ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#CKP


CKP เผย ทริสเรทติ้ง ปรับเพิ่มอันดับเครดิตหุ้นกู้ เป็น

CKP เผย ทริสเรทติ้ง ปรับเพิ่มอันดับเครดิตหุ้นกู้ เป็น "A-" จาก "BBB+"

            กรุงเทพฯ 8 เม.ย. 2568 – นายธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKPower (ชื่อย่อหลักทรัพย์: CKP) หนึ่งในผู้นำในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคและมีคาร์บอนฟุตพรินต์ที่ต่ำที่สุดรายหนึ่ง เปิดเผยว่า บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKPower ได้รับการปรับเพิ่มอันดับเครดิตตราสารหนี้ (Issue Rating) จาก "BBB+" เป็น "A-" จากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด (ทริสเรทติ้ง) เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2568 พร้อมคงอันดับเครดิตองค์กร (Company Rating) ที่ระดับ "A-" และแนวโน้มอันดับเครดิต “คงที่” โดยอันดับเครดิตที่ปรับสูงขึ้นนี้สะท้อนถึงโครงสร้างหนี้ที่แข็งแกร่งขึ้น จากการบริหารหนี้สินอย่างมีประสิทธิภาพ การทยอยลดภาระหนี้ของบริษัทย่อย และการรักษาระดับความสามารถในการชำระหนี้ให้อยู่ในเกณฑ์แข็งแกร่ง ส่งผลให้ภาพรวมทางการเงินของบริษัทมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น             นายธนวัฒน์ กล่าวว่า สำหรับปัจจัยของการปรับเพิ่มอันดับเครดิตหุ้นกู้มาจากการทยอยลดลงของหนี้สินระยะยาวของบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท ไฟฟ้าน้ำงึม 2 จำกัด (NN2) และ บริษัท บางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น จำกัด (BIC) ส่งผลให้ระดับความเสี่ยงเรื่องการด้อยสิทธิในการเรียกร้องชำระหนี้ของบริษัทเทียบกับบริษัทย่อยลดลง ขณะเดียวกันบริษัทยังคงมีกำไรก่อนค่าใช้จ่ายทางการเงิน ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ควบคู่ไปกับการบริหารหนี้สินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถรักษาระดับความสามารถในการชำระหนี้ให้อยู่ในเกณฑ์ที่แข็งแกร่งท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ผันผวน และที่สำคัญทริสเรทติ้งยังคงเชื่อมั่นในความสม่ำเสมอของกระแสเงินสดของบริษัทในระดับสูงจากการมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รวมถึงการมีพอร์ตโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่มีศักยภาพ ซึ่งช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว             สำหรับฐานะการเงินของ CKPower มีโครงสร้างทางการเงินที่ดีเช่นเดิม โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 บริษัทมีอัตราส่วนสภาพคล่องอยู่ที่ 1.86 เท่า เพิ่มขึ้น 0.18 เท่าจากปีก่อน สะท้อนถึงความสามารถในการบริหารสภาพคล่องอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้นรวมยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ 0.52 เท่า โดยแนวโน้มอันดับเครดิต “คงที่” สะท้อนความเชื่อมั่นของทริสเรทติ้งว่า กลุ่มโรงไฟฟ้าของ CKPower ยังคงมีผลการดำเนินงาน และความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง             สำหรับแผนงาน ปี 2568-2573 CKPower ตั้งเป้าขยายกำลังการผลิตจากโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งในรูปแบบ Private PPA และ ยื่นประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเฟส 2 จากภาครัฐ ควบคู่ไปกับการขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (RECs) ด้านโครงการไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ที่ร่วมกับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ในเฟสแรก จะทยอยแล้วก่อสร้างแล้วเสร็จและจำหน่ายไฟฟ้าให้กับ BEM ได้ครบทุกโครงการในช่วงไตรมาส 2 ปี 2568 ขณะที่โครงการไฟฟ้าพลังน้ำ หลวงพระบาง มีความคืบหน้าการก่อสร้าง ณ สิ้นปี 2567 ที่ร้อยละ 42 และคาดว่าจะสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ตามแผนในปี 2573 ทั้งนี้ CKPower พร้อมสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการลดการใช้พลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานตลอดห่วงโซ่คุณค่าขององค์กร เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 [PR News]

CKP เผยปี 2567 กวาดรายได้ 10,789 ล้านบาทEBITDA โตแข็งแกร่ง

CKP เผยปี 2567 กวาดรายได้ 10,789 ล้านบาทEBITDA โตแข็งแกร่ง

          หุ้นวิชั่น - กรุงเทพฯ 21 ก.พ. 2568 - นายธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKPower (ชื่อย่อหลักทรัพย์: CKP) หนึ่งในผู้นำในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคและมีคาร์บอนฟุตพรินต์ต่ำที่สุดรายหนึ่ง เปิดเผยว่า ในปี 2567 CKPower มีรายได้รวม 10,789 ล้านบาท มีกำไรก่อนค่าใช้จ่ายทางการเงิน ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) อยู่ที่ 5,554 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 จากปีก่อน สะท้อนความมั่นคงของกระแสเงินสดของบริษัท แม้จะเผชิญกับวิกฤติการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ผันผวนและอยู่ในระดับสูง ด้านกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัท อยู่ที่ 1,345 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.0 สาเหตุหลักมาจากส่วนแบ่งกำไรสุทธิจากบริษัทร่วมลดลง และต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนในโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ หลวงพระบางซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง           หนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้ EBITDA ของบริษัทเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง คือ รายได้จากการขายไฟฟ้าของ บริษัท ไฟฟ้าน้ำงึม 2 จำกัด (NN2) ที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน จากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำในช่วงต้นปี 2567 และปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำในระหว่างปี 2567 ที่มากกว่าปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากปรากฎการณ์ลานีญา (La Niña) ที่ทำให้ NN2 สามารถประกาศความพร้อมจ่ายไฟฟ้าได้มากขึ้น โดยในปี 2567 NN2 สามารถทำกำไรสุทธิได้สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์อีกด้วย           นายธนวัฒน์ กล่าวว่า คาดว่าในครึ่งปีแรกของปี 2568 แม้จะเป็นช่วงฤดูแล้ง แนวโน้มผลการดำเนินงานคาดว่าจะดีกว่าปี 2567 จากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำงึม 2 มีปริมาณน้ำที่สูงกว่าปีก่อน ทำให้ NN2 สามารถประกาศความพร้อมจ่ายไฟฟ้าเดือนมกราคม ได้มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณร้อยละ 5 สอดรับกับทิศทางของปริมาณน้ำไหลผ่านโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี ซึ่งในเดือนมกราคม ปี 2568 มีปริมาณสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนจากอิทธิพลของปรากฎการณ์ลานีญา ที่ยังคงมีอิทธิพลต่อเนื่องมาในปี 2568 โดย XPCL สามารถขายไฟฟ้าในเดือนมกราคมได้มากกว่าปีก่อนประมาณร้อยละ 23           อีกทั้ง โครงการไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ สำหรับผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าให้กับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ในระยะแรกจำนวน 3 โครงการ กำลังการผลิตติดตั้ง 7.0 MW ก็มีความคืบหน้าการก่อสร้างในระยะแรก ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2567 อยู่ที่ร้อยละ 65 ซึ่งเป็นไปตามแผน โดยเริ่มผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้แล้ว 1 โครงการเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2567 และจะทยอยแล้วเสร็จครบทุกโครงการในช่วงไตรมาส 2 ปี 2568 นับเป็นก้าวสำคัญสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนในระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของไทย           ฐานะการเงินของ CKPower ยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่อง โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 บริษัทมีอัตราส่วนสภาพคล่องอยู่ที่ 1.86 เท่า เพิ่มขึ้น 0.18 เท่าจากปีก่อน ขณะที่อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้นรวมยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ 0.52 เท่า สะท้อนถึงความสามารถในการบริหารสภาพคล่องอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคาดว่าแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐอเมริกา และของประเทศไทย ประกอบกับการไถ่ถอนหุ้นกู้มูลค่า 1,400 ล้านบาทของ NN2 ในปีที่ผ่านมา จะช่วยลดภาระทางการเงินของ CKPower ไปได้อีกพอสมควร ทั้งนี้บริษัทจะยังคงติดตามการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ยและบริหารจัดการหนี้สินระยะยาวให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง           นายธนวัฒน์ กล่าวว่า CKPower มุ่งมั่นขับเคลื่อนการเติบโตผ่านการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงาน พร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการนำประเทศไทยก้าวสู่ สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน บริษัทได้รับการรับรองและรางวัลจากองค์กรชั้นนำทั้งในประเทศและระดับสากล อาทิ SET ESG Ratings ระดับ "AAA" จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ESG100 บริษัทวิถียั่งยืนที่น่าลงทุน สถาบันไทยพัฒน์ , คะแนนการกำกับดูแลกิจการ (CG Score) ระดับดีเลิศ (Excellent) จาก สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) และรางวัล AREA จากองค์กรพัฒนาเอกชนชั้นนำที่ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบในเอเชีย เป็นต้น โดยการดำเนินงานดังกล่าวขับเคลื่อนผ่านกลยุทธ์สู่ความยั่งยืน "C-K-P" ประกอบไปด้วย C – ไฟฟ้าสะอาด (Clean Electricity) มุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั้งหมดภายในปี 2586 และเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน มากกว่า 95% ภายในปีเดียวกัน รวมถึงเดินหน้าสู่ Net Zero ภายในปี 2593 , K – เพื่อนบ้านที่ดี (Kind Neighbor) สนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและชุมชน โดยดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบจริยธรรม ไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน พร้อมส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชนผ่านการพัฒนาพลังงานสะอาดและโครงการด้านสังคมและ P – พันธมิตรที่ยั่งยืน (Partnership for Life) ขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนผ่าน การขยายฐานลูกค้าและการเติบโตในภูมิภาคเอเชีย ควบคู่กับ การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล มาเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ด้วยวิสัยทัศน์และกลยุทธ์นี้ CKPower พร้อมเดินหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน [PR News]

CKP กำไรปี 67 ทำได้1,344.5 ล้านบาท เดินหน้าเพิ่มพอร์ตพลังงานหมุนเวียน

CKP กำไรปี 67 ทำได้1,344.5 ล้านบาท เดินหน้าเพิ่มพอร์ตพลังงานหมุนเวียน

          หุ้นวิชั่น - นายธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน)หรือ CKP รายงานผลการดำเนินงานปี 2567 พบว่ามีรายได้รวมในปี 2567 ลดลงร้อยละ 1.4 YoY สาเหตุหลักมาจากรายได้จากการขายไฟฟ้าของ BIC ลดลง ซึ่งเป็นไปตามแนวโน้มการลดลงของราคาก๊าซธรรมชาติเฉลี่ยและค่า Ft ขายปลีกเฉลี่ยในปี 2567 ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าในส่วนของ Energy Payment อัตราค่าไฟฟ้าที่ขายให้ลูกค้าอุตสาหกรรม และค่าไอน้ำต่อหน่วยของ BIC ปรับลดลง YoY สุทธิกับรายได้จากการขายไฟฟ้าของ NN2 ที่เพิ่มขึ้น YoY จากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำในช่วงต้นปี 2567 มีมากกว่าปีก่อน และมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าปีก่อน จากปรากฏการณ์ลานีญา (La Niña) ส่งผลให้ NN2 สามารถประกาศความพร้อมจ่ายไฟฟ้าได้มากขึ้น กำไรสุทธิจากการดำเนินงาน (Core Net Profit)           บริษัทรับรู้กำไรสุทธิจากการดำเนินงาน (Core Net Profit) ในปี 2567 จำนวน 1,286.7 ล้านบาท ลดลง 141.5 ล้านบาท YoY สาเหตุหลักมาจากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรสุทธิจากการดำเนินงานของบริษัทร่วมลดลง YoY สุทธิกับปริมาณการขายไฟฟ้าของ NN2 เพิ่มขึ้น YoY และค่าเชื้อเพลิงของ BIC ลดลง YoY แต่ในส่วนของกำไรสุทธิทำได้ 1,344.5 ล้านบาท ภาพรวมการดำเนินธุรกิจ           บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานประเภทต่าง ๆ 3 ประเภท จำนวน 18 แห่ง กำลังการผลิตติดตั้งรวม 3,640 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย ▪ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ 3 แห่ง: • โรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำงึม 2 ภายใต้ บริษัท ไฟฟ้าน้ำงึม 2 จำกัด ซึ่งบริษัทถือหุ้น 46% (ถือผ่าน บริษัท เซาท์อีสท์ เอเชีย เอนเนอร์จี จำกัด) กำลังการผลิตติดตั้ง 615 เมกะวัตต์ • โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี ภายใต้ บริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด ซึ่งบริษัทถือหุ้น 42.5% กำลังการผลิตติดตั้ง 1,285 เมกะวัตต์ • โครงการไฟฟ้าพลังน้ำ หลวงพระบาง ภายใต้ บริษัท หลวงพระบาง พาวเวอร์ จำกัด ซึ่งบริษัทถือหุ้น 50% กำลังการผลิตติดตั้ง 1,460 เมกะวัตต์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ▪ โรงไฟฟ้าระบบโคเจนเนอเรชัน 2 แห่ง: • โรงไฟฟ้า บางปะอิน โคเจนเนอเรชัน ที่ 1 และ 2 ภายใต้ บริษัท บางปะอิน โคเจนเนอเรชัน จำกัด ซึ่งบริษัทถือหุ้นอยู่ 65% กำลังการผลิตติดตั้งรวม 238 เมกะวัตต์ ▪ โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ 13 แห่ง: • โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ 11 แห่ง ภายใต้ บริษัท บางเขนชัย จำกัด ซึ่งบริษัทถือหุ้น 100% กำลังการผลิตติดตั้งรวม 28 เมกะวัตต์ โดยอยู่ระหว่างการเตรียมการและดำเนินการก่อสร้าง 3 แห่ง • โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ภายใต้ บริษัท นครราชสีมา โซล่าร์ จำกัด ซึ่งบริษัทถือหุ้น 30% จำนวน 1 แห่ง กำลังการผลิตติดตั้ง 6 เมกะวัตต์ • โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ภายใต้ บริษัท เชียงราย โซล่าร์ จำกัด ซึ่งบริษัทถือหุ้น 30% จำนวน 1 แห่ง กำลังการผลิตติดตั้ง 8 เมกะวัตต์           ปัจจุบัน ร้อยละ 93 ของกำลังการผลิตติดตั้งมาจาก พลังงานหมุนเวียน สะท้อนถึงวิสัยทัศน์ของบริษัทที่มุ่งมั่นจะเป็นหนึ่งในผู้นำในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคและมี คาร์บอนฟุตพรินต์ต่ำที่สุดรายหนึ่งโดยบริษัทตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนกำลังการผลิตจากพลังงานหมุนเวียน ให้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมดภายในปี 2586

CKP คาดกำไร Q4 ที่ 620 ลบ. โบรกแนะซื้อ เป้า 3.50 บาท

CKP คาดกำไร Q4 ที่ 620 ลบ. โบรกแนะซื้อ เป้า 3.50 บาท

         หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล. หยวนต้า คาด CKP กำไร 4Q24 เติบโตทั้ง QoQ และ YoY คาดกำไรปกติ 4Q24 เติบโตทั้ง QoQ และ YoY คาดกำไรปกติ 4Q24 ที่ 620 ล้านบาท เติบโต 6% QoQ แม้ออกจากช่วง High Season ของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำในลาว (ปริมาณขายไฟฟ้าของโครงการน้ำงึม 2 ลดลงราว 9% QoQ) เพราะได้แรงหนุนจาก 1) ต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่คาดลดลงมาอยู่ที่ระดับ 313 บาท/MMBtu (-6% QoQ, -16% YoY) ช่วยหนุนอัตรากำไรขั้นต้นของโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ BIC และ 2) ปริมาณขายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำไซยะบุรี (XPCL) ที่เพิ่มขึ้นเป็น 2,266 GWh (+16% QoQ, +21% YoY) หลังโครงการดังกล่าวไม่มีการหยุดดำเนินงานเหมือนใน 3Q24 (ในช่วงดังกล่าว โครงการ XPCL มีการหยุดดำเนินงานราว 17 วัน เนื่องจากปริมาณน้ำมีมากเกินกว่าที่โครงการจะสามารถรองรับได้)          ขณะที่ YoY คาดกำไรปกติเติบโตราว 6% จากอัตรากำไรขั้นต้นของโรงไฟฟ้า BIC ที่สูงขึ้นหลังต้นทุนก๊าซธรรมชาติปรับตัวลงเร็วกว่าค่าไฟฟ้า และปริมาณน้ำที่ไหลผ่านโครงการ XPCL ที่สูงขึ้น 28% YoY (ผลจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่คลี่คลาย) หากกำไรปกติ 4Q24 ออกมาใกล้เคียงคาด จะส่งผลให้กำไรปกติปี 2024 อยู่ที่ 1,112 ล้านบาท (-22% YoY) 1Q25 ขาดทุนลดลง YoY หลังปริมาณน้ำสูงขึ้น YoY          เบื้องต้นคาดผลขาดทุน 1Q25 ที่ระดับ 100-200 ล้านบาท พลิกเป็นขาดทุน QoQ ตามปัจจัยฤดูกาล หลังเข้าสู่ช่วง Low Season ของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำในลาวและได้รับผลกระทบจากต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่คาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ราว 330-340 บาท/MMBtu ตามปัจจัยฤดูกาลและการปิดซ่อมบำรุงหลุมก๊าซธรรมชาติ G2 ในอ่าวไทยราว 40 วัน (ส่งผลให้มีสัดส่วนการใช้งาน LNG ที่มีราคาสูงมากขึ้น) อย่างไรก็ตาม คาดผลขาดทุน 1Q25 จะลดลง YoY เนื่องจากปริมาณน้ำในลาวมีแนวโน้มฟื้นตัว YoY จากฐานที่ต่ำในปีก่อนหลังปรากฏการณ์เอลนีโญคลี่คลาย (หนุนปริมาณขายไฟฟ้าของโครงการน้ำงึม 2 และโครงการไซยะบุรี)          หากมองไปช่วง 2Q-3Q25 คาดกำไรปกติของบริษัทฯ จะสามารถเติบโตได้ YoY จากฐานที่ต่ำในปีก่อน หลังปริมาณน้ำในลาวมีแนวโน้มฟื้นตัว และคาดไม่มีการหยุดดำเนินงานจากปริมาณน้ำที่สูงผิดปกติเหมือนในช่วง 3Q24 ปรับราคาเหมาะสมลงเป็น 3.50 บาท/หุ้น...คงคำแนะนำ “ซื้อ”          เราปรับ WACC ที่ใช้ประเมินมูลค่าขึ้นเป็น 9.3% เพื่อสะท้อน Bond Yield ระยะ 10 ปี ของสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่เราประเมินไว้ก่อนหน้า และสภาวะตลาดที่มีความเสี่ยงมากขึ้น ส่งผลให้ราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2025 ลดลงเป็น 3.50 บาท/หุ้น มี Upside 32.6% โดยเรามองว่าราคาหุ้นที่ปรับตัวลง 13% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ได้สะท้อนปัจจัยลบจาก Bond Yield ระยะ 10 ปี ของสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องไปมากแล้ว          โดยราคาปัจจุบันซื้อขายบน PBV 2025 ที่เพียง 0.8 เท่า จึงมองว่าหุ้นเริ่มมี Downside จำกัดแล้ว และมีโอกาสฟื้นตัวได้จากผลประกอบการที่คาดกลับมาเติบโต YoY ได้ต่อเนื่องในปี 2025 จึงคงคำแนะนำ “ซื้อ” สำหรับการลงทุนระยะกลาง-ยาว

abs

ปตท. แข็งแกร่งร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

CKP คาดปีนี้โตแกร่งกำไรพุ่ง 25%  โบรกแนะซื้อ เป้า 3.80 บาท

CKP คาดปีนี้โตแกร่งกำไรพุ่ง 25% โบรกแนะซื้อ เป้า 3.80 บาท

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.กรุงศรี มีมุมมองบวกต่อ CKP ถึงแม้อาจจะมีความท้าทายในปี 2024 แต่เราคาดกำไรหลักจะเติบโต 25% YoY ในปี 2025F จากกลยุทธ์ที่บริษัทใช้ในการลดความเสี่ยงหยุดผลิตไฟฟ้าที่ XPCL โดยเราคาด 1Q25F จะออกมาเติบโตดีกว่าไตรมาส 1 ปกติ และคาด 3Q25F จะเติบโตสูงตามปกติของฤดู High Season           อย่างไรก็ตาม เราปรับประมาณการกำไรปี 2025F ลง 10% และประมาณการกำไรปี 2026F ลง 11% ตามลำดับ จากคาดผลกระทบจากการสลับการปิดซ่อมครั้งแรกของ XPCL ใน 2Q25F และ XPCL เริ่มมีภาระภาษีหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาการยกเว้นภาษีใน 4Q24 รวมถึงการปิดซ่อมบำรุงใหญ่ 1 เครื่องจากทั้งหมด 3 เครื่องของ NN2 ใน 4Q25F           เราได้กำหนดราคาเป้าหมายใหม่ที่ 3.80 บาท (จากเดิม 5.20 บาท) หลังจากตัดมูลค่าจาก LCPL ออกไป ยังคงแนะนำ "ซื้อ" คาดกำไรหลักในปี 2025F จะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง แม้คาดงบ 4Q24F ลดลง แม้ว่าปี 2024 CKP จะเผชิญกับความท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 4Q24F ที่คาดว่าผลประกอบการจะลดลงทั้ง YoY และ QoQ แต่เรามองว่ากำไรหลักในปี 2025F จะเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ 25% YoY มุมมองเชิงบวกนี้มาจากปัจจัยสำคัญหลายประการ ได้แก่ เราคาดว่ากำไรใน 1Q25F จะแตกต่างจากค่าเฉลี่ยในอดีตของไตรมาส 1 ในช่วงเวลา 8 ปีที่ผ่านมา ที่ส่วนมากจะมีผลประกอบการที่อ่อนแอ โดยได้รับแรงหนุนจากผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นของทั้ง NN2 และ XPCL เราคาดว่าจะกลับสู่ระดับการดำเนินงานตามฤดูกาลปกติใน 3Q25F จากการที่ปรากฏการณ์ลานีญาคาดว่าจะกลับสู่สภาวะเป็นกลางตั้งแต่ 2Q-3Q25F ตามข้อมูล ENSO ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดความเสี่ยงของการหยุดการผลิตไฟฟ้า เช่น การหยุดดำเนินงาน 17 วันใน 3Q24           ในขณะเดียวกัน CKP ก็มีมาตรการอย่างจริงจังในการจัดการ XPCL เพื่อลดความเสี่ยงของระดับน้ำที่สูงเกินไป และป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ในปีที่ผ่านมาเกิดขึ้นซ้ำ ปรับประมาณการปี 2025-26F จากผลกระทบปิดซ่อมบำรุงและเริ่มจ่ายภาษี แม้จะมีปัจจัยบวกเหล่านี้ แต่ 2Q25F จะมีการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันครั้งแรกที่วางแผนไว้ที่ XPCL และ XPCL เริ่มมีภาระภาษีหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาการยกเว้นภาษีใน 4Q24 นอกจากนี้ ยังมีการซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ที่ NN2 กำหนดไว้ใน 4Q25F ด้วย           เมื่อพิจารณาจากปัจจัยเหล่านี้แล้ว เราได้ปรับลดประมาณการกำไรปี 2025F ลง 10% และประมาณการกำไรปี 2026F ลง 11% ตามลำดับ เราได้กำหนดราคาเป้าหมายใหม่ที่ 3.80 บาท (จากเดิม 5.20 บาท) หลังจากตัดมูลค่าจาก LCPL ออกไป ยังคงแนะนำ "ซื้อ"

CKP เดินหน้าส่งไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน รุกธุรกิจขาย RECs รองรับตลาดไทยและต่างประเทศ

CKP เดินหน้าส่งไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน รุกธุรกิจขาย RECs รองรับตลาดไทยและต่างประเทศ

             หุ้นวิชั่น -  บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKPower (ชื่อย่อหลักทรัพย์: CKP) หนึ่งในผู้นำในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคและมีคาร์บอนฟุตพรินต์ที่ต่ำที่สุดรายหนึ่ง เดินหน้าขยายโอกาสการลงทุนด้านการเงินสีเขียว (Green Finance) ผ่านการขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificates : RECs) พร้อมเตรียมจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ หรือ COD (Commercial Operation Date) จากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 4 โครงการ รวมกำลังการผลิต 13 เมกะวัตต์ ภายในปี 2570 เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานและเสริมสร้างระบบพลังงานที่ยั่งยืนในประเทศไทย            นายธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ CKPower กล่าวว่า จากแผนกลยุทธ์การดำเนินงานความยั่งยืนตามกรอบระยะเวลา 5 ปี (2565-2569) บริษัทได้ขยายโอกาสการดำเนินธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ผ่านการขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (RECs) ร่วมกับทางบริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด (INNOPOWER) บริษัทในเครือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในการนำโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ภายใต้บริษัท บางเขนชัย จำกัด (BKC) ขึ้นทะเบียนโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ธุรกิจซื้อขาย RECs ตั้งแต่ปี 2565 จนถึงปัจจุบัน โดยตลอดการดำเนินงานที่ผ่านมาได้มีการส่งมอบ RECs ให้กับ อินโนพาวเวอร์ แล้วจำนวน 39,660.46 RECs เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระยะยาว            "ที่สำคัญในช่วงกลางปี 2567 ที่ผ่านมา CKPower ได้ลงนามข้อตกลงสัญญาร่วมกับบริษัท เมฆา วี จำกัด (Mekha V) บริษัทในเครือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการนำ RECs จากบริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด (XPCL) โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ แบบน้ำไหลผ่านใน สปป.ลาว เข้าสู่แพลตฟอร์ม ReAcc เพื่อตอบรับการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานให้กับภาคอุตสาหกรรมในอนาคตและเตรียมความพร้อมในการรองรับการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตลอดห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจ" นายธนวัฒน์ กล่าวเสริม สำหรับความคืบหน้าของโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ (BEM) ที่บริษัทดำเนินการผ่าน บริษัท บางเขนชัย จำกัด (BKC) จำนวน 3 โครงการ กำลังการผลิตติดตั้งรวม 6.95 เมกะวัตต์ (MW) ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างโดยคาดว่าจะเริ่มผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์โครงการแรกในช่วงครึ่งแรกของปี 2568 ซึ่งในอนาคตจะศึกษาและต่อยอดความเป็นไปได้ในการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้กับระบบขนส่งที่กำลังเติบโตขยายตัวมากขึ้น พร้อมกันนี้ ทาง BKC ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายใต้โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) กลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงกับทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีกำลังการผลิตติดตั้ง 6 เมกะวัตต์ (MW) มีกำหนด COD ในปี 2570 ด้วยระยะเวลาสัญญา 25 ปี "การดำเนินงานดังกล่าวสอดคล้องกับกลยุทธ์ ซี เค พี (C-K-P) ในด้านความยืดหยุ่นของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งตั้งเป้าการขยายโอกาสในด้านพลังงานหมุนเวียน เพื่อรองรับโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ รวมถึงขยายตลาดและความร่วมมือในธุรกิจการผลิตไฟฟ้า และเมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทยังได้รับผลการประเมิน SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ระดับ "AAA" ถือเป็นการติดรายชื่อหุ้นยั่งยืนต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ในกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร (Resources) ซึ่งจัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งก้าวเดินต่อจากนี้ บริษัทมีแผนเพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานหมุนเวียน ทั้ง พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ ให้ได้มากกว่าร้อยละ 95 ภายในปี 2586 ควบคู่ไปกับการสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมลดการใช้พลังงานเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าคู่ขนานไปกับการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานตลอดห่วงโซ่คุณค่าขององค์กร มุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ที่สามารถหวังผลในระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรมภายในปี 2593" "CKPower เชื่อมั่นในพลังงานหมุนเวียนว่าเป็นหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เรามุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการผลิตและใช้พลังงานสะอาดเพื่อร่วมสร้างความยั่งยืนให้แก่ระบบพลังงานและสังคมในระยะยาว" นายธนวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย

CKPower คว้าเรตติ้งสูงสุด SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับ

CKPower คว้าเรตติ้งสูงสุด SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับ "AAA"

           หุ้นวิชั่น - กรุงเทพฯ 19 ธ.ค. 2567 - บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKPower (ชื่อย่อหลักทรัพย์: CKP) หนึ่งในผู้นำในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคและมีคาร์บอนฟุตพรินต์ที่ต่ำที่สุดรายหนึ่ง ได้รับการประเมินหุ้นยั่งยืน "SET ESG Rating" ในระดับ AAA เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน  (คะแนนรวม 90-100) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของประเทศไทย ในกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร (Resources) ประจำปี 2567 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเป็น 1 ใน 228 บริษัทจดทะเบียนที่ผ่านเกณฑ์และได้รับการประกาศผลประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings และเป็น  1 ใน 56 บริษัทจดทะเบียนที่ได้รับการประมินระดับ AAA สะท้อนการดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจและบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) ซึ่งขับเคลื่อนผ่านกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน "ซี เค พี" หรือแผนการดำเนินงาน 5 ปี สู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (พ.ศ.2565-2569)  ที่มีการขับเคลื่อนในทุกกระบวนการ ตั้งเป้าหมาย ติดตามแผนงานปฏิบัติการ ที่สามารถวัดผลการดำเนินงาน พร้อมการทวนสอบและเปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วนตามมาตรฐานสากล [PR News]

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

CKP กวาดรายได้กว่า8พันล้านใน9 เดือนแรก รับอานิสงส์บวกจากปัจจัยฤดูกาล

CKP กวาดรายได้กว่า8พันล้านใน9 เดือนแรก รับอานิสงส์บวกจากปัจจัยฤดูกาล

           กรุงเทพฯ 11 พ.ย. 2567 นายธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKPower (ชื่อย่อหลักทรัพย์: CKP) หนึ่งในผู้นำในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคและมีคาร์บอนฟุตพรินต์ต่ำที่สุดรายหนึ่ง เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานโดยรวมทั้งในไตรมาส 3/2567 และงวด 9 เดือนปี 2567 ที่แข็งแกร่งและมีความมั่นคงทางการเงิน โดยในไตรมาส 3 มีรายได้รวม 2,901.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 ขณะที่งวด 9 เดือนของปี 2567 มีรายได้รวม 8,012.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 โดยมีอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) อยู่ที่ร้อยละ 29.6 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 รวมถึงมีอัตรากำไรก่อนค่าใช้จ่ายทางการเงิน ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA Margin) อยู่ที่ร้อยละ 44.4 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน            สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานในไตรมาส 3 และงวด 9 เดือนของปีนี้ มาจากรายได้จากการขายไฟฟ้าของ บริษัท ไฟฟ้าน้ำงึม 2 จำกัด (NN2) ที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 32.5 และ 42.2 ตามลำดับ จากปรากฎการณ์ลานีญาและอิทธิพลจากพายุยางิที่ทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากขึ้น โดยเฉพาะในเดือนกันยายน 2567 ส่งผลให้ NN2 สามารถประกาศความพร้อมจ่ายไฟฟ้าได้มากขึ้น นอกจากนี้ค่าเชื้อเพลิงของบริษัท บางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น จำกัด (BIC) ยังลดลงตามสถานการณ์ราคาก๊าซธรรมชาติ                        "จากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำงึม 2 ในปัจจุบันที่อยู่ในระดับสูง จะทำให้การบริหารจัดการน้ำในช่วงที่เหลือของปี 2567 และช่วง 6 เดือนแรกของปี 2568 มีความคล่องตัว นอกจากนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐอเมริกา และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศไทย ทำให้ต้นทุนทางการเงินของบริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด (XPCL) ลดลง ซึ่งส่งผลดีต่อส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมของ CKPower ในไตรมาส 4 ต่อเนื่องไปถึงปี 2568" นายธนวัฒน์ กล่าว            สำหรับฐานะการเงินของ CKPower มีความแข็งแกร่งต่อเนื่อง ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 บริษัทมีสินทรัพย์รวม 73,653 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 จากสิ้นปี 2566 มีอัตราส่วนสภาพคล่องอยู่ที่ 1.98 เท่า เพิ่มขึ้น 0.30 เท่าจากสิ้นปี 2566 ขณะที่อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้นรวมก็ยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ 0.54 เท่า เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากสิ้นปี 2566 สะท้อนถึงความเพียงพอของสภาพคล่องและความสามารถในการชำระหนี้ที่อยู่ในระดับสูงของบริษัท            ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา CKPower ได้รับคะแนนกำกับดูแลกิจการ (CG Score) ในระดับ "ดีเลิศ" ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย สะท้อนการบริหารจัดการบริษัทที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างรอบด้าน ครอบคลุมมิติบรรษัทภิบาล สังคม และสิ่งแวดล้อม (ESG) พร้อมกันนี้ในช่วงเดียวกัน บริษัทได้รับเกียรติบัตรจากโครงการ ESG DNA ชุดความรู้ด้านความยั่งยืน สำหรับบุคลากรทุกระดับ จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในฐานะ 1 ใน 50 องค์กรต้นแบบที่ได้เข้าร่วมโครงการและมีพนักงานเข้าอบรมผ่านเกณฑ์แล้วกว่าร้อยละ 79.7 ของหลักสูตร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริษัทฯ ให้ความสำคัญกับหลักการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน การรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน            “CKPower ยังคงมุ่งมั่นผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้กับประเทศไทย พร้อมกับสานต่อกลยุทธ์ด้านการจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามมาตรฐานสากล รวมถึงแนวปฏิบัติการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ มุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ที่สามารถหวังผลในระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรมภายในปี 2593" นายธนวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย เกี่ยวกับ “บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKPower”            บริษัทประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานประเภทต่าง ๆ 3 ประเภท จำนวน 18 แห่ง รวมขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 3,640 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย (1) โรงไฟฟ้าพลังน้ำ 3 แห่ง คือ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำงึม 2 ภายใต้ บริษัท ไฟฟ้าน้ำงึม 2 จำกัด ซึ่งบริษัทถือหุ้น 46% (ถือผ่าน บริษัท เซาท์อีสท์ เอเชีย เอนเนอร์จี จำกัด) ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 615 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี ภายใต้ บริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด ซึ่งบริษัทถือหุ้น 42.5% ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 1,285 เมกะวัตต์ และ โครงการไฟฟ้าพลังน้ำ หลวงพระบาง ภายใต้ บริษัท หลวงพระบาง พาวเวอร์ จำกัด ซึ่งบริษัทถือหุ้น 50% ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 1,460 เมกะวัตต์ (2) โรงไฟฟ้าระบบโคเจนเนอเรชั่น 2 แห่ง ภายใต้ บริษัท บางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น จำกัด ซึ่งบริษัทถือหุ้น 65% ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 238 เมกะวัตต์ และ (3) โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ 13 แห่ง ภายใต้ บริษัท บางเขนชัย จำกัด ซึ่งบริษัทถือหุ้น 100% จำนวน 11 แห่ง ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 28 เมกะวัตต์ ภายใต้บริษัท นครราชสีมา โซล่าร์ จำกัด ซึ่งบริษัทถือหุ้น 30% จำนวน 1 แห่ง ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 6 เมกะวัตต์ และภายใต้บริษัท เชียงราย โซล่าร์ จำกัด ซึ่งบริษัทถือหุ้น 30% จำนวน 1 แห่ง ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 8 เมกะวัตต์ [PR News]

[PR News] CKP คว้ารางวัล “องค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก”

[PR News] CKP คว้ารางวัล “องค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก”

           กรุงเทพฯ (16 ต.ค. 67) – บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKPower (ชื่อย่อหลักทรัพย์: CKP) หนึ่งในผู้นำในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคและมีคาร์บอนฟุตพรินต์ที่ต่ำที่สุดรายหนึ่ง ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ "องค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก" (Climate Action Leading Organization: CALO) ประเภทดีเด่น จาก นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลการประเมินในด้านการตรวจวัดและทวนสอบข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมีแผนการลดก๊าซเรือนกระจก ตอกย้ำการดำเนินงานของ ซีเค พาวเวอร์ ที่มุ่งมั่นและแสดงเจตนารมณ์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนตลอดห่วงโซ่คุณค่า            นายธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ซีเค พาวเวอร์ ให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตามกรอบเป้าหมาย SDGs ของสหประชาชาติ โดยที่ผ่านมาได้มีการจัดทำนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นโยบายอนุรักษ์พลังงาน ที่ครอบคลุมการทำงานทั่วทั้งองค์กร ซึ่งในมิติการอนุรักษ์พลังงานได้มีการส่งเสริมให้บุคลากรในทุกหน่วยงานภายในองค์กรคิดค้นนวัตกรรมด้านการลดการใช้พลังงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมกันนี้มีแผนเพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงสนับสนุนการเพิ่มพื้นที่ป่าและพื้นที่สีเขียวอย่างต่อเนื่องในอนาคต ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวขับเคลื่อนการทำงานผ่าน คณะกรรมการขับเคลื่อนความยั่งยืน ในการกำหนดทิศทางและเป้าหมายโดยมีบุคลากรและพนักงานของบริษัทร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ตามกลยุทธ์ความยั่งยืน (C-K-P) โดยในปี 2566 กลุ่มบริษัท ซีเค พาวเวอร์ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 0.069 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) ต่อการผลิตไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์-ชั่วโมง (MWh) ซึ่งลดลง 0.26% จากเป้าหมาย รวมถึงหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 4.4 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี”            “ก้าวต่อจากนี้ ซีเค พาวเวอร์ วางเป้าหมายการเติบโตในด้านการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและรากฐานความมั่นคงทางพลังงาน ตลอดจนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ทั้งนี้สำหรับผลการประเมินในด้านการตรวจวัดและการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับดีเด่น จากคณะกรรมการเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) จะเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการเดินหน้าสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ที่สามารถหวังผลในระยะยาวอย่างเป็นรูปธรรมภายในปี 2593 ตามกรอบแผนงาน CKP NET ZERO EMISSIONS 2050” นายธนวัฒน์ กล่าวเสริม            ซีเค พาวเวอร์  เป็น 1 ใน 2 บริษัทจากกลุ่มทรัพยากรที่ได้รับรางวัล “องค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก (CALO)” ประจำปี 2567 ประเภทดีเด่น จากการได้รับผลการประเมินระดับเงิน (Silver) อย่างน้อย 2 ระดับ จากเกณฑ์การประเมิน 3 ด้าน คือ ด้านการตรวจวัดและทวนสอบ (Measure) การลด (Reduce) และการชดเชย (Contribute) จากการตัดสินของคณะกรรมการเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network: TCNN) เป็นหนึ่งในเครือข่ายขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เพื่อขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกขององค์กรภาคส่วนต่างๆ และยกย่ององค์กรที่แสดงถึงความเป็นผู้นำในการบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรผ่านการแสดงเจตนารมณ์ที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในระดับองค์กร ผ่านเป้าหมายและแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน

เป้าใหม่ CKP 5.2 บาท โบรกเคาะกำไร Q3 1.6 พันล.

เป้าใหม่ CKP 5.2 บาท โบรกเคาะกำไร Q3 1.6 พันล.

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จํากัด (มหาชน) (KSS) คาดว่า CKP จะมีกำไรสุทธิ 1.6 พันล้านบาทใน 3Q24F เพิ่มขึ้น 59% yoy และเพิ่มขึ้น 22 เท่า qoq โดยมาจากรายได้ที่สูงขึ้น ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนที่มากขึ้น และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เพิ่มขึ้น คาด CKP มีแนวโน้มที่จะเข้าสู่รอบการเติบโตของกำไรไปจนถึงปี 2025F ซึ่งมีแรงหนุนจากสภาพอากาศลานีญาและสถานการณ์ที่ดีขึ้นที่ XPCL ดังนั้นจึงปรับคำแนะนำ CKP เป็น "Buy" (จาก "Trading Buy") ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 5.2 บาท (จาก 4.3 บาท, rolled over ไปปี 2025F)

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

โบรกส่องเป้า CKP 4 บาท

โบรกส่องเป้า CKP 4 บาท

          หุ้นวิชั่น - บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ออกบทวิเคราะห์ โดยปรับคำแนะนำเป็น "ถือ" จากเดิม ซื้อ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKP โดยลดราคาเป้าหมายมาที่ 4 บาท (เดิม 4.50 บาท) อิง DCF (WACC 5.5%, TG 0%) สะท้อนประมาณการใหม่ หลังโรงไฟฟ้าไซยะบุรีหยุดผลิตไฟฟ้าบางช่วง           ฝ่ายวิเคราะห์ประเมินกำไรปกติไตรมาส 3/2567 ที่ 857 ล้านบาท (-13% YoY, +475% QoQ) YoY ลดลงจากปริมาณน้ำที่มากเกินไปไหลเข้าเขื่อนไซยะบุรีส่งผลให้หยุดผลิตไฟฟ้าไปราว 17 วัน ในขณะที่ QoQ ฟื้นตัวจากปัจจัยฤดูกาล โดยประเมินการผลิตไฟฟ้าของโครงการหลักดังนี้ 1) โรงไฟฟ้าไซยะบุรีผลิตไฟฟ้า -16% YoY, +43% QoQ และ 2) โรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 ผลิตไฟฟ้า +20% YoY, +4% QoQ โดยฝ่ายวิเคราะห์ปรับประมาณการกำไรปกติปี 2567 ลงมาที่ 1.3 พันล้านบาท (-14% YoY) ลดลงจากประมาณการเดิม -28% หลังโครงการไซยะบุรีต้องหยุดผลิตไฟฟ้าไปราว 17 วัน และหยุดในช่วงที่เป็น peak season ฝ่ายวิเคราะห์ประเมินการผลิตไฟฟ้าของโครงการไซยะบุรีในปี 2567 ที่ 6,398 GWh (-7% YoY)           ในขณะที่ปี 2568 ประเมินกำไรปกติที่ราว 2.0 พันล้านบาท (+53% YoY) ใกล้เคียงประมาณการเดิม คาดหวัง normal operation โดยไม่มีการหยุดผลิตไฟฟ้าของโครงการไซยะบุรี           ฝ่ายวิเคราะห์คาดกำไร 3/2567 ฟื้นตัวไม่ดีเท่าที่ควรหลังน้ำไหลเข้าเขื่อนไซยะบุรีมากเกินไป จึงประเมินกำไรปกติไตรมาส 3/2567 ที่ 857 ล้านบาท (-13% YoY, +475% QoQ) YoY ลดลงจากปริมาณน้ำที่มากเกินไปไหลเข้ําเขื่อนไซยะบุรีส่งผลให้หยุดผลิตไฟฟ้าไปราว 17 วัน (10 วันใน ส.ค. และ 7 วันในก.ย.) ในขณะที่ QoQ ฟื้นตัวจากปัจจัยฤดูกาล โดยประเมินการผลิตไฟฟ้าของโครงการหลักดังนี้ 1) โรงไฟฟ้าไซยะบุรีผลิตไฟฟ้าได้ 2,031GWh (-16% YoY, +43% QoQ) และ 2) โรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 ผลิตไฟฟ้า 532GWh (+20% YoY, +4% QoQ) ปรับประมาณการกำไรปกติปี 2567 ลงหลังไซยะบุรีหยุดผลิตไฟฟ้าไปบ้างช่วงในช่วง peak season ปรับประมาณการกําไรปกติปี 2567 ลงมาที่ 1.3 พันล้านบาท (-14% YoY) ลดลงจากประมาณการเดิม -28% หลังโครงการไซยะบุรีต้องหยุดผลิตไฟฟ้าไปราว 17 วัน และหยุดในช่วงที่เป็น peak season ส่งผลให้ capacity factor ลดลง โดยฝ่ายวิเคราะห์ประเมินการผลิตไฟฟ้าของโครงการไซยะบุรีในปี 2567 ที่ 6,398GWh (-7% YoY) ในขณะที่ปี 2568 ประเมินกําไรปกติที่ราว 2.0 พันล้านบาท (+53% YoY) ใกล้เคียงประมาณการเดิม คาดหวัง normaloperation โดยไม่หยุดผลิตไฟฟ้าของโครงการไซยะบุรี           ราคาหุ้น underperform SET ราว -11% ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา จากความเสี่ยงกรณีนำมามากซึ่งทำให้โครงการไซยะบุรีต้องหยุดผลิตไฟฟ้ํา ฝ่ายวิเคราะห์ประเมินยังเป็นเรื่องท้าทายที่ราคาหุ้นจะกลับไป outperform SET ได้ แม้มี La Nina ช่วยหนุน แต่การพลาดโอกาสในการทำกำไรในช่วง peak season ทำให้ key catalyst อ่อนลง จึงปรับคำแนะนพลงจาก “ซื้อ” เป็น “ถือ” ต้องกําร catalyst ใหม่ซึ่งในระยะ สั้นยังไม่เด่น รายงานโดย : มินตรา แก้วภูบาล บรรณาธิการข่าว mai สำนักข่าว Hoonvision

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011