ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#Bank


NPL รวม 4 แบงก์กว่า 3 แสนล. เช็กหนี้สิน! ล่าสุดใครมีแวว?

NPL รวม 4 แบงก์กว่า 3 แสนล. เช็กหนี้สิน! ล่าสุดใครมีแวว?

          หุ้นวิชั่น- ชำแหละสินทรัพย์และหนี้สิน 4 แบงก์ใหญ่ KTB-SCB-KBANK-BBL  ด้วยข้อมูลล่าสุดเดือน ก.พ.2568 แชมป์ยอดเงินฝากตกเป็นของ BBL ที่ 2.75 ล้านล้านบาท ส่วนอันดับหนึ่งการให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ และดอกเบี้ยค้างรับสุทธิ คือ KTB ที่ 2.40 ล้านล้านบาท แบงก์ที่มีเงินลงทุนมากสุดคือ BBL ที่ 8.20 แสนล้านบาท  ขณะที่ NPL รวม 4 แบงก์ใหญ่ งวดสิ้นสุดวันที่ 31ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 3.49 แสนล้านบาท            นายพยง  ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ธนาคารกรุงไทย  หรือ  KTB  แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า รายการย่อสินทรัพย์และหนี้สิน งวด วันที่ 28 ก.พ. 2568 มียอดเงินฝากทั้งสิ้น 2.74  ล้านล้านบาท  เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ และดอกเบี้ยค้างรับสุทธิ 2.40 ล้านล้านบาท  มีเงินลงทุนสุทธิ 3.37 แสนล้านบาท  และมีเงินสด 5.88  หมื่นล้านบาท           ขณะที่ มีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans)  ประจำไตรมาส สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2567 มีทั้งสิ้น 9.29 หมื่นล้านบาท  หรือคิดเป็น 3.01% ของเงินให้สินเชื่อรวมก่อนหักเงินสำรองค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น           นายอาทิตย์  นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บมจ. เอสซีบี เอกซ์ หรือ SCB  และบริษัทย่อย แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่า  รายการย่อสินทรัพย์และหนี้สิน งวด วันที่ 28 ก.พ. 2568 มียอดเงินฝากทั้งสิ้น   2.46 ล้านล้านบาท มียอดเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ และดอกเบี้ยค้างรับสุทธิ 2.29 ล้านล้านบาท มีเงินลงทุนสุทธิ 3.30 แสนล้านบาท  และมีเงินสด 3.69 หมื่นล้านบาท           ขณะที่ มีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans)  ประจำไตรมาส สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2567 มีทั้งสิ้น 9.76 หมื่นล้านบาท  หรือคิดเป็น 3.37% ของเงินให้สินเชื่อรวมก่อนหักเงินสำรองค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น           นายจงรัก  รัตนเพียร ผู้จัดการใหญ่ บมจ. ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK  แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่า รายการย่อสินทรัพย์และหนี้สิน งวด วันที่ 28 ก.พ. 2568 มียอดเงินฝากทั้งสิ้น 2.68 ล้านล้านบาท มียอดเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ และดอกเบี้ยค้างรับสุทธิ 2.21 ล้านล้านบาท มีเงินลงทุนสุทธิ 4.28 แสนล้านบาท  และมีเงินสด 3.71 หมื่นล้านบาท           ขณะที่ มีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans)  ประจำไตรมาส สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2567 มีทั้งสิ้น 8.60 หมื่นล้านบาท  หรือคิดเป็น 3.11% ของเงินให้สินเชื่อรวมก่อนหักเงินสำรองค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น           BBL แชมป์ลงทุน           นายสิงห์  ตังทัตสวัสดิ์  กรรมการ แทน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ธนาคารกรุงไทย  หรือ BBL แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่า รายการย่อสินทรัพย์และหนี้สิน งวด วันที่ 28 ก.พ. 2568 มียอดเงินฝากทั้งสิ้น 2.75 ล้านล้านบาท มียอดเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ และดอกเบี้ยค้างรับสุทธิ 2.07 ล้านล้านบาท  มีเงินลงทุนสุทธิ 8.20 แสนล้านบาท  และมีเงินสด 3.73 หมื่นล้านบาท           ขณะที่ มีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans)  ประจำไตรมาส สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2567 มีทั้งสิ้น 7.31  หมื่นล้านบาท  หรือคิดเป็น 2.60 % ของเงินให้สินเชื่อรวมก่อนหักเงินสำรองค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

เก็งแบงก์ Q4 กำไร โต 11.8% ชู BBL-SCB ปันผลเด่น

เก็งแบงก์ Q4 กำไร โต 11.8% ชู BBL-SCB ปันผลเด่น

          หุ้นวิชั่น- ฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) หรือ CGSI ระบุในบทวิเคราะห์ โดยคาดว่า ในไตรมาส 4/67 ธนาคาร 8 แห่งที่ฝ่ายวิเคราะห์ฯทำการศึกษา ได้แก่ BBL, KBANK, SCB, KTB, TTB, TISCO, KKP และ CREDIT จะทำกำไรสุทธิรวม 4.85 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.8% yoy แต่ลดลง 13.2% qoq โดยเชื่อว่ากำไรสุทธิจะลดลง qoq เพราะผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในไตรมาส 4/67 ส่วนกำไรสุทธิจะเติบโต yoy มาจากอัตราการสำรองหนี้สูญที่ลดลง           นอกจากนี้ เชื่อว่าในไตรมาส 4/67 กลุ่มธนาคารจะมีสินเชื่อรวมขยายตัว 1.2% qoq แต่ลดลง 0.4% yoy และมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) ลดลง 5bp qoq และ 16bp yoy ทั้งนี้คาดว่า KKP, KTB และ CREDIT จะมีกำไรสุทธิเติบโตสูงที่สุด yoy ขณะที่ประมาณการกำไรสุทธิของ KTB, SCB และ KBANK สูงกว่าที่ Bloomberg consensus คาดการณ์ 25.7%, 7.8% และ 5.0% ตามลำดับ ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI คาดว่า กลุ่มธนาคารจะมีรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเติบโต 14.8% yoy แต่ลดลง 1.3% qoq ในไตรมาส 4/67 โดยรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยจะยังเติบโตแข็งแกร่ง yoy จากการบันทึกกำไรจากการลงทุนและกำไรจากการวัดมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงินผ่านกำไรหรือขาดทุน (FVTPL) แต่จะเติบโตติดลบ qoq เนื่องจาก รายได้ค่าธรรมเนียมจากการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และบริการกองทุนรวมจะลดลง เพราะตลาดหุ้นไทยมีปริมาณการซื้อขายและมูลค่าการซื้อขายต่อวันลดลง           ฝ่ายวิเคราะห์ฯ ยังคาดว่า กลุ่มธนาคารจะมีอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้เพิ่มขึ้นจาก 44.6% ในไตรมาส 3/67 เป็น 47.1% ในไตรมาส 4/67 แต่ยังต่ำกว่า 48.8% ในไตรมาส 4/66 เนื่องจากธนาคารมีมาตรการคุมค่าใช้จ่ายและรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเติบโตแข็งแกร่ง ดังนั้น กำไรก่อนตั้งสำรองของกลุ่มธนาคารจึงน่าจะเติบโต 1.9% yoy แต่ลดลง 6.1% qoq ในไตรมาส 4/67 โดยตั้งสมมุติฐานอัตราการสำรองหนี้สูญของกลุ่มธนาคารในไตรมาส 4/67 อยู่ที่ 159bp หรือเพิ่มขึ้นจาก 150bp ในไตรมาส 3/67 แต่ต่ำกว่า 181bp ในไตรมาส 4/66 ทั้งนี้ KTB, KBANK, TTB และ CREDIT มีอัตราการสำรองหนี้สูญสูงในไตรมาส 4/67 เพราะมีนโยบายการตั้งสำรองที่รอบคอบและมีการตั้งสำรองส่วนเพิ่มแบบ Management Overlay ฝ่ายวิเคราะห์ CGSI ยังแนะนำ “คงน้ำหนักการลงทุน (Neutral)” ในกลุ่มธนาคาร เพราะคาดว่ากำไรก่อนตั้งสำ รอง (PPOP) จะเติบโตลดลงมาที่ 1.3-2.0% และมี ROE ที่ 9.0% ในปี 68-69 โดยเลือก BBL ราคาเป้าหมาย 195 บาท และ SCB ราคาเป้าหมาย 130 บาทเป็นหุ้น Top pick เพราะมองว่ายังมีการประเมินมูลค่าน่าสนใจที่ P/BV 0.49 เท่า และ 0.81 เท่าในปี 68 รวมทั้งมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงที่ 4.6% และ 9.1% ในปี 68 ตามลำดับ ขณะที่เชื่อว่าในไตรมาส 4/67 กลุ่มธนาคารยังมีกำไรอ่อนตัว อีกทั้งมีสินเชื่อขยายตัวช้าและ NIM อยู่ภายใต้แรงกดดัน จึงมองว่ากลุ่มธนาคารขาดปัจจัยบวกช่วยหนุน แต่ยังจ่ายเงินปันผลดี อย่างไรก็ตาม กลุ่มธนาคารมี downside risk หาก NPL เพิ่มสูงขึ้นและธปท.ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก ส่วน upside risk จะมาจากการที่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาไทยมากขึ้น จะช่วยกระตุ้นการบริโภค, ความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ลดลงและรัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456