ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#BBL


BBL ออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิฯ 1 พันล้านดอลลาร์ ให้ผู้ลงทุนตปท.

BBL ออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิฯ 1 พันล้านดอลลาร์ ให้ผู้ลงทุนตปท.

           หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2568 ธนาคารได้ดำเนินการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่สามารถนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ภายใต้ Global Medium Term Note Program ของธนาคาร ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ผู้ออกและเสนอขายตราสาร: ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาฮ่องกง ประเภทตราสาร: หุ้นกู้ด้อยสิทธิและไม่มีหลักประกัน ที่สามารถนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของธนาคาร (ซึ่งมีข้อกำหนดให้ธนาคารสามารถตัดหุ้นกู้เป็นหนี้สูญได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด) ชื่อตราสาร: “BANGKOK BANK PUBLIC COMPANY LIMITED acting through its Hong Kong Branch Issue of US$1,000,000,000 6.056% Tier 2 Subordinated Notes due 2040 under the Bangkok Bank Public Company Limited US$9,000,000,000 Global Medium Term Note Program” อันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร: Baa3 (Moody’s) มูลค่าเงินต้นตราสาร: 1,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ อายุ: 15 ปี นับจากวันออกตราสาร อัตราดอกเบี้ย: ร้อยละ 6.056 ต่อปีจนถึง (แต่ไม่รวม) วันที่ผู้ออกตราสารสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนตราสารก่อนกำหนด (ตามที่ระบุไว้ด้านล่างนี้) จากนั้นอัตราดอกเบี้ยจะถูกปรับตามอัตราอ้างอิงตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดสิทธิของตราสาร การชำระดอกเบี้ย: ชำระดอกเบี้ยทุกวันที่ 25 มีนาคม และวันที่ 25 กันยายน ของทุกปี เริ่มต้นชำระดอกเบี้ยครั้งแรกในวันที่ 25 กันยายน 2568 วันออกตราสาร: วันที่ 25 มีนาคม 2568 วันครบกำหนดไถ่ถอน: วันที่ 25 มีนาคม 2583 วันที่ผู้ออกตราสารสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนตราสารก่อนกำหนด: วันที่ 25 มีนาคม 2578 (โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย) การเสนอขาย: เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันในต่างประเทศทั้งหมด ผู้จัดการการจัดจำหน่าย: Morgan Stanley & Co. International plc, Citigroup Global Markets Inc. และ J.P. Morgan Securities plc

BBL คาดปี68 กำไร 1.18 หมื่นลบ. ความเสี่ยงต่ำ เคาะพื้นฐาน 172 บ.

BBL คาดปี68 กำไร 1.18 หมื่นลบ. ความเสี่ยงต่ำ เคาะพื้นฐาน 172 บ.

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.พาย ระบุ BBL แม้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยลดลงส่งผลให้ NIM อ่อนตัวลง และทำให้กำไรสุทธิใรปี 2025 มีแนวโน้มเติบโตชะลอตัว เรามองว่า BBL มีงบดุลแข็งแกร่ง และ Valuation ที่ไม่แพงซื้อขายที่ 0.5x PBV'25E หากเทียบกับความสามารถในการทำกำไรในระยะยาว และให้อัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่ราว 5.8% ในปี 2025 แนวโน้มผลการดำเนินงานใน 1Q25 เราคาดกำไรสุทธิที่ 1.18 หมื่นล้านบาท (+12% YoY, +13% QoQ) BBL (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 172.00 บาท)

ระวัง! หุ้นการเมือง

ระวัง! หุ้นการเมือง

          ดีกรีการเมืองน่าจะร้อนระอุ วันนี้ โหมโรงเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นวันแรก นักวิเคราะห์มองว่า อาจส่งผลในเชิงจิตวิทยาต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยช่วงสั้น นักลงทุนคงอยู่ในโหมด "รอดูท่าที" (wait and see)           โดยเฉพาะประเด็นที่อาจมีการพาดพิงถึง โครงการสำคัญของรัฐบาล เช่น โครงการแจกเงิน (Digital Wallet) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคประชาชน ซึ่งหากถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเวทีอภิปราย อาจสร้างความไม่แน่นอน เกี่ยวกับการเดินหน้านโยบายดังกล่าวในช่วงที่เหลือของปีได้           สำหรับภาพรวมการอภิปรายครั้งนี้ ไม่น่าจะส่งผลกระทบในเชิงพื้นฐานต่อตลาดหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจรายบุคคล โดยเน้นไปที่บทบาทและสถานะของนางสาวแพทองธาร มากกว่าการอภิปรายเพื่อโจมตีนโยบายเศรษฐกิจโดยรวม           ทั้งนี้ นักลงทุนควรจับตาผลการลงมติในวันที่ 26 มีนาคม 2568 ซึ่งสามารถสะท้อนเสถียรภาพของรัฐบาลในระยะข้างหน้า หากสามารถผ่านการลงมติไปได้อย่างราบรื่น อาจเป็นปัจจัยบวกในเชิงจิตวิทยาให้กับตลาดหุ้น           ด้าน บล.กรุงศรี จับตากระแสการซื้อหุ้นซื้อคืนจะกลับมาคึกคัก หลัง PTT ประกาศโครงการซื้อหุ้น คืนเพื่อบริหารทางการเงิน (Treasury Stock) วงเงินสูงสุดไม่เกิน 16,000 ลบ. และจำนวนหุ้นซื้อคืน ไม่เกิน 470 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกิน 1.65% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด (implied ราคาหุ้น ซื้อคืนราว 34 บาท/หุ้น)           คาดตลาดมีโอกาสเก็งกำไรหุ้น Big Cap ที่มีศักยภาพดำเนินการได้  พบว่า มีหุ้น Big Cap หลักๆในกลุ่มพลังงาน ธนาคาร ปิโตรเคมี ที่มีโอกาสเห็นการซื้อหุ้นคืนระยะถัดไป อาทิ SCB, KBANK, KTB , BBL, PTTGC, TOP, BCP นอกจาก PTT- TTB ที่ประกาศโครงการดังกล่าวไปแล้ว จับตา  BCP, PTTGC, TOP กันต่อไป           นับเป็นหุ้น Health Care ที่น่าจับตา จากผลการดำเนินงานที่เติบโตต่อเนื่องมาโดยตลอด สำหรับ บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด (มหาชน) หรือ BLC ล่าสุด ภก. สุวิทย์ งามภูพันธ์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BLC พร้อมคณะผู้บริหาร ร่วมนำเสนอข้อมูลผลการดำเนินงานปี 2567 แก่นักลงทุนใน Opportunity Day โดยมีรายได้ 1,557 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 176.1 ล้านบาท เติบโต 10.7% และ 16.8% ตามลำดับ  ด้านบอร์ดเตรียมขออนุมัติจ่ายเงินปันผล งวดผลการดำเนินงานในปี 2567 จากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ในอัตรา 0.09 บาทต่อหุ้น โดยจะกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ์ได้รับเงินปันผล ในวันที่ 11 เมษายน 2568 และจ่ายเงินปันผลในวันที่ 30 เมษายน 2568           ทั้งนี้ ในปี 2568 BLC วางแผนขยายขอบเขตความร่วมมือเพื่อสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยาไทยให้เติบโต พร้อมทั้งสร้างความมั่นคงทางด้านสุขภาพ และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน รวมทั้ง มุ่งผลักดันรายได้เติบโตเฉลี่ย 200 ล้านบาทต่อปีตามเป้าหมาย งานนี้ผู้ถือหุ้นสบายใจหายห่วง           ในที่สุดก็กระจ่างชัด นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ กรรมการผู้จัดการใหญ่ TTB แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ข่าวการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB  กับธนาคารทหารไทยธนชาตจำกัด (มหาชน) หรือ TTB นั้น  ไม่เป็นความจริง บริษัทฯ ไม่ได้มีการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อีกทั้ง TTB  ยังคงมุ่งเน้นพันธกิจสำคัญคือ การ Make REAL Change หรือการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายเพื่อให้ลูกค้าของธนาคารกว่า 10 ล้านคน มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ผ่านกลยุทธ์การสร้างการเติบโตแบบ Ecosystem Play และการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบและสอดคล้องกับแนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending)           ขณะที่ นายพงษ์สิทธิ์ ชัยฉัตรพรสุข ประธานผู้บริหาร Legal Comliance & Financial Crime และเลขานุการบริษัท KTB  ก็ชี้แจงว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง และในขณะนี้ คณะกรรมการธนาคารฯ ไม่ได้มีดำริ หรือได้มอบหมายฝ่ายบริหารให้ดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการควบรวมกิจการตามที่เป็นข่าว  ออกมาชี้แจงชัดเจนกันทั้ง 2 ฝ่าย...จบนะ           ปิดท้ายกันที่ หนุ่มน้อยหน้ามนคนขยัน นายปรมัตถ์ จุฬวนิช ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน CHOW ล่าสุดได้รับเกียรติเป็นวิทยากรบรรยายหลักสูตร “ความรู้ Solar Rooftop เพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์สินเชื่อ SME Green Productivity” ให้กับพนักงาน SME D Bank ทั่วประเทศ โดยมุ่งเน้นให้พนักงาน SME D Bank มีความเข้าใจและสามารถแนะนำข้อมูลให้ลูกค้าที่ต้องการติดตั้ง Solar Rooftop และเข้าร่วมโครงการ สินเชื่อ SME Green Productivity พร้อมดอกเบี้ยพิเศษเพียง 3%ต่อปีสำหรับ 3 ปีแรก  นักลงทุนคงต้องเกาะติดผลงาน CHOW ให้ดีๆ เพราะนี่อาจจะเป็นดีลนำร่อง เพื่อต่อยอดดีลต่อๆไปก็ได้    การลงทุน มีความเสี่ยง ผู้ลงทุน ควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ ลงทุน ข่าวหัวม่วง By ทีมงานหุ้นวิชั่น     

BBL คาดปี 68 กำไร 4.7 หมื่นลบ. โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 182.50 บาท

BBL คาดปี 68 กำไร 4.7 หมื่นลบ. โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 182.50 บาท

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.เอเอสแอล ระบุคาด BBL มีกำไรสุทธิ 25F ที่ 4.7 หมื่นล้านบาท (+4.2% YoY) โดย NII จะปรับตัวลง 3.6% ตามการลดลงของ NIM ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 2.8% ตามการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย แต่รายได้ค่าธรรมเนียมจะเติบโตราว 2.5% และค่าใช้จ่ายสำรองลดลง 5% ►Outlook เป้าหมายทางการเงินปีนี้มองเป็นกลาง ตลาดอาจตกใจกับ NPL ratio ที่สูงขึ้น ►แนะนำ ”ซื้อ” มีราคาเป้าหมาย 182.50 บาท อิง PBV ที่ 0.62 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว เหมาะแก่การลงทุนระยะกลางถึงยาว โดยมองว่าเป็นธนาคารที่มีจุดแข็งด้านดำเนินธุรกิจแบบ Conservative มี NPL coverage สูงสุดในกลุ่มธนาคาร (>300%) และเน้นลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ที่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ Earnings Recap 4Q24 : กำไรสุทธิเท่ากับ 04 หมื่นล้านบาท -16.6%QoQ, +17.4%YoY ใกล้คียงกับที่เราคาด โดย NII ดีขึ้นจากสินเชื่อที่ขยายตัว 2.1%QoQ, +0.8%YoY ส่วน NIM เท่ากับ 3.09% (+0.04%QoQ, -0.1%YoY) เพิ่มขึ้น QoQ จากต้นทุนทางการเงินที่ลดลง ด้านรายได้ค่าธรรมเนียมดีขึ้นจากธุรกิจบัตรเครดิต ประกัน และกองทุนรวม ด้าน C/I ยังอยู่ในระดับสูงที่ 53.1% จากค่าใช้จ่ายการพัฒนา IT และพนักงาน ส่วนการตั้งสำรอง -6.9%QoQ สอดคล้องกับ Gross NPLs ที่ -17.5%QoQ, -0.1%YoY คิดเป็น NPLs ratio ที่ 2.7% จาก 3.4% ในช่วง 3Q ตามการปรับโครงสร้างหนี้ ส่งผลให้ชั้นลูกหนี้จาก stage 3 เป็นระดับ 2 และมี NPL coverage ที่ 334.3% แข็งแกร่งที่สุดของกลุ่มธนาคาร ส่วน ROE สิ้นงวดเท่ากับ 7.5% (-1.57%QoQ, +0.85%YoY) 24FY : กำไรสุทธิเท่ากับ 5 หมื่นล้านบาท +8.6%YoY โดดเด่นจาก Non-NII ที่เพิ่มขึ้น 14.4%YoY ส่วน NIM เท่ากับ 3.06% ขณะที่ ROE เท่ากับ 8.27% (+0.26%YoY) อย่างไรก็ดี Tier 1 เท่ากับ 17% เป็นระดับเดียวในช่วงการเข้าซื้อ Permata Outlook เป้าหมายทางการเงินปีนี้มองเป็นกลาง ตลาดอาจตกใจกับ NPL ratio ที่สูงขึ้น เศรษฐกิจไทยเติบโต 5-3.0% : หนุนจากภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว รวมถึง FDI ที่เพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ยังมีความเสี่ยงด้านสงครามการค้า สินเชื่อขยายตัว 3-4%YoY : ธุรกิจขนาดใหญ่โต 3-5%, ต่างประเทศ(รวม Permata) 3-5%, SME 1-2% และรายย่อย 1-2% NIM อยูในกรอบ 8-2.9% : ผู้บริหารคาดปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 1 ครั้ง ในปีนี้ NPLs ratios อยู่ในช่วง 3% : ขึ้นกับการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกค้า แต่เชื่อว่าจะไม่ถึง 3% Credit cost ที่ 9-1.0% : ลดลงจากสิ้นปี 24 ที่ 1.3% จากภาพรวมคุณภาพสินทรัพย์ที่ยังคงแข็งแกร่ง และการตั้งสำรองที่เริ่มผ่อนคลายลง รายได้ค่าธรรมเนียมโตเล็กน้อย : ระดับ low single digit โดยได้แรงหนุนจากธุรกิจกองทุน และประกัน C/I ที่ระดับ High-40s% : ยังคงอยู่ในระดับสูงจากการพัฒนาด้านดิจิทัลและได้ครอบคลุมด้านธุรกิจ Virtual banking ไว้แล้ว ยังคงบริหารจัดการเงินทุนตามหลัก conservatives แต่ด้วยแผนระยะยาวที่ผู้บริหารต้องการให้ระดับของ ROE แตะระดับ 10% จึงทำให้มีการจ่ายเงินปันผลมากขึ้น โดยงวดล่าสุดประกาศจ่ายปันผล 50 บาท สูงกว่าที่เราคาด (รวมทั้งปี 8.50 บาท) คิดเป็น Div. yield ราว 4.4% (หากคิดทั้งปีเท่ากับ 5.8% p.a.) และคิดเป็น payout ratio ที่ 35.9% จากปีก่อนที่ 32.1% โดยเราเชื่อว่ามีโอกาสแตะระดับ 40% ภายใน 3 ปีข้างหน้า (25-27F) ทั้งนี้ขึ้น XD 23 เม.ย. มาตรการคุณสู้เราช่วยได้รับผลกระทบที่จำกัด ประเมินกำไรสุทธิปีนี้ยังพอเติบโต เราคาดกำไรสุทธิสำหรับปี 25F เท่ากับ 7 หมื่นล้านบาท +4.2%YoY โดย NII ปรับตัวลง 3.6%YoY จาก NIM ที่คาดว่าจะปรับลดลงเหลือ 2.8% ตามการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง ขณะที่สินเชื่อคาดว่าจะเติบโต 2.8%YoY ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมคาดเติบโตราว 2.5%YoY แนวโน้ม 1Q25F เบื้องต้นคาดว่าจะขยายตัวทั้ง QoQ และ YoY จากค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน (low season) และการตั้งสำรองที่ลดลงเป็นหลัก ซึ่งเข้ามาชดเชยส่วนของรายได้ดอกเบี้ยที่ปรับลดลงหลัง กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ส่วนแนวโน้มสินเชื่อยังขยายตัวตามเม็ดเงินลงทุนที่ไหลเข้าสู่ภูมิภาคอาเซียน แนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมายสิ้นปี 25F เท่ากับ 182.50 บาท เราชอบ BBL ที่เป็นธนาคารขนาดใหญ่ ดำเนินธุรกิจด้วยความ conservative มาก สะท้อนผ่าน NPL coverage ที่สูงสุดของกลุ่ม (>300%) ประกอบกับการเน้นลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ยังคงเติบโตตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและได้รับผลกระทบจากกฎระเบียบหรือมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยได้จำกัด ในขณะที่สินเชื่อต่างประเทศที่มีสัดส่วนรวมกว่า 25% ยังคงรับอานิสงส์บวกจาก FDI ที่ไหลเข้าในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง รวมถึงแนวโน้มการปรับ payout ratio ขึ้นในอนาคตช่วยหนุนการเติบโตของ ROE ในระยะยาว ประเมินราคาเป้าหมายเท่ากับ 50 บาท อิง PBV ที่ 0.62 เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยระยะยาวย้อนหลัง (0.72 เท่า) – 1 SD Valuation ในปัจจุบันจึงน่าสนใจ เหมาะแก่การซื้อลงทุนระยะกลาง-ยาว           ปัจจัยเสี่ยง : อัตราดอกเบี้ยทรงตัวอยู่ในระดับสูงเป็นเวลานานกว่าคาดจะเป็น upside ต่อ N IM, ผลการดำเนินงานของ Permata bank ในอินโดนีเซียที่อาจแย่กว่าคาด (คิดเป็น 11% ของสินเชื่อโดยรวม), ภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาดกระทบต่อคุณภาพลูกหนี้           ประเด็นที่มีนัยยะสำคัญด้านความยั่งยืน: การให้ความสำคัญกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล, การเงินเพื่อความยั่งยืน, จริยธรรมทางธุรกิจ, การดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์และคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤต

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

BBL คาดรับผลบวก FDI  จ่อสินเชื่อโต 3-4% โบรกเคาะเป้า 175 บ.

BBL คาดรับผลบวก FDI จ่อสินเชื่อโต 3-4% โบรกเคาะเป้า 175 บ.

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ระบุ BBL กำไร 4Q67 โตสูง +17% YoY หลัก ๆ มาจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยจากการลงทุนและค่าธรรมเนียมและบริการ ส่งผลให้กำไรทั้งปี 67 ยังโต +9% YoY ▪ คาดได้รับผลบวกจาก FDI ที่เข้ามาในแถบ ASEAN มากขึ้น ดีต่อสินเชื่อกิจการต่างประเทศของ BBL ที่มีสัดส่วนสูงถึงราว 25% ของสินเชื่อรวม ▪ ตั้งเป้าการเติบโตสินเชื่อปีนี้ 3-4% เน้นสินเชื่อรายใหญ่และกิจการต่างประเทศ และคุม NPL ราว 3% ▪ มี Coverage ratio ที่สูงสุดในกลุ่ม และเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง + จ่ายปันผลงวด 2H67 อีก @6.5 บ. คิดเป็นอัตราเงินปันผลราว 4.4% (XD 23/04/68) ▪ แนวรับ=146/147 แนวต้าน=151.5/153           BBL | ซื้อ | TP=175 บ.

BBL ปันผลอีก6.50บาท มากกว่าคาด-เป้า186บ.

BBL ปันผลอีก6.50บาท มากกว่าคาด-เป้า186บ.

           หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล. ดาโอระบุว่า BBL อนุมัติจ่ายเงินปันผลงวดปี 2024 จำนวน 8.50 บาทต่อหุ้น (งวด 1H24 จ่ายไปแล้วที่ 2.00 บาทต่อหุ้น) ทำให้งวด 2H24 จะจ่ายเพิ่มอีก 6.50 บาทต่อหุ้น โดยจะ XD วันที่ 23 เม.ย. 25 (ที่มา: SET)            มีมุมมองเป็นบวกต่อการจ่ายเงินปันผลที่มากกว่าที่เราคาด โดยการจ่ายงวดปี 2024 ที่ 8.50 บาทต่อหุ้น (มากกว่าที่ตลาดคาด DPS ไว้ทั้งปี 2024 ที่ 7.53 บาทต่อหุ้น และเราคาดที่ 7.58 บาทต่อหุ้น) คิดเป็น dividend yield ทั้งปี 2024 ที่ระดับ 5.3% และคิดเป็น Dividend payout ที่ 36% มากกว่าปี 2023 ที่ 32% ขณะที่หากคิดแค่งวด 2H24 ที่จ่ายที่ 6.50 บาทต่อหุ้น จะคิดเป็น dividend yield ที่ราว 4.0% ซึ่งจะเป็น sentiment เชิงบวกต่อราคาหุ้นได้            โดยคําแนะนํา “ซื้อ” BBL ราคาเป้าหมายที่ 186.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.60x (-1.00SD below 10-yr average

BBL เก็งจ่ายปันผลเกินคาด ปีนี้กำไร 4.6 หมื่นล. - เป้า 186 บ.

BBL เก็งจ่ายปันผลเกินคาด ปีนี้กำไร 4.6 หมื่นล. - เป้า 186 บ.

หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล. ดาโอ ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” BBL และราคาเป้าหมายที่ 186.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.60x (-1.00SD below 10-yr average PBV) โดยมีมุมมองเป็นบวกเล็กน้อยต่อการประชุมนักวิเคราะห์วานนี้โดยลุ้นเงินปันผลที่มีโอกาสมากกว่าที่คาด ขณะที่เป้าหมายทางการเงินใกล้เคียงคาด โดย 1) Loan growth ที่ 3-4% (คาด 3%) จากการเติบโตในส่วนของสินเชื่อรายใหญ่และต่างประเทศ 2) NIM ที่ 2.80-2.90% (ต่ำกว่าคาด 3.00%) เพราะรวมผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% 3) Credit cost ที่ 0.9-1.0% (ดีกว่าที่คาด 1.15%) เพราะมีการตั้งสำรองฯเผื่อมาเยอะมากแล้ว ส่วน NPL ตั้งเป้าไว้ที่ 3%+/- (เราคาด 2.84%) และ 4) Tier 1 ขึ้นมาที่ 17% แล้ว ผู้บริหารคาดว่าจะมีโอกาสปรับ Dividend payout ขึ้นมากกว่าปีก่อนที่ 33% (คาด 32%)แม้ว่าเป้าหมายด้าน Credit cost จะดูมี upside แต่ถูกชดเชยไปกับ NIM ที่จะอ่อนตัวมากกว่าคาด ทำให้ยังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2025E อยู่ที่ 4.6 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น +3% YoY จากสำรองฯที่ลดลงเป็นหลัก ขณะที่คาคว่ากำไรสุทธิ 1Q25E จะเพิ่มขึ้น YoY/QoQ จากสำรองฯที่ลดลงราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น +10% และ +17% ในช่วง 1 เดือน และ 3 เดือนที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับ SET จากกำไรและ Asset quality ที่ดูดี และใกล้ประกาศจ่ายเงินปันผล ประกอบกับ BBL ยังคงมีความแข็งแกร่งทางด้านการเงินที่รองรับความเสี่ยงได้ดีกว่าคู่แข่ง เพราะมี coverage ratio สูงที่สุดในกลุ่มที่ 334% ด้าน Valuation เทรดที่ PBV ถูกที่สุดในกลุ่มเพียง 0.53x หรือที่ระดับ -1.25SD ย้อนหลัง 10 ปี และถูกกว่ากลุ่มที่เทรดที่ PBV ที่ 0.68x

abs

มุ่งมั่นเป็นผู้นำ เชื่อมโยงทุกโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

BBL กำไรQ4ดีตามคาด NPLลด-เป้า 186 บาท

BBL กำไรQ4ดีตามคาด NPLลด-เป้า 186 บาท

หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล.ดาโอระบุว่า ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” BBL และราคาเป้าหมายที่ 186.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.60x (-1.00SD below 10-yr average PBV) โดย BBL ประกาศกำไรสุทธิ 4Q24 อยู่ที่ 1.04 หมื่นล้านบาท (+17% YoY, -17% QoQ) เป็นไปตามที่ตลาดคาด โดยมีการตั้งสำรองฯที่ต่ำกว่าคาดมาอยู่ที่ 7.6 พันล้านบาท (เราคาด 8.1 พันล้านบาท) เพราะตั้งเผื่อมาเยอะแล้ว ด้าน NIM ดีกว่าคาดมาอยู่ที่ 3.12% (เราคาด 3.08%) จากไตรมาสก่อนที่ 3.07% เพราะมี Loan yield เพิ่มขึ้น           ส่วน NPL ลดลงอย่างมากมาอยู่ที่ 2.70% จากไตรมาสก่อนที่ 3.40% โดยมูลค่า NPL ลดลงถึง -18% QoQ หรือลดลง -1.8 หมื่นล้านบาท จากไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้น +4.9 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้ในช่วง 3Q24 แต่กลับมาจ่ายได้ใน 4Q24 ทำให้มีการเลื่อนชั้นจาก Stage 3 เป็น Stage 2 มากขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตและกลุ่มก่อสร้างเรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2025E อยู่ที่ 4.6 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น +3% YoY จากสำรองฯที่ลดลงเป็นหลัก           ขณะที่เราคาดว่ากำไรสุทธิ 1Q25E จะเพิ่มขึ้น YoY/QoQ จากสำรองฯที่ลดลงราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น +2% และ +8% ในช่วง 1 เดือน และ 3 เดือนที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับ SET จากกำไรและ Asset quality ที่ดูดี ประกอบกับ BBL ยังคงมีความแข็งแกร่งทางด้านการเงินที่รองรับความเสี่ยงได้ดีกว่าคู่แข่ง เพราะมี coverage ratio สูงที่สุดในกลุ่มที่ 334% ด้าน Valuation เทรดที่ PBV ถูกที่สุดในกลุ่มเพียง 0.53x หรือที่ระดับ -1.25SD ย้อนหลัง 10 ปี และถูกกว่ากลุ่มที่เทรดที่ PBV ที่ 0.68x           ขณะที่ประมาณการกำไรปี 2025E ยังมี upside เพิ่มจากสำรองฯที่มีแนวโน้มลดลงมากกว่าคาด โดย BBL จะมีการประกาศเป้าหมายทางการเงินของปี 2025E ในวันที่ 18 ก.พ. 25 ทำให้เลือก BBL เป็น Top pick ของกลุ่มธนาคาร

BBL โชว์กำไรปี 67 ที่ 45,211 ล้าน โต 8.6%

BBL โชว์กำไรปี 67 ที่ 45,211 ล้าน โต 8.6%

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL และบริษัทย่อยรายงานกำไรสุทธิสำหรับปี 2567 จำนวน 45,211 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 จากปีก่อน โดยมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 จากการขยายตัวของเงินให้สินเชื่อและอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิกับต้นทุนเงินรับฝากที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ร้อยละ 3.06 สำหรับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จากการเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน และกำไรจากเงินลงทุน ซึ่งเป็นไปตามสภาวะตลาด           ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นจากธุรกิจบัตรเครดิต และบริการประกันผ่านธนาคารและบริการกองทุนรวมที่ยังคงเติบโตดีสำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน และค่าใช้จ่ายทางการตลาด โดยธนาคารยังคงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายทไให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงานลดลงเป็นร้อยละ 48.0           ทั้งนี้จากการที่ธนาคารมีการต้้งสำรองด้วยความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง ในไตรมาส 4/2567 ธนาคารจึงต้้งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลงจากไตรมาสก่อน ส่งผลให้ผลขาดทุน           ด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น สำหรับปี2567 มีจำนวน 34,838 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีก่อน           ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2567 ธนาคารมีเงินให้สินเชื่อจำนวน 2,693,301 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากสิ้นปีก่อน จากสินเชื่อลูกค้าธุรกิจรายใหญ่และสินเชื่อลูกค้ากิจการต่างประเทศ           สำหรับอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตต่อเงินให้สินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.7 ซึ่งอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ โดยมีอัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตต่อเงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ร้อยละ 334.3 เป็นผลจากการที่ธนาคารยึดหลักการตั้งสำรองด้วยความระมัดระวังและรอบคอบอย่างต่อเนื่อง           ธนาคารมีเงินรับฝาก ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2567 จำนวน 3,169,654 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.5 จากสิ้นปีก่อน และมีอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝากอยู่ที่ร้อยละ 85.0           ขณะที่อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 และอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารและบริษัทย่อยอยู่ที่ร้อยละ 20.4, ร้อยละ 17.0 และร้อยละ 16.2 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ำตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด           และธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารในไตรมาส 4/2567 จำนวน 10,404 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.6 จากไตรมาสก่อน สาเหตุหลักจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงส่วนใหญ่จากรายได้จากการลงทุน ซึ่งเป็นไปตามสภาวะตลาด ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยสุทธิอยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน และค่าใช้จ่ายทางการตลาด ทั้งนี้จากการที่ธนาคารมีการตั้งสำรองด้วยความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง ในไตรมาสนี้ธนาคารจึงตั้งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลง           หากเทียบกับไตรมาส 4/2566 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 จากรายได้จากการลงทุนและรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ สำหรับรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงเล็กน้อย ขณะที่ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานและผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอยู่ในระดับเดียวกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน           สำหรับปี 2567 ธนาคารมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารจำนวน 45,211 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 จากปีก่อน โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจากปริมาณเงินให้สินเชื่อและอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิกับต้นทุนเงินรับฝากที่เพิ่มขึ้น รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จากรายได้จากการลงทุน สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน และค่าใช้จ่ายทางการตลาด ทั้งนี้ธนาคารตั้งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 34,838 ล้านบาท อยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีก่อน

BBLเป้าสินเชื่อปีนี้โต 3-5%  เศรษฐกิจฟื้น-เป้า 186 บาท

BBLเป้าสินเชื่อปีนี้โต 3-5% เศรษฐกิจฟื้น-เป้า 186 บาท

หุ้นวิชั่น- บทวิเคราะห์ บล.ดาโอระบุว่า นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL กล่าวในโอกาส เปิดงานสัมมนา AEC Business Forum 2025 สำหรับภาพอุตสาหกรรมแบงก์ มองว่า ยังสามารถเติบโตได้ตามภาพรวมเศรษฐกิจ โดยคาดสินเชื่อธนาคารจะเติบโตได้ต่อระดับ 3-5% ปีนี้ โดยจะเห็นการเติบโตได้มากขึ้นในทุกกลุ่มสินเชื่อปีนี้ในทุกเซอร์เตอร์ จากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ทั้งธุรกิจรายใหญ่ ธุรกิจรายกลางเอสเอ็มอี ค้าปลีก และลูกค้าบุคคล รวมถึงลูกค้าต่างประเทศที่เติบโตได้ต่อเนื่อง ส่วนภาพรวมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ปีนี้คาดว่า น่าจะอยู่ใกล้เคียงเดิม ที่ 3.4% หรืออาจลดลงหรือเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย โดยรวมยังเป็นระดับที่บริหารจัดการ และมองว่าปัญหาหนี้ต่างๆ น่าจะลดลงได้ จากโครงการ "คุณสู้ เราช่วย" ที่จะมีส่วนแก้ปัญหาของลูกหนี้ต่างๆ ได้ ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อลูกหนี้โดยตรง (ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ) มองเป็นกลางจากเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อปี 2025E ที่ 3-5% YoY ซึ่งใกล้เคียงกับที่เราคาดไว้ที่ 3% YoY จากการเติบโตในทุกสินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อรายใหญ่และต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปตามการเติบโตของเศรษฐกิจ ขณะที่ NPL ตั้งเป้าไว้ที่ 3.4% +/- ซึ่งใกล้เคียงกับที่เราคาดไว้ที่ 3.46% จาก 3Q24 ที่อยู่ที่ 3.40% โดยเราเชื่อว่ายังเป็นระดับที่ควบคุมได้ อย่างไรก็ดี รอเป้าหมายทางการเงินเพิ่มเติม ซึ่งคาดว่าจะประกาศหลังจากงบ 4Q24E ออกช่วงปลายเดือน ม.ค. 25 อีกที โดยเบื้องต้น ประมาณการกำไรสุทธิปี 2025E อยู่ที่ 4.6 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น +6% YoY จากสำรองฯที่ลดลงเป็นหลัก ทั้งนี้ ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” BBL และราคาเป้าหมายที่ 186.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.60x (-1.00SD below 10-yr average PBV)

abs

SSP : ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน ทางเลือกใหม่เพื่ออนาคต

เก็งแบงก์ Q4 กำไร โต 11.8% ชู BBL-SCB ปันผลเด่น

เก็งแบงก์ Q4 กำไร โต 11.8% ชู BBL-SCB ปันผลเด่น

          หุ้นวิชั่น- ฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) หรือ CGSI ระบุในบทวิเคราะห์ โดยคาดว่า ในไตรมาส 4/67 ธนาคาร 8 แห่งที่ฝ่ายวิเคราะห์ฯทำการศึกษา ได้แก่ BBL, KBANK, SCB, KTB, TTB, TISCO, KKP และ CREDIT จะทำกำไรสุทธิรวม 4.85 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.8% yoy แต่ลดลง 13.2% qoq โดยเชื่อว่ากำไรสุทธิจะลดลง qoq เพราะผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในไตรมาส 4/67 ส่วนกำไรสุทธิจะเติบโต yoy มาจากอัตราการสำรองหนี้สูญที่ลดลง           นอกจากนี้ เชื่อว่าในไตรมาส 4/67 กลุ่มธนาคารจะมีสินเชื่อรวมขยายตัว 1.2% qoq แต่ลดลง 0.4% yoy และมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) ลดลง 5bp qoq และ 16bp yoy ทั้งนี้คาดว่า KKP, KTB และ CREDIT จะมีกำไรสุทธิเติบโตสูงที่สุด yoy ขณะที่ประมาณการกำไรสุทธิของ KTB, SCB และ KBANK สูงกว่าที่ Bloomberg consensus คาดการณ์ 25.7%, 7.8% และ 5.0% ตามลำดับ ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI คาดว่า กลุ่มธนาคารจะมีรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเติบโต 14.8% yoy แต่ลดลง 1.3% qoq ในไตรมาส 4/67 โดยรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยจะยังเติบโตแข็งแกร่ง yoy จากการบันทึกกำไรจากการลงทุนและกำไรจากการวัดมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงินผ่านกำไรหรือขาดทุน (FVTPL) แต่จะเติบโตติดลบ qoq เนื่องจาก รายได้ค่าธรรมเนียมจากการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และบริการกองทุนรวมจะลดลง เพราะตลาดหุ้นไทยมีปริมาณการซื้อขายและมูลค่าการซื้อขายต่อวันลดลง           ฝ่ายวิเคราะห์ฯ ยังคาดว่า กลุ่มธนาคารจะมีอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้เพิ่มขึ้นจาก 44.6% ในไตรมาส 3/67 เป็น 47.1% ในไตรมาส 4/67 แต่ยังต่ำกว่า 48.8% ในไตรมาส 4/66 เนื่องจากธนาคารมีมาตรการคุมค่าใช้จ่ายและรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเติบโตแข็งแกร่ง ดังนั้น กำไรก่อนตั้งสำรองของกลุ่มธนาคารจึงน่าจะเติบโต 1.9% yoy แต่ลดลง 6.1% qoq ในไตรมาส 4/67 โดยตั้งสมมุติฐานอัตราการสำรองหนี้สูญของกลุ่มธนาคารในไตรมาส 4/67 อยู่ที่ 159bp หรือเพิ่มขึ้นจาก 150bp ในไตรมาส 3/67 แต่ต่ำกว่า 181bp ในไตรมาส 4/66 ทั้งนี้ KTB, KBANK, TTB และ CREDIT มีอัตราการสำรองหนี้สูญสูงในไตรมาส 4/67 เพราะมีนโยบายการตั้งสำรองที่รอบคอบและมีการตั้งสำรองส่วนเพิ่มแบบ Management Overlay ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI ยังแนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน (Neutral)” ในกลุ่มธนาคาร เพราะคาดว่ากำไรก่อนตั้งสำ รอง (PPOP) จะเติบโตลดลงมาที่ 1.3-2.0% และมี ROE ที่ 9.0% ในปี 68-69 โดยเลือก BBL ราคาเป้าหมาย 195 บาท และ SCB ราคาเป้าหมาย 130 บาทเป็นหุ้น Top pick เพราะมองว่ายังมีการประเมินมูลค่าน่าสนใจที่ P/BV 0.49 เท่า และ 0.81 เท่าในปี 68 รวมทั้งมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงที่ 4.6% และ 9.1% ในปี 68 ตามลำดับ ขณะที่เชื่อว่าในไตรมาส 4/67 กลุ่มธนาคารยังมีกำไรอ่อนตัว อีกทั้งมีสินเชื่อขยายตัวช้าและ NIM อยู่ภายใต้แรงกดดัน จึงมองว่ากลุ่มธนาคารขาดปัจจัยบวกช่วยหนุน แต่ยังจ่ายเงินปันผลดี อย่างไรก็ตาม กลุ่มธนาคารมี downside risk หาก NPL เพิ่มสูงขึ้นและธปท.ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก ส่วน upside risk จะมาจากการที่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาไทยมากขึ้น จะช่วยกระตุ้นการบริโภค, ความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ลดลงและรัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

BBL งบดุลแกร่ง คาดปี68 ปันผล 5.3%  โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 170 บาท

BBL งบดุลแกร่ง คาดปี68 ปันผล 5.3% โบรกแนะ “ซื้อ” เป้า 170 บาท

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.พาย ชี้ BBL ด้วยงบดุลแข็งแกร่ง และ Valuation ที่ไม่แพงซื้อขายที่ 0.5x PBV'25E หากเทียบกับความสามารถในการทำกำไรในระยะยาว ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวเปาะบางทำให้การขยายสินเชื่อในปี 2024 ขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายเล็กน้อย แต่กำไรสุทธิยังเติบโตได้ 7.1% ในปี 2024 อย่างไรก็ดี คาดกำไรจะเติบโตชะลอตัวที่ 2.6%/4.4% ในปี 2025-26 ส่วนหนึ่งเพราะ NIM ปรับลดลงล้อกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ด้าน ROE จะปรับเพิ่มขึ้นที่ 8.2% ในปี 2024 และ 8% ในปี 2025-26 และคาดอัตราผลตอบแทนเงินปันผลสูงที่ 5.3%-5.5% ในปี 2025-26 BBL (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 170.00 บาท)

BBL แกร่ง Valuation ไม่แพง โบรกแนะ ”ซื้อ” เป้า 170 บาท

BBL แกร่ง Valuation ไม่แพง โบรกแนะ ”ซื้อ” เป้า 170 บาท

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.พาย ชี้ชอบ BBL ด้วยงบดุลแข็งแกร่ง และ Valuation ที่ไม่แพงซื้อขายที่ 0.5x PBV'25E หากเทียบกับความสามารถในการทำกำไรในระยะยาว ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวเปาะบางทำให้การขยายสินเชื่อในปี 2024 ขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายเล็กน้อย แต่กำไรสุทธิยังเติบโตได้ 6.6% ในปี 2024 อย่างไรก็ดี คาดกำไรจะเติบโตชะตัวที่ 2.6%/4.4% ในปี 2025-26 ส่วนหนึ่งเพราะ NIM ปรับลดลงล้อกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ด้าน ROE จะปรับเพิ่มขึ้นที่ 8.2% ในปี 2024 และ 8% ในปี 2025-26 BBL (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 170.00 บาท)

abs

ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร

BBL โบรกคาดกำไรโต YoY  มีปันผล 5.6% แนะ “ซื้อ” เป้า 168 บาท

BBL โบรกคาดกำไรโต YoY มีปันผล 5.6% แนะ “ซื้อ” เป้า 168 บาท

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.พาย คาดว่า BBL จะมีกำไรสุทธิจะเติบโตชะลอตัวที่ 2%/4.3% ในปี 2025-26 ด้าน ROE ปรับลดลงที่ 7.9%/7.8% ในปี 2025-26 จาก 8.1% ในปี 2024 และคาดอัตราผลตอบแทนเงินปันผลสูง 5.3-5.6% ในปี 2024-26 ด้านแนวโน้มผลการดำเนินงานใน 4Q เราคาดกำไรจะลดลง QoQ จากปัจจัยฤดูกาลที่ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานเพิ่มขึ้น และรายได้ดอกเบี้ยลดลง แต่กำไรจะปรับสูงขึ้น YoY จากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็นหลัก BBL (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 168.00 บาท)

ส่องประเด็น เฟ้นหุ้นเด็ด ผ่า BBL ซ่อนมูลค่าแค่ไหน?

ส่องประเด็น เฟ้นหุ้นเด็ด ผ่า BBL ซ่อนมูลค่าแค่ไหน?

หุ้นวิชั่น – ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บล.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์  ระบุ BBL กำไร 3Q67 +6% QoQ/+10% YoY ดีกว่าคาด ผลจากรายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจประกันและบริการกองทุนรวม บวกกับสำรอง ECL ที่ลดลง ส่งผลกำไร 9M67 +6% YoY ถือเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ บนฐานลูกค้ารายใหญ่ที่มีสัดส่วนสูงสุด บวกผลกระทบจำกัดจากการมีลูกค้ารายย่อยกลุ่มเปราะบางน้อยที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน มี Coverage Ratio ที่สูงสุดในกลุ่ม และเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง + คาดมีอัตราเงินปันผลทั้งปีสูงราว 5% BBL | ซื้อ | TP=173 บ.

SCB-BBL เด่น รับ กนง. คง ดอกเบี้ย

SCB-BBL เด่น รับ กนง. คง ดอกเบี้ย

          บล.หยวนต้า ชี้ กนง. คงดอกเบี้ย 2.25% ตามคาด หลังเศรษฐกิจยังขยายตัวจากภาคท่องเที่ยวและบริการ พร้อมส่งสัญญาณเฝ้าระวังความเสี่ยงสินเชื่อ SMEs ด้านกลยุทธ์การลงทุน แนะเก็บหุ้นกลุ่ม Domestic Play เด่น SCB, KBANK, BBL, CPALL และ CRC           บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.25% หลังจาก ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในครั้งที่ผ่านมา โดยการคง อัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้เนื่องจากเงินเฟ้อที่ยังสามารถเติบโต ในกรอบเป้าหมาย และเศรษฐกิจยังขยายตัว โดยได้รับแรง หนุนจากภาคบริการและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดีขึ้น รวมถึง การส่งผ่านต้นทุนในหมวดอาหารอย่างไรก็ดี ยังคงมีความ เสี่ยงด้านสินเชื่อที่ชะลอตัวและความสามารถในการคืนหนี้ที่ ลดลง           โทนจากการแถลงของ กนง. ไม่ได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจน โดยเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอยู่ในกรอบเป้าหมาย ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และยังไม่มีความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ เนื่องจากยังไม่เห็นการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังและติดตามแนวโน้มนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก           นอกจากนี้ยังคงมีความเสี่ยงด้านสินเชื่อที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะในกลุ่ม SMEs อย่างไรก็ดี โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” คาดว่าจะสามารถเข้ามาช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่มีภาระหนี้สูง ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาได้อย่างตรงจุดและส่งผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ           เชิงกลยุทธ์การลงทุน มีมุมมองบวกต่อกลุ่ม Domestic Play เช่น ธนาคาร ค้าปลีก และอาหารและเครื่องดื่ม โดยหุ้นที่น่าสนใจ ได้แก่ SCB, KBANK, BBL, TTB, CPALL, CPAXT, BJC, CRC, และ OSP

abs

Hoonvision

THAI แปลงหนี้เป็นทุน BBL-KTBรับอานิสงส์ เช็กเลย!

THAI แปลงหนี้เป็นทุน BBL-KTBรับอานิสงส์ เช็กเลย!

            หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล. ดาโอ ระบุว่า BBL, KTB แจ้งแบบ 246-2 เข้าถือหุ้น THAI จากการแปลงหนี้เป็นทุน ทำให้แนวโน้ม NPL จะลดลง โดย BBL แจ้งในแบบรายงานการได้มาหรือจำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ (แบบ 246-2) ของหุ้น THAI ที่จำนวน 2,407,879,062 หุ้น สัดส่วน 10.3507% ส่วน KTB ถือหุ้น THAI ที่ 1,327,322,126 หุ้น สัดส่วน 5.7280% (ที่มา: SEC)             มีมุมมองเป็นบวกต่อ BBL และ KTB เพราะจะทำให้ NPL จะลดลง คาดเร็วสุดใน 4Q24E โดยอ้างอิงจากหนังสือชี้ชวน THAI (วันที่ 20 ต.ค. 22) พบว่า BBL มีการปล่อยสินเชื่อ (ไม่รวมหุ้นกู้) ให้ THAI ที่ 9.3 พันล้านบาท และ KTB อยู่ที่ 6.9 พันล้านบาท และหลังจากมีการแปลงหนี้เป็นทุนพบว่าBBL ถือหุ้นใน THAI ที่ประมาณ 2.4 พันล้านหุ้น (สัดส่วน 10.35%) จากเดิมที่ 9.4 ล้านหุ้น โดยมีราคาแปลงหนี้เป็นทุนที่ 2.5452 บาท ทำให้เราคาดว่าจะได้มูลค่าที่แปลงหนี้เป็นทุนได้ 6.1 พันล้านบาท ซึ่งจะทำให้ NPL ของ BBL จะลดลงได้ -0.22% จาก 3Q24 ที่อยู่ที่ 3.40% ทั้งนี้หลังการเพิ่มทุนแบบ RO สำเร็จ หากผู้ถือหุ้นเดิมใช้สิทธิ์ครบ 100% จะส่งผลให้ BBL ถือหุ้น THAI ที่ระดับราว 7.30% ซึ่งเป็นไปตามแผนของ BBL ที่จะถือหุ้นไม่เกิน 10%KTB ถือหุ้นใน THAI ที่ประมาณ 1.327 พันล้านหุ้น (สัดส่วน 5.728%) จากเดิมไม่พบจำนวนหุ้นเพราะไม่ได้ติดรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยมีราคาแปลงหนี้เป็นทุนที่ 2.5452 บาท ทำให้เราคาดว่าจะได้มูลค่าที่แปลงหนี้เป็นทุนได้ 3.4 พันล้านบาท ซึ่งจะทำให้ NPL ของ KTB จะลดลงได้ -0.13% จาก 3Q24 ที่อยู่ที่ 3.14% ทั้งนี้หลังการเพิ่มทุนแบบ RO สำเร็จ หากผู้ถือหุ้นเดิมใช้สิทธิ์ครบ 100% จะส่งผลให้ KTB ถือหุ้น THAI ที่ระดับราว 4.02%โดยเราคาดว่าแนวโน้ม NPL จากประเด็นนี้จะลดลงได้เร็วสุดใน 4Q24E             แนะนำ “ซื้อ” BBL และราคาเป้าหมายที่ 186.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.60x (-1.00SD below 10-yr average PBV) เพราะ BBL ยังคงมีความแข็งแกร่งทางด้านการเงินที่รองรับความเสี่ยงได้ดีกว่าคู่แข่ง โดยมี coverage ratio สูงที่สุดในกลุ่มที่ 267% ด้าน Valuation ยังน่าสนใจโดยเทรดที่ PBV เพียง 0.53x หรือที่ระดับ -1.25SD ย้อนหลัง 10 ปี ถูกกว่ากลุ่มที่เทรดที่ PBV ที่ 0.66x             แนะนำ “ซื้อ” KTB และราคาเป้าหมายที่ 24.50 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.74x (-0.50SD below 10-yr average PBV) จากกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงที่สุดในกลุ่มธนาคารที่ +18% YoY ขณะที่กำไรสุทธิ 4Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY และ KTB เน้นปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้น ซึ่งเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงต่ำและรองรับกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงได้ ขณะที่ valuation ปัจจุบันซื้อขายที่ระดับต่ำเพียง PBV ที่ 0.67x (-1.00SD below 10-yr average PBV)

BBL บทสรุปนักเคราะห์ วิพากษ์มูลค่าอย่างไร?

BBL บทสรุปนักเคราะห์ วิพากษ์มูลค่าอย่างไร?

           หุ้นวิชั่น- บล.ดาโอ ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” BBL และราคาเป้าหมายที่ 186.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.60x (-1.00SD below 10-yr average PBV)            โดยมีมุมมองเป็นกลางต่อการประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเพราะภาพรวมยังเป็นไปตามคาด โดยยังคงเป้าหมาย Loan growth ปี 2024E ที่ 3-5% (เราคาด 3%) แต่ 9M24 = -1.2% YTD ซึ่งถือว่าท้าทายมาก แต่ยังคาดหวังสินเชื่อรายใหญ่จะเร่งเบิกจ่ายใน 4Q24E ส่วน NIM ปรับเป้าขึ้นที่ 3.00% จากเดิมที่ 2.80% (เราคาด 3.00%, 9M24 ที่ 3.06%) โดยรวมผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 1 ครั้งแล้ว ขณะที่ Credit cost ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 1.20-1.25% (เราคาด 1.15%) จากเดิมที่ 0.9-1.0% ส่วน NPL ปรับเป้าขึ้นที่ 3.0-3.5% จากเดิมที่ 3%+/- (เราคาด 3.30%, 9M24 ที่ 3.40%) โดย 4Q24E จะมีปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้ NPL จะลดลงได้บ้าง            ด้านประเด็นเรื่อง THAI ที่ออกจากแผนฟื้นฟู ผู้บริหารเผยว่าจะไม่มีการ reverse สำรองฯ แต่รอเลื่อนการจัดชั้นขึ้นจาก Stage 3 ซึ่งจะทำให้แนวโน้ม NPL ลดลงได้ในปี 2025 เรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2024E อยู่ที่ 4.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น +4% YoY จากสำรองฯที่ลดลง ขณะที่คาดกำไรสุทธิ 4Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY จากสำรองฯที่ลดลง แต่จะลดลง QoQ จาก OPEX ที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล ราคาหุ้นปรับตัวลดลง -5% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับ SET จาก กนง. เซอร์ไพร์ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25%            ขณะที่ยังคงแนะนำ “ซื้อ” เพราะ BBL ยังคงมีความแข็งแกร่งทางด้านการเงินที่รองรับความเสี่ยงได้ดีกว่าคู่แข่ง เพราะมี coverage ratio สูงที่สุดในกลุ่มที่ 267% ด้าน Valuation ยังน่าสนใจโดยเทรดที่ PBV เพียง 0.52x หรือที่ระดับ -1.25SD ย้อนหลัง 10 ปี ถูกกว่ากลุ่มที่เทรดที่ PBV ที่ 0.66x

BBL ชูปันผล 4.5-4.8% ต่อปี ตั้งสำรอง NPL แข็งแกร่ง

BBL ชูปันผล 4.5-4.8% ต่อปี ตั้งสำรอง NPL แข็งแกร่ง

          หุ้นวิชั่น-ฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CGSI ระบุในบทวิเคราะห์ ว่า ในไตรมาส 3/67 BBL ทำกำไรสุทธิได้ 1.25 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% yoy และ 5.7% qoq สูงกว่าประมาณการของ Bloomberg consensus 9% แต่ต่ำกว่าที่ฝ่ายวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ 6.5% ส่วนกำไรก่อนตั้งสำรองเติบโต 2.7% yoy แต่ลดลง 1.4% qoq           ปัจจัยสำคัญที่ช่วยหนุนผลประกอบการของ BBL ไตรมาส 3/67 คือ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยและกำไรจากเงินลงทุนที่แข็งแกร่ง รวมถึงกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน และอัตราการสำรองหนี้สูญที่ลดลง           อย่างไรก็ตาม ยอดสินเชื่อในไตรมาส 3/67 ลดลง 3.9%yoy และ 3.0% qoq และลดลง 1.7% จากสิ้นปี 66 นอกจากนี้ยังมีอัตราส่วน NPL เพิ่มขึ้น qoq เป็น 3.4% เทียบจาก 3.2% ในไตรมาส 2/67 ขณะที่มีอัตราการสำรองหนี้สูญอยู่ที่ 122bp ลดลงจาก 153bp ในไตรมาส 2/67 ดังนั้นอัตราการตั้งสำรองต่อหนี้ NPL ของ BBL จึงลดลงจาก 283% ในไตรมาส 2/67 เป็น 266.6% ในไตรมาส 3/67           BBL มีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) อยู่ที่ 3.06% ในไตรมาส 3/67 เพิ่มขึ้นจาก 3.01% ในไตรมาส 2/67 เนื่องจากมีอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์สูงขึ้น แม้ว่าต้นทุนดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้น ดังนั้นรายได้ดอกเบี้ยสุทธิในไตรมาส 3/67 จึงลดลง 2.2% yoy แต่เพิ่มขึ้น 0.7% qoq ขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเติบโตแข็งแกร่งถึง 47.6% yoy และ 19.8% qoq           ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเติบโต 2.4% yoy และ 1.2% qoq นำโดยรายได้ค่าธรรมเนียมจากบริการประกันผ่านธนาคาร (bancassurance) และบริการกองทุนรวม เนื่องจากสถานการณ์ตลาดทุนดีขึ้นและนักลงทุนรับความเสี่ยงได้มากขึ้น           BBL มีอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้เพิ่มสูงขึ้น qoq เป็น 47.7% ในไตรมาส 3/67 เทียบจาก 44.1% ในไตรมาส 2/67 เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน รวมทั้ง ค่าใช้จ่ายทางการตลาด นอกจากนี้พบว่าอัตราภาษีที่แท้จริงกลับมาอยู่ที่ 20% จากระดับต่ำกว่าปกติที่ 14% ในไตรมาส 2/67 ขณะที่ BBL นำกำไรสะสมมาจัดสรรเป็นเงินสำรองตามกฎหมายและเงินสำรองอื่นๆ จำนวน 5.5 พันล้านบาท ส่งผลให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (CAR) เพิ่มขึ้น qoq เป็น 20.8% ในไตรมาส 3/67 จาก 19.5% ไตรมาส 2/67           ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI ยังแนะนำ “ซื้อ” BBL ที่ราคาเป้าหมาย 195 บาท เท่ากับ P/BV 0.62 เท่าในปี 68 โดยมองว่า BBL มีการประเมินมูลค่าน่าสนใจที่ P/BV เพียง 0.5 เท่าในปี 68 รวมทั้งมีอัตราส่วนการตั้งสำรองต่อหนี้ NPL แข็งแกร่งที่ 266.6% ในไตรมาส 3/68 และมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงสูงที่ 20.8% นอกจากนี้คาดว่าอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลจะอยู่ที่ 4.5-4.8% ต่อปี ในปี 67-69 ภายใต้สมมติฐานอัตราการจ่ายเงินปันผลที่ 29-30%           ยังคงเลือก BBL เป็นหนึ่งใน Top pick ของกลุ่มธนาคารไทย เพราะมีสัดส่วนสินเชื่อรายย่อยน้อยที่สุดและมีสินเชื่อลูกค้ากิจการต่างประเทศสูงถึง 25% ของยอดสินเชื่อรวมในไตรมาส 2/67 อย่างไรก็ตาม BBL จะมี downside risk หากความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์สูงขึ้น และการลงทุนภาคเอกชนอ่อนตัว ส่วนปัจจัยบวกจะมาจากการเติบโตที่แข็งแกร่งของธุรกิจสินเชื่อในต่างประเทศ, อัตราการสำรองหนี้สูญที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในปี 68-69 และมีการปรับชั้นสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่จาก NPL กลับมาเป็นสินเชื่อปกติมากขึ้นในปีหน้า

BBL กำไรดีกว่าคาด 9เดือนแรกปี67 โต 6.2%

BBL กำไรดีกว่าคาด 9เดือนแรกปี67 โต 6.2%

           ธนาคารกรุงเทพ (BBL) รายงานกำไรสุทธิสําหรับ 9 เดือนแรกของปี 2567 รวม 34,807 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หนุนด้วยการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ยและรายได้จากการลงทุน พร้อมรักษาสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ใกล้เคียงปีก่อน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามในช่วงปลายปีนี้คือผลกระทบจากน้ำท่วม มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน และการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิสำหรับ 9 เดือนปี2567 จำนวน 34,807ล้านบาท            ในไตรมาส 3 ปี 2567 เศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ การส่งออกของไทยที่เพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้า และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ทั้งนี้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องโดยได้รับแรงสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ การส่งออก และการขยายตัวของการลงทุนจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ผลกระทบจากน้ำท่วมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะในภูมิภาคที่สำคัญต่อการจัดหาพลังงานโลก และการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในช่วงปลายปีนี้                       แม้ว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในทิศทางขยายตัว แต่ยังมีปัจจัยอื่นที่เป็นความท้าทายหรืออาจเป็นโอกาสทางธุรกิจ ได้แก่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อบริบทโลกให้ใส่ใจสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎเกณฑ์ของทางการ ตลอดจนความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ธนาคารกรุงเทพในฐานะ “เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน” ยังคงมุ่งเน้นให้คำแนะนำลูกค้าเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ โดยส่งเสริมการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง พร้อมดูแลและช่วยเหลือธุรกิจไทยให้ปรับตัวสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสนับสนุนลูกค้าให้ได้ประโยชน์จากโอกาสในการขยายกิจการไปยังต่างประเทศ ในขณะเดียวกันธนาคารยังคงดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวัง พร้อมทั้งยึดมั่นแนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible lending) โดยให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมและการเติบโตอย่างยั่งยืน ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิสําหรับ 9 เดือนปี 2567 จำนวน 34,807 ล้านบาท            ธนาคารกรุงเทพและบริษัทย่อยรายงานกำไรสุทธิสําหรับ 9 เดือนปี 2567 จำนวน 34,807 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 จากการบริหารจัดการ สภาพคล่องของธนาคารและอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิกับต้นทุนเงินรับฝากที่เพิ่มขึ้นตามภาวะอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ร้อยละ 3.05 สำหรับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจากรายได้จากการลงทุนตามสภาวะตลาด และรายได้ค่าธรรมเนียมจากบริการประกันผ่านธนาคารและบริการกองทุนรวมที่ยังคงเติบโตดี สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายทางการตลาด โดยที่ธนาคารยังคงรักษาอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงานให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 46.3 ทั้งนี้จากการที่ธนาคารมีการตั้งสำรองด้วยความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง ในไตรมาส 3 ปี 2567 ธนาคารจึงตั้งผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลง ส่งผลให้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสําหรับ 9 เดือนปี 2567 มีจำนวน 27,204 ล้านบาทซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ธนาคารกรุงเทพยังคงดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ พร้อมทั้งรักษาเสถียรภาพฐานะการเงิน สภาพคล่องและเงินกองทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน            ณ สิ้นเดือนกันยายน 2567 ธนาคารมีเงินให้สินเชื่อจำนวน 2,638,697 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.2จากสิ้นปีก่อน โดยสินเชื่อลูกค้าธุรกิจรายใหญ่ยังคงมีการเติบโต สำหรับอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตต่อเงินให้สินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ซึ่งอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ โดยมีอัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตต่อเงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ร้อยละ 266.6เป็นผลจากการที่ธนาคารยึดหลักการตั้งสำรองด้วยความระมัดระวังและรอบคอบอย่างต่อเนื่อง            ธนาคารมีเงินรับฝาก ณ สิ้นเดือนกันยายน 2567 จำนวน 3,109,982 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.3จากสิ้นปีก่อน และมีอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝากอยู่ที่ร้อยละ 84.8 ขณะที่อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งหมดอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 และอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารและบริษัทย่อยอยู่ที่ร้อยละ 20.8 ร้อยละ 17.4 และร้อยละ 16.6 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ำ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด            บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด ระบุถึง BBL ประกาศกำไร 3Q67 ที่ 12,476 ล้านบาท ดีขึ้น 6%QoQ และ 10%YoY ดีกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้าราว 13% โดย NIM ปรับตัวดีขึ้นราว 6 bps ด้านรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยปรับตัวดีขึ้นถึง 20%QoQ จากกำไรเงินลงทุน ขณะที่ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ลดลง 21%QoQ เป็นปัจจัยหนุนกำไรในไตรมาสนี้เช่นกัน แต่สัดส่วน NPL เพิ่มขึ้นค่อนข้างมากราว 31 bps ส่งผลให้สัดส่วน NPL Coverage Ratio ลดลงเหลือราว 250% จาก 269%  ใน ไตรมาส 2/2567 คำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 185 บาท

คัดหุ้นปันผลสูง KTB BBL ADVANC HMPRO

คัดหุ้นปันผลสูง KTB BBL ADVANC HMPRO

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัดระบุถึง หุ้นที่จ่ายปันผลสูงและคาดได้อานิสงส์จากการเป็นเป้าหมายสะสมของกองทุนวายุภักษ์และกองทุนที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีช่วงปลายปี แนะนำหุ้นที่ผลประกอบการมีแนวโน้มเติบโตได้ในปี 2025 เลือก KTB BBL ADVANC HMPRO

SET มีแนวต้านจิตวิยา 1,500-1,510 จุด BBL-BDMS หุ้นเด่นวันนี้

SET มีแนวต้านจิตวิยา 1,500-1,510 จุด BBL-BDMS หุ้นเด่นวันนี้

          หุ้นวิชั่น-ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด คาด SET เริ่มมี upside จำกัด ในระยะสั้น บริเวณแนวต้านจิตวิทยา 1500-1510 จุด และแรงขายของนักลงทุนต่างชาติที่ยังมีต่อเนื่องกดดันดัชนี รวมถึงอาจมี sentiment ลบ จากตัวเลข GDP จีน ใน Q3 ที่จะประกาศเช้านี้ออกมาชะลอตัว ด้านแนวรับอยู่ที่ 1485 และ 1475 จุด ตามลำดับ หากต่ำกว่า จะเป็นสัญญาณลบต่อภาพกาาพักฐาน           BBL: 3Q67 มีกำไรสุทธิ 1.25 หมื่นลบ. เติบโต 6%QoQ และ 10%YoY สูงกว่าเราและตลาดคาด จากกำไรจากเครื่องมือการเงินและเงินลงทุน ขณะที่ 4Q67 แม้คาดกำไรลดลง QoQ แต่จะเพิ่มขึ้น YoY หนุนให้ปี 2567 คาดกำไรเติบโต 8%YoY และยังโตต่อ 5%YoY ในปี 2568 ส่วน Valuation มองยังไม่แพงในแง่ PBV เทียบกับ ROE และมีความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ต่ำกว่าธนาคารอื่นๆ           BDMS: มองเป็นหุ้นเด่นกลุ่มการแพทย์ โดย 3Q67 คาดกำไรปกติสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ราว 4.3-4.4 พันลบ. เพิ่มขึ้นทั้ง YoY และ QoQ ขณะที่ทั้งปี 2567 คาดมีกําไรปกติเติบโต 13%YoY สู่ 1.6 หมื่น ลบ. และยังเติบโตต่ออีก 8%YoY ในปี 2568 อีกทั้ง valuation ยังอยู่ในระดับต่ำที่ PER 67F ระดับ 27 เท่า (-2SD)

จับตา SET ลุ้นฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจีน - แนะเก็บ PTTEP, BBL เป็นหุ้นเด่น

จับตา SET ลุ้นฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจีน - แนะเก็บ PTTEP, BBL เป็นหุ้นเด่น

          หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงานว่า บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด ระบุว่า แม้ SET ได้รับ sentiment ลบ หลัง bond yield สหรัฐปรับขึ้น จากที่ตลาดคาดว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยเพียง 0.25% ในเดือนพ.ย. อย่างไรก็ตาม ลุ้นจีนออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเป็นปัจจัยหนุนตลาด ทำให้ยังมองแนวรับบริเวณ 1435-1440 จุดยังรองรับได้ และมีโอกาสฟื้นตัวได้ต่อ โดยมีแนวต้านถัดไปที่ 1460 และ 1470 จุดตามลำดับ สำหรับหุ้นเด่นวันนี้           PTTEP: มองว่าราคาน้ำมันที่แข็งแกร่งในระยะสั้นจะเป็นปัจจัยกระตุ้นราคาหุ้น อีกทั้งราคาหุ้นยังคงปรับขึ้นช้ากว่าราคาน้ำมัน และเป็นหุ้นที่เป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากกรณีกังวลความไม่สงบในตะวันออกกลาง ขณะที่ผลการดำเนินงานและงบดุลของบริษัทยังแข็งแกร่ง โดยในปี 2567 คาดมีกำไรปกติ 8.27 หมื่นล้านบาท เติบโต 5% YoY ทั้งนี้แนะนำราคาเข้าซื้อวันนี้ไม่เกิน 137.50 บาท           BBL: เป็นหุ้นเด่นในกลุ่มธนาคาร เนื่องจาก Valuation ในแง่ PBV/ROE น่าสนใจที่สุด และความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ต่ำกว่าธนาคารอื่น ๆ ขณะที่คาดว่าในไตรมาส 3/2567 กำไรปกติจะเติบโต 5% YoY และ 1% QoQ โดยมีแรงหนุนจากการตั้งสำรอง (Credit Cost) ที่ลดลง รวมทั้งสินเชื่อและรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย (non-NII) เช่น กำไรจากเครื่องมือทางการเงินยังมีการเติบโต

บล.กรุงศรี ปรับเป้า BBL เป็น 150 บ.

บล.กรุงศรี ปรับเป้า BBL เป็น 150 บ.

          หุ้นวิชั่น - บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ออกบทวิเคราะห์ โดยแนะนำการลงทุน ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL โดยมีมุมมอง Neutral ต่อกำไรสุทธิไตรมาส 3/67 คาดที่ 1.15 หมื่นลบ.กำไรเพิ่มขึ้น +1% y-y เพราะเงินลงทุน (FVTPL) ขณะที่กำไรลดลง-3% q-q จากการ repricing fixed deposit และสินเชื่อลดลง-2.5% q-q คิดเป็น-0.7% YTD จากสินเชื่อภาคธุรกิจรายใหญ่และสินเชื่อต่างประเทศ           ทั้งนี้ฝ่ายวิเคระาห์ปรับกำไรสุทธิ 68-69 ขึ้นปีละ +(3)% เพราะมองว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของทางภาครัฐจะช่วยลดปัญหาการตกชั้นของลูกหนี้ส่งผลต่อเป้าปี 2568 ปรับขึ้นเป็น 150บ. แต่มองว่า BBL ได้ประโยชน์จากมาตรฐานกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางภาครัฐช้าสุดในกลุ่มธนาคารใหญ่และอาจไม่เห็นการเพิ่ม dividend payout ratio           คาด BBL รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 3/67 ที่ 1.15 หมื่นลบ.กำไรเพิ่มขึ้น +1%  y-y เพราะรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย (Non-NII) เพิ่มขึ้น  +23% q-q จากเงินลงทุน (FVTPL) ขณะที่กำไรลดลง -3% q-q จากรายได้ดอกเบี้ย(NII) ลดลง-1% q-q จากการ repricing fixed deposit และสินเชื่อลดลง-2.6% y-y และ-2.5% q-q คิดเป็น-0.7% YTD จากสินเชื่อภาคธุรกิจรายใหญ่และสินเชื่อต่างประเทศด้านคุณภาพสินทรัพย์อ่อนแอ NPL Ratio อยู่ที่ 3.30% เพิ่มจากไตรมาส 2/67 ที่ 3.20% ตามความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456