ผ่านมาเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ รัฐบาลได้ตั้งเป้ารายได้จากการท่องเที่ยวในปี 2568 ขยายตัว 7.5% รวมมูลค่าประมาณ 3.4 ล้านล้านบาท ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดการณ์ไว้อยู่ที่ 40 ล้านคน และการเตินทางภายในประเทศคาดไว้มากกว่า 205 ล้านครั้ง จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มเติบโตทั้งจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ ประกอบกับมาตรการส่งเสริมจากภาครัฐ จึงส่งผลบวกต่อธุรกิจโรงแรม ทั้งด้านอัตราการเข้าพักและราคาห้องพัก อีกทั้งทางผู้ประกอบการก็ได้มีการปรับปรุงห้องพัก รวมถึงยกระดับการบริการ ทำให้ราคาห้องพักเฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในโรงแรมระดับ 4 ดาวขึ้นไป โดย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC) ได้วิเคราะห์ถึงอัตราการเข้าพัก และราคาห้องพักเฉลี่ยในปี 2568 กลับมาสูงกว่าช่วงปี 2562 แต่เป็นการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป ด้วยอัตราการเข้าพักคาดว่าอยู่ที่ 74% และราคาห้องเฉลี่ยอยู่ที่ 2,056 บาทต่อคืนต่อห้อง The Erawan Group Public Company Limited [Ticker: ERW] บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (ERW) ถือว่าเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการโรงแรมที่ได้รับปัจจัยบวกข้างต้น ส่งผลให้กลุ่มบริษัทสามารถฟื้นตัวได้อย่างดี และมีผลการดำเนินงานเติบโตต่อเนื่องในปัจจุบัน โดยจุดเริ่มต้นของ ERW มาจากกลุ่มผู้ก่อตั้งบริษัทจาก 3 ตระกูล ได้แก่ คุณอิสระ ว่องกุศลกิจ, คุณสุพล วัธนเวคิน และคุณวิทย์ เจนวัฒนวิทย์ ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในปี 2525 ซึ่งเดิมชื่อ บริษัท อัมรินทร์ พลาซ่า จำกัด ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีอาคารสำนักงานและศูนย์การค้าให้เช่าในระยะแรก ต่อมา ได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนในปี 2531 จนในปี 2537 ได้เริ่มประกอบธุรกิจลงทุน พัฒนาและดำเนินธุรกิจโรงแรมเป็นธุรกิจหลัก โดยมีธุรกิจอื่น อย่างธุรกิจให้เช่าพื้นที่อาคาร และรับจ้างบริหารอาคาร รองลงมา กระทั่งเปลี่ยนชื่อเป็น "บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)" ในปี 2548 และดำเนินธุรกิจเช่นนี้มาจนถึงปัจจุบัน ธุรกิจโรงแรม ปัจจุบัน บริษัทมีโรงแรมและรีสอร์ตรวม 89 แห่ง ห้องพักจำนวน 11,545 ห้อง (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 67) ซึ่งอยู่ในไทยเป็นหลัก (74 แห่ง) รวมถึงในฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น ภายใต้แบรนด์โรงแรมชั้นนำทั้ง 10 แบรนด์ แบ่งไปในแต่ระดับ ได้แก่ โรงแรมระดับ 5 ดาว - Grand Hyatt Erawan, JW Marriott และ The Naka Island a Luxury Collection โรงแรมระดับกลาง - Courtyard by Marriott, Novotel, Mercure และ Holiday Inn โรงแรมชั้นประหยัด - Ibis Style และ Ibis โรงแรมบัดเจ็ท - HOP INN ซึ่งมีทั้งในไทย ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น ในการบริหารโรงแรมดังกล่าว ERW มีการจ้างบริษัทผู้รับจ้างบริหารโรงแรมที่เป็นองค์กรชั้นนำ มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ 3 ราย อย่าง Hyatt International, Marriott International และ IHG เพื่อบริหารโรงแรมทั้งหมด 5 แห่ง รวมถึงได้รับสิทธิ์สัญญาแฟรนไชส์ ภายใต้การบริหารของ 1) AccorHotels ซึ่งประกอบไปด้วยแบรนด์ Novotel, Mercure, Ibis, Ibis Style และ 2) IHG ได้แก่ Holiday Inn นอกจากนี้ บริษัทได้มีการพัฒนาแบรนด์ของตนเอง อย่าง HOP INN ซึ่งบริษัทเป็นเจ้าของและบริหารงานเอง มีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นในประเทศที่เดินทางเป็นประจำ ธุรกิจพื้นที่ให้เช่าและบริหารอาคาร นอกจากธุรกิจโรงแรม บริษัทยังมีธุรกิจพื้นที่ให้เช่า อย่าง อาคารเอราวัณ แบงค็อก ซึ่งเป็นศูนย์การค้าระดับไฮเอนด์ มีพื้นที่ให้เช่า ประมาณ 6,554 ตารางเมตร (5 ชั้น) และธุรกิจงานบริหารอาคาร ได้แก่ อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานและพื้นที่ให้เช่า ประมาณ 42,847 ตารางเมตร (25 ชั้น) ซึ่งมีกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไพร์มออฟฟิศ เป็นเจ้าของอาคาร โครงสร้างรายได้ บริษัทมีรายได้จากกลุ่มโรงแรมระดับ 5 ดาวเป็นหลัก หรือ คิดเป็น 40% ของรายได้จากการดำเนินงานในปี 2566 ตามด้วยรายได้จากกลุ่มโรงแรมระดับกลาง 27% โรงแรมชั้นประหยัด 13% และกลุ่มโรงแรม HOP INN ในไทย (12%) ฟิลิปปินส์ (7%) ตามลำดับ ขณะที่ธุรกิจการเช่าพื้นที่มีสัดส่วนรายได้ส่วนน้อย (1%) และหากดูเป็นรายได้ตามพื้นที่ พบว่า กรุงเทพฯ ยังคงเป็นโซนที่สร้างรายได้หลักให้กลุ่มบริษัท หรือ คิดเป็น 62% ของรายได้จากการดำเนินงานรวมในปีเดียวกัน รายได้ตามกลุ่มธุรกิจและตามพื้นที่ (2566) ในด้านอัตราการเข้าพัก (Occupancy) มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่มโรงแรมทุกระดับ โดยเฉพาะในกลุ่มโรงแรมระดับกลางและชั้นประหยัด และส่วนของค่าห้องพักเฉลี่ย (ARR) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นค่อนข้างสอดคล้องไปกับอัตราการเข้าพัก ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อห้องพักในภาพรวม (RevPAR) เติบโตในอัตราสูงมากกว่า 50% สะท้อนการฟื้นตัวของโรงแรมที่มากทั้งราคาที่สูงขึ้นและอัตราการเข้าพักที่ดีขึ้น สถิติการดำเนินงานด้านห้องพัก (2566) ผลการดำเนินงาน รายได้จากการดำเนินงาน (รายได้จากการประกอบกิจการโรงแรม ค่าเช่าและบริการ) อยู่ที่ 5,657 ล้านบาทใน 9 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวขึ้นประมาณ 11% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) แม้ว่าในไตรมาส 3 ปี 2567 ผลประกอบการได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ฝนตก น้ำท่วม รวมถึงจากเหตุการณ์ Hyatt Incident ซึ่งล้วนเป็น One off event โดยรายได้สอดคล้องไปกับกำไรสุทธิที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมีการขยายตัวสูงขึ้นกว่า 71% YoY ส่วนหนึ่งมาจากส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและกำไรจากผลต่างของสินทรัพย์สิทธิการใช้และหนี้สินจากการเปลี่ยนแปลงสัญญาเช่าที่เพิ่มเข้ามา แต่หากพิจารณากำไรสุทธิก่อนรายการพิเศษดังกล่าว จะเพิ่มขึ้น 5% YoY อย่างไรก็ตาม แม้อัตราการเข้าพักจะลดลงเล็กน้อยในช่วง 9 เดือน จาก trend การท่องเที่ยวที่ปรับตัวต่ำลง ท่ามกลางค่าเงินบาทค่อนข้างแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลอื่น แต่ในภาพรวม อัตราการเข้าพักยังคงรักษาระดับได้ดีอยู่ที่ประมาณ 80% และบริษัทยังคงมีอัตราค่าห้องพักเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น (ARR) ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก (RevPAR) เฉลี่ยสูงขึ้นที่ประมาณ 5% YoY จากปัจจัยบวกของนักท่องเที่ยวชาวจีนและอินเดีย รวมถึงมาตรการฟรีวีซ่าของภาครัฐ โดยเฉพาะกลุ่มโรงแรมชั้นประหยัดเติบโตถึง 15% YoY สถิติการดำเนินงานด้านห้องพัก (9M2567) แผนการเติบโตผ่านการพัฒนาและขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในปี 2567 ที่ผ่านมา บริษัทเปิดตัวโรงแรมใหม่รวม 13 แห่ง ทั้งในไทย ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น ทั้งหมด 1,257 ห้อง โดย ณ สิ้นไตรมาส 3/2567 บริษัทมีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาในไทยจำนวน 12 แห่ง ซึ่งจะมุ่งเน้นการลงทุนกลุ่มโรงแรมบัดเจ็ท ประกอบกับเพิ่มสัดส่วนรายได้และกำไรจากฐานลูกค้าในต่างประเทศ และปรับปรุงโรงแรมระดับ 3-5 ดาว เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลง Risk Factors ความเสี่ยงด้านการกระจุกตัวของสินทรัพย์ จากการที่ธุรกิจโรงแรมของบริษัทกระจุกตัวอยู่ในประเทศไทยเป็นหลักและในประเทศฟิลิปปินส์ หากเกิดเหตุการณ์สำคัญหรือวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่กระทบการท่องเที่ยวในพื้นที่ดังกล่าว อาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลประกอบการของบริษัท บริษัทจึงเน้นการลงทุนให้คลอบคลุมทั้งเมืองหลักและเมืองรอง และในอนาคต จะมีการวางแผนลงทุนขยายเครือข่ายโรงแรมไปในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพื่อให้เกิดการกระจายสินทรัพย์อย่างต่อเนื่อง ความเสี่ยงด้านการแข่งขัน ธุรกิจโรงแรมเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง มีผู้ให้บริการรายใหม่เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อผลประกอบการทางการเงิน แต่ด้วยทำเลที่ตั้งและแบรนด์ที่แข็งแกร่งของบริษัท ทำให้มีความได้เปรียบการแข่งขัน รวมถึงมีการขยายโรงแรมไปในระดับบัดเจ็ท ซึ่งมีการแข่งขันน้อยกว่าตลาดอื่น เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าในปัจจุบันมากขึ้น ความเสี่ยงจากการขยายการลงทุนไปต่างประเทศ จากแผนการขยายการลงทุนในต่างประเทศ ทำให้บริษัทมีความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน การเปลี่ยนแปลงมูลค่าการลงทุน ความล่าช้า กฎระเบียบต่างๆ อย่างไรก็ตาม บริษัทมีการป้องกันความเสี่ยงโดยมีมาตรการควบคุมดูแลโครงการลงทุนในต่างประเทศ ด้วยการทำ Due Diligence วางแผนขั้นตอนการลงทุนอย่างละเอียด รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Natural Currency Hedging) และประเมินความเสี่ยงทางการตลาดและการเมืองอย่างสม่ำเสมอ หุ้น ERW ERW ถือเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในกลุ่มท่องเที่ยว (Tourism) ด้วยมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด ณ วันที่ 6 ก.พ. 2568 อยู่ที่ 15,833.65 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิที่เติบโตโดดเด่น อยู่ที่ 902.9 ล้านบาท ในงวด 9 เดือนปี 2567 ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากรายการพิเศษ ประกอบกับผลการดำเนินงานที่ปรับตัวดีขึ้น จึงส่งผลให้อัตรากำไรสุทธิ (NPM) เพิ่มขึ้นมาที่ 15.8% ในช่วงเวลาเดียวกัน และกำไรต่อหุ้น (EPS) สูงขึ้นมาอยู่ที่ 0.19 ขณะเดียวกัน บริษัทมีอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) และ อัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น (ROE) เพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 7.46% และ 15.92% ตามลำดับในงวด 9 เดือน และตัวอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E) ลดลงมาอยู่ที่ 2.18 เท่า สะท้อนแนวโน้มที่ดีขึ้นทั้งด้านกำไร ความมั่นคงทางการเงิน และผลตอบแทนผู้ถือหุ้น ในเรื่องการจ่ายปันผล ERW มีอัตราส่วนเงินปันผลตอบเทน (Dividend Yield) ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 อยู่ที่ 1.45% ขณะที่ หุ้นในกลุ่ม Tourism มีอัตราดังกล่าวอยู่ที่ 1.54% แสดงให้เห็นว่า บริษัทมุ่งเน้นการขยายธุรกิจให้เป็นไปตามแผนระยะยาวมากกว่าการจ่ายปันผลได้ ซึ่งเมื่อดูราคาหุ้นเทียบกับกำไรต่อหุ้น (P/E) ในช่วงเวลาเดียวกัน P/E ของ ERW อยู่ที่ 19.2 เท่า และของกลุ่มท่องเที่ยวอยู่ที่ 29.8 เท่า อ่านรายละเอียดเพิ่ม คลิก https://app.visible.vc/shared-update/ce31f0e8-b51a-4810-8fe0-ffc9acb409dd

ERW โรงแรมโตตามซีซั่น ท่องเที่ยวหนุนผลงานแกร่ง -เป้า 4.80 บาท

ERW โรงแรมโตตามซีซั่น ท่องเที่ยวหนุนผลงานแกร่ง -เป้า 4.80 บาท

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด ระบุถึง ERW "ซื้อ" (ราคาเหมาะสม 4.80 บาท) "งวด 4Q67F คาดกำไรหลักราว 290 ลบ. +133%QoQ , +42% YoY"           งวด 4Q67 คาดรายได้จากการดำเนินงานที่ 2,182 ล้านบาท +18%QoQ, +16%YoY เติบโตจากทุกกลุ่มโรงแรมตาม season ของธุรกิจ ทั้งกลุ่มโรงแรมระดับ 5 ดาว กลุ่มโรงแรมระดับกลาง กลุ่มโรงแรมชั้นประหยัด และกลุ่มโรงแรมบัดเจ็ท (Hop Inn) โดยคาดว่ากลุ่มบริษัทรวมมีอัตราการเข้าพัก (Occ. Rate) 81% +4%QoQ, -2%YoY มีอัตราค่าห้องเฉลี่ย (ARR) ที่ 2.06 พันบาท +13%QoQ, +11%YoY และมีรายได้ต่อห้อง (RevPAR) 1.67 พันบาท +19%QoQ, +9%YoY มีสมมติฐาน EBITDA Margin ที่ระดับ 33.4% เพิ่มขึ้นจากระดับ 29.8% และ 31.9% ในงวด 3Q67 และ 4Q66 ตามลำดับ สาเหตุหลักเนื่องจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่มากกว่าการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ส่งผลให้เราคาดกำไรหลักราว 290 ล้านบาท +133%QoQ, +42%YoY           • ปี 67-68 คาดรายได้จากการดำเนินงานจำนวน 7,839 ล้านบาท +12%YoY และ 8,466 ล้านบาท +8%YoY ตามลำดับ โดยรายได้ที่เติบโตต่อเนื่องมาจากการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศ ประกอบกับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ ในปี 67 บริษัทมีการเปิดโรงแรม Hop Inn จำนวน 13 แห่งทั้งในประเทศไทย ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ สำหรับปี 68 รายได้เติบโตจากกลุ่มโรงแรมเดิม และโรงแรม Hop Inn ที่เปิดในปีก่อนหน้า มีสมมติฐาน EBITDA Margin ที่ระดับ 34% และ 32% ตามลำดับ จากการควบคุมค่าใช้จ่ายดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้บริษัทมีกำไรสุทธิหลักจำนวน 826 ล้านบาท +17%YoY และ 904 ล้านบาท +9%YoY ตามลำดับ           • ความเห็น เราประเมินราคาเหมาะสมด้วยวิธี EV/EBITDA โดยใช้ค่าเฉลี่ยย้อนหลังที่ระดับ 15.x EV/EBITDA คำนวณเป็นราคาเหมาะสมที่ 4.80 บาท มี upside 48% ขณะที่คาดการณ์อัตราผลตอบแทนเงินปันผล (Dividend Yield) ในอนาคตราว 2.3% ต่อปี เราจึงแนะนำ "ซื้อ"

ERW เล็งกำไรQ4โต70% เกินคาดพื้นฐาน4.40บ.

ERW เล็งกำไรQ4โต70% เกินคาดพื้นฐาน4.40บ.

          หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล. ดาโอ ระบุ คงคำแนะนำ “ถือ” ERW และราคาเป้าหมายปี 2025E ที่ 4.40 บาท อิง DCF (WACC 7.6%, terminal growth 2.5%)           คาดว่า ERW จะมีกำไรปกติ 4Q24E อยู่ที่ 350 ล้านบาท (+70% YoY, +179% QoQ) มากกว่าที่คาดเดิมที่ 280-300 ล้านบาท โดย 1) ภาพรวมรายได้เฉลี่ยต่อห้องที่ไม่รวม Budget (RevPAR) อยู่ที่ 3,050 บาท (+15% YoY, +22% QoQ) จาก High season ของไทยและญี่ปุ่น ส่วน Hop Inn ก็ยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และ 2) มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเพียง +4% YoY และ +9% QoQ (ปกติจะเพิ่มราว +15-20% QoQ) จากการบริหารค่าใช้จ่ายได้ดี รวมถึงดอกเบี้ยจ่ายลดลง -5% QoQ จากการนำเงินที่ได้จากการแปลงสิทธิ์ของ Warrant มาคืนเงินกู้เรายังคงประมาณการกำไรปกติปี 2025E ไว้ที่ 884 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +8% YoY ซึ่งเป็นการเติบโตที่น้อยที่สุดในกลุ่ม เนื่องจากจะมีการ Renovate ที่ Grand Hyatt Erawan ช่วง 3Q25E-4Q26E           ขณะที่คาดแนวโน้มกำไร 1Q25E จะยังเติบโตได้ทั้ง YoY/QoQ จาก High season ของไทยราคาหุ้น ERW ลดลง -3% และ -5% ในช่วง 1 เดือน และ 3 เดือนที่ผ่านมา จากนักท่องเที่ยวจีนที่ชะลอตัวลงจากข่าวความไม่ปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ขณะที่ความเสี่ยงในการต่อสัญญาที่แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณยังเป็น overhang ต่อเนื่อง ด้าน Valuation ซื้อขายที่ 2025E EV/EBITDA ที่ 15x (10-yr average EV/EBITDA) ซึ่งแพงกว่า CENTEL ที่ 12x และ MINT ที่ 10x

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

ครม. อนุมัติมาตรการ Easy e-receipt  แจกเงินดิจิทัลเฟส 2 - ขยายเวลาลดภาษี ผับ บาร์

ครม. อนุมัติมาตรการ Easy e-receipt แจกเงินดิจิทัลเฟส 2 - ขยายเวลาลดภาษี ผับ บาร์

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.กรุงศรี เผย ครม. มีมติเห็นชอบแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 2 ให้กลุ่มผู้สูงอายุ, อนุมัติมาตรการ Easy e-receipt และขยายเวลาลดภาษีสรรพสามิต ผับ บาร์ ไนต์คลับ อีก 1 ปี เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว บทวิเคราะห์มองเป็นบวกต่อหุ้นในกลุ่ม Domestic Play ที่จะได้ประโยชน์ อาทิ ค้าปลีก, ไฟแนนซ์, ร้านอาหาร และท่องเที่ยว (CRC, CPALL, SAWAD, CENTEL, ERW)

ERW โรงแรมฟื้นตัวแกร่ง โบรกปรับเป้าใหม่ปี 68 ที่ 5.20บ.

ERW โรงแรมฟื้นตัวแกร่ง โบรกปรับเป้าใหม่ปี 68 ที่ 5.20บ.

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ERW คาดการฟื้นตัวแข็งแกร่งใน 4Q67F และปี 2568F ฝ่ายวิเคราะห์ปรับประมาณกำไรและราคาเป้าหมายใหม่เป็นสิ้นปี 2568 คาดจะเห็นกำไรฟื้นตัวแข็งแกร่งจาก 4Q67F เป็นต้นไป           หากมองไปที่ 4Q67 เราพบว่า อัตราการเข้าพัก (OCR) ของโรงแรมแกรนด์ ไฮแอทเอราวัณฟื้นตัวได้โดยกลับสู่ระดับปกติที่ 85-87% ในเดือนพฤศจิกายน (เทียบกับ 60% ใน 3Q67และเดือนตุลาคม) ชี้เป็นนัยว่า OCR ของโรงแรมในกลุ่ม 5 ดาวปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ค่าห้องพักเฉลี่ยรายวัน (Average Daily Rate: ADR) ของโรงแรมกลุ่มนี้ก็ดีขึ้น 7% YoYในเดือนพฤศจิกายนด้วย ทั้งนี้มองว่าผลการดำเนินงานโดยรวมของกลุ่มโรงแรมน่าจะดีขึ้นจากอุปสงค์ในเดือนพฤศจิกายนแข็งแกร่งขึ้น ท่ามกลางอุปสงค์ในกลุ่ม MICE และบริษัทแข็งแกร่งเช่นกัน โดยที่ปัจจัยดังกล่าวนี้ น่าจะหนุนให้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ มากยิ่งขึ้น ส่วนอัตราการเข้าพักของโรงแรมที่ไม่ใช่ Hop Inn น่าจะเร่งตัวขึ้นจาก 79% ใน 3Q67 สู่ระดับปกติราว 80-85% ในเดือนพฤศจิกายน นอกจากนี้โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ พัทยาได้ปรับปรุงเสร็จเรียบร้อยไปแล้วเมื่อเดือนกันยายน ส่งผลให้อัตราการเข้าพักสูงขึ้นที่ 80% ในเดือนพฤศจิกายนพร้อมด้วย ADR สูงขึ้นอยู่ที่ 4,000 บาท (+10% จากระดับก่อนหน้า)แผนการปรับปรุงโรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณและห้องแกรนด์บอลรูม สำหรับโรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ           บริษัทวางแผนที่จะปรับปรุงห้องแกรนด์บอลรูมด้วยการทยอยปรับปรุงห้องพักไปทีละชั้นในช่วง 3Q68-4Q69 กรณีนี้อาจส่งผลต่ออัตราการเข้าพักราว 5% ขณะที่ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณยังอยู่ระหว่างการต่อสัญญาเช่าระยะยาวกับภาครัฐ ซึ่งผลสรุปในขั้นสุดท้ายจะใช้เวลาพอสมควรเนื่องจากที่ดินนี้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ปรับประมาณการกำไรปี 2567F และ 2568F ใหม่           เมื่อพิจารณาจากผลการดำเนินงานใน 9M67 รายได้ต่อห้องต่อคืน (RevPar) ของ ERW อยู่ที่ 1,487 บาทต่อคืน (OCR อยู่ที่ 79% และ ADR อยู่ที่ 1,876 บาทต่อคืน) ซึ่งสูงกว่าใน 9M66 (ที่ 1,417 บาทต่อคืน) ราว 5% ขณะที่ฝ่ายวิเคราะห์ปรับประมาณการกำไรใหม่ในปี 2567-2568F เนื่องจากต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีสูงกว่าคาด ส่งผลให้เราคาดว่ากำไรสุทธิใหม่ของบริษัทปี 2567F จะเพิ่มจากเดิมเป็น 1,160 ล้านบาท ส่วนปี 2568F ลดลงจากเดิมอยู่ที่ 845 ล้านบาท แต่หากไม่รวมรายการพิเศษต่าง ๆ แล้ว คาดกำไรปกติอยู่ที่ 793 ล้านบาทในปี 2567F และ 845 ล้านบาทในปี 2568F ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้น 1% ของ ADR จะส่งผลบวกต่อกำไรเพิ่มขึ้นราว 3% ขณะที่ค่าเช่าที่ดินเพิ่มขึ้น 1 ล้านบาท จะกระทบกำไรราว 0.1% Valuation & Action           ยังคงแนะนำซื้อ ERW โดยประเมินราคาเป้าหมายใหม่เป็นสิ้นปี 2568 ที่ 5.20 บาท (อิงจาก EV/EBITDA ที่ 13.4x หรือเท่ากับ -0.75 S.D.) จากเดิม 5.65 บาท (อิงจากสิ้นปี 2567) โดยการสะท้อนถึงความเสี่ยงต่าง ๆจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากห้องพักโรงแรมและการปรับปรุงโรงแรมแกรนด์ ไฮแอทเอราวัณตามแผนที่วางไว้

ERWฤดูท่องเที่ยวมาแล้ว! รายได้โต - เข้าพักพุ่ง 80%

ERWฤดูท่องเที่ยวมาแล้ว! รายได้โต - เข้าพักพุ่ง 80%

      หุ้นวิชั่น - ERW ปีนี้คาดรายได้เติบโต 14-15% และคาดการณ์อัตราเข้าพักเฉลี่ยที่ระดับ 80% พร้อมทั้งราคาห้องพักเติบโตเฉลี่ย 5-7% จากปี 2566 ลุยลงทุนโรงแรมบัดเจ็ท เพิ่มรายได้จากลูกค้าต่างประเทศ พร้อมปรับปรุงโรงแรม 3-5 ดาว สร้างการเติบโตระยะยาวอย่างมั่นคง มองท่องเที่ยวท้ายปี โตต่อ เข้าสู่ฤดูท่องเที่ยว จีน อินเดีย ยุโรปหนุน           นางสาวอภิญญา งามอภิชน  รองกรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่การเงิน บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)หรือ ERW   ระบุในผลประกอบการไตรมาส 3/2567 ถึง แผนธุรกิในภาพรวมปี 2567 บริษัทฯ ยังคงประมาณการเป้าหมายการเติบโตของรายได้อยู่ที่ร้อยละ 14-15 และคาดการณ์อัตราเข้าพักเฉลี่ยที่ระดับร้อยละ 80 พร้อมทั้งราคาห้องพักเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5-7 จากปี2566 โดยดำเนินการพัฒนาและขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่องตามแผนระยะยาวที่วางไว้           บริษัทฯ มุ่งเน้นการลงทุนในกลุ่มโรงแรมบัดเจ็ทและเพิ่มสัดส่วนรายได้และกำไรที่เกิดจากฐานลูกค้าผู้ใช้บริการในต่างประเทศ เพื่อสร้างการเติบโตที่มีเสถียรภาพในระยะยาว ควบคู่กับการปรับปรุงโรงแรมระดับ 3-5 ดาว เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าและตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป โดย ณ สิ้นไตรมาส 3/2567 บริษัทฯ มีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาในประเทศไทยจำนวน 12 แห่ง           อย่างไรก็ตาม ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2567 ยังคงมีปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯ เช่น การผันผวนของค่าเงินบาท สภาวะเศรษฐกิจโลก สงครามระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และนโยบายของรัฐบาล บริษัทฯ จะติดตามปัจจัยเหล่านี้อย่างใกล้ชิดและปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง โดยคำนึงถึงสถานการณ์และสภาพคล่องของบริษัทฯ เป็นปัจจัยสำคัญ          อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2567 คาดว่าจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยภาครัฐคาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปี 2567 จะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ที่ 35 ล้านคน โดยได้รับแรงสนับสนุนจากกลุ่มนักท่องเที่ยวหลัก เช่น จีน อินเดีย และยุโรป รวมถึงการเพิ่มขึ้นของจำนวนเที่ยวบิน          ณ สิ้นไตรมาส 3/2567 บริษัทฯ มีกระแสเงินสดจากกิจกรรมการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานจำนวน 1,828 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 จากสิ้นไตรมาส 3/2566 จากผลการดำเนินงานที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน ในไตรมาส 3/2567 บริษัทฯ มีรายจ่ายเพื่อซื้อที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ และสินทรัพย์ไม่มีตัวตน รวมทั้งสิ้นจำนวน 2,763 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เกิดจากการลงทุนในโครงการโรงแรมใหม่ และโรงแรมที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงในประเทศไทยและฟิลิปปินส์ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโรงแรมใหม่ตามแผนกลยุทธ์การเติบโตระยะยาว บริษัทฯ มียอดเงินสดคงเหลือจำนวน 1,241 ล้านบาท และมีวงเงินสินเชื่อที่ยังไม่ได้เบิกใช้จำนวน 6,105 ล้านบาท

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

ERW Q4 โตต่อ การท่องเที่ยวไทย-ญี่ปุ่น หนุน โบรกแนะ

ERW Q4 โตต่อ การท่องเที่ยวไทย-ญี่ปุ่น หนุน โบรกแนะ "Trading Buy" เป้าหมาย 4.30 บ.

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.กรุงศรี แนะนำ "Trading Buy" สำหรับ ERW ที่ราคาเป้าหมาย 4.30 บาท หลังจากการประชุมนักวิเคราะห์ ผู้บริหารแสดงความมั่นใจต่อผลประกอบการใน 4Q24 โดยได้แรงหนุนจากการท่องเที่ยวที่แข็งแกร่งทั้งในไทยและญี่ปุ่น การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ และโรงแรมฮอลิเดย์อินน์พัทยา นอกจากนี้ แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงจะช่วยหนุน บทวิเคราะห์ยังคงประมาณการ FY24F ที่คาดว่าจะเติบโตทั้ง yoy และ qoq ปัจจุบัน ERW ซื้อขายที่ 24x PER 2025F และ 12x EV/EBITDA ซึ่งสอดคล้องกับค่าเฉลี่ยในอดีต คงเป้าหมายรายได้เติบโต 14-15% ในปี 2024F 1. แนวโน้มที่ดีใน 4Q24F โดยเติบโตทั้ง yoy และ qoq เนื่องจากผู้บริหารเน้นย้ำถึงอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในช่วงพฤศจิกายน-ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่นในตลาดไทยและญี่ปุ่น ตัวเลข QTD อัตราการเข้าพักของกลุ่มแตะ 80% ในขณะที่อัตราค่าห้องพักเฉลี่ย (ADR) อยู่ที่ 1,800 บาท แม้ว่า ADR จะลดลงเล็กน้อย yoy แต่ผู้บริหารคาดว่าอัตราจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายปี โดยเฉพาะในกลุ่มโรงแรมหรู 2. ผู้บริหารยังคงเป้าหมายการเติบโตของรายได้ปี 2024F ที่ 14-15% (เทียบกับ +11% ใน 9M24) โดย: i) การเพิ่มขึ้นของรายได้จากการเพิ่มโรงแรม โดยเฉพาะโรงแรม 4 แห่งในญี่ปุ่น ii) โรงแรมฮอลิเดย์อินน์พัทยาที่เพิ่งปรับปรุงใหม่ ซึ่งคาดว่าจะมีอัตราการเข้าพัก 80% และ ADR สูงกว่า 4,000 บาท (+10% เทียบกับก่อนปรับปรุง) iii) ปัจจัยหนุนตามฤดูกาลจากช่วงท่องเที่ยวไฮซีซั่น 3. ความคืบหน้าของแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ: i) อยู่ระหว่างการเจรจาสัญญาเช่าระยะยาวภายใต้สัญญา PPP ปัจจุบันบริษัทจ่ายค่าเช่ารายปี ii) วางแผนปรับปรุง (soft renovation) ใน 3Q25-4Q26 ด้วยงบประมาณประมาณ 500-600 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมีผลกระทบต่อการดำเนินงานไม่มากเท่าการปรับปรุงครั้งก่อน iii) การฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของอัตราการเข้าพักหลังเหตุการณ์ โดยคาดว่าอัตราในเดือนพฤศจิกายนจะอยู่ที่ 85-87% และธันวาคมจะใกล้เคียงกับระดับปีก่อน 4. ERW จะได้ประโยชน์จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาลง เนื่องจากมีหนี้สินปัจจุบัน 11 พันล้านบาท (อัตราส่วน IBD/E ที่ 1.5 เท่า) โดย 80% เป็นหนี้สกุลเงินบาท และทั้งหมดเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ผู้บริหารประมาณการว่าการลดลงของอัตราดอกเบี้ยจะช่วยประหยัดดอกเบี้ยจ่ายเดือนละ 1 ล้านบาท คงประมาณการผลประกอบการ แนะนำ Trading Buy ราคาเป้าหมาย 4.30 บาท - คาดว่าผลประกอบการจะมีการเติบโต qoq และ yoy ใน 4Q24F โดยกำไร 9 เดือนคิดเป็น 68% ของประมาณการกำไรปี 2567F ของเรา ดังนั้นเราจึงคงประมาณการปี 2024F - ยังคงคำแนะนำ "Trading Buy" ที่ราคาเป้าหมาย 4.30 บาท (อิงจาก DCF)

ERW ไตรมาส 3/67 กำไรที่ 124ล้าน นักท่องเที่ยวเพิ่มเติบโตหนุน

ERW ไตรมาส 3/67 กำไรที่ 124ล้าน นักท่องเที่ยวเพิ่มเติบโตหนุน

หุ้นวิชั่น - บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ERW ไตรมาส 3/67 บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) มีรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่องจากกลยุทธ์ในการปรับอัตราค่าห้องพัก ประกอบกับแรงสนับสนุนจากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐ อาทิ ฟรีวีซ่า และจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยจำนวน 8.6 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 จากไตรมาส 3/66           ผลประกอบการก่อนรายการพิเศษในไตรมาสนี้ บริษัทฯ บันทึกรายได้รวมเท่ากับ 1,856 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/66 และบันทึกกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) เท่ากับ 553 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/66 โดยมีกำไรสุทธิจำนวน 124 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/66 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนทางการเงินจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยและยอดเงินกู้จากสถาบันการเงินเพื่อสนับสนุนการลงทุนของบริษัทฯ และค่าเสื่อมราคาจากการเปิดโรงแรมใหม่ในระหว่างกาล

บล.ทรีนีตี้ ชี้ High Season หนุน ERW “ซื้อเก็งกำไร” เป้า 5.6 บ.

บล.ทรีนีตี้ ชี้ High Season หนุน ERW “ซื้อเก็งกำไร” เป้า 5.6 บ.

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด คาดกำไรสุทธิ ERW 3Q67 ที่ 115 ล้านบาทโดยมีกำไรจากการดำเนินงานปกติ ปรับตัวลดลง 10% QoQ และ 22% YoY โดยการปรับตัวลดลงมาจากดอกเบี้ยจ่ายที่สูงขึ้น โรงแรมกลุ่ม Economy Hotel ยังคงเป็นกลุ่มที่มีผลประกอบการเติบโตดีสุดในกลุ่ม โดยคาดมี RevPar ปรับตัวสูงขึ้น 14% YoY แต่กลุ่ม Luxury มี RevPar ปรับตัวลดลง 4% YoY คาด EBITDA Margin ใน 3Q67 อยู่ที่ 30% ใกล้เคียง 2Q67 และ 3Q66 แม้กำไรจากการดำเนินงานปกติ 9M67E จะคิดเป็น 63% ของคาดการณ์ทั้งปี แต่ยังคงคาดการณ์กำไรปี 2567 ที่ 836 ล้านบาท เติบโต 12.5% YoY โดย 4Q67 คาดกำไรจะเติบโต QoQ จากการเข้าสู่ High Season ของการท่องเที่ยวในประเทศไทยและญี่ปุ่น คงคำแนะนำ “ซื้อเก็งกำไร” ที่ราคาเป้าหมาย 5.60 บาท อิง Avg. EV/EBITDA ที่ 14x

abs

ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร

มาตรการกระตุ้นเที่ยวไทย หักภาษี 2 เท่า หนุนหุ้นท่องเที่ยว AWC-ERW

มาตรการกระตุ้นเที่ยวไทย หักภาษี 2 เท่า หนุนหุ้นท่องเที่ยว AWC-ERW

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า มาตรการเที่ยวไทยไปต่อ (คาดจะให้นำค่าใช้จ่ายท่องเที่ยว สัมมนา ประชุม) ในพื้นที่ประสบอุทกภัยมาหักลดหย่อนภาษีได้ โดยเบื้องต้นกำหนดที่ 2 เท่าของรายจ่าย มองบวกหุ้นอิงภาคท่องเที่ยวที่มีสัดส่วนที่มีรายได้ในภาคเหนือที่เป็นพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมสูง คือ AWC (6% ของรายได้ ) ERW (3% ของรายได้) ที่มา : บล.กรุงศรี

บล.กรุงศรี คาด SET Index บ่ายนี้ผันผวนในกรอบ 1,460-1,475 จุด

บล.กรุงศรี คาด SET Index บ่ายนี้ผันผวนในกรอบ 1,460-1,475 จุด

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) คาด SET Index บ่ายนี้ผันผวนในกรอบ 1,460-1,475 จุด โมเมนตัมรวมยังเป็นบวก หุ้นที่มีปัจจัยหนุนเฉพาะตัวจะยังเป็นกลุ่มนำตลาด กลุ่ม ICT ยังเด่น กลุ่ม PTT และ PTTEP มีข่าวดี ไทย-กัมพูชาเตรียมเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ค้าปลีกและท่องเที่ยวทยอยสะสมก่อนเข้าสู่ high season โดยมี Top Pick บ่ายนี้ คือ ADVANC, CPALL และ ERW           SET Index ปิดตลาดภาคเช้าที่ 1,467.61 จุด +10.64 เปลี่ยนแปลง +0.73% ปรับขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดต่างประเทศ หุ้นที่ปรับตัวขึ้นเด่นเป็นหุ้น Big cap มีปัจจัยหนุนเฉพาะ อาทิ กลุ่มอิเล็กฯ (DELTA, CCET) ดีมานด์ชิ้นส่วนฯ ยังแกร่ง สะท้อนจากยอดขายของ TSMC ในไต้หวัน และ CCET เพิ่มขึ้นเด่นต่อเนื่อง กลุ่มสื่อสารดักเก็งงบ 3Q24 ผสานกับ INTUCH, GULF มีประเด็นควบรวมกิจการ ประเด็นน่าสนใจ ต่างประเทศ           ไทย-กัมพูชา: Bloomberg รายงานว่า ไทยและกัมพูชาเตรียมเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล (OCA) ระหว่างไทยกับกัมพูชาอีกครั้ง เพื่อสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่ง คาดว่ามีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์ (10 ล้านล้านบาท) แบ่งเป็นก๊าซธรรมชาติประมาณ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต และน้ำมันดิบประมาณ 300 ล้านบาร์เรล เรามองว่าเป็นจิตวิทยาบวกต่อผู้ผลิตและสำรวจฯ ในบ้านเรา คือ PTTEP และ PTT ซึ่งจะเป็น Growth story ในอนาคต ในประเทศ           ความเชื่อมั่น: ม.หอการค้า รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย. ปรับลงสู่ระดับ 55.3 จาก 56.5 ในเดือน ส.ค. ลดลงเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน จากปัญหาน้ำท่วมและสงครามตะวันออกกลางที่ยังยืดเยื้อ อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะพลิกฟื้นตัวในเดือน ต.ค. หลังจากภาครัฐเริ่มแจกเงินให้กับกลุ่มเปราะบาง 1 หมื่นบาทต่อรายไปแล้ว เราคงน้ำหนัก Overweight ต่อกลุ่มค้าปลีกตามเดิม โดย Top Pick คือ CPALL, BJC, และ COM7

นทท.ต่างชาติ โต7.8% แนะนำสะสมหุ้นท่องเที่ยว AOT - ERW - AAV โดดเด่น

นทท.ต่างชาติ โต7.8% แนะนำสะสมหุ้นท่องเที่ยว AOT - ERW - AAV โดดเด่น

          หุ้นวิชั่น- ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงานว่า KSS Strategist Comment: TH Tourism Update นักท่องเที่ยวต่างชาติสัปดาห์ล่าสุด (30 ก.ย. -6 ต.ค.) +7.8%w-w ตามผลบวก Golden Week ส่วนระยะถัดไปมองเร่งต่อจากปัจจัยหนุนฤดูกาลท่องเที่ยว ผสาน นักท่องเที่ยวจีนเร่งขึ้นตามสัญญาณ Flight Capacity จีนสู่ไทย แนะนำสะสม AOT, ERW, AAV, CPALL, BJC, ADVANC Key Ideas : นักท่องเที่ยวต่างชาติสัปดาห์ล่าสุด 30 ก.ย. – 6 ต.ค. ปรับเพิ่มขึ้น +7.8%w-w อยู่ที่ 6.38 แสนคน สูงสุดในรอบ 7 สัปดาห์ เรามองเป็นผลบวกช่วง Golden Week ทั้งนี้ เราประเมินเป็นจุดเริ่มต้นก่อนฟื้นตัวช่วงปลายปี หนุนจาก การเข้าสู่ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวต่อเนื่องยาวจากงวด 4Q24 – 1Q25 เริ่มเห็น Upside ของนักท่องเที่ยวจีน โดยปัจจุบันกำลังให้บริการต่อที่นั่ง ต่อ กม. (ASK) ของจีนเดินทางไปต่างประเทศ ณ 7 ต.ค. (หลัง Golden Week) แตะระดับ 75% ของ Pre-COVID ปรับเพิ่มมีนัยฯ 47%y-y นอกจากนี้ ระดับกำลังให้บริการต่อที่นั่ง ต่อ กม. (ASK) ของจีนเดินทางมาไทย ณ 7 ต.ค. สูง 68% ของ Pre-COVID เทียบกับยอดนักท่องเที่ยวจีน 8M24 ที่อยู่เพียง 63% ยิ่งสะท้อนภาพชัดเจน           Strategy: มองโมเมนตัมการฟื้นตัวภาคท่องเที่ยวทยอยชัดเจนขึ้น ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมค่อยๆคลายตัวลง และสถานการณ์ตะวันออกกลางยังเชื่อว่าจำกัดวงระหว่างคู่กรณี เชิงกลยุทธ์แนะนำสะสมหุ้นท่องเที่ยว+ภาคบริการที่คาดฟื้นตัวเด่นช่วงฤดูกาลต่อเนื่อง เน้น AOT(TP Con-68.9) ERW (TP Con-5.3) AAV (TP-2.86) CPALL (TP-77) BJC(TP-30) ADVANC (TP-300)

abs

Hoonvision

[PR News] ฮ็อป อินน์ จ่อ Spin-off  คาดยื่นไฟลิ่ง IPO ปี 2570

[PR News] ฮ็อป อินน์ จ่อ Spin-off คาดยื่นไฟลิ่ง IPO ปี 2570

          ฮ็อป อินน์ เครือข่ายโรงแรมบัดเจ็ทสัญชาติไทยที่มีสาขามากกว่า 70 โรงแรม จำนวนห้องพักรวมมากกว่า 7,000 ห้อง ครอบคลุม 3 ประเทศ ภายใต้การพัฒนาและบริหารของ บริษัท เอราวัณ ฮ็อป อินน์ จำกัด ในเครือ บมจ. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป หรือ ERW ปรับภาพลักษณ์แบรนด์ให้ตอบโจทย์นักเดินทางทุกประเภท ตั้งเป้าขยายเครือข่ายโรงแรมเพิ่มอย่างน้อย 3 ประเทศใหม่ ในเอเชียแปซิฟิก และเดินหน้าเป็นผู้นำเครือข่ายโรงแรมที่ครอบคลุมมากสุดในไทยมากกว่า 40 จังหวัด พร้อมแผนขยายสาขาในประเทศไทย ฟิลิปปินส์และญี่ปุ่น เพื่อครองใจและเพิ่มฐานลูกค้า ตั้งเป้ารายได้มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี(CAGR) มากกว่า 15% ปักธงในปี 2030 ขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งเครือข่ายโรงแรมบัดเจ็ทที่ดีที่สุดในเอเชียแปซิฟิก           คุณพิชานันท์ บุญพร้อมกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายพัฒนาธุรกิจ กล่าวว่า "ปีนี้เป็นปีที่ 10 ของโรงแรมฮ็อป อินน์ ตลอด 10 ปี เราสามารถทำได้ตามแผนทั้งการขยายและการรักษาคุณภาพการบริการ เราตั้งเป้าที่ใหญ่และสำคัญในปี 2030 จะขึ้นเป็นเครือข่ายโรงแรมบัดเจ็ทที่ดีที่สุดในเอเซียแปซิฟิค เมื่อต้นปีที่ผ่านมาโรงแรมฮ็อป อินน์ ญี่ปุ่น เปิดให้บริการครบ 4 สาขา ในโตเกียวและเกียวโต โดยได้รับเสียงตอบรับที่ดีและเป็นการสร้างฐานลูกค้าที่ใหญ่ขึ้น จากหลายประเทศหลากหลายทวีป จึงทำให้เรามั่นใจว่าจะขยายเครือข่ายโรงแรมเพิ่มอย่างน้อยในอีก 3 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก”           "เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ฮ็อป อินน์ มีความพร้อมด้านการลงทุนตามแผนขยายระยะยาว แผนการ Spin-off ได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการ บมจ. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป มีการแยกส่วนบริหารงานและตั้งเป้าหมายแผนการทำงานของแต่ละปีอย่างชัดเจน ตอนนี้เราได้ Strategic partner คือ Lapis Hospitality Pte. Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทที่บริหารจัดการโดยกองทุน Lombard Asia V, L.P. เข้ารวมลงทุน 16.09% ที่ ฮ็อป อินน์ มูลค่า 700 ล้านบาท ซึ่งเป็น Partner ที่มีความสามารถประสบการณ์ด้านการลงทุนทั่วเอเชียแปซิฟิก เป็นการเสริมความพร้อมในการยกระดับโรงแรมฮ็อป อินน์ เพื่อก้าวสู่อันดับหนึ่งในเอเชียแปซิฟิก คาดการณ์ว่าจะยื่นเสนอบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2027 เพื่อให้สามารถนำหุ้นออกเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป (IPO) เพื่อสนับสนุนแผนขยายงานระยะยาว ” คุณพิชานันท์ กล่าวเพิ่มเติม           คุณนลินี กฤษฎาวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบริหารธุรกิจ กล่าวว่า “ฮ็อป อินน์ อยากทำให้ทุกการเดินทางของทุกคนง่ายขึ้น เราตั้งใจทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายทุกขั้นตอน หาง่าย จองง่าย พักสบาย ราคาเข้าถึงได้ เราให้ความสำคัญสูงสุดเรื่องความสม่ำเสมอในทุกมิติ ส่งมอบประสบการณ์ที่ดีทั้งก่อนและหลังเข้าพักให้กับลูกค้า เรามีนโยบายที่เป็นเจ้าของและบริหารโรงแรมทั้งหมดเอง เพื่อรักษาคุณภาพให้ได้ 100% ของทั้งเครือ โดย 95% เป็นโรงแรมที่สร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อให้ทุกโรงแรมมีความสม่ำเสมอ ทั้งด้านการออกแบบรูปลักษณ์ และมาตรฐานการบริการ ที่ไม่ว่าไปพักที่ประเทศใด สาขาไหน ไม่จะเป็นโรงแรมที่เพิ่งเปิด หรือเปิดบริการมา 10 ปี จะได้รับประสบการณ์เดียวกันทุกที่ ที่กล่าวมาข้างต้นมาจากความตั้งใจของทีมงานทุกคน ซึ่งสะท้อนคำมั่นสัญญาตลอด 10 ปี ที่มอบให้กับลูกค้า “Consistency is Yours" หรือ “ความสม่ำเสมอเป็นของคุณเสมอ” เราให้บริการลูกค้ามากกว่า 2.5 ล้านคนต่อปี ทีมงานทุกคนขอขอบคุณลูกค้าทุกท่านที่มาเข้าพักกับเรา ฮ็อป อินน์ มีความพร้อมที่จะมอบการบริการที่ดีมีคุณภาพในทุกประเทศที่เราไปขยายและมั่นใจว่าแบรนด์จะเป็นที่ยอมรับในระดับสากล” กล่าวทิ้งท้าย

ERW กลุ่มทุนใหม่เข้าถือ EHI เพิ่มเครือข่ายโรงแรมบัดเจ็ท

ERW กลุ่มทุนใหม่เข้าถือ EHI เพิ่มเครือข่ายโรงแรมบัดเจ็ท

          หุ้นวิชั่น - บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (“ERW”) แจ้งว่า บริษัท เอราวัณ ฮ็อป อินน์ จำกัด (“EHI”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ที่ดำเนินกิจการโรงแรมในกลุ่มบัดเจ็ทภายใต้แบรนด์ HOP INN ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นในเอเชียแปซิฟิก ได้เข้าทำสัญญาจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน (Share Subscription Agreement) (“สัญญาจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน”) กับ Lapis Hospitality Pte. Ltd. (“Investor”) ซึ่งเป็นบริษัทที่บริหารจัดการโดยกองทุน Lombard Asia V, L.P. เพื่อให้ Investor จองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 57,534,247 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 16.09 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด เป็นจำนวนเงิน 700,000,000 บาท หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 12.17 บาทต่อหุ้น ในการนี้บริษัทฯ ได้เข้าทำสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น (Shareholders’ Agreement) (“สัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น”) เป็นที่เรียบร้อยแล้วในวันนี้ ทั้งนี้ ธุรกรรมดังกล่าวจะบรรลุผลต่อเมื่อการดำเนินการต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนเสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งรวมถึงการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขบังคับก่อน โดยกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน การเข้าทำธุรกรรมสัญญาจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนและสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นมีสาระสำคัญโดยสรุปดังนี้           EHI จะเริ่มดำเนินการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยตั้งเป้าหมายที่จะยื่นคำขอเข้าจดทะเบียนตั้งแต่ปี 2570 เป็นต้นไป ทั้งนี้ขึ้นกับผลการดำเนินงานและสถานะทางการเงินของ EHI ตลอดจนสภาวะการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ไม่มีเงื่อนไขและข้อตกลงใด ๆ ในการที่บริษัทฯ จะรับซื้อหุ้นคืนจาก Investor EHI จะดำเนินการออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ (ESOP-Warrant) ในสัดส่วนไม่เกิน 4% ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้ว ให้แก่ผู้บริหารและกรรมการของ EHI ในเวลาที่เหมาะสม โดยราคาใช้สิทธิจองซื้อไม่ต่ำกว่า 12.17 บาทต่อหุ้น การเข้าลงทุนใน EHI ของ Investor นี้จะช่วยสนับสนุนการขยายธุรกิจโรงแรมระดับบัดเจ็ทของบริษัทฯ ภายใต้แบรนด์ HOP INN ทั้งในประเทศไทยและในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยจะก่อให้เกิดความร่วมมือในการแสวงหาโอกาสในการเติบโตขยายธุรกิจ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งเป็นไปตามแผนกลยุทธ์ระยะยาวที่จะเป็นผู้นำเครือข่ายโรงแรมบัดเจ็ทในเอเชียแปซิฟิกได้ตามเป้าหมายที่ได้ประกาศไว้           ทั้งนี้ การเข้าทำรายการดังกล่าวไม่เข้าข่ายเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน เนื่องจาก Lapis Hospitality Pte. Ltd. ไม่มีความสัมพันธ์และ/หรือเป็นบุคคลที่มีความเกี่ยวโยงกันกับบริษัทฯ และขนาดของรายการดังกล่าวเมื่อรวมรายการจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ย้อนหลัง 6 เดือน มีขนาดรายการน้อยกว่าร้อยละ 15 ดังนั้น บริษัทฯ จึงไม่จำเป็นต้องจัดทำรายงานและเปิดเผยสารสนเทศเกี่ยวกับการเข้าทำรายการดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามประกาศเรื่องการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์แต่อย่างใด

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456