ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#CENTEL


“เที่ยวคนละครึ่ง” กระตุ้นยอด CENTEL ติดปีกรับประโยชน์

“เที่ยวคนละครึ่ง” กระตุ้นยอด CENTEL ติดปีกรับประโยชน์

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า สถานการณ์อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยล่าสุด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ TAT รายงานจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในไทยสะสมระหว่างวันที่ 1 ม.ค.-9 มี.ค. 68 อยู่ที่ 7.66 ล้านคน โดยนักท่องเที่ยว 5 อันดับแรก คือ จีน มาเลเซีย รัสเซีย เกาหลีใต้ และอินเดีย (Figure 1) สร้างรายได้เข้าประเทศไปแล้ว 375,035 ล้านบาท จากตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในไทย จะเห็นว่าจีนเป็นอันดับ 1 แต่หากมองย้อนกลับไปตั้งแต่เดือน ม.ค. 67 - ก.พ. 68 จะเห็นว่านักท่องเที่ยวจีนหดตัวลง (Figure 2) ทางฝ่ายคาดในปี 68 นักท่องเที่ยวจีนมีแนวโน้มเข้ามาเที่ยวไทยน้อยลง เนื่องจาก 1)ความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยน้อยลง จากข้อมูลของสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว หรือ แอตต้า กล่าวว่าคนจีนบางส่วนยังมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินทางมาเที่ยวไทย ซึ่งอาจเกิดจากข่าวอาชญากรรม การฉ้อโกงนักท่องเที่ยว หรือความไม่มั่นใจในระบบกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายในประเทศ 2) แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน เหตุจาก 1) อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) จีน ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อ ในเดือน ก.พ. ลดลง 0.7% y-y โดยเป็นการหดตัวลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 68 ตามข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) ฉบับล่าสุด ทางฝ่ายมองว่าบ่งชี้ถึงความเสี่ยงด้านเงินฝืดที่ยังคงกดดันเศรษฐกิจจีน หากแยกองค์ประกอบอัตราเงินเฟ้อของจีน ด้านบริการลดลง 0.4% y-y การบริโภคสินค้าลดลง 0.9% y-y และ ด้านอาหารลดลง 3.3% y-y จากตัวเลขดังกล่าวจะเห็นว่าหดตัวลงในทุกด้าน สะท้อนว่าในปัจจุบันผู้บริโภคชาวจีนยังคงระมัดระวังการใช้จ่ายและมีแนวโน้มการเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศน้อยลง 3) ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนและประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐฯ อาจทำให้เศรษฐกิจจีนได้รับผลกระทบต่อเนื่อง ส่งผลให้คนจีนลดงบประมาณการท่องเที่ยวต่างประเทศ 4) นโยบายของรัฐบาลจีนที่ต้องการกระตุ้นให้ประชาชนท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น ทำให้การเดินทางออกนอกประเทศลดลง 5) การแข่งขันจากประเทศอื่น เช่น ญี่ปุ่น เวียดนาม และจีน โดยเห็นได้จากนักท่องเที่ยวจีนที่ ก่อนหน้านี้เคยเดินทางมาไทย อาจเลือกประเทศอื่นที่ให้ประสบการณ์ใหม่ๆ แทน 6) ไทยขาดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ตอบโจทย์นักท่องเที่ยว ปัจจัยพื้นฐาน เช่น ห้องน้ำสะอาด ระบบขนส่งที่สะดวก ยังคงเป็นจุดที่ต้องปรับปรุง และ 7) พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจีนเปลี่ยนไป ซึ่งนักท่องเที่ยวจีนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับการเดินทางแบบพรีเมียมและประสบการณ์ที่มีคุณภาพมากขึ้น มากกว่าการมาท่องเที่ยวแบบกลุ่มทัวร์ราคาถูก ซึ่งไทยอาจยังไม่ได้ตอบโจทย์กลุ่มนี้ได้ดีพอ คาดปี 68 ท่องเที่ยวโต แต่ยังมีความท้าทาย          ทางฝ่ายคาดในปี 68 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยสดใสมากกว่าปี 67 หนุนจาก 1) โครงการฟรีวีซ่า 2)การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) 3) การขยายตัวของธุรกิจ MICE (Meetings, Incentive Travel, Conventions, Exhibitions) รับแรงหนุนจากการที่บริษัทต่างชาติ กลับมาจัดงานสัมมนาและอีเวนต์ในประเทศไทยมากขึ้น 4) โครงการ “เที่ยวคนละครึ่ง” ของ TAT ที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วง 2Q68 เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในช่วงโลว์ซีซั่นระหว่างเดือน พ.ค. - ก.ย. 68 โดยมีรูปแบบคล้ายโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” แต่ภาครัฐจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพิ่มเป็น 50% และนักท่องเที่ยวจ่ายเองอีก 50% ทั้งนี้ TAT แจ้งงบประมาณราว 3,500 ล้านบาท ซึ่งในระยะแรกจะเปิดให้จอง 1 ล้านสิทธิ์เพื่อใช้ประโยชน์ในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งสามารถใช้สิทธิ์ในการจ่ายค่าโรงแรมที่พักและร้านอาหาร ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่า สามารถใช้สิทธิ์จองตั๋วเครื่องบินได้หรือไม่ และอาจมีการพัฒนาแพลตฟอร์มกลางร่วมกับบริษัทท่องเที่ยวออนไลน์ (OTA) เพื่อรองรับการจองสินค้าและบริการท่องเที่ยว รวมถึงการจองห้องพักโดยตรงจากโรงแรม คาดว่าโครงการจะเริ่มใช้งานได้ปลาย 2Q68 ถึง 3Q68 อย่างไรก็ตามทางฝ่ายมองว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยยังคงมีปัจจัยกังวลจากแนวโน้มการแข่งขันในตลาดท่องเที่ยวรุนแรงขึ้นตามความต้องการขายห้องพักของผู้ประกอบการมีเพิ่มขึ้น รวมถึงแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ตลอดจนประเด็นความไม่ปลอดภัยเรื่องการเที่ยวในไทย ทางฝ่ายคาดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในไทยในปี 68 อยู่ที่ราว 37 ล้านคน (Figure 3) ซึ่งเป็นตัวเลขที่ยังไม่ครอบคลุมจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีก่อนการระบาดของไวรัส COVID-19 แนะนำ CENTEL เป็น Top Pick ของกลุ่ม          ทางฝ่ายแนะนำ CENTEL เป็น Top Pick ของกลุ่ม ราคาพื้นฐานปี 68 ที่ 37.75 บาท หนุนจากการมีสัดส่วนรายได้จากประเทศไทยราว 80% ของรายได้ธุรกิจโรงแรม จากสัดส่วนดังกล่าวทางฝ่ายมองว่าCENTEL มีแนวโน้มรับประโยชน์จากโครงการ “เที่ยวคนละครึ่ง” ของ TAT ที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วง 2Q68 รวมถึงปัจจัยบวกจากการเปิดโรงแรมใหม่ในมัลดีฟส์เพิ่มเติม และแนวโน้มการเร่งตัวขึ้นของ อัตราการเข้าพัก (OCC) และรายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก (RevPAR) ในปีนี้ หนุนจากงาน World Expo (เดือนเม.ย. - ต.ค. 68) สำหรับรายได้จากธุรกิจร้านอาหาร ทางฝ่ายคาดเร่งตัวขึ้น y-y หนุนจากการขยายสาขาของแบรนด์หลักและการขยายแบรนด์ใหม่

CENTEL ท่องเที่ยวหนุน โรงแรมขยายตัว 20% - เป้า 41 บ.

CENTEL ท่องเที่ยวหนุน โรงแรมขยายตัว 20% - เป้า 41 บ.

              หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด ระบุถึง CENTEL ว่า เติบโตต่อเนื่องในปี 2025 ► CENTEL รายงานกำไรสุทธิปี 2024 ที่ 2.3 หมื่นล้านบาท เติบโต 6.9% YoY โดยธุรกิจโรงแรมทำสถิติสูงสุดจากการเติบโตของ RevPar ในไทยและญี่ปุ่น ขณะที่ธุรกิจอาหาร +4% YoY และกำไรสุทธิ 1.75 พันล้านบาท +40% YoY ► ในปี 2025 ธุรกิจโรงแรมคาดขยายตัว 20% จากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวและการขยายโรงแรม 9 แห่ง ขณะที่ธุรกิจอาหารคาดรายได้ +10% จากการเปิดแบรนด์ใหม่และขยายสาขา ► แนะนำ “ซื้อ” โดยมีราคาเป้าหมาย 41.00 บาท อิง PE เฉลี่ยย้อนหลัง 2 ปี – 1.5 S.D. ที่ 26.8 เท่า Earnings Review               รายงานผลประกอบการปี 2024 ออกมาที่ 2.3 หมื่นล้านบาท เติบโต +6.9% YoY โดยรายได้ธุรกิจโรงแรมทำ Record High +12% YoY ได้รับแรงหนุนจาก RevPar (รายได้เฉลี่ยต่อห้องพักทั้งหมดในโรงแรม) ที่เติบโตโดดเด่น โดยเฉพาะในไทยและญี่ปุ่น ในขณะที่ธุรกิจอาหาร SSSG อยู่ในระดับคงที่ แต่ยอดขายรวมโต 4% YoY ผ่านการเปิดแบรนด์ใหม่ 2 แบรนด์ ได้แก่ NAMA และ Katsu Midoriด้านต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการขายสามารถควบคุมได้ผ่านโครงการควบคุมต้นทุนของบริษัท ทำให้ทั้งปีมีกำไรสุทธิที่ 1.75 พันล้านบาท +40% YoY Outlook               แนวโน้มธุรกิจโรงแรมในปี 2025 คาดการท่องเที่ยวจะเติบโตตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาสู่ไทย โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3-5%ในไทยคาดจำนวนนักท่องเที่ยว ราว 38-40 ล้านคน, มัลดีฟส์ 2.2-2.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากการขยายสนามบิน ด้านญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดใหม่ มีผลประกอบการ 2024 ค่อนข้างโดดเด่น และคาดว่าปี 2025 จะสามารถเติบโตได้ต่อเนื่องจากการจัดงาน Expo ที่โอซาก้า ตั้งแต่เดือนเมษายนไปจนถึงเดือนตุลาคมแผนขยายธุรกิจของ CENTEL มีแผนขยายโรงแรมเพิ่ม 9 แห่ง แบ่งเป็นโรงแรมที่เป็นเจ้าของเอง 2 แห่งโรงแรมในเครืออีก 7 แห่งมีการพิจารณาทำ JV และธุรกิจใหม่ เพื่อเพิ่มรายได้ ประกอบกับการทำโครงการเพื่อลดต้นทุนอย่างต่อเนื่อง คาดว่าปีนี้ ธุรกิจโรงแรมจะสามารถเติบโตได้ระดับ Double Digit แนวโน้มธุรกิจอาหาร               อุตสาหกรรมอาหารโลกขยายตัวราวปีละ 5% โดยมีแนวโน้มหลักดังนี้เกิดแบรนด์ใหม่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง แบรนด์อาหารจากจีนเริ่มรุกตลาดมากขึ้นอาหารในกลุ่ม Premium ได้รับความนิยมมากขึ้นแบรนด์อาหารส่วนใหญ่ได้รับความนิยมและเสื่อมความนิยมอย่างรวดเร็วเกิดสินค้าใหม่ขึ้นอย่างต่อเนื่องเริ่มใช้คนน้อยลงผ่านการ Optimize การประกอบอาหาร ด้าน CENTEL มุ่งเน้นไปที่:               การเพิ่มรายได้ในกลุ่มอาหาร Top แบรนด์ เปิดสาขาเพิ่มเพิ่มระดับ SSSG หากการเติบโตใหม่ในกลุ่มลูกค้าใหม่ผ่านการออกสินค้าใหม่ในแบรนด์เดิม เพิ่มประสิทธิภาพในการทำกำไรพัฒนา Gross Profit ในกลุ่มธุรกิจ Deliveryเพิ่ม Labor Productivity โดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนจัดสรรพื้นที่ร้านอาหารให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพิ่มแบรนด์อาหารใหม่ตั้งเป้าธุรกิจอาหารเติบโต 10-13%SSSG +3-5%ร้านอาหารทั้งหมด 1,400 สาขา แบรนด์อาหารใหม่ 2-3 แบรนด์ แนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 41.00 บาท               คาดการณ์รายได้ปี 2025 จะอยู่ที่ 2.9 หมื่นล้านบาท +6.9% ธุรกิจโรงแรมเติบโต +20% YoY จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นและการเปิดโรงแรมใหม่ ธุรกิจอาหารคาดว่าจะขยายตัวได้ 10% YoY ผ่านการเปิดสาขาร้านอาหารใหม่และเพิ่มแบรนด์อาหารใหม่คาดการณ์กำไรสุทธิอยู่ที่ 2.07 พันล้านบาท +12.3% YoYแนะนำ “ซื้อ” มีราคาเป้าหมายที่ 41.00 บาท อิง PE เฉลี่ยย้อนหลัง 2 ปี – 1.5 S.D. ที่ 26.8 เท่า ปัจจัยเสี่ยง: เศรษฐกิจชะลอตัว ต้นทุนที่สูงขึ้น จำนวนนักท่องเที่ยวไม่เป็นไปตามที่คาดภาวะสงครามในยุโรป การแข่งขันด้านราคา               ประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืน:ตั้งเป้าปล่อย คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050ติดตั้ง โซลาร์เซลล์ 8 โรงแรมลดปริมาณการใช้น้ำต่อห้องพัก (Environmental - E)มุ่งพัฒนาและยกระดับพนักงานโดยให้การสนับสนุน การศึกษา ความก้าวหน้าในอาชีพ สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Social - S) CENTEL ได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิก S&P Global Sustainability Yearbook Member ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ได้รับการประเมินจาก MSCI ESG ในระดับ A ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 (Governance - G)

CENTEL คาดปีนี้ผลงานแกร่ง อาหาร-โรงแรมหรูหนุน เป้า 41.86 บ.

CENTEL คาดปีนี้ผลงานแกร่ง อาหาร-โรงแรมหรูหนุน เป้า 41.86 บ.

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.กสิกรไทย มีมุมมองเชิงบวกต่อ CENTEL จากเป้าหมายสำหรับทั้งโรงแรมเติบโตราว 23% มาจากส่วนของ RevPar ราว 4,500 – 4,800 บาท และอัตราการเข้าพักที่ 74-77% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่ระดับ 71% และ ADRที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 7-10% และสำหรับธุรกิจอาหารบริษัทตั้งเป้า SSSG เพิ่มขึ้นราว 3-5% ในปี 2025 และมีการเปิดสาขาเพิ่มขึ้นที่ 50-70 สาขา คาดรายได้ธุรกิจอาหารเติบโตราว 6-8% สำหรับธุรกิจโรงแรมมีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปี 2025 มาจากกลุ่ม upscale and luxury hotels (Centara Grand, Centara Reserve) และคาดว่า Centara Mirage Pattaya กับ Centara Karon จะเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโต ของธุรกิจโรงแรมสำหรับปีนี้            CENTEL: ราคาพื้นฐานที่ 41.86 บาท

CENTEL ปักธงสู่ 1 ใน 100 แบรนด์โรงแรมชั้นนำโลก

CENTEL ปักธงสู่ 1 ใน 100 แบรนด์โรงแรมชั้นนำโลก

          หุ้นวิชั่น - CENTEL รุกขยายโรงแรมทั่วโลก เดินหน้าสู่เป้าหมาย 1 ใน 100 แบรนด์โรงแรมชั้นนำระดับโลกภายในปี 2570 พร้อมเผยแนวโน้มธุรกิจปี 2568 รายได้รวมโต 23% แตะ 15,100 ล้านบาท รับแรงหนุนจากการเปิดโรงแรมใหม่ 9 แห่งทั่วโลก อัตราการเข้าพักที่ 74-77% ลุยโรดโชว์ให้เป็นที่รู้จัก ส่วนปีนี้ตั้งงบลงทุนที่ 8,000 ล้านบาท           นายธีระยุทธ จิราธิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา หรือ CENTEL เผยแผนธุรกิจและกลยุทธ์เติบโตในปีพ.ศ. 2568 เดินหน้าขยายสาขาไปยังตลาดใหม่ทั่วโลก พร้อมพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อยกระดับความพึงพอใจของลูกค้า มุ่งมั่นก้าวขึ้นเป็น 1 ใน 100 แบรนด์โรงแรมชั้นนำระดับโลกภายในปี พ.ศ. 2570 และเป็นแบรนด์ที่เป็นสถานที่แห่งความสุข สมดังสโลแกน The Place to Be สำหรับนักเดินทางทั่วโลก           สำหรับแนวโน้มธุรกิจปี 2568 ในส่วนของธุรกิจโรงแรม CENTELรายได้รวม (รวมโรงแรมร่วมทุน) คาดว่าจะอยู่ที่ 15,100 ล้านบาท เติบโตประมาณ 23% จากปีก่อน โดยคาดการณ์อัตราการเข้าพักเฉลี่ย (รวมโรงแรมร่วมทุน) จะอยู่ที่ 74-77%, รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPAR) จะอยู่ที่ 4,500–4,800 บาทต่อคืน โดยผลประกอบการจะสามารถเติบโตอย่างต่อเนื่องของรายได้โรงแรมในประเทศไทย อีกทั้งการรับรู้รายได้เต็มปีเป็นปีแรกจากโรงแรมที่มีการปรับปรุงครั้งใหญ่ และโรงแรมเปิดใหม่ ของโรงแรมเซ็นทารา กะรน ภูเก็ต, โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ มิราจ บีช รีสอร์ท พัทยา และ โรงแรมเซ็นทารา มิราจ ลากูน มัลดีฟส์           ยังมีการเปิดให้บริการโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ ลากูน มัลดีฟส์ ในเดือนเมษายน 2568 และผลการดำเนินงานเต็มปี ปีแรกของโรงแรมเซ็นทารา มิราจ ลากูน มัลดีฟส์ และ 4.ผลการดำเนินงานของโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ โอซาก้า ซึ่งคาดว่าจะได้รับปัจจัยบวกจากงาน World EXPO 2025 ในช่วงเมษายน – ตุลาคม 2568 ส่วนโรงแรมในกระบี่ก็ได้รับอานิสงส์การถ่ายทำภาพยนต์เรื่องราสสิค เวิลด์ 4 ช่วยให้ความต้องการท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ปัจจุบันบบริษัทมีโรงแรมในจังหวัดกระบี่จำนวน 1 โรงแรม ซึ่งในปี 2568 จะมีการปิดปรับปรุง และจะทำให้จำนวนห้องพักที่จะเปิดให้บริการใหม่ลดลงจากเดิมที่มี 192 ห้อง           อย่างไรก็ดีเซ็นทารายังตั้งเป้าเปิดโรงแรมและรีสอร์ทอีกทั้งสิ้น 9 แห่งในปีนี้ โดยหลังจากที่จะเปิดให้บริการโรงแรมในกระแส อย่างเซ็นทารา แกรนด์ ลากูน มัลดีฟส์ (ให้บริการห้องพัก 142 ห้อง) ในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้แล้ว ยังมีโรงแรมในต่างประเทศอีก 4 แห่ง ต่อคิวเพื่อรอเปิดให้บริการอีกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น อันนะปุรณะ เมาท์เทน รีสอร์ท และโรงแรมภายใต้แบรนด์เดอะ เซ็นทารา คอลเลคชั่น (The Centara Collection) อีกหนึ่งแห่งบนเกาะบาหลี ที่จะกลายมาเป็นรีสอร์ทแรกภายใต้เครือเซ็นทาราในประเทศเนปาลและอินโดนีเซีย รวมถึงโรงแรมใหม่อีก 2 แห่งในเวียดนาม ได้แก่ โรงแรมเซ็นทารา และเรสซิเดนซ์ วังดอน และคริสตัล ฮอลิเดย์ ฮาร์เบอร์ วังดอน ที่เมื่อรวมกันแล้วจะมีห้องพักให้บริการทั้งสิ้นถึง 977 ห้องด้วยกัน           ปัจจุบัน เซ็นทารามีโรงแรมและรีสอร์ทในเครือทั้งหมด 51 แห่ง พร้อมเดินหน้าตอกย้ำความเป็นเครือโรงแรมชั้นนำ ด้วยการเตรียมเปิดให้บริการโรงแรมทั้งในและต่างประเทศเพิ่มอีก 9 แห่ง ในปี พ.ศ. 2568 นี้ เช่น บน เกาะพีพี, เกาะสมุย และในจังหวัดสุราษฎร์ธานี           “บริษัทจะเดินหน้าในการโรดโชว์ประเทศต่างๆ ที่เป็น Key Destination หมายถึง จุดหมายปลายทางหลัก โดยปีที่ผ่านมาเริ่มดำเนินการและได้รับการตอบรับที่ดี จากการไปจีน เกาหลี อินเดีย ปีนี้ก็จะเน้นส่วนนี้ด้วย เพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ขยายโรงแรมไปสู่จุดหมายปลายทางท่องเที่ยวที่เรายังไม่เคยไปอย่างอินโดนีเซียและเนปาล เพื่อเติบโตธุรกิจเซ็นทาราให้แข็งแกร่งในตลาดโลก และก้าวขึ้นเป็น 1 ใน 100 แบรนด์โรงแรมชั้นนำระดับโลกภายใน พ.ศ. 2570 ตามเป้าหมายที่เราวางไว้ “ธีระยุทธ จิราธิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา กล่าว           ด้านธุรกิจอาหารในปี 2568 บริษัทประมาณการอัตราการเติบโตจากสาขาเดิม (Same-Store-Sales : SSS) ไม่รวมกิจการร่วมค้ามี่ 3-5% จากปีก่อน และอัตราการเติบโตของยอดขายรวมทุกสาขา (Total-System-Sales : TSS) จะอยู่ในช่วง 6-8% จากปีที่ผ่านมา สำหรับการขยายสาขา ณ สิ้นปี 2568 คาดว่าจำนวนสาขาจะเพิ่มขึ้นประมาณ 4-5% จาก ณ สิ้นปี 2567 ที่มี 1,396 สาขา จากการมุ่งเน้นการขยายสาขาในแบรนด์ที่มีอัตราทำกำไรสูงเป็นหลัก           นายกันย์ ศรีสมพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน และ รองประธานฝ่ายการเงินและบริหาร บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) หรือ CENTEL เปิดเผยว่า สำหรับปี 2568 บริษัทวางงบลงทุนไว้ที่ 8000 ล้านบาทแบ่งเป็นงบลงทุนสำหรับการลงทุนใหม่ใหม่ เช่น การควบรวมกิจการ (M&A) ที่ 1,800 ล้านบาท, สำหรับลงทุนในธุรกิจโรงแรม ทั้งการปรับปรุงและการลงทุนก่อสร้างใหม่ 5,000 ล้านบาท (ซึ่งในปีนี้บริษัทมีแผนปรับปรุงและลงทุนโรงแรมในพอร์ตจำนวน 4 โรงแรมหลัก ได้แก่ โรงแรมในดูไบ, โรงแรมในเกาะสมุย, โรงแรมในหัวหิน และโรงแรมในจังหวัดกระบี่) และสำหรับใช้ในธุรกิจอาหาร 1,200 ล้านบาท           อย่างไรก็ดี ปี 2567 ที่ผ่านมา นับเป็นอีกปีแห่งความสำเร็จของเซ็นทารา โดยโรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารามีรายได้รวมอยู่ที่ 11,162 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,230 ล้านบาท (หรือ 12%) เทียบปีก่อน โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารามีกำไรสุทธิจำนวน 1,097 ล้านบาท เติบโตขึ้น 43% เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญของผลการดำเนินงานของรีสอร์ทในมัลดีฟส์ ซึ่งล่าสุดได้เปิดให้บริการเซ็นทารา มิราจ ลากูน มัลดีฟส์ รีสอร์ทธีมดินแดนใต้น้ำสุดมหัศจรรย์ บนเกาะสวรรค์ในพื้นที่มาเล่ อะทอลล์เหนือ หนึ่งในเกาะในกลุ่มมัลดีฟส์อันสวยงามไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว และกำลังจะเปิดให้บริการเซ็นทารา แกรนด์ ลากูน มัลดีฟส์ รีสอร์ทหรูเพื่อการพักผ่อนแบบเหนือระดับบนเกาะเดียวกันในเดือนเมษายนนี้ ซึ่งนั่นจะทำให้เซ็นทารามีโรงแรมและรีสอร์ทในมัลดีฟส์รวมกันทั้งสิ้น 4 โรงแรม ภายใต้แบรนด์และธีมที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่ แบรนด์เซ็นทารา (Centara), แบรนด์เซ็นทารา แกรนด์ (Centara Grand), แบรนด์เดอะ เซ็นทารา คอลเลคชั่น (The Centara Collection) และรีสอร์ทภายใต้ธีมมิราจ เพื่อให้ตอบโจทย์ทุกความต้องการของทุกกลุ่มลูกค้าในตลาดมัลดีฟส์           ในด้านกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาแบรนด์ เซ็นทาราได้เปิดตัวแบรนด์ใหม่ๆ ตลอดช่วงไม่กี่ปีมานี้ เริ่มตั้งแต่การเปิดตัว แบรนด์สุดหรูอย่างเซ็นทารา รีเซิร์ฟ (Centara Reserve) และแบรนด์ไลฟ์สไตล์ ที่พร้อมมอบอิสระแห่งการพักผ่อนอย่างเซ็นทารา ไลฟ์ (Centara Life) โดยล่าสุดในเดือนมกราคมปีนี้ เซ็นทาราได้เปิดตัวแบรนด์ใหม่อีกแบรนด์ คือ เดอะ เซ็นทารา คอลเลคชั่น (The Centara Collection) แบรนด์ใหม่ล่าสุดในเครือ ที่นำเสนอโรงแรมที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตนอย่างแตกต่าง ผ่านดีไซน์ มนต์เสน่ห์ท้องถิ่น และประสบการณ์เข้าพักอันน่าประทับใจ โดยในปัจจุบันมีโรงแรมภายใต้แบรนด์นี้ทั้งหมด 3 โรงแรม คือ มัชชาฟูชิ ไอส์แลนด์ รีสอร์ทและสปา มัลดีฟส์, รุกข์ คีรี เขาใหญ่ และวารีวาน่า รีสอร์ท เกาะพะงัน ซึ่งเซ็นทารามีแผนจะขยายโรงแรมภายใต้แบรนด์นี้ไปยังจุดหมายปลายทางใหม่ๆ ให้เพิ่มขึ้นอีกในปีนี้           นอกจากนั้น ในปีพ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา เซ็นทารา แกรนด์ มิราจ บีช รีสอร์ท พัทยา และเซ็นทารา กะรน รีสอร์ท ภูเก็ต ซึ่งถือเป็นอีกสองโรงแรมแฟล็คชิพของเครือเซ็นทาราในประเทศไทย ก็ยังได้กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง หลังปิดปรับปรุงครั้งยิ่งใหญ่ อีกทั้งเซ็นทารายังมีแผนปรับโฉมโรงแรมสำคัญอีกสองแห่งในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องในปีนี้ นั่นคือเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ทและวิลล่า หัวหิน โรงแรมชื่อดังระดับตำนาน ที่เริ่มทยอยปิดปรับปรุงพื้นที่บางส่วนเพื่อสร้างเป็นห้องพักประเภทวิลล่าสุดหรูอีก 70 หลัง โดยจะอยู่ภายใต้แบรนด์ เดอะ เซ็นทารา คอลเลคชั่น (The Centara Collection) ผนวกเข้ากับห้องพักที่จะสร้างใหม่เพิ่มอีก 200 ห้อง ภายใต้แบรนด์เซ็นทารา ไลฟ์ (Centara Life) ซึ่งทั้งหมดนี้ จะทำเซ็นทารามีห้องพักกว่า 484 ห้องให้บริการภายใต้แบรนด์ที่หลากหลาย รวมทั้งเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ทและวิลล่า กระบี่ รีสอร์ทที่ตั้งอยู่บนชายฝั่งส่วนตัวอันเงียบสงบและงดงามของทะเลอันดามัน ก็มีแผนจะปิดปรับปรุงครั้งสำคัญในปีนี้ด้วยเช่นกัน โดยตั้งเป้าให้กลายมาเป็นเซ็นทารา รีเซิร์ฟ (Centara Reserve) โรงแรมหรูระดับลักชัวรีแห่งที่สองของโลก ที่มุ่งเน้นการบริการอันเหนือระดับเพื่อรังสรรค์ประสบการณ์การเข้าพักที่จะเป็นจุดกำเนิดของเรื่องราวสุดงดงาม           และเพื่อให้แผนการปรับปรุงโรงแรมและรีแบรนด์สมบูรณ์ที่สุด เซ็นทารายังตั้งเป้าเปิดโรงแรมและรีสอร์ทอีกทั้งสิ้น 9 แห่งในปีนี้ โดยหลังจากที่จะเปิดให้บริการโรงแรมในกระแส อย่างเซ็นทารา แกรนด์ ลากูน มัลดีฟส์ (ให้บริการห้องพัก 142 ห้อง) ในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้แล้ว ยังมีโรงแรมในต่างประเทศอีก 4 แห่ง ต่อคิวเพื่อรอเปิดให้บริการอีกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น อันนะปุรณะ เมาท์เทน รีสอร์ท และโรงแรมภายใต้แบรนด์เดอะ เซ็นทารา คอลเลคชั่น (The Centara Collection) อีกหนึ่งแห่งบนเกาะบาหลี ที่จะกลายมาเป็นรีสอร์ทแรกภายใต้เครือเซ็นทาราในประเทศเนปาลและอินโดนีเซีย รวมถึงโรงแรมใหม่อีก 2 แห่งในเวียดนาม ได้แก่ โรงแรมเซ็นทารา และเรสซิเดนซ์ วังดอน และคริสตัล ฮอลิเดย์ ฮาร์เบอร์ วังดอน ที่เมื่อรวมกันแล้วจะมีห้องพักให้บริการทั้งสิ้นถึง 977 ห้องด้วยกัน           ยิ่งไปกว่านั้น เซ็นทาราให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน พร้อมกับแผนระยะยาวในการลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง อาทิ การลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 40% และลดการใช้น้ำและการทิ้งขยะไปสู่หลุมฝังกลบ 20% ภายในปีพ.ศ. 2572 โดยเทียบกับปีฐาน 2562 รวมทั้งการตั้งเป้าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (NET ZERO) ภายในปีพ.ศ. 2593 โดยในปีพ.ศ. 2567 เซ็นทาราสามารถลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อห้องพักที่มีการใช้งาน (per occupied room) ได้ดีกว่าเป้าหมายในปีเดียวกันที่ตั้งไว้ มากถึง 19% และโรงแรมในเครือเซ็นทารา 8 แห่ง ได้ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel) เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อช่วยประหยัดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ อีกทั้งโรงแรมและรีสอร์ทในเครือยังได้รับการรับรองด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจาก Global Sustainable Tourism Council (GSTC) เพิ่มขึ้นถึง 93% ทำให้เซ็นทาราเป็นเครือโรงแรมแรกในไทยที่ได้รับการรับรองจาก GSTC นอกจากนั้น เซ็นทารายังได้รับการประเมินจาก S&P Global เป็นหนึ่งในบริษัทจดทะเบียนไทยที่ได้เป็น Industry Mover และได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิก S&P Global Sustainability Yearbook 2024 , ได้รับการ           ประเมินจาก MSCI ในระดับ A ต่อเนื่องเป็นปีที่สอง อีกทั้งยังผ่านการประเมิน SET ESG Ratings 2024 ระดับ AAA จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ เซ็นทารายังให้ความสำคัญในเรื่องของความเสมอภาคและความเท่าเทียม (Equality) โดยมีการสนับสนุนการจ้างงานผู้พิการ และมีสัดส่วนระดับผู้บริหารหญิงมากถึง 49% ขององค์กร

abs

ปตท. แข็งแกร่งร่วมกับสังคมไทย และเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน

CENTEL ตั้งเป้าธุรกิจโรงแรมโต 23%  สาขาดูไบ-ญี่ปุ่น หนุน โบรกเคาะเป้า 40 บ.

CENTEL ตั้งเป้าธุรกิจโรงแรมโต 23% สาขาดูไบ-ญี่ปุ่น หนุน โบรกเคาะเป้า 40 บ.

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.หยวนต้า ระบุ Central Plaza Hotel (CENTEL) ปรับประมาณการขึ้น สะท้อนงบเด่นกว่าคาดมาก บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้ธุรกิจโรงแรมปี 2025 เติบโตเด่นระดับ 23% YoY           ธุรกิจโรงแรมในปี 2025 บริษัทตั้งเป้ารายได้ (รวมธุรกิจ JV) ที่ราว 1.5 หมื่นลบ. (+23% YoY) คาด RevPar เฉลี่ยทั้งกลุ่มที่ระดับ 4.5-4.8 พันบาทต่อคืน (+10-17% YoY) เติบโตหลังการรีโนเวทโรงแรมพัทยา (10% รายได้โรงแรม) เสร็จสิ้นแล้วตั้งแต่ 4Q24 โรงแรมญี่ปุ่นได้ผลบวกของการจัดงาน World Expo (เม.ย.-ต.ค.) และการเปิดโรงแรมใหม่ 2 แห่งในมัลดีฟส์ ซึ่งจะช่วยชดเชยการปิดปรับปรุงโรงแรมที่หัวหินและกระบี่ตั้งแต่ 2Q25 บริษัทคาด EBITDA margin ของธุรกิจโรงแรมจะเติบโตราว 200bps YoY จากการกลับมาเปิดโรงแรมใหญ่และบริหารต้นทุนพนักงานดีขึ้น บริษัทตั้งงบลงทุนของกลุ่มโรงแรมที่ระดับ 5.5 พันลบ. เพราะมีการเปิดโรงแรมใหม่ แต่งบลงทุนจะน้อยลงสู่ระดับ 4 พันลบ.ในปี 2026-2027 เพราะส่วนใหญ่ใช้สำหรับการรีโนเวทมากกว่าเปิดโรงแรมที่บริหารจัดการเอง เป้ารายได้ธุรกิจร้านอาหารปี 2025 เติบโต 13% YoY เน้นการสร้างกำไร           ธุรกิจร้านอาหารในปี 2025 บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้ (รวมธุรกิจ JV) ที่ 1.8 หมื่นลบ. (+13% YoY) จากสมมติฐาน SSSG +3-5% YoY, TSS +6-8% YoY และตั้งเป้าเปิดเพิ่ม 60-70 ร้าน กลยุทธ์หลัก บริษัทจะเน้นการเติบโตของกำไรมากกว่ารายได้ ในปี 2024 ปิดสาขาหรือแบรนด์ที่ไม่ทำกำไรไปมากแล้ว ทำให้การขยายสาขาส่วนใหญ่จะเน้นกลุ่ม JV เนื่องจากมีอัตราการทำกำไรที่ดีกว่า มีโอกาสเห็น M&A เพิ่มร้านอาหารใหม่ๆ อย่างน้อย 2-3 แบรนด์ เข้ามาหนุนให้ Portfolio แข็งแกร่งและมีอัตรากำไรที่ดียิ่งขึ้น           ในแง่ของการทำกำไร บริษัทคาด EBITDA margin ของธุรกิจร้านอาหารจะเติบโตราว 100bps YoY จากการเพิ่มแบรนด์ที่กำไรดี มีการบริหารต้นทุนพนักงานและต้นทุนวัตถุดิบที่ดีขึ้น บริษัทตั้งงบลงทุนของกลุ่มร้านอาหารที่ระดับ 1.2 พันลบ. และดีล M&A อีกราว 500 ลบ. แนวโน้ม 1Q25 คาดเติบโตดี QoQ และอาจเติบโตเล็กน้อย YoY จากฐานสูง           อัปเดตเดือน ม.ค. 25 ธุรกิจโรงแรม RevPar เฉลี่ยทั้งกลุ่มเติบโต 11% YoY ส่วนธุรกิจร้านอาหารส่วนใหญ่ SSSG ยังเติบโตได้ดี YoY ยกเว้น KFC ที่มีสัดส่วนรายได้สูงสุด โดยภาพรวมแนวโน้มผลประกอบการใน 1Q25 คาดเติบโต QoQ ตามปัจจัยด้านฤดูกาล อีกทั้งได้ผลบวกของการกลับมาเปิดโรงแรมที่พัทยาและภูเก็ตเต็มไตรมาส อย่างไรก็ดี ฐานกำไรปกติใน 1Q24 ที่สูง ประกอบกับยังมีผลขาดทุนช่วงต้นของโรงแรมใหม่ที่มัลดีฟส์ และค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงานอีกราว 40-50 ลบ. ทำให้คาดกำไรอาจทรงตัวถึงเติบโตเล็กน้อย YoY คงคำแนะนำ “ซื้อ” ปรับราคาเหมาะสมขึ้นเป็น 40.00 บาทต่อหุ้น           จากงบ 4Q24 ที่ออกมาดีกว่าคาด ปรับประมาณการปี 2025-2026 ขึ้นปีละ 16-22% เป็น 2.0 พันลบ. (+17% YoY) และ 2.3 พันลบ. (+11% YoY) จาก การปรับสมมติฐาน GPM ของธุรกิจโรงแรมขึ้น 20-40bps แต่ยังคง GPM ธุรกิจร้านอาหารที่ระดับ 46% เพิ่มรายได้อื่นปีละ 7% ปรับเพิ่มส่วนแบ่งกำไร JV ขึ้นปีละ 110-130 ลบ. เนื่องจากในปี 2024 รายการดังกล่าวพลิกเป็นกำไร 136 ลบ. จากขาดทุน 62 ลบ. ในปี 2023 ผลจากการดำเนินงานที่ดีขึ้นของบริษัทร่วมที่ทำธุรกิจโรงแรมในดูไบและญี่ปุ่น อีกทั้งส่วนแบ่งกำไรจาก บจ. เดอะ ฟู้ด ซีเล็คชั่น กรุ๊ป เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากการขยายสาขาและเปิดแบรนด์ใหม่ซึ่งได้รับการตอบรับดี (สัดส่วนรายได้หลักของ เดอะ ฟู้ด ซีเล็คชั่น กรุ๊ป กว่า 75% ของรายได้คือร้าน Shinkansen)           คงคำแนะนำ “ซื้อ” ผลของการปรับประมาณการทำให้นักวิเคราะห์ปรับราคาเหมาะสมเป็น 40.00 บาทต่อหุ้น (อิง EV/EBITDA Multiple เดิมที่ 9x เทียบเท่า -1.75SD ของค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีปกติ)           ความเสี่ยงสำคัญ: จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติต่ำกว่าคาด เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงทั่วโลก และการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงในระยะถัดไป

CENTEL ปี67 กำไรน่าประทับใจ เติบโตกว่า 40% แตะ 1.7 พันล้านบ.

CENTEL ปี67 กำไรน่าประทับใจ เติบโตกว่า 40% แตะ 1.7 พันล้านบ.

          หุ้นวิชั่น - CENTEL รายงานกำไรสุทธิปี 2567 พุ่ง 40% แตะ 1,753 ล้านบาท ธุรกิจโรงแรมและการเติบโตของธุรกิจอาหารดี แนวโน้มปี 2568 คาดว่าธุรกิจโรงแรมยังคงขยายตัวต่อเนื่อง คาดอัตราเข้าพักที่ 74-77% โดยเฉพาะจากการท่องเที่ยวไทย ญี่ปุ่น และมัลดีฟส์ ส่วนธุรกิจอาหารคาด SSS ที่ 3-5%           นายกันย์ ศรีสมพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน และ รองประธานฝ่ายการเงินและบริหาร บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) หรือ CENTEL รายงานผลประกอบการปี 2567: บริษัทฯ มีรายได้รวม 24,239 ล้านบาท (ปี 2566: 22,547 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 1,692 ล้านบาท (หรือ 8%)โดยสัดส่วนของรายได้จากธุรกิจโรงแรมต่อรายได้จากธุรกิจอาหารอยู่ที่ 46% : 54% (ปี 2566: 44% : 56%) ขณะที่ กำไรขั้นต้นรวม อยู่ที่ 13,153 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,006 ล้านบาท หรือ 8% เทียบปีก่อน โดยคิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้น 57% ของรายได้ (ไม่รวมรายได้อื่น) เพิ่มขึ้น 1% เทียบกับปีก่อน (ปี 2566: 56%) บริษัทฯ มีกำไรก่อนค่าเสื่อมราคา ค่าใช้จ่ายในการตัดจำหน่าย ดอกเบี้ยจ่าย และภาษีเงินได้ (EBITDA) รวม 6,444 ล้านบาท (ปี 2566: 5,535 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 909 ล้านบาท (หรือเพิ่มขึ้น 16%) จากปีก่อน โดยคิดเป็นอัตรากำไรก่อนค่าเสื่อมราคา ค่าใช้จ่ายในการตัดจำหน่าย ดอกเบี้ยจ่าย และภาษีเงินได้ ต่อรายได้รวม (% EBITDA) 27% เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบปีก่อน (ปี 2566: 25%) จากการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการรับรู้กำไรจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้าปรับตัวดีขึ้น           เมื่อเทียบกับปีก่อน บริษัทฯ มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ (EBIT) จำนวน 3,187 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 675 ล้านบาท เทียบปีก่อน (หรือเติบโต 27%) และ กำไรสุทธิ จำนวน 1,753 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40% เทียบปีก่อน (ปี 2566: 1,248 ล้านบาท) สำหรับปัจจัยที่มีต่อผลการดำเนินงานปี 2568 ธุรกิจโรงแรม:           สำหรับปี 2568 จำนวนนักท่องเที่ยวทั่วโลก คาดว่ายังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องจากปีก่อน โดย United Nations World Tourism Organization (UNWTO) ประมาณการว่าการท่องเที่ยวโลกในปี 2568 จะขยายตัว 3% - 5% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด (ปี 2562) ทั้งนี้ การท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตของภาคการท่องเที่ยวโลก เนื่องจากภูมิภาคนี้ฟื้นตัวช้ากว่าภูมิภาคอื่น โดยเฉพาะ การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งคาดว่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักในการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยท้าทายหลายประการที่อาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อาทิ ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง           บริษัทคาดว่าในปี 2568 โรงแรมในประเทศไทย ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ซึ่งได้รับแรงหนุนจากปัจจัยเชิงกลยุทธ์ในการส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวผ่านแคมเปญและมาตรการของรัฐบาล รวมถึงการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีน และอิทธิพลจาก ความนิยมที่ต่อเนื่องของประเทศไทยในฐานะแหล่งท่องเที่ยว           สำหรับ โรงแรมในญี่ปุ่น ปีนี้ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการจัดงาน World Expo 2025 ซึ่งจะจัดขึ้นที่เมืองโอซาก้าในช่วงเดือน เมษายน – ตุลาคม 2568 โดยคาดว่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกจำนวนมาก สำหรับ โรงแรมในมัลดีฟส์ คาดว่าผลการดำเนินงานจะปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน เนื่องจาก การปรับกลยุทธ์ทางการตลาด และการเปิดใช้งาน อาคารผู้โดยสารใหม่ของสนามบินนานาชาติที่มัลดีฟส์           ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานด้วยความระมัดระวัง โดย ปรับกลยุทธ์ทางการขายและการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายอย่างต่อเนื่อง การติดตามผลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด รวมถึงการควบคุมค่าใช้จ่าย เน้นการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีวินัยทางการเงิน ขณะที่บริษัทฯ ยังคงการลงทุนเพื่อขยายธุรกิจให้เติบโตในอนาคต ด้วยการจัดสรรเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการจัดหาแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนที่เหมาะสมจาก การกู้เงินสถาบันการเงิน และการออกตราสารหนี้ตามภาวะตลาดการเงิน โรงแรมที่เริ่มรับรู้รายได้เต็มปีในปี 2568 บริษัทฯ จะรับรู้รายได้เต็มปีเป็นปีแรกจากโรงแรมที่มีการปรับปรุงครั้งใหญ่ ได้แก่ • โรงแรมเซ็นทารา กะรน ภูเก็ต (จำนวน 330 ห้อง)           o โรงแรมได้ปิดให้บริการทั้งหมดเพื่อดำเนินการปรับปรุงครั้งใหญ่ตั้งแต่ ไตรมาส 3/2566 และกลับมาเปิดดำเนินการอีกครั้งตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2567 • โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ มิราจ บีช รีสอร์ท พัทยา (จำนวน 553 ห้อง)           o โรงแรมได้ทยอยปิดห้องพักเพื่อปรับปรุงตั้งแต่ ไตรมาส 3/2566 และทยอยเปิดดำเนินการห้องพักที่ปรับปรุงใหม่ในแต่ละเฟส ตั้งแต่ไตรมาส 2/2567 การปรับปรุงโรงแรมแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการห้องพักที่ปรับปรุงใหม่ทั้งหมดตั้งแต่ เดือนธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา โรงแรมที่เปิดใหม่ในมัลดีฟส์ • โรงแรมเซ็นทารา มิราจ ลากูน มัลดีฟส์ (จำนวน 145 ห้อง)           o เปิดให้บริการตั้งแต่ พฤศจิกายน 2567 และจะรับรู้รายได้เต็มปีในปี 2568 • โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ ลากูน มัลดีฟส์ (จำนวน 142 ห้อง)           o มีกำหนดเปิดให้บริการในเดือน เมษายน 2568           o คาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายในช่วงเตรียมเปิดดำเนินการ (pre-opening expenses) ประมาณ 40-50 ล้านบาท ในปี 2568 โดยค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะรับรู้ใน ไตรมาส 1/2568 แผนการปรับปรุงใหญ่ (Major Renovation) ในปี 2568 • โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท แอนด์ วิลลา หัวหิน (จำนวน 251 ห้อง)           o กำหนดเริ่มทยอยปิดบางส่วนเพื่อปรับปรุงในช่วง ไตรมาส 2/2568 โดยโรงแรมยังคงเปิดให้บริการในช่วงการปรับปรุงดังกล่าว • โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ทและวิลลา กระบี่ (จำนวน 192 ห้อง)           o เริ่มปิดโรงแรมทั้งหมดเพื่อปรับปรุงในช่วง ไตรมาส 2/2568 ธุรกิจอาหาร:           ธุรกิจอาหารเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากในแต่ละปีมีผู้ประกอบการใหม่ๆ เพิ่มเข้ามาเป็นจำนวนมาก บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญในการ สร้างและพัฒนาแบรนด์ เพื่อสร้างความคุ้มค่าและประสบการณ์ที่ดีในการรับประทานอาหารของลูกค้า           บริษัทฯ เน้นการ บริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยติดตามแนวโน้มราคาเพื่อวางแผนในการเจรจาต่อรองกับผู้ขายวัตถุดิบ หาแหล่งวัตถุดิบทดแทน และมีการทำ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า สำหรับวัตถุดิบหลักบางส่วนเพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา           บริษัทฯ ยังคง มีแผนการปิดสาขาที่ไม่สามารถทำกำไรได้ตามเป้าหมาย มุ่งเน้น การขยายและการทำกำไรในแบรนด์หลัก เพื่อเพิ่มอัตราการทำกำไรของบริษัทฯ และพิจารณาเปิดสาขาใหม่ด้วยความระมัดระวัง โดยเน้นขยายสาขาในแบรนด์หลักที่มีอัตราการทำกำไรสูง แนวโน้มธุรกิจปี 2568 ธุรกิจโรงแรม:           ภาพรวมปี 2568 คาดการณ์อัตราการเข้าพักเฉลี่ย (รวมโรงแรมร่วมทุน) 74% - 77% รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPAR) อยู่ที่ 4,500 – 4,800 บาท และรายได้รวม (รวมโรงแรมร่วมทุน) คาดว่าจะเติบโตประมาณ 23% YoY โดยปัจจัยส่งเสริมการเติบโตที่สำคัญ ได้แก่ • การเติบโตอย่างต่อเนื่องของรายได้โรงแรมในประเทศไทย • การรับรู้รายได้เต็มปีเป็นปีแรก จากโรงแรมที่มีการปรับปรุงครั้งใหญ่และโรงแรมเปิดใหม่ ได้แก่           o โรงแรมเซ็นทารา กะรน ภูเก็ต           o โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ มิราจ บีช รีสอร์ท พัทยา           o โรงแรมเซ็นทารา มิราจ ลากูน มัลดีฟส์ • กำหนดการเปิด โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ ลากูน มัลดีฟส์ ในเดือน เมษายน 2568 และผลการดำเนินงานเต็มปีปีแรกของโรงแรมเซ็นทารา มิราจ ลากูน มัลดีฟส์ • ผลการดำเนินงานของโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ โอซาก้า ซึ่งคาดว่าจะได้รับปัจจัยบวกจากงาน World EXPO 2025 ในช่วง เมษายน – ตุลาคม 2568 ธุรกิจอาหาร:           ในปี 2568 บริษัทฯ ประมาณการอัตราการเติบโตจากสาขาเดิม (Same-Store-Sales: SSS) (ไม่รวมกิจการร่วมค้า) 3% - 5% เทียบปีก่อน และ อัตราการเติบโตของยอดขายรวมทุกสาขา (Total-System-Sales: TSS) คาดว่าจะอยู่ในช่วง 6% - 8% เทียบปีที่ผ่านมา สำหรับการขยายสาขา ณ สิ้นปี 2568 คาดว่าจำนวนสาขาจะเพิ่มขึ้นประมาณ 4%-5% เทียบ สิ้นปี 2567 จากการ มุ่งเน้นการขยายสาขาในแบรนด์ที่มีอัตราทำไรไรสูงเป็นหลัก

CENTEL คาดปีนี้แกร่งสู่ก่อนโควิด  โบรกแนะซื้อ เป้า 40 บาท

CENTEL คาดปีนี้แกร่งสู่ก่อนโควิด โบรกแนะซื้อ เป้า 40 บาท

หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.กรุงศรี ยังคงคำแนะนำ BUY สำหรับ CENTEL ด้วยราคาเป้าหมาย 40 บาท CENTEL รายงานกำไรหลัก 4Q24 สูงกว่าประมาณการของนักวิเคราะห์และตลาดถึง 81% และ 62% ตามลำดับ เนื่องจากการเติบโตของรายได้ อัตรากำไรที่ดีขึ้น และส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุน คาดว่ากำไรจะเติบโต yoy ในปี 25F เนื่องจากการดำเนินงานในไทยและญี่ปุ่นจะช่วยชดเชยผลขาดทุนในมัลดีฟส์ ปัจจุบัน CENTEL ซื้อขายที่ 23 เท่าของ P/E ปี 2025F ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยการซื้อขายในอดีตมาก เมื่อพิจารณาถึงศักยภาพการเติบโตที่แข็งแกร่งและมูลค่าที่น่าดึงดูด CENTEL รายงานกำไรหลัก 534 ล้านบาท เติบโต 80% yoy 227% qoq ใน 4Q24 กำไรหลัก 4Q24 สูงกว่าประมาณการของนักวิเคราะห์และตลาดถึง 81% และ 62% ตามลำดับ จากอัตรากำไรที่สูงกว่าคาดและส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนที่แข็งแกร่ง (i) รายได้โรงแรมเติบโต 11% yoy และ 25% qoq เป็น 3 พันล้านบาท จาก RevPAR ที่เพิ่มขึ้น 4% เป็น Bt4,306 ต่อคืน จากอัตราค่าห้องที่สูงขึ้น (ii) รายได้อาหารอยู่ที่ 3.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.5% yoy และ 6% qoq โดยมี SSSG ทรงตัว (iii) EBITDA หลักของกลุ่มเติบโต 24% yoy เป็น 1.8 พันล้านบาท ด้วย EBITDA margin ปรับตัวดีขึ้นเป็น 28.7% นำโดยความสามารถในการทำกำไรที่ดีขึ้นในโรงแรม (37% เพิ่มจาก 34% ใน 4Q23) และอาหาร (21.1% เพิ่มจาก 16.3% ใน 4Q23) CENTEL บันทึกค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการสำหรับโรงแรมใหม่ในมัลดีฟส์เพียง 52 ล้านบาท ใน 4Q24 และ 62 ล้านบาท สำหรับปี 2024 น้อยกว่าประมาณการที่ 100 ล้านบาท (iv) ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนสูงกว่าที่คาดไว้ที่ 121 ล้านบาท เทียบกับช่วงปกติที่ 9-30 ล้านบาทต่อไตรมาส ทำให้กำไรหลักทั้งปี 2024 อยู่ที่ 1.7 พันล้านบาท (+55% yoy) ผลประกอบการ 4Q24 อาจจะเป็น upside ต่อประมาณการ เนื่องจากผลประกอบการปี 2024 สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก จะทบทวนประมาณการหลังจากได้รับข้อมูลเพิ่มเติมหลังการประชุมนักวิเคราะห์ในวันนี้ (26/02/2025) คาดว่า 1Q25F จะเป็นความท้าทาย สำหรับการเติบโต yoy ของ CENTEL เนื่องจากฐานกำไรที่สูงถึง 750 ล้านบาท ใน 1Q24 ประกอบกับค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการเพิ่มเติมประมาณ 40-50 ล้านบาท ใน 1Q25 และคาดการณ์ผลขาดทุน US$4-5m จากการดำเนินงานในมัลดีฟส์ในปี 2025 เนื่องจากการเลื่อนเปิดโรงแรมและต้นทุนเริ่มต้นสำหรับโรงแรมใหม่ อย่างไรก็ตาม การเปิดโรงแรมอีกครั้งในพัทยาและภูเก็ต ร่วมกับผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งจากการดำเนินงานโรงแรมในญี่ปุ่น ควรช่วยชดเชยผลกระทบเหล่านี้และอาจสนับสนุนการเติบโตของกำไรในปี 2025F ทั้งนี้ จากการประเมิน EBITDA margin ที่เปลี่ยนแปลง 1% ส่งผลต่อประมาณการกำไร 10% คงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 40 บาท (DCF) ปัจจุบัน CENTEL ซื้อขายที่เพียง 23x 2025F P/E เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 38x ในขณะคาดปี 2025F จะเป็นปีที่ผลประกอบการของ CENTEL กลับไปสู่ระดับก่อนโควิดได้

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

CENTEL คาดปี 67 ที่ 1.5 พันลบ. โบรกแนะซื้อ เป้า 37.00 บาท

CENTEL คาดปี 67 ที่ 1.5 พันลบ. โบรกแนะซื้อ เป้า 37.00 บาท

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.หยวนต้า คาด CENTEL กำไรปกติ 4Q24 ที่ 320 ลบ. เติบโตเด่น 107% QoQ ตามปัจจัยฤดูกาล แต่เทียบ 4Q23 เติบโตได้เพียง 8% YoY กดดันจากค่าใช้จ่ายและผลขาดทุนช่วงต้นของ 2 โรงแรมใหม่ที่มัลดีฟส์ (เปิด พ.ย.24 และ เม.ย.25) สรุปรายการสำคัญดังนี้: 1. ธุรกิจโรงแรมคาดรายได้ที่ 2.8 พันลบ. (+24% QoQ, +10% YoY) จากคาด RevPar เฉลี่ยทั้งกลุ่มที่ 3.9 พันบาทต่อคืน (+18% QoQ, +4% YoY) เติบโตจากโรงแรมในตลาดกรุงเทพฯ +9% YoY, ญี่ปุ่น +12% YoY ขณะที่ตลาดมัลดีฟส์กลุ่มโรงแรมเดิม RevPar อ่อนแอ -24% YoY หรือหากรวม 1 โรงแรมใหม่ที่เปิด RevPar จะติดลบถึง 41% YoY เราคาดบริษัทจะบันทึกค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงานและขาดทุนช่วงต้นของสองโรงแรมใหม่ราว 85 ลบ. ใน 4Q24 2. ธุรกิจร้านอาหารคาดรายได้ที่ 3.3 พันลบ. (+4% QoQ, +2% YoY) คาด SSSG ทรงตัว YoY แต่ยอดขายโตจากการขยายสาขา คาด GPM ของธุรกิจอาหารที่ 46.6% เพิ่มขึ้น 20bps YoY จากการเริ่มปิดสาขาที่ไม่มีประสิทธิภาพตั้งแต่ 2Q24 3. คาดค่าใช้จ่าย SG&A ที่ 2.0 พันลบ. (+6% QoQ, +20% YoY) เพิ่มขึ้นตามรายได้ และคาดต้นทุนทางการเงินที่ 270 ลบ. ทรงตัว QoQ และ YoY ภาพการเติบโต YoY ใน 1Q25 ยังคงท้าทาย แนวโน้มผลประกอบการ 1Q25 • ธุรกิจโรงแรม: คาดเติบโต QoQ โดยเฉพาะโรงแรมในไทย สอดคล้องกับตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1QTD +17% QoQ อีกทั้งได้ผลบวกของการกลับมาเปิดโรงแรมที่พัทยา และภูเก็ตหลังรีโนเวทเสร็จสิ้น • ธุรกิจร้านอาหาร: คาด SSSG ใน 1Q25 ทรงตัวถึงเติบโตเล็กน้อย YoY อานิสงส์จากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่เร่งตัวขึ้นจากมาตรการกระตุ้นของรัฐฯ ทั้งแจกเงินหมื่นหรือ Easy e-Receipt           โดยภาพรวม กำไรปกติ 1Q25 เบื้องต้นเราคาดสามารถเติบโต QoQ ตามรายได้ของธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารที่ฟื้นตัว อย่างไรก็ดี ฐานกำไรปกติใน 1Q24 สูงระดับ 749 ลบ. เราประเมินว่า จากต้นทุนการดำเนินงาน ค่าเช่า ค่าแรงที่สูงขึ้น ประกอบกับยังมีค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงานและผลขาดทุนช่วงต้นของ 2 โรงแรมใหม่ที่มัลดีฟส์ ทำให้กำไรปกติ 1Q25 เติบโต YoY ได้ยาก บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้รวมปี 2025 เติบโตที่ระดับ 15% YoY แนวโน้มธุรกิจปี 2025: 1. ธุรกิจโรงแรม บริษัทตั้งเป้ารายได้ (ไม่รวม JV) ที่ราว 1.3 หมื่นลบ. (+18% YoY) คาด RevPar เฉลี่ยทั้งกลุ่มที่ระดับ 4.5-4.8 พันบาทต่อคืน (+10-17% YoY) ใกล้เคียงคาดการณ์ของเรา เติบโตจากการที่โรงแรมพัทยารีโนเวทเสร็จสิ้น (10% รายได้โรงแรม) รวมถึงโรงแรมญี่ปุ่นได้ผลบวกของการจัดงาน World Expo 2. ธุรกิจร้านอาหาร บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้ (ไม่รวม JV) ที่ราว 1.5 หมื่นลบ. (+14% YoY) เน้นการสร้างกำไรมากกว่ารายได้ เพราะในปี 2024 ปิดสาขาที่ไม่ทำกำไรไปมาก และปี 2025 จะเน้นขยายสาขาธุรกิจที่เป็น JV เนื่องจากมีอัตราการทำกำไรที่ดีกว่า มีโอกาสเห็น M&A เพิ่มร้านอาหารใหม่ๆ เข้ามาหนุนให้ Portfolio แข็งแกร่งและมีอัตราการกำไรที่ดียิ่งขึ้น เป้าหมายรายได้รวมของบริษัทสูงกว่าประมาณการของเราและตลาดเล็กน้อยราว 7% แต่ในเบื้องต้น เรายังคงคาดการณ์กำไรปกติที่ 1.7 พันลบ. (+16% YoY) คงคำแนะนำ “ซื้อ” ปรับราคาเหมาะสมใหม่เป็น 37.00 บาทต่อหุ้น หากผลประกอบการ 4Q24 ออกมาตามคาด กำไรปกติทั้งปี 2024 จะอยู่ที่ 1.5 พันลบ. (+43% YoY) ใกล้เคียงคาดการณ์ของเรา คาดเงินปันผลงวดปี 2024 ที่ 0.49 บาทต่อหุ้น คิดเป็น Div. Yield ที่ 1.7% เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” แต่ปรับราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2025 ลงเป็น 37.00 บาท โดยอิงการปรับลด EV/EBITDA Multiple จากเดิมที่ 10.5x ลงเป็น 9x เทียบเท่า -1.75SD ของค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี

[Vision Exclusive] CENTEL งบแกร่งถึงปี69 ม.ค.รายได้โรงแรมโต 15%

[Vision Exclusive] CENTEL งบแกร่งถึงปี69 ม.ค.รายได้โรงแรมโต 15%

          หุ้นวิชั่น - CENTEL เผยไตรมาส 4/67 รายธุรกิจโรงแรม (รวม JV ดูไบ) ได้ประมาณ 3,300 ล้านบาท โต 7% อัตราการเข้าพัก (occupancy) 70% ส่วนมกราคมโรงแรมทำรายได้กว่า 15% อัตราเข้าพักที่ 76% โบรกมอง CENTEL กำไรเติบโตแข็งแกร่ง ในช่วงปี 2567-2569 รับแรงหนุน RevPAR โตต่อเนื่องจากการปรับปรุงโรงแรมและงาน World Expo 2025           นายกันย์ ศรีสมพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน และรองประธานฝ่ายการเงินและบริหาร บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) หรือ CENTEL เปิดเผยว่า เตรียมประกาศงบการเงินไตรมาส 4/2567 ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 พร้อมยืนยันแผนธุรกิจเป็นไปตามเป้าหมาย โดยในไตรมาส 4/2567 ธุรกิจโรงแรมสร้างรายได้รวม (รวมการร่วมทุนในดูไบ) ประมาณ 3,300 ล้านบาท เติบโต 7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ 70% (ในประเทศ 69% และต่างประเทศ 72%) ขณะที่ ค่าห้องพักเฉลี่ยสูงกว่า 6,000 บาท           การเติบโตดังกล่าวได้รับแรงหนุนจากการกลับมาเปิดให้บริการของ โรงแรมเซ็นทารา กะรน รีสอร์ท ภูเก็ต และ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ มิราจ บีช รีสอร์ท พัทยา หลังการปรับปรุงครั้งใหญ่ รวมถึงการเปิดดำเนินการของโรงแรมใหม่ เซ็นทารา มิราจ ลากูน มัลดีฟส์ ซึ่งมีสวนน้ำและเลซี่ริเวอร์ตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา           สำหรับภาพรวมทั้งปี 2567 ธุรกิจโรงแรมของ CENTEL มีรายได้รวม (รวม JV ดูไบ) ประมาณ 12,200 ล้านบาท เติบโต 12% เมื่อเทียบกับปี 2566 ขณะที่เดือนมกราคม 2568 ยังคงมีแนวโน้มที่แข็งแกร่ง โดยรายได้รวมเติบโต 15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะโรงแรมใน ประเทศไทยและเมืองโอซาก้า ซึ่งมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยสูงถึง 76%           ขณะที่ บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หุ้นเด่น AWC และ CENTEL ฝ่ายวิเคราะห์เลือก AWC เป็นหุ้นเด่นอันดับหนึ่ง เนื่องจากได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้จ่ายด้านที่พักที่เพิ่มขึ้นและการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทย ขณะที่ CENTEL เป็นหุ้นเด่นอันดับสอง เนื่องจากคาดว่ามีกำไรเติบโตแข็งแกร่งเป็นอันดับ 2 ในช่วงปี 2567-2569 โดยได้รับแรงหนุนจาก RevPAR โรงแรมในไทยที่เพิ่มขึ้นหลังการปรับปรุงครั้งใหญ่และในญี่ปุ่นจากงาน World Expo ที่จะจัดขึ้นที่โอซาก้าในเดือน เม.ย.-ต.ค. 2568 ฝ่ายวิเคราะห์มองว่าตลาดรับรู้แล้วว่าผลประกอบการไตรมาส 4/2567 ของ CENTEL จะถูกกดดันจากค่าใช้จ่ายก่อนเปิดโรงแรมและผลกระทบจากการปรับปรุงโรงแรม รายงานโดย : นางสาวณัฏฐ์ชญา ปุริมปรัชญ์ภัทร บรรณาธิการข่าว HoonVision

จับตาท่องเที่ยวโค้งแรกพีค ชู AWC - CENTEL เด่น

จับตาท่องเที่ยวโค้งแรกพีค ชู AWC - CENTEL เด่น

หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุ57' กลุ่มท่องเที่ยว ว่า คาดกำไรยังแข็งแกร่งต่อเนื่องในช่วงไฮซีซันผลประกอบการเด่นก่อนเข้าสู่ช่วงพีคใน 1Q68 คาดการณ์กำไรหลักรวมของหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว 5 บริษัทที่อยู่ภายใต้การวิเคราะห์ที่ 9.6 พันล้านบาท (+18% YoY, +34% QoQ) หรือคิดเป็น 87% ของระดับ 4Q62 โดยการเติบโต YoY ได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์นักท่องเที่ยวต่างชาติที่แข็งแกร่งในไทย ส่งผลให้ RevPAR เฉลี่ยของโรงแรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น 13% ต้นทุนดำเนินงานยังอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้สำหรับผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ขณะที่ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเริ่มลดลงยกเว้น CENTEL คาดว่า 1Q68 จะเป็นไตรมาสที่พีคที่สุดของภาคการท่องเที่ยวด้วยโมเมนตัมกำไรที่แข็งแกร่งในรายไตรมาสและแนวโน้มเชิงบวกในปี 68 (กำไรกลุ่มเติบโต 23% YoY) และมูลค่าหุ้น (valuation) ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะกลุ่มโรงแรม ฝ่ายวิเคราะห์จึงคงมุมมองบวกต่อภาคการท่องเที่ยว โดยเลือก AWC และ CENTEL เป็นหุ้นเด่น อัตราการเข้าพักยังต่ำกว่าระดับปี 62 จากข้อมูลการจองห้องพักล่วงหน้าและการตรวจสอบกับผู้บริหารโรงแรมรายใหญ่ ฝ่ายวิเคราะห์คาดว่าอัตราการเข้าพักเฉลี่ยของโรงแรม 7 แห่งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (พอร์ตโฟลิโอในไทย) จะอยู่ที่ 79% ใน 1Q68 ซึ่งยังต่ำกว่าระดับ 82% ใน 1Q62 ก่อนโควิด อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะมีอัตราการเข้าพักที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด ยกเว้น AWC และ CENTEL ที่ยังอยู่ในช่วงเร่งดำเนินงานโรงแรมใหม่และที่ปรับปรุงล่าสุด โดย CENTEL กำลังเร่งเติมอัตราการเข้าพักของ Centara Mirage Pattaya และ Centara Karon Phuket (คิดเป็น 10-12% ของรายได้โรงแรม) ขณะที่ AWC เตรียมเปิดโรงแรมใหม่ 2 แห่งในพัทยาซึ่งจะเพิ่มจำนวนห้องพักขึ้นอีก 9% ใน 1Q68 ผลกระทบจากเหตุลักพาตัวนักแสดงจีนมีจำกัด ฝ่ายวิเคราะห์มองว่าความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของนักท่องเที่ยวจีนจากข่าวลักพาตัวนักแสดงจีนที่แพร่สะพัดน่าจะเริ่มลดลง โดยข้อมูลจำนวนผู้ท่องเที่ยว ณ วันที่ 29 ม.ค. ยังคงแสดงให้เห็นว่าจำนวนผู้ท่องเที่ยวจีนเติบโตแข็งแกร่งที่ +28% YoY และจำนวนผู้ท่องเที่ยวรวมเพิ่มขึ้น +21% YoY ขณะเดียวกัน โรงแรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์พบว่ามีการยกเลิกการจองในระดับที่จำกัด เนื่องจากเน้นกลุ่มนักท่องเที่ยวอิสระ (FIT) มากกว่ากลุ่มทัวร์ ซึ่งมีแนวโน้มจะอ่อนไหวจากความกังวลด้านความปลอดภัยที่เกิดจากข่าวดังกล่าวบนโซเชียลมีเดีย หุ้นเด่น AWC และ CENTEL ฝ่ายวิเคราะห์เลือก AWC เป็นหุ้นเด่นอันดับหนึ่ง เนื่องจากได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้จ่ายด้านที่พักที่เพิ่มขึ้นและการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทย ขณะที่ CENTEL เป็นหุ้นเด่นอันดับสอง เนื่องจากคาดว่ามีกำไรเติบโตแข็งแกร่งเป็นอันดับ 2 ในช่วงปี 67-69 โดยได้รับแรงหนุนจาก RevPAR โรงแรมในไทยที่เพิ่มขึ้นหลังการปรับปรุงครั้งใหญ่และในญี่ปุ่นจากงาน World Expo ที่จะจัดขึ้นที่โอซาก้าในเดือน เม.ย.-ต.ค. 68 ฝ่ายวิเคราะห์มองว่าตลาดรับรู้แล้วว่าผลประกอบการ 4Q67 ของ CENTEL จะถูกกดดันจากค่าใช้จ่ายก่อนเปิดโรงแรมและผลกระทบจากการปรับปรุงโรงแรม

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

CENTEL คาด Q4 กำไรโต โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 48.25 บาท

CENTEL คาด Q4 กำไรโต โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 48.25 บาท

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.พาย มีมุมมองเป็นบวกต่อกำไรใน 4Q24 ด้วยแนวโน้มเติบโต QoQ ตามปัจจัยฤดูกาล ถึงแม้มีโอกาสอ่อนตัว YoY ด้วยค่าใช้จ่ายโรงแรมเปิดใหม่ที่สูงขึ้น และโรงแรมเดิมที่อยู่ระหว่างปรับปรุง 2 แห่งคาดให้บริการได้บางส่วนในปลายปี 2024 อย่างไรก็ตามในปี 2025 เราเห็นแนวโน้มที่ดีของธุรกิจหลัก หนุนด้วยการเติบโตของนักท่องเที่ยว และ RevPar ที่คาดสูงขึ้น จากการปรับอัตราค่าที่พักให้เหมาะสมกับโรงแรมที่ได้รับการปรับปรุงในปี 2024 CENTEL (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 48.25 บาท)

ครม. อนุมัติมาตรการ Easy e-receipt  แจกเงินดิจิทัลเฟส 2 - ขยายเวลาลดภาษี ผับ บาร์

ครม. อนุมัติมาตรการ Easy e-receipt แจกเงินดิจิทัลเฟส 2 - ขยายเวลาลดภาษี ผับ บาร์

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.กรุงศรี เผย ครม. มีมติเห็นชอบแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 2 ให้กลุ่มผู้สูงอายุ, อนุมัติมาตรการ Easy e-receipt และขยายเวลาลดภาษีสรรพสามิต ผับ บาร์ ไนต์คลับ อีก 1 ปี เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว บทวิเคราะห์มองเป็นบวกต่อหุ้นในกลุ่ม Domestic Play ที่จะได้ประโยชน์ อาทิ ค้าปลีก, ไฟแนนซ์, ร้านอาหาร และท่องเที่ยว (CRC, CPALL, SAWAD, CENTEL, ERW)

CENTEL ไฮซีซันโตต่อ โบรกเคาะพื้นฐาน44 บ.

CENTEL ไฮซีซันโตต่อ โบรกเคาะพื้นฐาน44 บ.

          หุ้นวิชั่น- บทวิเคราะห์ บล.ดาโอ ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” CENTEL และราคาเป้าหมายปี 2025E ที่ 44.00 บาท อิง DCF (WACC 7.6%, terminal growth 2.5%)           โดยมีมุมมองเป็นบวกจากการประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เพราะภาพรวมทั้งธุรกิจโรงแรมและอาหารมีการฟื้นตัวได้ดีตามคาด โดยโรงแรมใหม่ 2 แห่งที่มัลดีฟส์น่าจะ Breakeven ที่ NPAT ที่ Occ. Rate ที่ 55-60% เร็วกว่าโรงแรมเดิมเพราะมีการแชร์ค่าใช้จ่ายระหว่างกันได้ ขณะที่ค่าใช้จ่ายจากโรงแรมแห่งใหม่ที่มัลดีฟส์ใน 2H24E ทั้งหมดอยู่ที่ราว -150-200 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ -200-250 ล้านบาท ส่วน GPM ธุรกิจอาหาร 4Q24E จะยังทรงตัวระดับสูงเมื่อเทียบ QoQ ได้จากการบริหารต้นทุนได้ดีและยังมีการทยอยปิดสาขาที่ไม่กำไร ขณะที่มี M&A 2 ดีลที่กำลังคุยกันอยู่ นอกจากนี้ยังคาดหวังงาน World Expo 2025 ที่ Osaka ช่วง 13 เม.ย.-13 ต.ค. 25 จะหนุนให้ ADR ปี 2025E เพิ่มขึ้นอีก +14% YoY และ Occ. Rate จะเพิ่มขึ้นอีก +2% ไปอยู่ที่ราว 80%เรายังคงประมาณการกำไรปกติปี 2024E อยู่ที่ 1.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น +15% YoY           ขณะที่คาดกำไรปกติ 4Q24E จะเพิ่มขึ้น QoQ จากการเข้าสู่ช่วง High season ของไทย, มัลดีฟส์และญี่ปุ่น ขณะที่กำไรปกติปี 2025E จะเพิ่มขึ้นได้อีก +18% YoY ซึ่งเป็นการเติบโตที่สูงสุดเมื่อเทียบกับ MINT และ ERW เพราะได้รับแรงหนุนจากการไม่มีค่าใช้จ่ายที่สูงเหมือนปี 2024E และรับรู้โรงแรมที่ Renovate 2 แห่ง (ภูเก็ตและพัทยา) ได้เต็มปี เพราะจะดำเนินการได้ตั้งแต่ช่วงปลาย พ.ย.- ต้น ธ.ค. 24ราคาหุ้นปรับตัวลดลง -9%/-12% ในช่วง 1 เดือน/ 3 เดือนที่ผ่านมา เพราะกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่มากกว่าคาด           ขณะที่ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นน้อยกว่าคาด ส่วนธุรกิจอาหารทำกำไรได้ดีขึ้นหลังจากปิดสาขาที่ไม่กำไรออกไป ด้าน Valuation ซื้อขายที่ 2024E EV/EBITDA ที่ 11.7x (-1.25SD below 8-yr average EV/EBITDA) ถูกกว่า ERW ที่ 14.6x ขณะที่กำไรปกติปี 2025E จะเติบโตได้สูงที่สุดเมื่อเทียบกับ MINT และ ERW

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

CENTEL กำไร Q3 โต 123% แตะ 163 ล้านบาท

CENTEL กำไร Q3 โต 123% แตะ 163 ล้านบาท

          CENTEL สร้างความประทับใจในไตรมาส 3/67 ด้วยกำไรสุทธิเติบโต 123% เมื่อเทียบกับปีก่อน มุ่งเน้นการพัฒนาแบรนด์และขยายธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ วางเป้าหมายอัตราการเข้าพักโรงแรมเฉลี่ย 70%-73% รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPAR) คาดว่าจะอยู่ในช่วง 4,000 – 4,300 บาท ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหลังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ผลักดันการเติบโตในธุรกิจอาหาร โดยคาดยอดขายรวมทุกสาขาเติบโต 4%-6% ในปี 2567           นายกันย์ ศรีสมพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน และ รองประธานฝ่ายการเงินและบริหาร บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)หรือ CENTEL  ผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567 ปรับตัวดีขึ้นเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอย่างมีนัยสำคัญ แต่ปรับตัวลดลงเทียบกับไตรมาส 2/2567 ตามฤดูกาลท่องเที่ยว โดยบริษัท มีรายได้รวม: 5,602 ล้านบาท (ไตรมาส 3/2566: 5,416 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 186 ล้านบาท หรือ 3% โดยสัดส่วนรายได้: ธุรกิจโรงแรมต่อธุรกิจอาหารทรงตัวเมื่อเทียบกับปีก่อนอยู่ที่ 43% : 57% และกำไรสุทธิ: 163 ล้านบาท (ไตรมาส 3/2566: 73 ล้านบาท) เติบโต 123% เทียบกับปีก่อน           โดยธุรกิจโรงแรม วันที่ 30 กันยายน 2567 บริษัทฯ มีโรงแรมภายใต้การบริหารงานทั้งหมดจำนวน 92 โรงแรม (20,505 ห้อง) แบ่งเป็นโรงแรมที่เปิดดำเนินการแล้ว 52 โรงแรม (11,101 ห้อง) และโรงแรมที่กำลังพัฒนา 40 โรงแรม (9,404 ห้อง)ในส่วนของ 52 โรงแรมที่เปิดดำเนินการแล้วนั้น 20 โรงแรม (5,566 ห้อง) เป็นโรงแรมที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของ และ 32 โรงแรม (5,535 ห้อง) เป็นโรงแรมที่อยู่ภายใต้สัญญาบริหาร           ทั้งนี้ รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมทั้งหมด (RevPAR) อยู่ที่ 3,429 บาท ในไตรมาส 3/2567 ลดลง 7% เทียบกับไตรมาส 2/2567 สาเหตุหลักมาจากการลดลงของราคาห้องพักเฉลี่ย (ARR) 5% เทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งอยู่ที่ 4,934 บาทในไตรมาส 3/2567 และอัตราการเข้าพัก (OCC) ลดลงจาก 71% ในไตรมาส 2/2567 เป็น 69% ในไตรมาส 3/2567           ธุรกิจอาหาร: ผลการดำเนินงานธุรกิจอาหารสำหรับไตรมาส 3/2567  สำหรับผลประกอบการไตรมาส 3/2567           รายได้จากธุรกิจอาหารรวม: 3,180 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 97 ล้านบาท (หรือเพิ่มขึ้น 3%) เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน           อัตราการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (%SSS): ไม่รวมแบรนด์ร่วมทุนและแบรนด์ เดอะ เทอเรส ที่รับบริหาร เพิ่มขึ้น 2% (ไตรมาส 3/2566: 0%) อัตราการเติบโตของยอดขายรวม (%TSS): ไม่รวมแบรนด์ร่วมทุนและแบรนด์ เดอะ เทอเรส อยู่ที่ 4% ทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และแบรนด์ที่เติบโตสูงสุด: มิสเตอร์ โดนัท, อานตี้ แอนส์, โอโตยะ และ เปปเปอร์ลันช์ ณ สิ้นไตรมาส 3/2567 บริษัทฯ มีจำนวนสาขาทั้งหมด 1,396 สาขา (รวมแบรนด์ร่วมทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ) ลดลง 206 สาขา เมื่อเทียบกับสิ้นไตรมาส 3/2566 (ลดลง 213 สาขา เมื่อเทียบกับสิ้นไตรมาส 2/2567) ผลการดำเนินงานของธุรกิจอาหารมีความผันผวนตามฤดูกาลบ้างแต่ไม่รุนแรงมากนัก โดยปกติแล้ว ไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 4 จะมียอดขายสูงกว่าไตรมาสที่ 1 และ 3 เนื่องจากเป็นช่วงปิดเทอมและมีวันหยุดเฉลิมฉลองตามเทศกาล ทั้งนี้ยอดขาย Delivery ในไตรมาสที่ 3 มักได้รับผลกระทบเนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน อย่างไรก็ตาม สำหรับไตรมาส 3/2567 แม้ว่ารายได้ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2/2567 แต่กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น โดยอัตราส่วน EBITDA ต่อรายได้รวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 18% ในไตรมาสที่ 2/2567 เป็น 22% ในไตรมาสที่ 3/2567 ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินงานของแบรนด์หลัก การรับรู้กำไรตามวิธีส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้าเพิ่มขึ้น และปัจจัยบวกจากการปิดสาขาที่ไม่ทำกำไร ธุรกิจโรงแรม:           บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้วยความระมัดระวัง โดยการปรับกลยุทธ์ทางการขายและตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด รวมถึงการควบคุมค่าใช้จ่าย เน้นการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและวินัยทางการเงิน ขณะที่ยังคงเดินหน้าลงทุนเพื่อขยายธุรกิจในอนาคตด้วยการจัดสรรเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดหาแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนเหมาะสมจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน และการออกตราสารหนี้ตามภาวะตลาดการเงิน โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ โอซาก้า: เป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว จำนวน 515 ห้อง เปิดดำเนินการเต็มปีเป็นปีแรกในปี 2567 บริหารโดยบริษัท Centara Osaka Japan Kabushiki Kaisha ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้น 100% และเป็นผู้เช่ทรัพย์สิน บริษัทฯ บันทึกผลการดำเนินงานทั้งรายได้และค่าใช้จ่ายในงบการเงินรวม การปรับปรุงใหญ่ (Major Renovation): โรงแรมเซ็นทารา กะรน ภูเก็ต: ปิดปรับปรุงทั้งหมดตั้งแต่ไตรมาส 3/2566 กำหนดเปิดดำเนินการในเดือนพฤศจิกายน 2567 (330 ห้อง) โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ มิราจ บีช รีสอร์ท พัทยา: ทยอยปิดปรับปรุงตั้งแต่ไตรมาส 3/2566 เปิดดำเนินการห้องที่ปรับปรุงใหม่ในแต่ละเฟสตั้งแต่ไตรมาส 2/2567 การปรับปรุงห้องพักทั้งหมดจะแล้วเสร็จต้นเดือนธันวาคม 2567 การเปิดโรงแรมใหม่ในมัลดีฟส์: เซ็นทารา มิราจ ลากูน มัลดีฟส์ (145 ห้อง): เปิดในเดือนพฤศจิกายน 2567 เซ็นทารา แกรนด์ ลากูน มัลดีฟส์ (142 ห้อง): เปิดในไตรมาส 1/2568 คาดว่าจะมีผลขาดทุนจากค่าใช้จ่ายช่วงเตรียมเปิดดำเนินการ (Pre-opening Expenses) รวมประมาณ 150-200 ล้านบาทในปี 2567 แผนปรับปรุงใหญ่ในปี 2568: โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท แอนด์ วิลลา หัวหิน (251 ห้อง):ทยอยปิดบางส่วนเพื่อปรับปรุงตั้งแต่ไตรมาส 2/2568โรงแรมยังคงเปิดให้บริการระหว่างปรับปรุง โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ทและวิลลา กระบี่ (192 ห้อง): ปิดปรับปรุงทั้งหมดในไตรมาส 2/2568 ธุรกิจอาหาร:           ธุรกิจอาหารเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากในแต่ละปีมีผู้ประกอบการใหม่ๆ เพิ่มเข้ามาเป็นจำนวนมาก บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญในการสร้างและพัฒนาแบรนด์เพื่อสร้างความคุ้มค่าและประสบการณ์ที่ดีในการรับประทานอาหารของลูกค้า หามองหาแบรนด์ใหม่ๆ ที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีมาเสริมทัพ หาช่องทางการขายใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงลูกค้า และเน้นการบริหารจัดการต้นทุนในด้านต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและสร้างความเติบโตของรายได้และกำไรอย่างยั่งยืน           ในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 บริษัทฯ ได้มีการวางแผนรับมือความผันผวนของราคาวัตถุดิบ โดยได้มีการดูแนวโน้มราคาเพื่อวางแผนในการเจรจาต่อรองกับผู้ขายวัตถุดิบอย่างต่อเนื่อง หาแหล่งวัตถุดิบทดแทน และมีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับวัตถุดิบหลักในบางส่วนเพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา           บริษัทฯ เน้นเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการเตรียมการจัดตารางการทำงานของพนักงานให้เป็นมาตรฐานตามยอดขาย และนำเทคโนโลยีมาใช้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคงมีแผนการปิดสาขาที่ไม่สามารถทำกำไรได้ตามเป้าหมาย มุ่งเน้นการขยายและการทำกำไรในแบรนด์หลักเพื่อเพิ่มอัตราการทำกำไรของบริษัทฯ และพิจารณาเปิดสาขาใหม่ด้วยความระมัดระวัง โดยมุ่งเน้นการขยายสาขาในแบรนด์หลักที่มีอัตราการทำกำไรสูง รวมถึงการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับยอดขายหรือกลุ่มลูกค้าที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน อย่างไรก็ดีสำหรับแนวโน้ม ธุรกิจโรงแรม           บริษัทฯ คาดการณ์ว่าอัตราการเข้าพักเฉลี่ยในปี 2567 จะอยู่ที่ 70% - 73% (รวมโรงแรมร่วมทุน) โดยรายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPAR) คาดว่าจะอยู่ในช่วง 4,000 – 4,300 บาท ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหลังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ธุรกิจอาหาร           สำหรับธุรกิจอาหาร บริษัทฯ คาดการณ์การเติบโตจากสาขาเดิม (Same-Store-Sales: SSS) อยู่ที่ 1% - 3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และการเติบโตของยอดขายรวมทุกสาขา (Total-System-Sales: TSS) อยู่ในช่วง 4% - 6%           อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้วางแผนการขยายสาขาด้วยความระมัดระวังมากขึ้น โดยคาดการณ์ว่าจำนวนสาขา ณ สิ้นปี 2567 จะทรงตัวหรือลดลงประมาณ 2% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2566 เนื่องจากการปิดแบรนด์ที่ขาดทุนและสาขาที่เน้นการขายแบบเดลิเวอรี่เป็นหลัก พร้อมทั้งมุ่งเน้นการขยายสาขาในแบรนด์ที่มีอัตราการทำกำไรสูง           ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการต้นทุน และการปรับตัวให้สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างความมั่นคงในธุรกิจและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในระยะยาว

บล.กรุงศรี แนะ Trading Buy

บล.กรุงศรี แนะ Trading Buy "CENTEL" เป้า 40 บาท

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (KSS) ปรับลดคำแนะนำ CENTEL เป็น Trading Buy ด้วยราคาเป้าหมาย 40 บาท จากคาดว่ากำไรปกติจะเติบโต 132% ช่วงเดียวกันกับปีก่อน แต่ลดลง 43% จากไตรมาสก่อนหน้า ในไตรมาส 3/2567 ซึ่งเป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการ (pre-expense)           กำไรใน 9 เดือน 2567 คิดเป็น 86% ของประมาณการปี 2567 และคาดว่าไตรมาส 4/2567 จะเห็นการลดลงทั้งจากช่วงเดียวกันกับปีก่อน และไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการสำหรับโรงแรมในมัลดีฟส์ยังคงกดดันกำไรในช่วง ไตรมาส 4/2567-ไตรมาส 1/2568           และหุ้น CENTEL เพิ่มขึ้น 22% ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา ขณะนี้ซื้อขายที่อัตราส่วน P/E 30 เท่าของปี 2568 ซึ่งทำให้มี upside จำกัดต่อราคาเป้าหมายของฝ่ายวิเคราะห์

CENTEL คาด Q4/2567 ฟื้นตัวแรง รับ High Season อัตราการเข้าพักพุ่ง 70% พร้อมลุยแผนลงทุนปีหน้า

CENTEL คาด Q4/2567 ฟื้นตัวแรง รับ High Season อัตราการเข้าพักพุ่ง 70% พร้อมลุยแผนลงทุนปีหน้า

          นายกันย์ ศรีสมพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน และรองประธานฝ่ายการเงินและบริหาร บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) หรือ CENTEL เปิดเผยว่า บริษัทอยู่ระหว่างการทบทวนแผนธุรกิจ 5 ปี (ปี 2568-2572) ทั้งในส่วนธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร โดยบริษัทมุ่งมั่นผลักดันการเติบโตทั้งสองส่วนตามกลยุทธ์ที่วางไว้ สำหรับธุรกิจโรงแรม บริษัทมีเป้าหมายดังนี้: การขยายจำนวนโรงแรมในประเทศและต่างประเทศ เพิ่มจำนวนโรงแรมภายใต้การบริหารงานในกลุ่มอาเซียน อาทิ ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน มัลดีฟส์ รวมถึงกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง การปรับปรุงโรงแรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน จับมือกับพันธมิตรเพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจ เปิดสำนักงานในหัวเมืองสำคัญอย่างโฮจิมินห์ เซี่ยงไฮ้ และดูไบ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการขยายธุรกิจในอนาคต ขยายเครือข่ายพันธมิตรทางการตลาดไปยังกุ่มธุรกิจสายการบิน ธนาคาร ห้างสรรพสินค้า และบริษัทท่องเที่ยวต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนเพื่อลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ตั้งเป้าเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี พ.ศ. 2593 โดยภายใต้แผนการดำเนินงานจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20 ภายในปี พ.ศ. 2572 ด้วยการบริหารจัดการพลังงาน การใช้น้ำ และการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงยกเลิกการใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียว (single-use plastic) ภายในปี พ.ศ. 2568 พร้อมให้โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทาราทุกแห่งได้รับการรับรองด้านสิ่งแวดล้อมจาก Global Sustainable Tourism Council – GSTC ภายในปี พ.ศ. 2568           สำหรับธุรกิจอาหาร บริษัทตั้งเป้าหมายเป็นผู้นำธุรกิจร้านอาหารอันดับ 1 ในใจผู้บริโภค ด้วยนวัตกรรมและการส่งมอบอาหารที่อร่อย คุ้มค่า จากการบริการด้วยใจ และพัฒนาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้ ยังเดินหน้าขยายสาขาให้ครอบคลุมทั่วประเทศไทย เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด โดยมุ่งเน้นการรักษามาตรฐานสินค้าให้อยู่ในระดับสูง และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อย่างสม่ำเสมอ แนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 4/2567           คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2567 เนื่องจากเป็นช่วง High Season ของทุกภูมิภาค นอกจากนี้ โรงแรม Centara Grand Mirage Pattaya และ Centara Karon จะกลับมาเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ (ยกเว้นส่วน Villa 50 ห้องของ Centara Karon) ในเดือนธันวาคม รวมถึงการเปิดโรงแรมใหม่ Centara Mirage Lagoon Maldives ในเดือนพฤศจิกายน           หากพิจารณาเฉพาะพอร์ตโฟลิโอโรงแรมระดับ 5 ดาวขึ้นไปในประเทศไทยที่บริษัทเป็นเจ้าของ เมื่อเทียบตัวเลขจองห้องพักล่วงหน้า (On the Book) สำหรับไตรมาส 4 ปีนี้กับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ไม่รวม Centara Grand Mirage Pattaya ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุง) พบว่าปรับตัวดีขึ้นประมาณ 15% เมื่อเทียบรายปี (YoY) ขณะที่ตัวเลข On the Book สำหรับโรงแรมที่ดูไบและโอซาก้าปรับตัวดีขึ้นกว่า 10% และเกือบ 40% ตามลำดับ           จากการประมาณการ คาดว่าอัตราการเข้าพักโดยรวมในไตรมาส 4/2567 จะสูงกว่า 70% โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีอุปสงค์ (Demand) ค่อนข้างแข็งแกร่งในไตรมาสนี้ โดยจุดหมายปลายทางสำคัญสำหรับนักท่องเที่ยว เช่น กรุงเทพมหานคร (อัตราการเข้าพัก > 80%) ภูเก็ต (> 85%) และหัวหิน (80%) ขณะที่โรงแรมในดูไบและโอซาก้าคาดว่าจะมีอัตราการเข้าพักมากกว่า 85% และเกือบ 90% ตามลำดับ แผนการลงทุนปี 2568           บริษัทได้ประเมินการลงทุนเบื้องต้นไว้ โดยคาดว่าธุรกิจอาหารจะใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท ขณะที่ธุรกิจโรงแรมคาดว่าจะใช้งบลงทุนราว 3,400-7,700 ล้านบาท โดยงบ 3,400 ล้านบาทจะเป็นงบลงทุนปกติ ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงและการรีแบรนด์โรงแรมที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงค่าก่อสร้างโรงแรมใหม่ 2 แห่งที่มัลดีฟส์ ซึ่งมีกำหนดชำระถึงต้นปีหน้า และการขยายห้องพักเพิ่มเติมสำหรับโรงแรม Centara Reserve Samui และ Centara Mirage Dubai ส่วนงบประมาณเพิ่มเติมอีก 4,300 ล้านบาท จะเป็นงบลงทุนสำหรับโรงแรมใหม่ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาพัฒนา รวมถึงการเข้าซื้อกิจการ (M&A) ในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รายงานโดย : ณัฏฐ์ชญา ปุริมปรัชญ์ภัทร บรรณาธิการข่าว สำนักข่าว Hoonvision

abs

ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร

พฤอา
311234567891011121314151617181920212223242526272829301234567891011