ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#AH


AH ยานยนต์ค่อยๆฟื้น  โบรกแนะ “ทยอยซื้อ”

AH ยานยนต์ค่อยๆฟื้น โบรกแนะ “ทยอยซื้อ”

           หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่นรายงาน บล.ดาโอ ระบุว่า AH ผู้บริหารคาดรายได้ปี 68 ทรงตัวเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า จากการ เพิ่มขึ้น ของรายได้ในทุกประเทศ สำหรับทางฝ่ายคาดตลาดยานยนต์ไทยในปีนี้มีโอกาสฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามแนวโน้มเติบโตของกลุ่มยานยนต์เชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม คาดว่ายานยนต์ไทยยังคงเผชิญความท้าทายจาก demand ในประเทศที่เปราะบาง รวมถึงมองว่าการตรึงความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อของสถาบันการเงินจะยังคงมีอยู่ คำแนะนำ “ทยอยซื้อ” บริษัทฯ คาดรายได้ปีนี้ทรงตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน            จากการประชุมนักวิเคราะห์ที่ผ่านมา ผู้บริหารมองทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ในปี 68 มีโอกาสฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป สำหรับรายได้ในปี 68 บริษัทฯ คาดทรงตัวเมื่อเทียบกับปี 67 จากการรับรู้รายได้จากคำสั่งซื้อค่ายรถยนต์ BYD และ CHANGAN ในปีนี้ นอกจากนี้ ผู้บริหารให้มุมมองรายได้ในปี 68 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยแบ่งเป็นรายประเทศ ดังนี้ ประเทศโปรตุเกสและมาเลเซีย คาดรายได้เร่งตัวขึ้น ส่วนประเทศไทย คาดรายได้ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย และประเทศจีน คาดรายได้ทรงตัว คาดยานยนต์ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป            ยอดขายรถยนต์ในประเทศหลายปีที่ผ่านมาหดตัวลงต่อเนื่อง จากปัจจัยกดดันด้านความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อของสถาบันการเงิน และกำลังซื้อที่หดตัวลง ทางฝ่ายมองว่าในปี 68 อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจะสามารถฟื้นตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป หนุนจากแนวโน้มเติบโตของกลุ่มยานยนต์เชิงพาณิชย์ (เช่น รถกระบะ, รถบรรทุก และรถโดยสาร) จากการได้รับอานิสงส์การค้าชายแดนและผ่านแดน รวมถึงตลาดการท่องเที่ยวที่ทยอยฟื้นตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะยังคงเผชิญความท้าทายจากหลายปัจจัย เช่น Demand ในประเทศที่ยังคงเปราะบาง ทิศทางราคารถยนต์มือสองที่มีแนวโน้มหดตัว จากปัญหาอุปทานส่วนเกินจากกลุ่มรถยึด ทำให้สถาบันการเงินตรึงความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ เนื่องจากมูลค่าของหลักประกันลดลง นอกจากนี้ ปัญหาอุปทานส่วนเกินข้างต้นจะกดดันยอดขายรถยนต์ใหม่ และส่งผลต่อการแข่งขันด้านราคาของตัวแทนจำหน่าย พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป โดยมีการใช้รถยาวนานขึ้น ทำให้ทางฝ่ายประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศ ปี 68-70 ทรงตัวในระดับต่ำ เฉลี่ย 5.5 แสนคัน (Figure 1) ซึ่งยอดขายรถยนต์ภายในประเทศยังไม่สามารถกลับสู่ช่วง Pre-Covid ได้ภายในปี 2570            นอกจากนี้ ทางฝ่ายคาดรายได้ปี 68 เท่ากับ 26,650 ล้านบาท ทรงตัว 0.23% y-y และกำไรสุทธิปี 68 ที่ 757 ล้านบาท โต 1.35% y-y ยานยนต์เชิงพาณิชย์ Turnaround            สำหรับทิศทางของตลาดยานยนต์เชิงพาณิชย์ในปีนี้ ทางฝ่ายมองว่ามีโอกาสกลับมาขยายตัว หนุนจากตลาดรถบรรทุกที่มีแนวโน้มเติบโตจากกิจกรรมขนส่งตามแนวชายแดนและการค้าผ่านแดน รวมถึงตลาดรถโดยสารที่ได้รับอานิสงส์จากภาคท่องเที่ยว            อย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายมองว่าการนำเข้ายานยนต์เชิงพาณิชย์เป็นประเด็นที่ควรติดตาม โดยเฉพาะจากกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าจากจีน ถึงแม้ว่าจะมีข้อดีในด้านสิ่งแวดล้อม แต่มีความเสี่ยงต่อผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนในประเทศ ทำให้สูญเสียความสามารถทางการแข่งขัน ราคาพื้นฐานปี 68 ที่ 14.10 บาท/หุ้น อิง P/E ที่ 6.61 เท่า            ทางฝ่ายคาดกำไรสุทธิปี 68 ที่ 757 ล้านบาท โต 1.35% y-y จากการมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง สะท้อนจากอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ในระดับต่ำที่ 0.5 เท่า รวมถึงในปีนี้ ทางฝ่ายคาดบริษัทฯ รับอานิสงส์จากการเติบโตของกลุ่มยานยนต์เชิงพาณิชย์            ทางฝ่ายอ้างอิงค่า P/E ที่ 6.61 เท่า โดยพิจารณาจาก P/E ของ SAT (บริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน) ย้อนหลัง 3 ปี เท่ากับ 8.26 เท่า และ Discount 20% เนื่องจากทางฝ่ายมองว่า AH มีมูลค่าตลาดน้อยกว่าบริษัท

AH ต้องฝ่ามรสุม ผลิตรถยนต์เหนื่อย

AH ต้องฝ่ามรสุม ผลิตรถยนต์เหนื่อย

            หุ้นวิชั่น - ทีมข่าวหุ้นวิชั่น รายงาน บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุถึง AH ว่า สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์วันที่ 18 มี.ค. 2025 ► บริษัทให้ข้อมูลแนวโน้มผลประกอบการใน 1Q25 ยังมีโอกาสชะลอตัว QoQ, YoY ตามอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์จากตัวเลขยอดผลิตรถของประเทศไทยในเดือน ม.ค. ตามที่ส.อ.ท. รายงาน -25% YoY ► บริษัทให้มุมมองต่อแนวโน้มอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ปีนี้ ยังไม่สดใสนัก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ระดับสูงทำให้สถาบันเข้มงวดปล่อยสินเชื่อ และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง นอกจากนี้ยังถูกดึงส่วนแบ่งตลาดจาก EV ที่ช่วงแรกยังเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงตลาดรถมือ 2 ที่ราคาตกต่ำ ทำให้ยอดซื้อรถใหม่ลดลง ซึ่งต้องรอติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐในการช่วยเหลือผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีหลายฝ่ายเสนอ เช่น มาตรการสนับสนุนสินเชื่อรถกระบะ และรถเก่าแลกรถใหม่ ► การฟื้นตัวของผลประกอบการ AH จะค่อยเป็นค่อยไป ปี 2025 ตั้งเป้ารายได้ใกล้เคียงปีก่อน แต่คาดอัตรากำไรจะดีกว่าปีก่อน โดยกลยุทธ์การลงทุนในปีนี้ยังเน้นการควบคุมต้นทุนที่เข้มงวดมาก ขณะที่ธุรกิจตัวแทนจำหน่าย (dealership) มีการปรับแบรนด์ใหม่ส่งผลให้อัตรากำไรดีขึ้น ► ปัจจุบันธุรกิจ EV ทำรายได้ราว 5% ของรายได้รวม สำหรับปีนี้มีคำสั่งซื้อจากค่าย CHANGAN และ BYD คาดจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยรับรู้รายได้ปีนี้เต็มปี และจำนวนยอดผลิตรถ EV ที่ค่ายรถยนต์จากจีนต้องผลิต EV มากกว่าปีก่อนตามเงื่อนไขที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาล Our Take ► แนวโน้ม 1Q25 คาดผลประกอบการยังชะลอตัวต่อเนื่อง YoY ตามที่สภาอุตสาหกรรมรายงานตัวเลขผลิตรถยนต์ในเดือน ม.ค. -25% YoY เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้น ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงทำให้สถาบันเข้มงวดปล่อยสินเชื่อและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง นอกจากนี้ยังถูกดึงส่วนแบ่งตลาดจาก EV ที่ช่วงแรกยังเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงตลาดรถมือ 2 ที่ราคาตกต่ำส่งผลให้ยอดซื้อรถใหม่ลดลง ทำให้ค่ายรถยนต์ยังคงปรับลดกำลังการผลิตลง ► ปี 2025 ภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ยังเผชิญความท้าทาย เรามองการลงทุนที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่และกำลังซื้อภายในประเทศที่ยังเปราะบาง เรามองว่าเป้ายอดผลิตรถยนต์ในปีนี้ที่ 1.5 ล้านคันเติบโต 2% มี downside risk ส่วนตลาด EV สำหรับค่ายรถยนต์จีนที่มาตั้งฐานการผลิตในไทย จะเริ่มเดินหน้าผลิต EV มากขึ้นตามมาตรการสนับสนุนการลงทุนจากภาครัฐ แต่ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ามาจำหน่าย อย่างไรก็ตามด้วยค่ายรถจีนส่วนใหญ่มีซัพพลายเออร์ของตัวเองตามมาด้วย มูลค่าคำสั่งซื้อที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยได้รับจึงไม่สูงมากนัก AH มีคำสั่งซื้อจากค่ายรถยนต์ BYD และ CHANGAN แต่มูลค่าไม่สูงมากนัก เราคงประมาณการกำไรปกติปี 2025 ที่ 885 ล้านบาท (+3% YoY) ► เราปรับคำแนะนำจาก “Trading” เป็น “ซื้อ” เราคาดผลประกอบการจะเข้าช่วงต่ำสุดใน 2Q25 ก่อนที่จะฟื้นตัวใน 2H25 จากฐานต่ำ ราคาหุ้นปรับลดลงสะท้อนผลประกอบการที่อ่อนแอ และเพิ่งขึ้นเครื่องหมาย XD ไปเมื่อ 13 มี.ค. 2025 ที่ผ่านมา ซึ่งลงมาซื้อขายที่ PER เพียง 5.0X ซึ่งสะท้อนปัจจัยลบไปพอสมควร เราคงมูลค่าพื้นฐานปี 2025 ที่ 15.50 บาท อิง PER เฉลี่ย 3 ปี -0.50 SD ที่ 6.20x

[Vision Exclusive] AH ยานยนต์ผ่านจุดต่ำ พร้อมขายรถอีวีทำเงิน

[Vision Exclusive] AH ยานยนต์ผ่านจุดต่ำ พร้อมขายรถอีวีทำเงิน

          หุ้นวิชั่น - AH มั่นใจยานยนต์ไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้วในปี 2567 มองปี 2568 โอกาสฟื้นตัว มองตลาดอีวีเข้ามามีบทบาทสำคัญ แต่ต้องรอความชัดเจนจากรัฐ หนุน ปัจจุบันหันผลิตอีวี 5% ของพอร์ตรวม ศึกษาขยายโรงงานเพิ่ม สถานะการเงินแข็งแกร่ง มั่นใจรายได้มากกว่าปีก่อน ส่วนการขายรถอีวี เติบโตดี ปัจจุบันขายรถอีวีหลายแบรนด์ ทั้ง Changan ,BYD และMG เป็นต้น           นายเย็บ ซู ชวน ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน) หรือ AH เปิดเผยกับ “หุ้นวิชั่น” ว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ประเทศไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในปีที่ผ่านมา โดยในช่วงเวลาดังกล่าว อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเผชิญกับความท้าทายอย่างหนัก สะท้อนจากยอดการผลิตรถยนต์ที่ปรับตัวลดลงถึง 20% ซึ่งถือเป็นการหดตัวที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา นอกเหนือจากช่วงการระบาดของ โควิด-19           นายเย็บ ซู ชวน ระบุว่า แม้ว่าการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยคาดว่าจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่บริษัทฯ มองว่าอุตสาหกรรมยานยนต์จะเริ่มฟื้นตัวได้ในปีนี้ โดยเป็นไปตาม Cycle ของธุรกิจ ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังคงมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง และมีสภาพคล่องเพียงพอในการรับมือกับความผันผวนของตลาด โดยยังคงรักษาความแข็งแกร่งของสถานะทางการเงินอย่างต่อเนื่อง ด้วยการลดระดับหนี้สินและรักษาอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน โดยมีสัดส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ในระดับต่ำเพียง 0.5 เท่า           ทิศทางในอนาคต บริษัทฯ มุ่งเน้นการขับเคลื่อนการเติบโตผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในอุตสาหกรรมยานยนต์และเทคโนโลยีชั้นนำ โดยมุ่งเสริมสร้างความสามารถในการผลิต ความสามารถในการแข่งขัน และการเข้าถึงตลาดใหม่ โดยให้ความสำคัญกับชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า ระบบอัตโนมัติ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการลดต้นทุน           นายเย็บ ซู ชวน เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้เริ่มผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าแล้วกว่า 5% ของการผลิตทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การผลิตยานยนต์ไฟฟ้ายังไม่สูงมาก โดยในปีนี้คาดว่าจะเห็นปริมาณการผลิตอยู่ที่ประมาณ 50,000 คัน เท่านั้น จากก่อนหน้านี้ประเทศไทยมีการนำเข้ายานยนต์ไฟฟ้ามากกว่า 100,000 คัน จึงยังคงต้องอาศัยการสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อผลักดันการเติบโตของอุตสาหกรรม           ในด้านการเติบโตอย่างยั่งยืนภายในองค์กร บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ China Plus One ซึ่งช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตระดับโลก โดยการเสริมสร้างห่วงโซ่อุปทาน ขยายการส่งออก และส่งเสริมนวัตกรรม ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น           แม้ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยคาดว่าจะฟื้นตัวอย่างช้าๆ แต่บริษัทฯ ยังคงมั่นใจในศักยภาพในการปรับตัว การคว้าโอกาสใหม่ๆ และการขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยในปีนี้บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายรายได้ให้สูงกว่าปีก่อน ซึ่งมีรายได้อยู่ที่ 27,002.13 ล้านบาท พร้อมกันนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายโรงงานเพิ่มเติม เพื่อรองรับตลาดยานยนต์ไฟฟ้าที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง           นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีรายได้จากการเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ โดยปัจจุบันเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าหลายแบรนด์ชั้นนำ อาทิ Changan, BYD, MG รวมไปถึง Great Wall ขณะที่ในประเทศมาเลเซีย บริษัทฯ ก็ยังมีการเติบโตที่ดี โดยทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ Proton และ Honda           บริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งในด้านการผลิต การขยายธุรกิจ และการสร้างความมั่นคงทางการเงิน เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต รายงานโดย : ณัฏฐ์ชญา ปุริมปรัชญ์ภัทร บรรณาธิการข่าว Hoonvision

AH ปี 67 กำไร 747 ลบ. แย้มเจรจาพันธมิตรตปท. ต่อยอดโตยาวห

AH ปี 67 กำไร 747 ลบ. แย้มเจรจาพันธมิตรตปท. ต่อยอดโตยาวห

           บมจ.อาปิโก ไฮเทค เคาะจ่ายเงินปันผลเพิ่มอีก 0.48 บาทต่อหุ้น รวมทั้งปี 2567 จ่าย 0.78 บาทต่อหุ้น หลังทำผลงานปี 2567 ได้ดีกว่าภาพรวมอุตสาหกรรม มีกำไรสุทธิ 747 ล้านบาท รายได้รวมแตะ 27,002 ล้านบาท อานิสงค์การเติบโตของธุรกิจในต่างประเทศเป็นสำคัญ ปักหมุดปี 68 เร่งเดินหน้าขยายความร่วมมือพันธมิตรระดับสากล ต่อยอดโอกาสการเติบโตระยะยาว           นายเย็บ ซู ชวน ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อาปิโก ไฮเทค (AH) ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์และศูนย์บริการหลังการขาย และธุรกิจบริการด้านเทคโนโลยีการเชื่อมต่อและ IoT (Internet of Things) เปิดเผยภาพรวมผลการดำเนินงานปี 2567 ว่า บริษัทมีรายได้รวม 27,002 ล้านบาท ปรับตัวลดลงราว 11% เทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่นับว่าดีกว่าภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยที่หดตัวถึง 20% จากแรงกดดันที่ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว            ขณะที่กำไรสุทธิลดลงจากปีก่อนอยู่ที่ 747 ล้านบาท ผลจากการขาดทุนในประเทศโปรตุเกส ซึ่งเกิดจากผลกระทบทางบัญชีจาก Inventory reduction และการตัดบัญชีสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (Deferred Tax Asset Write-off) อย่างไรก็ตาม การขาดทุนดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว (One-time Event) และจะไม่กระทบต่อแนวโน้มการเติบโตของบริษัทในอนาคตอย่างแน่นอน            นายเย็บ กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้กำไรสุทธิโดยรวมลดลง แต่ AH ยังคงเติบโตได้จากกลยุทธ์กระจายความเสี่ยงผ่านธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ในประเทศมาเลเซียที่เติบโตสูงถึง 8.2% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ในมาเลเซียที่ AH เข้าซื้อกิจการ สามารถขยายตัวได้ถึง 218.7% ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนหลัก อย่างไรก็ตาม อัตรากำไรสุทธิยังคงอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้            ขณะที่สถานะทางการเงินของบริษัทยังคงแข็งแกร่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถลดหนี้สินรวมลง 12.8% และบริหารต้นทุนทางการเงินได้ดี ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลดลง 11.2% ในขณะเดียวกัน อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อทุน (IBD/Equity) คงที่ที่ระดับ 0.5 เท่า สะท้อนถึงการบริหารสภาพคล่องและความสามารถในการรองรับการเติบโตของธุรกิจ            ทั้งนี้ ล่าสุดคณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลอีก 0.48 บาทต่อหุ้น รวมทั้งปี 2567 จ่ายเงินปันผลรวม 0.78 บาทต่อหุ้น คิดเป็นวงเงินรวมประมาณ 265 ล้านบาท หรือราว 36.3% ของกำไรสุทธิ ซึ่งสูงกว่านโยบายจ่ายเงินปันผลที่กำหนดไว้ 30% ของกำไรสุทธิ โดยกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ์ได้รับเงินปันผล (Record Date) วันที่ 14 มีนาคม 2568 และกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 23 พฤษภาคม 2568 ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการบริหารจัดการทางการเงินที่ให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่าสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น            “แม้สถานการณ์อุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกจะยังมีความไม่แน่นอนจากภาวะการค้าโลกและสถานการณ์สงครามการค้า AH ยังคงมั่นใจในศักยภาพการเติบโตระยะกลาง บริษัทมองว่าการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์จะเริ่มเห็นผลในช่วงครึ่งหลังของปี 2568 ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตของบริษัทในอนาคต” นายเย็บกล่าว            นายเย็บกล่าวทิ้งท้ายว่า AH ยังคงเดินหน้าต่อยอดธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรในต่างประเทศ เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจ รองรับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยานยนต์ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก โดยบริษัทให้ความสำคัญกับการสร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน ควบคู่กับการลงทุนเชิงกลยุทธ์ โดยเตรียมใช้เงินสดที่มีอยู่เพื่อสนับสนุนการขยายธุรกิจและกระจายการลงทุนให้สอดคล้องกับแนวทางเติบโตระยะยาว ด้วยแนวทางดังกล่าว จึงเชื่อมั่นว่า บริษัทจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงให้แก่ผู้ถือหุ้น พร้อมเดินหน้าสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งในไทยและต่างประเทศ

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

AH เปิดงบ 9M67 รายได้ 20,682 ลบ. ชูศักยภาพผู้นำตลาด-พื้นฐานแกร่ง

AH เปิดงบ 9M67 รายได้ 20,682 ลบ. ชูศักยภาพผู้นำตลาด-พื้นฐานแกร่ง

           AH กลางผลประกอบการ 9M/67 รายได้รวม 20,682 ล้านบาท กำไรสุทธิ 627 ล้านบาท กลยุทธ์กระจายเสี่ยงดันผลงานเหนืออุตสาหกรรม ธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ไทย คว้าอันดับหนึ่งยอดขายรถยนต์มิตซูบิชิในไทย ไตรมาส 3/67 โรงงานผลิตระบบควบคุมไอเสีย Purem AAPICO กำไรโต ต้นทุนการเงินสุทธิลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ จากการเดินหน้าชำระคืนหนี้ ผู้บริหารย้ำพื้นฐานบริษัทแข็งแกร่ง ศักยภาพสูงพร้อมโตตามเทรนด์อีวีย้ายฐานผลิต ประกอบการมุ่งศึกษาโครงการใหม่ บริหารต้นทุน-ทยอยลดหนี้ เพื่อสร้างผลตอบแทนสูงสุดให้ผู้ถือหุ้น            นาย เย็บ ซู ชวน ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อาปิโก ไฮเทค หรือ AH ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์และศูนย์บริการหลังการขาย และธุรกิจบริการด้านเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ และ IoT (Internet of Things) รายงานผลประกอบการงวด 9 เดือนแรกของปี 2567 บริษัทรายได้รวม 20,682 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 627 ล้านบาท ผลประกอบการของบริษัทมีการปรับตัวตามทิศทางภาพรวมอุตสาหกรรมที่กำลังซื้อของผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัว ส่งผลให้ออเดอร์การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ลดลง            แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบริษัทมีจุดแข็งจากกลยุทธ์กระจายความเสี่ยงผ่านการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ อาทิ จีน มาเลเซีย และโปรตุเกส ส่งผลให้บริษัทได้รับผลกระทบน้อยกว่าภาพรวมอุตสาหกรรม สำหรับธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ มีการเติบโตของยอดขายรถยนต์ในประเทศมาเลเซีย ในขณะที่ธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ในประเทศมีการปรับตัวลดลง ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับยอดขายรถยนต์ในประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทได้รับการจัดอันดับว่ามียอดขายรถยนต์มิตซูบิชิเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย ทั้งนี้ในไตรมาส 3/67 โรงงานผลิตระบบควบคุมไอเสีย Purem AAPICO ได้มีการเติบโตและกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังผ่านจุดคุ้มทุนของการดำเนินธุรกิจตั้งแต่ไตรมาสช่วง 2/67 ที่ผ่านมา            ทั้งนี้ ต้นทุนทางการเงินสุทธิของบริษัทอาปิโกลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ จากการนำเงินสดมาทยอยลดภาระทางหนี้สิน โดยในปัจจุบัน บริษัทมีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงิน 4,766 ล้านบาท ลดลง 2,119  ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ที่มีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงิน 6,885 ล้านบาท ทำให้มีสัดส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้นรวม (IBD/E) ลดลงมาที่ระดับ 0.4 ซึ่งปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ที่อยู่ที่ระดับ 0.6            “ท่ามกลางสถานการณ์อุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าบริษัทยังคงเป็นผู้นำในด้านการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรม และสามารถทำกำไรได้แม้อุตสาหกรรมจะชะลอลง จึงอยากให้นักลงทุนมั่นใจว่าบริษัทมีศักยภาพในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของผู้เล่นในตลาดรถยนต์อีวีที่มีการย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้น รวมถึงเรายังมีเงินสดเพียงพอสำหรับการลงทุนโครงการใหม่ๆในอนาคต เพื่อขยายการดำเนินธุรกิจและกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศ สอดคล้องตามกลยุทธ์การเติบโตระยะยาวของบริษัท โดยเรายังคงทยอยลดภาระหนี้สิน และบริหารต้นทุนค่าใช้จ่าย เพื่อสร้างผลตอบแทนสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น” นาย เย็บ ซู ชวน กล่าว [PR News]

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456