ปรับแต่งการตั้งค่าการให้ความยินยอม

เราใช้คุกกี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำหน้าที่บางอย่าง คุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่ความยินยอมแต่ละประเภทด้านล่าง คุกกี้ที่ได้รับการจัดหมวดหมู่ว่า "จำเป็น" จะถูกจัดเก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของคุณ เนื่องจากมีความจำเป็นต่อการทำงานของฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์... 

ใช้งานอยู่เสมอ

คุกกี้ที่จำเป็นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันพื้นฐานของเว็บไซต์ และเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์หากไม่มีคุกกี้เหล่านี้

คุกกี้เหล่านี้ไม่จัดเก็บข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลได้

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้แบบฟังก์ชันนอลช่วยทำหน้าที่บางอย่าง เช่น แบ่งปันเนื้อหาของเว็บไซต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวบรวมความคิดเห็น และฟีเจอร์อื่นๆ ของบุคคลที่สาม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้วิเคราะห์ใช้เพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้เยี่ยมชมโต้ตอบกับเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าชม อัตราตีกลับ แหล่งที่มาของการเข้าชม ฯลฯ

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิภาพหลักของเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นแก่ผู้เยี่ยมชม

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

คุกกี้โฆษณาใช้เพื่อส่งโฆษณาที่ได้รับการปรับแต่งตามการเข้าชมก่อนหน้านี้ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา

ไม่มีคุกกี้ที่จะแสดง

#โดนัลด์ ทรัมป์


1 เดือน กับ นโยบายทรัมป์ 2.0

1 เดือน กับ นโยบายทรัมป์ 2.0

          นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (ผอ.สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามสถานการณ์การดำเนินนโยบายทรัมป์ 2.0 ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ อย่างใกล้ชิด หลังจากกลับเข้าสู่ทำเนียบขาวอีกครั้ง พร้อมให้คำมั่นว่าจะนำสหรัฐฯ “ก้าวเข้าสู่ยุคทอง” และสานต่อนโยบายที่ได้วางรากฐานไว้เมื่อ 8 ปีก่อน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ การค้า และความมั่นคง ภายใต้แนวคิด AMERICA FIRST หรือ อเมริกาต้องมาก่อน           ตลอด 1 เดือนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เดินหน้านโยบายและมาตรการตามที่ตนได้หาเสียงไว้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมาตรการด้านการค้าระหว่างประเทศ พลังงาน สิ่งแวดล้อม ตลอดจนมาตรการจัดระเบียบผู้อพยพ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยและโลก ผ่านการออกคำสั่งฝ่ายบริหาร หรือ Executive Order ฉบับสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ อาทิ การถอนตัวจากข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) และหันมาส่งเสริมการขุดเจาะน้ำมัน การทำเหมือง และการพัฒนาก๊าซธรรมชาติภายในประเทศ เพื่อช่วยลดราคาพลังงาน และบรรเทาภาวะเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดี การถอนตัวออกจากข้อตกลงดังกล่าวเป็นที่จับตามองว่า อาจเป็นโอกาสให้จีนก้าวมาเป็นผู้นำ ในตลาดพลังงานสะอาด อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ และยานยนต์ไฟฟ้า การปรับขึ้นอัตราภาษีศุลกากรอีก 10% กับสินค้านำเข้าทั่วไปจากจีน มีผลใช้บังคับ มาตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 ขณะที่จีนได้ตอบโต้มาตรการภาษีดังกล่าวด้วยการปรับขึ้นอัตราภาษีศุลกากรอีก 15% กับสินค้าถ่านหินและก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากสหรัฐฯ และอีก 10% กับสินค้าน้ำมันดิบ อุปกรณ์ทางการเกษตร และรถยนต์นั่งและรถบรรทุก รวมทั้งออกมาตรการควบคุมการส่งออก แร่หายาก (critical minerals) ที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง พลังงานสะอาด และ การป้องกันประเทศ การเก็บภาษีศุลกากรในอัตรา 25% กับสินค้านำเข้าทั่วไปจากแคนาดาและเม็กซิโก ยกเว้นสินค้ากลุ่มพลังงานของแคนาดาที่เก็บในอัตรา 10% ซึ่งแต่เดิมกำหนดให้มีผลใช้บังคับในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 แต่ต่อมาได้มีการเลื่อนวันบังคับใช้ออกไปเป็นวันที่ 4 มีนาคม 2568 โดยให้เหตุผลว่าสหรัฐฯ พิจารณาแล้ว เห็นว่า ทั้งสองประเทศได้ดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อบรรเทาปัญหาผู้อพยพผิดกฎหมาย และการลักลอบนำเข้ายาเสพติด อย่างไรก็ตาม หากถึงเวลาที่คำสั่งมีผลใช้บังคับ แต่ทั้งสองประเทศไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างเพียงพอ สหรัฐฯ จะดำเนินมาตรการเก็บภาษีนำเข้าตามที่ได้ระบุไว้ การปรับขึ้นภาษีกับสินค้าเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม นำเข้าจากทุกประเทศ สู่อัตรา 25% มีผลใช้บังคับวันที่ 12 มีนาคม 2568 อาศัยอำนาจตามมาตรา 232 ของ The Trade Expansion Act 1962 เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมเหล็กและอะลูมิเนียมภายในประเทศ ถือว่า มีผลกระทบต่อคู่ค้าหลายประเทศ ซึ่งเดิมสหรัฐฯ เก็บภาษีกับสินค้านำเข้าดังกล่าวในอัตราที่ต่ำ โดยรวมไม่เกินอัตรา 10% แต่กำลังจะเพิ่มภาษีขึ้นไปกว่า 2 เท่าตัว ย่อมสร้างผลกระทบด้านต้นทุนของผู้ประกอบการ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้           สำหรับผลกระทบต่อไทย มาตรการดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ซึ่งในปีที่ผ่านมามีการส่งออกสินค้าในรายการที่จะถูกใช้มาตรการทางภาษีประมาณ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐคิดเป็นสัดส่วน 16.8% ของมูลค่าส่งออกเหล็กฯ ไปยังสหรัฐฯ ขณะเดียวกัน สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกอันดับ 2 ของผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม (รองจากจีน) ซึ่งในปีที่ผ่านมามีมูลค่าส่งออกสินค้าในรายการที่จะถูกใช้มาตรการทางภาษีประมาณเกือบ 380 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 72.8% ของมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียมไปยังสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ถือว่าไทยได้รับผลกระทบน้อยกว่าโดยเปรียบเทียบ เนื่องจากสหรัฐฯ มุ่งเป้าไปยังประเทศข้างเคียงในทวีปอเมริกา ซึ่งมีตลาดส่งออกสินค้าดังกล่าวกระจุกตัวอยู่ที่ตลาดสหรัฐฯ เกินกว่า 50% ของมูลค่าส่งออกสินค้านั้น ๆ           นอกเหนือจากมาตรการข้างต้น ยังมีมาตรการอื่น ๆ ที่ไทยต้องเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการเตรียมใช้ภาษีศุลกากรแบบตอบโต้ (Reciprocal Tariff) คาดว่าอาจนำมาใช้ในช่วงเดือนเมษายน 2568 หลังจากที่หน่วยงานต่าง ๆ จะส่งผลการทบทวนและการตรวจสอบการดำเนินนโยบายการค้าของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกไปยังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ รวมถึงการเตรียมผลักดันเสนอร่างกฎหมายการค้าต่างตอบแทนต่อสภาคองเกรสในอนาคต           ยิ่งไปกว่านั้น ขณะนี้หน่วยงานต่าง ๆ ของสหรัฐฯ กำลังดำเนินการตามข้อสั่งการประธานาธิบดีภายใต้นโยบาย “AMERICA FIRST TRADE POLICY” ที่สั่งการให้กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการทบทวนนโยบายเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน กับประเทศคู่ค้าทั่วโลกของสหรัฐฯ และให้รายงานผล ตลอดจนข้อเสนอแนะ และการดำเนินการที่เหมาะสมไปยังประธานาธิบดีภายในเดือนเมษายน 2568 โดยข้อสั่งการสามารถสรุปได้โดยง่าย มี 4 ข้อสั่งการที่สำคัญ คือ (1) ทบทวนและตรวจสอบการค้าของประเทศคู่ค้าทั่วโลก (2) ทบทวนความตกลงทางการค้าของสหรัฐอเมริกา (3) ทบทวนความสัมพันธ์ทางการค้ากับจีน และ (4) ตรวจสอบประเด็นที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ           นายพูนพงษ์ฯ กล่าวปิดท้ายว่า การศึกษาและติดตามนโยบายของสหรัฐฯ รวมถึงการบริหารงานของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มีความสำคัญยิ่ง โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิด และติดตามนโยบายที่ส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจไทย ทั้งในด้านบวกและด้านลบ เพื่อให้สามารถปรับตัวและใช้โอกาสจากมาตรการต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคธุรกิจไทยในเวทีการค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์โดยคณะผู้บริหารเยือนสหรัฐฯ เพื่อเร่งหารือกระชับความสัมพันธ์ทั้งกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนของสหรัฐฯ ตลอดจนผลักดันความร่วมมือทางการค้า การลงทุน และเทคโนโลยีร่วมกัน สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

ตลาดหุ้นอินเดียแกร่ง ไม่กระทบภาษี

ตลาดหุ้นอินเดียแกร่ง ไม่กระทบภาษี "ทรัมป์"

           หุ้นวิชั่น - บลจ.อเบอร์ดีน มองหุ้นอินเดียปรับฐาน จังหวะซื้อสะสม โอกาสเติบโตไปกับเศรษฐกิจแข็งแกร่ง พลังประชากรในประเทศหนุนการบริโภค ด้านนโยบายทรัมป์ 2.0 ขึ้นภาษีนำเข้าไม่กระทบประเทศ พร้อมมองทรัมป์กระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโต ผลบวกต่อบริษัทไอทีอินเดีย ลูกค้าในสหรัฐฯ ใช้จ่ายเพิ่ม            นางสาวพฤกษา เอี่ยมธงทอง Deputy Head of Equities – Asia Pacific, Asian Equities, abrdn Asia Limited เปิดเผยว่า "อเบอร์ดีน" ยังมีมุมมองบวกต่อตลาดหุ้นอินเดีย และเป็นประเทศที่เผชิญความเสี่ยงค่อนข้างต่ำจากนโยบายทรัมป์ 2.0 ขึ้นภาษีนำเข้าของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เนื่องจากอินเดียเกินดุลการค้าสหรัฐฯ ต่ำกว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียและการส่งออกส่วนใหญ่มาจากบริการต่างๆ โดยเฉพาะบริการด้านไอทีของอินเดีย            "ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจอินเดียเติบโตค่อนข้างสูง GDP ของอินเดียประมาณ 78-80% เกิดจากการขับเคลื่อนภายในประเทศ โดยการส่งออกคิดเป็นประมาณ 22% เท่านั้น (ที่มา: abrdn) ขณะที่จุดแข็งด้านการส่งออกธุรกิจไอที ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และธุรกิจบริการ ที่ลูกค้าหลักอยู่ในสหรัฐฯ ซึ่งหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจไอทีสหรัฐฯ ก็อยู่ในจุดอ่อนแอ โดยมองว่าถ้าปีนี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้นโยบายหลายอย่างของทรัมป์เข้ามาช่วย จะสามารถกระตุ้นการใช้จ่ายของบริษัทสหรัฐฯได้และจะส่งผลบวกต่อบริษัทอินเดียด้วย" นางสาวพฤกษา กล่าว            เศรษฐกิจอินเดียเติบโตแข็งแกร่งในหลายปีที่ผ่านมาจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งหลังจากโควิดเริ่มเห็นการเติบโตชะลอตัวลงจากภาคการส่งออกที่ซบเซา แต่ยังเติบโตได้ในระดับสูงและคาดว่าจะเติบโตได้ถึง 8% ในปี 2024 และ 7% ในปี 2025 โดยคาดการณ์กำไรบริษัทจดทะเบียน(EPS) ในปี 2025 เติบโต 16% จากปี 2024 คาดเติบโต 14% (ที่มา: abrdn)            นางสาวพฤกษา กล่าวว่า สำหรับตลาดหุ้นอินเดียในปีนี้ปรับฐานลงตั้งแต่ช่วงต้นปี มองว่าเกิดจาก Valuation ตลาดหุ้นอินเดียค่อนข้างสูง ประกอบกับ GDP ชะลอตัวลง จากความกังวลความอ่อนแอของการบริโภคในเมืองจากเงินเฟ้อที่สูง โดยเฉพาะหมวดอาหารที่ได้รับผลกระทบจากฝนตกน้อย จึงกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในภาพรวม แต่แนวโน้มเริ่มดีขึ้น เนื่องจากสิ้นปีที่ผ่านมาปริมาณน้ำฝนในอินเดียกลับมาอยู่ในระดับปกติมากขึ้น จึงมองว่าปัญหาภาคการบริโภคเป็นเพียงแค่ปัญหาชั่วคราว นอกจากนี้ หุ้นอินเดียปรับตัวลงจากการที่นักลงทุนขายทำกำไรบางส่วนหลังตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่นเมื่อหลายปีก่อนจนถึงปัจจุบัน นอกจากตลาดหุ้นที่ร่วงลง เกิดจากความกังวลด้านคุณภาพสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันหลังเกิดโควิดทำให้ตลาดกังวลปัญหาหนี้เสียที่จะกระจายไปในภาคอื่นๆ นอกจากกลุ่มธนาคาร                        อย่างไรก็ตาม “อเบอร์ดีน” ยังมองตลาดหุ้นอินเดียน่าสนใจ เนื่องมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการบริโภคนั้นเป็นตัวขับเคลื่อน GDP เป็นหลัก ไม่ใช่การส่งออก ตลอดจนมีการลงทุนภาคเอกชนในระยะเริ่มต้น และการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของการบริโภคในชนบท และมีนโยบายของรัฐบาลที่เป็นมิตรต่อธุรกิจช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกิจและสนับสนุนการเติบโตต่อไปได้            "อเบอร์ดีนยังมีความเชื่อมั่นต่อตลาดหุ้นอินเดีย จึงมองการปรับฐานเป็นจังหวะให้กองทุนเข้าไปซื้อหุ้นมากขึ้น ถึงแม้หุ้นอินเดียไม่ได้มีราคาถูกเท่าหุ้นจีน แต่มีราคาถูกกว่าในช่วงที่ผ่านมา โดยอเบอร์ดีนโฟกัสหุ้นของบริษัทที่มีคุณภาพ และเป็นโอกาสในการเข้าซื้อหลายบริษัทที่เรามองว่าแพงในก่อนหน้านี้ เพื่อโอกาสลงทุนในระยะยาว" นางสาวพฤกษา กล่าว            ก่อนหน้านี้กองทุนอเบอร์ดีนได้เข้าซื้อหุ้น Indian Hotels ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทด้านการบริการที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย ซึ่งพร้อมที่จะได้รับประโยชน์จากการเติบโตของอุตสาหกรรมโรงแรม Info Edge (อินเดีย) บริษัทอินเทอร์เน็ตในประเทศที่แข็งแกร่ง Pidilite Industries ซึ่งเป็นธุรกิจชั้นนำสำหรับผู้บริโภคและเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษที่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นฟูวงจรที่อยู่อาศัย และ Tata Consultancy Services ผู้ให้บริการด้านไอทีชั้นนำที่ได้รับข้อตกลงใหม่            สำหรับกองทุนหุ้นอินเดียของอเบอร์ดีน ได้แก่ กองทุนเปิด อเบอร์ดีน อินเดีย โกรท ฟันด์ (ABIG) กองทุนนี้มีความเสี่ยงระดับ 6 โดยลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนหลักต่างประเทศชื่อ abrdn SICAV I - Indian Equity Fund Z Acc USD ซึ่่งบริหารจัดการโดย abrdn Investments Luxembourg S.A. กองทุนหลักคัดหุ้นอินเดียที่มีโอกาสเติบโตแข็งแกร่งประมาณ 30-50 ตัว ด้วยสไตล์การลงทุนแบบเชิงรุก เปิดโอกาสการลงทุนในหุ้นอินเดียคุณภาพสูง และมีศักยภาพในการเติบโตระยะยาว โดยเน้นลงทุนในบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งและได้รับประโยชน์จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่สดใสของอินเดีย            สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวน โทร 02-352-3388 หรือ client.services.th@abrdn.com            ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงการนำเสนอข้อคิดเห็นซึ่งอาจแตกต่างจากเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นจริงได้            ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน            การลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งอาจทำให้ได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรก            โดยปัจจุบันกองทุนไม่ใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน

“ทรัมป์ 2.0”เขย่าทุนโลก หุ้นรับผลกระทบ เช็กเลย!

“ทรัมป์ 2.0”เขย่าทุนโลก หุ้นรับผลกระทบ เช็กเลย!

         หุ้นวิชั่น - บทวิเคราะห์ บล. ดาโอระบุว่า US ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านพลังงาน วานนี้ หลังเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐอเมริกา (US) ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวว่าจะใช้อำนาจประธานาธิบดีลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหารเพื่อประกาศภาวะฉุกเฉินด้านพลังงานแห่งชาติเพื่อลดราคาพลังงานใน US โดยตั้งเป้าลดราคาน้ำมันเบนซินและค่าไฟของชาวอเมริกันลงครึ่งหนึ่งภายในช่วงปีแรกที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ทั้งนี้ ประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศจะอนุมัติให้มีการเพิ่มการขุดเจาะน้ำมัน วางท่อน้ำมัน ตั้งโรงกลั่นน้ำมันใหม่ รวมถึงสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลงเล็กน้อย วานนี้ ราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลงเล็กน้อย 0.8% เป็น USD80.2/bbl           นโยบายอื่นๆ ประธานาธิบดีทรัมป์ยังมีการประกาศนโยบายในด้านอื่นๆอีกมากมาย โดยนโยบายที่สำคัญที่อาจจะกระทบต่อหุ้นที่เราดูแล คือ การยกเครื่องระบบการค้าของ US ด้วยการเก็บภาษีอากรจากต่างประเทศเพื่อสร้างความร่ำรวยให้ชาวอเมริกัน, การยกเลิกนโยบายส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) รวมถึง การถอนตัวออกจากข้อตกลงปารีส ซึ่งเป็นความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Source: Infoquest, Reuters) มองเป็นลบต่อแนวโน้มราคาพลังงานในระยะยาว เชื่อว่าหากประธานาธิบดีทรัมป์สามารถดำเนินนโยบายได้ตามแผน จะส่งผลลบต่อราคาน้ำมันดิบ ราคาก๊าซ LNG รวมถึง ส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันและราคาน้ำมันดิบ (crack spread) ในระยะยาวได้เนื่องจากอุปทานที่สูงขึ้นในตลาดโลก มองเป็นบวกต่อกลุ่มโรงไฟฟ้า ( + ) กลุ่มโรงไฟฟ้า: เป็นบวกกับกลุ่มโรงไฟฟ้า มีโอกาสที่ราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกลดลง จากการผลิตและส่งออกก๊าซธรรมชาติที่มากขึ้นของ US จะช่วยเพิ่มอุปทานในตลาดโลกมากขึ้น หุ้นที่ได้ positive sentiment จากประเด็นดังกล่าวคือ GPSC (ซื้อ/เป้า 60.00 บาท), BGRIM (ซื้อ/เป้า 35.00 บาท), GULF (ถือ/เป้า 60.00 บาท)           เป็นลบต่อกลุ่มพลังงานและกลุ่มส่งออก ( - ) กลุ่มพลังงานต้นน้ำและโรงกลั่น: เรามองว่าจะเป็นลบต่อราคาน้ำมันและก๊าซ LNG ในระยะยาวจากอุปทานที่สูงขึ้น แต่จะส่งผลบวกต่อราคาก๊าซธรรมชาติ US (Henry Hub) ได้เนื่องจากอุปสงค์การส่งออกที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกัน กลุ่มโรงกลั่นน่าจะได้รับผลกระทบจากแนวโน้ม crack spread ที่อ่อนตัวตามอุปทานที่สูงขึ้น โดยในระยะยาวเรามองเป็นลบต่อ PTTEP (ซื้อ/เป้า 160.00 บาท), TOP (ซื้อ/เป้า 36.00 บาท), SPRC (ซื้อ/เป้า 8.50 บาท), BCP (ซื้อ/เป้า 40.00 บาท)           กลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยง: โดยสำหรับนโยบายยกเครื่องระบบการค้า US ด้วยการเก็บภาษีอากรจากต่างประเทศ แม้ปัจจุบัน ประธานิบดีทรัมป์ จะยังไม่มีการประกาศนโยบาย tariffs ตั้งแต่วันแรกของการรับเข้าตำแหน่ง โดยยังให้ทีมบริหารศึกษาอยู่ อย่างไรก็ตาม ยังย้ำถึงนโยบายเก็บภาษีเพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศ โดยกลุ่มประเทศที่มีโอกาสได้รับผลกระทบเป็นกลุ่มแรก ได้แก่ จีน แคนาดา และเม็กซิโก อย่างไรก็ตามสำหรับประเทศอื่นๆ รวมถึงไทย ยังต้องติดตามต่อ ทั้งนี้หุ้นกลุ่มส่งออกไทยที่มีสัดส่วนรายได้ส่งออกไปสหรัฐฯ สูง ได้แก่ AAI (ถือ/เป้า 6.00 บาท) และ ITC (ถือ/เป้า 22.50 บาท) ราว 50% และ TU (ถือ/เป้า 14.50 บาท) 40%          กลุ่มยางพารา: สำหรับนโยบายยกเลิกส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า เรามองเป็น sentiment ลบต่อหุ้นกลุ่มยาง แม้ปัจจุบันรายได้ส่งออกของ NER (ถือ/เป้า 5.50 บาท) จะเป็นการส่งออกไปจีนเป็นหลัก แต่นโยบายดังกล่าวอาจส่งผลให้ความต้องการยานยนต์ไฟฟ้าของตลาดโลกลดลงและอาจกระทบราคายางในอนาคต

สนค. เกาะติดนโยบายทรัมป์ 2.0 ต่อภาคเกษตรและอาหารโลก

สนค. เกาะติดนโยบายทรัมป์ 2.0 ต่อภาคเกษตรและอาหารโลก

หุ้นวิชั่น - นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อํานวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ได้ศึกษาและติดตามนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน ซึ่งได้กลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อีกครั้ง โดยมีกำหนดสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม 2568 ทำให้เกิดความกังวลอย่างมากต่อมาตรการทางการค้าที่อาจรุนแรงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจการค้าโลกและไทย รัฐบาลทรัมป์ยังยึดแนวนโยบายหลัก “Make America Great Again” โดยให้ความสำคัญและถือผลประโยชน์ของสหรัฐฯ เป็นที่ตั้ง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าของประเทศ สำหรับผลกระทบต่อภาคเกษตรและอาหารโลก สนค. ได้ศึกษารายงาน “Trump 2.0: Impacts on Global Food and Agriculture” ของ Rabobank สถาบันการเงินของเนเธอร์แลนด์ที่เชี่ยวชาญด้านธุรกิจเกษตรและอาหาร ระบุว่า การดำรงตำแหน่งรอบที่ 2 ของประธานาธิบดีทรัมป์ จะสร้างความซับซ้อนให้กับการค้าสินค้าเกษตรและอาหารในระดับโลก และอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ทางการค้า (Trade Relationships) การเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ของการส่งออก (Export Demand) ต้นทุนของธุรกิจและผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้น โดยการกลับมาของทรัมป์เป็นการส่งสัญญาณถึงการเพิ่มอัตราภาษีศุลกากร (Tariff) สำหรับสินค้านำเข้า การยกเลิกกฎระเบียบ (เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม) การลดภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทที่ผลิตสินค้าในสหรัฐฯ และการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศ ซึ่งเป็นนโยบายที่เคยกล่าวไว้ตอนหาเสียง โดยอาจนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น การขยายตัวของ GDP สหรัฐฯ ที่ช้าลง และการขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคและบริษัทผลิตอาหารในสหรัฐฯ จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ โดยเงินเฟ้อจะเป็นแรงกดดันให้ผู้บริโภคพิจารณาถึงคุณค่าของสินค้ามากขึ้น มุ่งเน้นที่ความสะดวกสบาย เลือกบริโภคสินค้าที่เป็นแบรนด์ร้านค้าปลีก (Private Label) สินค้าหรูหราในราคาไม่แพง (Affordable Luxuries) และออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านเป็นครั้งคราว สำหรับความต้องการบริการด้านอาหาร (Food Service) คาดว่าจะฟื้นตัวช่วงกลางปี 2568 เนื่องจากสถานะการเงินผู้บริโภคเริ่มปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคสหรัฐฯ จะยังคงเลือกซื้อสินค้าโดยเน้นที่คุณค่าของสินค้าต่อไป สำหรับบริษัทผลิตอาหารในสหรัฐฯ ที่พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ จะมีต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้มีกำไรลดลง บริษัทอาจต้องปรับส่วนประสมของผลิตภัณฑ์ (Product Mix)[1] ลดการนำเข้า เน้นใช้วัตถุดิบจากในสหรัฐฯ เป็นหลัก โดยเฉพาะบริษัทเล็กอาจปิดกิจการหรือควบรวมกิจการกับบริษัทขนาดใหญ่ สถานการณ์ดังกล่าวจะผลักดันให้บริษัทแสวงหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจ อาทิ ปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ ลงทุนด้านเทคโนโลยี ซึ่งจะทำให้เกิดนวัตกรรมและความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในอุตสาหกรรม เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน การที่รัฐบาลทรัมป์จะเก็บภาษีกับสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศในอัตรา 10-20% และสินค้าจากจีนที่สูงถึง 60% อาจส่งผลให้ประเทศที่ได้รับผลกระทบออกมาตรการตอบโต้ โดยสินค้าประมงและแปรรูปของสหรัฐฯ มักเป็นเป้าหมายหลักในการเก็บภาษีตอบโต้ ซึ่งเมื่อรวมกับการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จะส่งผลเชิงลบต่อการส่งออกสินค้าประมงและประมงแปรรูปของสหรัฐฯ นอกจากนี้ ห่วงโซ่อุปทานปัจจัยการผลิตทางการเกษตรของสหรัฐฯ อาจได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้น เนื่องจากจีนมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเคมีเกษตร (Agrochemical Industry) ระดับโลก โดยการผลิตทั่วโลกกว่า 70% มีซัพพลายเชนที่เชื่อมโยงกับจีน (มีสัดส่วน 10% ของการส่งออกยูเรียทั่วโลก และสัดส่วน 15-25% ของการส่งออกฟอสเฟตทั่วโลก) ราคาเคมีเกษตรในสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ผลกระทบต่อราคาปุ๋ยของสหรัฐฯ อาจอยู่ในระดับปานกลางหรือเป็นบวก เนื่องจากสหรัฐฯ มีการผลิตปุ๋ยในประเทศเพิ่มขึ้น จะเห็นได้ว่าสงครามการค้าส่งผลกระทบเชิงลบต่อการค้า แต่สินค้าเกษตรหลายชนิดถือเป็นสินค้าจำเป็น ประเทศต่าง ๆ ยังคงต้องการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหาร โดยจะเลือกนำเข้าตามความต้องการจากประเทศที่ให้ราคาดีที่สุด เช่น หากบราซิลมีผลผลิตถั่วเหลืองลดลงจากปัญหาสภาพภูมิอากาศ อาจส่งผลให้การส่งออกถั่วเหลืองของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น แม้ถั่วเหลืองนำเข้าจากสหรัฐฯ อาจมีภาษีนำเข้าที่สูงกว่าเนื่องจากมาตรการตอบโต้ของคู่ค้าก็ตาม ทั้งนี้ สหรัฐฯ เป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีการส่งออกไปยังกว่า 190 ประเทศทั่วโลก สำหรับการตอบโต้จากจีน หากสหรัฐฯ เพิ่มภาษีสินค้านำเข้า จีนมีแนวโน้มที่จะตอบโต้โดยมุ่งที่สินค้ากลุ่มธัญพืชและพืชน้ำมัน โดยเฉพาะถั่วเหลือง (การส่งออกถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ ไปจีน มีสัดส่วนถึง 51.2% ของมูลค่าการส่งออกถั่วเหลืองทั้งหมดของสหรัฐฯ) โดยในครั้งนี้ ผลกระทบต่อจีนจะไม่รุนแรงเท่าสงครามการค้ารอบที่แล้ว เนื่องจากจีนมีปริมาณสต็อกสำรองในประเทศเพิ่มขึ้น และผู้นำเข้าจีนอาจนำเข้าถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ ล่วงหน้า ก่อนจะมีการขึ้นภาษี หรือเปลี่ยนไปนำเข้าถั่วเหลืองจากบราซิลทดแทนหากสงครามการค้าปะทุขึ้น ในส่วนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia: SEA) หากสหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้า 20% จะทำให้สินค้าที่นำเข้าจาก SEA มีต้นทุนสูงขึ้น โดยมีสินค้าเกษตรสำคัญที่สหรัฐฯ นำเข้าจากภูมิภาคนี้ เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กาแฟ ยางพารา ข้าวหอมมะลิ และข้าวขาว อย่างไรก็ตาม คาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายังสหรัฐฯ จะค่อนข้างคงที่ เนื่องจากสหรัฐฯ ไม่มีการผลิตสินค้าเกษตรเหล่านี้ในประเทศ และมีทางเลือกที่จำกัด ผอ. สนค. กล่าวทิ้งท้ายว่า สงครามการค้า Trump 2.0 ยังมีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรของทรัมป์ แต่ไทยในฐานะผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารรายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก โดยมีจีนและสหรัฐฯ เป็นคู่ค้าอันดับที่ 1 และ 2 ต้องติดตามสถานการณ์การค้า นโยบายที่สำคัญ รวมทั้งแนวโน้มการใช้มาตรการและการตอบโต้ของทั้งสหรัฐฯ จีน และประเทศต่าง ๆ ในอนาคตอย่างใกล้ชิด เพื่อแสวงหาโอกาสและเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อไป

abs

เจมาร์ท สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการสร้าง Synergy Ecosystem

โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศชัยชนะ ดีต่อหุ้นสหรัฐ และ ไทย อย่างไร?

โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศชัยชนะ ดีต่อหุ้นสหรัฐ และ ไทย อย่างไร?

          โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกัน ได้ประกาศชัยชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2024 เหนือ กมลา แฮร์ริส คู่แข่งจากพรรคเดโมแครต ในเวสตต์ปาล์มบีช รัฐฟลอริดา โดยได้กล่าวสุนทรพจน์ประกาศชัยชนะ ว่า "การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล" “เราจะช่วยประเทศของเราเยียวยา - จะไม่หยุดพักจนกว่าเราจะส่งมอบอเมริกาที่แข็งแกร่ง ปลอดภัย และเจริญรุ่งเรืองอย่างที่ลูกหลานของเราสมควรได้รับและที่คุณสมควรได้รับ” เขากล่าว “นี่จะเป็นยุคทองของอเมริกาอย่างแท้จริง” KSS Strategist Comment : US Election : Donald Trump ค่อนข้างชัดได้รับชัยชนะการเลือกตั้งกลับมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ (ผลการเลือกตั้งยังไม่เป็นทางการ) และจะครองสภาบนและสภาล่างมีโอกาสสูงเป็น(Red wave) เป็นบวกต่อตลาดหุ้นและการลงทุนในสหรัฐฯ รับนโยบาย American First Facts : ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ครั้งที่ 60 ผู้ชนะต้องได้คะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกตั้งไม่ต่ำกว่า 270 เสียง จาก 538 เสียง โดยอิงจากผลสรุปในเว็บ 270 to win เวลา 3.10 น. Donald Trump (Republican) ได้ 280 เสียง > มากกว่า Kamala Harris (Democrat) ได้ 224 เสียง สภาบน(Senate) พรรค Republican ครองเสียงข้างมาก 51 เสียง > Democrat 42 เสียง สภาล่าง(House) ต้องได้ 218 ที่นั่งเพื่อเป็นเสียงข้างมาก พรรค Republican มีแนวโน้มครองเสียงข้างมาก 199 เสียง > Democrat 184 เสียง Short term Impacts : Dollar Index ที่แข็งค่ามาล่วงหน้ามาแตะ 105.3/105.85จุด จะเริ่มถูกขายทำกำไรและอ่อนค่าลง รับการปรับลดดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งของ FED ภายในปีนี้ เงินบาทที่อ่อนค่ามาแตะ 34.15/34.4บาทต่อเหรียญฯ จะกลับมาแข็งค่าในเชิงเปรียบเทียบ Bond Yields 10ปี สหรัฐฯ จะติดแนวต้าน 4.5% แล้วมีแรงซื้อกลับ กด UST ลดระดับลง ตลาดสินทรัพย์เสี่ยง EMs จะสลับกันขึ้น โดยมีกลุ่ม TIPs เด่น จากสัดส่วนรายได้โดยตรงจากจีน+สหรัฐฯ ที่ต่ำกว่า 2-3% ตอบรับ US Rally ในช่วงที่เหลือของปี Short term Strategy : ตลาดหุ้นไทยเดือน พ.ย. - ธ.ค. 2024 เดินหน้าแตะเป้าหมาย SET สิ้นปี 2024 ที่ 1540 จุด ได้เป็นอย่างน้อย แนะนำกลุ่มหุ้นได้ประโยชน์จาก 1) Rate Cut Cycle (กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทแข็งค่า, ต้นทุนทางการเงินลดลง, กลุ่มภาระหนี้สูง) 2) New Government Policy Supports (Digital Wallet, Entertainment Complex และ Infrastructure Technology) 3) The Return of Domestic Long Term Funds เน้นหุ้นเติบโตดี, Valuation อยู่ในโซนลงทุน, Yield สูงกว่าผลตอบแทนขั้นต่ำ 3% รวมถึงกลุ่มที่อยู่ในดัชนี ThaiESG และยังมีน้ำหนักในกองทุนวายุภักษ์เดิมต่ำ 4) Trade wars mitigation โดยมีหุ้นเด่น 4Q24F : AOT, GULF, GPSC, MTC, CPALL, BJC, BDMS, KTB , ADVANC, HMPRO และให้เพิ่มกลุ่มเด่นรับ นโยบาย TRUMP 2.0 ในระยะกลาง กลุ่มนิคม AMATA, WHA กลุ่มพลังงาน(PTT) ธนาคาร(SCB, KBANK, KTB) และกลุ่ม Domestic Services & Utilities (CPALL, BJC, HMPRO, BDMS, AOT, GULF) Mid-Long Term Impacts :  ประเมินประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่คือ Donald Trump และครองสภาบนและสภาล่าง (Red wave) แนวนโยบายของ Trump คือ American First อาทิ การลดภาษีนิติบุคคล และการยกระดับมาตรการกีดกันทางการค้า สนับสนุน Crypto currency ประเมินผลกระทบ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะได้อานิสงค์บวก จากนโยบาย American First ประเมิน Dollar Index อ่อนค่าลงช้ากว่าเดิม จากกรอบเป้าหมาย 1ปีข้างหน้า 100-99จุด เป็น 102-100จุด ผสานสมมติฐานหลักความเสี่ยงแรงกดดันต่อเงินเฟ้อที่ลดระดับช้าลง กระทบวงจรดอกเบี้ยขาลงที่น่าจะช้ากว่าที่ตลาดประเมินไว้เดิมปีหน้า -100bps อาจเหลือ -50-75bps ผลกระทบจากมาตรการกีดกันการค้า จะไม่สูงเท่ารอบปี 2018-19 กรณีที่สงครามการค้า Trade war / Tech war โอกาสที่จะยังดำเนินต่อ ในระยะ 4 ปีข้างหน้า KSS ประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจะไม่สูงเท่ารอบปี 2018-19 (ช่วงสมัย เฉพาะอย่างยิ่ง จากภาพSupply Chain ของโลกที่มีความเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ช่วงคุณ Trump ดำรงตำแหน่งสมัยแรก ปี 2018-2019 ทั้งการนำเข้าสินค้าจีนของสหรัฐฯที่ลดลงไปกว่า -8% และสัดส่วนการส่งออกสินค้าจีนไปยังกลุ่มประเทศ Belt and Road (BRI) ที่ปัจจุบันสูง 46% จากต่ำราว 26% ในปี 2006 รวมถึงสัดส่วนการส่งออกจีนไปยังประเทศพัฒนาแล้วที่เหลือ 22% จากปี 2006 ที่ 50% ตลาดหุ้นกลุ่ม TIPs และไทย จะผันผวนน้อยกว่า เนื่องจาก มีสัดส่วนรายได้โดยตรงจากจีน+สหรัฐฯ ที่ต่ำกว่า 2-3% น้อยกว่า EM อื่นๆ ผสานนโยบายการเมืองระหว่างประเทศเป็นกลาง และตลาดหุ้นยังมี Valuation ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย อีกทั้งยัง Laggard ภายใต้เศรษฐกิจที่กำลังขยายตัวเร่งขึ้น การลงทุนในตราสารหนี้ ในระยะสั้น-กลาง มีจิตวิทยาลบจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับสูงขึ้นจากแรงกดดันเงินเฟ้อจากสงครามการค้า Mid-Long term Strategy : เน้นที่ได้ประโยชน์จาก นโยบายของ TRUMP 2.0 กลุ่มนิคม AMATA, WHA กลุ่มพลังงาน PTT, PTTEP ส่งออกอาหาร ได้ประโยชน์จากเงินบาทที่อ่อนค่ากว่าสมมติฐานเดิม และได้ประโยชน์จากการโยก Order เน้น TU (ได้ประโยชน์จากนโยบายลด Corporate Tax), CPF ยาง เน้น STA, STGT Domestic อาทิ กลุ่มธนาคาร (SCB, KBANK,KTB) ค้าปลีก (CPALL, BJC, HMPRO) สื่อสาร (ADVANC) Utilities(GULF, GPSC)

KKP Research ชี้เลือกตั้งสหรัฐฯ ไทยมีความเสี่ยงแค่ไหน?

KKP Research ชี้เลือกตั้งสหรัฐฯ ไทยมีความเสี่ยงแค่ไหน?

ใครชนะก็แทบไม่ต่างกันสำหรับไทย อีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญส่งท้ายปีนี้สำหรับเศรษฐกิจไทย คือการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่เกือบจะเป็นนัดล้างตาระหว่าง “โดนัลด์ ทรัมป์” จากรีพับลิกันและ “โจ ไบเดน” จากเดโมแครต แต่เพียง 3 เดือนก่อนการเข้าคูหากาบัตร ไบเดนไปต่อไม่ไหว ส่งไม้ต่อให้กับ “กมลา แฮร์ริส” รองประธานาธิบดีคนปัจจุบัน แม้ว่าโดยผิวเผินการเลือกตั้งในครั้งนี้ดูเหมือนว่าทั้งสองฝ่ายจะมีจุดยืนกันคนละฝั่ง โดยเฉพาะนโยบายเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ แต่เมื่อพิจารณาดูแล้ว ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินทั่วโลก รวมถึงไทย อาจจะไม่ต่างกันมากนัก KKP Research จะมาวิเคราะห์ว่าทำไมการเลือกในครั้งนี้อาจเป็นเหตุการณ์สำคัญที่จะเปลี่ยนโฉมเศรษฐกิจโลกมากขึ้นไปอีก และไม่ว่าจะใครจะชนะก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนต่อไป ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอาจจะไม่แตกต่างกันนัก จากนโยบายการค้าที่หันมากีดกันคู่ค้ามากขึ้น ต่างกันเพียงแค่ดีกรีว่าจะกีดกันมากหรือน้อย โลกาภิวัตน์ไม่เหมือนเดิม หลายคนมักตั้งคำถามว่า ทำไมจู่ ๆ หลายประเทศในโลกเสรีโดยเฉพาะสหรัฐฯ หันมาขึ้นภาษีนำเข้าและกีดกันทางการค้ามากขึ้น ทั้งที่เศรษฐศาสตร์ 101 มักมีข้อสรุปที่ว่า “การค้าเสรี” เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโลกในภาพรวมมากกว่าและทุกประเทศจะได้ผลประโยชน์จากการค้าไปด้วยกัน แต่การกีดกันทางการค้าที่มากขึ้น สาเหตุหลักคงเป็นเพราะกระแสโลกาภิวัตน์แบบเดิมกำลังหันกลับมาสร้างต้นทุนมหาศาลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เองที่ในช่วงที่ผ่านมาสูญเสียส่วนแบ่งในภาคการผลิตให้แก่ประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะจีน และทำให้การจ้างงานของแรงงานในภาคการผลิตสหรัฐฯ หดตัวลงอย่างต่อเนื่องหลังปี 2000 จนเมื่อถึงจุดหนึ่งที่ประโยชน์จากการค้าเสรีไม่สามารถชดเชยกับการจ้างงานที่หายไป ความไม่พอใจของกลุ่มแรงงานได้ก่อตัวขึ้น ลุกลามไปยังภาคการเมือง ทำให้นโยบายทางการเมืองไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากหันมาเน้นภาคการผลิตและการจ้างงานในประเทศ นี่คือที่มาว่าทำไมสหรัฐฯ จึงพยายามออกแบบนโยบายเพื่อนำการลงทุนกลับมาในประเทศตัวเองและออกนโยบายกีดกันทางการค้า นอกจากนี้ ยังมีประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์หรือการเมืองระหว่างประเทศกับประเทศอื่นอย่างจีน รัสเซีย อิหร่าน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญให้กระแสโลกาภิวัตน์ไม่สามารถกลับไปเป็นแบบเดิมได้ เลือกตั้งในครั้งนี้ ไม่ว่าใครจะชนะ เรามีโอกาสค่อนข้างสูงที่จะไม่เห็นการค้าโลกและกระแสโลกาภิวัตน์กลับไปเติบโตรุ่งเรืองแบบในอดีต เพราะสหรัฐฯ กำลังจะไม่สนใจโลกาภิวัตน์แบบเดิมอีกต่อไปแล้ว ทั้งพรรคเดโมแครตและพรรครีพับริกันเองต่างมีนโยบายที่กีดกันทางการค้าและการลงทุนกับประเทศอื่นทั้งคู่ ต่างกันเพียงแค่รายละเอียดและเครื่องมือที่ใช้เท่านั้น โดยทรัมป์จะมุ่งเน้นไปที่การขึ้นภาษีนำเข้าต่อประเทศคู่ค้าในทุกสินค้า ขณะที่แฮร์ริสอาจสานต่อนโยบายของไบเดน กล่าวคือการกีดกันการเข้าถึงเทคโนโลยีและใช้การขึ้นภาษีนำเข้าต่อสินค้าสำคัญในบางประเภทเท่านั้น ซึ่งแนวโน้มนี้จะมีผลกระทบค่อนข้างมากต่อกลุ่มประเทศในอาเซียน เพราะส่วนใหญ่เป็นเศรษฐกิจที่มีการพึ่งพาการค้าโลกในสัดส่วนสูงเพื่อสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หากการค้าโลกมีความเสี่ยงที่ชะลอตัวลงอาจทำให้แรงกดดันต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคเพิ่มสูงขึ้นในระยะยาวได้ นโยบายทรัมป์ ‘ปั่นป่วน’ การค้าโลก แม้ว่าทั้งสองพรรคมีแนวโน้มที่จะหันหลังให้กับการค้าโลกแบบเสรีมากขึ้น และหันไปเน้นการผลิตภายในประเทศ แต่นโยบายของทรัมป์ที่จะขึ้นอัตราภาษีนำเข้า 60% ต่อสินค้าจากจีน และ 10% กับทุกสินค้าที่มาจากประเทศอื่นทั่วโลก อาจเร่งให้การค้าโลกหดตัวเร็วกว่าที่คาดและจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะในด้านการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ KKP Research ประเมินว่าผลกระทบจากนโยบายการขึ้นภาษีนำเข้าของทรัมป์มี 5 ด้านสำคัญ คือ ผลกระทบทางตรงจากภาษีนำเข้า 10% (Tariff effect) การขึ้นภาษี 10% ต่อสินค้านำเข้าสหรัฐฯ จะทำให้มูลค่าการส่งออกไทยเผชิญกับความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสหรัฐฯ เป็นตลาดสำคัญที่สุดสำหรับสินค้าส่งออกของไทย สะท้อนผ่านสัดส่วนการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมาจากเดิมที่ 10% ในปี 2010 เป็น 17.5% ของการส่งออกทั้งหมดในปี 2023 นอกจากนี้ การที่ดุลการค้าของไทยไม่ได้ขาดดุลมากกว่านี้ส่วนหนึ่งเพราะตลาดสหรัฐฯ สามารถรองรับสินค้าส่งออกจากไทยได้มากขึ้น ทำให้ไทยมีการเกินดุลทางการค้ากับสหรัฐฯ สูงขึ้นถึง 6% ของ GDP แต่หากดุลการค้าไทยไปยังสหรัฐฯ ลดลงจากภาษีนำเข้าที่สูงขึ้นอาจทำให้ดุลการค้าโดยรวมไทยขาดดุลเพิ่มขึ้นไปอีก ที่มา: กระทรวงพาณิชย์, KKP Research การเบี่ยงเบนทางการค้าผ่านตลาดอาเซียน (Trade diversion) ประโยชน์ส่วนหนึ่งที่ไทยอาจได้รับคือหากสหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนเป็น 60% ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการในสหรัฐฯ หันมานำเข้าสินค้าจากตลาดอื่นในสัดส่วนที่มากขึ้น เช่น อาเซียนที่มีอัตราภาษีนำเข้าที่ต่ำกว่า ซึ่งไทยอาจจะยังได้ประโยชน์จากการเบี่ยงเบนทางการค้าในส่วนนี้ อย่างไรก็ตาม การเบี่ยงเบนทางค้าอาจเป็นดาบสองคมเพราะมีความเสี่ยงที่จีนจะใช้ไทยเป็นเพียงช่องทางผ่านของสินค้าจีนไปยังสหรัฐฯ เท่านั้น (Re-routing) ซึ่งกิจกรรมนี้สร้างมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิตในประเทศไทยน้อยมาก และยังเสี่ยงกับการถูกมาตรการตอบโต้อื่น ๆ จากสหรัฐฯ อีกด้วย ที่มา: กระทรวงพาณิชย์, KKP Research ที่มา: UN Comtrade, KKP Research การโยกย้ายการลงทุนจากต่างชาติเข้ามาในประเทศ (Relocation) เช่นเดียวกับการได้ประโยชน์บางส่วนจากการเบี่ยงเบนทางการค้า หากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับจีนยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจะทำให้บริษัทข้ามชาติต่าง ๆ มีการกระจายความเสี่ยงในด้านการลงทุนและห่วงโซ่อุปทานมากขึ้น และไทยเองอาจยังได้รับอานิสงค์จากการโยกย้ายการลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากประเทศจีน อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นอาจเห็นเม็ดเงินลงทุนชะลอตัวเพราะความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกอาจเพิ่มสูงขึ้นจากสงครามการค้า และประโยชน์ที่ไทยจะได้รับในระยะยาวผ่านช่องทางนี้ อาจน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัญหาความสามารถในการแข่งขันของไทยเอง ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย, KKP Research ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย, KKP Research ปัญหาสินค้าจีนทะลักรุนแรงมากขึ้น (China dumping) หากสหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษีนำเข้ากับจีนเพิ่มขึ้น จะทำให้มีความเสี่ยงที่อุปสงค์ในจีนชะลอตัวลงแรงยิ่งขึ้น และอุปทานส่วนเกินในจีนไม่สามารถระบายไปยังตลาดสหรัฐฯ ได้ง่ายนัก ทำให้สินค้าต่าง ๆ จะถูกนำมาขายในตลาดอื่น ๆ โดยเฉพาะในอาเซียน รวมทั้งไทยมากขึ้นไปอีก ซึ่งสินค้าที่ทะลักเข้ามาจะยิ่งทำให้ผู้ผลิตในไทยเผชิญกับการแข่งขันจากสินค้าราคาถูกจากจีนมากยิ่งขึ้น และเสี่ยงทำให้ผู้ผลิตในไทยไม่สามารถแข่งขันได้ ต้องลดปริมาณการผลิตลงต่อเนื่องหรือปิดตัวโรงงาน ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย, KKP Research ค่าเงินในภูมิภาคเสี่ยงอ่อนค่าเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าเงินในภูมิภาคเอเชียอาจมีแนวโน้มปรับอ่อนค่าเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อชดเชยกับอัตราภาษีนำเข้าที่ถูกปรับขึ้น หากย้อนกลับไปดูในช่วงสงครามการค้า (Trade war) ในปี 2018 ระหว่างสหรัฐฯ และจีนจะเห็นได้ว่า ค่าเงินบาทปรับอ่อนค่าตามดัชนีดอลลาร์หลังจากที่ทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าต่อจีน แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวสาเหตุหลักที่ค่าเงินบาทปรับแข็งค่าหลังจากนั้นเป็นเพราะไทยยังได้รับอานิสงค์จากนักท่องเที่ยวจีนที่พอจะช่วยสนับสนุนให้ค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าได้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันทั้งดุลการค้าที่เผชิญกับปัญหาความสามารถในการแข่งขันและภาษีนำเข้าที่จะสูงขึ้น รวมไปถึงดุลบริการ ไม่กลับไปสูงแบบในอดีต จะทำให้ค่าเงินบาทมีความอ่อนไหวต่อทิศทางของดอลลาร์และภาษีนำเข้าสูงขึ้นกว่าในอดีต ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย, KKP Research จับตาอุตสาหกรรมไหนรับศึกหนัก ภายใต้การนำของรองประธานาธิบดีแฮร์ริส คาดว่าการดำเนินนโยบายตามสถานะเดิมจะส่งผลกระทบไม่มากนักต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินไทยโดยรวม อย่างไรก็ตาม ในกรณีของประธานาธิบดีทรัมป์ ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจไทยจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่าง ๆ โดยเฉพาะนโยบายด้านการค้า คาดว่าจะมีดังนี้ สินค้าส่งออกของไทยที่สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกหลัก เช่น อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์ มีความเสี่ยงที่จะถูกปรับขึ้นภาษีนำเข้าและอาจถูกมาตรการตอบโต้เพิ่มเติมจากสหรัฐฯ เพราะอาจเป็นอุตสาหกรรมที่จีนใช้ไทยเป็นช่องทางผ่านเพื่อส่งสินค้าไปยังสหรัฐฯ นิคมอุตสาหกรรมน่าจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์หลักจากประเด็นการย้ายถิ่นฐานในระยะยาว แต่ประโยชน์ในระยะสั้นจะถูกบดบังด้วยความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่สูง การท่องเที่ยว ปิโตรเคมี และบรรจุภัณฑ์มีความเสี่ยงสูงจากอุปสงค์ของจีนที่ลดลงเนื่องจากภาษีนำเข้าจากจีนที่สูงขึ้น ภาคการผลิต เช่น เหล็กและเหล็กกล้า เฟอร์นิเจอร์ สารเคมี และยานยนต์ รวมถึง SMEs จำนวนมากในธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกมีความเสี่ยงสูงจากการแข่งขันนำเข้าจากจีน ซึ่งอาจส่งผลต่อเนื่องไปถึงภาคการเงินที่มีความเสี่ยงต่อภาคธุรกิจเหล่านี้สูง ที่อาจจะต้องเผชิญกับคุณภาพสินเชื่อและคุณภาพเครดิตที่มีแนวโน้มด้อยลงในอนาคต ความเสี่ยงต่อทางเศรษฐกิจในระยะยาว ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยจากการค้าของโลกที่กำลังเปลี่ยนไปเป็น Protectionism มากขึ้น กำลังก่อตัวขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญเปราะบางจากปัญหาเชิงโครงสร้างระยะยาว เช่น หนี้ครัวเรือน สังคมสูงวัย ความสามารถในการแข่งขัน  หากดุลการค้าไทยขาดดุลต่อเนื่อง ภาคการส่งออกไม่สามารถเป็นแหล่งระบายสินค้าจากการผลิตในภาคอุตสาหกรรมไทยได้ อาจทำให้การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมไทยลดลงหรืออัตราว่างงานเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลอย่างยิ่งต่อรายได้และงบดุลของครัวเรือนไทยที่กำลังเปราะบางอยู่แล้ว และอาจทำให้ปัญหาหนี้ในปัจจุบันเป็นปัญหาหนักขึ้นไปอีก นโยบายภาครัฐจึงควรมีการเตรียมพร้อมที่จะรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากแนวโน้มของภูมิทัศน์การค้าโลกที่กำลังเปลี่ยนไป เพื่อไม่ให้ปัญหานี้ลุกลามไปยังครัวเรือนไทยในวงกว้าง อนึ่ง แนวทางของนโยบายการค้าไทยแบบเดิมที่มุ่งเน้นการเจรจาข้อตกลงทางการค้าและเปิดตลาดโดยการเจรจาเรื่องการลดภาษีนำเข้าอาจใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป เพราะอัตราภาษีนำเข้าในปัจจุบันก็ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำมากแล้ว การมุ่งเน้นไปที่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไทยและการดูแลไม่ให้เกิดการแข่งขันแบบไม่เป็นธรรมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการออกแบบนโยบาย

พฤอา
242526272812345678910111213141516171819202122232425262728293031123456